รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2558 รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2558 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556
รายงานผลการวิเคราะห์จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน โอกาสในการพัฒนา หลักสูตรจำเป็นจะต้องเร่งรัดให้มีอาจารย์ประจำหลักสูตรครบจำนวนตามที่พึงเป็นโดยเร่งด่วน ข้อเสนอแนะ พิจารณาการกำหนดอาจารย์ประจำหลักสูตรโดยภาพรวมของคณะ เพื่อให้มีการกระจายการทำหน้าที่อาจารย์ประจำหลักสูตรของคณาจารย์ในคณะได้อย่างเต็มศักยภาพ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต โอกาสในการพัฒนา บัณฑิตยังขาดสมรรถนะหลายด้านจากผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต เช่น ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ การนำเสนองาน ความเป็นผู้นำ และมีความอดทน ฯลฯ ควรประเมินความพึงพอใจของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้โดยตรง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงหลักสูตร ข้อเสนอแนะ ควรวางกลยุทธ์ในการเพิ่มสมรรถนะของบัณฑิตในประเด็นต่างๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้น รวมถึงการประเมินความพึงพอใจของบัณฑิตที่มีต่อหลักสูตร
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา จุดเด่น หลักสูตรสามารถดำเนินการจนส่งผลให้อัตราการคงอยู่ของนักศึกษาอยู่ในระดับที่ดี มีอัตราการออกกลางคันค่อนข้างน้อย
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา โอกาสในการพัฒนา ควรมีการแจงให้เห็นภาพกระบวนการรับนักศึกษาที่ปัจจุบันมีอยู่หลายรูปแบบ เพื่อให้สามารถประเมินกระบวนการได้อย่างถูกต้อง ควรดำเนินการประเมินกระบวนการรับนักศึกษาและเตรียมความพร้อม เพื่อนำผลการประเมินมาวิเคราะห์และนำไปปรับปรุงกระบวนการให้ดีขึ้น ควรดำเนินการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย เพื่อให้ทราบสัมฤทธิผลในการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร ควรวางระบบการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษาให้เป็นรูปธรรมและมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ โอกาสในการพัฒนา ยังขาดการวางแผนการพัฒนาอาจารย์ประจำทั้งในแง่คุณวุฒิ และตำแหน่งทางวิชาการที่เป็นรูปธรรม ยังขาดแผนการสนับสนุนให้อาจารย์ประจำหลักสูตรไปเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ ยังขาดการรายงานผลงานทางวิชาการทำให้ไม่สามารถประเมินศักยภาพของอาจารย์ประจำหลักสูตรได้อย่างชัดเจน
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ ข้อเสนอแนะ ควรจัดทำแผนปฏิบัติการพร้อมการกำหนดกรอบเวลาในการพัฒนาอาจารย์ประจำให้ได้คุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ โดยมีการติดตามประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ การเสนอผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำ ควรคำนึงถึงคุณภาพของงานที่พึงปรากฏในฐานข้อมูลตามประกาศ กพอ. ควรวางแผนการจัดหาอัตรากำลังทดแทนอาจารย์ประจำหลักสูตรที่จะเกษียณอายุงาน เพื่อไม่ให้เกิดการขาดตอนในการบริหารหลักสูตร
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน จุดเด่น มีการวิจัยในชั้นเรียนของอาจารย์ที่อยู่ในหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ และมีการนำ KM มาใช้ประโยชน์เพื่อทำให้จัดการเรียนการสอนมีการพัฒนามากยิ่งขึ้น
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน โอกาสในการพัฒนา ยังขาดมาตรการในการกำกับติดตาม มคอ. 3 4 5 และ 6 ยังขาดการประเมินผู้เรียนที่จะสะท้อนภาพการจัดการเรียนการสอนในกระบวนวิชาที่จะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงการเรียนการสอนในภาคเรียนต่อไป ควรให้อาจารย์ประจำหลักสูตรมีการทำวิจัยในชั้นเรียนเพิ่มมากขึ้น ข้อเสนอแนะ ควรหากลยุทธ์รูปแบบต่างๆ ที่จะให้ได้ มคอ. 3 4 5 และ 6 ภายในระยะเวลาที่กำหนด
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โอกาสในการพัฒนา ยังขาดการจัดทำ Inventory list ของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อให้สามารถใช้สิ่งสนับสนุนฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรประเมินกระบวนการให้ได้มาซึ่งสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่จะทำให้ทราบว่าจะต้องปรับกระบวนการในรูปแบบใดได้อีก เช่น การขอการสนับสนุนจากศิษย์เก่า หรือการขอรับบริจาคเครื่องมือเก่าที่ยังสามารถใช้งานได้จากหน่วยงานอื่น
ข้อเสนอแนะภาพรวม ควรเขียนบรรยายหรือจัดทำเป็น Flow Chart ที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการดำเนินงานต่างๆ และอธิบายการประเมินกระบวนการ ตลอดจนแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการปรับปรุงกระบวนการ การดำเนินการแต่ละอย่างควรมีหลักฐานพร้อมให้ตรวจสอบ เช่น บันทึกการประชุม แบบประเมินต่างๆ และผลสรุปจากการประเมิน
ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในตามตัวบ่งชี้
ผลการประเมินของกรรมการ องค์ประกอบ ผลการประเมินตนเอง ผลการประเมินของกรรมการ องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ 1.1 การบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ที่กำหนดโดย สกอ. 1. จำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร O 2. คุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตร P 11. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด
ผลการประเมินของกรรมการ องค์ประกอบ ผลการประเมิน ตนเอง ผลการประเมินของกรรมการ องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต ตัวบ่งชี้ 2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 3.90 ตัวบ่งชี้ 2.2 การได้งานทำหรือผลงานวิจัยของผู้สำเร็จการศึกษา * ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบ อาชีพอิสระภายใน 1 ปี (ปริญญาตรี) 3.91
ผลการประเมินของกรรมการ องค์ประกอบ ผลการประเมิน ตนเอง ผลการประเมินของกรรมการ องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา ตัวบ่งชี้ 3.1 การรับนักศึกษา 4 1 ตัวบ่งชี้ 3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา ตัวบ่งชี้ 3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา 2
ผลการประเมินของกรรมการ องค์ประกอบ ผลการประเมิน ตนเอง ผลการประเมินของกรรมการ องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ ตัวบ่งชี้ 4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ 4 1 ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์ 2.78 3.78 * ร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 5 * ร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่ง ทางวิชาการ 3.33 * ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร 3 ตัวบ่งชี้ 4.3 ผลที่เกิดกับอาจารย์ 2
ผลการประเมินของกรรมการ องค์ประกอบ ผลการประเมิน ตนเอง ผลการประเมินของกรรมการ องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ตัวบ่งชี้ 5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร 3 1 ตัวบ่งชี้ 5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียน การสอน ตัวบ่งชี้ 5.3 การประเมินผู้เรียน ตัวบ่งชี้ 5.4 ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ผลการประเมินของกรรมการ องค์ประกอบ ผลการประเมิน ตนเอง ผลการประเมินของกรรมการ องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ 6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 4 1
สรุปผลการประเมิน องค์ประกอบ ผลการประเมิน องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน ผ่าน ไม่ผ่าน P ค่าเฉลี่ยของตัวบ่งชี้ในองค์ประกอบที่ 2-6 1.74