การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน บทที่ 3 การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน ทบทวนความรู้ก่อนเรียน การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหาต้องดำเนินการก่อนวางแผนการแก้ปัญหา การออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้รหัสลำลองหรือผังงานเพื่อทำให้เข้าใจได้ง่ายในการนำไปปฏิบัติ การดำเนินการแก้ปัญหา เป็นการนำวิธีแก้ปัญหาที่ได้ออกแบบไว้มาดำเนินการ โดยอาจพัฒนาเป็นโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน ลองทำดู ออกแบบรหัสลำลองหรือผังงานในการคำนวณหาพื้นที่รูป สี่เหลี่ยมคางหมู
รู้จักไพทอน ไพทอนเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเริ่มต้นเรียนรู้การเขียนโปรแกรม มีโครงสร้างคำสั่งที่ไม่ซับซ้อน มีชุดคำสั่งที่ทำงานทางด้านกราฟิกให้เลือกใช้งานได้สะดวก สามารถทดสอบการทำงานตามคำสั่ง และตรวจสอบผลลัพธ์ได้ทันที นักเรียนสามารถนำภาษาไพทอนไปใช้ในการเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อนเพื่อการทำงานจริงได้
เครื่องมือพัฒนาโปรแกรม การเขียนโปรแกรมไพทอนจะใช้เครื่องมือช่วยในการพัฒนาโปรแกรมที่เรียกว่า ไอดีอี (Integrated Development Environment: IDE) ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือแก้ไขโปรแกรมต้นฉบับ (source code editor) เครื่องมือแก้ไขจุดบกพร่องของโปรแกรม (debugger) และเครื่องมือช่วยให้โปรแกรมทำงาน หรือรันโปรแกรม (run) ไพทอนไอดีอีโดยทั่วไปจะทำงานตามคำสั่งได้ใน 2 โหมด คือ 1. โหมดโต้ตอบหรือโหมดอิมมีเดียท (immediate mode) 2. โหมดสคริปต์ (script mode)
เครื่องมือพัฒนาโปรแกรม 2. โหมดสคริปต์ (script mode) 2. โหมดสคริปต์ (script mode) ผู้ใช้ต้องพิมพ์คำสั่งไพทอนหลายคำสั่งประกอบกันให้เป็นโปรแกรมที่สมบูรณ์ แล้วบันทึกเป็นไฟล์ไว้ก่อน เพื่อที่จะสั่งให้ตัวแปลภาษาไพทอนทำงานตามคำสั่งทั้งหมดในโปรแกรมตั้งแต่คำสั่งแรก จนถึงคำสั่งสุดท้ายต่อเนื่องกันไป ถ้าหากต้องการตรวจสอบความถูกต้องของคำสั่งสามารถใช้โหมดอิมมีเดียทในการทดสอบได้ 1.หมวดโต้ตอบหรือโหมดอิมมีเดียท ผู้ใช้จะพิมพ์คำสั่งภาษาไพทอนลงในส่วนที่เรียกว่า เชลล์ (shell) หรือคอนโซล (console) ทีละคำสั่ง และตัวแปลภาษาไพทอน (python interpreter) จะแปลคำสั่ง หากไม่มีข้อผิดพลาดจะทำงานคำสั่งดังกล่าว พร้อมแสดงผลลัพธ์ทันที แต่หากคำสั่งมีข้อผิดพลาดก็จะแสดงข้อผิดพลาด (error message) 1.หมวดโต้ตอบหรือโหมดอิมมีเดียท (immediate mode)
เครื่องมือพัฒนาโปรแกรม เกร็ดน่ารู้ การเขียนโปรแกรมไพทอนออนไลน์ หากคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต นักเรียนสามารถฝึกฝนการเขียนโปรแกรมภาษาไพทอนแบบออนไลน์ได้จากเว็บไซต์ที่ให้บริการตัวแปลภาษาไพทอน ซึ่งมีอยู่หลายเว็บไซต์ โดยไม่ต้องติดตั้งตัวแปลภาษาไพทอน หรือไพทอนไอดีอี เช่น https://repl.it/languages/python3 https://repl.it/languages/python3
เริ่มต้นเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน ตัวอย่างที่ 3.1 คำสั่งแสดงผลในโปรแกรมภาษาไพทอน print() เป็นคำสั่งชนิดฟังก์ชัน (function) ทำหน้าที่แสดงสิ่งที่อยู่ภายในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ออกทางจอภาพ ให้สังเกตผลลัพธ์ที่ได้ว่าไม่มีเครื่องหมาย ""
กิจกรรมที่ 3.1 ให้นักเรียนพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ลงในคอนโซลแล้วสังเกตผลลัพธ์ที่ได้ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร และเพราะเหตุใด print("3+5") print(3+5)
ตัวอย่างที่ 3.2 คำสั่งรับข้อมูลเข้า ทดลองพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ในคอนโซล แล้วกด แป้น Enter กำหนดให้ตัวแปร name มีค่าเป็น "Ying name = "Ying" print(name) แสดงค่าในตัวแปร name ออกมาทางจอภาพ ซึ่งก็คือคำว่า Ying จะได้ผลลัพธ์คือ Ying
ชวนคิด Ying เป็นข้อมูลชนิดใด เพราะเหตุใด ถ้าเปลี่ยนบรรทัดแรกเป็น name = 2 ผลจากการใช้คำสั่ง print(name) เป็นอย่างไร
ใบกิจกรรมที่ 4.1 เครื่องมือพัฒนาโปรแกรม ให้เปิดโปรแกรม PyCharm Edu แล้วสร้างโปรเจคและไฟล์เพื่อใช้เขียนโปรแกรมภาษาไพทอน ทดสอบการเขียนโปรแกรมด้วยคำสั่งต่อไปนี้ทั้งในโหมดอิมมิเดียทและโหมดสคริปต์ แล้วรันโปรแกรม สังเกตผลลัพธ์ที่ได้ ใช้โหมดอิมมิเดียทหาผลลัพธ์ของคำสั่งต่อไปนี้ แล้วคำถาม สร้างไฟล์ไพทอนใหม่แล้วเขียนคำสั่งแสดงชื่อตนเอง และอายุที่คำนวณจากปีเกิด
ตัวแปร ถ้าต้องการนำชื่อ-นามสกุลมาแสดงผลหลายครั้ง และบางครั้งรูปแบบเหมือนกันควรทำอย่างไร ตัวอย่างการแสดงผล เช่น ชื่อ อรุณ สามารถ ชื่อ อรุณ นามสกุล สามารถ คุณ อรุณ สามารถ และถ้ามีการแก้ไขหรือเปลี่ยนชื่อจะมีปัญหาอะไรบ้าง
name = "somchai" c = 16 ตัวแปร (variable)
ชวนคิด ถ้าต้องการใช้คำสั่งเพื่อแสดงค่า c และ name ที่หน้าจอภาพ จะพิมพ์คำสั่งอย่างไร ถ้าต้องการกำหนดให้ตัวแปร price มีค่าเท่ากับ 10 จะพิมพ์คำสั่งอย่างไร
กิจกรรมที่ 3.2 ให้นักเรียนพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ แล้วสังเกตผลลัพธ์ที่ได้ และอธิบาย ว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น year = Age _name = 123 totalPrice =_name 1stname = 10 nickName = "Aor" age = 13
ใบกิจกรรมที่ 4.2 เรื่องตัวแปร 1. สร้างโปรเจคและไฟล์ไพทอนขึ้นมาใหม่พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้แล้วสั่งรันโปรแกรม name = "อรุณ สามารถ" # 1 #print(name) # 2 print("คุณ",name) # 3 #----------------------------- # 4 name = "อริสา" # 5 name = name+" "+"มันตรา" # 6 print("คุณ",name) # 7
ตัวอย่างที่ 3.3 การเปลี่ยนค่าของตัวแปร พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ในคอนโซล c = 16 print(c) d = c print(d) d = 15 คำสั่งกำหนดให้ตัวแปร c ชี้ไปที่จำนวนเต็ม 16 เมื่อแสดงผลด้วยคำสั่ง print(c) จึงเห็นผลลัพธ์เป็น 16 >>> c = 16 >>> print(c) >>> d = c >>> print(d) >>> d = 15 คำสั่งสร้างตัวแปร d แล้วชี้ไปที่เดียวกับที่ตัวแปร c ชี้อยู่ จึงทำให้ตัวแปร d ชี้ไปยังจำนวนเต็ม 16 เมื่อพิมพ์ด้วยคำสั่ง print(d) จึงได้ผลลัพธ์เป็น 16 16 16 คำสั่งกำหนดให้ตัวแปร d ชี้ไปที่จำนวนเต็ม 15 เมื่อแสดงผลด้วยคำสั่ง print(d) จึงเห็นผลลัพธ์เป็นค่า 15 15
การเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปร c และ d ที่เกิดขึ้นตามคำสั่งในตัวอย่างที่ 3
ชวนคิด จากตัวอย่างที่ 3.3 นักเรียนสามารถใช้คำสั่ง d = "Ying" ต่อจากคำสั่งสุดท้ายได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ชนิดข้อมูลพื้นฐาน โปรแกรมภาษาไพทอนมีการแบ่งประเภท ของข้อมูลออกเป็นหลายประเภท โดยมีประเภท ข้อมูลพื้นฐาน คือ ข้อมูลประเภทข้อความ (string data type) ข้อมูลประเภทจำนวน (numerical data type)
ข้อมูลประเภทข้อความ หรือสตริง การกำหนดข้อมูลที่เป็นข้อความหรือสตริงให้ใช้ เครื่องหมายอัญประกาศครอบข้อความที่ต้องการกำหนด โดย เลือกใช้ได้ทั้งอัญประกาศเดี่ยว (') หรือคู่ (") ตามความเหมาะสม หรือ กรณีที่่มีข้อความยาวหลายบรรทัด ต้องใช้เครื่องหมาย " หรือ ' ติดต่อกัน 3 ตัว ครอบหน้าและหลังข้อความ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
การกำหนดข้อมูลชนิดข้อความ พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ในคอนโซล ตัวอย่างที่ 3.4 การกำหนดข้อมูลชนิดข้อความ พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ในคอนโซล >>> organization = '"สสวท"' #บรรทัดที่ 1 >>> address = "924 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110" #บรรทัดที่ 2 >>>print(organization) #บรรทัดที่ 3 >>>print(address) #บรรทัดที่ 4 >>> address = '''"สสวท." #บรรทัดที่ 5 ...: 921 ถนนสุขุมวิท ...: เขตคลองเตย กรุงเทพฯ ...: 10110''' >>> print(address) #บรรทัดที่ 6
ผลลัพธ์ดังนี้ "สสวท" 921 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 "สสวท." >>> organization = '"สสวท"' #บรรทัดที่ 1 >>> address = "924 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110" #บรรทัดที่ 2 >>>print(organization) #บรรทัดที่ 3 "สสวท" >>>print(address) #บรรทัดที่ 4 921 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 >>> address = '''"สสวท." #บรรทัดที่ 5 ... 924 ถนนสุขุมวิท ... เขตคลองเตย กรุงเทพฯ ... 10110''' >>>print(address) #บรรทัดที่ 6 "สสวท." 924 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
2) ข้อมูลจำนวน ภาษาไพทอนมีข้อมูลจำนวนที่สามารถนำไปคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายชนิดในที่นี้จะแนะนำ 2 ชนิด คือ จำนวนเต็มแบบมีเครื่องหมาย (signed integer) หรือเรียกว่า จำนวนเต็ม (integer หรือ int) สามารถเก็บค่าจำนวนเต็มบวกและจำนวนเต็มลบ จำนวนจริง (floating point number หรือ float) สามารถเก็บค่าทั้งจำนวนจริงบวกและจำนวนจริงลบ ที่อยู่ในรูปทศนิยมได้
ตัวอย่างที่ 3.5 การกำหนดข้อมูลจำนวนและการคำนวณพื้นฐาน พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ใน คอนโซล base = 10 #บรรทัดที่ 1 height = 15 #บรรทัดที่ 2 area = (1/2)* base * height #บรรทัดที่ 3 print ("base =", base) #บรรทัดที่ 4 print ("height =", height) #บรรทัดที่ 5 print ("area =", area) #บรรทัดที่ 6
ผลลัพธ์ที่ได้คือ >>> base = 10 >>> height = 15 >>> area = (1/2)* base * height >>> print ("base =", base) base = 10 >>> print ("height =", height) height = 15 >>> print ("area =", area) area = 75.0
ชวนคิด หลังจากจบคำสั่งในบรรทัดที่ 6 หากต้องการตรวจสอบชนิดข้อมูล ของตัวแปรทั้งสามตัว จะทำได้อย่างไร และได้ผลเป็นอย่างไร 1 และ 2 เป็นข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม แล้ว 1 / 2 เป็นข้อมูลชนิดใด
เกร็ดน่ารู้ ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ เกร็ดน่ารู้ ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ ตัวดำเนินการสำหรับการบวก ลบ คูณ หาร ในไพทอน จะใช้เครื่องหมาย +, -, * และ / ตามลำดับ นอกจากนี้ยัง มีเครื่องหมายเพิ่มเติม ** หมายถึง ยกกำลัง ตัวอย่างคือ 4**3 หมายถึง 43 // หมายถึง หารปัดเศษทิ้ง ตัวอย่างคือ 7 // 3 ได้ผลลัพธ์ เป็นจำนวนเต็ม 2 % หมายถึง เศษที่ได้จากการหาร ตัวอย่างคือ 7 % 3 ได้ ผลลัพธ์เป็นจำนวนเต็ม 1 โดยที่สามารถใช้เครื่องหมาย ( ) ล้อมรอบนิพจน์ที่ต้องการให้ ดำเนินการก่อน เช่นเดียวกับการเขียนนิพจน์ทางคณิตศาสตร์
ตัวอย่างที่ 3.6 ทอนเท่าไร นักเรียนซื้อแฟลช์ไดรฟ์ ขนาด 32 GB ราคา 117 บาท ที่ร้านสะดวกซื้อ โดยจ่ายเงินด้วยธนบัตรหนึ่งร้อยบาท 2 ใบ ในลิ้นชักเก็บเงินของร้าน มีแต่ธนบัตร 20 บาท และเหรียญหนึ่งบาท พนักงานจะต้องทอนเงินเป็นธนบัตร 20 บาทจำนวนกี่ใบ และเหรียญหนึ่งบาทจำนวนกี่เหรียญ ให้ใช้คำสั่งไพทอนแสดงวิธีหาคำตอบทีละลำดับ แนวคิดการแก้ปัญหา คำนวณจำนวนเงินทอน คำนวณจำนวนธนบัตรยี่สิบบาทที่ได้รับ จากจำนวนเงินทอน หารด้วย 20 โดยปัดเศษทิ้ง คำนวณจำนวนเหรียญบาทที่ได้รับ จากจำนวนเงินทอน หารด้วย 20 แบบเอาเศษ
ตัวอย่างที่ 3.6 ทอนเท่าไร พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ในคอนโซล change = 200 - 117 note20 = change // 20 coin1 = change % 20 print("เงินทอนทั้งหมด", change ,"บาท") print(" เป็นธนบัตรยี่สิบบาท จำนวน", note20, "ใบ") print(" เป็นเหรียญหนึ่งบาท จำนวน", coin1, "เหรียญ")
ตัวอย่างที่ 3.6 ทอนเท่าไร จะได้ผลลัพธ์ดังนี้ >>> change = 200 - 117 >>> note20 = change // 20 >>> coin1 = change % 20 >>> print("เงินทอนทั้งหมด", change ,"บาท") เงินทอนทั้งหมด 83 บาท >>> print(" เป็นธนบัตรยี่สิบบาท จำนวน", note20, "ใบ") เป็นธนบัตรยี่สิบบาท 4 ใบ >>> print(" เป็นเหรียญหนึ่งบาท จำนวน", coin1, "เหรียญ") เป็นเหรียญหนึ่งบาท 3 เหรียญ
การแปลงชนิดข้อมูล width = input("ป้อนความกว้างของสี่เหลี่ยม ") นักเรียนคิดว่าคำสั่งต่อไปนี้ ทำงานได้หรือไม่ width = input("ป้อนความกว้างของสี่เหลี่ยม ") length = input("ป้อนความยาวของสี่เหลี่ยม ") area = width * length print("พื้นที่สี่เหลี่ยม คือ", area, "ตารางหน่วย")
การแปลงข้อมูลสตริงให้เป็นข้อมูลชนิดจำนวน ตัวอย่างที่ 3.7 การแปลงข้อมูลสตริงให้เป็นข้อมูลชนิดจำนวน พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ในคอนโซล val = input("ป้อนค่าจำนวนเต็มค่าหนึ่ง ") #บรรทัดที่ 1 type(val) #บรรทัดที่ 2 intVal = int(val) #บรรทัดที่ 3 type(intVal) #บรรทัดที่ 4
การแปลงข้อมูลสตริงให้เป็นข้อมูลชนิดจำนวน ตัวอย่างที่ 3.7 การแปลงข้อมูลสตริงให้เป็นข้อมูลชนิดจำนวน จะได้ผลลัพธ์ดังนี้ >>> val = input("ป้อนค่าจำนวนเต็มค่าหนึ่ง ") ป้อนค่าจำนวนเต็มค่าหนึ่ง >? 4 >>> type(val) str >>> intVal = int(val) >>> type(intVal) int
กิจกรรมที่ 3.3 ทำตามลำดับคำสั่งในตัวอย่างที่ 3.7 อีกครั้งหนึ่ง แต่เปลี่ยนให้ แปลงค่าสตริงที่รับจากผู้ใช้ ให้เป็นจำนวนจริงด้วยฟังก์ชัน float() แทนการใช้ฟังก์ชัน int() ปรับปรุงชุดคำสั่งที่ใช้หาพื้นที่สี่เหลี่ยมข้างต้น ให้ทำงานได้ ถูกต้อง
เริ่มต้นเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน input()เป็นคำสั่งชนิดฟังก์ชัน (function) ทำหน้าที่รับข้อมูล เข้าที่ผู้ใช้ป้อนผ่านคีย์บอร์ด แล้วส่งคืนสิ่งที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาเป็น ข้อมูลชนิดสตริง ให้กับตัวแปรที่กำหนดไว้หน้าเครื่องหมาย = ใน ที่นี้ คือตัวแปร name หลังจากนั้นบรรทัดที่ 2จะแสดงค่าในตัวแปร name ออกมาทางจอภาพ ซึ่งก็คือคำว่า Prayut name = input("Please enter your name:") # บรรทัดที่ 1 print(name) # บรรทัดที่ 2
ตัวอย่างที่ 3.2 ผลลัพธ์คือ คำสั่งรับข้อมูลเข้า ทดลองพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ในคอนโซล แล้วกด แป้น Enter พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ แล้วกดแป้น Enter name = input("Please enter your name:") # บรรทัดที่ 1 print(name) # บรรทัดที่ 2 ผลลัพธ์คือ Please enter your name: >?_ # เครื่องหมาย >? เป็นเครื่องหมายแสดงการรอให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลของ PyCharm Edu
ข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนให้กับโปรแกรม ตัวอย่างที่ 3.2 คำสั่งรับข้อมูลเข้า ทดลองพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ในคอนโซล แล้วกด แป้น Enter จากนั้นให้ผู้ใช้ป้อนชื่อตนเอง เช่น ป้อนชื่อว่า Prayut ดังข้อความที่ขีดเส้นใต้ ต่อไปนี้ Please enter your name: >? >>> print (name) ข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนให้กับโปรแกรม Prayut Prayut
โปรแกรมที่มีการใช้ตัวแปรเก็บข้อมูลและแสดงผล snack = 20 drink = 33 price = snack+drink print("ราคารวม = ",price) snack = input() snack = int(snack)
การตั้งชื่อตัวแปรในไพทอน ชื่อตัวแปรจะประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายขีดเส้นใต้เท่านั้น โดยต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรหรือเครื่องหมายขีดเส้นใต้ นอกจากนี้ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่จะถือว่าแตกต่างกัน ดังนั้น ตัวแปรชื่อ count และ Count จึงเป็นตัวแปรคนละตัวกัน
ชื่อตัวแปรที่ตั้งขึ้นจะต้องไม่ซ้ำกับคำหลัก (keyword) ที่ไพทอนใช้เป็นคำสั่ง โดยคำหลักมีดังต่อไปนี้
ทำใบกิจกรรมที่ 4.2 ข้อที่ 3-4
การเขียนโปรแกรมที่มีตัวแปรและตัวดำเนินการ ทำใบกิจกรรมที่ 4.3 การเขียนโปรแกรมที่มีตัวแปรและตัวดำเนินการ
ตัวอย่างที่ 3.8 ร่วมด้วยช่วยแชร์ ถ้านักเรียนไปรับประทานอาหารฉลองวันปิดเทอมกับเพื่อน และตกลงกันว่าจะจ่ายค่าอาหารคนละเท่า ๆ กัน นักเรียนแต่ละคนจะต้องจ่ายค่าอาหารคนละเท่าใด ให้ใช้คำสั่งไพทอนแสดงวิธีหาคำตอบทีละลำดับ แนวคิดการแก้ปัญหา totalPrice รับค่าอาหาทั้งหมด number รับจำนวนผู้รับประทานอาหาร avg ค่าอาหารทั้งหมด/จำนวนผู้รับประทานอาหาร แสดงผล avg
ตัวอย่างที่ 3.8 ร่วมด้วยช่วยแชร์ พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ลงในคอนโซล totalPrice = int(input('ค่าอาหารทั้งหมด ')) number = int(input('จำนวนผู้รับประทานอาหาร ')) avg = totalPrice/number print ('จ่ายค่าอาหารคนละ', avg, 'บาท')
ตัวอย่างที่ 3.8 ร่วมด้วยช่วยแชร์ หากทดลองป้อนราคาอาหาร และจำนวนผู้รับประทานอาหาร เป็น 1,289 บาท และ 15 คน ตามลำดับ จะได้ผลลัพธ์ดังนี้ >>> totalPrice = int(input('ค่าอาหารทั้งหมด ')) ราคาอาหารทั้งหมด >? 1289 >>> number = int(input('จำนวนผู้รับประทานอาหาร ')) จำนวนผู้รับประทานอาหาร >? 15 >>> avg = totalPrice/number >>> print ('จ่ายค่าอาหารคนละ', avg, 'บาท') จ่ายค่าอาหารคนละ 85.93333333333334 บาท
การเขียนโปรแกรมไพทอนในโหมดสคริปต์ ในโหมดสคริปต์ นักเรียนต้องเขียนชุดคำสั่งไพทอนที่ ต้องการทำงานให้ครบถ้วนทั้งหมดก่อน ซึ่งเรียกว่าโปรแกรม โดย จะต้องบันทึกไว้เป็นไฟล์ แล้วจึงสั่งโปรแกรมทำงานตามคำสั่ง ทั้งหมดตามลำดับ เรียกว่า การรันโปรแกรม ข้อดีของการการ ทำงานโดยใช้โหมดสคริปต์ คือ ผู้ใช้สามารถบันทึกเก็บไว้เป็นไฟล์ ได้ เพื่อจะได้นำมาแก้ไขเพิ่มเติมได้ในภายหลัง และยังสามารถสั่ง รันโปรแกรมที่บันทึกไว้ได้หลายครั้ง
ตัวอย่างที่ 3.9 ร่วมด้วยช่วยแชร์ 2 Re-run ให้นักเรียนสร้างโปรเจคและไฟล์โปรแกรมไพทอน แล้วตั้งชื่อ หลังจากนั้นป้อนคำสั่งไพทอนตามลำดับเหมือนในตัวอย่างที่ 3.8 พร้อมกับทดลองรันด้วยการคลิกปุ่ม Execute แล้วป้อนราคาอาหาร และจำนวนผู้รับประทานอาหารที่แตกต่างกัน
ตัวอย่างที่ 3.9 ร่วมด้วยช่วยแชร์ 2 Re-run รูปต่อไปนี้แสดงผลที่ได้จากการรันหนึ่งครั้ง แล้วป้อนราคาอาหารเป็น 1,480 บาท และจำนวนผู้รับประทานอาหารเป็น 9 คน