เรื่องชนเผ่าในจังหวัดมุกดาหาร

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ชื่อเรื่อง ชื่อผู้ดำเดินงาน ที่อยู่. * Tel: บทคัดย่อ ………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………… บทคัดย่อ ………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………
Advertisements

การควบคุมวัสดุ ครุภัณฑ์ และรถราชการ
วันที่ 30 พฤษภาคม 2560 และ 20 มิถุนายน 2560
การเตรียมความพร้อมรับการประเมิน จาก สมศ.
ด้านการสื่อสาร และประชาสัมพันธ์
หนองบัวลำภู นายทรงเดช ทิพย์โยธา -ว่าง- นายเฉลิมชัย เรืองนนท์
มารู้จักหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์
สำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้ว Plant Protection Sakaeo
งานจัดการเรียนการสอน
เอกสารแนะนำการใช้งานระบบจัดเก็บและบันทึกข้อมูลทะเบียนพาณิชย์ (เบื้องต้น) โดย นายพชร อินทรวรพัฒน์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า.
การประเมินผลงานวิชาการ และการขอรับเงิน พ.ต.ก.
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ. ศ เวลา น
แนวทางการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่ม และน้ำแข็งบริโภค ในสถานประกอบการ
บทที่ 2 หลักการแก้ปัญหา
บทที่ 13 วงจรบัญชีแยกประเภททั่วไป
งานวันข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ
เพื่อเข้าถึงแหล่งงบประมาณ
วาระที่ 3.1 กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ
การใช้คู่มือประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญา เด็กอายุ 2-15 ปี
การพัฒนาดิจิทัลคอลเลคชั่น
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
โครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรกรรมยั่งยืน ปี 2560
การกำหนดและการใช้คุณลักษณะเฉพาะสิ่งอุปกรณ์ หลักสูตร นายทหารฝ่ายการส่งกำลังบำรุง (ฝอ.๔) ณ รร.กบ.ทบ. ๕ มิ.ย. ๖๐.
บทบาทของ สถ. ในการสนับสนุน การดำเนินงานถ่ายโอนภารกิจ
ผู้อำนวยการกองกฎหมาย
สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาเมือง
แนวทางการดำเนินงานเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพองค์กรเกษตรกร ปี 2559
เปรียบเทียบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
สิทธิรับรู้ของประชาชน
ลำพูน นายพงษ์ธาดา แก้วกมล หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการโยธาธิการ
การออกแบบธุรกิจออนไลน์
เรื่อง การปรับปรุงค่าตอบแทนภาคราชการ
การจดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499
รูปแบบการศึกษา ทางระบาดวิทยา
การนำเสนอผลงานการวิจัย
สงขลา นายไมตรี สรรพสิน นางฐาปณี รสสุคนธ์ นายพิชัย อุทัยเชฏฐ์
สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาเมือง
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( )
เรื่องวิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
เรื่อง การทอผ้าห่มสี่เขา/ตะกอ
อุบลราชธานี นายนิวัตร ชูสมุทร นายชัยศักดิ์ ปิยะประสิทธิ์
สมุทรสงคราม -ว่าง- นายธีระชาติ ไทรทอง นางภาวดี ภูมรินทร์
ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ตำบลดงยาง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสมุทรสงคราม
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แนวทางปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2560
เรื่อง เทคโนโลยี ดนตรี หมอลำ
เรื่อง ทฤษฎีการค้นหาในการฝึกสุนัข
การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ
การแจ้งจัดสรรงบประมาณประจำปี ๒๕๖๒ โครงการส่งเสริมการอ่านตามรอยพระจริยวัตรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามหนังสือ สพฐ. ที่ ศธ ๐๔๐๑๐/ว ๑๑๐๖.
การนำเสนอแบบโปสเตอร์
กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย
แผนงานโครงการที่จะนำไปใช้เพื่อ การแก้ปัญหาสุขภาพหรือบริการ
หมวด 2 : การให้ความสำคัญกับประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วีระโชติ รัตนกุล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ.
หลักและศิลปะ ในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ
แผนงานบูรณาการพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนของหน่วยงานภาครัฐ
แผนงานบูรณาการพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนของหน่วยงานภาครัฐ
แผนพัฒนาการเกษตรตำบลคำพราน ปีงบประมาณ 2560 พื้นที่เพาะปลูกพืช เศรษฐกิจ
การประชุมชี้แจงแนวทางการกรอกข้อมูล เกณฑ์ชี้วัดมาตรฐานบริการสาธารณะสำหรับกรุงเทพมหานคร โดย คณะที่ปรึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยในเครือข่ายการวิจัย.
วิชาสถาบันการเมืองและรัฐธรรมนูญPPA1106
ทำยังไงเรียกเก็บแล้วได้เงิน
สังคมและการเมือง : Social and Politics
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
การยื่นข้อเสนอโครงการวิจัย
ฉบับที่ ๑๕/๒๕๖๐ วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายปริญญา เพ็งสมบัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชุมหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกาฬสินธุ์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

เรื่องชนเผ่าในจังหวัดมุกดาหาร ชื่อผู้จัดทำ นายเตีย ที่ดี ศูนย์ กศน.อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร..........................

ก สาระสำคัญ จังหวัดมุกดาหาร เป็นจังหวัดในภาคอีสาน ลำดับที่ 73 ของประเทศไทย เป็นเมืองชายแดนติดกับสาธารณะประชาธิปไตยประชาชนลาว ในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อปราบกบฏเจ้าอนุวงษ์ฯ กองทัพกรุงเทพฯ และกองทัพหัวเมือง แถบลุ่มแม่น้ำโขงได้ยกทัพข้ามโขงไปกวาดต้อนผู้คนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง(ดินแดนลาว)ให้อพยพข้ามโขงมาตั้งบ้านตั้งเมืองอยู่ทางฝั่งขวาของ แม่น้ำโขง(ภาคอีสาน) ให้มากที่สุดเพื่อมิให้เป็นกำลังแก่ข้าศึก จึงมีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ในจังหวัดมุกดาหารซึ่งมีอยู่ถึง 8 กลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อย้อนอดีตให้ทราบถึงกลุ่มชาติพันธุ์ (ETHNIC GROUP) ก่อนที่จะมารวมกันเป็นจังหวัดมุกดาหาร

ข สารบัญ สาระสำคัญ ก สารบัญ ข ชาวไทยอีสาน 1-4 ชาวผู้ไทย 5-8 ชาวไทยข่า 9-11 ชาวไทยโซ่ 12-14 ชาวไทยกะเลิง 15-17 ชาวไทยแสก 18-20 ชาวไทยย้อ 21-22 ไทยกุลา 23-26 แหล่งอ้างอิง 27 ประวัติผู้จัดทำ 28

1 ชาวไทยอีสาน เป็นชาวไทยกลุ่มใหญ่ในจังหวัดมุกดาหาร เช่นเดียวกับชาวไทยอีสานในจังหวัดอื่น ๆ ชาวไทยอีสาน ได้สืบเชื้อสาย ต่อเนื่องกันมานับพันปี ชาวไทยอีสานได้อพยพลงมาตามลำน้ำโขงตั้งแต่ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่อท่านพระครูโพนสิมนำสานุศิษย์จากอาณาจักรล้านช้างอพยพลงมาตามลำน้ำโขงแล้วแผ่ขยายออกไปตามลำน้ำอื่น ๆ ซึ่งแยกออกจากแม่น้ำโขง ตั้งเป็นเมืองต่าง ๆ

2 ไทยอีสาน อุปนิสัย อุปนิสัย นิสัยใจคอของชาวอีสานในอดีตส่วนใหญ่แล้ว เป็นคนเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ดังจะเห็นได้ในหมู่บ้านของชาวอีสานจะมีซุ้มเล็กๆหรือเพิงเล็กๆปลูกไว้หน้าบ้านในซุ้มหรือเพิงเล็กๆนั้นจะมีตุ่มน้ำเย็นใสสะอาดพร้อมกระบวย ไว้ให้แขกต่างบ้าน หรือใครที่เดินผ่านไปมาได้ตักดื่มกินแก้กระหาย

3 ไทยอีสาน  ชาวอีสาน เป็นชนที่ให้ความเคารพนับถือและปฏิบัติตน เป็นชาวพุทธที่ดียึดถือปฏิบัติมาตั้งแต่ในอดีตจนมาถึงปัจจุบัน ทุกเทศกาลสำคัญชนชาวไทยอีสานจะตั้งกองกฐิน ผ้าป่าไปทอดถวายพระที่บ้านเกิด เพื่อนำรายได้ไปสร้างวัดและบูรณะ วัดวาอารามต่างๆที่บ้านเกิดเมืองนอน หมู่บ้านใดมี พระอุโบสถ ( สิม )สวยงดงาม จะเป็นที่เชิดหน้าชูตาของหมู่บ้านนั้นๆ

4 ไทยอีสาน ความเชื่อ คนอีสานในอดีตกาลนั้น เนื่องจากเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย คนอีสานจึงหันไปเพิ่งภูตผี คนอีสานนั้นเชื้อในเรื่องผี ไม่ว่าจะเป็นผี ของปู่ ย่า ตา ยาย ผีป่า ทุกวันนี้ความเชื่อในเรื่องผียากที่จะลบล้างในความเชื่อนั้น ในขณะเดียวความเชื่อนั้นนอกจากจะเป็นการเตือนสติ ไม่ให้ทำชั่วแล้ว ยังทำให้เกิดประเพณีที่ดีงาม

5 ชาวผู้ไทย ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวผู้ไทยอยู่ในแค้วนสิบสองจุไทย และแค้วนสิบสองปันนา (ดินแดนส่วนเหนือของลาว และ เวียดนาม ซึ่งติดต่อกับดินแดนภาคใต้ของจีน) ราชอาณาจักรไทยได้สูญเสียดินแดนสิบสองจุไทย ซึ่งอยู่ในเขตของลาวให้แก่ฝรั่งเศสเมื่อ ร.ศ.107 (พ.ศ.2431)

6 ชาวผู้ไทย เดิมชาวผู้ไทยแบ่งออกเป็น 2 พวกคือ 1.ผู้ไทยดำ มีอยู่ 8 เมือง นิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำและสีคราม 2.ผู้ไทยขาว มีอยู่ 4 เมือง อยู่ใกล้ชิดติดกับชายแดนจีนจึงนิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวรวมผู้ไทยดำและผู้ไทยขาวมี 12 เมือง จึงเรียกดินแดนส่วนนี้ว่า "สิบสองจุไทย" หรือ "สองเจ้าไทย"

7 ชาวผู้ไทย อุปนิสัย อุปนิสัย ชาวภูไท มีภาษาพูดเป็นของตัวเอง เป็นภาษาที่พูดจานุ่มนวลไพเราะอ่อนหวาน ประเพณีหลัก จะยกย่องลูกผู้ชายคนแรก (ลูกกก) ให้ดูแลพ่อแม่ และปกครองน้องๆแทนพ่อแม่เมื่อพ่อแม่ล้มหายตายจากไป ชาวผู้ไทย เป็นชนเผ่าที่มีความกตัญญู เคารพนอบน้อม ต่อพ่อ แม่ บุพกรี อย่างสูง

8 ชาวผู้ไทย  ชาวผู้ไทย อาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่มีลักษณะภูเขาผสมที่ราบมีป่าไม้ รักธรรมชาติ ประเพณีดั้งเดิม นับถือผี ถือว่าผีนั้นเป็นผีปู่ ผีย่า มีการบ่วงสรวง เซ่นไหว้ เมื่อเจ็บไข้ ก็จะพึ่งหมอเยาหรือ"หมอเย๋า" การเยานั้นคือหมอเยาจะกระทำพิธีเรียกผีและเป็นตัวกลางระหว่างผีผู้ตาย หรือกับผีป่า ผีเขา หรือผีอื่นๆกับญาติผู้ป่วยว่า ผู้เจ็บป่วยทำผิดใดมา หรือ คนในครอบครัวไปกระทำสิ่งใดล่วงเกิน ไม่ถูกต้องตามประเพณีหรือใครคนไดคนหนึ่ง มากระทำสิ่ง

9 ชาวไทยข่า ชาวไทยข่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในจังหวัดมุกดาหาร ชาวข่ามีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในแขวงสะหวันนะเขตและแขวงอัตปือ ของลาว ชาวข่าเป็นชนเผ่าหนึ่งในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งอาจสืบเชื้อสายมาจากขอมโบราณ ซึ่งเคยอยู่ในดินแดน ซึ่งขอมเคยมีอิทธิพลครอบคลุมขึ้นมาถึงแล้วเสื่อมอำนาจลง ซึ่งพวกข่าอยู่ในตระกูลเดียวกับขอมและมอญเขมร

10 ไทยข่า  อุปนิสัย ชาวไทยข่าเป็นชนเผ่าที่ขยันขันแข็ง หมั่นเพียร มีความอดทน มีภาษาพูดเป็นของตัวเอง ในอดีตนั้นภาษาของชาวไทยข่า ไม่มีโคลงเคล้าของภาษา อีสานปนอยู่เลย ชาวไทยข่านั้นเป็นชนเผ่ามีวิถีชิวิตที่เรียบง่ายไม่ค่อยออกพบปะกับชาวตางถิ่นมากนัก จะเก็บตัวอยู่ในเผ่าของตัวเอง ไม่ค่อยไว้เนื้อเชื่อใครง่ายนักโดยเฉพาะคนแปลกหน้า

11 ไทยข่า ประเพณีของชาวข่า การสู่ขอเพื่อขอแต่งงานต้องมีล่าม 4 คน(ชาย 2 หญิง 2)  เทียน4 เล่ม และเงินหนัก 5 บาท เมื่อแต่งงานต้องมีเหล้าอุ 2 ไห ไก่ 2 ตัว ไข่ 8 ฟอง เงินหนัก 2 บาทหมู 1 ตัว และกำไลเงิน 1 คู่การทำผิดประเพณี (ผิดผี) เช่น ห้ามลูกสะใภ้ เข้าห้องนอนก่อนผัว ห้ามลูกสะใภ้รับของจากพ่อผัว

12 ไทยกะโซ่ ประวัติ ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวกะโซ่ อยู่ที่เมืองมหาชัย แขวงคำม่วน และแขวงสุวรรณเขตของประเทศลาว ส่วนข่าอีกพวกหนึ่งที่อพยพมาจากแขวงอัตปือของลาวไปอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ เรียกว่า ส่วย หรือ กุย พูดภาษาเดียวกันกับพวกกะโซ่ จังหวัดมุกดาหารมีชาวกะโซอยู่ในท้องที่อำเภอดงหลวง และ ส่วนมาก จะใช้นามสกุลเดียวกันหมดคือ วงศ์กะโซ่

13 ไทยกะโซ่ ภาพ ประกอบ วัฒนธรรมของชาวกะโซ่ ที่ยังรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ประจำเชื้อชาติที่เด่นชัดก็คือ พิธีกรรมโซ่ถั่งบั้ง หรือสลา เป็นพิธีกรรมในการบวงสรวงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษประจำปีหรือการเรียกขวัญรักษาคนเจ็บไข้ และพิธีกรรม ซางกระมูด (ผี) ในงานศพ

14 ไทยกะโซ่ ชาวไทยกะโซ่ มักมีผิวกายดำคล้ำ เช่นเดียวกับพวกข่า หญิงไว้ผมสูง นุ่งซิ่นสรวมเสื้อกระบอกย้อมคราม ห่มผ้าแถบ ผู้ชายแต่งกายอย่างคนเมือง แต่เดิมนุ่งผ้าเตี่ยวไว้ชายข้างหนึ่ง

15 ไทยกะเลิง ข่าเลิง หมายถึง ข่าพวกหนึ่งในตระกูลมอญเขมร ข่า กะโซ่และกะเลิง อยู่ในตระกูลเดียวกัน ถิ่นกำเนิดของชาวกะเลิงอยู่ในแขวงคำม่วน และแขวงสะหวันนะเขต ของลาว อพยพข้ามโขงมาอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ส่วนใหญ่จะอยู่ในท้องที่จังหวัดสกลนคร นครพนม และจังหวัดมุกดาหาร

16 ไทยกะเลิง ในอดีตผู้ชายกะเลิงชอบสักรูปนกแก้วที่แก้ม และปล่อยผมยาวประบ่า ส่วนผู้หญิงเกล้ามวยผม ปัจจุบันผู้ชายกะเลิงที่สักขาลายตั้งแต่ข้อเท้า ขึ้นไปถึงบั้นเอว ยังมีหลงเหลืออยู่บ้างในท้องที่อำเภอดอนตาล ที่ตำบลนาสะเม็ง และอำเภอคำชะอี ที่ตำบลบ้านซ่ง บางหมู่บ้านตำบลเหล่าสร้างถ่อ และที่บ้านโนนสังข์ บ้านนาหลวง จังหวัดมุกดาหาร

17 ไทยกะเลิง วิถีชีวิตและอุปนิสัย ชาวกะเลิง ความเป็นอยู่และอุปนิสัยคล้ายชาวไทย ข่า คือมีความมุ่งมั่น ขยันขันแข็ง มีความรักและจริงใจต่อ เพื่อน

18 ไทยแสก แสก คือ คนไทยกลุ่มหนึ่งที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ที่เมืองแสก ปัจจุบันเป็นเมืองร้าง อยู่บริเวณบ้านหนาดบ้านตอง ในแขวงคำม่วนของดินแดนลาว และอยู่ห่างจากชายแดนเวียดนามประมาณ 20 กิโลเมตรเมืองแสกเคยอยู่ในพระราชอาณาจักรไทย ก่อน ร.ศ.112 เป็นภาษาไทยลาว ปนญวน เพราะว่าอยู่ใกล้ชิดติดกับเขตแดนญวนและมีขนบธรรมเนียมของญวน ปะปนอยู่ด้วย

19 ไทยแสก ไทยแสกได้กระจายอยู่ในท้องที่ เมืองสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ผู้หญิงแสกนิยมการแต่งกายที่แปลกกว่าที่ชาวอีสานทั่วไป คือ นุ่งผ้าซิ่นสองชั้นและปล่อยให้ผ้าซิ่นชั้นในแลบออกมา เป็นเอกลักษณ์ของผู้หญิงชาวแสก ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวแสก คือ แสกเต้นสาก หรือ รำลาวกระทบไม้ แม้ในปัจจุบันก็ยังนิยมเล่นกันอยู่ในเทศกาลเดือน 3 (ตรุษแสก) ทุกปี

20 ไทยแสก ตรุษแสกหรือตรุษญวณ ในวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 3 เพื่อบวงสรวงดวงวิญญาณของ เจ้าองค์มู ซึ่งชาวแสกถือว่าเป็นบรรพบุรุษที่ช่วยคุ้มครองรักษาชาวแสกให้ปราศจากภยันตรายชาวแสกเคยมี ประวัติว่าเป็นนักรบที่ห้าวหาญ ในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าพระยาบดินทรเดชา แม่ทัพไทย ได้แต่งตั้งให้ ฆานบุดดี หัวหน้าชาวแสกเป็น หัวหน้ากองลาดตะเวนรักษาชายแดนพระราชอาณาเขตซึ่งติดกับเขตแดนญวน ต่อมาได้อพยพชาวแสกให้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเมืองนครพนม เมืองสกลนคร และเมืองมุกดาหาร

21 ไทยย้อ ไทยย้อเป็นชาวไทยในภาคอีสานอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมักเรียกตัวเองว่า ไทยย้อ เช่น ชาวย้อในจังหวัดสกลนคร , ชาวย้อ ในตำบลท่าขอนยาง(เมืองท่าขอนยาง) อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม , ชาวย้อ ในอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม และชาวย้อในตำบลดงเย็น อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร

22 ไทยย้อ ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวย้อ มีผู้ค้นพบว่าเดิมอยู่แคว้นสิบสองปันนา หรือ ยูนาน ต่อมาชาวย้อบางพวกได้อพยพลงมาตามลำน้ำโขง เพื่อเลือกหาที่ตั้งบ้านตั้งเมืองที่อุดมสมบรูณ์กว่าที่อยู่เดิมจนในที่สุดชาวย้อกลุ่มหนึ่งได้พบว่าตรงปากน้ำสงครามริมฝั่งโขงเป็นที่อุดมสมบรูณ์มีปลาชุกชุม

23 ไทยกุลา คำว่า “กุลา” มาจากภาษาพม่าซึ่งแปลว่า คนต่างถิ่น กุลา คือพวกเงี้ยวหรือตองซู่ในรัฐไทยใหญ่ของพม่า เงี้ยวหรือตองซู่ เมื่อเดินทางมาค้าขายในภาคอีสานถูกชาวอีสานในอดีตเรียกขาน และตั้งชื่อให้ใหม่ว่าพวก “กุลา”คำว่า “กุลา” เดิมหมายถึง พวกแขกบังคล่า (บังคลาเทศ ในปัจจุบัน)

24 ไทยกุลา พวกไทยใหญ่ โพกศีรษะทรงสูงเข้ามาค้าขายในภาคอีสานก็เลยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพวกเดียวกับพวกแขกบังคล่าจึงเรียกพวกไทยใหญ่หรือเงี้ยวว่ากุลา ต่อมาเมื่อเห็นพวกแขกปากีสถานก็เลยเรียกว่าพวกกุลาขาว และเรียกพวกมาจากบังคลาเทศ จากอินเดีย และจากพม่าว่ากุลาดำพวกเงี้ยว หรือกุลาชอบเร่ร่อนมาค้าขายในภาคอีสานจนมีชื่อเป็นอนุสรณ์ว่าทุ่งกุลาร้องไห้

25 ไทยกุลา กุลาบางพวก ได้ตั้งรกรากแต่งงานกับชาวไทยอีสานและผู้ไทย เช่น ที่เมืองเรณูนคร ตำบลแสนพัน อำเภอธาตุพนมและที่ อำเภอหนองสูง เขตอำเภอเมืองมุกดาหาร จนมีบุตรหลานสืบเชื้อสายต่อมากุลาจนทุกวันนี้

26 เอกสารอ้างอิง http://www.hellomukdahan.com/thaikaso/thailand-mukdahan... http://www.peace.mahidol.ac.th/th/index.php... http://www.komchadluek... http://www.oknation.net/blog/home/blog... http://www.isan.clubs.chula.ac.th/webboard...

ผู้จัดทำ นายเตีย ที่ดี ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ 27 ผู้จัดทำ นายเตีย ที่ดี ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ หน่วยงาน ศูนย์ กศน.อำเภอเมืองมุกดาหาร โทรศัพท์ 0-4261-1551 e-Mail Tiateedee@gmail.com Tiateedee@Hotmail.com