1. ภารกิจด้านการเรียนการสอน 1. พัฒนาหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตทุกหลักสูตรให้ เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด (OBE) โดยให้ได้บัณฑิตแพทย์ที่ มีคุณภาพ ปัญญาคู่คุณธรรม มีความสามารถรอบ ด้าน มีวิสัยทัศน์กว้างไกล สอดคล้องกับความ ต้องการของสังคมและของประเทศ 2. พัฒนากระบวนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ และบูรณาการระหว่างภาควิชา (vertical & horizontal integration) โดยนำองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้านแพทยศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามา ใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ทั้งในระดับก่อน ปริญญา และหลังปริญญาโดยครอบคลุมทั้งการ รักษาการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (curative preventive promotive and rehabilitative)
1. ภารกิจด้านการเรียนการสอน (ต่อ) 3. ผลักดันให้มีกระบวนการเรียนการสอนที่ต้องคำนึงความปลอดภัยของผู้ป่วย (patient safety) HA เวชศาสตร์เชิงประจักษ์ (evidence based medicine) เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข (health economic) มีทักษะการสื่อสาร ทั้งด้าน ภาษาอังกฤษ การถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ควบคู่กับคุณธรรม จริยธรรมอย่างเป็นระบบในการเรียนการสอนทั้งในระดับก่อนและหลังปริญญา 4. สร้างความเข้มแข็งการศึกษาระดับหลังปริญญาทั้งโท-เอกรวมทั้งการฝึกอบรม แพทย์ ประจำบ้านให้มีครบทุกสาขาหลัก (แผน 2 แรกปี) รวมถึงสาขาเวชศาสตร์ป้องกันและเวชศาสตร์ครอบครัว
1. ภารกิจด้านการเรียนการสอน (ต่อ) 5. มีแผนยุทธศาสตร์และมีการดำเนินการต่อเนื่องในการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียน การสอนและบริการวิชาการร่วมกันรวมทั้งการวัดผลประเมินผล ระหว่างศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุชลประทานทำให้สามารถลดการพึ่งพาสถาบันร่วมสอนได้ 6. เป็นแหล่งฝึกภาคปฏิบัติและสนับสนุนการเรียนการสอนให้กับคณะในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ สุขภาพโดยพัฒนาการเรียนการสอนให้เป็นแบบสหสาขาวิชาชีพ ที่ศูนย์การแพทย์และศูนย์ผู้สูงอายุ
1. ภารกิจด้านการเรียนการสอน (ต่อ) 7. มีการพัฒนารูปแบบและระบบการเรียนการสอนโดยใช้การฝึกระบบปฏิบัติทักษะ (skill lab) และให้สามารถเป็นศูนย์สอบ ศรว ๓ (OSCE) ที่มีประสิทธิภาพทั้งในระดับ ก่อนและหลังปริญญาให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม 8. สร้างความร่วมมือกับคณะและภาคอื่นๆ ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2. ภารกิจด้านบริการวิชาการ 1. พัฒนาให้เป็นโรงเรียนแพทย์ระดับตติยภูมิภูมิภาคตะวันออก สนับสนุนส่งเสริมมีการจัดตั้ง และมีศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านต่างๆเพิ่มขึ้นที่มีความพร้อมและความเหมาะกับปัญหาและบริบท ของพื้นที่ รวมไปถึงปัญหาของประเทศ เช่น ผู้สูงอายุ ศูนย์โรคไต CVS และ ARTเป็นต้น 2. มีการประสานงานและดำเนินการต่างๆ ร่วมกับศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มศว คลินิก ศูนย์ผิวหนังอย่างเป็นระบบและดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน 3. มีการบริหารจัดการด้านบริการวิชาการอย่างเป็นระบบ และมีธรรมาภิบาล โดยมีแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการรายปีในการบริหารจัดการด้านงบประมาณ บุคลากร พื้นที่ใช้สอยของศูนย์การแพทย์ฯและอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆให้เหมาะสมกับ ภาระงานบริการวิชาการ
2. ภารกิจด้านบริการวิชาการ (ต่อ) 4. ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีการบริหารงานร่วมกับหน่วยงานภายนอกอย่างเป็นรูปธรรม โดยดำเนินงานตามนโยบายของประเทศ มีการทำงานร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่เขตบริการสุขภาพเขตที่ 4 กลุ่มที่ 2 ของกระทรวงสาธารณสุขและร่วมแก้ไขปัญหาหรือช่องว่างของการบริการทางการแพทย์ที่ความแตกต่างระหว่างหน่วยงานที่สังกัดอย่างเป็นระบบ 5. ดำเนินการศูนย์การแพทย์ฯ ให้สอดคล้องกับนโยบายเป็นมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม สร้างเสริมพลังอำนาจ(empowerment) ด้านสุขภาพให้กับชุมชน และได้รับรองคุณภาพ re-accreditation จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล
3. ภารกิจด้านการวิจัย 1. สร้างและพัฒนาระบบงานวิจัยและนวัตกรรมของคณะแพทยศาสตร์ ตั้งแต่การกำหนดแผน มาตรการกระตุ้นและส่งเสริมสร้าง มาตรฐานการวิจัย สร้างแรงจูงใจในการทำวิจัยและ สร้างนวัตกรรมทางการแพทย์การเผยแพร่และการใช้ประโยชน์ จัดให้มีศูนย์ส่งเสริมงาน วิจัยที่สนับสนุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับงานวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของคณะแพทย์สู่ระดับนานาชาติ และสากล 2. ส่งเสริมให้เกิดกลุ่มวิจัย (research cluster) และการวิจัยสหสถาบัน (multi-center) ของนักวิจัยทั้งระดับคลินิก และพรีคลินิก ที่สนใจในงานด้านเดียวกัน เพื่อทำงานวิจัยร่วมกัน และมีความสมดุลระหว่างงานวิจัยด้านคลินิกวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานและวิจัยชุมชน
3. ภารกิจด้านการวิจัย (ต่อ) 3. พัฒนาระบบและกระบวนการสนับสนุนงานวิจัยและสร้างนวัตกรรม การเข้าถึงทุนวิจัยต่างๆของอาจารย์ โดยเฉพาะอาจารย์ใหม่ และบุคลากรระดับต่างๆโดยเฉพาะในสายสนับสนุนให้สามารถเข้าถึงได้อย่างกว้างขวางและเท่าเทียมกัน 4. สร้างและพัฒนาให้เกิดงานวิจัยและสร้างนวัตกรรมในกลุ่มของบุคลากรสายสนับสนุนที่ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาองค์กรและชุมชน โดยพัฒนาให้มีระบบพี่เลี้ยง (mentor) วิจัยและมีระเบียบปฏิบัติและการขอทุนวิจัยที่สามารถทำได้จริง 5. มีกระบวนการในการบูรณาการงานวิจัยและนวัตกรรมและการเรียนการสอนทั้งในระดับก่อนและหลังปริญญาอย่างเป็นรูปธรรม
รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปฏิรูปอุดมศึกษา ของ คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะทำงานปฏิรูปการศึกษาของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย.รายงานปฏิรูปการศึกษา.๒๕๕๗. ยกระดับโครงการวิจัยเพื่อเพิ่มคุณภาพ และผลิตภาพการวิจัย เน้นการทำงานวิจัยและการสร้างพลังร่วมระหว่างหน่วยปฏิบัติการวิจัย ของ สถาบันอุดมศึกษา กลุ่มสถาบันอุดมศึกษา ศูนย์ความเป็นเลิศ ภาคอุตสาหกรรมในและต่างประเทศ ภาคสังคม และชุมชน และแหล่งทุนวิชาการต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศโดยมีการจำแนกระดับมหาวิทยาลัย ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ วาระประเทศ (national agenda) และการชี้เชิงนโยบาย (policy directed) ตำแหน่งหรือความสามารถการพัฒนา: development, research, incubation, commercialization
3. การสนับสนุนด้านวิจัย (ต่อ) จัดอบรมการวิจัย การขอทุนวิจัย การเขียนขอทุนวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประเภทต่าง ๆ การเขียนรายงานการวิจัย การเขียนผลงานวิจัย การเขียนบทความวิจัยเพื่อส่งไปเผยแพร่ ในวารสารที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับ จัดสรรทุนวิจัยให้อาจารย์ โดยเฉพาะอาจารย์รุ่นใหม่ แสวงหาแหล่งทุนวิจัย และประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์ได้รับทราบทั่วกัน มีระบบ reward on top ให้กับอาจารย์ที่มีผลงานวิจัยดีเด่นเพื่อสร้าง แรงขับเคลื่อนและแรงจูงใจสำคัญให้อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาได้มีการสร้างสรรค์และจัดทำงานวิจัย อย่างต่อเนื่อง
3. ภารกิจด้านการวิจัย มีระบบและกลไกกระตุ้นให้อาจารย์ผลิตผลงานวิจัย จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมงานวิจัยที่สนับสนุนและพัฒนาโครงสร้างฐานข้อมูลและระบบ ICT เพื่อสนับสนุนและเอื้อต่อการวิจัยทุกระดับทุกสายงาน โดยเฉพาะกลุ่มวิจัย (research cluster) และการวิจัยสหสถาบัน (multi-center) เพื่อพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของคณะแพทย์สู่ระดับนานาชาติ และสากล จัดให้มีระบบพี่เลี้ยงวิจัย (mentor) และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเริ่มจาก RtoR หลักสูตรอบรมแพทยศาสตรศึกษาได้สอดแทรกวิจัยเช่น RtoR สำหรับอาจารย์ใหม่ (เป็นสมรรถหลักและผูกกับการขอตำแหน่งวิชาการ) เพื่อสร้างนักวิจัยโดยเฉพาะอาจารย์ใหม่ และบุคลากรสายสนับสนุนจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก (อุปกรณ์ นักสถิติ ระบาดวิทยา) เพื่อช่วยเหลือการทำวิจัยและมีระบบติดตามช่วยเหลือ รวมทั้งช่วยจัดหาแหล่งทุนวิจัยทั้งภายในและภายนอก
มีระบบและกลไกกระตุ้นให้อาจารย์ผลิตผลงานวิจัย(ต่อ) สนับสนุนศูนย์วิจัยคลินิก (CRC) คณะแพทย์ มศว ร่วมกับ กสพท CRCN และ MedResNet (การวิจัยสหสถาบัน multi-center) ส่งเสริมการบูรณาการวิจัยร่วม พรีคลินิกและคลินิกให้เกิดกลุ่มวิจัย (research cluster) เพื่อกระตุ้นการสร้างผลผลิต (ข้อเสนอแนะจากการประเมิน QA คณะฯ) ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ส่งเสริมกระบวนการในการบูรณาการงานวิจัย นวัตกรรมแพทยศาสตร์ศึกษากับการเรียนการสอนทั้งในระดับก่อนและหลังปริญญาเริ่มจากภาควิชากำหนดเป็น KPI ระดับรายบุคคล รายภาควิชาและหน่วยงาน
ภารกิจด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 1. ส่งเสริมงานและจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯอย่างต่อเนื่องเป็นการสร้าง อัตลักษณ์และวัฒนธรรมองค์กรให้แก่อาจารย์ นิสิต และบุคลากรทุกระดับ 2. ส่งเสริมกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมทั้งในหน่วยงานคณะฯ มหาวิทยาลัยและในชุมชนใกล้เคียง(อำเภอองครักษ์)