แนวคิดทางการจัดการ
แนวคิดทางด้านการจัดการ มี 4 แนวคิดดังนี้ แนวคิดหลักากรจัดการเชิงประสิทธิภาพของงาน The task management approach แนวคิดหลักการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ The behavioral management approach แนวคิดหลักการจัดการเชิงปริมาณ The quantitative management approach แนวคิดหลักการจัดการสมัยปัจจุบัน The contemporary management approach
แนวคิดหลักากรจัดการเชิงประสิทธิภาพของงาน เป็นแนวคิดแบบโบราณดั่งเดิม เน้นเทคนิควิธีการทำงาน โดยเน้น 3 เรื่อง คือ การเพิ่มผลผลิต การพิจารณาธรรมชาติของมนุษย์ (เพื่อจูงใจให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมาย) การค้นหาวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ก่อให้เกิดการจัดการที่เด่น ๆ 3 แนวคิดคือ การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ เน้นศึกษาการทำงาน และการกำกับการดูแลผู้ทำงาน การจัดการเชิงบริหาร เน้นการจัดการของผู้บริหารโดยภาพรวมและการจัดโครงสร้างที่ดี การจัดการระบบราชการ เน้นศึกษาถึงระบบโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะ องค์กรขนาดใหญ่
แนวคิดหลักการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ มุ่งเน้นประสิทธิภาพในปัจจัยที่เกี่ยวกับคนเป็นหลัก people-oriented เน้นการจูงใจคนมากกว่า มีการศึกษาและเกิดหลักการจัดการที่เด่น ๆ ดังนี้ เกิดจิตวิทยาอุตสาหกรรม – Hugo Miinsterberg ศึกษาองค์ประกอบ 3 เรื่องคือ สภาพจิตใจที่ดีทีสุดของคนทำงาน ให้ทำงานในตำแหน่งที่เหมาะสม ภายใต้องค์การที่มีอิทธิพลพอต่อการช่วยให้สามารถปฏิบัติภาระกิจได้ บรรลุผล การศึกษาที่ฮอว์ธอร์น - เป็นการศึกษา ผลกระทบของสภาวะแวดล้อม ที่มีผลต่อผลผลิตของพนักงาน จากการศึกษาทำให้เกิดแนวคิดการ จัดการเชิงด้านพฤติกรรมศาสตร์ขึ้น
แนวคิดหลักการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ การจัดการในระบบสังคม - มุ่งเน้นศึกษาถึงพฤติกรรมของคนต่อกลุ่ม รวมถึงผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อการทำงาน แนวคิดมนุษย์สัมพันธ์ - ผลการศึกษาที่ฮอว์ธอร์น ก่อนให้เกิดแนวคิด ถึงการเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมด้านการจัดการ หลักศีลธรรม และ ผลผลิต ก่อนให้เกิดทฤษฎี ของดักลาส แมคเกรอเกอร์ (X-Y theory) อับราฮัม มาสโลว์ (hierarchy of needs theory)
แนวคิดหลักการจัดการเชิงปริมาณ เน้นการนำเทคนิคทางคณิตศาสต์ เครื่องมือสถิติ และข้อมูล มาใช้เพื่อการตัดสินใจทางบริหาร เกิดเป็นการบริหารในเชิงวิทยาการจัดการ หรือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ จุดกำเนิดมาจาการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่เกี่ยวกับการทหาร รูปแบบกระบวนการบริหาร เฝ้าสังเกต การวิเคราะห์ ตัวแปร เทคนิคและเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โปรแปรมเชิงเส้นตรงและไม่ใช่เส้นตรง การวิเคราะห์เครือข่าย ทฤษฎีการเรียงลำดับ แคลคูลัส ความน่าจะเป็น ฯลฯ
แนวคิดหลักการจัดการเชิงปริมาณ ลักษณะที่สำคัญของการบริหาร เน้นการตัดสินใจเพื่อใช้ประโยชน์ทางการบริหาร ยึดหลักเศรษฐศาสตร์เป็นมาตรฐานในการตัดสินใจ วิเคราะห์ใช้สูตร ประมวลผลข้อมูลโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อจำกัดของการบริหาร ไม่คำนึงถึงปัจจัยคุณภาพ ไม่นำพฤติกรรมมนุษย์เข้ามาพิจารณา มีค่าใช้จ่ายสูง ต้องอาศัยสมมติฐาน
แนวคิดหลักการจัดการสมัยปัจจุบัน เน้นประสิทธิภาพ ภายใต้การจัดการที่ใส่ใจในพฤติกรรมของมนุษย์ โดย อาศัยเทคโนโลยีเข้าช่วย เกิดแนวคิดการจัดการที่สำคัญได้แก่ แนวคิดการจัดการเชิงระบบ องค์กรมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และ มีความซับซ้อน มีขั้นตอนการจัดการ โดยมี 4 ส่วนที่เป็นองค์ประกอบ ร่วมกันดังภาพ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการแปรสภาพ ผลผลิต การป้อนกลับ
แนวคิดการจัดการตามสถานการณ์ ให้หลักการว่า ไม่มีวิธีการใดดีที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม แนวคิดนี้เป็นแนวคิด ที่เน้นความยืดหยุ่น และการปรับตัว มุ่งให้ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อม (คล้ายการจัดการเชิงระบบ) รูปแบบแนวคิดมีดังภาพ การลองผิดลองถูก การจัดการแบบวิทยาศาสตร์ การจัดการเชิงพฤติกรรม หลักการจัดการตามสถานการณ์ การจัดการเชิงวิทยาการจัดการ การจัดการเชิงระบบ
แนวคิดหลักการจัดการสมัยปัจจุบัน แนวคิดการจัดการยุคศตวรรษที่ 21 - เน้นคุณภาพ เพื่อการแข่งขัน โดยพึ่งสารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพ - แนวทางการจัดการ 1. การควบคุมคุณภาพ โดยมีเทคนิคต่าง ๆ ได้แก่ ISO ,TQM , BSC,Kaizen, Benchmarking, Six Sigma ฯลฯ 2. การออกแบบองค์การ และการจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ โดยมีหลักการ คือ มีความยืดหยุ่น พนักงานไม่มาก นอกจากนี้ ในยุคปัจจุบัน ยังมีหลักการจัดการโดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เป็นเครื่องมือ ได้แก่ เทคนิคได้แก่ Re-engineering , Dynamic, Downsizing ,KPI เป็นต้น