การเขียนย่อหน้า
เรื่อง ย่อหน้า ประโยค วลี คำ
การเขียนย่อหน้า ความหมายของย่อหน้า ย่อหน้า คือ ข้อความหรือกลุ่มประโยคที่แสดง ความคิดสำคัญเพียงอย่างเดียว และเป็นส่วนของงาน เขียนเรื่องหนึ่ง ย่อหน้าประกอบด้วยประโยคใจความ สำคัญ และประโยคประกอบที่ขยายความคิดของ ประโยคใจความสำคัญนั้น
องค์ประกอบของย่อหน้า 1. ความคิดสำคัญหรือประโยคใจความสำคัญ ความคิดหลัก (main idea) หมายถึง ความคิดที่ผู้เขียนมุ่งเสนอต่อ ผู้อ่าน เพื่อแสดงว่าผู้เขียนมีความคิด ความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ความคิด หลักนี้ผู้เขียนอาจจะแปรออกมาเป็นประโยคก็ได้เรียกว่า ประโยคใจความ สำคัญ (topic sentence) 2. ประโยคขยายความ ประโยคขยายความคือประโยคที่ขยายความหรือให้รายละเอียด ความคิดหลักหรือประโยคใจความสำคัญให้เข้าใจชัดเจน
ความเรียงทั่วไปประกอบด้วย ย่อหน้า 2 ประเภท คือ ย่อหน้าเนื้อเรื่อง และย่อหน้าพิเศษ ย่อหน้าเนื้อเรื่อง คือ ย่อหน้าที่ใช้แสดงสาระสำคัญของเรื่อง ประกอบด้วย ความคิดสำคัญ ประโยคใจความสำคัญ ส่วนขยายความคิดสำคัญ
ย่อหน้าพิเศษ แตกต่างจากย่อหน้าปกติ มี 5 ชนิด ย่อหน้าคำนำ ส่วนนำเข้าสู่เรื่อง ย่อหน้าสรุป ส่วนปิดเรื่อง ย่อหน้าบทสนทนา บันทึกคำสนทนา ขึ้นย่อหน้าใหม่เมื่อเปลี่ยนผู้พูด ย่อหน้าเชื่อม เชื่อมโยงความคิดระหว่าง 2 ย่อหน้าให้สัมพันธ์กัน ย่อหน้าเน้นย้ำข้อความ เน้นย้ำความสำคัญของคำหรือข้อความเป็นพิเศษ หรือเพื่อแสดงความคิดสำคัญให้เห็นเด่นชัด
ตัวอย่างย่อหน้าคำนำ ชนเผ่าไทมิใช่เป็นเพียงแค่กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย มี สัญชาติไทยหรือเชื้อชาติไทยเท่านั้น หากทว่าคำว่า “ชนเผ่าไท” ยังมี ความหมายกว้างขวางยิ่งขึ้น ย่อหน้าดังกล่าวเป็นย่อหน้านำความคิดของบทความเรื่อง “ผ้าทอ ของเผ่าไท...สายใยแห่งความผูกพัน”
ตัวอย่างย่อหน้าสรุป ผมคิดว่าเรื่องของสิ่งที่เรียกว่าความรู้นั้น มีเรื่องที่น่าสนใจ และน่าศึกษาค้นคว้าอีกมากตลอดจนเงื่อนไขของการแสวงหาความรู้ ของมนุษย์ (Knowledge Acquisition) ผมคิดว่าเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ความรู้นี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก และผมคิดว่าพวกเราที่ทำงานใน วงการอุดมศึกษาควรให้ความสนใจให้มากกว่าที่เป็นอยู่ ผมเชื่อว่า การศึกษาค้นคว้าและการปฏิบัติการเรื่องความรู้นี้จะเป็นการสร้าง คุณูปการให้กับสังคมไทยอย่างมหาศาล สังคมไทยจะเป็น Knowledge based Society หรือ Knowledge-based Economy หรือไม่ก็อยู่ที่ว่าพวกเราได้กระทำการเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือไม่ มาก น้อยเพียงใด ลองพิจารณาดูนะครับ
ตัวอย่างย่อหน้าโยงความคิด (1) แม่มีความรู้เรื่องยาโบราณมาบ้าง เพราะอยู่กับป้าซึ่งเป็นแพทย์แผนโบราณ พอลูก เป็นไข้ตัวร้อน แม่จะกวาดยาดำ ยาทำจากอะไรไม่รู้ แต่เรียกตามสีของยาว่า ยาดำ ยาเขียว ยาอย่างหนึ่งใช้ดื่ม มีกระสายยาเป็นปัสสาวะของเด็กชาย เรื่องให้เด็กกินยาต้อง ใช้คำว่า กรอกยา เพราะต้องบีบปากบังคับให้ปากเปิดเพื่อจะสอดช้อนเล็กๆ เข้าไปได้ (2) ส่วนนี้ต้องเรียกว่า เป็นการเลี้ยงลูกอย่างโบราณ ต่อเมื่อลูกโตพอวิ่งได้แล้วจึงพึ่ง แพทย์ (3) แพทย์ประจำครอบครัวคือ หลวงพรหมทัตเทวี ท่านเป็นแพทย์ใหญ่ของโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ มีคลินิกสองแห่งอยู่ไม่ไกลกัน เพราะท่านมีสองบ้าน บ้านของดิฉันอยู่ใกล้ กับบ้านใหญ่ของท่าน จึงพึ่งท่านเป็นประจำ ท่านทำคลอดลูกให้ ลูกมือเจ็บเพราะเอามือ ไปจุ่มในน้ำร้อนก็ไปหาท่าน ครั้งสุดท้ายที่ไปพึ่งท่านคือตอนที่อยู่ในระยะเลือดจะไปลม จะมาเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว ท่านให้ยามากินแล้วบอกว่า ไม่เป็นอะไรมาก ก็เลยทำท่า จะหายเป็นปลิดทิ้ง ย่อหน้าที่ 2 เป็นย่อหน้าเชื่อมโยงความคิดของย่อหน้าที่ 1 กับ ย่อหน้าที่ 3
***ในที่นี้ฝึกเขียนย่อหน้าเนื้อเรื่อง การเขียนส่วนความคิดสำคัญ และส่วนขยายความควรเรียงลำดับให้เป็นระบบ ใจความรอง ใจความรอง ความคิดสำคัญ รายละเอียด ใจความรอง รายละเอียด รายละเอียด
รูปแบบของย่อหน้า มี 5 รูปแบบ รูปแบบของย่อหน้า มี 5 รูปแบบ ประโยคใจความสำคัญอยู่ต้นย่อหน้า ประโยคใจความสำคัญอยู่ท้ายย่อหน้า ประโยคใจความสำคัญอยู่ต้นและท้ายย่อหน้า ประโยคใจความสำคัญอยู่กลางย่อหน้า ไม่ปรากฏประโยคใจความสำคัญ
ตัวอย่างประโยคใจความสำคัญอยู่ต้นย่อหน้า ในอดีตนั้น คนไทยส่วนมากมีความรู้ในทางช่างไม้และ การปลูกสร้างบ้านเรือน เนื่องจากถือเป็นคติว่าลูกผู้ชายพอรุ่นหนุ่ม ขึ้นมาก็ต้องฝึกหัดช่างไม้ ต้องปลูกสร้างบ้านเรือนเป็น มักเริ่มต้นจาก การเป็นลูกมือช่วยช่างผู้มีความชำนาญและเรียนรู้จากประสบการณ์ ในการลงมือก่อสร้างงานจริง นอกจากนั้นการที่คนไทยมีจิตศรัทธาใน ศาสนาจึงมักช่วยพระสร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญหรือซ่อมโบสถ์ วิหาร จึงได้ความรู้ทางช่างและการก่อสร้างเพิ่มเติมจากวัดอีกด้วย เพราะพระสงฆ์ไทยส่วนมากเป็นช่าง หรือมีความชำนาญทางการ ก่อสร้างอยู่ด้วย
ตัวอย่างประโยคใจความสำคัญอยู่ท้ายย่อหน้า เนื่องจากมีการเร่งรัดการพัฒนาประเทศในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรม ทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่ลดน้อยถอยลง โดยรวดเร็ว ป่าไม้ถูกทำลายไปจนเหลือไม่ถึงหนึ่งในสี่ของพื้นที่ป่าไม้ ทั้งหมดที่มีอยู่เดิม ต้นน้ำลำธารก็ถูกทำลายลงมาก จนเกิดปัญหาภัย แล้ง สัตว์ป่าถูกล่าจนบางชนิด เช่น สมัน สูญพันธุ์หมดไปจากโลก แร่ ธาตุถูกขุดขึ้นมาใช้จนบางแห่งหมดไปจากพื้นที่ ทำให้เกิดมีเหมืองร้าง ขึ้น น้ำในแม่น้ำลำคลองที่เคยใสสะอาดก็เน่าเสีย เพราะขยะและน้ำทิ้ง จากโรงงานอุตสาหกรรม การใช้ธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือยใน ช่วงเวลาห้าสิบปีได้ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงขึ้นใน ปัจจุบัน
ประโยคใจความสำคัญที่อยู่ต้นและท้ายย่อหน้า คนไทยถือว่าบ้านเป็นสิ่งสำคัญต่อชีวิตตั้งแต่เกิดไปจนตาย เพราะคนไทยโบราณนั้นใช้บ้านเป็นที่เกิด การคลอดลูกจะกระทำกันที่บ้าน โดยมีหมอพื้นบ้านที่เรียกว่า หมอตำแย เป็นผู้ทำคลอด มิได้ใช้โรงพยาบาลหรือสถานผดุงครรภ์อย่างในปัจจุบันนี้ และที่สุดของชีวิตเมื่อมีการตายเกิดขึ้น คนไทยก็จะเก็บศพของผู้ตายที่เป็นสมาชิกของครอบครัวไว้ในบ้านเพื่อทำบุญสวดบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้ตายก่อนที่จะทำพิธีเผา อีกทั้งเป็นการใกล้ชิดกับผู้ตายเป็นครั้งสุดท้าย ดังนั้นบ้านจึงเป็นสถานที่ที่คนไทยใช้ชีวิตอยู่เกือบตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย
ประโยคใจความสำคัญที่อยู่กลางย่อหน้า คนไทยโบราณใช้บ้านเป็นที่เกิด การคลอดลูกกระทำกันที่บ้านโดยมีหมอพื้นบ้านที่เรียกว่าหมอตำแยเป็นผู้ทำคลอด มิได้ใช้โรงพยาบาลหรือสถานผดุงครรภ์อย่างในปัจจุบันนี้ ทำให้เห็นว่า บ้านเป็นสิ่งสำคัญต่อชีวิตตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสียชีวิต คนไทยมักเก็บศพของผู้ตายที่เป็นสมาชิกของครอบครัวไว้ในบ้านเพื่อทำบุญสวดบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้ตาย อีกทั้งเป็นการใกล้ชิดกับผู้ตายเป็นครั้งสุดท้าย
ตัวอย่าง ย่อหน้าที่ไม่ปรากฏประโยคใจความสำคัญ การเลี้ยงอาหารในสังคมอาจใช้การนั่งล้อมโต๊ะหรือ ล้อมวงที่พื้น อาจจัดเลี้ยงอาหารแบบช่วยตัวเองหรืออาจจัด เลี้ยงแบบโต๊ะจีนก็ได้ นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงแบบปิคนิกคือ การนัดพบ ณ ที่หนึ่งที่ใดแล้วนำอาหารไปรับประทาน ร่วมกัน ความคิดสำคัญของย่อหน้านี้คือ “การเลี้ยงอาหารในสังคม จัดได้หลายแบบ”
ไม่ปรากฏประโยคใจความสำคัญ คนไทยโบราณใช้บ้านเป็นที่เกิด การคลอดลูกกระทำกันที่บ้านโดยมีหมอพื้นบ้านที่เรียกว่าหมอตำแยเป็นผู้ทำคลอด มิได้ใช้โรงพยาบาลหรือสถานผดุงครรภ์อย่างในปัจจุบันนี้ ทำการงานก็อาศัยบ้านเป็นสำนักงาน เจ็บป่วยก็ตามหมอมารักษาที่บ้าน และที่สุดของชีวิตเมื่อมีการตายเกิดขึ้น คนไทยก็จะเก็บศพของผู้ตายที่เป็นสมาชิกของครอบครัวไว้ในบ้านก่อนเพื่อทำบุญสวดบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้ตายก่อนที่จะทำพิธีเผา อีกทั้งเป็นการใกล้ชิดกับผู้ตายเป็นครั้งสุดท้าย
การวางโครงเรื่องของย่อหน้าและการเขียนขยายความย่อหน้า 1. ขั้นแรก หาคำกุญแจจากประโยคใจความสำคัญที่กำหนด ฉัน รัก ประเทศไทย หรือ คิดประโยคใจความสำคัญ แล้วหาคำกุญแจ
การวางโครงเรื่องของย่อหน้าและการเขียนขยายความย่อหน้า (ต่อ) 2. ขั้นต่อมา วางโครงเรื่องของย่อหน้า เพื่อให้ทราบ ประเด็น ทิศทาง ลำดับการเขียน จะเขียนย่อหน้าด้วยวิธีใด ฉันรักประเทศไทย แผ่นดินไทย/ประเทศไทย – ใจความรอง คนไทย - ดินแดนงดงามด้วยธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรม - มีน้ำใจงาม - ภูมิอากาศพอเหมาะ ไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัด - มีอัธยาศัยดี - แผ่นดินอุดมสมบูรณ์ เพราะ รายละเอียด
ฉันรักประเทศไทย เพราะ 3. ขั้นสุดท้าย เขียนขยายความรายละเอียดที่จำเป็นเพื่อความชัดเจน แผ่นดินไทยเป็นดินแดนที่งดงามด้วยธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรม มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่หลากหลายทั้งทะเล ภูเขา น้ำตก เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว มีวัดวาอาราม พระราชวังอันวิจิตรตระการตา การละเล่นฟ้อนรำลีลาอ่อนช้อย ศิลปะหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์น่าชม ภูมิอากาศพอเหมาะไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัด แผ่นดินไทยอุดมสมบูรณ์ เลี้ยงสัตว์ปลูกพืชงอกงามได้ตลอดปี จึงมีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ ใครอยู่เมืองไทยไม่มีวันอดอยาก นอกจากนี้ คนไทยยังมีน้ำใจงามชอบช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากเห็นได้จากความร่วมมือร่วมใจกันในงานสาธารณกุศลต่างๆ ชาวต่างประเทศก็นิยมมาเที่ยวประเทศไทย เพราะคนไทยมีอัธยาศัยดี มีมนุษยสัมพันธ์ ยิ้มแย้มแจ่มใส จนประเทศไทยได้สมญานามว่า “สยามเมืองยิ้ม” ด้วยเหตุนี้ฉันจึงรักประเทศไทย ฉันรักประเทศไทย เพราะ
การขยายย่อหน้ามีหลายวิธี อาจใช้เพียงวิธีเดียวหรือหลายวิธีในย่อหน้าเดียวกัน 1. การให้คำจำกัดความ 2. การอธิบายให้รายละเอียด 3. การให้เหตุผล 4. การยกตัวอย่าง 5. การเปรียบเทียบ
ตัวอย่าง การให้คำจำกัดความ ตัวอย่าง การให้คำจำกัดความ วรรณคดีวิจักษณ์ (Literary Appreciation) คือ ความ ซาบซึ้งในวรรณคดี เป็นการหาคุณค่าและรู้จักความดีงามของวรรณคดี การวิจักษณ์ได้แก่การพิจารณาแง่งามของวรรณคดีว่าวรรณคดีเรื่องนั้นๆ หรือตอนนั้นๆ ดีอย่างไร เช่น มีความไพเราะ มีคติลึกซึ้งกินใจ มี ความหมายที่คมคายแฝงอยู่
ตัวอย่าง การอธิบายให้รายละเอียด ตัวอย่าง การอธิบายให้รายละเอียด มะลิเป็นไม้ที่ไม่ใช่ของพื้นเมืองของไทย เข้าใจกันว่าจะมาจาก ประเทศจีนตอนใต้หรือประเทศอินเดีย ในเมืองไทยเรามีอยู่หลายชนิด เช่น มะลิลา มะลิซ้อน มะลิวัลย์ มะลิถอด ลักษณะของดอกไม้ เหมือนกัน อย่างมะลิซ้อนก็มีกลีบซ้อนกันหนาเหมือนอย่างดอกดาวเรือง ส่วนมะลิถอดก็มีลักษณะเหมือนเอาดอกมะลิลาซึ่งมีกลีบชั้นเดียววางซ้อน กันขึ้นไป และจะถอดเอามาได้เป็นดอกๆ จึงเรียกว่า มะลิถอด
ตัวอย่าง การให้เหตุผล ตัวอย่าง การให้เหตุผล การออกกำลังกายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต เพราะจะทำให้หัวใจ หลอดเลือด และปอด มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพและการทำงาน จนสามารถรับและส่งออกซิเจนได้ดีขึ้น ขณะเดียวกันกล้ามเนื้อและอวัยวะ อื่นๆ ก็พลอยแข็งแรงขึ้น นอกจากนั้นยังมีผลต่อจิตใจที่ทำให้ผู้ที่ออกกำลัง คลายความเคร่งเครียดทางจิตใจ และมีอารมณ์ปลอดโปร่งขึ้นด้วย
ตัวอย่าง การยกตัวอย่าง ตัวอย่าง การยกตัวอย่าง สัญลักษณ์ในวรรณคดีมีความหมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักจะเป็น รูปธรรมที่เป็นเครื่องแทนนามธรรม เช่น ดอกไม้ใช้แทนหญิงงาม น้ำค้าง มักแทนความบริสุทธิ์ พระเพลิงใช้แทนความร้อนแรง หรืออาจใช้ตัวละคร ในเรื่องนิยายหรือบทละครเป็นตัวแทนนามธรรม เช่น ทศกัณฐ์เป็นตัวแทน ความเลวร้ายของผู้มีอำนาจที่ไม่มีธรรมะ สีดาเป็นตัวแทนหญิงที่ซื่อตรงต่อ สามี
ตัวอย่าง การเปรียบเทียบ ตัวอย่าง การเปรียบเทียบ อาหารมีรสต่างๆ กัน ให้ความโอชะแก่ผู้เสพฉันใด วรรณคดีก็มีรส ต่างๆ กัน ให้ความโอชะแก่ผู้อ่านฉันนั้น รสทั้งสองนี้แตกต่างกันตรงที่รส อาหารใช้ลิ้นเป็นเครื่องสัมผัส เพื่อให้รู้ว่าอาหารนั้นมีรสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม หรือเผ็ดอย่างไร บางทีก็ใช้จมูกดมกลิ่นพิสูจน์ว่าอาหารนั้นมีกลิ่น หอมหวนชวนกินแค่ไหน ส่วนรสแห่งวรรณคดีนั้นสัมผัสด้วยตาและหูจาก ภาษากวีจึงจะรู้รส และรสแห่งวรรณคดีนี้เป็นรสที่บอกถึงอารมณ์อย่าง เดียว คือ บอกอารมณ์แห่งความพอใจ หรืออารมณ์แห่งความไม่พอใจ ถ้าจะจำแนกภาวะแห่งอารมณ์ออกเป็นปลีกย่อยลงไปอีกก็มีอยู่อีกหลาย ประการ เช่น ความยินดี ความร่าเริง ความโศก ความโกรธ ความ องอาจ ความกลัว ความเกลียด ความพิศวง และความสงบ เป็นต้น
ลักษณะของย่อหน้าที่ดี ลักษณะของย่อหน้าที่ดีมี 4 ประการ (1อ3ส) เอกภาพ ความสมบูรณ์ สัมพันธภาพ สารัตถภาพ
ลักษณะย่อหน้าที่ดี ต้องทราบเพื่อให้เขียนย่อหน้าได้ถูกต้องตามหลักการเขียนย่อหน้า ย่อหน้าที่ดีสามารถสื่อความคิดที่ต้องการเสนอได้ชัดเจน มีลักษณะดังนี้ 1. มีเอกภาพ ความคิดสำคัญประการเดียว ไม่เขียนออกนอกเรื่อง 2. มีสัมพันธภาพ เนื้อหาเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน เชื่อมโยงความคิดเป็นระเบียบ 2.1 การลำดับความคิด 2.2 การใช้คำหรือกลุ่มคำเชื่อมความเพื่อ 2.2.1 ให้เป็นทางเดียวกัน 2.2.2 ให้เกิดความขัดแย้งกัน
2.2 การใช้คำหรือกลุ่มคำเชื่อมความเพื่อ (ต่อ) 2.2.3 เป็นเหตุเป็นผลกัน 2.2.4 แสดงจุดมุ่งหมาย 2.2.5 แสดงระยะเวลาหรือเหตุการณ์ 2.2.6 แสดงสถานที่ 2.2.7 แสดงการเปรียบเทียบ 2.3 การซ้ำคำที่เป็นแก่นของเรื่อง 3. มีสารัตถภาพ เน้นย้ำใจความสำคัญเพื่อให้ทราบความคิดสำคัญ 3.1 เน้นย้ำในที่ที่ควรเน้น 3.2 เน้นย้ำโดยใช้คำ 3.3 เน้นย้ำอย่างมีสัดส่วน 4. มีความสมบูรณ์ มีรายละเอียดครอบคลุมความสำคัญของย่อหน้าไว้ครบถ้วนชัดเจน