ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด กฎหมายใดจะขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญจะบัญญัติหลักการต่างๆ ที่กฎหมายลำดับต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งไม่ได้ พระราชบัญญัติ >> พระราชกำหนด >>
กระบวนการในการทำให้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด หนึ่ง การแก้ไขรัฐ รธน. กระทำได้ยากกว่ากฎหมายธรรมดา สอง การจัดตั้งองค์กรทำหน้าที่ตรวจสอบความชอบด้วย รธน. สาม การให้สิทธิในการต่อต้านหากมีการล้มล้าง รธน.
หนึ่ง การแก้ไข รธน. ต้องทำได้ยากกว่ากฎหมายธรรมดา รัฐธรรมนูญสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่เนื่องจากเป็นกฎหมายสูงสุด การแก้ไขจึงควรมีกระบวนการเป็นพิเศษ การกำหนดองค์กร ขั้นตอน และการเห็นชอบที่แตกต่างจากกฎหมายทั่วไป
โดยทั่วไปในการพิจารณากฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ วาระที่หนึ่ง รับหลักการ วาระที่สอง แปรญัตติ วาระที่สาม ลงมติ มักจะใช้กฎเสียงข้างมากธรรมดา (simple majority rule)
แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะเป็นเสียงข้างมากเป็นพิเศษ (super majority rule) เช่น รัฐธรรมนูญญี่ปุ่น 2 ใน 3 ของทั้งสองสภา แล้วให้ประชาชนลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่
Peace Constitution
รัฐธรรมนูญญี่ปุ่น มาตรา 9 1. โดยที่มีความมุ่งประสงค์อย่างแท้จริงในสันติภาพระหว่างชาติโดยมีความยุติธรรมและความสงบเรียบร้อยเป็นพื้นฐาน ชนชาวญี่ปุ่นยอมสละจากสงครามไปตลอดกาลนานโดยให้ถือเป็นสิทธิสูงสุดแห่งชาติ กับทั้งสละจากการคุกคามหรือการใช้กำลังเพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างชาติ 2. เพื่อบรรลุความมุ่งประสงค์ในวรรคก่อน จะไม่มีการธำรงไว้ซึ่งกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ กับทั้งศักยภาพอื่นๆ ในทางสงคราม ไม่มีการรับรองสิทธิในการเป็นพันธมิตรในสงคราม
ข้อถกเถียง การแก้ไข รธน. เพื่อเปลี่ยนแปลงหลักการพื้นฐาน เช่น จากรัฐเดี่ยวเป็นรัฐรวม, รัฐเสรีประชาธิปไตยเป็นรัฐสังคมนิยม การแก้ไข รธน. เพื่อนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (ยกเลิกฉบับเก่า) จะทำได้หรือไม่
สอง การจัดตั้งองค์กรเพื่อทำหน้าตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรอาจยังไม่มีผล แต่ต้องมีองค์กรมาทำหน้าที่ให้เกิดผลบังคับ
Miranda warning Miranda vs. Arizona <1966> Ernesto Miranda ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดและเขารับสารภาพ แต่ต่อสู้ว่า ตร. ไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาและสิทธิระหว่างจับกุม ศาลเห็นว่าขัดกับ Amendment V, VI
องค์กรตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญสองระบบ
ระบบรวมอำนาจ มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นทำหน้าที่ในการวินิจฉัยความชอบด้วย รธน. เป็นการเฉพาะไว้ใน รธน. เมื่อมีปัญหาถกเถียงถึงความชอบด้วย รธน. องค์กรนี้จะทำหน้าที่ (มักเป็นศาลรัฐธรรมนูญ) เยอรมนี เกาหลีใต้ ไทย ออสเตรีย ฯลฯ
ระบบกระจายอำนาจ องค์กรที่ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยก็คือศาลยุติธรรม (ไม่มีการจัดตั้งขึ้นองค์กรขึ้นเป็นการเฉพาะ) สหรัฐฯ อังกฤษ อินเดีย มาเลเซีย ญี่ปุ่นฯลฯ อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศเหล่านี้ใช้ระบบเดียวกัน
คดี Marbury v. Madison 1803 รธน. สหรัฐฯ ไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจศาลในการวินิจฉัยเป็นการเจาะจง ศาลสูงสุดของสหรัฐฯ ยืนยันอำนาจของศาลในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรนิติบัญญัติ
เนื่องจากศาลเป็นผู้ปรับใช้กฎหมายเข้ากับคดี จึงย่อมมีอำนาจในการวินิจฉัยว่าบทบัญญัติของกฎหมายขัดต่อ รธน. หรือไม่ กลายเป็น “คดีบรรทัดฐาน” ที่ศาลหลายประเทศหยิบมาอ้างอิง รวมทั้งคดีอาชญากรสงครามของไทย ฎ. 1/2489
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐสภาตรากฎหมาย พ.ร.บ. อาชญากรสงคราม เพื่อเอาผิดกับจอมพล ป. ในการเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ รธน. ขณะนั้นไม่มีบทบัญญัติเป็นการเฉพาะ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญ
ภายหลังจากนั้น มีการบัญญัติให้มีองค์กรทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาด ระยะแรก คณะตุลาการ รธน. รธน. 2540 ศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อถกเถียง แล้วใครจะ “ตรวจสอบ” องค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ Who judge the judges? เพราะบางครั้งอาจมีการโต้แย้งว่าองค์กรตรวจสอบทำผิดกฎหมาย
ศาลรัฐธรรมนูญของไทย ประเด็นความเสมอภาค
สาม การให้สิทธิในการต่อต้านหากมีการล้มล้าง รธน. รธน. 2550 มาตรา 69 “บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใดๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิธีทางที่บัญญัติไว้ใน รธน. นี้”
ในการรัฐประหารโดย คสช. เมื่อ 22 พ. ค ในการรัฐประหารโดย คสช. เมื่อ 22 พ.ค. 2557 มีผู้ใดอ้างถึงมาตราดังกล่าวหรือไม่ และมาตราดังกล่าวสามารถมีผลใช้บังคับหรือไม่ อย่างไร
ถ้าต่อต้านแล้ว การรัฐประหารล้มเหลวก็อาจไม่มีความผิด แต่ถ้าต่อต้านแล้ว การรัฐประหารประสบความสำเร็จก็อาจมีปัญหาในการกล่าวอ้างสิทธิดังกล่าว
รัฐธรรมนูญ 2517 มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นแต่โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ มาตรา 4 การนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการล้มล้างสถาบัน พระมหากษัตริย์หรือรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้ มาตรา 5 ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิดหรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน มาตรา 6 บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
มาตรา 4 จะสามารถใช้บังคับได้หรือไม่ หากภายหลังมีการยึดอำนาจ ฉีกรัฐธรรมนูญขึ้น
พ.ร.บ. นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2519 ออกโดย นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เพื่อนิรโทษกรรมให้ผู้ที่ทำการรัฐประหารในครั้งนั้น ซึ่งนำโดยพลเรือเอกสงัด ชะลออยู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด