งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คลินิกไร้พุง ( DPAC) คุณภาพ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คลินิกไร้พุง ( DPAC) คุณภาพ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คลินิกไร้พุง ( DPAC) คุณภาพ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พรทิพย์ บุญเรือง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.ปากบางภูมี

2 คลินิกไร้พุง (Diet & Physical Activity Clinic : DPAC)
คลินิกที่ดำเนินการเพื่อให้เกิดกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและมีการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลัง พร้อมทั้งสนับสนุนให้เกิดผลการปฏิบัติตามแนวทางมาตรฐานที่กำหนดไว้แต่ละกลุ่มวัยอย่างถูกต้อง สนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนในการปฏิบัติ ที่มา : คู่มือการดำเนินงานในคลินิก DPAC สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

3 กิจกรรมบริการในคลินิกไร้พุง
ซักประวัติ ให้บริการตรวจวิเคราะห์สุขภาพ การให้บริการด้านสุขภาพ การให้คำปรึกษา การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ การให้สุขศึกษารายบุคคล รายกลุ่ม การจัดการบรรยายพิเศษ การจัดนิทรรศการ การเผยแพร่ความรู้ด้วยสื่อ การส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง มอบสมุดปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่ผู้รับบริการ นัดและติดตามประเมินผล

4 องค์ประกอบหลัก DPAC คุณภาพ
1.การนำองค์กร 2.การวางแผนและบริหารเชิงกลยุทธ์ 3.การมุ่งเน้นผู้รับบริการและประชาชน 4.การวัด วิเคราะห์และการจัดการความรู้ 5.การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล 6.การจัดการกระบวนการ 7.ผลลัพธ์การดำเนินงาน

5 ประเด็น หรือ สิ่งที่ผู้ปฏิบัติ ต้องรู้
1. คลินิกไร้พุง 2. กลุ่มเป้าหมายและเป้าหมายของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3. แนวคิด ทฤษฎีอะไร ที่ใช้ในคลินิกไร้พุง 4. เทคนิคการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

6 กระบวนงานและขั้นตอนการให้บริการ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
เจ้าหน้าที่แนะนำบริการ ความจำเป็นที่ต้องลดน้ำหนัก ความสำคัญของการกิน/ออกกำลังกาย ภาวะอ้วนกับสุขภาพที่เป็นปัญหา ผู้รับบริการ/ผู้ที่สนใจ เข้ามาที่คลินิก พูดคุย ซักถาม ใช้แบบประเมินสุขภาพพฤติกรรมการกิน และการใช้แรงกาย ดัชนีชี้วัดสุขภาพ ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว พร้อม ประเมินความพร้อมที่ จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ยังไม่พร้อม สนใจเข้ารับบริการ ให้เอกสารความรู้เรื่องสุขภาพ โทรติดตามพูดคุยเพื่อให้มาตามนัด เข้าเป็นสมาชิกคลินิก ทำทะเบียนบันทึกประวัติ พูดคุยตั้งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว จัดโปรแกรมการกิน/ออกกำลังกาย รับปฏิทิน/เอกสารการบันทึก นัดติดตามการดูแลต่อเนื่อง การติดตาม นัดหมาย 1-2 สัปดาห์ (แล้วแต่บริบทของผู้รับบริการ) เพื่อเข้ามารับความรู้เพิ่มเติม พูดคุยเกี่ยวกับอุปสรรค การตั้งเป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและชั่งน้ำหนัก ติดตามทางโทรศัพท์ (กรณีไม่มาตามนัด โทรนัดติดตามใหม่ 2 ครั้ง) ประเมินสุขภาพและพฤติกรรม นัดพบเป็นระยะทุก 1-2 เดือน บันทึกดัชนีชี้วัดทางสุขภาพ ดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอว

7 กลุ่มเป้าหมายที่ต้องเข้าคลินิค DPAC
1. BMI 30 ขึ้นไป 2. รอบเอวในผู้หญิงมากกว่า 88 ซม. ผู้ชายมากกว่า 102 ซม. 3. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือ ความดันโลหิตสูงรายใหม่ 4. มีภาวะ Pre DM ( 100 – 125 mg%) 5. มีภาวะ Pre HT (BPมากกว่า 120/80 – 139/99) 6 ผู้ป่วย NCD ที่ควบคุมโรคไม่ได้

8 กลุ่มเป้าหมาย ได้จากการคัดกรองประชาชน และทะเบียนการรักษาในรพ.สต.
กลุ่มเป้าหมายของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในคลินิกไร้พุง รพ.สต.ปากบางภูมี ปีงบประมาณ 2559 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงเบาหวานPre DMและเสี่ยงสูงความดันโลหิตสูงPre HT จำนวน ราย ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน ราย ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้จำนวน ราย อ้วน (BMI  25 กก./ม2) จำนวน ราย อ้วนลงพุงที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง (รอบเอว ชาย 102 ซม. และหญิง  88 ซม.) จำนวน ราย กลุ่มเป้าหมาย ได้จากการคัดกรองประชาชน และทะเบียนการรักษาในรพ.สต.

9 1.ตกลงบริการ ให้ความรู้ เพื่อสร้างความตระหนัก แรงจูงใจ และความเชื่อมั่น ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง -อันตราย/โรคที่เกิดจากภาวะอ้วนลงพุง ความรุนแรงของโรค เช่น อัมพาต อัมพฤกษ์ ภาวะแทรกซ้อน จากเบาหวาน 3 ต(ตา ไต ตีน) -ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และหลอดเลือดหัวใจ -การลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคด้วยการลดน้ำหนัก/รอบเอว กรณีไม่เข้ารับบริการในคลินิก DPAC ให้เอกสารแผ่นพับ และนัดหมายตรวจตามแผนการรักษา กรณีเข้ารับบริการในคลินิก DPAC ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

10 2.ประเมินปัญหา สรุปปัญหา/สาเหตุ
2.ประเมินปัญหา สรุปปัญหา/สาเหตุ ซักประวัติ ตามแบบบันทึกข้อมูลคลินิก DPAC ประกอบด้วย ประวัติส่วนบุคคล ประวัติการเจ็บป่วย ประวัติครอบครัว ประวัติพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหาร การออกกำลังกาย ประวัติการลดน้ำหนัก

11 ประเมินปัญหา (ต่อ) ประเมินความรู้ /พฤติกรรมสุขภาพ
- แบบประเมินความรู้ ภาวะอ้วนลงพุง - แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการ - ก้างปลาวิเคราะห์ปัญหา ภาวะอ้วนลงพุง - แบบบันทึกการบริโภคอาหารย้อนหลัง 24 ชั่วโมง (กรณีที่ไม่สามารถค้นหาปัญหาได้)

12 3.ก้างปลาวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภค ดื่มน้ำน้อยกว่า 8 แก้ว/วัน ไม่มีเพื่อน ไม่กินอาหารมื้อเช้า กินขนมหวาน/ขบเคี้ยว/เบเกอรี/ผลไม้หวานๆ/ข้าวเหนียว ไม่มีเวลา ไม่ชอบ กินเร็ว (รู้สึกอิ่มตื้อบ่อยๆ) กินอาหารประเภททอด ผัด กะทิ เนื้อติดมัน ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมูบ่อยๆ กินอาหารปริมาณมากในแต่ละมื้อ ไม่ออกกำลังกาย ไม่ชอบ ผัก /ผลไม้จืดๆ กินอาหารทะเล เช่น หอยนางรม ปลาหมึก/ ไข่แดง/เครื่องในสัตว์/ ของหมักดอง ทำงานนั่งโต๊ะ เสียดายของ อิ่มแล้วกินต่อ ชอบนอนดูTV ชอบกินบุฟเฟ่ ดื่มน้ำอัดลม /กาแฟเย็น/น้ำหวานทุกวัน ไม่(ชอบ)ทำงานบ้าน กินจุบจิบ/กินไปดู TV ไป ชอบปรุงอาหารด้วยน้ำตาลทราย/ ผงชูรส ใช้ลิฟต์มากกว่าใช้บันได กินก่อนนอน < 4 ชม. ใช้น้ำมันสัตว์ปรุงอาหาร ซื้ออาหารตุน(โซนสีแดง)ในตู้เย็น ดื่มสุรา/เบียร์ประจำ อ้วน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ครอบครัวชอบทำอาหารทอดผัด เพราะทำง่าย,ชอบ คิดว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก คนในครอบครัว/เพื่อนชวนกันกิน (อาหารนอกบ้าน,พิซซ่า,ไอศกรีม,KFC,โดนัส) ถ้าเครียดจะกินมากขึ้น เพื่อนชอบแบ่งอาหารให้ เพราะเห็นว่าชอบกิน กินเพราะอยาก แม้ไม่หิว ทานอาหารนอกบ้านบ่อย/งานเลี้ยง/ประชุม มักมีแต่อาหารหวาน/มัน/เค็ม/ทอด/ผัด อ้วนแต่ก็แข็งแรง ภาวะจิตใจ แรงสนับสนุนทางสังคม

13 4.เลือกปัญหา+หาแนวทางแก้ไข
-ให้ผู้รับบริการรับทราบปัญหาของตนเอง -เลือกปัญหา/สาเหตุของภาวะอ้วนลงพุง - ปัญหาที่ทำสำเร็จ/เห็นการเปลี่ยนแปลงง่าย -ร่วมกันหาแนวทางแก้ไข - ให้การปรึกษาเน้นพฤติกรรม 3 อ.ที่เป็นไปได้ในวิถีชีวิต - ผู้รับบริการตัดสินใจเลือกวิธีการที่เหมาะสมปฏิบัติ -สร้างความเป็นกันเอง และให้กำลังใจ ไม่เร่งรัด -สรุปปัญหาที่เลือก แนวทางแก้ไขปัญหา แบบบันทันทึกการปรับพฤติกรรม และแนะนำวิธีการบันทึก

14 การสนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การสื่อสารความเสี่ยงเพื่อสร้างความตระหนักให้รู้ถึงอันตรายของโรค ทักษะการสอนสาธิตเพื่อให้เกิดการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ทักษะให้ผู้เสี่ยงสามารถเฝ้าระวังตนเองในการดูแลพฤติกรรมสุขภาพ และสามารถบันทึกพฤติกรรมของตนเองได้ ทักษะในการสนับสนุนให้ชุมชน/ครอบครัว/เพื่อนบ้าน มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ทักษะการทำงานเป็นทีม โดยพยาบาลเป็นแกนกลางในการเชื่อมประสานแผน

15 ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Stages of change theory)
Prochaska and DiClimente. 1970 Transtheoretical Model : TTM ขั้นไม่สนใจปัญหา (Pre-contemplation) ขั้นลังเลใจ(Contemplation) ขั้นตัดสินใจและเตรียมตัว (Preparation) ขั้นลงมือปฏิบัติ(Action) ขั้นกระทำต่อเนื่อง (Maintenance)

16 ขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

17

18 เทคนิค 5R เทคนิคการให้ คำปรึกษา(Counseling) และวิธีการจูงใจ(Motivation) 
1. Relevance ===> กิจกรรมในการจูงใจให้มีพฤติกรรมพึงประสงค์....ให้ตรงประเด็น ...และสอดคล้องกับสิ่งที่เป็นจุดสนใจของผู้เสี่ยง โดยการสอน...บอก..แนะนำ.... 2. Risks ===> ให้ข้อมูลเสี่ยง ...  กับผู้เสี่ยง + ผู้ใกล้ชิด + ญาติ + แฟน + ผู้เกี่ยวข้อง ถึงความเสี่ยง .... ข้อเสีย ... ภัยอันตราย ... โรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยง 3. Rewards ===> บอกข้อดีที่จะได้รับ ....จากการ มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์.. เป็นรางวัล...สำหรับตนเอง บุคคลใกล้ชิดอันเป็นที่รักคุณและผู้ที่ห่วงใยคุณค่ะ (รักนะคะ...ถึงห่วงใย...จากใจจริง) 4. Road blocks ===> ค้นอุปสรรค/ปัญหา หรือ สิ่งที่เป็นข้อขัดขวาง ....รวมถึง... การให้คำแนะนำ + วิธีการแก้ไขสำหรับช่วยเหลือ 5. Repetition ===> การกระทำซ้ำๆ  ในทุกๆ ครั้งของการมาที่ รพ.สต.ปากบางภูมี….มาตามนัด...ปฎิบัติตามซ้ำๆที่นัด..และทำตามที่แนะนำ

19 เทคนิค 5D การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior Change)
Delay ===> อย่ากินทันที ...ที่อยากกิน โดยให้ นับ 1-10 และ นับ นับไปเรื่อยเป็นวิธี Delay ให้ตัวเองไม่นึกถึง ==> การกินอาหาร Deep Breath === > การหายใจเข้า-ออกลึกๆ   และทำบ่อยๆ จำนวน 5 – 10 ครั้ง คล้ายๆ กับทำสมาธิ.... เพื่อเอาชนะใจตนเอง.....และ... เอาใจช่วยตนเอง (ตน ...  ชนะใจตน) Drink Water ===> การดื่มน้ำช้า ๆหรือการจิบน้ำหรือ อมน้ำปล่อยๆๆ สลับกับการดื่มน้ำ...ให้หายหิว Do something else ===> การหาสิ่งอื่นแทน เช่น.....ทำกิจกรรมที่ท่านชอบม๊าก มาก เช่น ..เดินShopping Destination ===> การให้คิดถึงผลดีของการไม่เป็นโรค

20 หลักในการควบคุมอารมณ์และความรู้สึกขณะลดน้ำหนัก
พยายามหลีกเลี่ยงการไปศูนย์อาหาร หรือจุดที่มีอาหาร เพื่อจะได้ไม่กระตุ้นให้เราหิว หรืออยากชิมอาหารหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่าพยายามนึกถึงความอร่อยหรือรสชาติของอาหารเหล่านั้น เมื่อพบเห็นอาหารต้องพยายามสะกดอารมณ์ของตัวเองไม่ให้อยากลองหรือบริโภคมากเกิน โดยต้องมีสติพร้อมทั้งต้องระลึกไว้เสมอว่าหากบริโภคอาหารจะทำให้เราอ้วนขึ้น ต้องทำความเข้าใจกับครอบครัวและคนรอบข้างถึงความจำเป็นในการลดน้ำหนัก เพื่อคอยช่วยเหลือและเป็นกำลังใจขณะลดน้ำหนัก รวมทั้งไม่ซ้ำเติมหรือยั่วให้เราบริโภคอาหารเกิน ที่มา : สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

21 หลักการกินอาหารเพื่อควบคุมพลังงาน
1. กินอาหารครบ 3 มื้อ ( หนักเช้า เบาเที่ยง เลี่ยงเย็น เว้นดึก ) 2. ลดปริมาณอาหารทุกมื้อที่กิน 3. กินอาหารพลังงานต่ำ 4. กินผัก ผลไม้ในมื้ออาหารให้มากขึ้น 5. เคี้ยวอาหารช้า ๆ 6. อดทน ถ้ารู้สึกหิว ทั้งๆ ที่เพิ่งกินไป

22

23 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและกำหนดเป้าหมาย
1. เป้าหมายของการลดน้ำหนักที่ควรจะเป็น : ร้อยละ 5-10 ของน้ำหนักตัวปัจจุบัน หรือ ลด กก./สัปดาห์ช่วงระยะเวลา 6 เดือน 2. เป้าหมายการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (ขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการ) 2.1 อาหาร : ลดพลังงานโดยรวมลง 500-1,000 กิโลแคลอรี/วัน 2.2 กิจกรรมประจำวันและการออกกำลังกาย : เริ่มจาก ออกกำลังกายขนาดหนักปานกลาง 3-5 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละ 30 นาที หรือสะสมอย่างน้อยครั้งละ 10 นาที และพัฒนาเป็นมากกว่าหรือเท่ากับ 60 นาที ทุกวัน 3. ควบคุมพฤติกรรม โดยมีทีมงานคลินิกดูแล เป็นไปตามเป้าหมาย ประเมินผล ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ตั้งเป้าหมายใหม่ วิเคราะห์หาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข ปฏิบัติซ้ำและประเมินผลเป็นระยะๆ ทบทวนและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง น้ำหนักให้คงที่ กระตุ้นเรื่องการกินอาหารและออกกำลังกาย ชั่งน้ำหนัก BMI เส้นรอบเอว ทุก 1-2 ปี ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เป็นไปตามเป้าหมาย ประชุมทีมงานคลินิกเพื่อวางแผนและ แก้ไขปัญหาในการดำเนินงาน

24 70.5 69.5 70 69 1 แก้ว 1-2 แก้ว  2 อึก 1-2 ถ้วย  2 คำ  10 นาที
แผนและผลการปรับพฤติกรรมการกินอาหารและการออกกำลังกาย คลินิกคนไทยไร้พุง รพ.สต.ปากบางภูมี ชื่อ-สกุล คุณ DPAC No / ครั้งที่. 1./ ด..1 คำชี้แจง กรุณาทำเครื่องหมาย  หากมีการปฏิบัติได้ และทำเครื่องหมาย  หากไม่ได้ปฏิบัติ และกรอกข้อมูลตามความเป็นจริง รายการ แนวทางปฎิบัติ / วัน–เดือน-ปี น้ำหนักตัว (กก.) ชั่งน้ำหนักทุกวัน ช่วงเวลาเดียวกัน 70.5 69.5 70 69 พฤติกรรม การกินอาหาร ลด-งดกาแฟเย็น 1 แก้ว 1-2 แก้ว  2 อึก ลด-งดขนมหวาน 1-2 ถ้วย  2 คำ เพิ่มผัก/ผลไม้ไม่หวาน คอหมูย่าง การออกกำลังกาย เดิน 10 นาที 15 นาที 20นาที บริหารลดหน้าท้อง 5 นาที  5 นาที  10 นาที เหตุผล ระบุเหตุผลกรณีไม่ได้ปฏิบัติ ไปงานเลี้ยง ฝนตก/เลี้ยงญาติ 21 กค.57 22ก.ค 57 23 กค 57 24 กค.57 25 กค 57 26 กค 57 27 กค 57 วัดรอบเอวในท่ายืนในขณะหายใจออก ให้สายวัดแนบเนื้อ รอบลำตัว ผ่านสะดือในแนวขนานกับพื้น ไม่รัดแน่น วันที่ รอบเอว = ซม.

25 ตั้งเป้าหมายเฝ้ารอ สอบถามเป้าหมายน้ำหนักที่ผู้รับบริการต้องการ บันทึกไว้ ร่วมกำหนดเป้าหมายระยะสั้น และระยะเวลาที่ใช้ในการลดน้ำหนัก ให้ความรู้เกี่ยวกับอัตราการลดน้ำหนักที่เป็นผลดี/ไม่เกิดผลเสียต่อสุขภาพ การลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพ ควรลดลง 5-10 % ของน้ำหนักตัว อัตราการลดที่เหมาะสม กก./สัปดาห์ ค่าดัชนีมวลกายปกติ < 23 กก./ม.2 ถ้าน้ำหนักตัวลดลง รอบเอวก็ลดลงด้วย ลดน้ำหนักลงร้อยละ 5-10 % ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆลงได้ /ลดรอบเองทุก 5 ซม. ลดโอกาสเกิดเบาหวาน 3-5 เท่า

26 ตั้งเป้า เฝ้ารอ ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ควบคุมได้
ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ควบคุมได้ (HbA1C น้อยกว่าร้อยละ 7 หรือระดับ FBS  70 -  130 mg/dl. 3 ครั้งสุดท้ายติดต่อกัน) ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ควบคุมได้ (ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีระดับ BP 140/90 mmHg อย่างน้อย 3 ครั้งติดต่อกัน)

27 (Fasting Plasma Glucose : FPG, Fasting Capillary blood Glucose : FCG)
ตั้งเป้า เฝ้ารอ กลุ่มเสี่ยงสูงเบาหวาน (FPG or FCG = mg/dl. กลายเป็น กลุ่มเสี่ยงสูงเบาหวาน (อยู่เหมือนเดิม) หรือ กลุ่มปกติ (FPG or FCG 100 mg/dl. ) กลุ่มเสี่ยงสูงความดันโลหิตสูง (SBP mmHg และ/หรือ DBP mmHg) กลายเป็น กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง (อยู่เหมือนเดิม) หรือ กลุ่มปกติ (BP  120/80 mmHg) (Fasting Plasma Glucose : FPG, Fasting Capillary blood Glucose : FCG)

28 ตั้งเป้า เฝ้ารอ อ้วนอันตราย (BMI  30 กก./ม2)
(หลักเกณฑ์ของ International Obesity Task Force : IOTF)

29 ตั้งเป้า เฝ้ารอ ผู้ชาย ผู้หญิง เสี่ยงสูง (รอบเอว  102 ซม.)
เสี่ยง (รอบเอว ซม.) ปกติ (น้อยกว่า 90 ซม.) ผู้หญิง เสี่ยงสูง (รอบเอว  88 ซม.) เสี่ยง (รอบเอว ซม.) ปกติ (น้อยกว่า 80 ซม.) กัลยา กิจบุญชู. ข้อแนะนำการออกกำลังกายสำหรับคนอ้วน.

30 นัดติดตามประเมินผล ใบนัด
นัดติดตามประเมินผล ใบนัด นัดติดตามผล เดือนละ 1 ครั้ง หรือมากกว่า แต่ไม่เกิน 6 สัปดาห์/ครั้ง ขึ้นกับความต้องการของผู้รับบริการ

31 Empowerment ให้การปรึกษา สอน-สาธิต มุมเรียนรู้ กลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้

32 ประเมินผลการลดน้ำหนัก/การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
กราฟแสดงน้ำหนัก ประเมินผลการลดน้ำหนัก-รอบเอว กับผลลัพธ์ตามเป้าหมาย ประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. ปัญหาและอุปสรรคในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประเมินความต้องการของผู้รับบริการ

33

34 ปัจจัยความสำเร็จ 1. ความตั้งใจของผู้ใช้บริการ 2. ความร่วมมือของทีมงาน
3. มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 4. มีรูปแบบการให้บริการที่ดี 5. การสนับสนุนจากผู้บริหาร

35 ขอบคุณ....ค่ะ


ดาวน์โหลด ppt คลินิกไร้พุง ( DPAC) คุณภาพ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google