Soil Fertility and Plant Nutrition

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

Nickle.
ชื่อ นาย ศุภสุข โตฟาเละ รหัส 00352
ความรู้เรื่องประชาคมอาเซียน
วิชา หลักการตลาด บทที่ 3
สรุปสถานการณ์การ ระบาดเพลี้ยแป้ง ระหว่างวันที่ สิงหาคม 2554.
เกณฑ์การประเมินผลตัวชี้วัด มิติการประเมินประสิทธิผล
แหล่งน้ำธรรมชาติของโลก แหล่งน้ำในบรรยากาศ (Atmospheric Water) ได้แก่ สถานะไอน้ำ เช่น เมฆ หมอก สถานะของเหลว ได้แก่ ฝน และน้ำค้าง และสถานะของแข็ง ได้แก่
ภัยธรรมชาติและการระวังภัย
1.1 อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุพบ บริเวณใดของโลก แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุนับเป็นแหล่งอารยธรรม เริ่มแรกของอินเดีย อยู่บริเวณดินแดนภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย.
โครเมี่ยม (Cr).
สถาบันด้านปัจจัยการ ผลิตทางการเษตร ( ตลาดแรงงาน ) ศ.491 การวิเคราะห์การผลิต และนโยบายการผลิตสินค้าเกษตร รศ. ภราดร ปรีดาศักดิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1. การผสมใดต่อไปนี้ที่แยกออก จากกันได้ด้วยการระเหยแห้ง 1. เกลือป่นกับ น้ำ 2. น้ำมันพืชกับ น้ำ 3. ข้าวเปลือก กับแกลบ 4. ผงตะไบ เหล็กกับทราย.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
โดย... นายวินิจ รักชาติ อดีตผู้อำนวยการ สำนักงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จังหวัด กาญจนบุรี
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
หลักการเลี้ยงสัตว์ คำบรรยาย โดย ครูสีกุน นุชชา
กระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสง
การสร้างแผนปฏิบัติการระดับตำบลหรือท้องถิ่น
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
ดิน สมบัติ ของดิน ลักษณะ ของดิน ประโยชน์ ของดิน ฐานความช่วยเหลือด้านความคิดรวบยอด สถานการณ์ปัญหาที่ 2.
มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ
GEOGRAPHY OF ASIA TAWEESAK KUNYOCHAI อาจารย์สอง Satit UP
แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์
ระดับความเสี่ยง (QQR)
สารอินทรีย์ สารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ ได้แก่
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของทวีปยุโรป
การรักษาดุลภาพของเซลล์
หลักสูตรอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ให้เป็นประชาคมที่มุ่งเน้น การปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ มีความมั่นคง มีสันติภาพ และมีความมั่งคั่ง.
นางสาวอิศกฤตา โลหพรหม ผู้นำเสนอ นางสาวปาริชาด สุริยะวงศ์
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 28 สิงหาคม 2561
ระบบเศรษฐกิจ.
เรื่อง ศึกษาตัวกลางที่เหมาะสมกับการชุบแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอน
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
Lec / Soil Fertility and Plant Nutrition
เทคนิคเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แผ่นดินไหว.
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)
รายวิชา แหล่งสารสนเทศ การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ อาจารย์ ดร.นฤมล รักษาสุข
ตัวชี้วัดที่ 5 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการประหยัดน้ำ
มาทำความรู้จักกับ เห็ดหนังช้าง.
โปรตีน กรดอะมิโนหลายโมเลกุล จะยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะเพปไทด์
การผุพังอยู่กับที่ โดย นางสาวเนาวรัตน์ สุชีพ
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
เอกสารประกอบการสอน รายวิชา ประติมากรรมเพื่อการพาณิชย์ (Commercial Sculpture) โดย อาจารย์สันติสุข แหล่งสนาม ภาคการศึกษาที่ 2/2559.
ทดสอบหลังเรียนพระพุทธหน่วย8
แหล่งท่องเที่ยวในอุทยานฯ
อ.ณัฐวัฒน์ ธนสารโชคพิบูลย์
การปรับปรุงพื้นที่ทุรกันดาร 2559 นายแพทย์สงกรานต์ ไหมชุม
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
จุดเริ่มต้นสวนสัตว์ไทย
Structure of Flowering Plant
พันธะโคเวเลนต์ พันธะไอออนิก พันธะเคมี พันธะโลหะ.
1 Pattern formation during mixing and segregation of flowing granular materials. รูปแบบการก่อตัวของการผสมและการแยกกันของวัสดุเม็ด Guy Metcalfe a,., Mark.
กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur)
ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
หน้าที่ของ - ไนโตรเจน (เอ็น) - ฟอสฟอรัส (พี) - โพแทสเซียม (เค)
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
การวิเคราะห์สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กบริเวณ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยแบบจำลอง WRF.
แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกบริเวณแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก หรือการปะทุของภูเขาไฟ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ซึ่งหากเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

132 351 Soil Fertility and Plant Nutrition ความอุดมสมบูรณ์ของดินและโภชนาการพืช อาจารย์ผู้สอน ศ. ดร. ปัทมา วิตยากร แรมโบ

โพแทสเซียม (Potassium)

ธาตุโพแทสเซียม (Potassium - K) โพแทสเซียม (K) เป็นธาตุอาหารหลักอีกตัวหนึ่งที่พืชต้องการในปริมาณมาก นับเป็นธาตุอาหารที่มีประจุบวก (แคทไอออน) ที่พืชดูดใช้เป็นปริมาณมากที่สุดในบรรดาแคทไอออนต่าง ๆ ความแตกต่างของ K จากธาตุอาหารหลักสองตัวแรก (N และ P) คือ K ไม่เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างของเนื้อเยื่อพืชดังเช่นที่ N เป็นส่วนประกอบของโปรตีน และ P เป็นส่วนประกอบของกรดนิวคลีอิก แต่ K มีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีในพืช นับตั้งแต่การสังเคราะห์แสง การหายใจ การลำเลียงสารประกอบที่ได้จากการสังเคราะห์แสง การสร้างโปรตีนและน้ำมันในพืช และมีบทบาทในการคาตาไลซิสของเอนไซม์ต่าง ๆ ดังนั้นหากพืชขาด K จะทำให้การเจริญเติบโตและผลผลิตลดลง 3 3

ธาตุโพแทสเซียม (ต่อ) นอกจากนี้ K ยังมีอิทธิพลต่อโครงสร้างระดับอวัยวะพืชและเซลพืช เช่น เพิ่มการสร้างผนังเซล (cell wall) ทำให้พืชต้านทานโรคดีขึ้น และช่วยเพิ่มเซลที่เก็บสำรองอาหารที่สังเคราะห์ (แป้งและน้ำตาล) ในเมล็ดธัญพืช เป็นต้น K ได้รับสมญาว่าเป็น “ธาตุอาหารแห่งคุณภาพ” ในการผลิตพืช เนื่องจากบทบาทต่าง ๆ ของ K ดังที่กล่าวมาข้างต้น เช่น K เพิ่มการสังเคราะห์โปรตีนและเพิ่มคุณภาพโปรตีนในพืช ช่วยทำให้เมล็ดมีคุณภาพดีขึ้นเพราะ K มีบทบาทในการลำเลียงอาหารที่ได้จากการสังเคราะห์แสง K มีบทบาทในการทำให้ผลผลิตสอดคล้องกับความต้องการของตลาด เช่น ผลมีขนาดใหญ่ขึ้น มีรสชาติดีขึ้น (เช่น สับปะรด) มีปริมาณน้ำตาลมากขึ้น (อ้อย) และพืชน้ำมันมีปริมาณน้ำมันมากขึ้น เป็นต้น 4 4

แหล่งธรรมชาติ แหล่งธรรมชาติของโพแทสเซียมในโลกและการปลดปล่อยสู่ปฐพีภาค โพแทสเซียม (K) ในดินได้มาจากหินและแร่ของเปลือกโลกเป็นหลัก ดังนั้นการสลายตัวของแร่ปฐมภูมิ ซึ่งดำเนินไปในกระบวนการกำเนิดดิน จึงเป็นกระบวนการหลักที่ให้ K แก่ดิน แหล่งธรรมชาติ โพแทสเซียมเป็นธาตุหลักในธรณีภาค (lithosphere) โดยมีปริมาณโดยเฉลี่ย 1.58% แต่ K ที่เป็นองค์ประกอบของหินสำคัญต่างๆ มีความแตกต่างกันมาก ในหินอัคนี K จะลดลงจากหินกรด (acid rocks) ไปยังหินด่าง (ultrabasic rocks) ส่วนในหินตะกอน มักมี K มากในหินดินดาน (shales) นอกจากนี้ ดินที่เกิดจากการสะสมของสารลมหอบ (loessial deposits) จะมีสำรองของ K ค่อนข้างมาก 5 5

การสลายตัวของแร่ปฐมภูมิและปลดปล่อยโพแทสเซียม การสลายตัวของแร่ปฐมภูมิเฟลด์สปาร์ทำให้เกิดการปลดปล่อย K ปฏิกิริยาหลักที่ทำให้เฟลด์สปาร์สลายตัวคือ ไฮโดรไลซิส (hydrolysis) ในดินเขตร้อน KAlSi3O8 + H2O  2K+ + 2OH- + 4Si(OH)4 + Si2O5Al2(OH)4 สารละลาย คาโอลิไนต์ (kaolinite) ปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสในดินเขตร้อนอาจเป็นปฏิกิริยาที่เกิดอย่างเต็มที่ ทำให้ได้กิบไซต์ตกตะกอนออกมา ซิลิกาถูกทำละลาย และมีการปลดปล่อย K+ หรืออาจเป็นปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสที่เกิดเป็นบางส่วนทำให้เกิดแร่ดินเหนียว layer silicates เช่น คาโอลิไนต์หรือมอนโมริลโลไนต์ ซิลิกาที่ละลายน้ำ และ K+ 6 6

รูปและปริมาณของโพแทสเซียมในดิน โพแทสเซียมที่ดินได้รับจากการสลายตัวของแร่ปฐมภูมิอยู่ในหลายรูปในดิน ได้แก่ - รูปที่ละลายน้ำในสารละลายดิน - รูปที่แลกเปลี่ยนได้ ได้แก่ รูปที่ถูกดูดยึดบนผิวคอลลอยด์ดินที่มีประจุลบ ได้แก่ ประจุลบถาวร หรือถูกดูดยึดบนผิวคอลลอยด์ดินที่มีประจุผันแปร เช่น คอลลอยด์ดินส่วนที่เป็นอินทรียวัตถุ - รูปที่ถูกตรึง หรือรูปที่แลกเปลี่ยนไม่ได้ เป็นรูปที่ถูกดูดยึดอย่างแข็งแรงไม่สามารถูกแลกเปลี่ยนโดยแคทไอออนอื่นได้ คำว่า การตรึง (fixation) หมายถึง การเปลี่ยนรูป K จากรูปในสารละลายดินหรือรูปแลกเปลี่ยนได้เป็นรูปที่แลกเปลี่ยนไม่ได้ ได้แก่ รูปที่อยู่ในช่องว่างระหว่างชั้นของแร่ดินเหนียว 2:1 หรือในตำแหน่ง i (inner position) 7 7

ระบบคอลลอยด์ดินที่สัมพันธ์กับรูปต่างๆ ของโพแทสเซียม สารละลายดิน 1 µm คอลลอยด์ดิน K+

ตำแหน่งของการดูดยึดโพแทสเซียมบนแร่ดินเหนียวประเภท 2:1 9 9

ตำแหน่งของการตรึงโพแทสเซียมในแร่ดินเหนียวประเภท 2:1 10 10

11 11

K ที่แลกเปลี่ยนได้ (exchangeable K) K ในสารละลายดิน (solution K) สมดุลของโพแทสเซียมรูปต่าง ๆ ในปฐพีภาค K ในดิน (หรือระบบคอลลอยด์ดิน) 3 รูปหลัก อยู่ในสมดุลซึ่งกันและกัน และปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง K (การได้รับและการสูญเสีย K) รูปต่าง ๆ ซึ่งจะเห็นว่า K ในสารละลายดิน (K in soil solution) จะได้รับอิทธิพลจากปัจจัยนำเข้าและปัจจัยที่ทำให้สูญเสียมากที่สุด K ที่ถูกตรึง (fixed K) K ที่แลกเปลี่ยนได้ (exchangeable K) K ในสารละลายดิน (solution K) 12 12

โพแทสเซียมในสารละลายดินและส่วนที่ถูกชะล้าง โพแทสเซียมจากแร่ การสลายตัวและปลดปล่อย K โดยแร่ปฐมภูมิ รวมทั้งการดูดยึดและการปลดปล่อย K โดยแร่ทุติยภูมิได้กล่าวในรายละเอียดไปแล้วในตอนข้างต้น แร่ทุติยภูมิ ได้แก่ แร่ดินเหนียว มีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลของรูปต่าง ๆ ของ K ในดิน หลังจากที่ K ถูกปลดปล่อยจากแร่ปฐมภูมิแล้ว โพแทสเซียมในสารละลายดินและส่วนที่ถูกชะล้าง โพแทสเซียมรูปในสารละลายดินได้มาจากการสลายตัวของแร่ปฐมภูมิ ซึ่งมีกลไกที่สำคัญคือ การละลาย (dissolution) หรือการแพร่ (diffusion) แต่โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่ควบคุมความเข้มข้นของ K คือ แร่ดินเหนียว ซึ่งเป็นแร่ทุติยภูมิ และอินทรียวัตถุ 13 13

โพแทสเซียมในดินที่ถูกกร่อน (erosion) และน้ำไหลบ่า ข้อมูลเกี่ยวกับการสูญเสีย K จากการกร่อนของดินและน้ำไหลบ่ามี ไม่มาก ในเขตอบอุ่น Lipman และ Conybeare พบว่าการสูญเสีย K จากการกร่อนของดินโดยน้ำกัดเซาะในพื้นที่เพาะปลูกในสหรัฐมีมากกว่า 150 กก.ต่อเฮ็กตาร์ต่อปี ในเขตร้อนชื้น Fukui และคณะ (1983) ศึกษาการกร่อนของดินป่าไม้บนที่สูงชันที่ป่าถูกแผ้วถางไปเพื่อทำการเกษตร ในเขตน้ำพรม จังหวัดชัยภูมิ พบว่ามีการสูญเสีย K จากการกร่อนดินในช่วงการปลูกพืชหลังจากเผาป่าถึง 233 กก.ต่อเฮ็กตาร์ ซึ่งนับเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการสูญเสียธาตุอาหาร การศึกษาการกร่อนดิน และการสูญเสียธาตุอาหารในพื้นที่ลาดเอียง (10%) ในดินทราย อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น แสดงให้เห็นว่า K เป็นธาตุอาหารที่สูญเสียมากที่สุดในส่วนที่เป็นตะกอนดิน (sediments) 14 14

โพแทสเซียมในสารอินทรีย์ โพแทสเซียมในพืช โพแทสเซียมเป็นไอออนบวกที่พืชดูดใช้มากที่สุด ความต้องการ K อยู่ในช่วง 10-50 กก.ต่อเฮ็กตาร์ต่อปี โพแทสเซียมในสารอินทรีย์ แหล่งของโพแทสเซียมที่เป็นสารอินทรีย์มีมากมาย และการใช้สารอินทรีย์เป็นแหล่งให้ K มักมีมากในประเทศที่ยังมีเกษตรกรรมเป็นหลัก ส่วนในประเทศเกษตรอุตสาหกรรมการใช้สารอินทรีย์ลดลง ประเทศจีนนับเป็นประเทศหนึ่งที่มีการใช้สารอินทรีย์ในการเกษตรอย่างมาก สำหรับ K สามารถกล่าวได้ว่าแหล่งอินทรีย์ให้ K ที่ต้องการเกือบทั้งหมด แหล่งที่สำคัญในประเทศจีนได้แก่ ปุ๋ยคอก โดยเฉพาะจากสุกร 15 15

เอกสารอ้างอิงและอ่านเพิ่มเติม ปัทมา วิตยากร. 2547. ความอุดมสมบูรณ์ของดินขั้นสูง. ภาควิชา ทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 423 หน้า. 16 16