Introduction to Public Administration Research Method

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ชีววิทยา (Biology) มัธยมศึกษาตอนต้น.
Advertisements

10303 วิธีการปริมาณทางธุรกิจ Quantitative Analysis
BLACKWELL SYNERGY Jirawat Promporn Book Promotion & Service Co Ltd
วิธีการแสวงหาความรู้
โดย อาจารย์ ดร.มาเรียม นิลพันธุ์
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจ
ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชี
: ความหมาย และประเภทการวิจัย
Faculty of Public Health, Mahasarakham University, Thailand
มโนทัศน์เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย
BLACKWELL SYNERGY Jirawat Promporn Book Promotion & Service Co Ltd
โดย : จิรวัฒน์ พรหม พร Book Promotion & Service Co,. Ltd. Tel :
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจ
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐาน ทางการจัดการโลจิสติกส์
ประเภทของการวิจัย. แบ่งตามวัตถุประสงค์ ของการศึกษา การวิจัยเพื่อสำรวจ (Exploratory Research) การวิจัยเพื่อพรรณนา (Descriptive Research) การวิจัยเพื่ออธิบาย.
หมายเหตุ: ถ้าต้องการเปลี่ยน รูปภาพบนสไลด์นี้ ให้เลือกรูปภาพ และลบรูปภาพนั้น จากนั้นคลิกที่ ไอคอนรูปภาพ ในตัวแทนรูป เพื่อ แทรกรูปภาพของ คุณ ศูนย์วิทยบริการ.
การประชุมเชิงปฏิบัติการ การออกแบบการจัดการเรียนรู้
ยินดีต้อนรับ คณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร/สาขาวิชา ประจำปีการศึกษา 2558.
การศึกษา ปริญญาตรี - ศิลปศาสตร์บัณฑิต(รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
การวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research
กม.152 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น Introduction to Public law
แนวคิดทางภูมิศาสตร์ ผู้สอน: อาจารย์พรสมิทธิ์ ฉายสมิทธิกุล
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ คุณภาพของเครื่องมือวัด
วิชา พุทธปรัชญาเถรวาท THERAVADA BUDDHIST PHILOSOPHY
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการเงิน
การวเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ
แปลว่าความรู้(Knowledge)
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์
การคัดเลือก (Selection)
แนวคิดการวิจัย เชิงคุณภาพ รศ
การทำงานเชิงวิเคราะห์
วิทยาศาสตร์ และ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เกริ่นนำงานวิจัยเบื้องต้น
เรวัต แสงสุริยงค์ ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับการบริการสังคม (Research Method of Social Service) กระบวนการวิจัย เรวัต แสงสุริยงค์
Introduction to Data mining
โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการจัดการ โลจิสติกส์
การบริหารและประเมินโครงการ แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
Thailand Standards TMC.WFME.BME. Standards (2017)
บทที่ 1 บทนำ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญา วิธิการทางปรัชญา
การประเมินคุณภาพหลักสูตรรายวิชา “
รายวิชาแหล่งสารสนเทศ หน่วยที่ 5 แหล่งสารสนเทศแยกประเภทตามสาขาวิชา
การเขียนเอกสารประจำภาค/เอกสารวิจัย การเขียนเอกสารแนวความคิดในการวิจัย
ความแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพกับการวิจัยเชิงปริมาณ
วิจัยทางการพยาบาล ดร.อัญชลี จันทาโภ.
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการจัดการโลจิสติกส์
Techniques Administration
Hilda  Taba  (ทาบา).
ผลงานวิชาการรับใช้สังคม และการขอตำแหน่งทางวิชาการ
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
การศึกษา ในฐานะเป็นปัจจัย กำลังอำนาจแห่งชาติ
Animal Health Science ( )
Public Health Nursing/Community Health Nursing
การเก็บรวบรวมข้อมูล.
การวิจัยทางธุรกิจ Business Research
การใช้งานฐานข้อมูล H.W. Wilson
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจ
น้ำตกคลองลาน อุทยานแห่งชาติคลองลาน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
Introduction to Public Administration Research Method
เขียนบทความวิจัยอย่างไร ในวารสารวิชาการนานาชาติ
งานวิจัย.
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
การใช้งานฐานข้อมูล H.W. Wilson
บทที่ 5 การเขียนตอบข้อสอบอัตนัย
รพีพัฒน์ จันทนินทร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ใบสำเนางานนำเสนอ:

Introduction to Public Administration Research Method ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย

Introduction ปัจจุบันการวิจัยมีบทบาทสำคัญในแทบทุกสาขาวิชา ไม่ว่าจะเป็นการเมืองการ ปกครอง,​ การทหาร, การศึกษา, การเกษตร, การอุตสาหกรรม, และเศรษฐกิจ เป็นต้น มีการนำผลการวิจัยมาเป็นแนวทางในการวางแผนดำเนินการ มีการวิจัย ประเมินผลระหว่างดำเนินการ การวิจัยและพัฒนา การวิจัยติดตามผล ซึ่งจะเห็น ได้ว่าการวิจัยมีความจำเป็นตลอดระยะเวลางาน ผู้เรียนควรศึกษาเรื่องการวิจัยเพื่อให้สามารถอ่านผลวิจัยของผู้อื่นได้เข้าใจแจ่ม แจ้ง และสามารถนำผลงานวิจัยที่ค้นพบแล้วมาใช้ประโยชน์ รวมถึงสามารถ เรียนรู้การทำวิจัยได้ด้วยตนเอง

กระบวนการแสวงหาความรู้ มนุษย์ได้วิวัฒนาการการแสวงหาความรู้ให้ตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาการ ดำรงชีวิตให้ดีขึ้น ทำให้มนุษย์สนใจศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพื่อให้ได้คำตอบที่ สงสัย มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Social Animal) ซึ่งต่างจากสัตว์อื่นตรงที่ มนุษย์รู้จักกำหนดใช้ “ความคิดมีเหตุผล (The Thought is Reasonable) ผลที่จะดำเนินการอธิบายหรือแก้ปัญหาต่างๆได้ด้วย เหตุผลและรู้จักผิดชอบชั่วดี” เป้าหมายในการแสวงหาความรู้ คือ เพื่อการทำนาย (Predicting) นำ ความรู้มาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่การดำรงชีวิตและสามารถสร้างความ เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าในด้านต่างๆ

กระบวนการแสวงหาความรู้ 1.1 โดยการลองผิดลองถูก คือ ความรู้ความจริงที่ได้จากการปฏิบัติงานหรือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า 1.2 ความบังเอิญ คือ ความรู้ที่ได้มาโดยไม่เจตนา ไม่ตั้งใจ ไม่คาดฝัน ไม่เคยคาดคิดมาก่อน หรือสิ่งอื่นใดที่อธิบายไม่ได้ 1.3 ความเชื่อที่มีมาแต่โบราณหรือขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งคือ การรับรู้ที่เกิดจากการสืบทอดจากประเพณีหรือวัฒนธรรมที่ยึดถือกันมานาน 1.4 ผู้รู้ นักปราชญ์หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจากสังคม ว่าเป็นที่เชื่อถือได้ โดยความรู้ความคิดเห็นของคนกลุ่มนี้จะมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นและความเชื่อของประชาชน 1.5 จากประสบการณ์จริงหรือประสบการณ์ส่วนตัว เป็นความรู้ที่ได้จากประสาทสัมผัสผ่านประสาททางใดทางหนึ่ง เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย และการรับรู้ทางใจ

กระบวนการแสวงหาความรู้ 1.6 การหยั่งรู้หรือการรู้แจ้ง เป็นการหาความรู้ที่เกิดขึ้นจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้ตัดสินใจหรือคิดว่าต้องเป็นเช่นนั้น ซึ่งบางครั้งก็ไม่สามารถเชื่อถือได้ และยังมีข้อบกพร่องอยู่หลายประการ 1.7 การหาเหตุผล หรืออาจเรียกว่าเป็นการหาเหตุผลเชิงตรรกะ ซึ่งการหาเหตุผลนี้เป็นแหล่งความรู้สำเร็จของพวกเหตุผลนิยม (Rationalism) การหาเหตุผลนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ การหาเหตุผลแบบนิรนัย (Deductive Method) และการหาเหตุผลแบบอุปนัย (Inductive Method) หรืออุปมาน

กระบวนการแสวงหาความรู้ การหาเหตุผลแบบนิรนัย การหาเหตุผลแบบอุปนัย “อนุมาน” การค้นหาความรู้ความจริงโดยการ เก็บรวบรวมข้อเท็จจริงใหญ่ที่มี ลักษณะกว้างๆหรือส่วนใหญ่ไปหา ข้อเท็จจริงย่อย” Aritstotle = Aristotle Deduction “อุปมาน” เป็นการหาความรู้โดยการเก็บ รวบรวมข้อเท็จจริงย่อย จาก ข้อเท็จจริงย่อยหลายๆประการจะ นำมาสรุปเป็นข้อเท็จจริงใหญ่ ซึ่ง เป็นข้อสรุปโดยทั่วไป Francis Bacon

การแสวงหาความรู้ 1.8 การแสวงหาความรู้ความจริงโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ Charles Darwin เป็นผู้นำมาใช้ในการหาความรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ โดยนำเอาวิธีการนิรนัยมาผสมกับอุปนัย โดยให้เหตุผลว่าการที่จะให้ได้มาซึ่งความรู้ที่เชื่อถือได้นั้นจะต้องใช้การศึกษาทั้งสองแบบมารวมกัน หากใช้เพียงวิธีการใดวิธีการหนึ่งนั้นถือว่าเป็นการไม่เพียงพอ ต่อมา John Dewey ได้ปรับปรุงวิธีการนี้ โดยเรียกว่า Reflective Thinking โดยแบ่งขั้นตอนการคิดแก้ปัญหาเป็น 5 ขั้นตอน ที่ยังคงได้รับการยอมรับและใช้กันมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

ฝนตกเพราะไอน้ำในก้อนเมฆรวมตัวเป็นหยดน้ำ ทำไมฝนตก 1.ขั้นปัญหา (Problem) ฝนตกเพราะไอน้ำในก้อนเมฆรวมตัวเป็นหยดน้ำ 2.ขั้นตั้งสมมติฐาน (Hypothesis) การสังเกตุและวิเคราะห์ว่าอากาศประกอบด้วยอะไรบ้าง เมฆหมอกคืออะไร ไอน้ำเกี่ยวกับหมอกอย่างไร ไอน้ำเมื่อได้รับความเย็นจะเปลี่ยนสภาพเป็นอะไร 3.ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of Data) การทดลงที่ทำให้เกิดฝนเทียมโดยการนำเอาน้ำแข็งแห้งพ่นใส่ก้อนเมฆ แล้วดูว่าจะเกิดฝนตกหรือไม่ 4.ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data) เมื่อผลการวิเคราะห์ในขั้นที่สี่ปรากฏว่าเกิดฝนตกหลังจากลดอุณหภูมิของก้อนเมฆลง ก็แสดงว่าเมฆซึ่งประกอบด้วยละอองน้ำเมื่อได้รับความเย็นจะรวมตัวเป็นหยดน้ำ ซึ่งหนักกว่าอากาศและตกลงมาเป็นฝน 5.ขั้นสรุปผล (Conclusion)

ความหมายของการวิจัย Re = Again แปลว่า ซ้ำ หรือ อีกครั้งหนึ่ง Search = ค้นหา การเสาะหาหรือสำรวจ เมื่อรวมกันแล้ว มีความหมายว่า “การค้นหาซ้ำหรือการค้นคว้าอีก” ซึ่งได้มีผู้ให้ คำจำกัดความของการวิจัยไว้มากมาย เช่น ตามพจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของการวิจัยไว้ว่า “การค้นคว้า เพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เช่น การวิจัยเรื่องปัญหาการจราจรใน กรุงเทพมหานคร”

ลักษณะและธรรมชาติที่สำคัญของการวิจัย การวิจัยมุ่งที่จะหาคำตอบให้กับปัญหาต่างๆ การวิจัยมีการตั้งความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ไว้ การวิจัยมักจะเป็นการกระทำอย่างมีระบบ การวิจัยต้องกระทำโดยผู้มีความรอบรู้ในเรื่องที่จะวิจัย การวิจัยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูล การวิจัยอาศัยการสังเกต การบันทึก และการบรรยาย การวิจัยเป็นกระบวนการที่ใช้เหตุผลที่เป็นปรนัย หรือ ข้อมูลที่เป็นปรนัย

ลักษณะของนักวิจัย จากการประชุม Pan Pacific Science Congress เมื่อปี ค.ศ. 1961 ได้ให้ความหมายของนักวิจัยตามองค์ประกอบของคำว่า RESEARCH ไว้ดังนี้ R = Recruitment and Relationship หมายถึง การฝึกคนให้มีความรู้ รวมทั้งรวบรวมผู้ที่มีความรู้และปฏิบัติงานร่วมกัน ติดต่อสัมพันธ์และประสานงาน E = Education and Efficiency หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษา มีความรู้ และสมรรถภาพสูงในการวิจัย S = Sciences and Stimulation หมายถึง การวิจัยเป็นศาสตร์ที่ต้องแสวงหาความรู้ ความจริง โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผู้วิจัยจะต้องมีความคิดริเริ่ม และมีความกระตือรือร้นที่จะศึกษาวิจัย

ลักษณะของนักวิจัย  - E = Evaluation and Environment หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องรู้จักการประเมินผลงานวิจัยว่ามีประโยชน์ มี สาระเหมาะสมที่จะทำต่อไปหรือไม่ และต้องรู้จักใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆในการวิจัย A = Aim and Attitude หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายในงานวิจัยที่แน่นอน และมีเจตคติที่ดีต่อการวิจัยนั้น R = Result หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องยอมรับผลของการวิจัย เพราะเป็นผลที่ได้จากการค้นคว้าอย่างมีระบบ

ลักษณะของนักวิจัย C = Curiosity หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีความอยากรู้อยากเห็น มีความสนใจและเอาใจใส่ที่จะศึกษาอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าความอยากรู้นั้นจะมีเพียงเล็กน้อยก็ตาม H = Horizon หมายถึง เมื่อผลการวิจัยปรากฎมาแล้ว ย่อมทำให้ทราบและเข้าใจปัญหาเหล่านั้นได้เหมือนกับเกิดแสงสว่างขึ้น ถ้าหากการวิจัยยังไม่บรรลุผล ผู้วิจัยจะต้องหาทางศึกษาค้นคว้าต่อไปจนกว่าจะพบแสงสว่างหรือแก้ปัญหานั้นได้เอง

ประโยชน์ของการวิจัย ทำให้ได้ความรู้ใหม่ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ เรียกว่า วิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) ช่วยพิสูจน์หรือตรวจสอบความถูกต้องของกฎเกณฑ์ หลักการ และทฤษฎีต่างๆ ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ ปรากฎการณ์ และพฤติกรรมต่างๆอย่างถูกต้อง ช่วยพยากรณ์ผลภายหน้าของสถานการณ์ ปรากฎการณ์ และพฤติกรรมต่างๆ อย่างถูกต้อง

ประโยชน์ของการวิจัย สามารถนำมาช่วยแก้ปัญหาให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เรียกว่า วิจัยประยุกต์ (Applied Research) ช่วยในการวินิจฉัย และตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม ช่วยปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยปรับปรุงพัฒนาสภาพความเป็นอยู่และวิถีชีิวิตให้ดียิ่งขึ้น

ประโยชน์ของการวิจัย ประโยชน์ของการวิจัยสามารถแบ่งออกได้ในอีกแง่หนึ่ง คือ 1. ประโยชน์ในเชิงวิชาการ 2. ประโยชน์ในเชิงปฏิบัติ ซึ่งเป็นการนำเอาผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์ในด้าน ต่างๆดังนี้ 2.1 การแก้ปัญหาในการปฏิบัติ 2.2 การกำหนดนโยบายของรัฐ 2.3 การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาสถาบันหรือประเทศ

จรรยาบรรณนักวิจัย จรรยาบรรณนักวิจัย คือ หลักเกณฑ์ที่ควรประพฤติปฏิบัติของนักวิจัย เพื่อให้การ ดำเนินงานวิจัยตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรมและหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐานของการศึกษาค้นคว้าให้เป็นไปอย่างสมศักดิ์ศรี และ เกียรติภูมิของนักวิจัย 1. มีความรับผิดชอบ 1.1 รับผิดชอบต่องานวิจัย 1.2 รับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ 1.3 รักษาความลับของผู้อื่น 2. มีความซื่อสัตย์และคุณธรรม