แนวทางการพัฒนาระบบราชการ ของกรมอนามัย และหน่วยงานในสังกัด ประชุมกรมอนามัย วันที่ 26 กรกฎาคม 2555 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
แนวทางการพัฒนาระบบราชการกรมอนามัย สาระสำคัญจากการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการกรมอนามัย เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2555 ณ โรงแรมริชมอนด์ ได้เสนอแนวทางในการพัฒนาระบบราชการในระยะต่อไป ดังนี้ ให้มีการพัฒนาระบบราชการของกรมอนามัยอย่างจริงจัง โดยใช้หลักเกณฑ์/ข้อกำหนดตามมาตรฐานของ PMQA เป็นเครื่องมือ ระบบงานตามหมวดต่าง ๆ ที่ดำเนินการมาแล้ว ให้หน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่หลักในเรื่องนั้น ๆ เป็นเจ้าภาพหลักในการกำกับดูแล ให้มีการดำเนินการต่อไป ได้แก่ การนำองค์กร และการสื่อสาร กพร. การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ กองแผนงาน การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สลก. การวัด วิเคราะห์และจัดการความรู้ กองแผนงาน การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล กองการเจ้าหน้าที่ การจัดการกระบวนการ สำนักส่งเสริมสุขภาพ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กองคลัง
ข้อเสนอสำคัญที่ควรดำเนินการในหมวด การนำองค์การ 1) การนำองค์กรต้องเริ่มก่อน โดยผู้บริหารมีส่วนร่วม กองแผนงานจัดประชุมผู้บริหาร ประกาศปฏิญญาอุบลบุรี นำ “การจัดทำแผนยุทธศาสตร์” 2) ปรับปรุงระบบการสื่อสารภายใน ให้คนกรมอนามัยเข้าใจว่างานที่แต่ละคนทำนั้นตอบสนองการบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์ของกรม หรือสนับสนุนกรมอนามัยอย่างไร 3) ให้มีการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานว่ามีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมและหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือไม่ อย่างไร 4) ให้มีระบบการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายจากกรมถึงหน่วยงาน และจากหน่วยงานถึงบุคลากรให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์
การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ข้อเสนอสำคัญที่ควรดำเนินการในหมวด การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ 1) ให้จัดทำแผนยุทธศาสตร์โดยหัวหน้าหน่วยงาน มีส่วนร่วม และถ่ายทอดตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย โดยคำรับรองฯ ให้เสร็จก่อนขึ้นปี และนำประเด็นยุทธศาสตร์ของกรมทั้งหมดมากำหนดเป็นตัวชี้วัดของหน่วยงานให้ครอบคลุมเนื้องานของกรม 2) แผนยุทธศาสตร์ควรประกอบด้วยแผนงาน แผนเงิน แผนพัฒนาบุคลากร และแผนพัฒนาองค์กร กองแผนงานได้จัดประชุมผู้บริหาร กลุ่มยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน เพื่อวางแผนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กรมอนามัย 3) ให้มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในระบบฐานข้อมูลกลางและระบบ DOC เพื่อกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อเสนอสำคัญที่ควรดำเนินการในหมวด การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1) ให้ทุกหน่วยงานพิจารณางานบริการที่เป็น Core Process ของหน่วยงาน รวมถึงงานบริการที่ตอบสนองลูกค้าภายในกรมด้วย ทำมาตรฐานการให้บริการ (SOP) และประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ งานบริการที่มีอยู่แล้ว ให้ทบทวนและปรับปรุง 2) ให้มีการรวบรวมมาตรฐานงานบริการที่ตอบสนองต่อลูกค้าภายนอกและภายในอย่างเป็นระบบและเผยแพร่ 3) ให้พัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพของศูนย์อนามัย ให้ได้มาตรฐาน HA ขั้นที่ 2 ภายในปี 2556 โดยมีเป้าหมายที่ ศอ. 1 4 5 6 8 10 และ 12 4) ให้ สลก. วิเคราะห์ความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาพรวมของกรม เพื่อเป็นข้อมูลนำเข้าในการประชุมเพื่อกำหนดทิศทางการนำองค์กรด้วย
ข้อเสนอสำคัญที่ควรดำเนินการในหมวด การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ 1) ให้ทุกหน่วยงานวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลตามยุทธศาสต์หรือพันธกิจของหน่วยงาน รวมถึงแนวโน้มในอนาคต และจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานในปีต่อไป ให้ทำอย่างน้อยหน่วย ละ 1 เรื่อง 2) ให้จัดทำระบบฐานข้อมูลกลางงานเฝ้าระวังด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 3) มีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ฐานข้อมูลกลาง และระบบ DOC ให้รับรู้และใช้ประโยชน์ 4) ในฐานข้อมูลกลางควรมีการเชื่อมโยงกับข้อมูลการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อให้ทราบผู้ที่เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ตามประเด็นยุทธศาสตร์ เช่น เรื่องส้วมมีใครเก่งหรือศูนย์ฯไหนมีงานเด่นเรื่องอะไร
ข้อเสนอสำคัญที่ควรดำเนินการในหมวด การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล 1) การพัฒนาบุคลากร ควรเน้นให้เกาะกลุ่มกันอย่างเข้มแข็ง พัฒนาต่อยอด โครงการที่เคยทำมาแล้วและมีผลดีควรทบทวนเพื่อดำเนินการอีก เช่น นสส. และ นสก. ซึ่งมีความหลากหลายของวิชาชีพในแต่ละรุ่น 2) บุคลากรด้าน back office เป็นกลุ่มสำคัญที่ควรพัฒนาศักยภาพด้วย โดยเฉพาะบุคลากรที่ศูนย์อนามัย 3) การศึกษา ดูงานต่างประเทศ เพื่อให้ก้าวล่วงหน้า 1-2 ก้าวเป็นเรื่องสำคัญ กรมควรสนับสนุนทุนการศึกษา / ดูงานต่างประเทศ 4) การพัฒนาบุคลากร ไม่ควรมองแค่ให้มีความก้าวหน้าเพียงอย่างเดียว แต่ควรพัฒนาเพื่อให้บุคลากรสามารถตอบสนองต่อภารกิจของกรมได้ด้วย
การจัดการกระบวนการ ข้อเสนอสำคัญที่ควรดำเนินการในหมวด 1) ควรมีการทบทวนคู่มือปฏิบัติงาน (SOP) ของ กรมอนามัยและปรับปรุงให้ทันสมัยครบถ้วน ตามภารกิจหลักของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งให้ มีการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานกระบวนการ สนับสนุนที่สำคัญเพิ่มเติมด้วย 2) รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ทราบ ปัญหาอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินการ ได้ตาม SOP ที่กรมกำหนด
แนวทางการดำเนินการระดับหน่วยงาน ให้ทุกหน่วยงานมีการพัฒนาองค์กร โดยมีอิสระที่จะเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสมของหน่วยงาน ดำเนินการตามข้อเสนอของคณะกรรมการ กพร. ในส่วนที่เกี่ยวข้อง กพร.จะสอบถามสถานการณ์การพัฒนาองค์การของหน่วยงาน และความต้องการสนับสนุน เพื่อจัดทำแผนสนองความต้องการในปีต่อไป กพร.จัดกิจกรรมเพื่อให้มีการสนับสนุน สร้างความเข้มแข็งให้หน่วยงานต่าง ๆ เช่น การเยี่ยมชม จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฯลฯ