งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กระบวนการดำเนินการทางวินัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กระบวนการดำเนินการทางวินัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กระบวนการดำเนินการทางวินัย
โครงการฝึกอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การพัฒนานิติกรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติ ราชการตามกฎหมายใหม่” กระบวนการดำเนินการทางวินัย นายวรฉัตร วิรัชลาภ นิติกรชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มวินัย กองการเจ้าหน้าที่

2 กฎหมายหลัก พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๙๐ – ๑๐๖ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย พ.ศ.๒๕๕๖ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.๒๕๔๒ ม. ๙๒ ม. ๙๓ พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.๒๕๕๑ ม. ๔๐ ม.๔๑ และ ม. ๔๒ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเร่งรัดติดตามเกี่ยวกับกรณีเงินขาดบัญชี หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริต พ.ศ.๒๕๔๖

3 กระบวนการการดำเนินการทางวินัย
การสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้น การสอบสวน การรายงานการดำเนินการทางวินัย

4 การสืบสวน เมื่อมีการกล่าวหาหรือเป็นกรณีเป็นที่สงสัยว่ามีการกระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่ต้องรายงานผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตาม ม. ๕๗ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตาม ม. ๕๗ ดำเนินการสืบสวน/สั่งให้ดำเนินการสืบสวน พิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยหรือไม่ กรณีเห็นว่ามีมูลเพราะมีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้วตาม ม. ๙๒ หรือ ๙๒ แล้วแต่กรณี สืบสวนแล้วเห็นว่า ไม่มูล ให้ยุติเรื่อง ตาม ม. ๙๑ เป็นกรณีมีมูล ให้ดำเนินการตาม ม. ๙๒ หรือ ๙๒ แล้วแต่กรณี

5 ลักษณะการกล่าวหา กล่าวหาเป็นหนังสือ กล่าวหาด้วยวาจา
ระบุชื่อ และลงลายมือชื่อผู้กล่าวหา ระบุชื่อหรือตำแหน่งของผู้ถูกล่าวหา หรือข้อเท็จจริงที่เพียงพอให้ทราบว่าเป็นการกล่าวหาผู้ใด ระบุข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งการกระทำที่มีการกล่าวหาเพียงพอที่จะเข้าใจได้ หรือแสดงพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสืบสวนต่อไปได้ กล่าวหาด้วยวาจา

6 กรณีเป็นที่สงสัย อาจมีลักษณะดังนี้
มีการกล่าวหาแต่ไม่ระบุชื่อผู้กล่าวหา และไม่ลงลายมือชื่อผู้กล่าวหา ระบุชื่อหรือตำแหน่งของผู้ถูกล่าวหา หรือข้อเท็จจริงที่ปรากฏเพียงพอที่จะทราบว่าเป็นการกล่าวหาผู้ใด และข้อเท็จจริงและพฤติการณ์นั้นเพียงพอที่จะสืบสวนสอบสวนต่อไปได้ หรือ มีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาอันเป็นที่สงสัยว่าทำผิดวินัย โดยมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสืบสวนสอบสวนต่อไปได้

7 กรณีที่ถือว่าไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตาม ม. ๕๗ สั่งให้ยุติเรื่อง ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์แวดล้อมและพยานหลักฐานไม่เพียงพอให้ทราบว่าผู้ใดกระทำผิด ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แวดล้อมและพยานหลักฐานไม่เพียงพอที่จะทำให้เข้าใจได้ว่ามีการกระทำผิดวินัย หรือไม่เพียงพอที่จะดำเนินการสืบสวนสอบสวนต่อไปได้ พฤติการณ์แห่งการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดวินัย

8 การสอบสวนทางวินัย การดำเนินการในกรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง การดำเนินการในกรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง

9 กรณีไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวน
การดำเนินการในกรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง (ม. ๙๒) กรณีไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวน แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ รับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา ผู้มีอำนาจฯ ตาม ม. ๕๗ เห็นว่า กระทำผิด ลงโทษตามควรแก่กรณี ไม่ได้กระทำผิด สั่งยุติเรื่อง

10 กรณีตั้งคณะกรรมการสอบสวน
คณะกรรมการสอบสวนต้องดำเนินการสอบสวน รวบรวมข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ ต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ทำรายงานการสอบสวนพร้อมเสนอความเห็น ภายในหกสิบวัน ผู้มีอำนาจฯ ตาม ม. ๕๗ เห็นว่า ไม่ได้กระทำผิด สั่งยุติเรื่อง(ม. ๙๒) ทำเป็นคำสั่ง(ข้อ ๖๖) กระทำผิดไม่ร้ายแรง ลงโทษตามควรแก่กรณี (ม. ๙๖) ทำเป็นคำสั่ง (ข้อ ๖๗) กระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ ทำเป็นคำสั่งงดโทษ (ข้อ ๗๓) กระทำผิดนัยอย่างร้ายแรง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่

11 การดำเนินการในกรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง (ม
การดำเนินการในกรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง (ม. ๙๓) แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน หน้าที่คณะกรรมการสอบสวน แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ รับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา รายงานผลการสอบสวนและความเห็นเสนอผู้มีอำนาจฯ ตาม ม. ๕๗ ผู้มีอำนาจฯ ตาม ม. ๕๗ เห็นว่า ไม่ได้กระทำผิด สั่งยุติเรื่อง กระทำผิด วินัยไม่ร้ายแรง ม. ๙๖ วินัยอย่างร้ายแรง ม. ๙๗

12 องค์ประกอบของคณะกรรมการสอบสวน
ต้องเป็นข้าราชการพลเรือน ประธานกรรมการต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหา กรรมการอย่างน้อยหนึ่งคนต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งนิติกร หรือได้รับปริญญาทางกฎหมาย หรือผู้ได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรการดำเนินการทางวินัย หรือผู้มีประสบการณ์ด้านการดำเนินการทางวินัย จะมีผู้ช่วยเลขานุการแต่งตั้งจากข้าราชการฝ่ายพลเรือน พนักงานราชการหรือลูกจ้างประจำก็ได้

13 หน้าที่ของผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
แจ้งคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ และให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อและวันที่รับทราบไว้เป็นหลักฐาน พร้อมทั้งให้แจ้งตำแหน่งประธานกรรมการ กรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ (ถ้ามี) รวมทั้งสิทธิที่จะคัดค้านกรรมการสอบสวนไปพร้อมกัน ถ้าแจ้งโดยตรงไม่ได้ให้แจ้งเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ กรณีที่มีการคัดค้านกรรมการสอบสวน คณะกรรมการสอบสวนต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่

14 หน้าที่ของคณะกรรมการสอบสวน
สอบสวนและพิจารณาตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดในกฎ ก.พ. เพื่อแสวงหาความจริงในเรื่องที่ถูกกล่าวหา และดูแลให้บังเกิดความยุติธรรมตลอดกระบวนการสอบสวน ในการสอบสวนและพิจารณาห้ามมิให้บุคคลอื่นอยู่หรือร่วมด้วย รวบรวมข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงแสดงพยานหลักฐาน พิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน ทำรายงานการสอบสวนพร้อมความเห็นเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งฯ

15 การรวบรวมพยานหลักฐาน
พยานหลักฐานทั้งปวงที่เป็นประโยชน์แก่การสอบสวนให้รวบรวมไว้ให้ครบถ้วน โดยไม่รับฟังแต่เพียงข้ออ้างหรือพยานหลักฐานของผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหา สอบพยานครั้งละ ๑ คน พร้อมทั้งแจ้งให้ทราบว่าคณะกรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา การให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จอาจเป็นความผิดตามกฎหมาย การสอบปากคำ กรรมการสอบสวนต้องมีไม่น้อยกว่าสามคน ห้ามขูด ลบ หรือบันทึกข้อความทับข้อความที่บันทึกไว้ ผู้ถูกกล่าวหาสามารถนำทนายความหรือที่ปรึกษาเข้ามาในการสอบปากคำได้ ห้ามให้คำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือกระทำโดยมิชอบไม่ว่าด้วยประการใด เพื่อจูงใจให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือพยานให้ถ้อยคำ เอกสารที่ใช้เป็นพยานให้ใช้ต้นฉบับ

16 การแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐาน
ให้ทำเป็นบันทึกระบุข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำการใด เมื่อใด อย่างไร เป็นความผิดวินัยในกรณีใด และสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา โดยจะระบุชื่อพยานด้วยหรือไม่ก็ได้ แจ้งสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาที่จะให้ถ้อยคำหรือยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเป็นหนังสือ สิทธิที่จะแสดงพยานหลักฐานหรืออ้างพยานหลักฐานเพื่อขอให้เรียกพยานหลักฐาน ทำตามแบบที่ ก.พ. กำหนด ให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อในบันทึกรับทราบ /ส่งทางไปรษณีย์เมื่อครบ ๑๕ วัน ถือว่าทราบ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และวิธีการที่จะให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา

17 ระยะเวลาการสอบสวน การสอบสวนผู้ถูกกล่าวหา
ถามผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดตามข้อกล่าวหาหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด กรณีรับทราบสารภาพว่าได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาใด ให้บันทึกไว้ แล้วจะไม่ทำการสอบสวนในข้อหานั้นก็ได้ ถ้าไม่ให้ถ้อยคำหรือชี้แจงภายในสิบห้าวัน ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ประสงค์ที่จะชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ระยะเวลาการสอบสวน ๑๒๐ วัน นับแต่วันประชุมกรรมการสอบสวนครั้งแรก ขยายได้ตามความจำเป็น ครั้งละไม่เกิน ๖๐ วัน ถ้าเกิน ๑๘๐ วัน รายงาน อ.ก.พ.กระทรวงทราบเพื่อติดตามเร่งรัด

18 การประชุมเพื่อพิจารณาทำความเห็น
เมื่อได้แจ้งข้อกล่าวหาและและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ถูกกล่าวหาทราบ และได้ให้โอกาสชี้แจง พร้อมทั้งได้รวบรวมพยานหลักฐานเพียงพอแล้วให้คณะกรรมการสอบสวนประชุมเพื่อพิจารณาว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยในเรื่องที่สอบสวนหรือไม่ ถ้าผิดเป็นความผิดวินัยกรณีใด ตามมาตราใด ควรได้รับโทษสถานใด และมีเหตุอันควรลดหย่อนหรือไม่ เพียงใด ถ้าผลการสอบสวนยังไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะลงโทษ กรรมการต้องไม่น้อยกว่าสามคน และไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการสอสวนทั้งหมด

19 การจัดทำรายงานสอบสวน
ทำตามแบบที่ ก.พ. กำหนด ต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ข้อกล่าวหา พยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา ประเด็นที่จะต้องพิจารณา ความเห็นของกรรมการฯ กรรมการฯ ทุกคนต้องลงลายมือชื่อกำกับทุกหน้า

20 การพิจารณา กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง หรือไม่ได้กระทำผิดวินัย กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง เสนอ อ.ก.พ.กรม ยังไม่ได้ความชัดเจนพอที่จะลงโทษเพราะกระทำผิดวินัยอย่างร่ายแรง แต่เห็นว่า หย่อนความสามารถฯ บกพร่องในหน้าที่ราชการ ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือ มีมลทินมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเสียหาย เสนอ อ.ก.พ.กรมฯ เพื่อพิจารณา ม. ๙๗ วรรคสอง ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนฯ เห็นว่า กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุฯ ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ.กรมฯ พิจารณา เมื่อ อ.ก.พ.กรมฯ มีมติเป็นประการใด ให้สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น

21 การรายงานการดำเนินการทางวินัย
ม. ๑๐๓ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้...หรือสั่งยุติเรื่อง หรืองดโทษแล้ว ให้รายงาน อ.ก.พ.กระทรวงซึ่งผู้ถูกดำเนินการทางวินัยสังกัดอยู่เพื่อพิจารณา... ในกรณีที่ อ.ก.พ.กระทรวง หรือ... เห็นว่าการดำเนินการทางวินัยเป็นการไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม หากมีมติเป็นประการใด ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ.กระทรวง หรือ ... มีมติ

22 การดำเนินการทางวินัยกรณีพิเศษ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.๒๕๔๒ ม. ๙๒ ม. ๙๓ พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.๒๕๕๑ ม. ๔๐ ม.๔๑ และ ม. ๔๒ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเร่งรัดติดตามเกี่ยวกับกรณีเงินขาดบัญชี หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริต พ.ศ.๒๕๔๖


ดาวน์โหลด ppt กระบวนการดำเนินการทางวินัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google