สมัยหลังการเปลี่ยนแปลง 24 มิย 2475 ประวัติศาสตร์ สมัยหลังการเปลี่ยนแปลง 24 มิย 2475
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่ 24 มิ ย 2475 เป็นการเปลี่ยนจากระบบ สมบูรญาสิทธิราช มาเป็น ปชต คณะผู้ก่อการ เรียกตนเองว่า คณะราษฎร ซึ่งมีหัวหน้าคือ พันเอก พระยาพหลพลหยุหเสนา
ก่อนการปฏิวัติ....มีการเคลื่อนไหว เพื่อ ปชต หลายครั้ง เมื่อ ร. 7 ขึ้นครองราชย์ ได้ตั้งสภาที่ปรึกษา 2 สภา คือ ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) สภาที่ปรึกษาของพระองค์ (Privy Council) คณะอภิรัฐมนตรีสภา
พระยากัลยาณไมตรีได้เตรียมทูลเกล้าถวายร่างรัฐธรรมนูญฉบับสั้นๆ มีเพียง 12 มาตรา เสนอโครงสร้างของรัฐบาล แต่คณะอภิรัฐมนตรีสภาคัดค้าน
สาเหตุ การได้รับอิทธิพลด้านแนวคิดจากชาติตะวันตก เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ความไม่พอใจในความแตกต่างทางฐานะด้านสังคม การแก้ปัญาด้านเศรษฐกิจของ ร. 7 ทำให้ข้าราชการเดือดร้อน โดยการ..... 1.ให้กระทรวงทุกกระทรวงตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก 2.ให้ข้าราชการทั้งทหารและพลเรือนที่ไม่จำเป็นออกจากราชการ 3.ตราพระราชบัญญัติเก็บภาษีเพิ่มขึ้น
คณะราษฏร ประกอบด้วย ... ฝ่ายทหาร ฝ่ายพลเรือน
ฝ่ายทหาร 1. พันเอก พระยาพหลพลหยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) 1. พันเอก พระยาพหลพลหยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) 2. พันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพพันธุมเสน) 3. พันเอก พระยาฤทธิอาคเนย์ (สละเอมะสิริ) 4. พันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) นายทหาร 4 คนนี้ เรียกว่า “สี่ทหารเสือ”
ฝ่ายพลเรือน... หลวงประดิษฐ์มนูธรรมหัวหน้า และได้ชื่อว่า เป็น มันสมอง ของคณะราษฎร เนื่องจาก เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว และ ผู้เสนอหลัก 6 ประการ
เหตุการณ์ ปราศจากการสู้รบ เพราะ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ไม่ทรงปรารถนาการสูญเสีย และ ยอมที่จะเป็นกษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ เพราะพระองค์ต้องการพระราชทานรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว https://www.youtube.com/watch?v=6aJxEQQkAMM&t=13s
นายกรัฐมนตรี คนแรก คือ... พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
ภายหลังการปฏิวัติ...แบ่งสถานการณ์เป็น .....
ยุคที่หนึ่ง ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ.2475 – พ.ศ.2490) เป็นยุคของความขัดแย้งระหว่างคณะราษฎรกับกลุ่มผู้ปกครองเดิม อันประกอบไปด้วยกลุ่มเจ้าและพวกขุนนาง และความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในคณะราษฎรด้วยกันเอง และสถานการณ์ของสงครามโลกครั้งที่ 2
มีการประกาศ ใช้ รธน. ฉบับแรก ซึ่งเป็นฉบับชั่วคราว เมื่อ 27 มิ ย 2475 ฉบับถาวร ฉบับแรก มีขึ้นเมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม 2475 การประกาศหลัก 6 ประการ ถูกต่อต้านอย่างหนัก ส่วนนายปรีดี ต้องเดินทางออกจากประเทศไทย
ความขัดแย้ง เริ่มด้วย สังคมนิยม หลัก 6 ประการ ที่ประกอบด้วย ความเป็นเอกราช รักษาความปลอดภัย ความรุ่งเรืองด้านเศรษฐกิจ ความเสมอภาค การมีเสรีภาพ ให้การศึกษาอย่างเต็มที่ สมุด ปกเหลือง
20 มิ ย 2476 เกิดการรัฐประหาร ที่นำโดย พันเอกพระยาพหลพลหยุหเสนาเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง
11 ตุลาคม 2476- กบฏบวรเดช: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารนำกำลังทหารจากหัวเมืองภาคอีสานล้มล้างการปกครองของรัฐบาล เนื่องจากไม่พอใจที่นายถวัลย์ ฤทธิเดชฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในกรณีที่ที่พระองค์มีพระบรมราชวินิจฉัยคัดค้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ("สมุดปกเหลือง") โดยออกเป็นสมุดปกขาว แต่กระทำการไม่สำเร็จ
ทรงสละราชสมบัติ.... - 2 มีนาคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ ขณะประทับรักษาพระเนตรที่ประเทศอังกฤษ และ คณะราษฎรจึงได้ถวายราชบัลลังก์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ธันวาคม พ.ศ.2481 พระยาพหลพลพยุหเสนาก็ได้ลาออกจากตำแหน่ง
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ดำรงตำแหน่งต่อมา หลังจากนั้นทหารเริ่มมีอำนาจมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.2481 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2487 จอมพล ป. ได้เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นเวลาห้าปีครึ่ง ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการสร้างประวัติศาสตร์ของเมืองไทย