การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือการวิจัย

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
แนวทางการบริหารงบประมาณ
Advertisements

การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
การจัดทำแผนปฏิทินการจัดการความรู้ และแผนในการติดตามประเมินผลการจัดการความรู้ E:\ประกันคุณภาพ\ppt\ดูงาน\12-PPT_เสนอ_ครุศาสตร์_จุฬา_19_11_50.ppt.
โดย นางสาวนิภาพร เถาคำแก้ว วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค.)
ผู้วิจัย : นางสาวสุรีรัตน์ ขันคำ
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design)
แบบสอบถาม (Questionnaire)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
ขั้นตอนการจัดทำและพัฒนากรรม
การวัด Measurement.
การวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบ (Test Quality Analysis) ดร.ชนาธิป ทุ้ยแป สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ประเภทโครงงาน พัฒนาระบบ (System Development)
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา(Educational Media)
KPI 8 : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาบุคลากร น้ำหนัก :ร้อยละ 5 KPI ๑๐ : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาปรับปรุง วัฒนธรรมองค์การ น้ำหนัก : ร้อยละ 3 กองการเจ้าหน้าที่
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล เรื่องการเชื่อมโยง ภาพนิ่ง ด้วยโปรแกรม Powerpoint2007 โดยใช้ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ของนักเรียนระดับชั้น.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
บทที่ 3 นักวิเคราะห์ระบบและการ วิเคราะห์ระบบ. 1. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) 1.1 ความหมายของนักวิเคราะห์ระบบ นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis:
ปรานอม ประทีปทวี 25/09/591 หน้าที่ของครูผู้นิเทศ สพม.5.
ประเภทของ CRM. OPERATIONAL CRM เป็น CRM ที่ให้การสนับสนุนแก่กระบวนการธุรกิจ ที่เป็น “FRONT OFFICE” ต่างๆ อาทิ การขาย การตลาด และการ ให้บริการ SALES FORCE.
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การสร้างแผนปฏิบัติการระดับตำบลหรือท้องถิ่น
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การแพร่กระจายนวัตกรรม Diffusion of Innovation
กลุ่มคำและประโยค ภาษาไทย ม. ๓
เรื่อง ความพึงพอใจต่อการให้บริการห้องสมุด
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
One Point Lesson (OPL).....บทเรียนประเด็นเดียว
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
การวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบ และแบบสอบถามข้อสอบ โดยใช้ SPSS
ทำการวิจัยโดย นางรุ่งนภา ทินช่วย
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
Instruction design แผนจัดการเรียนรู้ Active Learning
การออกแบบ การประเมินโครงการ
ผู้วิจัย นายอภิสิทธิ์ แก้วฟู วิทยาลัยอาชีวศึกษาจันทร์รวี
บทที่ 7 การวิเคราะห์ความเชื่อถือได้ของเครื่องมือวัด
การหาคุณภาพของแบบทดสอบ
โดย นางสาวนิรมล บุรกรณ์
นางสาวปัณยตา หมื่นศรี
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
นางสาวสุภาวดี นุกุลเสาวลักษณ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตรดิตถ์ 2559
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
หลักการเขียนเกณฑ์การประเมิน(Rubrics)
การนำเสนอผลงานการวิจัย
หลัก MAX MIN CON การออกแบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง
สัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน
กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยนี้สำเร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์ของบุคคลหลายท่านซึ่งไม่สามารถกล่าวไว้ในที่นี้ได้ทั้งหมดทุกท่าน ซึ่งท่านแรก ผู้จัดทำต้องขอขอบคุณ.
การวัดและประเมินผลด้านพุทธิพิสัย (ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ของ Benjamin Bloom) รศ. บรรพต พรประเสริฐ.
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
การวัดพฤติกรรมทางด้านทักษะพิสัย
BASIC STATISTICS MEAN / MODE / MEDIAN / SD / CV.
บทที่ 9 การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting)
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การกำหนดประเด็นปัญหา
นายเกียรติศักดิ์ คนธสิงห์ วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ
งานวิจัยในชั้นเรียน ผู้วิจัย นางสาวนนทกานต์ ลีอุดมวงษ์ .
การวัดและประเมินผลด้านพุทธิพิสัย (ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ของ Benjamin Bloom) รศ. บรรพต พรประเสริฐ.
การสอนควบคู่กับการเรียน
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report
วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่
การสร้างแบบทดสอบ อาจารย์ ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์ สมพงษ์ พันธุรัตน์
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน การเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
ADDIE model หลักการออกแบบของ
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
หน่วยที่ 4 การสร้างเครื่องมือ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือการวิจัย บทที่ 9 การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือการวิจัย ดร.นันทิมา นาคาพงศ์ วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

เนื้อหาในบทเรียน 1. ความหมายของคุณภาพเครื่องมือการวิจัย 2. ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือการวิจัย 3. ความตรง 4. ความเที่ยง 5. ความยาก 6. อำนาจจำแนก 7. ความเป็นปรนัย

ความหมายของคุณภาพเครื่องมือการวิจัย คุณภาพเครื่องมือการวิจัย หมายถึง ? คุณลักษณะที่บ่งบอกความสามารถของเครื่องมือวิจัยที่ใช้ ในการเก็บรวมรวมข้อมูล การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยดำเนินการได้ 2 ลักษณะ คือ 1. การตรวจสอบก่อนนำไปทดลองใช้ (try out) 2. การตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นหลังจากการนำไปทดลองใช้

ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือการวิจัย จำนวนตัวชี้วัด การพัฒนาตัวชี้วัด จำนวนและรูปแบบคำถาม 1. กำหนดข้อมูลและตัวชี้วัด 2. เลือกรูปแบบคำถาม 3. ร่างคำถาม 4. ตรวจสอบขั้นต้น 5. ตรวจสอบคุณภาพ

ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือการวิจัย 1. กำหนดข้อมูลและตัวชี้วัด เป็นการกำหนดว่า ในการวิจัยครั้งนั้นต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้าง หรือมีเนื้อหาอะไรที่ต้องวัดบ้าง จะวัดในลักษณะใด และจะใช้อะไรเป็นตัวชี้วัด (indicator) พิจารณา 3 ประเด็น ได้แก่ 1.1 จำนวนตัวชี้วัด แนวความคิดหรือตัวแปรหนึ่ง ๆ นั้นอาจจะใช้ตัวชี้วัดตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้ ปกติตัวแปรหรือข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงต่าง ๆ มักจะใช้ตัวชี้วัดตัวเดียว แต่ถ้าเป็นตัวแปรที่เป็นความคิดเห็น ความสามารถทางสมอง หรือพฤติกรรม มักจะใช้วัดด้วยตัวชี้วัดหลายตัว 1.2 การพัฒนาตัวชี้วัด โดยวิเคราะห์จากผลงานวิจัย หนังสือ ตำรา 1.3 จำนวนและรูปแบบคำถาม การกำหนดข้อมูลและตัวชี้วัดนี้ควรทำเป็นตาราง 2 ทาง แสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลตัวแปรหรือเนื้อหากับตัวชี้วัดหรือพฤติกรรมที่ต้องการวัด (table of specification) จากนั้นจึงนำไปตรวจสอบคุณภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญไม่น้อยกว่า 3 คน

ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือการวิจัย table of specification แสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลตัวแปรหรือเนื้อหา กับตัวชี้วัดหรือพฤติกรรมที่ต้องการวัด เนื้อหา ความรู้ความจำ ความ เข้าใจ การ นำไปใช้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ การประเมินผล รวม ความหมายของเซต 1 5 ประเภทของเซต 4 การดำเนินการทางเซต 6 3 2 15

ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือการวิจัย 2. เลือกรูปแบบคำถาม เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่าง 3. ร่างคำถาม ตามเนื้อหาและตัวชี้วัด ใช้เป็นภาษาของผู้ตอบ ภาษาทางวิชาการเฉพาะที่เป็นแบบสอบถาม ถ้าเป็นแบบสัมภาษณ์ใช้ภาษาพูดท้องถิ่นของผู้ตอบ 4. ตรวจสอบขั้นต้น เกี่ยวกับภาษา ความสละสลวย และความถูกต้องตามหลักวิชา ถ้ามีเวลาควรนำไปให้คนอื่นช่วยอ่านและนำมาปรับปรุงด้วย 5. ตรวจสอบคุณภาพ ควรทำเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรก นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหา และด้านการวิจัยหรือการสร้างเครื่องมือตรวจสอบความเที่ยงตรง ความเป็นปรนัย และความสามารถนำไปใช้ได้ ขั้นที่สอง นำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจริงไม่น้อยกว่า 30 คน เพื่อตรวจสอบคุณภาพของข้อคำถามรายข้อและทั้งชุดตาม

ความตรง(Validity) ความตรง (Validity) หมายถึง ? คุณภาพของเครื่องมือการวิจัย วัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์และพฤติกรรมที่ต้องการ วัดได้ครอบคลุมครบถ้วนตามเนื้อหา วัดได้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง

3.ความตรง เชิงสัมพันธ์ กับเกณฑ์ 2.ความตรงเชิงโครงสร้าง ความตรง(Validity) 3.ความตรง เชิงสัมพันธ์ กับเกณฑ์ 2.ความตรงเชิงโครงสร้าง 1.ความตรงเชิงเนื้อหา ประเภทและวิธีการหาความตรง

ความตรง(Validity) ความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) หมายถึง ? วัดได้ตรงตามเนื้อหาและสาระที่สำคัญที่ต้องการให้วัด วิเคราะห์เชิงเหตุผลเปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือวัตถุประสงค์ที่กำหนด ใช้ดุลยพินิจทางวิชาการของตนเองหรือผู้ชำนาญการช่วยพิจารณาตัดสิน วิธีการหาความตรงเชิงเนื้อหา คือ การหาดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับจุดประสงค์(Index of Item-Objective Congruence : IOC) เป็นแบบสำรวจให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาข้อคำถามแต่ละข้อในเครื่องมือวัด โดยกำหนดคะแนนสำหรับพิจารณาข้อคำถามแต่ละข้อ

ตัวอย่าง การหาค่าความตรงเชิงเนื้อหา ความตรง(Validity) ตัวอย่าง การหาค่าความตรงเชิงเนื้อหา จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ข้อคำถาม ระดับความคิดเห็น +1 -1 นักเรียนสามารถเปรียบเทียบ จำนวนเต็มได้ถูกต้อง ข้อใดเปรียบเทียบจำนวนเต็มได้ถูกต้อง ก. -8 > 5 ข. 0 > -2 ค. 7 < -7 ง. -3 < -6 +1 แน่ใจว่าข้อคำถามนั้นสอดคล้องกับเนื้อหาตามจุดประสงค์ที่ต้องการวัด -1 แน่ใจว่าข้อคำถามนั้นไม่สอดคล้องกับเนื้อหาตามจุดประสงค์ที่ต้องการวัด 0 ไม่แน่ใจว่าข้อคำถามนั้นสอดคล้องกับเนื้อหาตามจุดประสงค์ที่ต้องการวัด

ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญคนที่ ความตรง(Validity) จุดประสงค์ เชิงพฤติกรรม ข้อคำถาม ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญคนที่ รวม IOC ผล 1 2 3 4 5 1.1 1.00 ใช้ได้ 1.2 -1 .20 ใช้ไม่ได้ 2.1 .60 2.2 .40 เมื่อ I แทน ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์ แทน ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญ การแปลผลของค่า IOC ดังนี้ ค่า IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป แปลว่า เครื่องมือนั้นมีความตรงเชิงเนื้อหาระดับสูงค่า IOC ต่ำกว่า 0.5 แปลว่า มีความตรงเชิงเนื้อหาในระดับต่ำ จึงไม่ควรใช้

ความตรง(Validity) 2.2 ความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) หรือความตรงเชิงทฤษฎี มีรูปแบบหรือโครงสร้างตามทฤษฎีที่ควรจะเป็นในการวัด เช่น แบบวัดเชาวน์ปัญญาวัดองค์ประกอบครบถ้วนตามทฤษฎีของกิลฟอร์ดทั้ง 3 มิติ คือ เนื้อหา ปฏิบัติการ และผลผลิต วิธีการหาความตรงเชิงโครงสร้าง นำเครื่องมือไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง แล้วนำผลมาวิเคราะห์โดยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ (1) วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis) (2) วิธีลักษณะหลากวิธีหลาย (Multi-trait multi-method) (3) เทคนิคกลุ่มรู้ชัด (Known group technique)

ความตรง(Validity) 2.3 ความตรงเชิงสัมพันธ์กับเกณฑ์ (Criterion – related Validity) พิจารณาความสัมพันธ์ของเครื่องมือวัดนั้นกับเกณฑ์ภายนอก 2 ประเภทย่อย คือ 2.3.1 ความตรงเชิงสภาพการณ์ (concurrent Validity) วัดเกณฑ์พร้อมกับการทดลองใช้เครื่องมือ 2.3.2 ความตรงเชิงพยากรณ์ (Predictive Validity) วัดเกณฑ์หลังจากนำเครื่องมือไปใช้เรียกว่าความตรงเชิงพยากรณ์

ความเที่ยง (Reliability) คุณภาพของเครื่องมือการวิจัยที่วัดได้คงเส้นคงวา จะวัดซ้ำกี่ครั้งก็ได้ผลเหมือนเดิมทุกครั้ง ถ้าค่าเข้าใกล้ 1 แสดงว่ามีความเที่ยงสูง ถ้าค่าเข้าใกล้ 0 แสดงว่ามีความเที่ยงต่ำ วิธีการประมาณค่าความเที่ยง จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1.การประมาณค่าความเที่ยงแบบอิงกลุ่ม 2.การประมาณค่าความเที่ยงแบบอิงเกณฑ์

ความเที่ยง (Reliability) 1.การประมาณค่าความเที่ยงแบบอิงกลุ่ม 1.1 การประมาณความมีเสถียรภาพ (Estimation of stability) หรือ การใช้วิธีสอบซ้ำ (test-retest method) ใช้สูตรการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย เมื่อ X แทน คะแนนสอบครั้งแรก Y แทน คะแนนสอบครั้งหลัง

ความเที่ยง (Reliability) 1.1 วิธีสอบซ้ำ (test-retest method) สร้างแบบทดสอบ 1 ฉบับ นำไปทดสอบกับผู้สอบ 1 กลุ่ม จำนวน 2 ครั้ง นำผลการทดสอบที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ถ้าแบบทดสอบใดได้ค่าความเที่ยงเข้าใกล้ 1.00 แสดงว่า แบบทดสอบนั้นมีคุณสมบัติด้านความเที่ยง โดยทั่วไปเครื่องมือควรมีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.70 ขึ้นไป

ความเที่ยง (Reliability) 1.2 การประมาณความเท่าเทียมหรือคู่ขนาน (Measures of equivalence or measures of parallel) สร้างแบบทดสอบ 2 ฉบับที่คล้ายคลึงกัน ( จำนวนข้อเท่ากัน ถามเนื้อหาเดียวกันยากง่ายพอๆ กัน ) ทำการทดสอบผู้สอบ 1 กลุ่ม ทั้ง 2 ฉบับในเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน นำผลการสอบทั้ง 2 ฉบับ มาวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์

ความเที่ยง (Reliability) 1.3 การประมาณความเที่ยงแบบวัดความคงที่ภายใน (Measures of internal consistency) (1) การแบ่งครึ่งแบบทดสอบ (split-half method) ใช้แบบทดสอบ 1 ฉบับ ทดสอบกับผู้เข้าสอบ 1 ครั้ง แบ่งตรวจคะแนนทีละครึ่งฉบับ เช่น ข้อคู่-ข้อคี่, ครึ่งบน-ครึ่งล่าง, สุ่ม นำคะแนนทั้ง 2 ครึ่ง มาวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ จะได้ค่าความเที่ยงของครึ่งฉบับ นำค่าที่ได้มาปรับขยายให้เต็มฉบับ โดยใช้สูตรของ Spearman Brown

ความเที่ยง (Reliability) (2) การใช้ค่าสถิติพื้นฐาน สร้างแบบทดสอบ 1 ฉบับ ทดสอบกับคน 1 กลุ่ม 1 ครั้ง ให้คะแนนแบบ 0,1 ทุกข้อมีความยากเท่ากัน ข้อสอบปรนัยหรืออัตนัย ให้คะแนนแบบ 0,1 คำนวณด้วยสูตร สัมประสิทธิ์แอลฟา คำนวณด้วยสูตร KR-20 คำนวณด้วยสูตร KR-21

ความเที่ยง (Reliability) 1.4 การประมาณความเที่ยงโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน ฮอยท์ (Hoyt) สร้างแบบทดสอบ 1 ฉบับ ทดสอบกับคน 1 กลุ่ม 1 ครั้ง ให้คะแนนแบบ 0,1 หรืออัตนัย หรือมาตราส่วนประมาณค่า คำนวณด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา

ความเที่ยง (Reliability) 2.การประมาณค่าความเที่ยงแบบอิงเกณฑ์ 2.1 การประมาณความเที่ยงแบบการวัดความมีเสถียรภาพ (Estimation of stability) ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 1 ไม่ผ่านเกณฑ์ (0) ผ่านเกณฑ์ (1) รวม -

ความเที่ยง (Reliability) 2.2 การประมาณความเที่ยงแบบการวัดความคล้ายกัน (Measures of equivalence) ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 1 ไม่ผ่านเกณฑ์ ผ่านเกณฑ์ รวม a b a+b d c c+d a+d b+c n=a+b+c+d

ความเที่ยง (Reliability) 2.3 การประมาณความเที่ยงแบบการวัดความคงที่ภายใน (Measures of internal consistency) เมื่อ rcc แทน ค่าประมาณความเที่ยงแบบอิงเกณฑ์ rtt แทน ค่าประมาณความเที่ยงแบบอิงกลุ่ม C แทน คะแนนเกณฑ์หรือคะแนนจุดตัด

ความยาก (Difficulty) ความยาก (Difficulty) หมายถึง ? สัดส่วนของของผู้ตอบถูกจากคนทั้งหมดที่ตอบในข้อนั้น ถ้าข้อนั้นมีคนทำถูกน้อย ข้อสอบข้อนั้นก็มีความยากมาก ถ้าข้อนั้นมีคนทำถูกมาก ข้อสอบข้อนั้นก็มีความยากน้อย เช่น ถ้ามีคนตอบข้อนั้นถูก 20 คน จากคนที่ตอบทั้งหมด 40 คน ข้อนั้นจะมีค่าความยากง่ายเท่ากับ 0.50 (20/40) ค่าสัดส่วนนี้เรียกว่าดัชนีความยากง่าย (Index of Difficulty) นิยมใช้อักษร p

ความยาก (Difficulty) วิธีการหาความยาก 1. ความยากของข้อสอบอิงกลุ่ม คัดเลือกข้อสอบที่มีค่า p อยู่ระหว่าง 0.2 ถึง 0.8 สูตรคำนวณดัชนีความยาก มีดังนี้ เมื่อ P แทน ดังนีความยาก R แทน จำนวนคนที่ตอบข้อนั้นถูก N แทน จำนวนคนที่เข้าสอบ

ความยาก (Difficulty) วิธีการหาความยาก 2. ความยากของข้อสอบอิงเกณฑ์ สูตรคำนวณดัชนีความยาก มีดังนี้ หรือ เมื่อ P แทน ดังนีความยาก R แทน จำนวนคนที่ตอบข้อนั้นถูก N แทน จำนวนคนที่เข้าสอบ

อำนาจจำแนก (Discrimination) สัดส่วนของผลต่างระหว่างจำนวนผู้ตอบถูก ในกลุ่มที่ได้คะแนนมากกับที่ได้คะแนนน้อย ซึ่งแสดงถึงความสามารถของข้อคำถามที่จำแนกหรือแบ่งความแตกต่างระหว่างคนเก่งกับคนอ่อน หรือคนที่รู้กับไม่รู้ออกจากกัน แทนด้วยอักษร r มีค่าระหว่าง –1.0 จนถึง +1.0 ถ้ามีค่าใกล้ 0 แปลว่ามีอำนาจจำแนกน้อย ถ้าใกล้ +1.0 หรือ –1.0 แปลว่ามีอำนาจจำแนกมาก ข้อคำถามที่ดีจะต้องมีค่าอำนาจจำแนกเป็นบวก ค่าติดลบข้อคำถามนั้นจะมีอำนาจจำแนกกลับกัน ข้อคำถามที่ดีจะต้องมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.2 ขึ้นไป และมีค่ายิ่งมากยิ่งดี

อำนาจจำแนก (Discrimination) วิธีการหาอำนาจจำแนก กรณีแบบทดสอบ แบ่งผู้สอบทั้งหมดออกเป็น 2 กลุ่ม คือ การวัดแบบอิงกลุ่มแบ่งเป็นกลุ่มเก่งกับกลุ่มอ่อน การวัดแบบอิงเกณฑ์แบ่งเป็นกลุ่มผ่านกับกลุ่มไม่ผ่าน 2.1 การหาอำนาจจำแนกแบบอิงกลุ่ม เรียงคะแนนจากสูงสุดจนถึงต่ำสุด 2.1.1 การใช้เทคนิค 50% หรือ

อำนาจจำแนก (Discrimination) 2.1.2 การใช้เทคนิค 27% ของ จุง เตห์ ฟาน (Jung The Fan) ใช้ได้กับการวิเคราะห์ข้อสอบที่มีผู้เข้าสอบจำนวนมากกว่า 300 คน 2.1.3 การหาสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมที่หักคะแนนข้อนั้นออก

อำนาจจำแนก (Discrimination) 2.2 การหาอำนาจจำแนกแบบอิงเกณฑ์ 2.2.1 ดัชนีอำนาจจำแนกของเบรนเนน (Brennan) หรือ B-index ใช้ได้กับการวิเคราะห์ข้อสอบที่มีผู้เข้าสอบจำนวนมากกว่า 300 คน 2.2.2 ดัชนีความไวของข้อสอบ

ตารางสรุปผล .42 .57 - ข้อนี้คัดเลือกไว้ ข ข้อที่ ตัว เลือก กลุ่มสูง กลุ่มต่ำ p r การแปลผล 1 ก ข* ค ง จ 3 10 - 7 2 4 .42 .28 .57 .21 .07 .00 - ความยากพอเหมาะ (.42) - จำแนกได้ดีมาก (.57) - ตัวลวงใช้ได้ โดยปรับปรุง ข้อ ง. และ จ. - ข้อนี้คัดเลือกไว้ ข

เกณฑ์การคัดเลือกข้อสอบที่ดี ค่า p 0.80 0.20 ค่า r 0.20 1.00

ความเป็นปรนัย (Objectivity) คุณภาพของเครื่องมือการวิจัยที่มีคุณลักษณะ 3 ประการ คือ (1) คำถามมีความชัดเจน (2) การตรวจให้คะแนน (3) การแปลความหมายของคะแนน

ความเป็นปรนัย (Objectivity) วิธีการหาความเป็นปรนัย นำข้อมูลคำถามไปทดลองใช้ โดยอาจให้นักเรียนทดลองอ่าน แล้วถามความเข้าใจว่าตรงตามที่ผู้สร้างต้องการหรือไม่ นำไปให้ครูคนอื่นๆทดลองใช้ ตรวจให้คะแนนและแปลความหมายของคะแนน ว่าตรงตามที่ผู้สร้างต้องการหรือไม่ ถ้าเข้าใจตรงกันทั้ง 3 ประเด็น ก็มีความเป็นปรนัย

Thank You!

Workshop 9 นิสตแบ่งกลุ่มละ 5 คน จงอธิบายขั้นตอนของการหาคุณภาพเครื่องมือการวิจัยต่อไปนี้ แบบสอบถาม ข้อสอบ