การบริหารทีมงานและภาวะผู้นำ Prof.Raywat Chatreewisit B.S.,B.A.,M.A.,M.A.,MPM.,Ph.D,Ph.D,CIC,CIPM
ศาสตราจารย์ ดร.เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฏ์ ศาสตราจารย์ ดร.เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฏ์ การศึกษา ระดับปริญญาตรี วทบ.(เศรษฐศาสตร์เกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระดับปริญญาโท ศศม.(เทคโนโลยีสังคม) มหาวิทยาลัยเกริก ระดับปริญญาตรี B.A.(Training & Leadership) Almeda University. U.S.A. ระดับปริญญาโท M.A. NORTHERN ILLINOIS Univ. U.S.A ระดับปริญญาโท MPM สถาบัน American Academy of Project Management. U.S.A ระดับปริญญาเอก Ph.D in Business Administration จาก LOUISSIANA STATE Univ. ระดับปริญญาเอก Ph.D in Religious Study จาก Almeda University. U.S.A. ประกาศนียบัตร CIC,CIPM ที่ปรึกษาด้านการวิเคราะห์ตลาด และบริหารโครงการ สถาบัน American Academy of Project Management. U.S.A ตำแหน่งปัจจุบัน ประธานสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRDI) รองประธานที่ปรึกษาสถาบันพัฒนวิชาการทรัพยากรมนุษย์, ที่ปรึกษาด้านประชากรศาสตร์ หมายเลข ๕๓๐กระทรวงการคลัง ที่ปรึกษาด้านการตลาดและบริหารโครงการของสถาบัน CIC,AAPM,E-Marketing Consultant Project Management Program Academy .U.S.A กรรมการบริหารสถาบันพัฒนาการบริหารธรรมนิติ, ผู้ประสานงาน และริเริ่มโครงการช่วยเหลือคนตกงาน
Talent Staft & Leadership Development การเป็นหัวหน้างานที่ประสบความสำเร็จ และได้รับการยอมรับจากทุกคนในองค์การ ไม่ใช่การเรียนรู้ลองผิดลองถูก แต่จำต้องอาศัยองค์ความรู้ ทักษะและทัศนคติที่ถูกต้องในการเสริม สร้างสมรรถนะ (Competency) ที่สอดคล้องกับตำแหน่งหน้าที่ เพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่องค์กรกำหนดไว้
ดังนั้น หัวหน้างานทุกคนจึงควรได้รับการเสริมสร้าง Competency อย่างถูกวิธีและได้ผลในเชิงปฏิบัติ อย่างจริงจัง และได้รับการพัฒนาแบบบูรณาการของบทบาทหัวหน้างานมืออาชีพที่ง่ายต่อการเรียนรู้ และนำไปประยุกต์ใช้อย่างได้ผลเพื่อสร้างความมั่นใจในการทำหน้าที่การเป็นหัวหน้างานได้อย่างสมบูรณ์
ทักษะการเป็นผู้นำ Leadership Skill เพื่อให้หัวหน้างานเข้าใจบทบาทที่ตนได้รับการยอมรับจากลูกน้อง เพื่อให้หัวหน้างานพัฒนาความรู้และทักษะในการบริหารคน เพื่อให้หัวหน้างานปรับสไตล์การจัดการให้เหมาะสมกับพนักงาน
ทักษะการสื่อสารอย่างถูกต้องCommunication Skill เพื่อให้หัวหน้างานเข้าใจถึงความสำคัญในการสื่อสารความหมาย เพื่อให้หัวหน้างานมีความรู้และทักษะในการสื่อสารเข้าใจที่เหมาะสม เพื่อให้หัวหน้างานสามารถปรับสไตล์ในการสื่อความหมายให้ได้ความร่วมมือ
การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน Motivation เพื่อให้หัวหน้างานเข้าใจความต้องการพื้นฐานของพนักงาน เพื่อให้หัวหน้างานมีความรู้และความเข้าใจในกระบวนการจูงใจ เพื่อให้หัวหน้างานสามารถประยุกต์เทคนิคการจูงใจให้เหมาะสมกับพนักงาน
ทักษะการสอนงาน Coaching Skill เพื่อให้รู้ถึงวิธีและแนวทางในการพัฒนาและสอนงานให้ถูกต้องตรงตามลักษณะงาน และสอดคล้องกับการทำงาน เพื่อให้ตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ของตน และความจำเป็นในการสอนงานแบบ OJT เพื่อให้เรียนรู้หลักการและขั้นตอนการสอนงานและสามารถนำมาประยุกต์กับงานที่ตนปฏิบัติอยู่
ทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจ Problem Solving and Decision Making เพื่อให้สามารถวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิผล เพื่อให้เรียนรู้หลักการกระบวนการและเทคนิคในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ
การบริหารเวลา Time Management เพื่อให้หัวหน้างานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารเวลา เพื่อให้หัวหน้างานสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เวลาต่อกิจกรรมในงานต่างๆ ที่ประสบอยู่ เพื่อให้หัวหน้างานจัดการกับเวลาการทำงานที่มีอยู่อย่างเหมาะสมเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด
การบริหารทีมงาน Team Management เพื่อให้หัวหน้างานตระหนักถึงการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้หัวหน้างานมีความรู้และเข้าใจกระบวนการสร้างทีมงาน เพื่อให้หัวหน้างานสามารถรวมพลังทีมงานในการปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ
จิตวิทยาการบริหาร Psychology Management เพื่อให้หัวหน้างานเข้าใจจิตวิทยาการบริหาร ทั้งในภาคทฤษฎี และแนวทางการปฏิบัติ เพื่อให้หัวหน้างานได้เรียนรู้หลักการบริหารงานบริหารคน บทบาท และภาวะผู้นำ เพื่อให้หัวหน้างานรู้วิธีการสร้างแรงจูงใจในการทำงานและสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน
การบริหารความขัดแย้ง Conflict Management เพื่อรับทราบแนวคิด และหลักการทางด้านการจัดการกับความขัดแย้ง เพื่อพัฒนาทักษะการเจรจาต่อรอง และการไกล่เกลี่ย เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้ เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน เพื่อเสริมสร้างเสน่ห์ในการติดต่อสื่อสาร และทักษะทางด้านมนุษย์สัมพันธ์
การพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์ Positive Thinking เพื่อให้หัวหน้างานเข้าใจความสำคัญของการระดมสมองและการใช้ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างโอกาสและบรรยากาศให้หัวหน้างานได้ใช้แนวคิดและการประสานความคิดร่วมกัน เพื่อให้หัวหน้างานเรียนรู้พัฒนาตนเองเพื่อความสำเร็จในการงานและมีเป้าหมายในการทำงาน
Talent Staft & Leadership Development เพื่อพัฒนาบุคลิกและศักยภาพการเป็นผู้นำหรือหัวหน้างานที่ดี เพื่อเพิ่มทักษะ ด้านการวางแผนงาน และการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ เพื่อสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการทำงานและบริหารงานของบริษัทได้อย่างสัมฤทธิ์ผล เพื่อสร้างวิสัยทัศน์ แนวคิด และมุมมองในการบริหารจัดการงานในหน้าที่ และภาพรวมองค์กร เพื่อเป็นส่งเสริมและพัฒนาพนักงานที่มีความรู้ความสามารถให้มีความเจริญก้าวหน้าและมีความจงรักภักดีต่อองค์กร และอยู่กับองค์กรไปจนตลอดอายุงาน
หัวหน้างานกับความสำเร็จธุรกิจ บทบาทของหัวหน้างาน ตัวเอง: อะไรที่ท่านคิดว่าเป็นหน้าที่ที่ท่านทำในองค์กรของท่าน? …………………………………………………………… หัวหน้า: อะไรที่หัวหน้าของท่านคิดว่าเป็นหน้าที่ของท่าน? ……………………………………………………………… ลูกน้อง: อะไรที่ลูกน้องของท่านคิดว่าเป็นหน้าที่ของท่าน? องค์กร: อะไรที่องค์กรคาดหวังอยากเห็นท่านทำให้เกิดผลสำเร็จ? ………………………………………………………………… ลูกค้า: อะไรที่ลูกค้าคาดหวังจะได้รับจากการทำงานของท่าน?
หัวหน้างาน หมายถึงบุคคลที่สามารถสร้างความสำเร็จในงานที่รับผิดชอบ ได้บรรลุตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่องค์กรต้องการ โดยอาศัยความร่วมมืออย่างเต็มใจจากบุคคลอื่น ให้เป็นผู้ลงมือปฏิบัติงานให้เกิดผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล บันทึก ................................................................................................................................................................................................
ภารกิจของหัวหน้างานยุคใหม่ 1.ภารกิจงานตามหน้าที่ หรือภารกิจงานประจำวัน *มุ่งเน้นในการจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพให้กับลูกค้า *กำหนดเป้าหมายและผลสำเร็จของงานอย่างชัดเจน *ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสาร *เป็นผู้อำนวยความสะดวก /ผู้ชี้แนะ *ส่งเสริมและกระตุ้นให้พนักงานได้รับการพัฒนาความรู้เพิ่มเติม *ปรับปรุงงานหรือสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง *สร้างจิตสำนึกให้พนักงานได้รับการพัฒนาความรู้เพิ่มเติม 2.ภารกิจด้านบริหารจัดการ *การวางแผน *การจัดองค์กร *การจัดคนเข้าทำงาน *การสั่งการ *การควบคุม ติดตามงานและรายงานผลการปฏิบัติงาน
ภารกิจของหัวหน้างานยุคใหม่ 3.ภารกิจสร้างความเปลี่ยนแปลง *ติดตามสภาพแวดล้อม กระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร *กล้าเผชิญความเปลี่ยนแปลง *พร้อมในการเปลี่ยนแปลง *คิดสร้างสรรค์งาน ความต้องการใหม่ๆของลูกค้า เน้นไปที่อนาคต
ทักษะที่หัวหน้างานต้องใช้ในการทำงาน 1.ทักษะด้านวิชาชีพ(Technical Skill) ได้แก่ ทักษะที่เป็นความชำนาญเฉพาะด้านของตำแหน่งงานที่ต้องมี เพื่อสร้างความสำเร็จในงานที่รับผิดชอบ 2.ทักษะด้านความคิด(Conceptual Skill) ได้แก่ ทักษะที่มุ่งเน้นไปที่การใช้ความคิดเพื่อสร้างความสำเร็จในงาน 3.ทักษะด้านการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา(Decision Making and Problem Solving Skill) ได้แก่ ทักษะที่จะทำการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาในงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์(Human Relation Skill) ได้แก่ ทักษะในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลรอบข้าง เป็นความสามารถหลักที่ทุกคนในองค์กรต้องมี 5.ทักษะด้านการสื่อสาร(Communication Skill) ได้แก่ ทักษะที่เน้นไปที่การพูด การฟัง การใช้ภาษาท่าทาง การอ่าน และการเขียนเพื่อสร้างความสำเร็จในงาน 6.ทักษะด้านการบริหารหรือการจัดการ(Management Skill) ได้แก่ ทักษะสำหรับตำแหน่งระดับบริหารทุกระดับ เป็นความสามารถที่ผู้บริหารต้องมีเพื่อสร้างความสำเร็จในงาน ประกอบด้วย
การวางแผน(Planning) -แผนกลยุทธ์ (Strategic Plan) -สำหรับผู้บริหารระดับสูง -แผนงานโครงการ (Functional Plan) -สำหรับผู้บริหารระดับกลาง -แผนปฏิบัติการ (Action Plan) –สำหรับหัวหน้างาน การแบ่งส่วนงาน -กำหนดความสัมพันธ์และแนวทางการประสานงานระหว่างส่วนงานต่างๆ -การมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ -กำหนดสายการบังคับบัญชา การจัดคนเข้าทำงาน(Staffing) -คาดการณ์กำลังคนที่ต้องใช้ -สรรหา คัดเลือกคนเข้าทำงาน -ฝึกอบรม และพัฒนาคน -ดูแลคน
*การสั่งการ(Directing) -การสื่อสาร -การจูงใจ -การใช้ภาวะผู้นำ *การควบคุม(Controlling) -การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับเป้าหมาย -การควบคุมเชิงกลยุทธ์ :ด้านการเงิน :ด้านการปฏิบัติการ :ด้านบุคคล
หัวหน้างานยุคใหม่ควรมีทัศนคติในการปฏิบัติงานอย่างไร รูปแบบความสัมพันธ์ที่เรามีต่อตนเองและต่อผู้อื่น จำแนกได้ 4 ประเภท ประเภทที่1. วางตัวเป็นผู้ด้อยกว่าคนอื่น I am not ok ,You are ok ประเภทที่2. วางตนเองเหนือกว่าคนอื่น I am ok ,You are not ok ประเภทที่3. ทำตัวน่าเบื่อหน่าย มองตนเองและผู้อื่นในแง่ร้าย I am not ok ,You are not ok ประเภทที่4. การมีความรู้สึกที่ดีกับตนเองและผู้อื่น I am ok ,You are ok ทัศนคติที่ก่อให้เกิดการจูงใจ มองโลกในแง่ดี รู้คุณค่าในตนเอง
หัวหน้างานยุคใหม่ควรมีกรอบความคิดในการทำงานอย่างไร การทำทุกสิ่งโดย “ให้ลูกค้าเป็นโจทย์” มีการวัดผลสำเร็จที่ลูกค้า และให้คุณภาพที่ดีกว่าคู่แข่งขัน มีการวัดผลและปรับปรุงการปฏิบัติงานตลอดเวลา ทำการวางแผนก่อนปฏิบัติงานจริง มีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกับองค์กร มีการทำงานโดยเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงตนเองมากกว่าที่จะรอให้ตัวแปรรอบข้างเปลี่ยนแปลงแก้ไข
กรอบความคิดที่ตายตัว คนที่มีความคิดที่ตายตัวอย่างสุดโต่งจะแสดงออกถึงบุคลิกภาพ ดังต่อไปนี้ *มีแนวโน้มยึดมั่นในมุมมองอย่างใดอย่างหนึ่ง *ภาคภูมิใจในความคิดของตน และคิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง *ยึดติดกับความสำเร็จในอดีต และนำมาใช้ในปัจจุบัน *มักมองสิ่งต่างๆแบบ ขาว-ดำ ตัดสิน ถูก-ผิด อย่างรวดเร็ว *มีนิสัยกิจวัตรที่แน่นอน ตายตัว *ไม่สบายใจกับความไม่แน่นอนและอะไรที่คลุมเครือ *มักคิดว่าตัวเองแก่เกินกว่าที่จะเปลี่ยนแปลง *ไม่คิดว่าตัวเองสามารถคิดสร้างสรรค์ได้ เชื่อว่าเป็นบุคลิกภาพติดตัวมาแต่กำเนิด
กรอบความคิดที่ยืดหยุ่น คนที่มีความคิดที่ยืดหยุ่นจะแสดงออกถึงบุคลิกภาพ ดังต่อไปนี้ *แสวงหาแนวคิดใหม่ๆ *หามุมมองใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ *ความคิด ความเห็น เป็นเพียงทรรศนะชั่วคราว เปลี่ยนแปลงได้ แตกต่างได้ *เชื่อว่ามีคำตอบมากกว่า 1คำตอบเสมอ *การประชุมกลุ่มมักชอบตั้งคำถามมากกว่าคล้อยตามกลุ่ม *สามารถพูดว่า “ไม่รู้” *หลีกเลี่ยงความคิดที่ตายตัวซึ่งจำกัดคับแคบและลำเอียง *เชื่อว่าตัวเองมีความคิดสร้างสรรค์ เป็นเรื่องพรแสวงที่ฝึกปฏิบัติได้ (อ้างอิง: 1 สัปดาห์พัฒนาความคิด โดย อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์)
หัวหน้างานยุคใหม่ ควรมีพฤติกรรมหรือการแสดงออกอย่างไร? *ชอบบริการลูกค้า *ยอมรับการเปลี่ยนแปลง *สร้างนิสัยรักการเปลี่ยนแปลง *มั่นใจในตนเอง *มีทัศนคติเชิงบวก *เรียนรู้ตลอดเวลา *วิเคราะห์สำรวจตนเองสม่ำเสมอ *มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ *เปิดรับความคิดใหม่ๆ *กล้าตัดสินใจ *ชอบเผชิญปัญหา *มองวิกฤตให้เป็นโอกาส *มองทุกอย่างเป็นระบบ เป็นกระบวนการ *มีการปรับปรุงและพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่อง *ชอบทำงานเป็นทีม
หัวหน้างานกับการเพิ่มทักษะการสื่อสาร ความหมายและความสำคัญ การติดต่อสื่อสาร เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ และความสำเร็จในงาน เพราะ -การติดต่อสื่อสารเป็นวิธีการนำข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ความต้องการ อารมณ์และความรู้สึกจากผู้ส่งหรือผู้พูดไปยังผู้ฟังให้เข้าใจตรงกันและเกิดความพึงพอใจ ต่อกัน -การติดต่อสื่อสาร เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล การทำความเข้าใจร่วมกัน การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยมีจุดหมายตรงกันเพื่อสร้างความสำเร็จในการทำงาน -ความสามารถในการติดต่อกับผู้อื่น เข้าใจผู้อื่น และช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจเรา เป็นทักษะการสื่อสารระดับสูง -ในการติดต่อสื่อสารของเรา ความคิด ความเห็นและแนวทางของเราจะไร้ความหมาย ถ้าเราไม่สามารถสื่อความหมายให้มันได้ -ทักษะในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น คือความสามารถที่จะสร้างความเชื่อถือและความเห็นพ้องให้เกิดขึ้นได้ ปีเตอร์ ดรักเกอร์ นักบริหารจัดการที่มีชื่อเสียง กล่าวถึงเทคนิคใหม่ที่ผู้จัดการจำเป็นต้องใช้ในอนาคตว่า “เขาจะต้องสามารถสื่อข้อมูลได้รวดเร็วและชัดเจน” -ความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลขึ้นอยู่กับคุณภาพในการสื่อสารของทั้งสองฝ่าย เป็นเรื่องของความรู้สึก การถ่ายทอดและการสร้างความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันซึ่งจะนำไปสู่คุณภาพของการทำงาน
องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสาร ทุกครั้งที่เราจะส่งความคิด ต้องการจะสื่อสารกับบุคคลอื่น เราจะเกี่ยวข้องกับขั้นตอน 4ประการ 1.ผู้พูดหรือตัวเรา ต้องรู้อย่างแน่ชัดว่า สิ่งที่ต้องการสื่อคืออะไร 2.ข้อมูล หรือเนื้อหาที่ต้องการสื่อเป็นเรื่องอะไร 3.สื่อ /วิธีการที่ใช้ เช่นภาษาพูด ภาษาท่าทาง ภาษาเขียน สัญลักษณ์ 4.ผู้ฟัง นอกจากได้ยินสิ่งที่ผู้พูด และเข้าใจภาษาที่ใช้ แต่ผู้ฟังจะต้องสังเกตสิ่งที่เขาไม่ได้ยินเช่น ท่าทาง น้ำเสียง ฯลฯ อย่างถูกต้องด้วย จากองค์ประกอบที่กล่าว จึงพบว่าการสื่อสารจะมีโอกาสผิดพลาดหรือมีอุปสรรค หากเป็นการสื่อสารทางเดียว ความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นคือ การสรุปว่าการสื่อสารเกิดขึ้นแล้ว สำเร็จแล้ว เช่น “เขาต้องรู้เพราะบอกเขาด้วยตัวเอง” “เขาควรเข้าใจนะ เพราะอยู่ด้วยกันมานานแล้ว” “เรื่องอย่างนี้ พูดเพียงครั้งเดียวก็พอ” ฉะนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการทบทวนการสื่อสารจากผู้รับหรือผู้ฟัง การวัดความสำเร็จในการสื่อสาร วัดจากความรู้ความเข้าใจของผู้ฟังว่าตรงกับสิ่งที่ผู้พูดอยากจะถ่ายทอดหรือไม่ ตัวอย่างการประชุมที่มีประสิทธิภาพ
*ในการประชุมกลุ่มที่ทำงานร่วมกัน จะใช้หลักการง่ายๆคือ เข้าใจก่อนการตัดสิน ซึ่งหมายความว่า ในการประชุมจะไม่ยอมให้ใครสรุปตัดสินอะไรจนกว่าจะได้ตรวจสอบความเข้าใจในเรื่องนั้นให้ตรงกันเสียก่อน เช่นเมื่อคุณสมศักดิ์แสดงความเห็นว่าควรจะทำอย่างไรกับโครงการนี้ ก่อนที่คนใดคนหนึ่งจะเสริมความคิดให้ข้อวิจารณ์ ทุกคนที่เข้าประชุมจะต้องพูดออกมาว่า ตนเองเข้าใจข้อเสนอสำหรับความคิดของนาย ก.อย่างไร ให้นาย ก.คอยฟัง และยืนยันว่าที่ตนเองคิดและพูดออกไปมีความหมายเช่นนั้นด้วยหรือไม่ นี่เป็นการตรวจสอบ หากทำเช่นนี้บ่อยๆครั้ง อัตราความสำเร็จของการสื่อสารจะสูงขึ้น
บรรยากาศขององค์กรที่เอื้อต่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 1.ทุกคนสามารถสื่อสารกันอย่างเปิดเผย จริงใจ ตรงไปตรงมา ไม่ปิดบัง ซ่อนเร้นหรือหลอกลวงกัน 2.เน้นการสื่อสารที่มุ่งแก้ปัญหาร่วมกัน 3.การสื่อสารที่มีต่อกัน ทุกคนจะรับรู้เข้าใจความรู้สึกของกันและกัน 4.บรรยากาศของการสื่อสารเป็นในลักษณะการให้ การขอข้อมูลมากกว่าจะเป็นการประเมินหรือตำหนิ 5.เปิดโอกาสทดลองทำสิ่งใหม่ๆ เสนอความคิดเห็นใหม่ๆ ไม่ใช่ติดยึดกับระเบียบกฏเกณฑ์มากเกินไป
การพัฒนาทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล (เรียบเรียงจากหนังสือ 10กลยุทธ์สู่ความสำเร็จ โดย ภูริทัต รัศมีเพชร) หยุดพูด เราจะฟังไม่ได้ถ้าเอาแต่พูดตลอดเวลา ควรพยายามเพ่งอยู่ที่ความสนใจ และความต้องการของ คู่สนทนา ควรฝึกการฟังให้เป็นนิสัย เราจะเป็นนักสื่อความหมายที่ดี ทำให้คู่สนทนารู้สึกสบายใจ เมื่อคนเราไม่สบายใจบางอย่าง รู้สึกเกร็ง เขาจะไม่สนใจในสิ่งที่เราพูด แต่จะกังวลอยู่กับความกลัว และจะไม่กล้าแสดงออก เราต้องหัดสังเกตภาษาท่าทางที่เขาใช้ประกอบด้วย แสดงออกชัดเจนว่าต้องการฟังเขาพูด ใช้ภาษาท่าทางเช่นการโน้มตัว การพยักหน้า การสบตาฯแสดงถึงความสนใจในสิ่งที่เขาพูด ใช้คำถาม นอกจากช่วยให้เข้าใจแล้ว ยังเป็นการให้กำลังใจคู่สนทนาด้วย แสดงว่าเรากำลังฟังเขาอยู่ ควรระมัดระวังการใช้คำถาม รวมทั้งวิธีการถาม อย่าเกิดความรู้สึกเป็นเรื่องท้าทายหรือพยายามทำให้เขาเสียหน้า
ขจัดสิ่งรบกวนระหว่างการสนทนา ฝึกให้เป็นคนไวต่อสิ่งรบกวนหรืออุปสรรคในการสื่อความ เช่น เสียงดังรบกวน แสงแดดส่อง และระหว่างการสนทนาอย่าแสดงกิริยาบางอย่างซึ่งผู้ฟังรู้สึกว่าเราไม่เห็นความสำคัญของคำพูดเขา เช่น เคาะโต๊ะเล่น พลิกกระดาษไปมา หรือขีดเขียน วาดอะไรเล่น อดทน อดทนต่อความแตกต่างในเรื่องความคิด คำพูด หรือท่าทางขณะพูด สนทนากัน เพราะทุกคนมีวิธีการสื่อสาร ตามจังหวะและวิธีการของเขา อย่าพยายามขัดจังหวะโดยไม่จำเป็น ความอดทน เป็นองค์ประกอบสำคัญของการสื่อความหมาย พยายามเข้าใจความรู้สึกของเขา หลีกเลี่ยงการประเมิน ขณะสนทนาพยายามให้มากที่สุด ที่จะมองสิ่งต่างๆในแง่มุมของเขา พยายามทำความเข้าใจว่า ทำไมเขาจึงคิดเช่นนั้น หากไม่พยายามทำความเข้าใจ เรามักจะรีบด่วนสรุปหรือประเมิน ซึ่งอาจเป็นได้ที่ทำให้การสื่อสารผิดไปจากเจตนาของผู้พูด อย่าสื่อความขณะโกรธ ความโกรธทำให้ความหมายในการสื่อสารเปลี่ยนไป และคนที่กำลังโกรธมักพูดบางสิ่งบางอย่างที่ทำให้ต้องเสียใจภายหลัง และยังลดสมรรถภาพการฟังด้วย
หลีกเลี่ยงการโต้เถียงและตำหนิ การตำหนิ ทำให้ผู้อื่นปกป้องตนเองและปิดกั้นการสื่อความหมาย เมื่อมีข้อคิดและความเห็นที่แตกต่าง และต้องการจะสื่อให้รู้ พยายามใช้คำพูดและภาษาท่าทาง ในเชิงบวก ตอบคำถามให้กระชับ อย่าอ้อมค้อม ลักษณะของการสื่อความที่ไม่ดีประการหนึ่ง คือ การตอบคำถามง่ายๆด้วยคำอธิบายที่ยุ่งยาก เข้าสู่ประเด็นโดยเร็ว การสื่อความหมายที่ดีคือ การเข้าสู่ประเด็นให้เร็วที่สุด นอกจากทำให้การสื่อสารใช้เวลาน้อยแล้ว ยังช่วยไม่ให้ผู้ฟังต้องคาดเดาว่า ผู้พูดกำลังนำเข้าสู่เรื่องอะไร และป้องกันไม่ให้เขาด่วนสรุปผิดๆด้วย บางครั้งอาจพบว่า คำอธิบายที่เตรียมมานั้นไม่จำเป็นเลย เพราะประเด็นมันชัดเจนในตัวแล้ว ขอบเขตของเรื่องต้องชัดเจน การกำหนดขอบเขตของเรื่องให้ชัดเจน ทำให้ช่วยขจัดความเข้าใจผิดไปมาก
พูดซ้ำให้เข้าใจประเด็น ผู้ฟังบางครั้งมักรับฟังบางสิ่งบางอย่างไม่ได้ในครั้งแรก เพราะยังอาจสนใจในเรื่องก่อนหน้านั้น วิธีที่ดี คือเมื่อไรก็ตามที่ไม่แน่ใจว่า คนอื่นเข้าใจในเรื่องที่คุณพูดหรือไม่ ลองพยายามเรียบเรียงคำพูดใหม่ หรือสรุปเรื่องราวนั้นอีกครั้ง พยายามให้ผู้ฟังตอบสนอง ทดสอบผลการสื่อความหมาย โดยให้ผู้ฟังทวนข้อความที่เราสื่อออกไปโดยใช้คำพูดของเขาเอง กระตุ้นให้เขาถามคำถาม หรือสอบทานความเข้าใจอีกครั้งหลังจากเราพูดครอบคลุมประเด็นแล้ว ถ้าผู้ฟังไม่เห็นด้วยให้ขอความเห็นจากเขา หากผู้ฟังไม่เห็นด้วย การรีบพูดโต้เถียงอาจไม่ใช่วิธีการที่ดี แต่ควรฟังให้มากขึ้น โดยให้โอกาสเขาพูดบ้าง และพยายามศึกษาว่าทำไมเขาถึงไม่เห็นด้วย การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าเสมอ
หัวหน้างานกับการพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 1.ความหมายและความสำคัญของปัญหา ปัญหา(Problem) หมายถึง สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในทางลบที่แตกต่างไปจากสภาพการณ์ปกติ หรือสภาพการณ์ที่องค์กรต้องการให้เกิดขึ้น เช่นปัญหายอดขายตก ปัญหาความขัดแย้งในการทำงาน ฉะนั้น ปัญหาจึงมีความสำคัญก็เพราะ หากไม่ได้รับการแก้ไข จะก่อให้เกิดผลกระทบทางลบ โดยนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ต่อไปเป็นลูกโซ่ เช่นปัญหายอดขายตก ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบคือ องค์กรได้รับรายได้ที่ลดลง ขณะที่ค่าใช่จ่ายยังเท่าเดิมหรือต้นทุนอาจสูงขึ้น ส่วนแบ่งการตลาดลดลง ความอยู่รอดของธุรกิจในระยะยาวไม่แน่นอน ฯลฯ 2.ประเภทของปัญหา 1.จำแนกตามผลกระทบที่เกิดขึ้น 1.1ปัญหาที่มีความเร่งด่วนสูง 1.2ปัญหาที่มีความเร่งด่วนระดับกลาง 1.3ปัญหาที่มีความเร่งด่วนน้อยหรือไม่มีความเร่งด่วน 2.จำแนกตามระยะเวลาในการแก้ไข 2.1ปัญหาที่ใช้ระยะเวลาในการแก้ไขระยะสั้น 2.2ปัญหาที่ใช้ระยะเวลาในการแก้ไขระยะยาว 3.จำแนกตามระยะเวลาที่เกิดขึ้นของปัญหา 3.1ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว 3.2ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 4.จำแนกตามระดับที่เกิดขึ้นในองค์กร 4.1ปัญหาระดับองค์กร เป็นปัญหาในภาพรวมขององค์กร 4.2ปัญหาระดับหน่วยงาน เช่นปัญหาการประสานงานระดับฝ่าย
3.กระบวนการของการแก้ไขปัญหา 1.การระบุปัญหาที่เกิดขึ้น 2.การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา 3.การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย 4.การค้นหาทางเลือกหรือวิธีการแก้ไข 5.การเปรียบเทียบทางเลือกหรือวิธีการแก้ไข 6.ตัดสินใจเลือกทางเลือกหรือวิธีการแก้ไขที่จะนำมาใช้ 7.การนำทางเลือกหรือวิธีการที่เลือกไปใช้ปฏิบัติ 8.การติดตามและประเมินผลการแก้ไขปัญหา 4.เทคนิคการคิดและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ 1.เทคนิคแผนภูมิการวิเคราะห์สาเหตุและผล(Cause & Effect Diagram) 2.แผนภูมิการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา(Problem Solving Diagram) 3.เทคนิคแผนภูมิก้างปลา(Fishbone Diagram) 5. การระดมสมอง เพื่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ออกความเห็นอย่างเป็นอิสระ ปริมาณสำคัญกว่าคุณภาพ ห้ามวิพากษ์วิจารณ์ ผสานความคิด /ต่อยอดความคิด
หัวหน้างานกับทักษะการจูงใจ หัวหน้างานที่ประสบความสำเร็จ คือ ผู้ที่สามารถประสานวิธีการทำงานโดยเน้นที่คนและเน้นที่งานได้อย่างสมดุลย์ การจูงใจ เป็นวิธีการ เป็นศิลปะ เป็นทักษะที่สำคัญที่ใช้ในการบริหารงานบุคคล ช่วยก่อให้เกิดทัศนคติที่ดีในการทำงาน มีแนวความคิดที่ถูกต้องในการทำงาน การจูงใจจึงเป็นเครื่องมือที่ผู้บริหารนำไปใช้กับบุคคลต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีว่าด้วยแรงจูงใจ (ศิลปะการบังคับบัญชา ดร.สิทธิโชค วรานุสันติกูล) Maslow ‘ s Hierachy of needs Theory Abraham H. Maslow เป็นนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงในเรื่องแรงจูงใจ เขานำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน โดยเชื่อว่า มนุษย์แสดงพฤติกรรมเพื่อแสวงหาสิ่งที่สามารถบำบัดความต้องการของตนได้ ความต้องการจึงเป็นบ่อเกิดของแรงจูงใจเพื่อการแสวงหาสิ่งบำบัดมาระงับความต้องการ
Maslow แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5อย่าง และมีการตอบสนองความต้องการนี้อย่างเป็นลำดับตามความสำคัญของความต้องการ และตามความพึงพอใจในแต่ละเวลา ได้แก่ 1.ความต้องการทางสรีระ ได้แก่ปัจจัย4 เป็นความต้องการพื้นฐานแรกที่มนุษย์หมกมุ่นอยู่กับสิ่งเหล่านี้เพื่อให้ร่างกายอยู่รอดและสบายเสียก่อน 2.ความต้องการความมั่นคงทางจิตใจและความปลอดภัยทางกาย 3.ความต้องการเข้าสังคม ความรัก 4.ความต้องการได้รับการยอมรับจากผู้อื่น ชื่อเสียง ตำแหน่ง 5.ความต้องการพัฒนาศักยภาพตนเอง อยากเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจ เป็นความต้องการที่จะทำเพราะอยากจะทำ ไม่มีความต้องการอะไรอื่นมาแอบแฝง
Reinforcement Theory ผู้คิดค้นและเผยแพร่ทฤษฏีนี้ได้แก่ B.F. Skinner นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด หลักการของทฤษฎีนี้มีอยู่ว่า ภายใต้สิ่งกระตุ้น(ตัวเดิม) ให้เกิดพฤติกรรม มีความเป็นไปได้มากที่คนเราจะกระทำพฤติกรรมซ้ำแบบเดิม ถ้าหากว่าเขาได้ทำพฤติกรรมนี้ในอดีตมาแล้วได้รับผลกรรมที่เขาพึงพอใจ ในบางครั้งผลกรรมนี้ยังอาจจะไปควบคุมให้เกิดพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกันนี้ในอนาคตได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น: ถ้าหากว่าพนักงานนำรายงานไปส่งให้นาย ครั้นอ่านแล้วนายชมเชยว่าเขาทำรายงานได้ดี เชื่อได้ว่าพนักงานคนนี้จะปลื้มและอยากจะทำรายงานนี้ต่อไปอีกในครั้งต่อไป และผลกรรมนี้อาจจะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกพึงพอใจมากจนเขาอาจจะทำพฤติกรรมดีๆ อย่างอื่นอีกเพื่อที่จะได้ผลกรรมอย่างนี้อีก
Goal-Setting Theory นักจิตวิทยาองค์การ Edwin Locke เป็นผู้เผยแพร่ทฤษฎีนี้ เขาเห็นว่าจิตใจของมนุษย์เรานั้นโดยธรรมชาติจะถูกกระตุ้นโดยเป้าหมาย(Goal) ให้ต้องแสดงพฤติกรรมเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายให้ได้ ตราบใดที่ยังไม่สามารถทำได้สำเร็จตามเป้าหมาย คนเราจะต้องมีความรู้สึกว่าไม่สบายใจ เหมือนมีอะไรค้างในใจที่ต้องทำ ข้อสรุปของทฤษฎี คือ 1.คนเราจะมีความรู้สึกว่า ต้องผูกพันตนเองกับเป้าหมายของการปฏิบัติงานที่ได้ตั้งเอาไว้และตนเองมีส่วนร่วมในการตั้งเป้าหมายด้วย 2.เป้าหมายที่มีความยาก จะจูงใจให้คนทำงานได้ผลงานดีกว่าเป้าหมายง่าย เช่นเพิ่มกำไร 20% ย่อมเป็นเป้าหมายที่ยากหรือสูงกว่าการเพิ่มกำไร 10% 3.เป้าหมายที่มีความเฉพาะเจาะจงมากย่อมจูงใจให้ทำมากกว่า เป้าหมายที่กำกวมหรือกว้างไม่ชัดเจน เช่นเพิ่มกำไร 20% ย่อมดีกว่าเป้าหมายที่ว่า ทำกำไรให้มากที่สุด 4.สิ่งจูงใจให้ทำงานทั้งหลายเช่นเงิน คอมมิชชั่น การแข่งขัน จะไม่มีความหมาย คือจูงใจไม่ได้ ถ้าหากว่าไม่ได้ผูกพันสิ่งจูงใจเหล่านี้กับเป้าหมาย เพราะคนเราจะไม่รู้ว่าที่ได้สิ่งเหล่านี้มาเพราะได้ทำอะไรไป
ผู้นำกับการจูงใจ นักบริหารต้องมีวิธีการสื่อสารที่ดีกับทีมงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือช่วยกันทำงานให้เกิดผลสำเร็จ สร้างความมั่นใจในคุณค่าของงาน ให้บุคคลในทีมงานเข้าใจในเป้าหมายและเนื้อหาของงานที่รับผิดชอบ บอกให้รู้ถึงคุณค่าและความสำคัญในหน้าที่นั้น กระตุ้นเพื่อให้เขาแสดงความสามารถมากขึ้น การยกย่อง ชมเชย ทำให้เกิดการยอมรับ ความห่วงใยทำให้เข้าใจสมาชิกในทีมมากขึ้น และเขาจะห่วงงานมากขึ้น การยกย่องต้องทำด้วยความจริงใจ ยกย่องเดี๋ยวนั้น สนับสนุนให้กำลังใจ ให้รู้ว่าเขาทำถูกต้องแล้ว บอกความรู้สึกของตัวเองได้เราพอใจอย่างไร การกระทำของเขาเป็นผลดีต่อหน่วยงาน ต่อทีมงาน การให้ข้อวิจารณ์นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง ให้ข้อเสนอแนะบนพื้นฐานที่อยากเห็นการปรับปรุงในทางที่ดีขึ้น จริงใจ ให้เขารู้ว่าทำผิดอะไร เจาะตรงประเด็นของปัญหา ให้กำลังใจช่วยกันแก้ไขให้เขารู้สึกว่ายังมีค่าต่อทีมเสมอ สร้างความมั่นใจในคุณค่าของการทำงานเป็นทีม ช่วยให้เขารู้สึกเหมือนเป็นทีม คิดเป็นทีม
7 อย่า ที่ควรหลีกเลี่ยง ถ้าต้องการโน้มน้าว จูงใจลูกน้อง 7 อย่า ที่ควรหลีกเลี่ยง ถ้าต้องการโน้มน้าว จูงใจลูกน้อง 1.อย่า ดูถูกลูกน้อง หรือวิจารณ์ นินทาลูกน้องต่อหน้าบุคคลอื่น 2.อย่า ลืมให้ความสนใจลูกน้องอย่างสม่ำเสมอ 3.อย่า ลำเอียง 4.อย่า เห็นแต่ประโยชน์ส่วนตัว 5.อย่า ชิงดี ชิงเด่นกับลูกน้อง 6.อย่า ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง 7.อย่า ละเลยคุณภาพ /มาตรฐานของงาน
หัวหน้างาน กับ การบริหารการปฏิบัติงานที่มุ่งผลสำเร็จ 1.เป็นการบริหารที่มีการกำหนดผลสำเร็จไว้ล่วงหน้า *ผลสำเร็จขององค์กร *ผลสำเร็จของหน่วยงาน *ผลสำเร็จของบุคคล คนทำงานจะมีความสุข เมื่อรู้ว่าตัวเองต้องทำอะไรให้เกิดผลสำเร็จบ้าง มีส่วนช่วยองค์กรได้อย่างไร ผู้บริหารควรมีส่วนช่วยกำหนดผลสำเร็จของลูกน้อง ผู้บริหารที่มีคุณภาพ คือผู้ที่รู้ว่าวันนี้ตัวเองจะต้องทำอะไรให้เกิดผลสำเร็จบ้าง รวมทั้งรู้ถึงผลสำเร็จที่ต้องทำในวันพรุ่งนี้ด้วย เป็นการฝึกมองอนาคต 2.จากผลสำเร็จแตกย่อยหรือกระจายเป็น เป้าหมายของหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง *เป้าหมายชัดเจน วัดได้ ง่ายต่อการปฏิบัติ *ก่อนดำเนินการ ทุกคนในทีมต้องทำความเข้าใจเป้าหมายให้ชัดเจน เข้าใจถึงความเชื่อมโยงที่มีต่อกัน 3.กำหนดวิธีการ ขั้นตอนการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย *แผนปฏิบัติการ *หน้าที่ความรับผิดชอบของหัวหน้าทีม /ลูกทีม
4.ศึกษา ค้นหาตัวแปร เงื่อนไขต่างๆที่ส่งผลต่อความสำเร็จของแผน *ตัวแปรที่ต้องทำให้เกิด จะส่งผลต่อความสำเร็จ *ตัวแปรที่ต้องควบคุม อาจส่งผลให้ทีมไม่ประสบผลสำเร็จ *การบริหารตัวแปรจะทำให้ผลงานมีคุณภาพ 5.ดำเนินการตามแผน ตามขั้นตอนที่วางไว้ *เกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของงาน *ระบบข้อมูลข่าวสาร 6.ประเมินผลการดำเนินงาน *ปรับแผน ปรับวิธีคิด ปรับเป้าหมาย/ผลสำเร็จ ปรับวิธีการ *พัฒนาแผน 7.เกิดการเรียนรู้ *กำหนดเป็นมาตรฐานการทำงาน
ภาคปฏิบัติ:หัวหน้างาน ทัศนคติ คือ อะไร ??? ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อบุคคล ในรูปของความชอบหรือไม่ชอบ พอใจหรือไม่พอใจ และความ พร้อมที่จะตอบสนองต่อสิ่งดังกล่าวตลอดเวลา
ความเชื่อ ทัศนคติ พฤติกรรม ความเชื่อ ทัศนคติ พฤติกรรม หากเรามีความเชื่อเป็นอย่างไร จะส่งผลให้ทัศนคติของเราเป็นอย่างนั้น และ เมื่อทัศนคติของเราเปลี่ยนแปลงไป พฤติกรรมของเราก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เมื่อเราเชื่อว่าการพัฒนามุ่งไปสู่ความสำเร็จ เราจะพยายามเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเราให้ก้าวไปในทิศทางเดียวกับองค์กรด้วย เพราะเรามีทัศนคติว่าการพัฒนาตัวเราและทีมงานจะนำมาซึ่งความสำเร็จที่เรามุ่งหวังไว้อย่างแน่นอน หากเราไม่เชื่อเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงเราจะต่อต้านและที่สุดเราจะไม่มีความสุขในการพัฒนาและร่วมงานทีมเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จภายในองค์กร
ทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการทำงาน ทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับตนเอง ทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับงานของตน ทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างาน The right attitude of selling * Positive attitude with self * Positive attitude with job * Positive attitude with customer
การพัฒนาทีมงานสู่ความสำเร็จ 1.ต้องมีเป้าหมายเดียวกันและเป้าหมายที่ชัดเจน 2. ต้องรู้หน้าที่และบทบาทของตนเองและคนอื่น 3. มีการสื่อสารอย่างเปิดเผย และไว้ใจกัน 4. มีการร่วมมือและประสานงานที่ดีในกลุ่ม 5. ติดตามและประเมินผลเป็นระยะ
หัวใจในการสร้างทีมงานที่ดี 1. ต้องมีความไว้เนื้อเชื่อใจ 2. สนับสนุนกัน 3. ต้องสื่อสารกัน 4. มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน 5. มีการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างมีหลักการ 6. สมาชิกในทีมมีส่วนร่วม 7. มีระบบการควบคุมที่ดี
ประสิทธิภาพของทีมที่ดี เป้าหมายที่ตรงกัน เปิดเผยที่จริงใจ ไว้ใจผู้อื่นและสนับสนุน ให้ความร่วมมือ มีขั้นตอน / กระบวนการที่ดี
ประสิทธิภาพของทีมที่ดี ผู้นำ ทบทวน พัฒนาบุคคล ความสัมพันธ์ในกลุ่ม การติดต่อสื่อสาร
ข้อเสนอแนะในการสร้าง มนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ข้อเสนอแนะในการสร้าง มนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สุภาพอ่อนโยน ให้เกียรติ และมีความเคารพต่อ บุคคลอื่น จดจำชื่อ-นามสกุล และรายละเอียดบางอย่างเกี่ยวกับบุคคลอื่นๆที่สำคัญให้แม่นยำ มีความจริงใจ มีความรับผิดชอบ
ข้อควรระวังและหลีกเลี่ยง ในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ระวังในเรื่องสีหน้า ท่าทาง และบุคลิกภาพ การโต้แย้ง ถกเถียง เอาชนะ และทะเลาะกันในเรื่องไร้สาระ การตำหนิติเตียนผู้อื่น หลีกเลี่ยงการฉีกหน้าคน การพูดต้องไม่พูดมาก พูดเพ้อเจ้อ วิพากษ์วิจารณ์ ส่อเสียด นินทา หรือประชดประชันผู้อื่น การไม่ฟังผู้อื่น การอิจฉาริษยากัน ความเห็นแก่ตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ความโลภ โกรธ หลง
หลักการสร้างความสัมพันธ์ อันดีกับผู้บังคับบัญชา หลักการสร้างความสัมพันธ์ อันดีกับผู้บังคับบัญชา ทำงานให้ดี ประจบผู้บังคับบัญชาด้วยผลงาน หลีกเลี่ยงการประจบสอพลอ ช่วยทำให้ความคิดหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชาได้รับผลสำเร็จ ไม่ควร “ครับ,ค่ะ”หรือ “ไม่” ตลอดไปจนเสียประโยชน์ของตน อย่าก่อศัตรูอันจะเป็นเหตุให้กวนใจผู้บังคับบัญชา เรียนรู้นิสัยการทำงานของผู้บังคับบัญชาให้เข้าใจ อย่ารบกวนเรื่องเล็กๆน้อยๆจุกจิก
หลักการสร้างความสัมพันธ์ อันดีกับผู้บังคับบัญชา หลักการสร้างความสัมพันธ์ อันดีกับผู้บังคับบัญชา จะเข้าหาให้ดูเวลาและโอกาสที่เหมาะสม อย่านินทาลับหลัง ประเมินตัวเองบ้างว่า เรามีจุดเด่นหรือจุดบกพร่องตรงไหน อย่าแสดงความโกรธเมื่อผู้บังคับบัญชาไม่เห็นด้วยกับท่าน เมื่อท่านดีต่อเรา ต้องหาทางแสดงความกตัญญูกตเวทิตา อย่าบ่นถึงความยากลำบากในการทำงานต่อผู้บังคับบัญชา
หลักการสร้างความสัมพันธ์ อันดีกับเพื่อนร่วมงาน ให้ความเคารพนับถือ ยกย่องให้เกียรติในคุณวุฒิ วัยวุฒิและประสบการณ์ในการทำงาน ให้ความร่วมมือในงานอย่างเต็มที่ ช่วยงานต่างๆเท่าที่จะทำได้ ปฏิบัติตัวด้วยความสุภาพ นิ่มนวล ไม่เย่อหยิ่ง ขอคำปรึกษาแนะนำด้วยความสุภาพ ให้ความช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ตามสมควร
หลักการสร้างความสัมพันธ์ อันดีกับเพื่อนร่วมงาน ไม่คิดอิจฉาริษยาเมื่อเขาได้ดี ให้คำติชมโดยสุจริตใจ และรับคำติชมอย่างใจกว้าง อารมณ์เย็น หากมีปัญหาขัดแย้งกัน พยายามช่วยกันแก้ปัญหาข้อขัดแย้งด้วยกันเอง ไม่ฟ้องผู้บังคับบัญชา
มนุษย์สัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน มีทัศนคติที่ดีต่อกัน ทำงานร่วมกันแบบคนที่อยู่ในเรือลำเดียวกัน ช่วยเหลืองานของผู้อื่นเมื่อได้รับการร้องขอ เห็นใจเมื่อผู้อื่นมีทุกข์ ยอมรับว่าไม่มีใครในโลกที่ดีพร้อม ไว้ใจและให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่ซัดทอดความผิดให้ผู้อื่น
มนุษย์สัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน มีความจริงใจและเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ก้าวก่ายงานในหน้าที่ของผู้อื่น มีมารยาทดีต่อกัน
การสร้างสุขภาพจิตที่ดีในการทำงาน มีสุขภาพกายแข็งแรง รู้จักระงับอารมณ์ มีทัศนคติที่ดีในการมองโลก มีงานอดิเรกที่ชอบทำ ทำตัวให้สนุกกับชีวิต ออกกำลังกายตามโอกาสอันควร ทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
การพัฒนาตนเองเพื่อความก้าวหน้า ในการทำงาน พัฒนาความรู้ พัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พัฒนาความจำ พัฒนาความกระตือรือร้น
การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ (Effective Team – Working) เทคนิคการทำงานร่วมกัน มีดังนี้ กำหนดวัตถุประสงค์หรือเข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายร่วมกัน เลือกผู้นำที่เหมาะสมในการทำงาน วางแผนร่วมกัน มีขั้นตอนอย่างกระจ่างชัด เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคน ดำเนินการตามขั้นตอนที่วางไว้ ติดตามผลเพื่อหาข้อบกพร่องเป็นระยะๆจนบรรลุเป้าหมาย
คุณสมบัติที่ดีและพึงปรารถนา ในการทำงานร่วมกัน รู้จักเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี รู้จักประสานงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รู้จักการติดต่อที่ดี รับฟังและยอมรับมติของกลุ่มด้วยความจริงใจ ไม่เป็นผู้สร้างปัญหา แต่ลดการขัดแย้ง รักษาวินัยและกฎเกณฑ์ของส่วนรวม
การฝึกใจให้มีส่วนร่วม ฝึกรู้จักความสำคัญและคุณค่าในความรู้ความสามารถ ของผู้อื่น ฝึกตระหนักในความดีของผู้อื่นให้ทันท่วงที เสาะหาวิธีที่จะทำตัวเราไม่ให้เบื่อผู้อื่น ฝึกนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ด้วยการกระทำ ฝึกเห็นด้วยกับคนอื่นบ้าง อย่างน้อยเมื่อเริ่มการสนทนา ฝึกเป็นคนใจเย็น อย่าหวังผลอะไรเร็วเกินไป ฝึกเป็นคนพร้อมที่จะร่วมมือและพร้อมที่จะรับรู้ ฝึกใจตนเองให้เป็นผู้ที่ให้เกียรติและให้อภัยต่อผู้อื่น
จิตสำนึกรักองค์การ: การทำงานให้มีความสุขและสนุกในการทำงาน ความหมาย.. การที่บุคลากรขององค์การ หรือหน่วยงานหลายคนมาทำงานร่วมกัน โดยทำหน้าที่ประจำวันของตนดีที่สุด และประสานงานกับผู้อื่นด้วยสัมพันธภาพที่ดี รู้งานผู้อื่นและสามารถทดแทนทำงานให้ได้ (แต่ต้องไม่ก้าวก่ายงานที่ผู้อื่นรับผิดชอบ) สามารถปฏิบัติและกระจายนโยบายของผู้บริหาร หรือ องค์การ ให้เป็นผลงานที่ได้รับมอบหมายประสบผลสำเร็จสูงสุด
ความสำคัญต่อหน่วยงาน.. การที่บุคลากรในองค์การ หรือหน่วยงาน มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีนั้นมีความสำคัญต่อองค์การเป็นอย่างยิ่ง เพราะ..ถ้าทุกคนมีความสุข ความพึงพอใจในการทำงาน จะมีแรงกระตุ้นให้เกิด “ความต้องการอยากมาทำงาน” และกระทบต่อการที่องค์การได้ “ผลงานที่มีคุณภาพ” และส่งผลไปยัง “การบริการที่ดี”ต่อกันทั้งลูกค้าภายใน และลูกค้าภายนอก นำผลไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจตามเป้าหมายที่องค์การนั้นๆตั้งไว้
ความสำคัญต่อบุคลากรในองค์การ.. บุคลากรมีความสุข ความพึงพอใจ ที่จะทำงานให้แล้วเสร็จตามผลงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำออกมามีผลดี ย่อมหมายถึง ความเจริญก้าวหน้าในการทำงาน ผลตอบแทนที่ดีจะได้รับตามมาอย่างแน่นอน
ความประพฤติบุคลากรที่พึงประสงค์ในองค์การ.. มุ่งงาน สนใจทำงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่ มีทัศนคติที่ดีต่องาน ต่อองค์การ มีพลัง กระตือรือร้นที่จะทำงานใหม่ๆ สะสมประสบการณ์การทำงานให้มาก ขยัน และมาทำงานอย่างสม่ำเสมอ อุทิศเวลาให้กับงาน ทำงานเสร็จโดยเร็ว และตรงต่อเวลา เคารพกฎเกณฑ์ขององค์การ และหน่วยงาน ให้ความร่วมมือกับผู้อื่นเสมอ มีความเป็นมิตร ประสานงาน ช่วยเหลือผู้อื่นตามโอกาส เป็นสมาชิกที่ดีของทีมงาน รับฟัง และกล้าเสนอความคิดเห็นที่ดี มีความรู้จริงในการทำงาน หาโอกาสเพิ่มพูนความรู้ให้กับตนเอง
ความประพฤติส่วนที่ควรเสริมสร้างในองค์การ.. มีสัมมาคารวะ ให้ความเคารพหัวหน้า และผู้มีอาวุโส ให้เกียรติผู้อื่น มีความรับผิดชอบ และทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็น “ผู้ใหญ่” มีเหตุผลรอบคอบ กล้าตัดสินใจ และกล้ารับผิด รื่นเริง ยิ้มแย้มแจ่มใส เข้ากับสังคมและวัฒนธรรมขององค์การที่ดีได้ สะอาด เรียบร้อย รักษาสุขภาพทั้งกาย วาจา ใจ มีคุณสมบัติของผู้ชนะที่ดี ไม่เหยียบย่ำซ้ำเติมผู้แพ้ เห็นอกเห็นใจคน
ภาพลักษณ์ผู้นำ 71
1. คุณสมบัติบุคคล หัวหน้า 1. คุณสมบัติบุคคล หัวหน้า คือ ผู้เสมือนเป็นหน้าตาของหน่วยงาน โดยต้องเป็นผู้ที่พร้อมยืนอยู่ข้างหน้า ปอิทมปอืมปแมแ
คุณสมบัติของ “หัวหน้างาน” ความเป็นผู้นำและการบังคับบัญชา ความสามารถในการวางแผนและจัดระบบงาน การควบคุมงาน หรือ การบังคับบัญชา ความขยันหมั่นเพียรและการไม่ขาดงาน ความคิดริเริ่มและดุลพินิจ ความสามารถในการคิด และการกระทำอย่างสร้างสรรค์ และกระทำไปได้เอง โดยมิต้องบอกรายละเอียด รวมทั้งความสามารถในการตัดสินใจ
ความรู้งานและความคล่องตัว ความรู้และความเข้าใจในงานทุกด้าน รวมทั้งความสามารถที่ จะรับงานยุ่งยากมากขึ้น ความสามารถเรียนรู้ ความสามารถในการจดจำคำสั่ง และรับความคิด รวมทั้งวิธีการ ทำงานใหม่ๆ ความไว้วางใจได้ ความสามารถในการปฏิบัติตามคำสั่ง และสามารถไว้วางใจได้ในการ ทำงานอย่างถูกต้อง โดยการบังคับบัญชาเพียงเล็กน้อย คุณภาพงาน ความสามารถและความสม่ำเสมอในการทำงานให้ได้ผลที่ถูกต้องเต็มที่ และเรียบร้อย โดยมิต้องคำนึงถึงปริมาณ
บุคลิกภาพ ความชอบพอจากเพื่อนร่วมงานจากลักษณะต่างๆ เช่น อารมณ์ ความรู้สึก กาลเทศะ ความสุภาพ การวางตัว และท่าทางการพูด ทัศนคติและความร่วมมือ ทัศนคติที่มีต่องาน เพื่อนร่วมงาน และความร่วมมือต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่จะมีผลต่อบุคคลอื่น หรือ บริษัทฯ ความเคารพต่ออำนาจการบังคับบัญชาและปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ ความเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาและการปฏิบัติตามขั้นตอนที่ได้รับคำแนะนำ การปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทและของหน่วยงาน
ความเป็น “ผู้นำ” หมายถึง ศิลปะ ในการใช้ ความสามารถ ที่จะทำให้บุคคลอื่น คล้อยตามเรา และทำตามเราอย่างเต็มใจ ในสิ่งที่เราต้องการจะให้เขาทำ คือ ผู้ที่สามารถทำให้บุคคลอื่นคล้อยตาม และทำตามอย่างเต็มใจ ในสิ่งที่ต้องการจะให้ทำ
ความแตกต่างสำคัญ 2 ประการ ผู้ตาม - จะเป็นผู้ลงมือทำตามคำสั่งให้เสร็จ - จะจัดการเกี่ยวกับงาน หรือ สิ่งของเครื่องมือ เครื่องใช้ ผู้นำ - จะเป็นผู้ทำให้งานนั้นสำเร็จ โดยจูงใจให้คนอื่นทำ - จะเป็นผู้จัดการเกี่ยวกับคน
ทักษะความเป็น “ผู้นำ” (Leadership Skill) การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ การมอบหมายงาน การควบคุม ติดตามงาน เทคนิคการแก้ปัญหา และตัดสินใจ
แบบของการเป็นผู้นำ 3 แบบ แบบเผด็จการ (อัตตาธิปไตย) จะเอาความคิดของตนเองเป็นใหญ่ ไม่ยอมฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ชอบออกคำสั่ง ไม่ชอบให้คนโต้แย้ง
ไม่ค่อยจะยุ่งเกี่ยวกับลูกน้อง ไม่ชอบบังคับขู่เข็ญ ขอให้ทุกอย่างเป็นไปโดยปกติธรรมดาเป็นใช้ได้ 2. แบบอิสระเสรี
ถือความเห็นส่วนใหญ่เป็นหลักไว้ก่อนเสมอ ชอบปรึกษาหารือ ชอบขอความเห็นลูกน้อง หรือผู้ร่วมงาน ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นก่อนลงมติ กรณีมีผู้คัดค้าน จะถือเอาเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์เสมอ 3. แบบประชาธิปไตย
“ผู้นำ” แบบไหนดีที่สุด มิได้ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ หรือข้อกำหนดที่วางไว้ตายตัว แล้วแต่ความเหมาะสม ถูกต้องกับสถานการณ์ สรุป ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ของ สิ่งแวดล้อม กาลเวลา
หลักการพัฒนาตนเองให้เป็น “ผู้นำที่ดี” มีความรู้ในงานที่ตนเป็นหัวหน้าอยู่ และความรอบรู้ในเรื่องต่างๆ มีการวางแผนงานการปฏิบัติในหน่วยงานไว้ให้ชัดเจน รู้จักรับผิดชอบผลงานการปฏิบัติของหน่วยงาน จะต้องให้ผู้ใต้บังคับบัญชารู้ในสิ่งที่ควรรู้ รอบรู้ / ฝึกในเรื่องมนุษยสัมพันธ์ ฝึกความคุ้นเคย และดูแลสวัสดิภาพของผู้ใต้บังคับบัญชา
7. ต้องควบคุมการปฏิบัติให้เป็นไปตามความมุ่งหมายของคำสั่งที่สั่งออกไป 8. ปลูกผัง / ส่งเสริม ความรับผิดชอบให้เกิดแก่ผู้ใต้บังบัญชา 9. ยอมรับความคิดใหม่ด้วยความไว 10. มีความคิดริเริ่มเสมอ 11. เป็นตัวอย่างที่ดีแก้ผู้ใต้บังคับบัญชา 12. เสริมเทคนิคที่จะให้เกิดความสามัคคี ขึ้นภายในหน่วยงาน
ความแตกต่างระหว่างการเรียก “เจ้านาย” กับ “ผู้นำ” ความแตกต่างระหว่างการเรียก “เจ้านาย” กับ “ผู้นำ” เจ้านาย ผู้นำ ผลักดัน จี้ ใช้อำนาจ ชอบสั่ง “พวกคุณ” ตัดปัญหา รู้วิธีทำงาน แนะนำ กระตุ้น จูงใจ ปรึกษาหารือ “พวกเรา” แก้ปัญหา ลงมือทำเองได้ด้วย
ลักษณะเด่นของบุคคลผู้เป็น “ผู้นำที่ดี” ต้องมีความสุขใจที่เห็นบุคคลอื่นพัฒนาได้ภายใต้การแนะนำ และอำนวยการของตน แต่มิใช่อยู่ภายใต้การบีบบังคับมากเกินไป การออกคำสั่ง หรือ การอำนวยการกระทำอย่างเปิดเผย และเฉียบขาดในทุกกรณี มีความกล้าในทางที่ถูกต้อง สร้างอารมณ์ขันเป็นคุณสมบัติประจำตัว มีความรู้สึกรับผิดชอบต่องาน (อุทิศกำลังกาย สมอง เวลาอย่างแท้จริง) มีความเข้าใจในธรรมชาติความเป็นมนุษย์ของบุคคลได้อย่างลึกซึ้ง เลือกใช้บุคคลได้ตรงกับความสามารถของแต่ละบุคคล
นักบริหาร หมายถึง ผู้ดำเนินการในการใช้ปัจจัยในการบริหาร ได้แก่ - บุคลากร - วัสดุ - อุปกรณ์ - งบประมาณ - เวลา อย่างมีประสิทธิผลด้วยประสิทธิภาพ
ทักษะของผู้บริหาร ทักษะในเรื่อง “การคิด” ทักษะในเรื่อง “งาน” ทักษะในเรื่อง “บุคคล”
2 แนวทางการพัฒนางาน การติดตามงาน ความสำคัญและประโยชน์ 2 แนวทางการพัฒนางาน การติดตามงาน ความสำคัญและประโยชน์ 1. แสดงความรับผิดชอบ 2. รับรู้ความคืบหน้าของงาน 3. ให้บรรลุตามเป้าหมาย
หลักการ สังเกตการณ์ เพื่อให้กำลังใจ สังเกตการณ์ เพื่อให้กำลังใจ บอกกล่าว / แนะนำ เพื่อการแก้ไขได้ทันที สอบถาม เพื่อให้เกิดความกระตือรือร้น และรู้สึกที่ดีต่อหัวหน้างาน 4. รายงาน เพื่อเสริมสร้างผลงาน
เทคนิค เกิดความรู้สึกที่ให้เกียรติ และเชื่อถือเขา ต้องการให้ความช่วยเหลือ ต้องการให้การปรึกษา
การวางแผนงาน รู้นโยบาย ทิศทางขององค์กร รู้เป้าหมายของการทำงาน (บทบาทหน้าที่) รู้วัตถุประสงค์ของงาน รู้วิธีปฏิบัติของงานแต่ละเรื่อง มีแผนการปฏิบัติงาน มีแผนการควบคุมงาน
การบริหารงานบุคคล การวางแผนกำลังคน การสรรหา คัดเลือก การกำหนดอัตราค่าจ้าง และผลตอบแทน การกำหนดสวัสดิการต่างๆ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง - บุคลากรกับบริษัท - บุคลากรด้วยกันเอง 6. การพัฒนาทรัพยากรบุคคล 7. การกำหนดความก้าวหน้าในอาชีพ 8. การกำหนดวินัยแก่บุคคล
ศิลปะการว่ากล่าว (การตำหนิ) จำเป็นต้องสอบถามเขาก่อน ต้องให้โอกาสเขาชี้แจง กาละเทศะด้านเวลา และสถานที่ที่เหมาะสม ใช้วิธีการ และต้องได้รับความร่วมมือเป็นการตอบสนอง แนะนำ / บอกสิ่งที่ควรทำ ชี้ให้เขาเห็นประโยชน์ของการพัฒนา / ปรับปรุง
การควบคุมงาน กำหนดมาตรฐานของงาน สร้างระบบการควบคุมงาน วิธีกำกับ และติดตามผลงาน การประเมินผลงาน การปรับปรุงมาตรฐานการปฏิบัติงาน ความปลอดภัยการทำงาน
การสั่งงาน บุคลิกภาพการเป็นผู้นำ วิธีการสื่อสาร การมอบหมาย การสอน การจูงใจ และกระตุ้นให้ทำงาน สนับสนุนการทำงานด้านทรัพยากร การให้คำปรึกษา และแนะนำ
องค์ประกอบที่สำคัญ “คนพูด” “เรื่องที่จะพูด” การพูดจูงใจ องค์ประกอบที่สำคัญ “คนพูด” “เรื่องที่จะพูด” หลักสำคัญที่ได้ผลที่สุด คือ 1. ต้องชูประเด็น “ผลประโยชน์” ของผู้ฟังที่ถูกต้องและควรได้ 2. ต้องวิเคราะห์ “ข้อดี” “ข้อเสีย” 3. รู้สัญชาตญาณธรรมชาติของคน โดยเน้นเรื่อง “ความถูกต้อง” หรือ “ความดี งาม” ได้อย่างซาบซึ้ง
ปัญหา หมายถึง ความไม่สอดคล้องกันระหว่างความต้องการ หรือความคาดหวังกับ สภาพปัจจุปันที่เป็นอยู่จริง (ยิ่งความสอดคล้องต้องกันมีน้อยเท่าไร ปัญหาก็จะเกิดมากขึ้นเท่านั้น)
ขั้นตอนการแก้ไขปัญหา (สร้างสมประสบการณ์) รับรู้ วิเคราะห์ หาวิธีแก้ไข ตัดสินใจ และแสดงออก ประเมินผล บนแนวคิดที่ควรพิจารณา 2 ประการ 1. คุณภาพการตัดสินใจ (Quality) 2. การยอมรับ (Acceptance)
การวิเคราะห์ปัญหา บรรยายลักษณะปัญหา รวบรวมให้ชัดเจน ระบุสาเหตุที่อาจทำให้เกิดปัญหา ประเมินสาเหตุที่อาจทำให้เกิดปัญหา การยืนยันสาเหตุที่แท้จริง
กลยุทธการตัดสินใจการแก้ไขปัญหา เข้าใจสถานการณ์ ยอมรับปัญหาจริงที่เกิดขึ้น หาทางเลือกหลายๆ ทาง ตัดสินใจเลือกทางที่เห็นว่าดีที่สุด เป็นทางเลือกที่เป็นที่ยอมรับของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
การบริหารความขัดแย้ง ความขัดแย้ง หมายถึง - สภาพที่บุคคลเกิดความต้องการ มีจุดมุ่งหมายมากกว่าหนึ่งอย่างใน เวลาเดียวกัน - และทิศทางที่จะไปสู่การสนองความต้องการนั้น ไม่อาจไปด้วยกันได้ - ทำให้บุคคลเกิดสภาพที่ไม่พึ่งพอใจ หรือขัดเคืองใจ อันเป็นผลจากสภาพ ความขัดแย้งทีเกิดขึ้น และไม่อาจหาข้อยุติที่พึงพอใจกันได้ อาจเกิดขึ้นในตัวบุคคลเดียวกัน หรือ ระหว่างกลุ่มบุคคล บุคคลกับกลุ่ม กลุ่มกับกลุ่ม
ผลเสียของความขัดแย้ง ทำลายความร่วมมือ ทำลายความสามัคคี ประสิทธิภาพการทำงานด้อยลง
สาเหตุของความขัดแย้ง ความคิดเห็นต่างกัน ผลประโยชน์ขัดกัน ค่านิยมต่างกัน อคติต่อกัน อิจฉาริษยา ตีความจากการรับรู้ที่ต่างกัน ชิงดี ชิงเด่นกัน การสื่อสารไม่ดี แบ่งพรรค แบ่งพวก
9. ความไม่ชัดเจนของบทบาทหน้าที่ 10 9. ความไม่ชัดเจนของบทบาทหน้าที่ 10. เป้าหมายของการทำงานที่ต่างกันกับ เป้าหมายส่วนบุคคล 11. ความเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจยอมรับกันได้ สรุป จากทัศนคติ (Emotion) จากวิธีการทำงาน (Fact) และ (Authority) จากผลประโยนช์ (Benefit)
แนวทางหลักที่ก่อให้เกิดผลสำเร็จ (Constructive Scientific Method) เข้าใจว่า เป็นธรรมชาติที่ต้องเกิด และหาทางแก้ไขได้ เปลี่ยนความคิดจาก “เอาชนะกัน” มาเป็น “เอาชนะปัญหา” มีการวิเคราะห์ว่า ปัญหา เกิดจากสาเหตุ 3.1 ทัศนคติบุคคล ลักษณะนิสัย (Emotion) 3.2 อำนาจ วิธีการทำงานในหน้าที่ (Authority) 3.3 ผลประโยชน์ (Benefit)
พร้อมที่จะเปิดเผยความต้องการที่แท้จริงของตนด้วยความจริงใจ ต้องมีการติดต่อสื่อสารที่ดีแก่กัน ไม่ใช้อารมณ์ หลีกเลี่ยงการโหวต เอา แพ้ – ชนะ กัน พยายามใช้ข้อมูลให้มากที่สุด ต้องระลึกว่า อย่าเอาแต่ใจตนเอง จงประสานประโยชน์
การขจัดสภาพความขัดแย้งภายในจิตใจ ส่งผลให้เกิดอาการทางจิตใจที่เรียกว่า “ความคับข้องใจ” (Frustration)
วิธีหาทางออกโดยการปรับตัวตามวิธีการ ใกล้ชิดกับสิ่งที่เป็นปัญหามากขึ้น ก็จะได้ข้อมูล และความรู้สึกมากขึ้น พอที่จะแก้ไขได้ ยอมเสียเวลาหาข้อมูลเพิ่มขึ้น เปรียบเทียบระหว่างข้อดี / ข้อเสียให้ถ่องแท้ ปรึกษาหารือผู้ที่เกี่ยวข้อง หาวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยไม่เกิดปัญหาอื่นตามมา เมื่อตัดสินใจเลือกแล้วก็ไม่ต้องไปกังวลอีก ยอมรับในผลที่เกิดขึ้นอย่างองอาจ
รูปแบบในการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่าง บุคคล หรือ กลุ่ม 1. แบบชนะ – แพ้ คือ - ต่างฝ่ายต่างขับเคี่ยว เพื่อเอาชนะกัน - เมื่อมีฝ่ายแพ้ ความเป็นศัตรูก็เกิด เป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่มีผลเสียหายเหมือนกัน 2. แบบ แพ้ – แพ้ คือ - ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมให้ใครได้ประโยชน์ พังเป็นพัง หรือ ได้คนละน้อยก็เอา เป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ได้รับประโยชน์น้อย
3. แบบ ชนะ – ชนะ คือ - ทั้งสองฝ่ายต่างร่วมมือกันแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง - โดยมีเป้าหมายให้แต่ละฝ่ายได้ประสบผลสำเร็จ เป็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ไม่มีผู้ใดแพ้ เรียกว่า WIN-WIN Concept เกิดจาก การประสานประโยชน์ - เน้นความพอใจของทั้งสองฝ่ายมากที่สุด การประนีประนอม - มีการต่อรอง โดยต่างฝ่ายต่าง ได้รับผล บางส่วนตามที่ตนต้องการ
การแก้ไขการขัดแย้งระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชา โดยยึดถือหลักที่จะทำให้เกิดคุณค่าในผลตัดสิน หลักนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ พิจารณาให้ดีก่อนลงมือตัดสินใจแก้ปัญหา ต้องมีศิลป์ในการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล และสถานการณ์แต่ ล่ะเรื่องนั้นๆ ซึ่งไม่สามารถกำหนดตายตัวลงไปได้
วิธีการ นิติศาสตร์ คือ การชี้ชัดลงไปเลยว่าโครถูกใครผิด ผลดี เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเด็ดขาดดี และความเข็มแข็งของผู้นำ ผลเสีย อาจจะเกิดการไม่ยอมรับการตัดสินขึ้นมา เพราะธรรมชาติทุกคนมักจะคิดว่าตนเองถูกเสมอ 2. รัฐศาสตร์ คือ เป็นการแก้ปัญหาโดยยึดหลักอลุ่มอล่วย ให้ยอมกันได้ทั้งสองฝ่ายเป็นหลัก โดยไม่ชี้ชัดว่าใครถูก ใครผิด จะได้ไม่มีใครผิดหวังทั้งสองฝ่าย
วิธีการของผู้ดำเนินการที่มีผลสำเร็จ ต้องมีความสามารถในการเจรจา เพื่อให้ยอมๆ กัน ต้องมีวิธีพูดที่ทำให้ฝ่ายที่รู้สึกว่าได้เปรียบ เกิดความไม่แน่ใจ และรู้สึกว่าจะเสียเปรียบแทน ต้องมีทางเลือกให้หลายทาง โดยแต่ละทางจะไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบกัน ทั้งคู่จะรู้สึกว่าไม่ผิดหวัง
ข้อเสีย :- ในกรณีต่างฝ่ายไม่ยอมกันแล้ว จำเป็นต้องใช้หลักนิติศาสตร์มาตัดสินให้เด็ดขาด เพื่อไม่ให้ยืดเยื้อออกไปอีก โดยให้เห็นและยึดหลัก 1. มีเหตุผล 2. บนความถูกต้อง 3. เป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ 4. ยุติธรรมในที่สุด
การทำงานร่วมกันเป็นทีม 1. เป้าหมายของทีมงาน 1.1 เป็นที่เข้าใจ 1.2 เป็นที่ยอมรับ 1.3 เป็นจริงได้ 1.4 วัดและประเมินได้ 2. หน้าที่และบทบาทของทีมงาน 2.1 กำหนดได้ชัดเจน 2.2 เป็นที่ยอมรับ 2.3 เป็นที่เข้าใจ
3. ภาวะผู้นำ 3. 1 นำผู้อื่นได้ 3. 1. 1 รอบรู้กว่า 3. 1 3. ภาวะผู้นำ 3.1 นำผู้อื่นได้ 3.1.1 รอบรู้กว่า 3.1.2 นำไปทิศทางที่ถูกต้อง 3.1.3 ทำเพื่อส่วนรวม 3.2 ปรับสไตล์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้ 4. การมีส่วนร่วมของสมาชิก 4.1 เพื่อประสานอัจฉริยภาพของมนุษย์ 4.2 เพื่อให้เกิดความผูกพัน
5. การตัดสินใจบนความเห็นพ้อง 5. 1 เพื่อให้ทุกคนยอมรับ 5 5. การตัดสินใจบนความเห็นพ้อง 5.1 เพื่อให้ทุกคนยอมรับ 5.2 เพื่อให้เกิดพันธะผูกพัน 5.3 เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกแพ้ ชนะ 6. ความไว้เนื้อเชื่อใจ 6.1 หัวหน้าเชื่อมั่นในความซื่อสัตย์ ของลูกน้อง 6.2 มั่นใจว่าหัวหน้าจะนำไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า 6.3 เพื่อนร่วมงานไว้วางใจ ซึ่งกันและกัน
7. การสื่อสาร 7. 1 เปิดเผย / จริงใจ 7. 2 สื่อสาร 2 ทาง 7 7. การสื่อสาร 7.1 เปิดเผย / จริงใจ 7.2 สื่อสาร 2 ทาง 7.3 แสดงออกทางภาษากาย 8. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ 8.1 เห็นในสิ่งที่คนทั่วไปไม่เห็น 8.2 ไม่มองข้ามสิ่งที่คนอื่นมองข้าม 8.3 ชอบสมมุติ / จินตนาการ
8. 4 ไม่อิง กรอบ กฏระเบียบ 8. 5 เน้นอนาคตมากกว่าปัจจุปัน 8 8.4 ไม่อิง กรอบ กฏระเบียบ 8.5 เน้นอนาคตมากกว่าปัจจุปัน 8.6 แสวงหาวิธีการใหม่ 9. การบริหารความขัดแย้ง 9.1 การขัดแย้งอยู่ในระดับที่เหมาะสม 9.2 มุ่งสู่บูรณาการ
10. พัฒนาบุคลากร 10. 1 การฝึกอบรม 10. 2 การศึกาต่อ 10. 3 การดูงาน 10 10. พัฒนาบุคลากร 10.1 การฝึกอบรม 10.2 การศึกาต่อ 10.3 การดูงาน 10.4 การหมุนเวียนงาน
บทสรุป... คุณสมบัติ และการปฏิบัติตนตามแนวทางที่นำเสนอมาทั้งหมดจะทำให้บุคลากรในองค์การทำงานอย่างมีความสุข และสนุกกับงาน จนสามารถประสบผลสำเร็จในชีวิตส่วนตัว และชีวิตการทำงาน ทำงานที่ไหน อยู่กับคนได้อย่างมีความสุข และสร้างความสุขให้ผู้อื่นแล้วจะเจริญก้าวหน้าทุกท่าน ชีวิตมีสุข สังคมสงบสุขและสันติสุขบังเกิดตลอดไป
แบบฝึกหัด การเป็นหัวหน้างานที่ดี ลูกน้องรัก และทำงานให้เสร็จตามเป้าหมาย การสร้างแรงจูงใจให้ลูกน้องทำงานให้เร็วขึ้น ดีขึ้นกว่าเดิม มีคุณภาพสูงเป็นที่ต้องการของลูกค้า และทำงานด้วยความสุข การคำนึงถึงการลดของเสีย ไม่ทำงานซ้ำซ้อน โดยให้รักองค์การเสมือนบ้านที่สองที่นำเงินไปส่งเสียเลี้ยงดูบ้านหลังที่หนึ่ง ฯลฯ
ขอให้โชคดีทุกท่าน สวัสดี..