การเขียนโฆษณา
โรเบิร์ต ลัสต์ (Robert lusk) ประธานกรรมการบริษัทเบนตัน สหรัฐอเมริกา ให้ทัศนะว่า “การโฆษณา เป็นวิธีการในการเสนอสินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือความคิดเห็นสู่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนเกิดการยอมรับและซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ”
การเขียนข้อความโฆษณา 1 ใช้ภาษาที่คำนึงถึงผู้รับสารว่าเป็นเพศใด วัยใด อาชีพใด รายได้เป็น อย่างไร การศึกษามากน้อยเพียงใด เพราะจะทำให้เราใช้ภาษาได้ อย่างมีผล
2. การเขียนข้อความโฆษณาต้องดึงดูดความสนใจ เร้าความอยากได้ 2 การเขียนข้อความโฆษณาต้องดึงดูดความสนใจ เร้าความอยากได้ ในผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่เราเสนอ 3 ภาษาที่ใช้ต้องสั้น กะทัดรัด ไม่เยิ่นเย้อจนเกินไป เพราะการ โฆษณา ทางวิทยุ โทรทัศน์ หรือแผ่นป้ายกลางแจ้ง คนดู คนฟัง สามารถ รับได้ในเวลาจำกัด ฉะนั้นถ้าข้อความยาวเกินไปจะทำให้ ไม่ สามารถ รับสารได้ การโฆษณาก็ไม่เกิดผล
4. การใช้ภาษาในการโฆษณาอาจจะไม่ถูกแบบแผนทางไวยากรณ์บ้างก็ได้ 4 การใช้ภาษาในการโฆษณาอาจจะไม่ถูกแบบแผนทางไวยากรณ์บ้างก็ได้ แต่มิได้หมายความว่าการใช้ภาษาที่ผิดไวยากรณ์จะเป็นสิ่งที่ดีเสมอไป เพราะบางครั้งการใช้ประโยคที่ผิดไวยากรณ์อาจจะทำให้สื่อความหมาย ผิดได้ 5 ภาษาที่ใช้ต้องกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความอยากได้ อยากซื้อ อยากทดลอง ใช้บ้าง ภาษาจึงต้องยั่วยุ เร่งเร้าให้ตัดสินใจซื้อหรือต้องการทันที 6 ภาษาที่ใช้ต้องให้ความกระจ่างชัดในสินค้านั้นว่าเป็นสินค้าชนิดใด ประเภทใด ใช้ทำอะไร มีประโยชน์อย่างไร และหาซื้อได้ที่ไหน
การเขียนข้อความในการโฆษณาสินค้านั้น มักจะประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 1 พาดหัว เป็นข้อความที่เร่งเร้าความสนใจจากผู้บริโภคให้สนใจโฆษณาชิ้นนั้น พาดหัวมักจะเขียนเป็นอักษรตัวใหญ่ ไม่ยาวจนเกินไป เช่น โฆษณาของธนาคารไทยพาณิชย์ ขึ้นต้นพาดหัวว่า “คุณจะรอให้ฝันเป็นจริง เมื่ออายุ 95 หรือ?”
2. รายละเอียดขยายพาดหัว เป็นข้อความที่ให้รายละเอียดในพาดหัวว่าเป็น 2 รายละเอียดขยายพาดหัว เป็นข้อความที่ให้รายละเอียดในพาดหัวว่าเป็น สินค้าหรือบริการชนิดใด เป็นอย่างไร มีประโยชน์หรือวิธีการอย่างใด และ จะหาซื้อหรือใช้บริการได้ที่ไหน
3. คำขวัญ (slogan) เป็นคำขวัญที่สั้น ๆ กะทัดรัด และเป็นคำที่ติดปากอยู่
การเขียนคำขวัญโฆษณา การเขียนคำขวัญโฆษณาควรมีลักษณะดังนี้ เป็นคำหรือข้อความที่สั้น กะทัดรัด ได้ใจความ เป็นถ้อยคำที่เห็นหรือได้ฟังสามารถจดจำได้ง่าย เป็นข้อความที่ไม่ยากจนเกินไป หรือใช้คำฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น ใช้คำที่โน้มน้าวใจ ชักจูงใจในความใคร่รู้ใคร่เห็น หรืออยากทดลอง ใช้คำที่มีสัมผัสสระ หรือสัมผัสอักษรเพราะจะช่วยให้จำได้ง่าย ไม่ใช้คำยาก หรือศัพท์วิชาการที่มีความหมายเฉพาะอย่างที่ไม่สามารถ เข้าใจได้อย่างกว้างขวาง ใช้คำหรือข้อความที่มีความแปลกใหม่ กระตุ้นความรู้สึก สะกดคำได้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ไทย
คำขวัญประเภทมีสัมผัส เช่น คำขวัญประเภทมีสัมผัส เช่น สุขกาย สบายใจ เมื่อใช้ซิงเกอร์ ประทับคุณค่า ประทับตราหัวม้าลาย
คำขวัญที่มีการใช้คำซ้ำ เช่น ปตท. พลังไทย เพื่อไทย สิงห์โกลด์ ไลท์เบียร์ เบา ๆ แต่สะใจในรสชาติ
คำขวัญที่เป็นเหตุเป็นผล มักใช้คำว่า “เพื่อ” เช่น บรีสใหม่ เพื่อเนื้อผ้ายุคใหม่
แป๊ปซี่ รสชาติของคนรุ่นใหม่ คำขวัญที่เสนอแนวคิดยุคใหม่ เช่น แป๊ปซี่ รสชาติของคนรุ่นใหม่
คำขวัญที่ไม่มีคำสัมผัส เช่น ไทย-เดนมาร์ค นมจากเต้า