พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 พฤษภาคม.
Advertisements

สิทธิในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางปกครอง
การออกคำสั่งทางปกครอง
จรรยาบรรณ ทางวิชาชีพและ เชิงสังคม อ. อิทธิพล ปรีติ ประสงค์ อ. อิทธิพล ปรีติ ประสงค์ สถาบันแห่งชาติเพื่อ การพัฒนาเด็กและ ครอบครัว ม. มหิดล สถาบันแห่งชาติเพื่อ.
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการติดตาม ดูแลพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนตามกระบวนการยุติธรรม เชิงสมานฉันท์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้วิจัย กนกวรรณ ตั้งจิตบำรุง หลักสูตร.
การขัดเกลาทางสังคมซ้ำเพื่อสร้างพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ของเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ผู้วิจัย นภัสวรรณ บุญประเสริฐ หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรดุษฎี
ผู้วิจัย สิริภิญญ์ อินทรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ ปีการศึกษา 2556
ดร. มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ 8 พฤษภาคม 2558
กรณีศึกษาของเยาวชนที่กระทำความผิดคดีฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา : สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดสระบุรี ผู้วิจัย โยธิน จารุจุฑารัตน์ หลักสูตร ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.
การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ยาเสพติด และชีวิตร่างกาย (คดีร้ายแรง) ของเด็กและเยาวชน ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล การศึกษาโดยใช้ทฤษฎีการควบคุมตนเอง.
การมอบนโยบายแนวทาง การปฏิรูปที่ดินประจำปี 2559 โดย นายสรรเสริญ อัจจุตมานัส เลขาธิการ ส. ป. ก.
การจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบ พัสดุ ประกาศคณะรักษาความรักษา ความสงบแห่งชาติ การซื้อและ การจัดจ้างด้วยระบบ อิเล็กทรอนิกส์ (e – GP) และการบริหาร งบประมาณ ขององค์กรปกครองส่วน.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ชุมชนปลอดภัย.
วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
หลักการของจริยธรรมทางกฎหมาย
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551
พงษ์เดช วานิชกิตติกูล
การกระทำอันไม่เป็นธรรม (Unfair Labour Practice)
ระบบรายงานอุบัติภัยทางถนน e - Report
โดย นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ ผู้อำนวยการส่วนจัดการงบประมาณ
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กระบวนงานการให้บริการ
ประพนธ์ อางตระกูล สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตทำงาน และการอนุญาตให้ทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.
(มีผลใช้บังคับวันที่ ๑ พ.ย. ๒๕๕๗)
กลุ่มเกษตรกร.
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
กระบวนการดำเนินการทางวินัย
กองทุนเงินทดแทน ประกันสังคม.
องค์กรตรวจสอบการทำงานภาครัฐ (สตง. / ปปช. / ปปท. )
อำนาจอธิปไตย 1.
สาเหตุที่ต้องมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ความคืบหน้าการจ้างลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
กฎหมายเอกเทศสัญญา 1 อาจารย์ สุรศักดิ์ มีบัว สาขานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 13.
อำนาจ การปกครอง และการระงับข้อพิพาท
แนวปฏิบัติ การจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
“ถ้าหากบริษัทบุหรี่ต้องหยุดทำการตลาดที่พุ่งเป้าไปที่เด็กๆ บริษัทบุหรี่จะล้มละลายภายใน 25 – 30 ปี เพราะจะไม่มีลูกค้าเพียงพอที่ธุรกิจจะอยู่ได้”
ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในเขตปลอดอากร นักตรวจสอบภาษีชำนาญการพิเศษ
วิชากฎหมายอาญาภาคทั่วไป (177181)
การพยาบาลนิติจิตเวช โดย อ. นิตยา ศรีจำนง.
อภิรัฐธรรมนูญไทย.
แนวทางการแก้ไขปัญหาก๊าซ LPG
อำนาจสืบสวน สอบสวน (มาตรา 17-21)
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
คดีฟ้องให้ประกาศใช้ผังเมืองรวม จังหวัดสระบุรี
หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดเชียงใหม่
การจัดองค์กรของรัฐในประเทศไทย ********************
ทะเบียนสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐
การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบ ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.
ขอบเขตของงานการจัดซื้อ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง
บทที่ 7 นิติบุคคล (Juristic Persons)
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
“อนาคตการสื่อสารไทย โฉมหน้าใหม่ กสทช. ในร่างรัฐธรรมนูญ”
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
ใบสำเนางานนำเสนอ:

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ นายสมพงศ์ เย็นแก้ว อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานอัยการภาค 5 เบอร์โทรศัพท์ 08-15300049,092-246 2753 Sompongyen6114@gmail.com

เหตุผลและความจำเป็น ค่านิยม วัฒนธรรม จารีตประเพณี กฎหมาย ค่านิยม วัฒนธรรม จารีตประเพณี กฎหมาย การบังคับตามกฎหมาย 2

หลักการ เหตุผลและเจตนารมณ์ของกฏหมาย หลักการ เหตุผลและเจตนารมณ์ของกฏหมาย 1 เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว 2 เพื่อปกป้องคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความความรุนแรงในครอบครัว 3 เพื่อรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัว

ผู้ได้รับความคุ้มครอง ได้แก่ บุคคลในครอบครัว หมายถึง คู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กินหรือเคยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส บุตร บุตรบุญธรรม สมาชิกในครอบครัว รวมทั้งบุคคลใด ๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน (กฎหมายมุ่งเน้นถึงความผูกพันกันและยังประสงค์ธำรงไว้ซึ่งความเป็นครอบครัวหรือมีความครอบงำทางจิตใจอยู่หรือไม่) 4

การอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยา ซึ่งการอยู่กินกันฉันสามีภรรยาจะต้องมีลักษณะประกอบกันหลายประการ คือ - ต้องแสดงตนในการเป็นสามีภรรยากันโดยเปิดเผย ลักษณะเช่นนี้ สามีภรรยาพึงแสดงออกต่อกันอย่างเปิดเผย ไม่ปิดบังซ่อนเร้นในการเป็นสามีภรรยา กันเพื่อให้คนอื่นเข้าใจผิด เช่น สามีภรรยาเมื่อไปในงานสังคมสามีและภรรยาต่างคนต่างไป สามีขับรถไปงานเองไม่ยอมให้ภรรยาร่วมเดินทางไปด้วย ภรรยาต้องนั่งรถยนต์ รับจ้างไปงานเอง เมื่อไปถึงงานก็ไม่ยอมเดินใกล้กัน เพราะเกรงคนอื่นจะรู้ว่าเป็น สามีภรรยากัน สามีไม่ยอมแนะนำภรรยาตนเองให้เพื่อนรู้จัก ภรรยาก็ไม่ยอมแนะนำ สามีตนให้เพื่อนรู้จัก ซึ่งตามลักษณะที่ยกกล่าวมาเป็นลักษณะที่สามีภรรยาไม่แสดงตนเป็น สามีภรรยากันโดยเปิดเผย เป็นการไม่สมควรที่สามีภรรยาพึงกระทำต่อกัน เพราะจะเป็น ปรปักษ์ต่อการอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา - ต้องมีสัมพันธ์ทางเพศต่อกัน การอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา สามีควรมี สัมพันธ์ทางเพศต่อภรรยาตนเพียงคนเดียว ไม่ควรออกเที่ยวเตร่ และไปมีสัมพันธ์ ทางเพศกับหญิงอื่น ส่วนภรรยาก็ต้องตอบสนองทางเพศต่อสามี ไม่คิดนอกใจสามี ไปมีสัมพันธ์ทางเพศกับชายอื่น การที่สามีหรือภรรยาไปมีสัมพันธ์ทางเพศกับคนอื่น เป็นการนอกใจซึ่งกันและกัน และยังเป็นการกระทำที่ผิดศีลธรรม เป็นสาเหตุทำให้เกิดการหย่าร้างหรือฆ่ากันได้ง่ายขึ้น - ต้องมีการอยู่ร่วมห้องร่วมบ้านเดียวกัน การอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาควร จะได้อยู่ร่วมห้องร่วมบ้านเดียวกัน เพื่อจะได้เป็นสัดส่วน ยกเว้นสามีภรรยาที่ต้องมีความจำเป็นต้องแยกห้องแยกบ้านกัน เนื่องจากอาชีพการงานเป็นต้นเหตุ เช่น ภรรยาต้องทำการค้าขายอยู่ที่บ้าน ส่วนสามีต้องไปรับราชการอยู่ต่างจังหวัด แต่ถึงแม้จะแยกกันเพราะอาชีพ เมื่อถึงวันหยุดก็ต้องมาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน - ต้องรู้จักถ้อยทีถ้อยอาศัยต่อกัน ไม่ใช้อารมณ์เข้าหากัน ต้องใช้เหตุเมื่อเกิด ปัญหาขัดแย้งต่อกัน ไม่ควรใช้กำลังตัดสินปัญหา หรือด่าทอด้วยคำหยาบคาย ต้องรู้จักระงับอารมณ์และพยายามพูดจาปรับความเข้าใจต่อกันหลังจากที่มีอารมณ์เป็นปกติแล้ว -การอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาจะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูแก่กัน

ความรุนแรงในครอบครัว คือ การกระทำใด ๆ โดยมุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพ หรือกระทำโดยเจตนาในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว หรือบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมให้บุคคลในครอบครัวต้องการกระทำการ ไม่กระทำการ หรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบ แต่ไม่รวมถึงการกระทำโดยประมาท 6

อันตรายต่อร่างกาย อาจพิจารณาได้ว่า การกระทำที่มุ่งประสงค์นั้น เกิดเป็นอันตรายต่อร่างกายของผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวหรือไม่ ซึ่งอาจใช้หลักเกณฑ์การวินิฉัยทางการแพทย์ เช่น สามีตบตีทำร้ายร่างกายภรรยาโดยเจตนา จนบาดเจ็บไม่ว่าจะเป็นบาดเจ็บธรรมดา หรือ เพียงแต่รอยฟกซ้ำเท่านั้น

อันตรายต่อจิตใจ หากพิจารณาจากนิยามในประมวลกฎหมายอาญากับคำพิพากษาศาลฎีกาจะพบว่า อันตรายต่อจิตใจต้องเป็นกรณีที่มีการกระทำถึงขนาดที่ทำให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจ จนถึงขนาดที่มีสภาพจิตใจผิดปกติไป เช่น สลบ หมดสติ มึนงง จิตฟั่นเฟือน ตกใจกลัวถึงขาดประสาทเสีย หรือวิตกกังวลจนเสียประสาท ซึ่งต้องพิสูจน์ได้ในทางแพทย์หรือจิตเวช อนึ่ง การทำให้โกรธ ทำให้กลัว ทำให้เสียความรู้สึก น้อยใจ เจ็บใจ แค้นใจ หรือทำการให้เสียใจโดยทั่วไปเพียงอารมณ์ซึ่งเป็นอาการอันเกิดจากจิตใจ ไม่ใช่เป็นอันตรายที่เกิดกับจิตใจโดยแท้

อย่างไรก็ตาม อาจมี ๔ กรณีที่การกระทำนั้นไม่ถึงขั้นจนประสาทเสีย แต่การกระทำดังกล่าวอาจส่งผลให้ถูกกระทำให้ได้รับความกระทบต่อสภาพจิตใจมากไปกว่าการเกิดอารมณ์โกรธ น้อยใจ เจ็บใจหรือแค้นใจ โดยความกระทบกระเทือนต่อจิตใจ ในกรณีดังกล่าว ถึงขั้นเทียบเท่ากรณีจิตฟั่นเฟือน ตกใจถึงขนาดประสาทเสีย ซึ่งกรณีดังกล่าวหากได้พิจารณาประกอบกันปัจจัยอันหนึ่งอันใดดังต่อไปนี้ร่วมด้วยแล้วอาจส่งผลให้ถือได้ว่าเป็นการทำอันตรายต่อจิตใจก็ได้ซึ่งปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณา ได้แก่

ความรุนแรงของการกระทำ ฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ลักษณะของการกระทำ 4. ความถี่ของการกระทำ

อันตรายต่อสุขภาพ กล่าวคือ การกระทำนั้นทำให้เสียสุขภาพ หรือเกิดอาการเจ็บป่วย อันหมายความถึงความเจ็บป่วยทางกายหรือสุขภาพกายเท่านั้น โดยไม่รวมถึงสุขภาพจิตแต่อย่างใด ทั้งนี้ อันตรายต่อสุขภาพต้องอาศัยการวินิฉัยทางการแพทย์เช่นเดียวกับอันตรายต่อจิตใจ ซึ่งตัวอย่างอันตรายต่อสุขภาพ เช่น การแอบใช่ยาลดน้ำหนักให้คู่สมรสกินเพื่อลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จงใจสูบบุหรี่ในบ้านที่มีบริเวณจำกัดคับแคบในขณะที่มีทารกหรือเด็กเล็กอยู่ โดยการกระทำเป็นอาจิณ จนกระทั่งเด็กทารกหรือเด็กเล็กนั้นป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เป็นต้น

ประเภททารุณกรรมและละเลยทอดทิ้งเด็ก การทารุณกรรมเด็ก (Child abuse) คือการกระทำหรือการละเว้นการกระทำ จนเหตุให้เด็กได้รับอันตรายทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และทางเพศ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ประเภทของการทารุณกรรมเด็กแบ่งออกได้ดังนี้ การทารุณกรรมมร่างกาย (Physical abuse) คือการที่ผู้ปกครองหรือผู้ที่ลี้ยงดูเด็กทำให้เด็กเกิดการบาดเจ็บทางร่างกาย โดยการบาดเจ็บดังกล่าวเกิดจากการตั้งใจไม่ใช่อุบัติเหตุ หรือเกิดจากการละเว้นการกระทำจนเป็นเหตุให้เด็กได้รับอันตราย

ทารุณกรรมทางเพศ (Sexual abuse) คือการกระทำกิจกรรมทางเพศต่อเด็กหรือใช้ให้เด็กกระทำโดยที่เด็กไม่สามารถให้ความยินยอมพร้อมใจ หรือไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะเข้าใจการกระทำเหล่านี้ กิจกรรมดังกล่าวทำเพื่อความพึงพอใจทางเพศของผู้กระทำ การทารุณกรรมจิตใจ (Emotion abuse) คือการที่ผู้ปกครองหรือผู้ที่เลี้ยงเด็กปฎิเสธเด็กเฉยเมยไม่สนใจ หรือข่มขู่ ใช้คำพูดหรือกระทำให้เด็กหวาดกลัว หรือไม่ให้ความรักความเอาใจใส่แล ซึ่งเกิดขขึ้นซ้ำซาก มีผลทำให้เกิดความเสียหายต่อพัฒนาการทั้งทางร่างกาย จิตใจ ของสังคมเด็ก

การรปล่อยปละละเลยและทอดทิ้ง( Neglect and Abandonment) คือความบกพร่องของผู้ดูแลเด็กในการดูแลเอาใจใส่จัดหาสิ่งที่จำเป็นต่อความต้องการขั้นพื้นฐานของเด็ก เช่น ที่อยู่อาศัย อาหาร เสื้อผ้า สุขอนามัย การศึกษา และความปลอดภัย รวมทั้งการอบรมสั่งสอน การให้ความรักความเอาใจใส่ มีผลทำให้เด็กได้รับอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ รวมถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก

ตัวอย่างของการกระทำความรุนแรง ๑)การกระทำชำเรา หมายความว่าการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำ กระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น (มาตรา 276)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๐๒/๒๕๕๙ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๐๒/๒๕๕๙ แม้โจทก์และจำเลยเป็นสามีภรรยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแงและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๖๑ วรรคหนึ่ง ซึ่งจะต้องมีการร่วมประเวณีกันบ้างแต่การร่วมประเวณีต้องเกิดจากความยินยอมของทั้งสองฝ่าย หากอีกฝ่ายไม่ยินยอมก็ไม่อาจบังคับได้ หากขืนใจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๖ การที่จำเลยเรียกบุตรผู้เยาว์มาฟังคำด่าจนโจทก์ยอมให้จำเลยร่วมประเวณีเพื่อให้บุตรผู้เยาว์ไปพักผ่อน เช่นนี้จะถือว่าโจทก์ยอมให้จำเลยร่วมประเวณีไม่ได้ และการที่โจทก์มดลูกอักเสบจากการร่วมประเวณีของจำเลยจำเลยทราบแต่ไม่หยุดร่วมประเวณีกับโจทก์ จนโจทก์ต้องหนีออกจากบ้านพฤติกรรมของจำเลยถือเป็นการทำร้ายหรือทรมาณจิตใจโจทก์อย่างแรงอันเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๑๖(๓) และยังถือว่าเป็นพฤติการณ์ที่เป็นปรปักษ์ต่อการเป็นสามีภรรยากันอย่างร้ายแรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๑๖(๖)ด้วย

๒) การกระทำต่อเสรีภาพ มาตรา 309 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเองหรือของผู้อื่น หรือโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้นหรือจำยอมต่อสิ่งนั้น ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 310 ผู้ใดหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก เป็นเหตุให้ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวถูกกักขังหรือต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกายนั้นถึงแก่ความตาย หรือรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 290 มาตรา 297 หรือมาตรา 298 นั้น

๓) การปล่อยปละละเลย และการทอดทิ้ง ๓) การปล่อยปละละเลย และการทอดทิ้ง มาตรา ๓๐๖ ผู้ใดทอดทิ้งเด็กอายุยังไม่เกินเก้าปีไว้ ณ ที่ใด เพื่อให้เด็กนั้นพ้นไปเสีย จากตน โดยประการที่ทําให้เด็กนั้นปราศจากผู้ดูแล ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน หกพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา ๓๐๗ ผู้ใดมีหน้าที่ตามกฎหมายหรือตามสัญญาต้องดูแลผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้เพราะอายุ ความป่วยเจ็บ กายพิการหรือจิตพิการ ทอดทิ้งผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้นั้นเสียโดยประการที่ น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา ๓๐๘ ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๓๐๖ หรือมาตรา ๓๐๗ เป็นเหตุให้ ผู้ถูกทอดทิ้งถึงแก่ความตาย หรือรับอันตรายสาหัส ผู้กระทําต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๙๐ มาตรา ๒๙๗ หรือมาตรา ๒๙๘ นั้น

๔) การทำร้ายร่างกาย มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ   มาตรา 296 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 391 ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๕)การดูหมิ่นซึ่งหน้า มาตรา ๓๙๓ ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ๖)การหมิ่นประมาท มาตรา ๓๒๖ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

คำพิพากษาฏีกาที่ 444/2544 จำเลยเป็นภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายของ ร. ต. อ คำพิพากษาฏีกาที่ 444/2544 จำเลยเป็นภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายของ ร.ต.อ.บุญชอบ ชึ่งเป็น รอง สว.จร. เป็นธรรมดาที่ตำรวจจะต้องใกล้ชิดกับประชาชน การที่ นาง เขียว ผู้เสียหาย ชึ่งเป็นแม่ม่ายได้สนิทสนมกับ ร.ต.อ.บุญชอบ จนออกหน้าออกตา ทำให้จำเลยชึ่งเป็นภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคำหมิ่นประมาทนางเขียว ผู้เสียหาย ต่อหน้าคนหลายคนว่า "มึงมาเฝ้าอีหีใหญ่นี่หรือ" ศาลได้พิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ว คำว่า"หีใหญ่"หมายถึง มีอวัยวะเพศขนาดใหญ่ โหนกนูน ซึ่งเป็นที่ปรารถนาของผู้หญิงทั้งหลาย ต้องการให้อวัยเพศของตนใหญ่กันทั้งนั้น และหีใหญ่ก็ไม่เป็นที่อับอาย หรือถูกดูหมิ่นดูแคลนหรือถูกเกลียดชังจากบุคคลที่สามแต่อย่างใด กลับจะเป็นที่น่าชื่นชมกับบุคคลที่พบเห็นด้วยซ้ำไป การกระทำของจำเลยจึงมิได้เป็นการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้นางเขียว ผู้เสียหายนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังแต่อย่างใด จึงพิพากษาให้ยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๗๕๒/๒๕๕๘ การที่จำเลยใช้คำ “อีเฒ่าหัวหงอก” และ “มึง” เป็นคำสรรพนามในการเรียกโจทก์ผู้เป็นมารดา ซึ่งไม่ปรากฏว่าโดยปกติบุคคลทั่วไปรวมถึงจำเลยใช้สรรพนามดังกล่าวแทนมารดา คำดังกล่าวไม่ได้มีความหมายว่ามารดา แต่มีความหมายเปรียบเปรยไปในทางไม่ให้ความเคารพและทำให้โจทก์ได้รับความอับอายอันเป็นการแสดงออกถึงการดูถูกเหยียดหยามโจทก์ สำหรับเนื้อหาแม้จะถือว่าเป็นการกระทบกระเทียบ แต่ก็ทำให้โจทก์ได้รับความอับอายเป็นไปในทางดูถูกเหยียดหยามโจทก์เช่นกัน การที่จำเลยด่าโจทก์ผู้เป็นมารดาด้วยถ้อยคำดังกล่าว จึงถือเป็นการดูถูกเหยียดหยามและหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง เป็นการประพฤติเนรคุณต่อโจทก์อันเป็นเหตุให้โจทก์ถอนคืนการให้ได้

โทษทางอาญาของความผิด ความรุนแรงในครอบครัว จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับแต่กฎหมายถือว่าเป็นความผิดอันยอมความได้ ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 ให้ถือว่าเป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 4 ผู้เสียหายประสงค์จะร้องทุกข์เฉพาะความผิดตามมาตรา ๒๙๕ ไม่ประสงค์ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาในความผิดอาญาข้อหากระทำความรุนแรงในครอบครัวเพื่อไม่ต้องการนำพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับได้หรือไม่ 24

นอกจากจะมีความผิดฐานกระทำการอันเป็นความรุนแรงในครอบครัว ตามมาตรา 4 แล้ว ก็ยังมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกฎหมายอื่น ก็ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นด้วย เช่น ดูหมิ่นซึ่งหน้า ทำร้ายร่างกาย ข่มขืนกระทำชำเรา หน่วงเหนี่ยวกักขัง เป็นต้น (ถ้าความิดตามกฎหมายอื่นมีโทษหนักกว่าตามมาตรา4 อำนาจการพิจารณาเป็นของศาลแขวงหรือศาลจังหวัดแล้วต่อกรณี) 25

ผู้มีสิทธิหรือหน้าที่ แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๕) ผู้มีสิทธิหรือหน้าที่ แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๕) 1. ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว 2. ผู้ที่พบเห็น 3. ผู้ที่ทราบการกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว วิธีการแจ้ง ด้วยวาจา เป็นหนังสือ ทางโทรศัพท์ 26

ระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ว่าด้วยการพบเห็นและแจ้งเหตุความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2551 ข้อ 5. ผู้ใดพบเห็นหรือทราบการกระทำความรุนแรงในครอบครัวให้แจ้งโดยวาจาเป็นหนังสือ ทางโทรศัพท์ วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีอื่นการใดต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการระงับเหตุโดยมิชักช้า แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวไว้รักษาพยาบาล ครู หรือนายจ้าง ซึ่งมีหน้าที่ดูแลผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวที่เป็นศิษย์หรือลูกจ้าง จะต้องแจ้งหรือรายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยมิชักช้า

ผู้มีสิทธิหรือหน้าที่ แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้มีสิทธิหรือหน้าที่ แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กฎหมายคุ้มครองผู้ที่แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถ้ากระทำโดยสุจริต ไม่ต้องรับผิดทั้งในทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง 28

พนักงานเจ้าหน้าที่ คือใคร ผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แต่งตั้ง และพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 29

อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่(มาตรา ๖) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้พบเห็นการกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวหรือได้รับแจ้งตามมาตรา 5 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ที่เกิดเหตุเพื่อสอบถามผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวหรือบุคคลอื่นที่อยู่ในสถานที่นั้นเกี่ยวกับการกระทำที่ได้รับแจ้ง รวมทั้งให้มีอำนาจจัดให้ผู้ถูกกระทำฯ เข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์ และขอรับคำปรึกษาแนะนำจากจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ถ้าผู้นั้นไม่อยู่ในวิสัยหรือมีโอกาสที่จะร้องทุกข์ได้ด้วยตนเอง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ร้องทุกข์แทนได้ 30

หลักการพิจารณาในการดำเนินคดี 1 กรณีไม่ประสงค์ที่จะร้องทุกข์คดีอาญา แต่ประสงค์จะได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ 2 กรณีประสงค์จะร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญา

ปัญหาในทางปฏิบัติกรณีความรุนแรงในครอบครัว ตำรวจไม่ยอมรับคดี เรียกมาไกล่เกลี่ยไม่ให้ผู้เสียหายร้องทุกข์ ผู้เสียหายไม่ประสงค์ดำเนินคดีอาญา แต่ต้องการได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ

กำหนดให้เป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำท้องที่ 1 ตำรวจประจำตู้ยาม 2 ผู้ใหญ่บ้านกำนัน ทั้งสองคนเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายให้ดำเนินการจัดทำบันทึกข้อตกลงและเฝ้าระวังว่าคู่กรณีปฏิบัติตามข้อตกลงหรือไม่

รูปแบบของบันทึกข้อตกลง 1.กำหนดรูปแบบความประพฤติที่คู่กรณีจะต้องไม่ปฏิบัติหรือต้องปฏิบัติ 2. กำหนดการชดใช้ค่าเสียหายและค่าทำขวัญกรณีทำความรุนแรงแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง 3 . กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง

กรณีคู่กรณีผิดข้อตกลง ให้เป็นหน้าที่ของตำรวจประจำตู้ยามและผู้ใหญ่บ้านและกำนันดำเนินการประสานเจ้าหน้าที่ให้ยื่นต่อศาลเยาวชนและครอบครัวเพื่อดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมายศาลเยาวชนและครอบครัว

อายุความ ถ้ามิได้มีการแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 5หรือมิได้มีการร้องทุกข์ตามมาตรา 6 ภายในกำหนดเวลา 3 เดือน นับแต่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวอยู่ในวิสัยและโอกาสที่จะแจ้งความหรือร้องทุกข์ได้ ให้ถือว่าคดีเป็นอันขาดอายุความแต่ไม่ตัดสิทธิผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว หรือผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอคุ้มครองสวัสดิภาพ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (มาตรา 7 ) 36

การคุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2553 ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งตรงกับวันที่ 21 พฤษภาคม 2554

มาตรา ๑๗๒ ผู้ที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวมีสิทธิร้องขอให้ศาลเยาวชนและครอบครัวที่ตนมีถิ่นที่อยู่หรือมีภูมิลำเนาหรือศาลที่มูลเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวได้ ในกรณีที่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวไม่อยู่ในสภาพหรือวิสัยที่จะร้องขอตามวรรคหนึ่งได้ ญาติ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ พนักงานเจ้าหน้าที่ องค์การซึ่งมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย หรือ องค์การซึ่งมีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ครอบครัว หรือบุคคลอื่นใด เพื่อประโยชน์ของผู้เสียหายจะกระทำการแทนก็ได้ (การยื่นคำร้องต่อศาลอาจจะยื่นคำร้องเป็นหนังสือตามแบบ,หรือจะไปยื่นคำร้องต่อศาลด้วยวาจาก็ได้ ตามข้อบังคับประธานศาลฎีกา)

มาตรา ๑๗๓ เมื่อศาลได้รับคำร้องขอตามมาตรา ๑๗๒ แล้ว ให้ทำการไต่สวนโดยมิชักช้าและไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาอย่างเคร่งครัดในระหว่างการไต่สวนถ้าศาลเห็นว่าผู้ร้องขอไม่ควรเผชิญหน้ากับผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำด้วยความรุนแรง ศาลอาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวออกนอกห้องพิจารณาหรือใช้วิธีการอื่นใดเพื่อลดการเผชิญหน้า และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๐๘ และมาตรา ๑๑๑ มาใช้บังคับแก่การไต่สวนโดยอนุโลม

มาตรา ๑๗๔ ในกรณีปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหามีพฤติการณ์น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว ให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพโดยห้ามผู้ถูกกล่าวหาเสพสุราหรือสิ่งมึนเมา เข้าใกล้ที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงานของผู้ร้อง ใช้หรือครอบครองทรัพย์สินหรือกระทำการใดอันอาจนำไปสู่ความรุนแรงในครอบครัวเป็นระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควร แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินกว่าหกเดือน และศาลอาจกำหนดให้ผู้ถูกกล่าวหาเข้ารับคำปรึกษาแนะนำจากศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำหรือสถานพยาบาลหรือหน่วยงานตามที่ศาลกำหนด ในกรณีศาลสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลมีคำสั่งให้นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าพนักงานอื่นติดตามกำกับให้ผู้ถูกกล่าวหาปฏิบัติตามคำสั่งและรายงานให้ศาลทราบตามระยะเวลาที่เห็นสมควรและจะสั่งให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาศาลเพื่อสอบถามความเป็นไปหรือการปฏิบัติตามคำสั่งศาลก็ได้ คำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพตามวรรคหนึ่งให้เป็นที่สุด แต่ถ้าพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปศาลมีอำนาจสั่งแก้ไขคำสั่งเดิมได้

มาตรา ๑๗๕ เมื่อศาลเห็นว่าผู้ร้องมีส่วนก่อให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวและจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือ บำบัดรักษา ศาลอาจสั่งให้ผู้ร้องเข้ารับคำปรึกษาแนะนำหรือเข้ารับการอบรมหรือบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูจากศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำหรือสถานพยาบาลหรือหน่วยงานหรือองค์การ ซึ่งมีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือครอบครัวตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด ในกรณีศาลมีคำสั่งตามวรรคหนึ่งหรือตามมาตรา ๑๗๔ วรรคหนึ่ง ให้ศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำสถานพยาบาล หน่วยงาน หรือองค์การซึ่งมีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือครอบครัวได้รับค่าตอบแทนตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนด โดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง

มาตรา ๑๗๖ ให้ศาลแจ้งคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพไปยังเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่ผู้ถูกกล่าวหามีถิ่นที่อยู่หรือภูมิลำเนาในเขตอำนาจเพื่อทราบ ในกรณีผู้ถูกกล่าวหาจงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพโดยไม่มีเหตุอันสมควรศาลมีอำนาจออกหมายจับผู้ถูกกล่าวหามาขังจนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งแต่ไม่เกินกว่าหนึ่งเดือน ถ้าผู้ถูกกล่าวหาได้รับการปล่อยชั่วคราว ศาลอาจกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ถูกกล่าวหาปฏิบัติในระหว่างการปล่อยชั่วคราวก็ได้  

มาตรา ๑๗๗ เมื่อผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ร้องได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพครบถ้วนแล้ว คำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพเป็นอันสิ้นสุดก่อนครบระยะเวลาตามเงื่อนไขหรือคำสั่งตามวรรคหนึ่ง ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยุติการคุ้มครองสวัสดิภาพได้ มาตรา ๑๗๘ ในระหว่างมีคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพศาลจะกำหนดให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่อีกฝ่ายตามที่เห็นสมควรได้ ในกรณีไม่มีการจดทะเบียนสมรสให้ศาลมีอำนาจกำหนดเงินช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เบื้องต้นตามสมควรแก่ฐานะให้แก่ผู้เสียหายหรือสมาชิกในครอบครัวได้

มาตรา ๑๗๙ ในกรณีที่มีการปฏิบัติต่อเด็กโดยมิชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กให้เด็กหรือผู้ปกครองของเด็กนั้นร้องขอให้ศาลออกคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพตามหมวดนี้ได้ โดยให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๕๕ มาตรา ๑๕๖ มาตรา ๑๗๒ มาตรา ๑๗๓ มาตรา ๑๗๔ มาตรา ๑๗๖ มาตรา ๑๗๗ และมาตรา ๑๗๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรการบังคับในกรณีศาลให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือค่าเลี้ยงชีพ มาตรา ๑๖๒ ในคดีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือค่าเลี้ยงชีพถ้าศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษานำเงินมาวางศาลตามเงื่อนไข หรือระยะเวลาที่ศาลกำหนด ในกรณีลูกหนี้ตามคำพิพากษามีรายได้ประจำ ศาลอาจสั่งให้อายัดเงินเท่าจำนวนที่จะชำระเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดู หรือค่าเลี้ยงชีพเป็นรายเดือน แล้วให้ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินดังกล่าวนำเงินมาวางศาลแทนลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อความปรากฏต่อศาลเองหรือผู้มีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือค่าเลี้ยงชีพร้องต่อศาลว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลเรียกตัวมาสอบถาม หากปรากฏเป็นความจริงให้ศาลว่ากล่าวตักเตือนให้ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ในกรณีลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำตักเตือนของศาลตามวรรคสองโดยไม่มีเหตุอันสมควร ศาลมีอำนาจออกหมายจับและสั่งให้กักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้จนกว่าลูกหนี้จะนำเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือค่าเลี้ยงชีพมาชำระหรือวางศาล แต่ห้ามมิให้กักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาแต่ละครั้งเกินกว่าสิบห้าวันนับแต่วันจับหรือกักขัง แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับการปล่อยชั่วคราว  

มาตรา ๑๕๔ ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเพื่อชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือค่าเลี้ยงชีพนั้น สิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา ๒๘๖ (๑) (๒) และ(๓) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีเป็นจำนวนตามที่ศาลเห็นสมควร ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงฐานะในทางครอบครัวของลูกหนี้ตามคำพิพากษา จำนวนบุพการี และผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะของลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วย ในการบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง ศาลอาจตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานศาล เจ้าพนักงานอื่นหรือบุคคลที่ศาลเห็นสมควรเป็นผู้ดำเนินการ โดยค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีให้ได้รับการยกเว้น

มาตรา ๑๕๕ ในการยื่นคำฟ้องหรือคำร้องตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในคดีครอบครัวเพื่อเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือค่าเลี้ยงชีพ ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าขึ้นศาลและค่าฤชาธรรมเนียม

พนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวน หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีให้เป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในท้องที่ใดไม่มีพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรี ให้พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นพนักงานสอบสวนตามพระราชบัญญัตินี้

การสอบสวนกรณีมีการร้องทุกข์ ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนโดยเร็ว และส่งฟ้องศาลภายใน 48 ชั่วโมงนับแต่ได้ตัวผูกระทำความรุนแรงในครอบครัว หากมีเหตุจำเป็นอาจผัดฟ้องได้คราวละไม่เกิน 6 วัน แต่ไม่เกิน 3 คราว 49

มาตรา ๘ เมื่อมีการร้องทุกข์ภายในอายุความตามมาตรา ๗ แล้ว ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนโดยเร็วและส่งตัวผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว สำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังพนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดีต่อศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่ได้ตัวผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว แต่หากมีเหตุจำเป็นทำให้ไม่อาจยื่นฟ้องได้ทันภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ขอผัดฟ้องต่อศาลได้คราวละไม่เกินหกวัน แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสามคราวโดยให้นำกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับโดยอนุโลม

ในกรณีที่การกระทำความผิดตามมาตรา ๔ วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดตามกฎหมายอื่น ให้ดำเนินคดีความผิดตามมาตรา ๔ วรรคหนึ่ง ต่อศาลรวมไปกับความผิดตามกฎหมายอื่นนั้น เว้นแต่ความผิดตามกฎหมายอื่นนั้นมีอัตราโทษสูงกว่าให้ดำเนินคดีต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาความผิดตามกฎหมายอื่นนั้น โดยให้นำบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ไปใช้บังคับโดยอนุโลม ในการสอบปากคำผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พนักงานสอบสวนต้องจัดให้มีจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลที่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวร้องขอร่วมอยู่ด้วยในขณะสอบปากคำเพื่อให้คำปรึกษา ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลที่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวร้องขอ ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบปากคำไปก่อนโดยไม่ต้องมีบุคคลดังกล่าวร่วมอยู่ด้วย แต่ต้องบันทึกเหตุที่ไม่อาจรอบุคคลดังกล่าวไว้ในสำนวนการสอบสวน หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการของพนักงานสอบสวน ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

ระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนตามพ. ร. บ ระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ข้อ 8. การสอบปากคำผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวให้พนักงานสอบสวนดำเนินการดังนี้ 1. แจ้งเป็นหนังสือให้จิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลที่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวร้องขอ ทราบวันเวลาและสถานที่ที่จะสอบปากคำ เพื่อให้บุคคลที่ได้รับแจ้งอยู่ร่วมด้วย เพื่อให้คำปรึกษาขณะสอบปากคำผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว 2. ในกรณีมีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลที่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวร้องขอ แต่มีเหตุจำเป็นต้องสอบปากคำผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ก็ให้พนักงานสอบสวนสอบปากคำผู้เสียหายไปได้แต่ต้องบันทึกเหตุที่ไม่อาจรอบุคคลดังกล่าวไว้ในสำนวนการสอบสวนโดยละเอียด แล้วรายงานให้ผู้บังคับบัญชาเพื่อทราบ ข้อ 9. การสอบปากคำผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีในขณะสอบปากคำให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ห้ามพิมพ์โฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน เมื่อมีการแจ้งตามมาตรา 5 หรือมีการร้องทุกข์ตามมาตรา 6 แล้ว ห้ามพิมพ์โฆษณา หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 53

การใช้มาตรการชั่วคราวในระหว่างการสอบสวน เพื่อคุ้มครองผู้ถูกกระทำ มีทั้งในชั้นสอบสวนและในชั้นศาล เช่น การออกคำสั่งใด ๆ เท่าที่จำเป็นและพอสมควรแก่กรณีเพื่อบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ถูกกระทำเป็นการชั่วคราว รวมถึงการห้ามผู้กระทำรุนแรงเข้าในที่พำนักของครอบครัว หรือห้ามเข้าใกล้ตัวบุคคลในครอบครัว ซึ่งเป็นอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีฐานะไม่ต่ำกว่าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ แต่ต้องเสนอมาตรการหรือวิธีการต่อศาลให้ความเห็นชอบ มาตรา 10 54

มาตรา ๑๐ ในการดำเนินการตามมาตรา ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีฐานะเทียบได้ไม่ต่ำกว่าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีมีอำนาจออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ให้แก่บุคคลผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวเป็นการชั่วคราว ไม่ว่าจะมีคำร้องขอจากบุคคลดังกล่าวหรือไม่ โดยให้มีอำนาจออกคำสั่งใด ๆ ได้เท่าที่จำเป็นและสมควร ซึ่งรวมถึงการให้ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวเข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์ การให้ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวชดใช้เงินช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เบื้องต้นตามสมควรแก่ฐานะ การออกคำสั่งห้ามผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวเข้าไปในที่พำนักของครอบครัว หรือเข้าใกล้ตัวบุคคลใดในครอบครัว ตลอดจนการกำหนดวิธีการดูแลบุตร เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้เสนอมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ต่อศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่วันออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ หากศาลเห็นชอบกับคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ดังกล่าว ให้

คำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์มีผลต่อไป ในกรณีที่ศาลไม่เห็นชอบด้วยกับคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือมีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ให้ศาลทำการไต่สวนและมีคำสั่งโดยพลัน หากข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์เพียงพอแก่การวินิจฉัยออกคำสั่ง ศาลอาจแก้ไขเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง หรือเพิกถอนคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์หรือออกคำสั่งใด ๆ รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมก็ได้ ผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลตามมาตรานี้ สามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งเป็นหนังสือขอให้ศาลทบทวนคำสั่งได้ภายในสามสิบวันนับแต่ทราบคำสั่ง ให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเป็นที่สุด ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาล ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๑ ในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี ให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ตามมาตรา ๑๐ หรือออกคำสั่งใด ๆ ได้ตามที่เห็นสมควร ในกรณีที่เหตุการณ์หรือพฤติการณ์เกี่ยวกับผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว หรือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง หรือเพิกถอนคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ หรือคำสั่งใด ๆ รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมก็ได้ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การยอมความ การถอนคำร้องทุกข์ หรือการถอนฟ้อง ในความผิดตามมาตรา 4 ให้พนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี จัดให้มีการทำบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นก่อนการยอมความ การถอนคำร้องทุกข์ หรือการถอนฟ้องนั้น และกำหนดให้นำวิธีการอันเป็นเงื่อนไขในการปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวโดยอนุโลม โดยอาจรับฟังความคิดเห็นของผู้เสียหายหรือบุคคลในครอบครัวประกอบด้วยก็ได้ หากได้ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงและเงื่อนไขดังกล่าวครบถ้วนแล้ว จึงให้มีการยอมความ การถอนคำร้องทุกข์ หรือการถอนฟ้องในความผิดตามมาตรา 4 ได้ หากผู้ต้องหาหรือจำเลยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว ให้พนักงานสอบสวนหรือศาลมีอำนาจยกคดีขึ้นดำเนินการต่อไป (มาตรา 12) 58

มาตรา ๑๒ ในกรณีที่ศาลพิพากษาว่า ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวมีความผิดตามมาตรา ๔ ศาลมีอำนาจกำหนดให้ใช้วิธีการฟื้นฟู บำบัดรักษา คุมความประพฤติผู้กระทำความผิด ให้ผู้กระทำความผิดชดใช้เงินช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ทำงานบริการสาธารณะ ละเว้นการกระทำอันเป็นเหตุให้เกิดการใช้ความรุนแรงในครอบครัว หรือทำทัณฑ์บนไว้ ตามวิธีการและระยะเวลาที่ศาลกำหนดแทนการลงโทษผู้กระทำความผิดก็ได้ ในกรณีที่มีการยอมความ การถอนคำร้องทุกข์ หรือการถอนฟ้องในความผิดตามมาตรา ๔ ให้พนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี จัดให้มีการทำบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นก่อนการยอมความ การถอนคำร้องทุกข์ หรือการถอนฟ้องนั้น และกำหนดให้นำวิธีการตามวรรคหนึ่งเป็นเงื่อนไขในการปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวโดยอนุโลม โดยอาจรับฟังความคิดเห็นของผู้เสียหายหรือบุคคลในครอบครัวประกอบด้วยก็ได้ หากได้ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงและเงื่อนไขดังกล่าวครบถ้วนแล้วจึงให้มีการยอมความ การถอนคำร้องทุกข์ หรือการถอนฟ้องในความผิดตามมาตรา ๔ ได้ หากผู้ต้องหาหรือจำเลยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวให้พนักงานสอบสวนหรือศาลมีอำนาจยกคดีขึ้นดำเนินการต่อไป หลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา หรือรัฐมนตรีประกาศกำหนด แล้วแต่กรณี  

วิธีการฟื้นฟูและบำบัดรักษาผู้กระทำความผิดแทนการลงโทษ 1. ให้ฟื้นฟูโดยการอบรมผู้กระทำความผิด ด้วยการว่ากล่าวตักเตือนหรือให้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมทางศีลธรรมหรือฝึกวินัยหรือโครงการอื่น เป็นระยะเวลาและในสถานที่ที่เหมาะสมตามที่ศาลเห็นสมควร แต่ทั้งนี้เป็นเวลาไม่เกิน 7 วัน

2. ให้เข้ารับการฟื้นฟูบำบัดรักษาเกี่ยวกับอาการติดยาเสพติดให้โทษ ในสถานพยาบาลสถานที่ของราชการ หรือสถานที่อื่นที่เห็นสมควร จนกว่าจะครบขั้นตอนการบำบัด แต่ทั้งนี้เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันถูกส่งตัวเข้ารับการฟื้นฟู บำบัดรักษา เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอย่างอื่น โดยคำนึงถึงอายุ เพศ ประวัติ พฤติกรรมในการกระทำความผิดที่เกิดจากการติดยาเสพติดให้โทษตลอดจนสภาพแวดล้อมทั้งปวงของผู้กระทำความผิดประกอบด้วย และอาจจะให้ผู้กระทำความผิดอยู่ภายใต้การดูแลของพนักงานคุมประพฤติด้วยก็ได้

3. ให้ส่งตัวผู้กระทำความผิด ซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกายและจิตใจ หรือความเจ็บป่วยอย่างอื่น ไปบำบัดรักษายังโรงพยาบาล สถานที่ของราชการหรือสถานที่อื่นที่เห็นสมควรหรือมอบให้แก่ผู้อื่นที่เต็มใจรับไปดูแลรักษาก็ได้ตามแต่ศาลจะเห็นสมควรจนกว่าผู้นั้นจะหาย หรือตามระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดเวลาไม่เกิน 1 ปี เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอย่างอื่น

4. ให้ส่งตัวผู้กระทำความผิดเข้ารับการบำบัดรักษาอาการติดสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นในสถานพยาบาล สถานที่ของราชการหรือสถานอื่นที่เห็นสมควร จนกว่าจะหายจากการติดสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น แต่ทั้งนี้เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ถูกส่งตัวเข้ารับการบำบัดรักษาเว้นแต่มีเหตุจำเป็นอย่างอื่น

วิธีการคุมความประพฤติผู้กระทำความผิดแทนการลงโทษนั้น ให้ศาลกำหนดให้ผู้กระทำความผิดไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติหรือพนักงานสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลอื่นที่ศาลเห็นสมควรทุก 3 เดือนต่อครั้งเป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี หรือระยะเวลาที่เห็นสมควรแต่ไม่เกิน 1 ปี เพื่อให้คำแนะนำช่วยเหลือ ตักเตือนในเรื่องความประพฤติและการประกอบอาชีพ โดยอาจจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติข้อเดียวหรือหลายข้อ ดังต่อไปนี้ด้วยก็ได้

1. ห้ามมิให้ผู้กระทำความผิดเข้าไปในสถานที่อันจูงใจให้ประพฤติชั่วหรือกระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประพฤติชั่ว 2. ให้ฝึกหัดหรือประกอบอาชีพอันเป็นกิจจะลักษณะ 3. ให้ละเว้นการคบหาสมาคมหรือการประพฤติใดอันอาจนำไปสู่การกระทำความผิดอีก

4. ห้ามเล่นการพนันหรือห้ามดื่มสุราหรือเสพสิ่งเสพติดทุกชนิดและอาจไปรับการบัดบัดรักษาการติดสุราหรือสิ่งเสพติดหรือความบกพร่องทางร่างกายและจิตใจ หรือความเจ็บป่วยอย่างอื่น ณ สถานพยาบาลหรือสถานที่อื่นที่เห็นสมควร ตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันที่ถูกส่งตัวเข้ารับการบำบัดรักษา เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอย่างอื่น

5. เงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เพื่อแก้ไขฟื้นฟู หรือป้องกันมิให้ผู้กระทำความผิดกระทำหรือมีโอกาสกระทำความผิดซ้ำขึ้นอีก เงื่อนไขตามที่ศาลได้กำหนดดังกล่าวนั้น ถ้าภายหลังความปรากฏแก่ศาลว่าพฤติการณ์เกี่ยวแก่การคุมความประพฤติได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลอาจแก้ไขเพิ่มเติมหรือเพิกถอนข้อหนึ่งข้อใดหรือกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมที่ยังไม่ได้กำหนดอีกก็ได้

วิธีการให้ผู้กระทำความผิดชดใช้เงินช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แทนการลงโทษนั้นให้ศาลกำหนดให้ผู้กระทำความผิดชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับเงินหรือทรัพย์สินใด ๆ ที่ผู้เสียหายได้สูญเสียไป เพราะผลของการกระทำความผิดนั้น ตามจำนวนเงินและระยะเวลาที่กำหนดให้ชำระตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด โดยเฉพาะค่าเสียหายดังต่อไปนี้ ให้กำหนดดังนี้

1. สำหรับรายได้ที่สูญเสียไป ให้ชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นในวงเงินที่สูญเสียไป แต่ทั้งนี้ไม่เกินวงเงิน 50,000 บาท เว้นแต่มีเหตุสมควรอย่างอื่น 2. ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ให้ชดใช้เบื้องต้นเท่าที่ผู้เสียหายได้ใช้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ไม่เกินวงเงิน 50,000 บาท เว้นแต่มีเหตุสมควรอย่างอื่น 3. ค่าใช้จ่ายในการหาที่อยู่ใหม่ ให้ชดใช้เบื้องต้นเท่าที่ผู้เสียหายได้ใช้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี เว้นแต่มีเหตุสมควรอย่างอื่น 4. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็น ให้ชดใช้เบื้องต้นตามที่จำเป็น ตามจำนวนเงินและระยะเวลาที่กำหนดให้ชำระตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด แต่ทั้งนี้ไม่เกินวงเงิน 50,000 บาท เว้นแต่มีเหตุสมควรอย่างอื่น

การให้ทำงานบริการสาธารณะแทนการลงโทษนั้น ให้ศาลกำหนดประเภทของการทำงานบริการสาธารณะประโยชน์ สถานที่ และระยะเวลาตามที่ศาลและผู้กระทำความผิดเห็นสมควร แต่ทั้งนี้ ไม่ควรกำหนดให้เกินวันละสามชั่วโมง และไม่เกินเจ็ดวัน โดยให้พิจารณาด้วยว่าการทำงานนั้น ต้องไม่ก่อความเสียหายแก่สังคมหรือบุคคลอื่นและไม่ก่อให้เกิดภาระเกินสมควร ทั้งให้พิจารณาจากวิถีชีวิต การดำรงชีพ ความรับผิดชอบต่อครอบครัวและพิจารณาจากลักษณะหรือประเภทและความเหมาะสมของงาน รวมทั้งระยะทางและความสะดวกในการเดินทางไปทำงานด้วย

การให้ละเว้นการกระทำอันเป็นเหตุให้เกิดการใช้ความรุนแรงในครอบครัวแทนการลงโทษ เมื่อศาลเห็นว่าตามพฤติการณ์แห่งคดี ยังไม่สมควรลงโทษผู้กระทำความผิด แต่การกระทำของผู้กระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเหตุให้เกิดการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ศาลมีอำนาจที่จะสั่งห้ามมิให้ผู้กระทำความผิดกระทำหรือให้ละเว้นกระทำดังกล่าว หรือมีคำสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่ผู้เสียหาย อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทำของผู้กระทำความผิด ตามที่ศาลเห็นสมควรได้ โดยศาลอาจกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้ผู้กระทำความผิดปฏิบัติเพื่อป้องกันมิให้ผู้นั้นกระทำความผิดขึ้นอีกก็ได้ตามแต่ศาลจะเห็นสมควร ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เว้นแต่มีเหตุสมควรอย่างอื่น

การทำทัณฑ์บนแทนการลงโทษ เมื่อศาลเห็นว่าตามพฤติการณ์แห่งคดียังไม่สมควรลงโทษผู้กระทำความผิด แต่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้กระทำความผิดอาจจะก่อเหตุร้าย ให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลในครอบครัวขึ้นอีก ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้นั้นทำทัณฑ์บนไว้โดยกำหนดจำนวนเงินไม่เกินห้าพันบาท ว่าผู้นั้นจะไม่ก่อเหตุร้ายดังกล่าวอีกตลอดระยะเวลาที่ศาลกำหนดแต่ไม่เกินสองปี และจะสั่งให้มีประกันด้วยหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ทำทัณฑ์บนกระทำผิดทัณฑ์บน ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นชำระเงินไม่เกินจำนวนที่ได้กำหนดไว้ในทัณฑ์บน ถ้าผู้นั้นไม่ชำระให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29 และมาตรา 30 มาใช้บังคับ เว้นแต่ผู้ทำทัณฑ์บนเป็นเด็กหรือเยาวชน ให้นำบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 107 มาใช้บังคับ

ในกรณีที่มีการยอมความการถอนคำร้องทุกข์หรือการถอนฟ้องในความผิดตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ให้ศาลจัดให้มีการทำบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นก่อนการยอมความ การถอนคำร้องทุกข์หรือการถอนฟ้องนั้น และกำหนดให้นำวิธีการตามข้อ 4 ถึงข้อ 9 ข้อเดียวหรือหลายข้อ มาเป็นเงื่อนไขในการปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวโดยอนุโลม โดยอาจรับฟังความคิดเห็นของผู้เสียหายหรือบุคคลในครอบครัวประกอบด้วยก็ได้ หากได้ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงและเงื่อนไขดังกล่าวครบถ้วนแล้วจึงให้มีการยอมความ การถอนคำร้องทุกข์ หรือการถอนฟ้องในความผิดดังกล่าวได้ หากจำเลยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวในข้อนี้หรือข้ออื่น ๆ ข้อใดข้อหนึ่ง ให้ศาลมีอำนาจยกคดีขึ้นดำเนินการต่อไป

มาตรา 15 ไม่ว่าการพิจารณาคดีการกระทำความรุนแรงในครอบครัวจะได้ดำเนินไปแล้วเพียงใด ให้ศาลพยายามเปรียบเทียบให้คู่ความได้ยอมความกัน โดยมุ่งถึงความสงบสุขและการอยู่ร่วมกันในครอบครัวเป็นสำคัญ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้ ประกอบด้วย 1. การคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว 2. การสงวนและคุ้มครองสถานภาพของการสมรสได้ ก็ให้การหย่าเป็นไปด้วยความเป็นธรรมและเสียหายน้อยที่สุด โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของบุตรเป็นสำคัญ 74