อาจารย์ณิชาภา แก้วประดับ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การติดตามและ ประเมินผลโครงการ
Advertisements

อ. สิริพร มีนะนันทน์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
คำถามตามเกณฑ์ PMQA:105คำถาม หมวด1 12คำถาม.
การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานขาย
ชื่อเรื่อง : ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชาการบัญชีบริหาร ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองการวางแผนงบประมาณในธุรกิจการผลิตเฟอร์นิเจอร์
ข้อสรุปจากวีดีทัศน์ “ผีปู่แสะย่าแสะ” 1. การมีส่วนร่วมของชุมชน 2
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
บทที่ 3 ประเภทของบทและรูปแบบของรายการวิทยุโทรทัศน์
กระบวนการของการอธิบาย
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
กลุ่ม 6 ผลการประชุมระดมความ คิดเห็น เพื่อกำหนดทิศทางก้าวใหม่ ในการให้บริการ : ฝึกอบรมนักวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการ.
ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๑ ใช้เพื่อคลิ๊กไปสู่ หน้าถัดไป ใช้เพื่อคลิ๊กกลับ หน้าเดิม ใช้เพื่อคลิ๊กกลับสู่ หน้าหลัก ใช้คลิ๊กเมื่อต้องการ ออกจากระบบ.
นางวราพันธ์ ลังกาวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
หลักสูตรการอบรมวิทยากรตัวคูณ ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1 ภาคกลางตอนบน ( วันที่สอง ) ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี ระหว่างวันที่ 9 – 11 มีนาคม 2558.
ประวัติ ส่วนตัว ชื่อ นางสาวสุภาวรรณ อินสวัสดิ์ อายุ ๒๘ ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๙ / ๕ หมู่ที่ ๑ ตำบลแสงอรุณ อำเภอทับสะแก จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ การศึกษา.
ปรานอม ประทีปทวี 25/09/591 หน้าที่ของครูผู้นิเทศ สพม.5.
โครงงานจิตอาสา เรื่อง … เล่านิทานให้น้องฟัง จัดทำโดย กลุ่มจิตอาสา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ / ๓.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การแพร่กระจายนวัตกรรม Diffusion of Innovation
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
มาตรฐานการสอบทาน รหัส 2410
การเพิ่มประสิทธิภาพ ระบบบริหารจัดการความเสี่ยง
กลุ่มคำและประโยค ภาษาไทย ม. ๓
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 8 การเขียนประเภทอื่น ๆ เพื่อการประชาสัมพันธ์
เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
กรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
ณ ห้องประชุม พธ.ทร.(๒) วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙๓๐
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
แผนการขายลูกค้า SMEs พื้นที่ บน.3.1 ขบน ก.พ
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
หมวดศึกษาทั่วไป ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ผู้สอน : อ.สำราญ ผลดี
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
การพูดเพื่องานวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูล วัตถุเสพติดของกลาง (ระยะที่1)
วาระที่ ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมความพร้อมบุคลากร สำนักแผนงานและโครงการพิเศษเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในพื้นที่
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based Assessment) การรู้เรื่องการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์
การขอโครงการวิจัย.
การปฐมนิเทศและการบรรจุ
บทที่ 4 หลักทฤษฎีและปฏิบัติการธุรกิจ ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ
ความหมายของเรียงความ
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
รายวิชา การบริหารการศึกษา
บทที่ ๑ การพูดและการนำสนอเพื่องานนิเทศศาสตร์
การพูดรายงาน จากการศึกษาค้นคว้า.
Supply Chain Management
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report
ขอบเขตของงานการจัดซื้อ
เล่าเรื่องอย่างผู้นำ Coaching by story
แนวทางการออกแบบนิตยสาร
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
Lean Management การลดขั้นตอนการนัดตรวจสุขภาพจิตของ นร.กพ
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
การใช้ระบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ข่าว
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตภาคใต้
ใบสำเนางานนำเสนอ:

อาจารย์ณิชาภา แก้วประดับ ศิลปะการพูดและการนำเสนอ อาจารย์ณิชาภา แก้วประดับ

การบรรยายสรุป การบรรยายสรุป (Brief )เป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสาร ในลักษณะที่เป็นการชี้แจงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีความยาวหรือละเอียดมากและมีความสลับซับซ้อน ให้สั้นลงและกระชับขึ้น แต่ยังคงครอบคลุมและมีความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ

การบรรยายสรุป วิรัช ลภิรัตนกุล ......การบรรยายสรุปเป็นการอธิบายให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้รับสาร ก่อนที่จะมีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น ก่อนที่จะมีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นนั้นหมายความว่า ก่อนที่จะมีกิจกรรมอื่น ๆ ต่อไป นั่นเอง

การบรรยายสรุป เช่น ในการเยี่ยมชมโรงงานแห่งหนึ่งของคณะสื่อมวลชน ก็จะมีการบรรยายสรุปให้แก่คณะสื่อมวลชนผู้เข้าเยี่ยมชม ก่อนที่จะนำชมโรงงาน เป็นต้น

การบรรยายสรุป สั้นและกระชับ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและ ลักษณา สตะเวทิน .....การบรรยายสรุป คือ กระบวนการในการตระเตรียมเรื่องราวที่ยืดยาวและมีความสลับซับซ้อน โดยการจัดเรียบเรียงข้อเท็จจริงให้ดีที่สุด สั้นและกระชับ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและ ให้เกิดประสิทธิภาพในการสื่อสาร

การบรรยายสรุป ประเภทของการบรรยายสรุป 5 ประเภท คือ ประเภทของการบรรยายสรุป 5 ประเภท คือ การบรรยายสรุปเพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร (Information Brief) คือ การบรรยายสรุปที่มีความมุ่งหมายเพื่อเสนอข้อเท็จจริง ให้แก่ผู้อ่านและผู้ฟังเพื่อให้ผู้รับสารทราบสถานการณ์ปัจจุบัน หรือข้อมูลข่าวสารจากผู้บรรยายสรุป การบรรยายสรุปประเภทนี้จึงไม่ต้องการการตัดสินใจใด ๆ แต่จะเป็นการแถลงและรายงานให้ทราบเท่านั้น

การบรรยายสรุป 2. การบรรยายสรุปเพื่อการตัดสินใจ (Decision Brief) เป็นการบรรยายสรุป เพื่อหามติหรือข้อสรุปอย่างใดอย่างหนึ่งจากการตัดสินใจหลังจบการบรรยายสรุป การบรรยายสรุปประเภทนี้ จึงต้องเริ่มจากการบรรยายสรุปเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารในแบบแรก ขึ้นมาก่อน ผู้รับสารจึงจะมีข้อมูลเพียงพอที่จะนำไปสู่การตัดสินใจ การบรรยายสรุปแบบนี้จะต้องใช้การบรรยายสรุปที่ค่อนข้างจะละเอียดถี่ถ้วน

การบรรยายสรุป การบรรยายสรุปแบบนี้จะมีลักษณะของการแสวงหาคำตอบจากปัญหาที่ยกขึ้นมา เพื่อหาข้อตกลงใจ หรือหาหนทางปฏิบัติที่น่าจะเป็นไปได้ ดังนั้นในการบรรยายสรุปประเภทนี้ ในเบื้องแรกจึงต้องชี้แจงให้ผู้รับสารทราบอย่างชัดเจนก่อนว่าต้องการค้นหาข้อตกลงใจหลังจากการบรรยายสรุปจบลง เพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังสารที่บรรยายสรุปได้ใช้ ความรอบคอบระมัดระวังในการพิจารณาสารจากการบรรยายสรุป จะได้นำมาใช้ประกอบการตัดสินใจและแสดงความคิดเห็นได้อย่างถูกต้อง

การบรรยายสรุป 3. การบรรยายสรุปเพื่อการดำเนินงานของคณะทำงาน (Staff Brief) เป็นการบรรยายสรุปที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในวงการทหาร คือ จะเป็นการบรรยายสรุปเพื่อความรวดเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การบรรยายสรุปแบบนี้มีลักษณะคล้ายกับ information brief และยังคล้ายคลึงกับ dicision brief เพื่อจะนำไปเสนอผู้บังคับบัญชาตัดสินใจ

และเพื่อร่วมกันปฏิบัติงานให้มีเอกภาพในการบังคับบัญชา เป็นส่วนรวม การบรรยายสรุปแบบนี้จะต้องใช้ในหน่วยงาน องค์กร และสถาบันเกือบทุกระดับ เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับทราบข่าวสารและสถานการณ์ปัจจุบันร่วมกัน ผลที่ต้องการจากการบรรยายสรุปแบบนี้ คือ การประสานงาน และเพื่อร่วมกันปฏิบัติงานให้มีเอกภาพในการบังคับบัญชา เป็นส่วนรวม

การบรรยายสรุป 4. การบรรยายสรุปเพื่อให้นโยบาย (Mission Brief) เป็นการบรรยายสรุปที่เกิดขึ้น เพื่อผสมผสานความมุ่งหมายต่าง ๆ ที่จะต้องปฏิบัติร่วมกัน เช่น การบรรยายสรุปงานก่อนเริ่มดำเนินการ การบรรยายสรุปเพื่อปฏิบัติภารกิจในระดับต่าง ๆ การบรรยายสรุป แบบนี้มักจะเป็นการบรรยายสรุปสุดท้าย ก่อนการลงมือปฏิบัติงานใด ๆ ก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าผู้มีส่วนร่วมในภารกิจครั้งนั้น มีความเข้าใจตรงกันแล้ว การ บรรยายสรุปแบบนี้ใกล้เคียงกับ Information Brief

การบรรยายสรุป 5. การบรรยายสรุปในการประชุม (Meeting Brief) การบรรยายสรุปในการประชุม หรือ Meeting Brief ก็คือ การบรรยายสรุปเพื่อการดำเนินงานของคณะทำงาน (staff brief) และการบรรยายสรุปเพื่อให้นโยบาย (mission brief)

การบรรยายสรุป ประโยชน์ของการบรรยายสรุป การบรรยายสรุป เป็นการทำเรื่องที่ยากให้เป็นเรื่องง่ายในเวลาที่จำกัด ทำให้ผู้บริหารไม่ต้องเสียเวลามาอ่านเอกสารที่มีความหนามาก ซึ่งท่านจะต้องนำไปพิจารณาต่อ จึงเป็นการประหยัดเวลา และเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์หน่วยงาน องค์กร และสถาบัน

การบรรยายสรุป การบรรยายสรุปยังมีประโยชน์ในการแจ้งข่าวสาร การหาข้อตกลงใจการพิจารณาตรวจสอบแผนและสถานการณ์ การให้ข้อมูลผู้มาเยี่ยมชมหน่วยงาน องค์กร และสถาบัน การให้ข้อมูลผู้บังคับบัญชา การให้ข้อมูลประธานในที่ประชุม การบรรยายสรุปเพื่อของบประมาณเพิ่มเติม การบรรยายสรุปเพื่อโยงไปสู่การเจรจาต่อรองและโยงไปสู่การขอความเห็นชอบ

การบรรยายสรุป การเขียนบรรยายสรุปที่ใช้ในงานประชาสัมพันธ์ อาจจะนำไปใช้ในการจัดทำเอกสารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับหน่วยงาน องค์กร และสถาบัน ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงภารกิจของหน่วยงาน องค์กร และสถาบันนั้น ๆ อันก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงาน องค์กร และสถาบันนั้น ๆ กับประชาชน หรือกับหน่วยงานอื่น ๆ ปัจจุบันการประชาสัมพันธ์โดยวิธีนี้เป็นที่นิยมกันมาก ในการให้ความรู้โดยสังเขปแก่กลุ่มต่าง ๆ เช่น ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา คณะที่มาตรวจงาน และคณะบุคคลที่มาเยี่ยมชมกิจการ เป็นต้น

การบรรยายสรุป วิธีการเขียนบรรยายสรุป การบรรยายสรุปมีอยู่ 2 ชนิด คือ การบรรยายสรุปด้วยการเขียน และการบรรยายสรุปด้วยวาจา 1.การบรรยายสรุปด้วยการเขียนมักจะมาก่อนการบรรยายสรุปด้วยวาจา กล่าวคือ การบรรยายสรุปด้วยการเขียน คือ ร่างสำหรับการบรรยายสรุปด้วยวาจา หากการบรรยายสรุปด้วยการเขียนในครั้งนั้นไม่ได้นำไปใช้พูด แต่มุ่งให้ผู้รับสารอ่านเองจะต้องใช้การเรียบเรียงเป็นภาษาเขียนที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์  เนื้อหาต้องไม่ซ้ำและวกวน ซึ่งจะต่างจากการบรรยายสรุปด้วยวาจาที่ผู้พูดสามารถจะใช้ภาษาพูดที่มีลักษณะเป็นส่วนตัว และอาจพูดซ้ำไปซ้ำมาได้บ้าง

การบรรยายสรุป 2.การบรรยายสรุปด้วยวาจาหรือการพูดจะใช้สำหรับบรรยายโดยผู้พูดคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ทั้งนี้ โดยทั่วไปมักจะใช้บรรยายลักษณะงานของหน่วยงาน องค์กร และสถาบันนั้น ๆ ให้กลุ่มบุคคลฟัง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มบุคคลที่มาเยือน กลุ่มบุคคลที่มาดูงาน ผู้บังคับบัญชาระดับสูง คณะบุคคลสำคัญ คณะติดตามผลงาน การบรรยายสรุปด้วยการพูดอาจมีผู้พูดเพียงบุคคลเดียว หรือพูดเป็นคณะก็ได้

การบรรยายสรุป สิ่งสำคัญในการบรรยายสรุปด้วยการพูด คือ ต้องพูดให้กระจ่าง ชัดเจน สรุปประเด็นที่เป็นสาระสำคัญให้ชัดเจน และพูดให้เสร็จสิ้นในระยะเวลาสั้น ดังนั้น กลุ่มบุคคลที่จะต้องพูดบรรยายสรุป จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเขียนร่างข้อความดังกล่าวไว้ล่วงหน้า เพื่อนำข้อความนั้นมาศึกษาให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งถ่องแท้ก่อน แล้วจึงสามารถนำไปบรรยายสรุปได้อย่างคล่องแคล่ว น่าฟัง ไม่เยิ่นเย้อ ไม่ออกนอกเรื่อง

การบรรยายสรุป วิธี"การเขียนบรรยายสรุป" 1. วิธีการเขียนบรรยายสรุปโดยทั่วไป ก่อนนำไปพูดบรรยายสรุป   ผู้พูดควรเตรียมร่างคำบรรยายสรุปไว้ ด้วยวิธีการดังนี้ 1.1 เขียนเกี่ยวกับความเป็นมาของเรื่องที่จะบรรยายอย่างสั้น ๆ ว่ามีความเป็นมาอย่างไรจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

การบรรยายสรุป        1.2 เขียนถึงการดำเนินการครั้งสำคัญ ๆ การเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง การพัฒนา หรือการตัดสินใจ การตกลงใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างไรบ้าง         1.3 เขียนข้อเสนอแนะความคิดเห็นจากข้อเท็จจริงหรือประสบการณ์ที่ผ่านมาเพื่อพัฒนาไปสู่อนาคต

การนำเสนอ การนำเสนอ (Presentation) เป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน ทั้งในแวดวงการศึกษา แวดวงวิชาชีพ การทำงานทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชนให้ความสำคัญกับทักษะการนำเสนอของบุคลากร มีงานศึกษาพบว่าผู้จ้างงานส่วนใหญ่เห็นว่าทักษะการนำเสนอมีส่วนสำคัญต่อการประสบความสำเร็จในการทำงานมากกว่าทักษะทางวิชาชีพ

การนำเสนอ จากการศึกษาของ  Michigan State University ศึกษาความคิดเห็นผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล 479 คนจากบริษัทใหญ่ๆ  หน่วยงานของรัฐ  และองค์กรไม่แสวงหากำไร   พบว่าในการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน ทักษะการนำเสนอเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดที่ใช้ในการพิจารณาคัดเลือกผู้เข้าทำงาน

การนำเสนอ ในชีวิตการทำงาน การนำเสนอเป็นบทบาทหน้าที่หนึ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การนำเสนอเป็นวิธีการสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิดไปยังกลุ่มผู้ฟัง ที่อาจจะเป็นกลุ่มผู้ฟังขนาดเล็กที่มีความคุ้นเคยกัน เช่น กลุ่มผู้ร่วมงาน หรือกลุ่มผู้ฟังขนาดใหญ่ที่ไม่มีความคุ้นเคยกัน เช่น กลุ่มบุคคลทั่วไป

การนำเสนอ ข้อดีของการนำเสนอ 1.เป็นการสื่อสารสองทาง ระหว่างผู้นำเสนอกับผู้ฟังทำให้ผู้นำเสนอสามารถเห็นปฏิกิริยาของผู้มีอำนาจตัดสินใจได้อย่างทันทีทันใด

การนำเสนอ 2.สามารถดึงดูดความสนใจและสร้างผลกระทบต่อผู้ฟัง รวมทั้งสร้างความจดจำได้ดีกว่าการนำเสนอด้วยการเขียน 3.สามารถปรับเนื้อหาหรือเรื่องราวที่กำลังพูดให้เหมาะสมกับผู้ฟังได้อย่างทันท่วงที เช่น เมื่อเห็นว่าผู้ฟังแสดงท่าทางไม่เข้าใจเนื้อหาที่นำเสนอ ผู้นำเสนอก็สามารถปรับปรุงวิธีการนำเสนอเพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น

การนำเสนอ การนำเสนอจะประสบความสำเร็จได้หากมีการเตรียมการที่ดี  “การเตรียมการเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการนำเสนองาน” เทคนิคการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพประกอบไปด้วย 3 ต.  คือ เตรียมกายและใจ  เตรียมเนื้อหา และเตรียมสื่อ

การนำเสนอ 1.เตรียมกายและใจ 1.เตรียมกายและใจ  ผู้นำเสนอจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งกายและใจก่อนที่จะนำเสนองาน       1.1เสียง (Voice) เสียงของผู้นำเสนอเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งในการนำเสนองาน ไม่ว่าจะเป็นระดับเสียง ความดังของเสียง และการออกเสียงโดยธรรมชาติแล้วเวลาพูดเสียงของคนเราจะมีการเปลี่ยนแปลงระดับเสียงเหมือนเส้นกราฟที่มีขึ้นสูงและลงต่ำ ผู้นำเสนอควรฝึกการใช้เสียงให้มีการใช้ระดับเสียงสูงต่ำอย่างเป็นธรรมชาติเพื่อให้น่าสนใจ และเสียงไม่ราบเรียบเกินไป

การนำเสนอ -ความดังของเสียง ระดับความดังเสียงของผู้นำเสนอ  ควรให้เหมาะสมกับสภาพของสถานที่ ถ้าเป็นการนำเสนอในห้องประชุมขนาดเล็ก ควรใช้ความดังของเสียงระดับปกติ แต่ถ้าเป็นการนำเสนอในห้องประชุมขนาดใหญ่ ควรใช้เสียงที่ดังขึ้น เพื่อให้ผู้ฟังในห้องทุกคนได้ยินเสียงของผู้นำเสนอชัดเจน ทั้งนี้ เสียงที่ดังจะฟังดูมีอำนาจและกระตุ้นความสนใจได้ดี

การนำเสนอ -การออกเสียง เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการนำเสนองาน ถ้าผู้นำเสนอพูดออกเสียงไม่ชัด ผู้ฟังก็จะไม่สามารถรับข้อมูลข่าวสารได้ถูกต้อง นอกจากนั้นความเร็วในการพูดก็มีความสัมพันธ์กับการออกเสียง ถ้าพูดเร็วเกินไปคำที่พูดต่างๆที่พูดออกมา จะฟังไม่รู้เรื่อง  ควรมีการหยุดเว้นช่วงในการนำเสนอ โดยเฉพาะหัวข้อสำคัญ  อาจจะเป็นการหยุดเพื่อจะเริ่มหัวข้อใหม่ หรือหยุดเว้นช่วงเพื่อเปลี่ยนอารมณ์จากอารมณ์หนึ่งเป็นอีกอารมณ์หนึ่ง

การนำเสนอ 1.2ภาษากาย (Body Language) ภาษากายเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างความประทับใจแรกพบ (First Impression)ให้เกิดขึ้นใน การนำเสนองาน ก่อนที่ผู้นำเสนอจะเริ่มพูด ควรที่จะประสานสายตา      (Eye Contact) กับผู้ฟังเพื่อแสดงความเป็นมิตรและความเข้าใจ   

การนำเสนอ เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุดผนวกกับมีความคล่องตัว ผู้นำเสนอที่ดีต้องมีการประสานสายตากับผู้ฟังอย่างสม่ำเสมอ การวางท่า หรือการปรากฏกายของผู้นำเสนอในขณะที่นำเสนองานต่อผู้ฟังที่เหมาะสม คือควรวางท่าอย่างสบายๆ เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุดผนวกกับมีความคล่องตัว พร้อมจะสื่อสารกับผู้ฟัง ควรใช้ท่าทางให้เป็นธรรมชาติ แสดงถึงความกระฉับกระเฉง คล่องแคล่ว และมั่นใจ

การนำเสนอ เทคนิคในการใช้ภาษากายเพื่อสร้างความประทับใจ -เมื่อนำเสนองาน ควรลุกขึ้นยืนอย่างสง่างาม -เดินไปที่เวทีด้วยท่าทางกระตือรือร้น -ก่อนจะเริ่มพูดควรยิ้มอย่างอบอุ่นกับผู้ฟัง -ควรสบสายตากับผู้ฟังก่อนจะพูด

การนำเสนอ -ภาษากายควรสะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจ ในคำพูดของผู้นำเสนอ -วิธีการพูดและภาษากายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟัง -ภาษากายควรสะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจ ในคำพูดของผู้นำเสนอ

การนำเสนอ หาจุดเด่น จุดด้อยในการใช้เสียง บันทึกภาพและเสียง -วิธีการสื่อสารที่ดีจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการฝึกฝนบ่อยๆ ฝึกการอ่านออกเสียงดังๆ เพื่อฟังเสียงของตัวเอง หาจุดเด่น จุดด้อยในการใช้เสียง  บันทึกภาพและเสียง การนำเสนองานของตนเองเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่องในการสื่อสาร

การนำเสนอ 1.3เตรียมใจ  การได้รับมอบหมายให้นำเสนองาน  บ่อยครั้งสร้างความวิตกกังวลให้กับผู้ได้รับมอบหมายว่าจะพูดได้ไหม  จะพูดรู้เรื่องหรือเปล่า จะมีคนสนใจฟังไหม จะมีคนถามคำถามหรือเปล่า สารพัดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ขาดความเชื่อมั่นและความมั่นใจในการนำเสนองานเพิ่มมากขึ้น  การเตรียมใจด้วยการคิดบวก( Positive Thinking) จึงเป็นสิ่งสำคัญ

การนำเสนอ Elizabeth Tierney กล่าวว่าการคิดบวกเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการขจัดความเครียดและความวิตกกังวลในการนำเสนอ ผู้นำเสนอควรคิดเสมอว่าการนำเสนองาน คือการนำสิ่งที่เป็นประโยชน์มาแบ่งปันให้กับผู้ฟัง เช่น ทำให้ผู้ฟังมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น ทำให้ผู้ฟังรู้สึกชีวิตดีขึ้น ช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ฟัง  เป็นต้น

การนำเสนอ 2. เตรียมเนื้อหา เนื้อหาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนองาน    เนื้อหาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนองาน ถ้าไม่มีเนื้อหาการนำเสนองานก็เกิดขึ้นไม่ได้ การเตรียมเนื้อหา คือการกำหนดว่าเนื้อหาที่นำเสนอมีประเด็นใดบ้าง ควรมีการจัดลำดับเนื้อหาอย่างไร 

การนำเสนอ เนื้อหาเป็นสิ่งสำคัญในการนำเสนอ ผู้นำเสนอจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเนื้อหาที่จะนำเสนอเป็นอย่างดี เรียกว่า รู้ลึก รู้จริงในสิ่งที่พูด   เมื่อเรารู้และเข้าใจในสิ่งที่เรานำเสนอ จะทำให้เราสามารถถ่ายทอดข้อมูลให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายขึ้น

การนำเสนอ ก่อนที่จะเตรียมเนื้อหา ผู้นำเสนอควรกำหนดจุดมุ่งหมายในการนำเสนอและศึกษาข้อมูลผู้ฟัง เพื่อกำหนดทิศทางการนำเสนอ การกำหนดจุดมุ่งหมายเป็นการตอบคำถามที่ว่า “ทำไมถึงต้องนำเสนองาน” ผู้นำเสนอคาดหวังว่า จะเกิดผลอะไรจากการนำเสนอ เช่นเพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อจูงใจ เพื่อขายหรือเพื่อสอน เป็นต้น

การนำเสนอ ในการนำเสนองานผู้นำเสนอทุกคนควรจะกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ ซึ่งการวัดความสำเร็จของการนำเสนองานสามารถพิจารณา ได้จากผลของการนำเสนอนั้นว่าตอบสนอง ต่อวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่

การนำเสนอ 2.1การศึกษาผู้ฟัง 2.1การศึกษาผู้ฟัง  ในการนำเสนองาน ผู้นำเสนอควรที่จะทราบล่วงหน้าว่าใครจะเข้าร่วมฟังบ้าง หากรู้จักกลุ่มผู้ฟังดีเท่าไรก็จะสามารถนำเสนองานให้เข้าถึงกลุ่มผู้ฟังได้ง่ายขึ้นเท่านั้น

ผู้ฟังจะมีความหลากหลายทั้งทางด้านภูมิหลัง ลักษณะทางจิตวิทยา ที่สำคัญควรวิเคราะห์ความต้องการของผู้ฟัง (Audiences ’ need)  ว่าผู้ฟังจำเป็นต้องรู้อะไรบ้างและผู้ฟังต้องการรู้อะไรบ้าง จากการนำเสนอ

การนำเสนอ การเตรียมเนื้อหา ผู้นำเสนอควรเขียนโครงร่างเนื้อหาโดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ส่วน ตามโครงสร้างเนื้อหาได้แก่ การเปิด (Opening)  เนื้อหาหลัก (Body) และ การปิด (Closing)

การนำเสนอ 2.2การเปิด (Opening) คือ การดึงดูดความสนใจจากผู้ฟังและทำให้ผู้ฟังสนใจติดตามเนื้อหา   การเปิดที่ดีจะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้นำเสนอ การกล่าวเปิดที่ดีนั้น ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ -สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ฟัง

การนำเสนอ -กล่าวถึงประเด็นสำคัญเป็นหลักแต่สามารถเสนอภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมด -ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้ฟังจะได้รับ จากการนำเสนอ -ทำให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือและมั่นใจผู้นำเสนอ

การนำเสนอ เนื้อหาหลัก (Body )ในช่วงกลางของการนำเสนอเป็นช่วงที่เหมาะสำหรับการนำเสนอรายละเอียด  แต่ผู้พูดควรระมัดระวังไม่ให้ผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่าย

การนำเสนอ จากผลการศึกษามีประเด็นที่น่าสนใจ 4 ประเด็นคือ จากผลการศึกษามีประเด็นที่น่าสนใจ 4  ประเด็นคือ 1.การนำเสนองานในระยะเวลาสั้นๆ จะเป็นช่วงที่ผู้ฟังมีความสนใจอยู่ในระดับที่สูง 2.การนำเสนอประเด็นสำคัญเพื่อให้ผู้ฟังเกิดการจดจำควรนำเสนอในช่วงเริ่มต้น และช่วงสุดท้าย ประเด็นที่สาม หลังจาก 10 นาทีแรกระดับความสนใจของผู้ฟังจะลดลง ควรจะใช้สื่อหรือเทคนิคต่างๆ ช่วยในการดึงความสนใจผู้ฟังกลับมา และประเด็นสุดท้ายระดับความสนใจของผู้ฟังจะไม่เพิ่มขึ้นในช่วงท้ายของการนำเสนอ หากผู้ฟังไม่ทราบว่ากำลังจะถึงช่วงท้ายของการนำเสนอ

การนำเสนอ การปิด  (Closing)  การปิดมีความสำคัญเท่ากับการเปิด ซึ่งถือเป็นโอกาสสุดท้ายที่ผู้นำเสนอจะสามารถสร้างความจดจำและความประทับใจให้เกิดขึ้นกับผู้ฟัง ผู้นำเสนอจำเป็นต้องวางแผนการพูด ควรกล่าวย้ำและทบทวนถึงวัตถุประสงค์ในการนำเสนอและสรุปประเด็นที่สำคัญ รวมทั้งแนวคิดหลักๆ ซึ่งเชื่อมโยงเนื้อหาทุกส่วนเข้าด้วยกัน

การนำเสนอ นอกจากจะเตรียมเนื้อหาแล้ว ผู้นำเสนองานควรเตรียมตัวสำหรับการตอบคำถาม โดยคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับคำถามที่ผู้ฟังจะถาม และเตรียมคำตอบให้พร้อมกับทุกคำถาม ซึ่งการคาดการณ์ล่วงหน้าเกิดขึ้นได้จากการศึกษาผู้ฟัง และจากประสบการณ์ของผู้นำเสนอ

การนำเสนอ การคิดบวกต่อการถามคำถามจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการตอบคำถาม ผู้นำเสนอไม่ควรมองว่าการถามคำถามของผู้ฟังเป็นการจับผิดไม่ไว้ใจหรือ มีอคติกับผู้นำเสนอ พยายามมองคุณค่าของการถามคำถามว่า การตอบคำถามเป็นโอกาสที่ได้อธิบายหรือตอกย้ำประเด็นสำคัญ และที่สำคัญการตอบคำถามเป็นวิธีการที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวผู้นำเสนอ เพราะเป็นการแสดงว่าผู้นำเสนอมีความรอบรู้ในเรื่องที่นำเสนอ

การนำเสนอ 3.เตรียมสื่อ    การนำเสนองานโดยการพูดหรือบรรยายให้ผู้ฟังฟังแต่เพียงอย่างเดียว บางครั้งอาจจะไม่สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้ ซึ่งอาจเป็นเพราะความยากของเนื้อหาที่นำเสนอหรือ ความสามารถในการอธิบายของผู้นำเสนอไม่ดีพอ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ด้วยการใช้สื่อประกอบในการนำเสนอ

การนำเสนอ สื่อที่ใช้ประกอบในการนำเสนอ เช่น -ภาพถ่าย -แผนภูมิ -แผนภาพ สื่อที่ใช้ประกอบในการนำเสนอ เช่น  -ภาพถ่าย  -แผนภูมิ -แผนภาพ -คลิปภาพ -คลิปเสียง                     

การนำเสนอ คุณสมบัติของผู้นำเสนอ ในการนำเสนอด้วยวาจา  คุณสมบัติอันเป็นลักษณะประจำตัวของผู้นำเสนอ  ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จในการนำเสนอ  เพราะคุณสมบัติของผู้นำเสนอจะมีอิทธิพลต่อการโน้นน้าวชักจูงให้เกิดความสนใจ  ความไว้วางใจ  เชื่อถือ  และการยอมรับได้มาก  เท่ากับหรือมากกว่าเนื้อหาที่นำเสนอ

การนำเสนอ ผู้นำเสนอที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ จะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ผู้นำเสนอที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่  จะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1.มีบุคลิกดี 2.มีความรู้อย่างถ่องแท้ 3. มีความน่าเชื่อถือ ไว้วางใจ 4. มีความเชื่อมั่นในตนเอง

การนำเสนอ 5.มีภาพลักษณ์ที่ดี 6.มีน้ำเสียงชัดเจน 7.มีจิตวิทยาโน้นน้าวใจ 8.มีความสามารถในการใช้โสตทัศนอุปกรณ์ 9.มีความช่างสังเกต 10.มีไหวพริบปฏิภาณในการคำถามดี

ขอบคุณค่ะ