ข้อควรทราบพิเศษ กล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อหัวใจถูกควบคุมด้วยระบบประสาทอัตโนวัติ จึงสามารถทำงานอยู่นอกอำนาจจิตใจ (Involuntary system) ยิ่งกว่านั้นกล้ามเนื้อทั้ง.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
รู้จักกับเทคโนโลยี RFID เบื้องต้น
Advertisements

Electromyography (EMG) and Skeletal muscle contraction
การกำหนด ลักษณะตาราง ง การเขียน เว็บไซต์สไตล์ ป. พ. ศูนย์คอมพิวเตอร์ โรงเรียนปลวกแดง พิทยาคม.
Proficiency testing 2009 Microbiology Chemical Environmental Physical Calibration.
Principles of Communications Chapter 5 Communication Media
Communication Systems II: เลือก Protocol อย่างไร ให้เหมาะกับงาน CPE 315: Digital System Design.
Baannada.com คำตรงกันข้าม. Baannada.com หนา Baannada.com บาง.
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต. วิดีโอ เท้าเทียม (Pseudopodium)
Basic and Metabolism of Protein Donrawee Leelarungrayub (BSc, PT), (Ph.D. Biochem) Department of Physical Therapy Faculty of Associated Medical Sciences.
ประธานกลุ่ม:พ.อ.กิตติศักดิ์ ดวงกลาง สมาชิก:ผู้แทนจาก สขว.กอ.รมน., ศปป.1 กอ.รมน., ศปป.6 กอ.รมน., กอ.รมน.ภาค 2, กอ.รมน.จังหวัด ก.ส., ข.ก., บ.ก., น.ค., ล.ย.,
1 การวิเคราะห์ข้อมูล เขตพัฒนาเศรษฐกิจ พิเศษนครพนม.
การบริหารโครงการ (project management) ผู้บริหารโครงการและทีมงาน พ. อ. หญิง อโณมา คงตะแบก กองวิชากฎหมายและสังคมศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.
ความก้าวหน้าการพัฒนากฎหมาย ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมอนามัย
บทที่ 7 การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต
รศ.ชูศรี เที้ยศิริเพชร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พื้นฐานการเขียนแบบทางวิศวกรรม
โดย อาจารย์วิภาดา ศรีเจริญ
บทที่ 4 หน่วยของสิ่งมีชีวิต.
Dark-light adaptation
บทที่ 13 การสังเคราะห์ด้วยแสง
ระบบโทรคมนาคม สำหรับการจัดการซัพพลายเชน
ด้านการสื่อสาร และประชาสัมพันธ์
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
ส่วนประกอบและการทำงาน ของรถแทรกเตอร์
สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง
บทที่ 8 การรับรู้และการตอบสนอง
สินค้าและบริการ.
เซลล์และองค์ประกอบของเซลล์ (Cell and Cell Compositions)
บทที่ 1 อยู่ดีมีสุข.
เซลล์และองค์ประกอบสำคัญของเซลล์
อ.ธนวัฒน์ ชัยพงศ์พัชรา วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง Sufficiency Economy
การเบิก-จ่ายเงินอย่างมืออาชีพ
Cassava Family: Euphorbiaceae (พืชมีน้ำยาง)
โครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรกรรมยั่งยืน ปี 2560
ดร. ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรม (Social & Culture Change)
พระเจ้าต้องการความช่วยเหลือของท่าน ตอนที่ 1
การจดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499
โภชนาการ เด็กวัยเรียน สิรภัทร สาระรักษ์ ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี
ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน
การเขียนรูปทรงเรขาคณิต
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
แบบมาตรฐานระบบบำบัดน้ำเสียแบบได้ก๊าซชีวภาพ สำหรับฟาร์มสุกร
ออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มรอบ
ฟิสิกส์ ว ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5
การตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยโรคมาลาเรีย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ทาง DNA ในเชิงนิติวิทยาศาสตร์
LIPID METABOLISM อ. ชัยวัฒน์ วามวรรัตน์ - KETOGENESIS
CARBOHYDRATE METABOLISM
OXIDATIVE PHOSPHORYLATION
นวัตกรรม ป้ายต้องตา เตือนใจ.
พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ
ตัวต้านทานไฟฟ้า (Resistor)
1. ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) :-
Muscular tissue = เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ
คะแนนประเมินตามระบบ SEPA
การประสานงาน การแก้ปัญหาในการทำงาน โดยใช้ไลน์กลุ่ม social media
การตรวจวินิจฉัยชนิด และการนับเชื้อมาลาเรีย
การดำเนินงานเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี
THE HEART 1. เป็นก้อนกล้ามเนื้อเป็นโพรงข้างในมี 4 ช่อง ขนาดกำปั้นมือ ตั้งอยู่ใน Pericardial sac , Posterior ต่อ Sternum , เอียงซ้าย Apex อยู่ส่วนล่าง.
ผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพปี 59ซึ่งเราจะทำการสำรวจปีละ 1 ครั้ง ในเดือน มิ.ย. – ส.ค. ของทุกปี ข้อมูลนี้จะเป็นข้อมูล base line ในปีงบ 60 และในเดือนธันวาคมนี้จะมีการปรับมาตรฐานผู้ทำการสำรวจเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน.
กองการเงินและบัญชี กรมชลประทาน
การลัดวงจรในระบบไฟฟ้ากำลัง Fault in Power System
ประเด็นการขับเคลื่อนองค์การไปสู่ระบบราชการ 4.0
ทัศนธาตุและหลักการออกแบบ
เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย
สังคมและการเมือง : Social and Politics
สังคมและการเมือง : Social and Politics
2 ปีแห่งการพัฒนาสหกรณ์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ข้อควรทราบพิเศษ กล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อหัวใจถูกควบคุมด้วยระบบประสาทอัตโนวัติ จึงสามารถทำงานอยู่นอกอำนาจจิตใจ (Involuntary system) ยิ่งกว่านั้นกล้ามเนื้อทั้ง 2 ชนิดนี้ยังหดตัวได้โดยไม่ต้องอาศัยการกระตุ้นของเส้นประสาทเลย จึงแม้จะตัดเส้นประสาทที่เลี้ยงหัวใจและทางเดินอาหารออก อวัยวะทั้งสองยังคงทำงานได้ตามปกติดังเช่นที่พบในคนเป็นอัมพาตหรือเจ้าชาย-เจ้าหญิงนิทรา ส่วนเส้นประสาทซึ่งเลี้ยงกล้ามเนื้อลายที่ยึดกับกระดูกหากทำงานไม่ได้กล้ามเนื้อชุดนั้นจะอ่อนเปลี้ยไปเลย สำหรับกล้ามเนื้อของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังส่วนใหญ่เป็นกล้ามเนื้อเรียบ แต่แมลงกลับมีกล้ามเนื้อลายล้วนๆ แม้กระทั่งอวัยวะภายใน

โครงสร้างและส่วนประกอบของกล้ามเนื้อลาย  กล้ามเนื้อลายเป็นกล้ามเนื้อที่มีการจัดตัวของเส้นใยแอกตินและไมโอซินอย่างมีระเบียบ ซึ่งทำให้เกิดเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วและแรง แต่ทำงานโดยมีการควบคุมอย่างละเอียดอ่อน เซลล์กล้ามเนื้อลายแต่ละเซลล์ประกอบด้วยโครงสร้าง รูปทรงกระบอกขนาดเล็กและยาว จำนวนเป็นหมื่นๆอันรวมกันอยู่เป็นมัด โครงสร้างนี้เรียกเส้นใยฝอย หรือไมโอไฟบริล (myofibril)  เส้นไมโอไฟบริลแต่ละเส้นจะยาวตลอดเซลล์กล้ามเนื้อ โดยมีส่วนไซโทพลาซึมของเซลล์ล้อมรอบแยกแต่ละไมโอไฟบริลออกจากกัน

 ภายในไซโทพลาซึมของเซลล์กล้ามเนื้อ ซึ่งเรียกว่า ซาร์โคพลาซึม (sarcoplasm) จะมีไมโทคอนเดรีย ไกลโคเจน ไขมัน และระบบท่อที่ซับซ้อนหุ้มอยู่รอบไมโอไฟบริล ระบบท่อนี้เปลี่ยนแปลงมาจากเอนโดพลาสมิกเรติคิวลัม จึงเรียกว่า ซาร์โคพลาสมิก เรติคิวลัม (sarcoplasmic reticulum)  ในแต่ละเส้นของไมโอไฟบริล จะประกอบด้วยเส้นใยเล็กๆ เรียกไมโอฟิลาเมนต์ (myofilament) ซึ่งเมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนจะเห็นส่วนประกอบที่ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อนี้ลาย อย่างชัดเจน และจะมีลายซ้ำๆ กันเป็นช่วงๆ โดยมีเส้นสีดำ เรียกว่า Z-line คั่นแต่ละช่องของไมโอไฟบริลนี้คือจาก Z-line หนึ่งถึงอีก Z-line หนึ่งเรียกว่า ซาร์โคเมียร์ (sarcomere)

 ภายในแต่ละซาร์โคเมียร์จะมีบริเวณสีเข้มสลับกับสีอ่อน ซึ่งเกิดจากการอยู่เหลื่อมกันของโครงสร้างที่เป็นเส้น 2 ขนาด ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของซาร์โคเมียร์ คือเส้นบาง (thin filament) ซึ่งมีโปรตีนแอกติน (actin) เป็นส่วนประกอบหลักและเส้นหนา (thick filament) ซึ่งมีโปรตีนไมโอซิน (myosin) เป็นองค์ประกอบหลัก

โครงสร้างที่เป็นเส้นบางมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7-8 นาโนเมตรเชื่อมติดอยู่กับ Z-line แต่ละข้างและยื่นเข้ามาส่วนกลางของซาร์โคเมียร์และเหลื่อมกับโครงสร้างเส้นหนาซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 นาโนเมตร ยาว 1.6 ไมโครเมตร ที่อยู่บริเวณส่วนของซาร์โคเมียร์ ทำให้เกิดบริเวณต่างๆ กัน คือ บริเวณสีอ่อนถัดจาก Z-line เข้ามาเรียก I-band เป็นบริเวณที่มีเฉพาะเส้นบางอยู่, บริเวณสีเข้มระหว่าง I-band เรียกว่า A-band มีความกว้างเท่ากับความยาวของเส้นหนา (1.6 ไมโครเมตร) บริเวณกลางของ A-band จะมีบริเวณสีอ่อนเรียก H-band ซึ่งมีเฉพาะเส้นหนาอยู่, ส่วนของ A-band ที่อยู่สองข้างของ H-band เป็นสีเข้มเฉพาะเป็นบริเวณที่มีเส้นหนากับเส้นบางอยู่ด้วยกัน

กล้ามเนื้อแต่ละมัดประกอบด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อ (Muscle fiber) หรือเซลล์กล้ามเนื้ออยู่มากแต่ละเซลล์มีโปรตีนแอกติน (Actin) กับโปรตีนไมโอซินเรียงกันเป็นเส้นใย เรียกว่า ไมโอฟิลาเมนต์ (Myofilament)

ถ้าตัดตามขวางของไมโอไฟบริลของสัตว์มีกระดูกสันหลังบริเวณที่มีเส้นบางอยู่ด้วยกันจะพบการเรียงตัวอย่างมีระเบียบโดยมีเส้นบางของแอกติน 6 เส้น ล้อมรอบ เส้นหนาของไมโอซิน 1 เส้นใหญ่กว่าล้อมรอบเช่นเดียวกัน การเรียงตัวเป็นรูป 6 เหลี่ยม 2 ชั้นนี้เรียกว่า double hexagon

ไมโอซิน (Myosin) ไมโอซิน เป็นโปรตีนที่แต่ละโมเลกุลจะมีลักษณะเป็นเส้นยาว ประกอบด้วยสายพอลิเพปไทด์ 2 เส้นที่เหมือนกันพันกันอยู่ไมโอซินจำนวนหลายร้อยโมเลกุลจะรวมกันเป็นเส้นหนา (thick filament หรือ thick myofilament) แต่ละเส้นของไมโอซิน ส่วน 15% ที่เหลือเป็นโปรตีนอื่นๆ หลายชนิดคือ paramyosin, M-protein, Myosin light chain

แอกติน (Actin) แอกติน เป็นโปรตีนรูปร่างเป็นก้อนกลม ประกอบด้วย พอลิเพปไทด์เส้นเดียว แอกตินเป็นส่วนประกอบของเส้นบาง (thin filament หรือ thin myofilament) แอกตินมีสมบัติเฉพาะที่แตกต่างจากโปรตีนอื่นๆ ภายในเซลล์หลายอย่าง เช่นมีตำแหน่งสำหรับให้ ATP และไมโอซินมาเกาะ โปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของเส้นบาง นอกจากแอกตินแล้ว ยังมีโปรตีนอีกหลายชนิด แต่มี 2 ชนิดที่มีอยู่ในอัตราส่วนที่แน่นอนคือ โทรโปนิน (troponin) และโทรโปไมโอซิน (tropomyosin) โดยจะมี 1 โทรโปนิน และ 1 โทรโปไมโอซิน ต่อ 7 โมเลกุลของแอกติน นอกจากนี้เส้นบางยังมีโปรตีนอัลฟาแอกตินิน (-actinin) ทำหน้าที่เชื่อมเส้นแอกตินให้ติดกับ Z-line

3.3 การทำงานของกล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อทุกชนิดที่กล่าวมานี้มีความสามารถในการหดตัวให้สั้นลงเมื่อถูกกระตุ้น ซึ่งการกระตุ้นจะไปถึงใยกล้ามเนื้อได้โดยเส้นประสาทเป็นผู้นำไป แต่ในกล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อเรียบสามารถหดตัวให้โดยไม่ต้องอาศัยการกระตุ้นและการนำไปของเส้นประสาทเลย โดยถ้าเราตัดเส้นประสาทที่มาเลี้ยงทางเดินอาหารออกอวัยวะนั้นก็คงทำงานได้ แต่ถ้าเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อลายหยุดทำงาน จะทำให้กล้ามเนื้อลายนั้นอ่อนเปรี้ยลงไป

3.4 กลไกการหดตัวของกล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของกระดูกหรืออวัยวะได้ด้วยการหดตัว (contraction) การหดตัวของมัดกล้ามเนื้อเกิดจากการหดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อ การหดตัวของกล้ามเนื้อก็เกิดจากการเลื่อนตัวของไมโอฟิลาเมนต์ซึ่งทำให้เกิดการหดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อ คือ ซาร์โคเมียร์นั่นเอง กล่าวคือ เมื่อกล้ามเนื้อหดตัวความกว้างของ A-band (ความยาวของไมโอซิน) จะเท่าเดิมในขณะที่ H-band และ I-band จะแคบลงมากน้อยตามการหดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อมากหรือน้อย ถ้ากล้ามเนื้อหดตัวมากๆ อาจทำให้ทั้ง H-band และ I-band หายไปหมดก็ได้ การหดตัวนี้ทำให้ระยะระหว่าง Z-line หนึ่งถึงอีก Z-line หนึ่งหรือแต่ละ ซาร์โคเมียร์สั้นลง

Huxley และ คณะ (1954) ได้เสนอกลไกการหดตัวของกล้ามเนื้อว่า การหดตัวของกล้ามเนื้อไม่ได้เกิดจากการหดตัวของแอกติน หรือไมโอซินที่เป็นส่วนประกอบของซาร์โคเมียร์ แต่เกิดจากการเลื่อนของเส้นแอกติน (เส้นบาง) ไปในทิศทางเข้าหาจุดกลางของซาร์โคเมียร์ ทำให้มีการเหลื่อมกันระหว่างเส้นบางแอกติน กับเส้นหน้าไมโอซินมากขึ้น ซึ่งต่อมากลายเป็นทฤษฎี เรียกว่า sliding – filament theory หลักฐานต่างๆ สนับสนุนข้อเสนอกลไกนี้มากขึ้น ตามลำดับ

กลไกการควบคุมกล้ามเนื้อ กลไกการหดตัวของกล้ามเนื้อดังกล่าวจะต้องมีระบบควบคุมอย่างดี จึงจะสามารถควบคุมให้กล้ามเนื้อหดตัวและคลายตัวได้อย่างถูกต้องตามความต้องการของร่างกาย จากการศึกษาของ Huxley และคณะพบว่ากุญแจสำคัญของระบบควบคุมคือ โปรตีน 2 ชนิดที่อยู่กับแอกตินในเส้นบางชื่อโทรโปรนินและโทรโปไมโอซิน สำหรับโทรโปนินประกอบด้วยหน่วยย่อย 3 หน่วย หน่วยหนึ่งเรียก โทรโปนิน ซี (Tn.C) มีตำแหน่งที่จะรวมกับแคลเซียมอิออน (Ca2+) รวม 4 ตำแหน่งด้วยกัน ติดอยู่กับหน่วยที่สองและสามที่เรียกว่า โทรโปรนินที่ (Tn.T) และโทรโปนินไอ (Tn.I) หน่วยที่สองและสามนี้ติดอยู่กับเส้นโทรโปไมโอซิน

ในภาพที่กล้ามเนื้อคลายตัว (relaxed) ความเข้มข้นของ Ca2+ ในไมโอไฟบริลจะต่ำกว่า 10–8 โมลาร์ โทรโปนิน ซี ไม่สามารถจับกับ Ca2+ ได้ ทำให้จับอยู่กับโทรโปนินทีและ โทรโปนินไออย่างหลวมๆ ถ้าความเข้มข้นของ Ca2+ สูงขึ้น Ca2+ จะจับกับโทรโปนินซี (Tn.C = โทรโปนินที่จับกับ Ca2+ ) ทำให้จับตัวกับโทรโปนินที และไอ แน่นขึ้น ดึงโทรโปนินไอให้ห่างเส้นโทรโปไมโอซินมากขึ้น ทำให้เส้นโทรโปไมโอซินฝังลึกลงไปในร่องของเส้นแอกตินมากขึ้นและเปิดตำแหน่งบนเส้นแอกตินให้หัวไมโอซินเกาะได้การหดตัวจึงเกิดขึ้น

สรุป เกี่ยวกับการหดตัวของกล้ามเนื้อและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง สรุป เกี่ยวกับการหดตัวของกล้ามเนื้อและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 1. การหดตัวของกล้ามเนื้อเกิดขึ้นจากการที่เส้นบางแอกตินในซาร์โคเมียร์เลื่อนเข้าหากันโดยได้พลังงานมาจากการแยกสลาย ของ ATP ที่ส่วนของเส้นหนา (ไมโอซิน) ซึ่งเอนไซม์ AT Pase ของไมโอซินเร่งปฏิกิริยา กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อมี Ma2+ และ Ca2+ อยู่ในความเข้มข้นพอเหมาะ ถ้ามีไม่มี Ca2+ ใยกล้ามเนื้อ จะอยู่ในสภาพคลายตัว (relaxed) และแทบจะไม่มีการแยกสลายของ ATP เกิดขึ้นเลย แต่ถ้าใส่ Ca2+ ลงไปเพียงเล็กน้อย (ประมาณ 10 – 5 M) เส้นใยของกล้ามเนื้อจะหดตัวอย่างรวดเร็วพร้อมกับการแยกสลาย ของ ATP

2. ความเข้มข้นของ Ca2+ เป็นตัวควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อที่สำคัญมา กล้ามเนื้อที่มีชีวิตจะทำงานได้อย่างรวดเร็วเมื่อได้รับคำสั่งจากระบบประสาทและเมื่อหมดคำสั่งแล้วก็จะต้องสามารถหยดทำงานได้อย่างรวดเร็วด้วย 3. ในเซลล์กล้ามเนื้อแต่ละเส้นมีไมโอโฟบริลอยู่มากมาย ซึ่งจะต้องทำงานพร้อมๆ กัน เมื่อได้รับคำสั่ง การทำงานโดยมีประสิทธิภาพและพร้อมเพรียงกันเช่นนี้เกิดขึ้นได้โดยเซลล์กล้ามเนื้อมีระบบซาร์โคพลาสมิกเรติคิวลัม (sacroplasmic reticulum) ซึ่งมีท่อเล็กๆ (tubule) วิ่งตามขวางผ่านไมโอโฟบริลทุกเส้นติดต่อกับไมโอไฟบริลทุกเส้นอย่างใกล้ชิดเหล่านี้ทำหน้าที่ดูด (pump) และปล่อย Ca2+ เพื่อควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ

เมื่อกล้ามเนื้ออยู่สภาพพัก ซาร์โคพลาสมิกเรติคิวลัมจะดูด Ca2+ เข้าอยู่ตลอดเวลาโดยกระบวนการแอกติฟทรานสปอร์ต ซึ่งต้องได้รับพลังงานจาก ATP และต้องทำให้ความเข้มข้นของ Ca2+ ภายในเส้นใยน้อยกว่า 10–8 M เมื่อกล้ามเนื้อได้รับคำสั่งจากระบบประสาทให้ทำงานซาร์โคพลาสมิกเรติคิวลัมจะปล่อย Ca2+ ออกมาอย่างรวดเร็ว (ภายใน 1-2 มิลลิวินาที) และเมื่อกล้ามเนื้อทำงานเสร็จแล้ว ซาร์โคพลาสมิก เรติคิวลัม จะดูด Ca2+ กลับเข้าไปเช่นเดิม