งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ส่วนประกอบและการทำงาน ของรถแทรกเตอร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ส่วนประกอบและการทำงาน ของรถแทรกเตอร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ส่วนประกอบและการทำงาน ของรถแทรกเตอร์

2 การที่จะใช้งานรถแทรกเตอร์ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และเกิดความปลอดภัยในการทำงาน สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง คือ ผู้ใช้รถแทรกเตอร์ทุกคนต้องรู้จักส่วนประกอบและหน้าที่ต่าง ๆ ของส่วนประกอบรถแทรกเตอร์เป็นอย่างดี เพราะถ้าผู้ใช้รถไม่รู้จักส่วนประกอบและหน้าที่การทำงานของส่วนประกอบเหล่านั้น อาจก่อให้เกิดอันตรายและใช้งานรถแทรกเตอร์ ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

3 เครื่องยนต์ (Engine) หมายถึง เครื่องจักรกลหรือเครื่องมือกลที่สามารถเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกล เครื่องยนต์ที่ติดตั้งบนรถแทรกเตอร์เป็นเครื่องยนต์ดีเซลเผาไหม้ภายใน 4 จังหวะ ชนิดระบายความร้อนด้วยน้ำ จำนวนตั้งแต่ 1 สูบ ถึง 6 สูบ มีขนาดตั้งแต่ 15 แรงม้า ถึง 80 แรงม้าหรือมากกว่า

4 ลักษณะเครื่องยนต์ดีเซล 6 สูบ 4 จังหวะ ชนิด
ระบายความร้อนด้วยน้ำที่ใช้ในรถแทรกเตอร์ทั่วไป

5

6 2. คลัตช์ (Clutch) ทำหน้าที่ตัด-ต่อการส่งกำลังระหว่างเครื่องยนต์ไปเกียร์หรือเครื่องส่งกำลัง โดยคลัตช์ที่ใช้ในรถแทรกเตอร์เป็นแบบคลัตช์แผ่นมี 2 แบบคือ คลัตช์แบบแห้ง แบบแผ่นเดียว นิยมใช้กับรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ส่วนแบบหลายแผ่นนิยมใช้กับรถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ คลัตช์แบบเปียก มีทั้งระบบแช่ในน้ำมันหรือแบบน้ำมันฉีดเข้า นิยมใช้กับรถแทรกเตอร์ที่มีขนาดใหญ่มาก

7 หลักการทำงานของคลัตช์ คือ เมื่อเหยียบแป้นคลัตช์แรงกดที่ได้รับจะถูกส่งผ่านไปยังสปริงกดคลัตช์ทำให้สปริงหดตัว แผ่นคลัตช์จะถูกดึงแยกออกจากล้อช่วยแรงของเครื่องยนต์ เป็นการตัดกำลังที่ส่งไปยังเกียร์ และเมื่อปล่อยเท้าที่เหยียบแป้นคลัตช์สปริงกดคลัตช์จะดันแผ่นคลัตช์ให้ติดกับล้อช่วยแรงสามารถรับกำลังส่งไปยังเกียร์ได้

8

9

10

11

12 3. เกียร์ หรือเครื่องส่งกำลัง (Gear box) ทำหน้าที่ทำให้เครื่องยนต์สามารถใช้กำลังงานที่ผลิตออกมาได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการใช้งาน สามารถเลือกเปลี่ยนความเร็วของรถได้เหมาะสมกับความเร็วของเครื่อง และทำให้รถแทรกเตอร์เคลื่อนที่ถอยหลังได้มี 2 แบบ คือ - แบบสไลดิ้งเกียร์ (Sliding gear) มีเฟืองตรงติดตั้งในแต่ละเพลา เป็นลักษณะที่เฟืองเข้าขบหรือประสานกัน เพื่อประโยชน์ในการเปลี่ยนความเร็ว หรือทำให้รถแทรกเตอร์เคลื่อนที่ถอยหลังได้ ส่วนมากใช้กับรถแทรกเตอร์ขนาดเล็กหรือรถแทรกเตอร์ตีนตะขาบ (ปัจจุบันไม่นิยมใช้) - แบบคอนสแตนต์เมช (Constant mesh) เป็นแบบเฟืองที่ขบประสานกันตลอดเวลา นิยมใช้แบบเฟืองเฉียง นิยมใช้กับรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในปัจจุบัน

13 Sliding gearbox

14 Constant mesh gearbox

15 4. เฟืองท้าย (Differential) ทำหน้าที่ถ่ายทอดกำลังงานที่ได้รับจากเกียร์และส่งกำลังไปยังเฟืองขับท้าย เพื่อส่งกำลังต่อไปยังเฟืองขับชุดสุดท้าย นอกจากนั้นยังทำให้ล้อทั้งสองข้างหมุนด้วยความเร็วที่ต่างกันในขณะเลี้ยว

16 5. ชุดขับสุดท้ายหรือเฟืองขับท้าย(Final drive) ทำหน้าที่ลดความเร็วและเพิ่มแรงบิดให้กับล้อขับส่งแรงไปขับล้อ ที่ใช้เป็นแบบเฟืองทด กับแบบเพลนเนตตารี่ แต่ที่นิยมใช้กับรถแทรกเตอร์ในปัจจุบันเป็นแบบเพลนเนตตารี่ เพราะช่วยให้ช่วงว่างระหว่างท้องรถแทรกเตอร์กับพื้นดินมีมากขึ้น มีความแข็งแรงสูง

17 Final drive สำหรับรถยนต์ทั่วไป

18 Final Drive

19 แพลนเนตตารี่เกียร์

20 5. ชุดขับสุดท้ายหรือเฟืองขับท้าย (Final drive) ทำหน้าที่ลดความเร็วและเพิ่มแรงบิดให้กับล้อขับส่งแรงไปขับล้อ ที่ใช้เป็นแบบเฟืองทด กับแบบเพลนเนตตารี่ แต่ที่นิยมใช้กับ รถแทรกเตอร์ในปัจจุบันเป็นแบบเพลนเนตตารี่ เพราะช่วยให้ช่วงว่างระหว่างท้องรถแทรกเตอร์กับพื้นดินมีมากขึ้น มีความแข็งแรงสูง

21 6. ระบบไฮดรอลิก(Hydraulic system) ทำหน้าที่ผ่อนแรงในการทำงานของอุปกรณ์รถแทรกเตอร์ เช่น ในการบังคับเลี้ยวของพวงมาลัย และยังช่วยผ่อนแรงคันบังคับไฮดรอลิก ในการยก-วางอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ที่นิยมใช้เป็นแบบปิดที่ศูนย์กลาง เพราะสามารถใช้ระบบไฮดรอลิกทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน นอกจากนั้นยังสามารถใช้ประโยชน์จากแรงดันที่เหลือไว้ภายในระบบมาควบคุมอุปกรณ์เครื่องมือทุ่นแรงต่าง ๆ และควบคุมตัวรถได้ จึงทำให้เกิดความปลอดภัยแม้เครื่องยนต์รถแทรกเตอร์จะดับก็ตาม

22 ระบบไฮดรอลิก

23 7. พวงมาลัยหรือระบบบังคับเลี้ยว ทำหน้าที่บังคับทิศทางการเคลื่อนที่ของล้อหน้าโดยส่งกำลังผ่านคันชักและคันส่ง มีทั้งแบบธรรมดาที่ใช้ในรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก และแบบเพาเวอร์ ที่ใช้กับรถแทรกเตอร์ขนาดกลางและขนาดใหญ่ ซึ่งใช้น้ำมันไฮดรอลิกที่มีแรงดันมาช่วยผ่อนแรงในการหันเลี้ยว

24

25

26 ระบบเบรกที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 แบบ คือ
8. ระบบห้ามล้อหรือระบบเบรก (Brake system) ทำหน้าที่ลดความเร็วในการเคลื่อนที่ของรถ และหยุดรถ ระบบเบรกที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 แบบ คือ

27 - แบบดุม (Drum Brake)ที่มีก้ามเบรกและส่วนประกอบติดตั้งอยู่ภายในดุม เมื่อเหยียบเบรก ก้ามเบรกจะเบ่งตัวออกทำให้ผ้าเบรกที่ติดอยู่ที่ก้ามเบรกอัดตัวแน่นกับผิวภายในของดุมรถสามารถลดความเร็วลงและหยุดได้ นิยมใช้กับรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก

28 - แบบจาน (Disk Brake)การทำงานเกิดจากการอัดตัวเข้าด้วยกันของจานเบรกภายในชุดเบรก นิยมใช้กับรถแทรกเตอร์ขนาดกลางและขนาดใหญ่ มีทั้งชนิดที่ควบคุมการทำงานด้วยกลไกทางเมคแคนิค และชนิดควบคุมการทำงานด้วยระบบไฮดรอลิก โดยเบรกแต่ละข้างทำงานแยกเป็นอิสระต่อกัน สามารถที่ล๊อกเบรกเข้าด้วยกันเพื่อให้ทำงานพร้อมกันได้

29 9. คานลาก (Drawbars) เป็นจุดต่อพ่วงของรถแทรกเตอร์ที่ต่อเข้ากับเครื่องทุ่นแรงแบบต่าง ๆ เช่น รถพ่วง (Trailer) เครื่องปลูก ฯลฯ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ - คานลากแบบธรรมดา ที่สามารถเหวี่ยงตัวได้เล็กน้อยสามารถปรับได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน และยังสามารถร่นเข้าร่นออกจากท้ายรถแทรกเตอร์ได้ - แบบเหวี่ยงตัวได้กว้าง สามารถเหวี่ยงตามแนวนอนได้มากกว่าชนิดธรรมดา จึงช่วยในการการเลี้ยวของรถแทรกเตอร์สามารถทำได้ง่ายโดยเฉพาะเมื่อลากเครื่องมือทุ่นแรงที่มีขนาดใหญ่

30 คานลากแบบธรรมดา

31 คานลากแบบเหวี่ยงได้กว้าง

32 คานลากแบบเหวี่ยงได้กว้าง

33 10. ยาง (Tires) ทำหน้าที่ รับน้ำหนักของโครงสร้างรถให้มีแรงกดอัดตัวกับดินระดับตื้น ลดการสั่นสะเทือนจากการวิ่งบนพื้นที่ขรุขระ ช่วยเพิ่มแรงในการฉุดลากและการทรงตัวของรถในขณะเลี้ยวหรือเปลี่ยนทิศทาง โดยยางที่ใช้กับรถแทรกเตอร์ทั่วไปสามารถจำแนกได้ตามลักษณะของการใช้งาน คือ

34 - ยางที่ไม่ได้ทำหน้าที่ขับเคลื่อน เป็นยางที่ใช้ในการบังคับเลี้ยว เช่น ยางหน้าลักษณะยางมีสันดอกยางนูนขึ้นมาหนึ่งสันหรือมากกว่ารอบวงยาง ซึ่งดอกยางสันเดียวเหมาะสมหรับดินอ่อน และดอกยางหลายสันเหมาะกับงานที่ใช้ความเร็ว เช่น วิ่งบนถนน งานในสวนและงานก่อสร้าง - ยางขับเคลื่อน ลักษณะดอกยางจะเป็นรูปตัววี ส่วนแหลมตรงหน้ายางไม่ติดกัน โดยครีบดอกยางแต่ละด้านจะเรียงตัวเข้าหากันตรงกลางเป็นมุม 45 องศา ส่วนใหญ่เป็นยางล้อหลังของรถแทรกเตอร์ขับเคลื่อน 2 ล้อ และขับเคลื่อน 4 ล้อ

35

36 11. น้ำหนักถ่วง (Ballasts) ทำหน้าที่เพิ่มน้ำหนักให้กับรถ เพื่อความสมดุลให้กับการทำงานของรถแทรกเตอร์ในการทำงานและเพิ่มกำลังฉุดลาก นิยมใช้เป็นเหล็กติดตั้งที่กระทะล้อหลังหรือถ่วงด้านหน้าของรถ น้ำหนักถ่วง

37 12. แบตเตอรี่ (Battery) เป็นอุปกรณ์เคมีไฟฟ้า เก็บพลังงานในรูปของสารเคมี ซึ่งสามารถเปล่งพลังงาน ในรูปของกระแสไฟฟ้า ภายในหม้อแบตเตอรี่จะมีเซลล์ต่อกันเป็นห้อง เพื่อให้เกิดแรงดันไฟฟ้าสูงขึ้น แบตเตอรี่จะจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับระบบใช้ไฟต่าง ๆ ของรถแทรกเตอร์ เช่น ระบบสตาร์ต ระบบแสงสว่าง ระบบจุดระเบิด ฯลฯ

38 13. แป้นเหยียบอุปกรณ์ล็อกเฟืองท้าย ปกติจะติดตั้งอยู่ที่พื้นรถแทรกเตอร์ทางด้านใดด้านหนึ่ง บริเวณข้างที่นั่งพนักงานขับ การทำงานเมื่อถูกเหยียบหรือโยกคันบังคับไปอยู่ในตำแหน่งใช้งาน กลไกทางด้านเมคแคนิคส่งกำลังไปล็อกเฟืองท้ายทั้งสองข้างของล้อรถแทรกเตอร์ให้ติดกันเพื่อให้ล้อหลังรถสามารถเคลื่อนที่ไปพร้อม ๆ กันทำให้มีกำลังในการฉุดลากเท่ากันของล้อ หรือป้องกันการสูญเสียกำลังฉุดลากในการหมุนฟรีของล้อในกรณีที่ล้อรถแทรกเตอร์ด้านใดด้านหนึ่งหมุนฟรี

39 อุปกรณ์ล็อกเฟืองท้าย
ที่ต่อกับแป้นเหยียบ ร่องที่ตัวเรือน ร่องที่เพลา ปลอกเลื่อน อุปกรณ์ล็อกเฟืองท้าย

40 14. อุปกรณ์ควบคุมเครื่องมือทุ่นแรง ทำหน้าที่ ใช้ควบคุมในการยก-วางเครื่องมือทุ่นแรงที่ติดอยู่ด้านท้ายรถแทรกเตอร์ ประกอบด้วย (ก) คันควบคุมการทำงานของเพลายก ทำหน้าที่ยก แขนยกและแขนลากของที่ต่อพ่วงแบบ 3 จุดยกขึ้นลง เพื่อให้เครื่องทุ่นแรงทำงานในระดับความลึกที่ต้องการ โดยการเลื่อนคันควบคุมไปข้างหน้าหรือข้างหลังตามที่ต้องการ (ข) คันควบคุมความเร็วของเพลายก ทำหน้าที่ควบคุมความเร็วในการยกขึ้นหรือลงของเครื่องทุ่นแรง

41 อุปกรณ์ควบคุมเครื่องมือทุ่นแรง

42 (ค) คันควบคุมการลาก โดยทั่วไปมีตำแหน่งในการทำงาน 3 ตำแหน่ง คือ ตำแหน่งไม่อัตโนมัติ โดยการควบคุมการทำงานของความลึกเครื่องมือทุ่นแรงจะขึ้นอยู่กับคันควบคุมเพลายกเป็นเกณฑ์ ตำแหน่งอัตโนมัติ ความลึกในการทำงานของเครื่องทุ่นแรงจะขึ้นอยู่กับความแข็งของดินเป็นเกณฑ์ และตำแหน่งกึ่งอัตโนมัติ จะควบคุมความลึกการทำงานของเครื่องทุ่นแรงโดยจากตำแหน่งคันควบคุมเพลายกและความแข็งของดิน

43 15. ปุ่มดับเครื่อง ทำหน้าที่ ตัดน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งเข้าระบบการส่งน้ำมันไม่ให้ไปยังปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง และเมื่อต้องการสตาร์ตเครื่องยนต์อีก ก็ดันปุ่มดับเครื่องเข้าสู่ตำแหน่งเดิม ทั่วไปติดตั้งอยู่ทางด้านขวามือใต้คันเร่งมือ

44 16. แป้นเหยียบคลัตช์ ทำหน้าที่ รับแรงกดและส่งกำลังที่ไปยังแผ่นกดสปริงกดคลัตช์ภายในชุดคลัตช์ เพื่อตัด-ต่อกำลังระหว่างเครื่องยนต์กับเครื่องส่งกำลัง(เกียร์) ปกติติดตั้งอยู่ที่พื้นรถแทรกเตอร์ทางด้านซ้าย 17. แป้นเหยียบเบรก ทำหน้าที่ รับกำลังจากแรงกดโดยการใช้เท้าเหยียบ เพื่อส่งกำลังไปยังระบบเบรกที่ล้อทำให้ล้อหมุนช้าลงและหยุดการเคลื่อนที่ ปกติติดตั้งอยู่ที่พื้นรถแทรกเตอร์ ทางด้านขวา

45 คันเร่งมือ แป้นเหยียบเบรก แป้นเหยียบคลัตช์ คันเร่งเท้าเท้า

46 18. คันเร่งมือ ทำหน้าที่ เพิ่มหรือลดความเร็วรอบการทำงานของเครื่องยนต์ให้ทำงานคงที่ โดยทั่วไปติดตั้งอยู่กับแกนพวงมาลัย มีหลักการทำงาน คือ การใช้มือโยกคันเร่งลงด้านล่างเมื่อต้องการเพิ่มรอบความเร็วของเครื่องยนต์ และดันคันเร่งขึ้นด้านบนเมื่อต้องการลดรอบการทำงานของเครื่องยนต์ปกติ 19. คันเร่งเท้า ทำหน้าที่ เพิ่มหรือลดความเร็วรอบการทำงานของเครื่องยนต์ โดยทั่วไปติดตั้งอยู่พื้นรถแทรกเตอร์ทางด้านขวา สามารถใช้งานในกรณีต้องการเปลี่ยนแปลงความเร็วของรถอยู่เสมอ มีหลักการทำงาน คือเมื่อเหยียบคันเร่งรอบการทำงานของเครื่องยนต์จะสูงขึ้น และเมื่อผ่อนคันเร่งความเร็วรอบการทำงานของเครื่องยนต์ลดลง

47 20. สวิตท์สตาร์ต ทำหน้าที่ เชื่อมต่อระบบไฟฟ้ากระแสที่ได้รับจากแบตเตอรี่ไปยังมอเตอร์สตาร์ตเพื่อหมุนให้เครื่องยนต์เริ่มต้นทำงาน สวิตท์สตาร์ต

48 22. เพลาอำนวยกำลัง (Power take off หรือ PTO) ทำหน้าที่ส่ง กำลังขับที่ได้รับจากเฟืองท้ายไปยังเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ เช่น เครื่องตัดหญ้า เครื่องพ่นยา ฯลฯ ปัจจุบันที่นิยมใช้มี 2 แบบ คือ - แบบคลัตช์ร่วม ส่วนมากใช้กับรถแทรกเตอร์แบบที่เป็นคลัตช์คู่ ซึ่งประกอบด้วยคลัตช์ของเครื่องส่งกำลัง กับคลัตช์ของเพลาอำนวยกำลังอยู่ในชุดเดียวกัน โดยเมื่อเหยียบคลัตช์ในขั้นที่ 1 จะเป็นการปลดการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องยนต์กับเครื่องส่งกำลัง และเมื่อลงไปขั้นที่ 2 หรือจนสุดจะเชื่อมต่อระหว่างเครื่องยนต์ เครื่องส่งกำลัง และเพลาอำนวยกำลัง จะถูกปลดออก ทำให้รถแทรกเตอร์ และเพลาอำนวยกำลังหยุดการเคลื่อนที่ - แบบอิสระ จะประกอบด้วยคลัตช์ 2 ชุด คือ คลัตช์ของเครื่องส่งกำลัง 1 ชุด และคลัตช์ของเพลาอำนวยกำลัง 1 ชุด ทำให้สามารถทำงานแยกจากกันได้อย่างอิสระ จึงปลดหรือหยุดการทำงานของเพลาอำนวยกำลังได้ในรถแทรกเตอร์เคลื่อนที่

49

50 23. หม้อน้ำ ทำหน้าที่ เก็บน้ำที่ใช้ในการระบายความร้อนของเครื่องยนต์ และการระบายความร้อนของน้ำออกโดยการเป่าระบายความร้อนด้วยพัดลมระบายความร้อน

51

52 24. พัดลมหม้อน้ำ ทำหน้าที่ ระบายความร้อนให้กับระบบน้ำที่หมุนเวียนภายในหม้อน้ำ และช่วยระบายความร้อนให้กับเครื่องยนต์ 25. ท่อไอเสีย ทำหน้าที่ เป็นช่องทางให้ไอเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ออกจากเครื่องยนต์ 26. ก้านวัดน้ำมันเครื่อง ทำหน้าที่เป็นก้านเหล็กเสียบผ่านรูท่อลงไปในอ่างน้ำมันเครื่อง ใช้วัดระดับน้ำมันเครื่อง โดยดึงก้านวัดขึ้นมาจากรูท่อเครื่องยนต์ แล้วดูระดับน้ำมันที่ติดอยู่ที่ปลายก้านซึ่งมีขีดบอกระดับสูงสุดและต่ำสุดไว้ 27. ก้านวัดน้ำมันเกียร์ ทำหน้าที่ เป็นก้านเหล็กเสียบผ่านรูท่อลงไปในห้องเกียร์ใช้วัดระดับน้ำมันเกียร์ โดยดึงก้านวัดขึ้นมาจากรูท่อห้องเกียร์ แล้วดูระดับน้ำมันที่ติดอยู่ที่ปลายก้านซึ่งมีขีดบอกระดับสูงสุดและต่ำสุดไว้ ตะกุยในการฉุดลาก

53 28. ล้อหน้า ทำหน้าที่ รับน้ำหนักส่วนหน้าของรถแทรกเตอร์ และเคลื่อนไปตามทิศทางต่าง ๆ ตามการบังคับเลี้ยวของพวงมาลัย 29. ล้อหลัง ทำหน้าที่รับน้ำหนักส่วนท้ายของรถแทรกเตอร์และเพิ่มแรง 30. ที่นั่งคนขับ ทำหน้าที่ ผ่อนแรงกระแทกที่ได้รับจากการเคลื่อนของรถในขณะปฏิบัติงาน 31. บังโคลน ทำหน้าที่ ป้องกันเศษโคลน เศษไม้ที่ติดมากับล้อขณะเคลื่อนที่กระเด็นใส่คนขับ

54 ที่นั่งคนขับ ท่อไอเสีย บังโคลน ล้อหลัง ล้อหน้า

55 32. แขนกลาง ทำหน้าที่ ต่อพ่วงเข้าโครงสร้างของเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ ทางจุดต่อด้านบน
33. แขนลากซ้าย ทำหน้าที่ ต่อพ่วงเข้ากับเพลาขวางของเครื่องทุ่นแรงทางด้านซ้ายเพื่อเชื่อมต่อให้เครื่องทุ่นแรงติดกับรถแทรกเตอร์ 34. แขนลากขวาต่อพ่วงเข้ากับเพลาขวางของเครื่องทุ่นแรงทางด้านขวา เพื่อเชื่อมต่อให้เครื่องทุ่นแรงติดกับรถแทรกเตอร์ 35. ที่ปรับระดับแขนขวา ทำหน้าที่ ปรับระดับของแขนลากขวาให้มีความสูง หรือต่ำลงให้ตรงกับตำแหน่งของเพลาขวางเครื่องทุ่นแรง 36. โซ่ข้าง ทำหน้าที่ ยึดแขนลากของรถแทรกเตอร์ที่ต่อเข้ากับเครื่องทุ่นแรง ให้มีความมั่นคงมากขึ้นในขณะเคลื่อนย้าย

56 แขนกลาง เพลาอำนวยกำลัง คานลาก แขนลากซ้าย

57 37. คันส่ง ทำหน้าที่ รับกำลังจากคันชัก ไปบังคับการเปลี่ยนทิศทางการเลี้ยวของล้อหน้า
38. คันชัก ทำหน้าที่ รับกำลังจากการหมุนของพ่วงมาลัยส่งต่อไปยังคันส่ง 39. น็อตถ่ายน้ำมันเครื่อง เป็นจุดมีไว้สำหรับถ่ายน้ำมันเครื่องจากเครื่องยนต์ติดตั้งอยู่บริเวณใต้อ่างน้ำมันเครื่อง 40. น็อตถ่ายน้ำมันเกียร์ เป็นจุดที่มีไว้สำหรับถ่ายน้ำมันเกียร์ออกจากห้องเกียร์ติดตั้งอยู่บริเวณใต้ห้องเกียร์หรือห้องเฟืองเกียร์

58

59

60

61 41. หม้อกรองน้ำมันเครื่อง (Oil filter)เป็นหม้อกรองใช้กรองสิ่งสกปรก ฝุ่น ผงออกจากน้ำมันเครื่อง โดยใช้วัสดุพรุนประเภทสารสังเคราะห์เซรามิก หรือกระดาษ เพื่อกันฝุ่น ผงไม่ให้ผ่านไป ทำให้น้ำมันเครื่องที่ไปหล่อลื่นเครื่องยนต์สะอาดขึ้น 42. ปั๊มแรงดันสูง(ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง) ทำหน้าที่ เพิ่มแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงส่งไปยังหัวฉีด 43. กรองน้ำมันไฮดรอลิก ทำหน้าที่ ดักสิ่งแปลกปลอมที่อาจเจือปนมากับน้ำมันไฮดรอลิก เช่น เศษฝุ่นผง เป็นต้น 44. ถังน้ำมันเชื้อเพลิง ทำหน้าที่ กักเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ 45. กรองดักฝุ่น ทำหน้าที่ ดักเศษฝุ่นผงที่มีขนาดใหญ่ ที่ติดมากับอากาศ ไม่ให้ไหลผ่านไปที่กรองอากาศ

62 ปั๊มแรงดันสูง กรองน้ำมันเครื่อง

63 กรองดักฝุ่น

64 กรองอากาศแบบแห้ง และแบบเปียก ทำหน้าที่ ดักเศษผงฝุ่นที่มีขนาดเล็กที่ติดมากับอากาศ ไม่ให้ไหลผ่านไปยังห้องเผาไหม้

65

66 47. เบรกมือ ทำหน้าที่ ล็อกล้อรถแทรกเตอร์ด้านหลังไม่ให้เคลื่อนที่เวลาจอด

67 48. มาตรวัด เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบการทำงานในระบบต่าง ๆ ของรถแทรกเตอร์ ซึ่งเป็นลักษณะของสัญญาณเตือนสภาพการทำงานในระบบต่าง ๆ โดยมาตรวัดของรถแทรกเตอร์ทั่วไปมีดังนี้ (ก) มาตรวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้า เป็นเครื่องบอกอัตราการจ่ายไฟฟ้าของแบตเตอรี่ และอัตราการประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (ข) มาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่อง เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นถึงระดับแรงดันของน้ำมันเครื่องในระบบ (ค) มาตรวัดระดับน้ำมันเชื้อเพลิง แสดงให้เห็นถึงระดับของน้ำมันเชื้อเพลิงภายในถัง (ง) มาตรวัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นภายในเครื่อง

68 (จ) มาตรวัดความเร็วรอบของเครื่องยนต์ เป็นเครื่องที่แสดงให้เห็นถึง ความเร็วรอบในการทำงานของเครื่องยนต์เป็นรอบต่อนาที ส่วนใหญ่แสดงด้วยตัวเลข X 100 ซึ่งหมายถึง เมื่อเข็มของมาตรวัดชี้ที่เลขใดจะต้องคูณด้วย 100 เสมอ เช่น เข็มมาตรวัดชี้ที่เลข 8 เท่ากับความเร็วรอบของเครื่องยนต์ 800 รอบต่อนาที (ฉ) มาตรวัดความเร็วรอบของรถแทรกเตอร์ แสดงถึงความเร็วในการเดินหน้าของรถแทรกเตอร์ อาจบอกเป็นไมล์ต่อชั่วโมง หรือกิโลเมตรต่อชั่วโมง จะมีประโยชน์มากในกรณีที่ใช้กับเครื่องทุ่นแรงที่เกี่ยวข้องกับความเร็วในการเคลื่อนที่ของรถ เช่น เครื่องหยอดเมล็ด เครื่องพ่นสารเคมี ฯลฯ

69 (ช) มาตรบันทึกชั่วโมงการทำงานของเครื่องยนต์ เป็นเครื่องบันทึกชั่วโมงการทำงานของเครื่องยนต์ เพื่อกำหนดเวลาในการให้บริการและบำรุงรักษารถแทรกเตอร์ได้อย่างถูกต้อง (ซ) ไฟเตือน มีไว้เพื่อบอกอาการผิดปกติของระบบต่าง ๆ ภายในรถแทรกเตอร์ เช่น เครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง ระบบไฟฟ้า และอื่น ๆ ไฟเตือนที่เป็นหลักของรถแทรกเตอร์ทั่วไป คือ

70 ไฟเตือนแสดงการอุดตันของหม้อกรองอากาศ
ไฟเตือนแสดงการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ส่วนมากเป็นแบตเตอรี่ ซึ่งโดยปกติเมื่อเครื่องยนต์ติด แล้วไฟจะดับ ถ้าไม่ดับแสดงว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไม่ ประจุไฟเข้าแบตเตอรี่ ไฟเตือนแสดงแรงดันน้ำมันเครื่อง ส่วนใหญ่เป็น รูปหยดน้ำมัน เมื่อเปิดสวิตช์สตาร์ทไฟจะติด และเมื่อ เครื่องยนต์ติดแล้วไฟจะดับ ถ้าไฟไม่ดับอาจเกิดจาก ปริมาณน้ำเครื่องมีไม่เพียงพอ หรือปั๊มน้ำ ไฟเตือนแสดงการอุดตันของหม้อกรองอากาศ เป็นลักษณะของหลอดไฟ โดยหลอดไฟจะติดทันที ที่กรองอากาศสกปรกหรือถ้วยดักฝุ่นเต็ม ควรหยุดรถ ปลดเกียร์ให้อยู่ในตำแหน่งว่าง ปล่อยให้เครื่องยนต์ เดินเบาเพื่อให้อุณหภูมิของเครื่องยนต์ลดลง และ ดับเครื่องเพื่อทำความสะอาดกรองอากาศและถ้วยดักฝุ่น

71 ไฟเตือนการใช้เบรกมือ จะติดทันทีถ้าเบรกมืออยู่ ในตำแหน่งใช้งาน และสวิตช์หลักอยู่ในตำแหน่งเปิดเพื่อเตือนให้พนักงานขับปลดเบรกมือก่อนที่จะนำรถออกใช้งาน ไฟเตือนสัญญาณไฟสูง จะทำงานติดทันที่เมื่อเปิดสวิตช์ไปที่ตำแหน่งไฟสูง ไฟเตือนแสดงการใช้เพลาอำนวยกำลัง โดยทั่วไปใช้กับเพลาอำนวยกำลังที่ใช้คันควบคุมแบบใช้มือเท่านั้น โดยไฟเตือนจะติดทันทีที่มี การใช้เพลาอำนวยกำลัง

72 จบการนำเสนอ


ดาวน์โหลด ppt ส่วนประกอบและการทำงาน ของรถแทรกเตอร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google