งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การคัดเลือก (Selection)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การคัดเลือก (Selection)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การคัดเลือก (Selection)
Dr.Chot Bodeerat, D.P.A. Public Administration Faculty of Humanities and Social Sciences Pibulsongkram Rajabhat University

2 คัดเลือกบุคลากร เพื่อบรรจุเข้ารับราชการที่ผ่านมา
1. นโยบายการคัดเลือก แบบแนวดิ่ง (vertical entry) - บรรจุบุคคล เริ่มจากระดับต่ำสุด ของแต่ละสายงาน - เน้นการเติบโตภายใน เลื่อนตำแหน่งโดยแต่งตั้งบุคคากรภายในของตนเอง 2. ประเภทของการคัดเลือกบุคลากร การสรรหาภายใน (Recruitment from inside) - สอบเลื่อนขั้น (promotion) การสรรหาภายนอก (Recruitment from outside) - สอบแข่งขัน

3 3. การคัดเลือกข้าราชการ
- มีสัญชาติไทย - อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี - เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข - ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง - ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถ จิตฟั่นเฟื่อนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฏ ก.พ. - ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออกหรือปลดออก ไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฏหมายอื่น

4 - ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
- ไม่เป็นผู้ที่บกพร่องในศีลธรรม จนเป็นที่รังเกียจของสังคม - ไม่เป็นกรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง - ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย - ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุด ให้จำคุกเพราะการกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดละหุโทษ - ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

5 4. การสอบแข่งขัน - ภาคความรู้ความสารถทั่วไป(ภาค ก.) - ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) - ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) - ทดลองปฏิบัติราชการ การสอบแข่งขันในแต่ละภาคจะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 60% ขึ้นไป

6 บรรจุ แต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้นตามลำดับที่ ในบัญชีที่สอบแข่งขัน ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง จะต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น - ก.พ.จะเป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขันเอง หรือจะมอบหมายให้องค์การ ส่วนราชการใดเป็นผู้ดำเนินการแทนก็ได้ - หลักสูตร วิธีการสอบ และวิธีดำเนินการ เกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชีผู้สอบ การนำบัญชีรายชื่อผู้สอบได้ ให้เป็นไปตามที่ก.พ.กำหนด - ผู้สอบได้ถ้าขาดคุณสมบัติทั่วไป และไม่ได้รับการยกเว้น จะบรรจุไม่ได้ - การคัดเลือกบรรจุบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ความชำนาญสูงในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ ไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขัน

7 5.กระแสใหม่ในการคัดเลือก แนวทางใหม่จากประเทศตะวันตก
ความสะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอน คำนึงถึงประสบการณ์ในการทำงานมากกว่าระดับการศึกษา -E-Recruitment รวดเร็ว ประหยัด ลงทุนน้อย เข้าถึงประชาชนได้จำนวนมาก - เข้า สมัครงานของภาครัฐ ( หรือของสำนักงาน ก.พ. - ค้นหาตำแหน่งที่ต้องการของผู้สมัคร (ระบุตำแหน่ง โดยไม่คำนึงถึงสถานที่ หรือระบุสถานที่ก่อนว่าต้องการทำงานในจังหวัดใด) - สร้างประวัติผู้สมัคร (Online Resume Builder) หรือส่งทาง

8 ข้อดี E-Recruitment - สามารถค้นหาข้อมูลและติดต่อกับผู้สมัครได้อย่างรวดเร็วและประหยัดโดยผ่านทางเครือข่ายระบบ Internet - เข้าถึงประชาชนได้จำนวนมาก ทำให้ได้รับใบสมัครจำนวนมากเช่นกัน ข้อเสีย E-Recruitment - ต้องกรอกข้อมูลของผู้สมัครให้ครบถ้วนก่อน จึงจะสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ - อาจจะไม่สะดวกสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ หรือไม่มี Internet

9 Walk-in recruitment ลด ระยะเวลาในการสรรหา กรณีที่ต้องการบุคลลากรอย่างเร่งด่วน และมีการแข่งขันสูงสามารถได้คนมาทำงานอย่างรวดเร็ว เน้นเรื่องการสัมภาษณ์ไม่มีการสอบข้อเขียน วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่จบใหม่ - วิธีการสรรหาโดยเปิดบูธ(booth) ตามโรงเรียน หรือสถานที่ที่น่าสนใจ ยื่นประวัติ/ สัมภาษณ์เบื้องต้น/ กรอกใบสมัครเมื่อได้รับคัดเลือกเท่านั้น เช่นตำแหน่ง บุคลากรของกองทัพ ข้อเสีย Walk-in recruitment - ผู้สมัครเข้าถึงได้ง่าย ต้องเตรียมการรองรับกับผู้สมัครจำนวนมาก - ไม่เหมาะกับตำแหน่งที่ต้องการผู้มีประสบการณ์ เพราะต้องวัดในเรื่องทักษะ และความชำนาญ

10 การคัดเลือก Walk-in recruitment ภาครัฐของไทย
- ผู้ที่จบ ป.ตรี เกียรตินิยม ได้รับการยกเว้นไม่ต้องสอบภาคความรู้ความสารถทั่วไป(ภาค ก.)และภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) เน้นแต่ในเรื่องการสัมภาษณ์เท่านั้น - ผู้ที่จบ ป.ตรี/โท สอบผ่าน ภาค ก./ข. จะได้รับการขึ้นบัญชีรายชื่อไว้เพื่อรอเรียก

11 การคัดเลือกระบบเปิด (Open entry)
- ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา หากมีความสนใจ มีความรู้ ความสามารถในตำแหน่งก็สมัครได้ เช่น บริษัทนิสสัน มอเตอร์ (ญี่ปุ่น) เปิดรับนักศึกษาจบใหม่ สำหรับตำแหน่งนักบริหารและวิศวกร - เปิดโอกาสให้บุคคลภาคเอกชนเข้าทำงานในภาครัฐได้ ข้อเสียคือ วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อาจทำให้เกิดความขัดแย้งภายในองค์การ

12 การคัดเลือกระบบเปิด (Open entry) ของภาครัฐ (ก.พ.)
หมายถึง การสรรหาข้าราชการที่เปิดกว้าง ทั้งจากภายในและภายนอกระบบราชการ ตามความจำเป็นและลักษณะงาน ทั้งในลักษณะการจ้างงานเพื่อเป็นข้าราชการ และในรูปแบบการจ้างงานพิเศษอื่นๆ โดยเน้นการสรรหาจากผู้ที่มีสมรรถนะความสามารถ ผลงาน และความพร้อมของคุณลักษณะเฉพาะบุคคล โดยมีกระบวนการอย่างเป็นระบบและเชื่อมโยงกับการพัฒนาขีดความสามารถให้เกิด ความพร้อมล่วงหน้า

13 1.แนวคิดพื้นฐานของระบบเปิด
- การยึดหลักสมรรถนะ (Competency-based) - การเป็นระบบที่เปิดกว้างทั่วไป 2.สาระสำคัญของระบบการคัดเลือกผู้บังคับบัญชา - ผู้บริหารระดับสูงระดับ 8 /ผู้อำนวยการกอง /ผู้อำนวยการสำนัก รูปแบบ ของระบบเปิด - เปิดกว้างให้บุคคลภายนอกระบบราชการ สามารถเข้าสู่ตำแหน่งได้ - ระบบเปิดทั่วไปในระบบราชการ เปิดโอกาสให้บุคคลที่เป็นราชการก่อน

14 การคัดเลือกแนวราบ(Lateral entry)
- เน้นในเรื่องของทักษะ ความชำนาญงาน และประสบการณ์ของผู้สมัครเป็นหลัก - ประสบการณ์มาก เงินเดือนสูง (มากกว่าตามแนวดิ่ง) ข้อเสีย : เกิดอคติ ต่อต้านและไม่ยอมรับ เกิดความขัดแย้ง เสียขวัญกำลังใจ สำหรับ ประเทศไทย ก.พ.จะใช้คัดเลือกในระดับ 6 ขึ้นไป ในตำแหน่งที่ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน หรือตำแหน่งที่มีการแข่งขันในตลาดแรงงานสูง

15 การคัดเลือกระบบทางด่วน (Fast Stream) หรือ ระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง (Fast Track)
High Performance and Potential System (HiPPS) เป็นระบบที่ออกแบบขึ้นเพื่อให้ข้าราชการผู้มีศักยภาพสูงได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ โดยการหล่อหลอมข้าราชการที่มีศักยภาพตั้งแต่แรกบรรจุ ผสมผสานรูปแบบการพัฒนาที่หลากหลาย เพื่อสร้างข้าราชการที่มีคุณภาพให้พร้อมที่จะก้าวสู่การเป็นผู้นำทั้งทางความคิดและการบริหารงานในอนาคต โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ริเริ่มนำระบบนี้มาทดลองใช้

16 วัตถุประสงค์ของ Fast Stream
- เพื่อดึงดูด รักษา และจูงใจคนเก่ง คนดี มีผลงาน - เพื่อพัฒนาข้าราชการผู้มีศักยภาพสูงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ - เพื่อเตรียมผู้นำซึ่งมีคุณภาพ มากประสบการณ์ในจำนวนที่เพียงพอสำหรับการเป็นนักบริหารระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ

17 หลักการของ Fast Stream
- การสรรหาและการประเมินที่เป็นระบบและเข้มข้น มีการแข่งขันสูง - การแต่งตั้งที่เป็นธรรม ปราศจากการแทรกแซงโดยมิชอบ - การพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง - สอดคล้องกับระบบบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐในภาพรวม กลุ่มเป้าหมาย สำเร็จการศึกษาป.ตรีขึ้นไปโดยได้รับทุนจากรัฐบาล เช่น ทุนเล่าเรียน หลวง/ทุน ก.พ. ข้าราชการพลเรือนปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งใช้วุฒิระดับปริญญาที่ผ่าน การประเมินและการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.กำหนด ข้าราชการใหม่ที่ได้บรรจุและแต่งตั้งจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ด้วยวิธี การสอบเข้มข้นพิเศษ และต้องมีคุณสมบัติตามที่ ก.พ.กำหนด

18 การคัดเลือก - ผู้บังคับบัญชาระดับต้นและผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป (ผอ.หน่วยงาน)พิจารณาเสนอชื่อผู้ที่มีคุณสมบัติตรง โดยความสมัครใจของผู้นั้นด้วย - ผู้มีคุณสมบัติตรง สมัครด้วยตนเอง โดยความเห็นของผู้บังคับบัญชา ระดับผู้อำนวยการ การพ้นจากตำแหน่งผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง - ข้าราชการที่มีผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ที่ก.พ. รวม 4 ครั้ง (4รอบการประเมินใน 2 ปี) อย่างต่อเนื่องให้พ้นจากตำแหน่งผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง และปรับเปลี่ยนไปดำรงตำแหน่งเดิม ทั้งนี้ให้ย้ายข้าราชการที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินติดต่อกัน 2 ครั้งไปอยู่ในตำแหน่งใหม่ภายใต้ผู้บังคับบัญชาใหม่

19 บทสรุป 1.ระบบ E-Recruitment เป็นการสรรหาบุคลากรที่ทำผ่านสื่ออิเล็คทรอนิกส์ - มีความรวดเร็วในการบริการ (timeliness) - ผู้สมัครสามารถเข้าถึงได้ทุกคน (accessibility) - ให้ข้อแก่ผู้สมัครได้อย่างถูกต้อง (accuracy) - ผู้สมัครใช้บริการได้ง่าย (simplicity) - ใช้บริการเวลาใดก็ได้ (continuity)

20 ข้อจำกัด : - ความรู้เกี่ยวกับใช้คอมพิวเตอร์ของประชาชนคนไทยยังไม่แพร่หลาย - แหล่งที่สามารถใช้บริการคอมพิวเตอร์ยังไม่กว้างขวาง ไม่ครอบคลุมทั่วพื้นที่ - สร้างความไม่เท่าเทียมกันในการสมัครเข้าทำงานระหว่างเขตเมือง กับเขตห่างไกลความเจริญ

21 2.ระบบ walk-in recruitment
- เน้นการสัมภาษณ์ ไม่มีสอบข้อเขียน - ผู้สมัครที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีโอกาสมากกว่า 3.ระบบ lateral entry สรรหาแบบแนวราบ - รัฐได้คนที่มีสมรรถนะตามที่ต้องการ ในช่วงเวลาที่ต้องการ - การสรรหาจากแหล่งภายนอก อาจทำให้คนในองค์การเกิดการต่อต้าน ไม่ยอมรับ เกิดความขัดแย้งภายในองค์การ เสียขวัญกำลังใจ

22 4. ระบบ Fast Stream และ Special Track
- พัฒนานักบริหารระดับสูง ระดับผู้นำ - เปิดโอกาสให้เลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็ว เพื่อดึงดูด จูงใจ และรักษาคนเก่งคนดีไว้ - ลักษณะงานมีความยาก ท้าทาย เหมาะสำหรับผู้ที่มีศักยภาพสูง โดยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์และผ่านการประเมินคัดเลือก


ดาวน์โหลด ppt การคัดเลือก (Selection)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google