วิลเลียม ฮาร์วีย์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นคนแรกที่ค้นพบหมุนเวียนของเลือด ซึ่งมีการไหลเวียนไปทางเดียวกัน
ระบบหมุนเวียนโลหิต (Circulatory System) เป็นระบบนำสารต่างๆ เช่น สารอาหาร แก๊สต่างๆ เกลือแร่ ฮอร์โมนไปยังเซลล์ทั่วร่างกาย เพื่อเผาผลาญอาหารทำให้เกิดพลังงาน คาร์บอนไดออกไซด์ และ น้ำ และรับของเสียส่งออกนอกร่างกายทางลมหายใจออก โดยลำเลียงไปตามเส้นเลือดไปยังปอดและส่งออกนอกร่างกาย
โครงสร้างภายในของหัวใจ หัวใจ (heart) หัวใจอยู่ระหว่างปอดทั้ง 2 ข้าง ค่อนไปทางซ้ายเล็กน้อย หัวใจ ประกอบด้วย กล้ามเนื้อหัวใจ มี 4 ห้อง แบ่งเป็น ห้องบน 2 ห้อง เรียกว่า เอเตรียม (Atrium) ห้องล่าง 2 ห้อง เรียกว่า เวนตริเคิล (Ventricle) ระหว่างห้องบนซ้าย-ล่างซ้าย จะมีลิ้น ไบคัสพิด(bicuspid valve)คั่นอยู่ และ ห้องบนขวา –ล่างขวา มีลิ้น ไตรคัสพิด (tricuspid valve) คั่นอยู่ ลิ้นหัวใจทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ โครงสร้างภายในของหัวใจ
การไหลเวียนเลือดในคน
องค์ประกอบ ของระบบหมุนเวียนเลือด 1. เลือด (blood) 2. หลอดเลือด (blood vessel) 3. หัวใจ (heart) 4. ความดันเลือด (blood pressure) 5. ชีพจร (pulse)
1. หลอดเลือด (blood vessel)
หลอดเลือด ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดจากหัวใจไปยังอวัยวะส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และเป็นเส้นทางให้เลือดจากอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจ หลอดเลือดในร่างกายเรา มี 3 ชนิด ได้แก่
1. หลอดเลือดแดง (Artery) คือหลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย มีผนังหนาแข็งแรง เพื่อให้มีความทนทานต่อแรงดันเลือดที่ถูกฉีดออกไปไม่มีลิ้นกั้นภายใน เลือดที่อยู่ในหลอดเลือดแดง มีปริมาณแก๊สออกซิเจนมาก เรียกว่า “ เลือดแดง ” ส่วนหลอดเลือดแดงที่นำเลือด ออกจากหัวใจไปยังปอด
2. หลอดเลือดดำ (Vein) คือ หลอดเลือดที่นำเลือดจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเข้าสู่หัวใจ หลอดเลือดดำมีผนังบางกว่าหลอดเลือดแดง มีลิ้นกั้นภายใน เพื่อป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ เลือดที่ไหลอยู่ภายในหลอดเลือดมีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มาก ยกเว้น หลอดเลือดดำที่นำเลือดจากปอดเข้าสู่หัวใจ จะเป็นเลือดแดง
3. หลอดเลือดฝอย (Capillary) คือ หลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ สานเป็นร่างแหแทรกอยู่ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย มีขนาดเล็ก ละเอียดเป็นฝอย ผนังบางมากมีเซลล์ชั้นเดียว เป็นแหล่งที่มีการแลก เปลี่ยนแก๊ส และ สารต่าง ๆ ระหว่างเลือดกับเซลล์ร่างกาย ที่มา : http://www.npschool.ac.th/~pollaglove/3.html
ส่วนประกอบและหน้าที่ของเลือด 2. เลือด (blood) ส่วนประกอบและหน้าที่ของเลือด
ส่วนประกอบของเลือด เรียกว่า พลาสมา หรือน้ำเลือด เรียกว่า พลาสมา หรือน้ำเลือด ส่วนที่เป็นของเหลว 55 % ประกอบด้วย น้ำ 91 % สารต่าง ๆ เอนไซม์ ฮอร์โมน แก๊ส ของเสีย ได้แก่ ยูเรีย CO2 ส่วนประกอบของเลือด เม็ดเลือดแดง (Red blood cell ) เม็ดเลือดขาว (White blood cell ) ส่วนที่เป็นของแข็ง 45 % เกล็ดเลือด (Platelet)
น้ำเลือด หรือ พลาสมา พลาสมาหรือน้ำเลือด ทำหน้าที่ควบคุมความดันเลือด ปริมาณของเลือด ป้องกันเลือดออก พลาสมาประกอบด้วย น้ำประมาณ ร้อยละ 92 และโปรตีนประมาณ ร้อยละ 8 ซึ่งโปรตีนส่วนนี้มีความสำคัญในการรักษาสมดุลของน้ำในหลอดเลือดและเนื้อเยื่อ เป็นภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ที่จะเข้าสู่ร่างกาย
ที่มา http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/lesson2.php เซลล์เม็ดเลือดแดง (Red blood cell) เป็นสารประกอบโปรตีน ลักษณะค่อนข้างกลม มีสีแดง ตรงกลางเว้า เมื่อโตเต็มที่ไม่มีนิวเคลียส มีสารสีแดง เรียกว่า ฮีโมโกลบิน มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ มีอายุ 110 - 120 วัน สร้างที่ ไขกระดูก ถูกส่งไปทำลายที่ ตับ ในเด็กสร้างที่ ตับ ม้าม และไขกระดูก หน้าที่ของเซลล์เม็ดเลือดแดง คือ ลำเลียง O2 เซลล์ ลำเลียง CO2 ปอด ฮีโมโกลบิน(Hb) + O2 ออกซีฮีโมโกลบิน (Oxyhemoglobin) 1 cm3 มีเซลล์เม็ดเลือดแดงประมาณ 5 ล้านเม็ด รูป เซลล์เม็ดเลือดแดง ที่มา http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/lesson2.php
1 cm3 มีเซลล์เม็ดเลือดขาวประมาณ 4,000 - 10,000 เม็ด เซลล์เม็ดเลือดขาว (White blood cell ) กลม ไม่มีสี มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ สร้างที่ ไขกระดูก ม้ามและต่อมน้ำเหลือง อายุ 7 - 14 วัน ทำหน้าที่ ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม 1 cm3 มีเซลล์เม็ดเลือดขาวประมาณ 4,000 - 10,000 เม็ด ที่มา : http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/lesson2.php
เพลตเลต (Platelet) เศษเม็ดเลือด เกล็ดเลือด แผ่นเลือดไม่ใช่เซลล์ เป็นชิ้นส่วนของเซลล์ ไม่มีสี ไม่มีนิวเคลียสรูปร่างไม่แน่นอน ขนาดเล็กกว่าเม็ดเลือดแดงเกือบ 4 เท่า มีอายุ 4 วัน ทำหน้าที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ในขณะที่เส้นเลือดฉีก
กระบวนการแข็งตัวของเลือด เมื่อเลือดไหลออกจากบาดแผล สักครู่หนึ่งจะเห็นเลือดเปลี่ยนเป็นลิ่มคล้ายวุ้น ลิ่มเลือดประกอบด้วย ไฟบริน โดยมีเกล็ดเลือดเป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยา ลิ่มเลือดทำหน้าที่ ช่วยห้ามเลือด และป้องกันมิให้เชื้อโรคเข้าสู่บาดแผล ที่มาของภาพ : สสวท. ชีววิทยาเล่ม 2 : 88
การไหลเวียนเลือดในคน
เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต (Circulatory System) วงจรเลือด เลือดจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เอเตรียมขวา ผ่านลิ้นไตรคัสพิด เวนตริเคิลซ้าย เอเตรียมซ้าย ผ่านไบคัสพิด เวนตริเคิลขวา ปอด
4. ความดันเลือด (blood pressure) คือ เกิดจากการบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ ขณะหัวใจบีบตัวเลือดจะถูกดันออกไปตามหลอดเลือดแดงด้วยความดันสูง ทำให้เลือดเคลื่อนที่ไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ขณะหัวใจคลายตัว เลือดจะไหลกลับเข้าสู่หัวใจตามหลอดเลือดดำด้วยความดันต่ำ ความดันเลือดมีหน่วยเป็นมิลลิเมตรของปรอท มีค่าตัวเลข 2 ค่า เช่น 120 / 80 มิลลิเมตรของปรอท 120 = ค่าความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัวให้เลือดออกจากหัวใจ(Systolic pressure) 80 = ค่าความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัวรับเลือดเข้าสู่หัวใจ(Diastolic pressure)
เครื่องมือวัดความดันเลือด ความรู้เพิ่มเติม ปกติความดันเลือดสูงสุดขณะหัวใจ บีบตัว มีค่า 100 mmHg + อายุ ความดันเลือดขณะหัวใจ คลายตัวไม่ควรเกิน 90 mmHg เครื่องมือวัดความดันเลือดเรียกว่า มาตรความดันเลือด (Sphygmomanometer)ใช้คู่กับหูฟังหรือสเตทโทสโคป (Stethoscope) วัดความดันหลอดเลือดแดง ที่ต้นแขน เครื่องมือวัดความดันเลือด
ปัจจัยที่มีผลต่อความดันเลือด 1. อายุ ผู้สูงอายุมีความดันเลือดสูงกว่าเด็ก เนื่องจากผนังหลอดเลือดมีความ ยืดหยุ่นลดลง 2. เพศ ปกติเพศหญิงมีความดันเลือดต่ำกว่าเพศชาย ยกเว้นหญิงที่กำลังจะหมด ประจำเดือน 3. ขนาดของร่างกายคนตัวใหญ่หรือคนอ้วนมีความดันเลือดสูงกว่าคนผอม 4. อารมณ์ เครียดวิตกกังวลโกรธหรือตกใจมีความดันเลือดสูงกว่าคนอารมณ์ปกติ 5. การทำงาน ทำงานหนักและการออกกำลังกาย จะมีความดันเลือดสูง 6. สภาพร่างกาย เช่น หลอดเลือดตีบ ไขมันในเลือดสูงจะทำให้ความดันเลือดสูง
ความรู้เพิ่มเติม 1. ความดันเลือดเฉลี่ยปกติของหญิงในวัยหนุ่มสาว คือ 110 / 70 มิลลิเมตรปรอท 2. ความดันเลือดเฉลี่ยปกติของชายในวัยหนุ่มสาว คือ 120 / 80 3. โรคความดันเลือดสูงจะพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่โกรธง่าย และ เกิด ภาวะเครียดเป็นประจำ สาเหตุสำคัญคือการตีบตันของหลอดเลือด
คือจังหวะการบีบตัวและคลายตัวของ 5. ชีพจร (pulse) คือจังหวะการบีบตัวและคลายตัวของ ผนังหลอดเลือดตามจังหวะการเต้น ของหัวใจ โดยปกติหัวใจเต้นเฉลี่ย ประมาณ 72 ครั้ง/นาที อัตราการเต้น ของชีพจรเพศชายสูงกว่าเพศหญิง โดยวัดจากเส้นเลือดแดงบริเวณข้อมือ ข้อศอก และ ซอกคอ
การป้องกัน 1. รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทาน ต่อการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ดี 2. ระมัดระวังไม่ให้เป็นหวัด เพื่อหลีกเลี่ยงการติด เชื้อสเตปโตค็อกคัส โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด พักผ่อนให้เพียงพอ รักษาร่างกาย ให้อบอุ่น ไม่ไอจามรดกัน ไม่ใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น 3. เมื่อเป็นหวัด เจ็บคอ ไอ ควรไปพบแพทย์ ถ้ามีการติดเชื้อบัคเตรี แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อเป็นการป้องกันไข้รูห์มาติคด้วย
ขอให้โชคดี