งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต

2 การแยกน้ำด้วยกระแสไฟฟ้า

3 2 H2O H2 + O2 พลังงาน ปฏิกิริยาดูดพลังงาน

4 พลังงาน 2 H2 + O H2 O + ปฏิกิริยาคายพลังงาน

5 ปฏิกิริยาในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
ปฏิกิริยาคายพลังงาน : ปฏิกิริยาที่ดูดพลังงานเข้าไปใช้ในการสลายพันธะ น้อยกว่า พลังงานที่คายออกมาเพื่อสร้างพันธะใหม่

6 ปฏิกิริยาในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
ปฏิกิริยาดูดพลังงาน : ปฏิกิริยาที่ดูดพลังงานเข้าไปใช้ในการสลายพันธะ มากกว่า พลังงานที่คายออกมาเพื่อสร้างพันธะใหม่

7 ข้อควรจำ 1.อะตอมของธาตุ หรือสารประกอบ รวมอยู่ได้ด้วย พันธะเคมี และมีพลังงานสะสมอยู่ซึ่งเรียกว่า พลังงานพันธะ (bond energy) 2.ปฏิกิริยาที่มีการใช้พลังงานเข้าไปสลายพันธะ มากกว่า พลังงานที่คายออกมาสร้างพันธะใหม่ในโมเลกุลใหม่ เรียกว่า ปฏิกิริยาดูดพลังงาน 3.ปฏิกิริยาที่มีการใช้พลังงานเข้าไปสลายพันธะ น้อยกว่า พลังงานที่คายออกมาสร้างพันธะใหม่ในโมเลกุลใหม่ เรียกว่า ปฏิกิริยาคายพลังงาน 4.สารอินเทอร์มิเดียท คือสารที่เกิดระหว่างสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ เป็นสารที่ไม่อยู่ตัว สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นสารตั้งต้น หรือสารผลิตภัณฑ์ก็ได้

8 ใบกิจกรรมที่ 4.1 เรื่อง การดูดและคายพลังงานในปฏิกิริยา
ใบกิจกรรมที่ 4.1 เรื่อง การดูดและคายพลังงานในปฏิกิริยา

9 ตัวเร่งปฏิกิริยา(Catalyst)

10 คุณสมบัติของตัวเร่งปฏิกิริยา(Catalyst)
1. ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างการเกิดปฏิกิริยา 2. ช่วยลดพลังงานกระตุ้นในการเปลี่ยนสารตั้งต้นไปเป็นสารผลิตภัณฑ์ 3. ช่วยเพิ่มอัตราการเกิดปฏิกิริยา เอนไซม์ จัดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

11 กระบวนการเมแทบอลิซึม (Metabolism)
กระบวนการแอนาบอลิซึม (Anabolism) หมายถึง กระบวนการสังเคราะห์ สารอินทรีย์โมเลกุลใหญ่ที่ซับซ้อน จากสารโมเลกุลเล็กง่าย ๆ เช่น การสังเคราะห์โปรตีนจาก กรดอะมิโน กระบวนการแคแทบอลิซึม (Catabolism) หมายถึง กระบวนการสลายสาร โมเลกุลใหญ่ให้เป็นสารโมเลกุลเล็กลง พร้อมกับได้พลังงานออกมา เช่น การสลายน้ำตาลกลูโคสในเซลล์ จนได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำพร้อมพลังงานที่เก็บสะสมไว้ ในกลูโคสถูกปลดปล่อยออกมา

12 เอนไซม์และการทำงานของเอนไซม์
ซับสเตรต เอนไซม์ + ซับสเตรต เอนไซม์ ผลิตภัณฑ์ + +

13

14 หน้าที่ของเอนไซม์ในการเร่งปฏิกิริยาเคมี คือช่วยลดพลังงานกระตุ้นที่ใช้ในปฏิกิริยาให้น้อยลง

15

16 อิมิล ฟิเชอร์ “ทฤษฎีลูกกุญแจ-แม่กุญแจ”
อิมิล ฟิเชอร์ “ทฤษฎีลูกกุญแจ-แม่กุญแจ”

17 เอนไซม์แต่ละชนิดจะทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงเฉพาะซับสเตรต

18 เอนไซม์มีสมบัติเร่งปฏิกิริยาย้อนกลับได้

19 รูปร่างและส่วนประกอบของเอนไซม์
เอนไซม์เป็นสารประกอบโปรตีนที่ม้วนเป็นก้อน ประกอบด้วยพอลิเพปไทด์สายเดียวหรือหลายสายขดไปขดมา มีไอออนของโลหะหรือโมเลกุลของสารที่ไม่ใช่โปรตีนเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย มีไอออนโลหะหนัก หรือโมเลกุลของสารอินทรีย์(วิตามินต่าง ๆ )

20 ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานงานของเอนไซม์
การทำงานของเอนไซม์จะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการทำงานของเอนไซม์ระหว่าง องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงหรือต่ำกว่านี้ อัตราการทำงานของเอนไซม์จะ ลดลง และลดลงอย่างรวดเร็วเมื่ออุณหภูมิขึ้นไปสูงถึง 40 องศาเซลเซียส

21 ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานงานของเอนไซม์
เอนไซม์ทำงานได้ดีในระดับกรด-เบสต่างกัน เอนไซม์ทำงานได้ดีในอุณหภูมิต่าง ๆ กัน

22 ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานงานของเอนไซม์
อัตราการเกิดปฏิกิริยา ความเข้มข้นของสารตั้งต้น ถ้ามีปริมาณซับสเตรตเพิ่มขึ้นมากเรื่อย ๆ โดยปริมาณเอนไซม์ไม่เพิ่ม อัตราของปฏิกิริยาจะเพิ่มขึ้นจนถึงระดับหนึ่งแล้วอัตราของปฏิกิริยาจะคงที่

23 ทฤษฎีเหนี่ยวนำให้เหมาะสม(Induce Fit theory) ของแดเนียล คอชแลนด์
รูปร่างของเอนไซม์จะเปลี่ยนไป เมื่อมีซับสเตรตมาจับที่บริเวณเร่ง ซึ่งจะมีความยืดหยุ่น โครงรูปของซับสเตรตจะเหนี่ยวนำโครงรูปของบริเวณเร่งให้เข้ากันได้พอดี เอนไซม์เปลี่ยนรูปร่างไปบ้างเล็กน้อย ทำให้โมเลกุลของสารที่มีรูปร่างคล้ายกัน สามารถจับกับบริเวณเร่งได้

24 การยับยั้งเอนไซม์

25 ประโยชน์ของตัวยับยั้งของเอนไซม์
ใช้ในการศึกษาหาขั้นตอนของปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ตัวยับยั้งเอนไซม์ ส่วนมากจะทำหน้าที่ยับยั้งเอนไซม์เฉพาะอย่าง แต่ไม่มีผลกับปฏิกิริยาอื่น ซึ่งมีเอนไซม์อื่นเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เว้นแต่เป็นปฏิกิริยาต่อเนื่อง เช่น เอนไซม์ตัวแรกเปลี่ยนสารตั้งต้นให้เป็นผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ตัวนี้ถูกเอนไซม์ตัวที่สองเปลี่ยนให้เป็นผลิตภัณฑ์ตัวที่สอง เมื่อเอนไซม์ตัวแรกถูกยับยั้ง ผลิตภัณฑ์ตัวแรกจะไม่เกิด เอนไซม์ตัวที่สองจึงไม่ได้จับกับผลิตภัณฑ์ตัวแรก ไม่ใช่ตัวยับยั้งไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทั้งสองตัว

26 ตัวอย่างการหาลำดับขั้นตอนของปฏิกิริยา
1.สมมติว่าใส่สารชนิดที่ 1 ลงในหลอดทดลองที่เลี้ยงเซลล์ ผลที่ได้พบว่า การ หายใจของเซลล์เหล่านั้นหยุดชะงักลง เมื่อนำมาทดสอบด้วยกระบวนการ ทาง ชีวเคมี เพื่อหาปริมาณสารต่าง ๆ ภายในเซลล์ พบว่า สารที่เคยมีประจำในเซลล์ มีปริมาณต่างกันออกไป 3 พวก คือ สาร A และสาร B ซึ่งมีปริมาณปกติ สาร C ไม่มีเลย ส่วนสาร D มีปริมาณสูงกว่าปกติ จึงสรุปผลการทดลองช่วงนี้ได้ว่า น่าจะเป็นไปได้ 2 กรณี คือ A B D C หรือ B A D C

27 ต่อไปสมมติว่า ใส่สารชนิดที่ 2 ลงไปในหลอดทดลองที่เลี้ยงเซลล์ไว้อีกหลอดหนึ่ง ผลปรากฏว่าการหายใจของเซลล์จะหยุดชะงักเช่นเดียวกัน แต่คราวนี้สาร B มีปริมาณสูงขึ้นมากผิดปกติ ส่วนสาร A สาร C และสาร D ไม่มีเลย ทำให้สรุปผลการทดลองในช่วงนี้ได้ว่า สารต่าง ๆ ควร มีปฏิกิริยาตามลำดับ คือ B A D C

28 2.สมมติให้ปฏิกิริยาชีวเคมีอันหนึ่งมีสาร A เป็นสารตั้งต้น เมื่อให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้นสักครูหนึ่งพบว่า มีสาร B และ C เกิดขึ้น และมีสาร D เกิดขึ้นในภายหลัง ช่วงนี้อาจสรุปปฏิกิริยาว่า A B และ C D

29 จากการทดสอบการยับยั้งปฏิกิริยาด้วยตัวยับยั้ง พบว่า ตัวยับยั้งตัวหนึ่งสามารถยับยั้งปฏิกิริยาได้ ถ้าเติมสาร A ในปฏิกิริยา แล้วเติมตัวยับยั้งดังกล่าวลงไป พบว่าปริมาณสาร C เพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณ B จะลดลง ช่วงนี้อาจสรุปปฏิกิริยาว่า A C B D ตัวยับยั้ง

30 สรุปสมบัติของเอนไซม์
เอนไซม์เป็นสารประกอบพวกโปรตีน ประกอบด้วยกรดอะมิโนต่อกันด้วยพันธะเพปไทด์ เอนไซม์แสดงสมบัติของโปรตีนได้ เช่น ละลายน้ำได้ ตกตะกอนในแอลกอฮอล์เข้มข้น เสียสภาพธรรมชาติเมื่อถูกความร้อนสูง เป็นคะตะลิสต์อินทรีย์ (Organic catalyst) มีหน้าที่เร่งปฏิกิริยา โดยช่วยลดพลังงานกระตุ้นให้ต่ำลง ปฏิกิริยาจึงเกิดได้ง่ายและเร็วขึ้น มีความจำเพาะเจาจง (specificity) ต่อสารตั้งต้น โดยสารตั้งต้นสามารถเข้าจับที่บริเวณเร่งของเอนไซม์ได้พอดี หรือ อาจมีการเหนี่ยวนำให้โครงรูปของบริเวณเร่งเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย จึงทำให้สารตั้งต้นจับกับบริเวณเร่งได้พอดี โครงสร้างของเอนไซม์ไม่เปลี่ยนแปลงหลังเกิดปฏิกิริยาแล้ว จึงสามารถทำปฏิกิริยากับสารตั้งต้นตัวใหม่ได้อีก อัตราการทำงานของเอนไซม์จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความเข้มข้นของสารตั้งต้น ความเข้มข้นของเอนไซม์เอง อุณหภูมิ pH การสัมผัสระหว่างเอนไซม์กับสารตั้งต้น


ดาวน์โหลด ppt ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google