งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การศึกษา ปริญญาตรี - ศิลปศาสตร์บัณฑิต(รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การศึกษา ปริญญาตรี - ศิลปศาสตร์บัณฑิต(รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การศึกษา ปริญญาตรี - ศิลปศาสตร์บัณฑิต(รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ดร.จีราวุฒิ เข็มพรมมา นายกสมาคมปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษา ปริญญาตรี - ศิลปศาสตร์บัณฑิต(รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง - นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ปริญญาโท – ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต(การ บริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชธานี ปริญญาเอก - SOCIAL SCIENCES MAGADH UNIVERSITY INDIA

2 มีผลใช้บังคับ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๗ มีผลใช้บังคับ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ มีผลใช้บังคับ วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๙

3 ข้อ ๔ กำหนดว่า - ในกรณีที่ อปท
ข้อ ๔ กำหนดว่า - ในกรณีที่ อปท.ไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบได้ ให้ขอทำความตกลงกับปลัดกระทรวงมหาดไทย ก่อนการปฏิบัติ (โดยปลัดกระทรวงมหาดไทย มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด )

4 การมอบอำนาจให้ ผวจ. - ตามคำสั่ง มท.ที่๑๘๑/๒๕๔๘ ลว.๒๙ มี.ค.๒๕๔๘ ปลัดมท.มอบอำนาจให้ ผวจ.พิจารณาอนุมัติในกรณีที่ อปท.ไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบได้ โดย อปท.จะต้องขอทำความตกลงกับ ผวจ.ก่อนการปฏิบัติ - ทั้งนี้ ในการพิจารณา ผวจ.จะต้องถือเจตนารมณ์ของระเบียบเป็นหลัก โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการและประชาชน - หากผู้ว่าราชการจังหวัด พิจารณาแล้วเห็นว่า อปท.มีเหตุผลอันสมควรที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามบทบัญญัติใดในระเบียบได้ ก็สามารถใช้ดุลพินิจพิจารณายกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ให้ อปท.ตามความเหมาะสมแก่กรณี

5 การรับเงิน ๑. เงินที่ได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ ให้นำส่งเป็นเงินรายได้ฯทั้งสิ้น ๒. การรับเงินต้องออกใบเสร็จรับเงินทุก ครั้ง ๓. เมื่อรับเงินแล้วให้บันทึกในสมุดเงินสดภายในวันที่รับเงินหากรับเงินภายหลังปิดบัญชี ให้บันทึกรับในวันนั้น เก็บเงินสดไว้ในตู้นิรภัย

6 - มีระเบียบ กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น - เงินที่มีผู้อุทิศให้
ข้อ ๗ เงินที่ได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ให้นำส่ง เป็นเงินรายได้ เว้นแต่ - มีระเบียบ กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น - เงินที่มีผู้อุทิศให้ - จัดหารายได้ขึ้นเป็นครั้งคราว เงินรายได้ที่ อปท. จัดหาเป็นครั้งคราวถ้าไม่ได้กำหนดไว้เป็น อย่างอื่น หากมีเงินเหลือจ่าย หรือ หมดความจำเป็นให้นำส่งเป็นรายได้ของอปท.

7 ตัวอย่าง : เทศบาล (หินใหญ่) ดำเนินการโครงการมหกรรมแข่งขันบั้งไฟล้านต้อนรับปีแห่งการท่องเที่ยว ประกอบด้วย - งบประมาณประจำปีของเทศบาลที่ตั้งไว้ บาท - รายได้การจำหน่ายบัตร บาท - งบประมาณจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บาท เงินรายได้ทั้งหมดจะจ่ายเป็นค่าดำเนินงาน และเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วจะมีเงินเหลือ เทศบาลสามารถนำเงินเหลือจ่ายไปดำเนินการสาธารณกุศลตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้ ได้หรือไม่ หรือจะต้องนำส่งเป็นรายได้ของเทศบาล

8 หลักการ ๑. ผู้มีอำนาจถอนเงิน มี ๓ กลุ่ม (ข้อ ๓๗)
๑. ผู้มีอำนาจถอนเงิน มี ๓ กลุ่ม (ข้อ ๓๗) กลุ่มที่ ๑ คือ ผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้รักษาราชการแทน กลุ่มที่ ๒ คือ ปลัด อปท. หรือผู้รักษาราชการแทน กลุ่มที่ ๓ คือ บุคคลที่ผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมาย อาจเป็นผช.ผู้บริหารหรือหัวหน้างาน ให้ลงนามสั่งจ่ายเงินร่วมกับผู้บริหาร และปลัด อปท.

9 หลักการเขียนโครงการ ๑. ชื่อโครงการ ต้องเป็นชื่อที่เหมาะสม ชัดเจน ดึงดูดใจ และเฉพาะเจาะจงว่าจะทำอะไร ๒. หลักการและเหตุผล กิจกรรมต้องเป็นอำนาจหน้าที่ เป็นการแสดงถึงปัญหาความจำเป็น ผู้เขียนโครงการต้องพยายามหาเหตุผลต่าง ๆ เพื่อแสดงให้ผู้พิจารณาโครงการเห็นความจำเป็น และความสำคัญของโครงการ

10 ๓. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย เป็นการแสดงถึงความต้องการที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การเขียนวัตถุประสงค์ต้องเขียนให้ตรงกับปัญหาว่าระบุไว้เพื่อแสดงให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายที่จะแก้ปัญหานั้น ๆ และต้องกำหนดวัตถุประสงค์ในสิ่งที่เป็นไปได้ สามารถวัดได้ ๔. วิธีการดำเนินการ แสดงขั้นตอนภารกิจที่จะต้องทำให้การดำเนินงานตามโครงการและระยะเวลาในการปฏิบัติแต่ละขั้นตอนเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ ๕. ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ เป็นการระบุเวลาที่เริ่มต้นและสิ้นสุดโครงการและสถานที่ที่จะทำโครงการ

11 ๖. งบประมาณ ๗. ผู้รับผิดชอบ ต้องระบุชื่อผู้ทำโครงการ ๘
๖. งบประมาณ ๗. ผู้รับผิดชอบ ต้องระบุชื่อผู้ทำโครงการ ๘. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการระบุประโยชน์ที่คิดว่าจะได้จากความสำเร็จเมื่อสิ้นสุดโครงการ เป็นการระบุใครจะได้รับผลประโยชน์และผลกระทบหรือมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องอะไรทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณและต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ๙. การประเมินผลโครงการ เป็นการระบุว่าหากได้มีการดำเนินโครงการแล้ว จะมีการติดตามดูผลได้อย่างไร เมื่อใด

12 การเบิกค่าใช้จ่ายในการจัดงานต่าง ๆ ดังนี้
งานวันสำคัญของชาติ หมายถึง วันสำคัญทางศาสนาหรือวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันปิยมหาราช วันเด็กแห่งชาติ เป็นต้น งานประเพณี หมายถึง ประเพณีของท้องถิ่นหรือประเพณีของชาติ เช่น วันสงกรานต์ วันลอยกระทง เป็นต้น การจัดงานอื่น ๆ ซึ่งมิใช่การจัดการฝึกอบรม จัดประชุมราชการ การแข่งขันกีฬา เช่น การจัดงานวันคล้ายวันสถาปนาของ อปท. พิธีเปิดอาคารสำนักงานที่ก่อสร้างใหม่ เป็นต้น

13 ค่าใช้จ่ายในการจัดงานต่าง ๆ ของ อปท.
หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท.๐๓๑๓.๔/ว ๑๓๔๗ ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ กำหนดให้ อปท. สามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการจัดงานต่าง ๆ ในส่วนที่ดำเนินการเอง/อุดหนุนให้หน่วยงานอื่น ให้เบิกได้ตามงบประมาณที่ตั้งไว้ เท่าที่จำเป็นและประหยัด คำนึงถึงฐานะการคลังของ อปท. เป็นสำคัญ

14 การพิจารณาค่าใช้จ่ายในการจัดงาน โดยคำนึงถึง.....
๑. เป็นการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดี ๒. การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่จะต้องพิจารณากิจกรรมตามโครงการด้วยว่ากิจกรรมนั้นเป็นกิจกรรมแห่งประเพณีหรือไม่ ๓. การเบิกจ่ายเงินตามรายจ่ายแห่งกิจกรรมมีระเบียบ หรือหนังสือสั่งการกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้เบิกจ่ายไว้หรือไม่ ๔. การแจกสิ่งของให้ประชาชนมิใช่กิจกรรมโดยตรงตามโครงการส่งเสริมคุณธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา หากไม่แจกสิ่งของก็ไม่เป็นผลให้โครงการไม่บรรลุวัตถุประสงค์แต่อย่างใด จึงเป็นการดำเนินการเกินความจำเป็น ๕. ไม่เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง ๖. เป็นการตั้งงบประมาณในลักษณะฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น ๗. การแจกสิ่งของเป็นรายจ่ายในลักษณะเป็นการประชาสัมพันธ์ส่วนบุคคลแม้แต่ไม่ลงชื่อบนสิ่งของที่แจกก็ตาม

15 ความหมาย ตามพจนานกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
๑. “จำเป็น” หมายถึง ต้องเป็นอย่างนั้น ต้องทำ ขาดไม่ได้ ดังนั้น กิจการที่ อปท. ทำจึงต้องเป็นกิจการที่จำเป็น ขาดไม่ได้ ๒. “ประหยัด” หมายถึง ยับยั้ง ระมัดระวัง ใช้จ่ายแต่พอควรแก่ฐานะ ๓. “จารีตประเพณี” หมายถึง ประเพณีนิยมและประพฤติกันสืบมา ถ้าฝ่าฝืนถือว่าเป็นผิดหรือชั่ว ๔. “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” หมายถึง พื้นความรู้ความสามารถท้องที่ใดท้องที่หนึ่งโดยเฉพาะ ๕. “วัฒนธรรม” หมายถึง สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะวิถีชีวิตของหมู่คณะ ดังนั้น การที่กฎหมายกำหนดให้ อปท.มีหน้าที่ในการบำรุงรักษาวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น จึงต้องพิจารณาถึงวัฒนธรรมของท้องถิ่นแห่งนั้นๆ ด้วย

16 ความหมาย ตามพจนานกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ (ต่อ)
ความหมาย ตามพจนานกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ (ต่อ) “การจัดทำบริการสาธารณะ” หมายถึง การจัดให้มีการศึกษาเผยแพร่ความรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนในท้องถิ่นให้มีความรัก และห่วงแหนศิลปะ วัฒนธรรม จารีต ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดสรรทรัพยากร และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแลรักษา บูรณศาสนสถาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และศิลปกรรมท้องถิ่น และการจัดให้มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริม อนุรักษ์ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีที่เน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทย และท้องถิ่น และวิถีชีวิตของคนในชุมชนของตนเอง

17 หนังสือที่ มท 0808.4/ว 3722 ลว.10 สิงหาคม 2555
ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการจัดงานต่าง ๆ ของ อปท. ดังนี้ 1. การดำเนินการจัดงานต่าง ๆ ต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่ หรือมีกฎหมายให้อำนาจ โดยต้องกำหนดกิจกรรมที่จะดำเนินการไว้ในโครงการจัดงาน 2. กิจกรรมจะต้องเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนที่ให้ประโยชน์ หรืออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป เช่น การจัดกิจกรรมให้ความรู้อันประโยชน์

18 หรือเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญและรักษาไว้ ซึ่งศิลปะ ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 3. กิจกรรมที่ดำเนินการจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ หากไม่ดำเนินการกิจกรรมดังกล่าวจะทำให้โครงการไม่บรรลุวัตถุประสงค์ 4. หากมีการจัดการประกวด หรือแข่งขันและมีการมอบรางวัล มูลค่ารางวัลต้องมีสัดส่วนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับโครงการ โดยเบิกจ่ายได้เท่าที่จำเป็น เหมาะสมและประหยัด

19 หนังสือที่ มท /ว 1639 ลว. 17 เม.ย. 2556 ให้ อปท.ที่จะดำเนินกิจการหรือโครงการในการจัดทำการบริการสาธารณะเพื่อประชาชนในท้องถิ่นได้นั้น กิจกรรมหรือโครงการดังกล่าวต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดไว้ สำหรับการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการเกี่ยวกับการบำรุงรักษา จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรม อันดีของท้องถิ่น จะต้องมีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ หรืออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป เช่น การจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้แก่ประชาชนเป็นการทั่วไปในการปฏิบัติตามแบบอย่างประเพณีหรือวัฒนธรรมไทยที่ถูกต้อง

20 หนังสือที่ มท /ว 1639 ลว. 17 เม.ย. 2556 มิใช่ส่งเสริมสนับสนุนหรือบำรุงรักษาจารีตประเพณีหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น โดยการออกค่าใช้จ่ายให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งที่จะประกอบพิธีกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นเรื่องเฉพาะตัวที่บุคคลนั้นจะต้องกระทำตามประเพณีหรือวัฒนธรรมที่บุคคลนั้นเชื่อถือหรือปฏิบัติ ซึ่งบุคคลนั้นมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ มาตรา 37 โดยบุคคลนั้นจะต้องกระทำด้วยค่าใช้จ่ายของตนเอง

21 ตัวอย่าง : ข้อบกพร่อง ที่ สตง. มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินโครงการจัดงานประเพณีสงกรานต์และวันผู้สูงอายุ ดังนี้ แจกของที่ระลึกให้กับผู้มาร่วมงาน เช่น เสื้อคอปกฮาวาย ผ้าแพรผ้าเช็ดตัว กระติกน้ำ ผ้าขาวม้า ขัน ปิ่นโต ผ้าถุง ฯลฯ จัดซื้อข้าวสารอาหารแห้งถวายพระสงฆ์ เครื่องอุปโภคบริโภค จ้างเหมาประกอบอาหาร(โต๊ะจีน) พร้อมน้ำดื่ม เลี้ยงผู้สูงอายุและผู้ร่วมงาน จ้างเหมาบริการรถโดยสารประจำทาง รับ-ส่ง ผู้สูงอายุ ค่าจ้างเหมามหรสพ ได้แก่ คณะหมอรำ วงดนตรี ลิเก คณะตลก แดนเซอร์ จำทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ระบุชื่อนายก อปท. สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สาระสำคัญ ของการจัดงานประเพณีสงกรานต์ จึงถือเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและประหยัดตามหนังสือสั่งการ

22 ตัวอย่าง : กรณี อปท. ดำเนินโครงการกิจกรรมฯ
การดำเนินโครงการกิจกรรมที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ อปท. สำนักงานการตรวจเงินแผนดินและกระทรวงมหาดไทย เห็นตรงกัน และหนังสือกรมบัญชีกลาง แนวทางวินิจฉัยคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางละเมิด ดังนี้ ๑) ผู้เสนอโครงการ = ๓๐% ๒) ผู้เห็นชอบโครงการ = ๒๐% ๓) ผู้อนุมัติ = ๑๐% ๔) ผู้ตรวจฎีกา = ๑๐% ๕) ผอ. คลัง= ๓๐% ๖) ปลัด = ๑๐% ๗) นายก = ๑๐% สรุป ปลัดรวม = ๓๐% ๗) นายกรวม = ๒๐%

23 หนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ มท. ๐๓๑๓.๔/ว ๑๓๔๗ ลงวันที่
๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๑ เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการจัดงานต่างๆ ของ อปท. การดำเนินการโครงการจัดงานประเพณีสงกรานต์ ของ อปท.ต้องเป็นไปตามหนังสือสั่งการ ที่กำหนดให้เบิกจ่ายในการจัดงานต่างๆ ได้ตามงบประมาณที่ตั้งไว้และเบิกจ่ายได้เท่าที่จำเป็นและประหยัด โดยคำนึงถึงฐานะการคลังของ อปท. เป็นสำคัญ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจ ในการพิจารณาดำเนินการโครงการจัดงานต่างๆ ได้ ทั้งนี้ หากการจัดซื้อชุดของขวัญดังกล่าว เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการจัดงานอันก่อให้เกิดประโยชน์และสอดคล้องกับนโยบายของทางราชการ อปท. ก็สามารถดำเนินการได้ตามงบประมาณที่ตั้งไว้ - ระเบียบ มท.ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงินฯ พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๖๗ กำหนดว่า อปท. จะจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันได้เฉพาะที่กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือหนังสือสั่งการกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้

24 ค่าใช้จ่ายในการแข่งขันกีฬา
หนังสือ มท. ที่ มท /ว 2589 ลว. 3 สิงหาคม 2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินในการแข่งขันกีฬาของ อปท. กำหนดหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินในการแข่งขันกีฬาระหว่าง อปท. หรือภายใน อปท.หรือจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน เยาวชน หรือประชาชน สาระสำคัญ ดังนี้ 1. กรณีส่งนักกีฬาหรือนักกรีฑาเข้าร่วมการแข่งขัน เบิกจ่าย 1.1 ค่าพาหนะ ให้แก่ผู้ควบคุมและผู้ฝึกสอน (ตามที่จ่ายจริงตามสิทธิระเบียบมท.การเดินทางไปราชการ) นักกีฬาหรือกรีฑา เบิกจ่ายในอัตราต่ำสุดของระเบียบ

25 1.3 ค่าอุปกรณ์กีฬาหรือกรีฑา พร้อมชุดกีฬา เท่าที่จำเป็นและประหยัด
1.2 ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าเช่าที่พัก ตามที่จ่ายจริงตามสิทธิค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของเจ้าหน้าที่ของ อปท. 1.3 ค่าอุปกรณ์กีฬาหรือกรีฑา พร้อมชุดกีฬา เท่าที่จำเป็นและประหยัด 2. กรณีเป็นเจ้าภาพในการแข่งขัน เบิกจ่าย 2.1 ค่าเช่าและค่าเตรียมสนาม แข่งขัน เท่าที่จ่ายจริง 2.2 ค่าอุปกรณ์การแข่งขัน เท่าที่จ่ายจริงและประหยัด 2.3 ค่าเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่ประจำสนาม กรณีเป็นพนักงานของ อปท.เบิกได้ตามอัตราค่าล่วงเวลาฯ ในวันหยุดราชการเฉพาะวันมีการแข่งขันฯ 2.4 ค่าอาหารทำการนอกเวลาของเจ้าหน้าที่แข่งขันกีฬาและ นักกรีฑา ให้ปฏิบัติตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินค่าทำการนอกเวลา

26 2.5 ค่าตอบแทนกรรมการตัดสิน
- ข้าราชการ/ลูกจ้างทางราชการ ไม่มีหน้าที่ในการจัดงาน เบิกได้ คนละไม่เกิน 400 บาท/วัน - กรณีที่มิใช่ข้าราชการ/ลูกจ้างทางราชการ เบิกได้คนละไม่เกิน 800 บาท/วัน 2.6 กรณีแต่งตั้งบุคคลภายนอกเป็นเจ้าหน้าที่ประจำสนาม หรือเจ้าหน้าที่อื่นที่จำเป็นในการแข่งขันกีฬา เบิกค่าตอบแทนได้คนละ ไม่เกิน 400 บาท/คน 2.7 ค่าใช้จ่ายรายการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการแข่งขันกีฬา เช่น ค่าน้ำดื่มของเจ้าหน้าที่, ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพิธีเปิด เป็นต้น

27 ปัญหาที่พบบ่อย 2.8 ค่าโล่หรือถ้วยรางวัล หรือของรางวัลที่มอบให้ผู้ชนะการแข่งขันเพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณ ชิ้นละไม่เกิน 1,500 บาท 2.9 เงิน หรือของรางวัลที่มอบให้ผู้ชนะการแข่งขันเพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณให้เบิกจ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของประมาณการค่าใช้จ่ายตามโครงการ

28 หนังสือที่ มท /ว 1549 ลว. 19 มิ.ย.2557 ซักซ้อมแนวทางการใช้จ่ายเงินในการแข่งขันกีฬาของ อปท. อปท.เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย การที่ อปท.จะดำเนินกิจกรรมใด ๆ ในการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ต้องเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงซักซ้อมแนวทางการใช้จ่ายเงินดังกล่าว ดังนี้ 1. ตาม นส.มท.ที่ มท /ว 2589 ลง. 3 ส.ค เป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้ปฏิบัติสำหรับการแข่งขันกีฬาระหว่างอปท. หรือภายใน อปท. หรือการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน เยาวชน หรือประชาชน หรือรับเป็นเจ้าภาพแข่งขันกีฬา ไม่รวมถึงการแข่งขันกีฬานานาชาติแต่อย่างใด

29 2. การดำเนินการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ อปท
2. การดำเนินการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ อปท. ต้องกำหนดกิจกรรมที่จะดำเนินการไว้ในโครงการจัดการแข่งขันกีฬาให้ชัดเจน และกิจกรรมนั้นจะต้องมีวัตถุประสงค์ - ส่งเสริมการกีฬาซึ่งอยู่ในหน้าที่ของ อปท. เช่น (1) การส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชน ให้มีทักษะด้านการกีฬา (2) กิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้รักสามัคคี (3) กิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมประชาชน

30 3. ให้เบิกจ่ายในกิจกรรมที่จำเป็นและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ
3. ให้เบิกจ่ายในกิจกรรมที่จำเป็นและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ 4. การอุดหนุนให้หน่วยงานอื่น เพื่อสนับสนุนการกีฬาต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่ฯ ในการจัดให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬา หรือส่งเสริมการกีฬา -โครงการ/กิจกรรมจะต้องมีลักษณะเป็นการจัดทำบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองเป็นส่วนรวม มิใช่เชิงธุรกิจ (ด่วนมาก ที่ มท /ว 74 ลว.8 มกราคม 2553 และมท /2697 ลว.15 มิถุนายน 2555)

31 ข้อกำหนดการจ่ายเงิน อปท.จะจ่ายเงิน หรือ ก่อหนี้ผูกพัน ได้แต่เฉพาะที่ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือ หนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทย - การจ่ายเงินจะต้องมีงบประมาณ - หนี้ต้องถึงกำหนดหรือใกล้จะถึงกำหนด - เบิกเพื่อการใด จะต้องนำไปจ่ายเพื่อการนั้น - กรณีที่ อปท.ใช้ข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติของปีที่ผ่านมา ให้เบิกจ่ายได้เฉพาะรายจ่ายหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ ค่าจ้างชั่วคราว ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ และค่าสาธารณูปโภค และจะต้องเป็นรายการ และ จำนวนเงินที่ปรากฏในงบประมาณของปีที่ผ่านมาเท่านั้น (ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณฯ ข้อ 7)

32 การจ่ายเงิน การจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิทุกรายการต้องมี
หลักฐานการจ่าย การจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิให้จ่ายเป็น เช็ค หรือจัดทำ ใบถอนเงินฝากธนาคาร เพื่อให้ธนาคารออกตั๋วแลกเงิน การเขียนเช็คสั่งจ่ายหัวหน้าหน่วยงานคลัง กรณีที่มีการ จ่ายเงิน ที่มีวงเงินต่ำกว่าสองพันบาท เช่น ค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นต้น

33 เงินสะสม ทุกสิ้นปีเมื่อปิดบัญชีรายรับ รายจ่าย แล้ว ให้กันเงินสะสม ไว้
25 % เพื่อเป็นทุนสำรองเงินสะสม (ข้อ 87) อปท.สามารถใช้จ่ายเงินทุนสำรองเงินสะสมได้ ดังนี้ 1. กรณีที่ยอดเงินสะสม มีเหลือไม่เพียงพอต่อการบริหาร ต้องขอความเห็นชอบจากสภาท้องถิ่นและขออนุมัติจาก ผวจ. 2.ปีใดมียอดเงินทุนสำรองเงินสะสมเกินร้อยละ ของงบประมาณประจำปีนั้น สามารถใช้ได้ตามเงื่อนไข ข้อ 89

34 ข้อ 88 งบประมาณประจำปีมีผลบังคับใช้แล้ว ในระยะ 3 เดือนแรกรายได้ยังไม่ได้เข้ามาหรือมีไม่เพียงพอ
- สามารถเบิกจ่ายได้ทุกหมวด ทุกรายการ โดยเบิกจ่ายล่วงล้ำเงินสะสมได้ และบันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายปกติ (หากเลยระยะเวลา 3 เดือนแรกของปีงบประมาณแล้ว รายได้ ยังไม่เข้าหรือมีไม่เพียงพอให้ อปท.ปฎิบัติตาม นส.มท /ว ลว.8 ม.ค.52 เรื่อง การทดรองจ่ายเงินสะสม)

35 - กรณีที่เป็นรายจ่ายที่จ่ายจากเงินอุดหนุนที่รัฐบาลระบุวัตถุประสงค์ ได้รับแจ้งยอดจัดสรรแล้ว ยังไม่ได้รับโอนเงิน ให้ยืมเงินสะสมทดรองจ่ายไปก่อน(ยกเว้นงบลงทุน)

36 การจ่ายขาดเงินสะสม ต้องขออนุมัติจากสภาท้องถิ่น โดยให้ระบุวัตถุประสงค์ในการใช้จ่ายเงินให้ชัดเจน และคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนและท้องถิ่นที่จะได้รับ (ข้อ 89 ) ดังต่อไปนี้ (1) เฉพาะกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ อปท. ที่เป็นกิจการที่ประชาชนได้รับประโยชน์โดยตรง เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน หรือท้องถิ่นที่ขาดโอกาสที่จะได้รับ การพัฒนา เกี่ยวกับ...

37 - ด้านการบริการชุมชนและสังคมของประชาชนในพื้นที่
- กิจการที่เป็นการเพิ่มพูนรายได้ของ อปท. - กิจการที่จัดทำเพื่อบำบัดความเดือดร้อนของประชาชน ทั้งนี้ ต้อง อยู่ในแผนพัฒนาของ อปท. * ซึ่งหากเป็นโครงการเพื่อการลงทุน เช่น ค่าก่อสร้างอาคาร หรือซื้อที่ดิน หรือโครงการที่ใช้วงเงินงบประมาณที่มีมูลค่าสูง ให้พิจารณาดำเนินการ...

38 ตั้งในงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรืองบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือโอนงบประมาณรายจ่ายมาตั้งจ่ายก่อน เป็นลำดับแรก กรณีตั้งงบประมาณหรือโอนงบประมาณแล้วไม่เพียงพอก็อาจ ใช้จ่ายจากเงินสะสมมาสมทบได้ หาก อปท. เห็นว่าโครงการดังกล่าวมีความจำเป็นเร่งด่วนในการบำบัดความเดือดร้อน ของประชาชนหรือการบริการชุมชนและสังคมของประชาชน ในพื้นที่ และไม่อาจรอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีในปีถัดไปได้ ก็อาจใช้จ่ายจากเงินสะสมได้

39 (2) ได้ส่งเงินสมทบกองทุนส่งเสริมกิจการของ อปท
(2) ได้ส่งเงินสมทบกองทุนส่งเสริมกิจการของ อปท. แต่ละประเภทตามระเบียบแล้ว (3) ต้องดำเนินการก่อหนี้ผูกพันให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปีถัดไป หากไม่ดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนดเงินสะสมจำนวนดังกล่าวนั้น ต้องพับไป

40 ข้อ 90 งบประมาณประกาศใช้บังคับแล้ว มีงบประมาณไม่เพียงพอหรือไม่ได้ตั้งงบประมาณเพื่อการนั้นไว้ ให้จ่ายขาดเงินสะสมได้ โดยได้รับอนุมัติผู้บริหารท้องถิ่น กรณีดังนี้ 1. รับ โอน เลื่อนระดับ เลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงาน (ไม่รวม บรรจุใหม่) 2. เบิกเงินให้ผู้บริหารท้องถิ่นฯ พนักงานท้องถิ่น (รวมลูกจ้างด้วย) ซึ่งมีสิทธิได้รับตาม กม. ว่าด้วยการจัดตั้ง อปท. ในระหว่างปีงบประมาณ 3. ค่าใช้จ่ายตาม (1) และหรือ (2) ให้ถือเป็นรายจ่ายใน ปีงบประมาณนั้น

41 สาธารณภัยเกิดขึ้น ในกรณีฉุกเฉินที่สาธารณภัยเกิดขึ้น (บรรเทาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในขณะนั้น) อปท. สามารถจ่ายขาดเงินสะสมได้ - อำนาจของผู้บริหารท้องถิ่นตามความจำเป็นในขณะนั้น - ให้คำนึงถึงฐานะการคลังของ อปท. (ฉุกเฉิน หมายความว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วน และจำเป็นต้องแก้ไขโดยฉับพลัน)

42 ข้อหารือ: จังหวัดหารือว่า อปท.ในเขตจังหวัดสามารถจ่ายขาดเงินสะสม โดยอำนาจของผู้บริหารท้องถิ่น ให้องค์กรหรือหน่วยงานที่เป็นศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยนอกพื้นที่ของ อปท. ได้เป็นกรณีพิเศษหรือไม่

43 ความเห็น : - ตามนส.ด่วนที่สุด ที่ มท /ว 4224 ลว.10 ต.ค แจ้งให้ อปท.ที่ไม่ประสบอุทกภัยและมีพื้นที่ใกล้เคียงฯ มีศักยภาพและประสงค์จะเข้าไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย พิจารณานำบุคลากร เครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ วัสดุ อุปกรณ์ เข้าไปช่วยเหลือได้ โดยใช้จ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ

44 - การใช้จ่ายเงินสะสมและเงินทุนสำรองเงินสะสมตามระเบียบเบิกจ่ายฯ ต้องการให้ อปท.รักษาเสถียรภาพทางการคลัง เพื่อไว้ใช้จ่ายในกรณีจำเป็นเร่งด่วนในการบริการประชาชนตามอำนาจหน้าที่ ที่จะต้องดำเนินการภายในเขตพื้นที่ของ อปท. นั้น ๆ ดังนั้น จากเหตุผลดังกล่าว อปท. จึงไม่สามารถนำเงินสะสมหรือเงินทุนสำรองเงินสะสมไปดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยนอกเขตพื้นที่ของ อปท.ได้

45 จ่ายขาดเงินสะสมซื้อรถส่วนกลาง
จ.สุพรรณบุรี หารือการซื้อรถส่วนกลางนอกเหนือบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์ฯ ว่า การซื้อรถโดยจ่ายขาดจากเงินสะสมสามารถดำเนินการได้หรือไม่ ระเบียบเบิกจ่ายฯ 2547 ข้อ 89 กำหนดให้การจ่ายขาดฯ เป็นอำนาจของสภาท้องถิ่น เฉพาะกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ อปท. ได้แก่ 1.การบริการชุมชนและสังคม 2. กิจการที่เพิ่มพูนรายได้ 3. กิจการเพื่อบำบัดความเดือดร้อนของ ปชช. หากการซื้อรถดังกล่าวเข้าเงื่อนไขที่กล่าวมานี้ ก็สามารถจ่ายขาดเงินสะสมเพื่อจัดซื้อได้ หนังสือ สถ. ที่ มท / 1532 ลว. 23 ก.พ. 53

46 การจ้างเหมาบริการ หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท ๐๓๑๓.๔/ว ๑๔๕๒ ลว. ๒๗ พ.ค. ๒๕๔๑ เรื่อง การเบิกจ่ายเงินค่าจ้างเหมาบริการกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้บริหารท้องถิ่นใช้ดุลพินิจในการพิจารณาอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าจ้างบริการในเรื่องต่างๆ ดังนี้ ๑. การจ้างเหมาบริการรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ ไม่รวมถึงบ้านพักของทางราชการ ๒. การจ้างเหมาทำความสะอาดอาคารที่ทำการ ๓. การจ้างเหมาดูแลรักษาต้นไม้ หรือสวนไม้ประดับ หรือสวนหย่อม หรือสนามหญ้าของทางราชการ ๔. การจ้างเหมาอื่นๆ ที่เป็นกิจการในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น การจ้างเก็บขยะมูลฝอย หรือสิ่งปฏิกูล การจ้างครูฝึกสอนออกกำลังกาย เป็นต้น

47 ๕. การจ้างเหมาบริการดังกล่าวข้างต้น
๕.๑ ให้เบิกจ่ายเท่าที่จำเป็นและประหยัดโดยคำนึงถึงฐานะการคลังของอปท. เป็นสำคัญโดยให้เบิกจ่ายจากหมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ ประเภทค่าจ้างเหมาบริการ ๕.๒ จะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของ อปท. ที่มีอัตรากำลังอยู่แล้ว ๕.๓ วิธีการจ้างเหมาบริการ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบ มท. ว่าด้วยการพัสดุของ อปท.

48 หลักเกณฑ์การจ้างเหมาบริการ
-การจ้างขึ้นอยู่กับดุลพินิจหัวหน้าส่วนราชการ วิธีการจ้าง ให้ใช้ระเบียบพัสดุ มุ่งผลสำเร็จของงาน ไม่มีอำนาจบังคับบัญชาหรือสั่งการทำงาน มีการตรวจงานและสั่งแก้ไขงาน ไม่ถือเป็นลูกจ้าง การจ้างบุคคลธรรมดา เฉพาะโครงการหรือเฉพาะครั้งคราวที่มีความจำเป็น เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานในหน้าที่ปกติของส่วนราชการเท่านั้น - ไม่จำเป็นต้องทำข้อตกลงการจ้างหรือสัญญาเต็มปีงบประมาณ

49 หลักเกณฑ์การจ้างเหมาบริการ(ต่อ)
- มิให้ทำข้อตกลงการจ้างหรือสัญญาจ้างในลักษณะต่อเนื่อง ลักษณะงานเป็นการซื้อบริการเป็นรายชิ้น การจ้างมุ่งเน้นผลสำเร็จของงานในระยะเวลาที่กำหนดเป็นสำคัญ ผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจควบคุมบังคับบัญชาหรือสั่งการในการทำงาน แต่มีอำนาจตรวจตรางานและสั่งให้ปรับปรุงแก้ไขเมื่องานผิดพลาดบกพร่อง ผู้รับจ้างไม่อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับที่ลูกจ้างของส่วนราชการถือปฏิบัติ ผู้รับจ้างไม่มาปฏิบัติงาน อาจหาผู้อื่นมาทำงานแทนหรือบอกกล่าวล่วงหน้า หากเกิดความเสียหายเนื่องจากไม่มาทำงานอาจกำหนดค่าปรับสำหรับความเสียหายนั้น อัตราค่าจ้างไม่ต้องจ่ายตามวุฒิการศึกษาให้พิจารณาจากความรู้และประสบการณ์ที่เหมาะสมกับงานที่แท้จริงหรืออัตราตลาด - การจ่ายค่าจ้างตามข้อตกลงหรือสัญญาจ้างและคณะกรรมการตรวจรับงานแล้ว

50 หลักเกณฑ์การจ้างเหมาบริการ(ต่อ)
- มิให้ทำข้อตกลงการจ้างหรือสัญญาจ้างในลักษณะต่อเนื่อง ลักษณะงานเป็นการซื้อบริการเป็นรายชิ้น การจ้างมุ่งเน้นผลสำเร็จของงานในระยะเวลาที่กำหนดเป็นสำคัญ ผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจควบคุมบังคับบัญชาหรือสั่งการในการทำงาน แต่มีอำนาจตรวจตรางานและสั่งให้ปรับปรุงแก้ไขเมื่องานผิดพลาดบกพร่อง ผู้รับจ้างไม่อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับที่ลูกจ้างของส่วนราชการถือปฏิบัติ ผู้รับจ้างไม่มาปฏิบัติงาน อาจหาผู้อื่นมาทำงานแทนหรือบอกกล่าวล่วงหน้า หากเกิดความเสียหายเนื่องจากไม่มาทำงานอาจกำหนดค่าปรับสำหรับความเสียหายนั้น อัตราค่าจ้างไม่ต้องจ่ายตามวุฒิการศึกษาให้พิจารณาจากความรู้และประสบการณ์ที่เหมาะสมกับงานที่แท้จริงหรืออัตราตลาด - การจ่ายค่าจ้างตามข้อตกลงหรือสัญญาจ้างและคณะกรรมการตรวจรับงานแล้ว

51 หลักเกณฑ์การจ้างเหมาบริการ(ต่อ)
- เบิกจ่ายหมวดค่าใช้สอย เป็นค่าจ้างเหมาบริการบุคคลภายนอกเพื่อช่วยเหลืองานต่างๆ ของ อปท. ลักษณะงานที่จ้างปฏิบัติงานต่อเนื่องเป็นประจำ ไม่สามารถกำหนดประมาณงานของแต่ละบุคคลหรือไม่สามารถวัดผลสำเร็จของงานในระยะเวลาที่กำหนดได้เป็นงานที่ต้องทำร่วมกับเจ้าหน้าที่อื่นๆ ของ อปท. และอยู่ภายใต้การควบคุมบังคับบัญชาหรือสั่งการ รวมถึงกำหนดให้มีการลงลายมือชื่อและเวลาในการปฏิบัติงานแต่ละวัน ซึ่งเป็นลักษณะการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างแรงงานมากกว่าสัญญาจ้างทำของ

52 หลักเกณฑ์การจ้างเหมาบริการ(ต่อ)
- วินิจฉัย การปฏิบัติระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้างในการจ้างเหมาบริการของ อปท.มีนิติสัมพันธ์กันในลักษณะนายจ้างกับลูกจ้าง ลักษณะการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่องเข้าข่ายเป็นการจ้างลูกจ้างที่ต้องเบิกจ่ายจากงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง การปฏิบัติดังกล่าวเข้าข่ายเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓๕ และกรณีจ้างซ้ำซ้อนกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่มีกรอบอัตรากำลังอยู่แล้ว ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท ๐๓๑๓.๔/ว ๑๔๕๒ ลว. ๒๗ พ.ค. ๒๕๔๑ เรื่อง การเบิกจ่ายเงินค่าจ้างเหมาบริการของ อปท.

53 หลักแนวทางการตรวจของ สตง.
อำนาจหน้าที่ “หลักการ” คือ กฎหมายจัดตั้ง อปท. พระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง “ข้อพึงระวัง” คือ หน้าที่โดยตรง ส่งเสริม หรือ สนับสนุน

54 หลักแนวทางการตรวจของ สตง. (ต่อ)
๒. ข้อปฏิบัติ “หลักการ” คือ ระเบียบ/ข้อบังคับ “ข้อพึงระวัง” คือ ไม่มีระเบียบ/ข้อบังคับ กำหนดไว้ไม่สามารถกระทำได้

55 หลักแนวทางการตรวจของ สตง. (ต่อ)
๓. แนวปฏิบัติ/ซักซ้อม “หลักการ” คือ คำสั่ง/หนังสือเวียน “ข้อพึงระวัง” คือ ถ้ามี + เชื้อโดยสุจริต

56 หลักแนวทางการตรวจของ สตง. (ต่อ)
๔. ดุลพินิจ “หลักการ” คือ ชอบด้วยกฎหมาย “ข้อพึงระวัง” คือ จำเป็น เหมาะสมและประหยัด

57 หลักแนวทางการตรวจของ สตง. (ต่อ)
๕. งบประมาณ “หลักการ” คือ มีเพียงพอที่จะเบิกจ่ายได้ “ข้อพึงระวัง” คือ ต้องมีการจัดทำงบการเงิน/บัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน

58 หลักแนวทางการตรวจของ สตง. (ต่อ)
๖. ประโยชน์สูงสุด “หลักการ” คือ ประโยชน์สาธารณะ “ข้อพึงระวัง” คือ ควรพิจารณาประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบโดยรวม

59 หลักแนวทางการตรวจของ สตง. (ต่อ)
๗. โปร่งใส/ตรวจสอบได้ “หลักการ” คือ เปิดเผย/จัดทำเอกสารถูกต้อง “ข้อพึงระวัง” คือ ต้องมีเอกสาร/หลักฐานไว้ประกอบการชี้แจง/ตรวจสอบ

60 ถาม อปท. ต้องดำเนินการอย่างไรบ้างเมื่อได้รับข้อทักท้วงจาก สตง.
ปัญหาการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถาม อปท. ต้องดำเนินการอย่างไรบ้างเมื่อได้รับข้อทักท้วงจาก สตง. ตอบ การล้างข้อทักท้วงของ สตง. มีแนวทางปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ ๑. กรณีได้รับข้อทักท้วงจาก สตง. ให้หัวหน้าหน่วยงานผู้เบิกหรือหัวหน้าหน่วยงานคลังปฏิบัติตามคำทักท้วงโดยเร็ว อย่างช้าไม่เกิน ๔๕ วัน นับจากวันที่ อปท. ได้รับแจ้งข้อทักท้วงนั้น(ตามข้อ ๑๐๒ ของระเบียบ มท.ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินของ อปท. พ.ศ. ๒๕๔๗) ๒. กรณี อปท. ชี้แจง สตง. แต่ สตง. ยืนยันว่าไม่มีเหตุจะหักล้างข้อทักท้วง ให้ อปท. ชี้แจงเหตุผลและรายงานให้ผู้ว่าฯ วินิจฉัยภายใน ๑๕ วัน นับจากวันที่ได้รับคำยืนยันจาก สตง.(ตามข้อ ๑๐๓ ของระเบียบ มท.ฯ)

61 ๓. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งผลการวินิจฉัยภายใน ๓๐ วัน นับจากวันที่ได้รับรายงานจาก อปท.(ตามข้อ ๑๐๓ ของระเบียบ มท.ฯ) ๔. ในกรณี อปท. จะต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ปฏิบัติให้เสร็จสิ้นภายใน ๔๕ วัน นับจากวันที่ได้รับทราบผลการวินิจฉัย (ตามข้อ ๑๐๓ ของระเบียบ มท.ฯ) ๕. หาก อปท. ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัด ให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครอง(ผู้ว่าฯ) ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ๖. หาก อปท. ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี(วันที่ทราบผลคำวินิจฉัยอุทธรณ์) ตามมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒

62 จากคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด
“ ข้อเสนอแนะของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นการใช้อำนาจตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยกฎหมายดังกล่าวก็บัญญัติ ให้หน่วยรับตรวจชี้แจงหรือแก้ไขข้อบกพร่องหรือปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือให้ดำเนินการตามกฎหมาย หรือระเบียบแบบแผนที่ราชการหรือหน่วยงานรับตรวจกำหนดไว้ มิได้มีผลบังคับเด็ดขาดให้หน่วยรับตรวจต้องปฏิบัติตามผลการตรวจสอบที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแต่อย่างได” (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๑๑๑/๒๕๔๕)

63 เมล dr.jee_22@hotmail.co.th เวป www.esanlocalgov.com
ดร.จีราวุฒิ เข็มพรมมา โทร ๐๘๙-๘๖๓๔๑๙๙ ๐๘๘-๓๗๗๒๔๙๙ เมล เฟส ดร.จี เวป ความเห็น : 1. การดำเนินการโครงการดังกล่าวเป็นกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของเทศบาล ต้องดำเนินการเพื่อจัดระบบบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป ตากฎหมายกำหนดและตามมาตรา 51 กำหนดให้ เทศบาลอาจจัดให้มีกิจการในการบำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎรในเขตเทศบาล 2. ตาม พรบ.สาธารณสุข พ.ศ โดยกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น มีอำนาจห้ามผู้หนึ่งผู้ใดมิให้ก่อเหตุรำคาญในที่หรือทางสาธารณะหรือสถานที่เอกชน ได้ แต่มิใช่อำนาจหน้าที่ของเทศบาลที่จะไปทำการไถกลบตอซังข้าวในสถานที่เอกชนแทนบุคคลนั้นอันมีหน้าที่ตามกฎหมายต้อง ไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญขึ้น ดังนั้น โครงการดังกล่าวซึ่งมิใช่อำนาจหน้าที่ฯ


ดาวน์โหลด ppt การศึกษา ปริญญาตรี - ศิลปศาสตร์บัณฑิต(รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google