Dr.kasemsun wanawanakorn General surgery

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
แนวทางการรับส่งต่อ ผู้ป่วยมะเร็งนรีเวช
Advertisements

Endoscopic and Laparoscopic Surgery Srinagarind Hospital
CLINICAL TRACER CA Colon สาขาศัลยศาสตร์ทั่วไป ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ริราชพยาบาล
ผศ.(พิเศษ)นพ.นภดล สุชาติ พ.บ. M.P.H.
Thalassemia Patommatat MD.
จัดทำโดย นสภ. มารุตต์ ตรีอินทอง รหัส มหาวิทยาลัยนเรศวร
งบลงทุน 5 ปี สาขามะเร็ง.
บทที่ 2 การกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ความก้าวหน้าการพัฒนากฎหมาย ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมอนามัย
การนำเสนอผลการจัดทำแผนและคำของบประมาณ
Approach to abdominal pain
โครงการพัฒนารูปแบบการจัดบริการเชิงรุกเพื่อค้นหาโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในเรือนจำ นพ.สุเมธ องค์วรรณดี ผู้อำนวยการสำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
Nursing Care of the Child of Gastrointestinal Disease
การประชุมเชิงปฏิบัติการ
จังหวัด .นครสวรรค์, กำแพงเพชร,พิจิตร, อุทัยธานี, ชัยนาท
แพทย์หญิงปานวาด รัตนศรีทอง
พลังวัชร์ แพ่งธีระสุขมัย คณะวิศวกรรมศาสตร์
กรมบัญชีกลาง กองการพัสดุภาครัฐ
Colon Cancer มะเร็งลำไส้.
สำหรับธุรกิจบริหารจัดการเรือ
จังหวัด .นครสวรรค์, กำแพงเพชร,พิจิตร, อุทัยธานี, ชัยนาท
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
BUSINESS TAXATION รศ.ดร.กฤษฎา สังขมณี
แนวทางการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่ม และน้ำแข็งบริโภค ในสถานประกอบการ
Effective Child Development สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่
การควบคุมและตรวจสอบภายใน รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
Buddy Happy Brain (Smart Kids) ศูนย์อนามัยที่ ๓
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
รูปแบบมาตรฐานการเขียนโครงการ
สิทธิประโยชน์การเป็นสมาชิกกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ
จังหวัดสมุทรปราการ.
4.8 พัฒนาการเด็กวัยเรียน
พญ.ชีวนันท์ เลิศพิริยสุวัฒน์
การนำเสนอผลงานการวิจัย
หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) 0405
ตัวชี้วัด : ร้อยละของการดำเนินงานให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลสุขภาพ และการป้องกันโรคและภัยสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม.
พระพุทธศาสนา.
นโยบาย/แนวทางพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ การป้องกันควบคุมโรคมะเร็ง จังหวัดศรีสะเกษ นางสาววิลาวัลย์
การกำจัดขยะและสารเคมี
บทที่ 4. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร
10 สถานที่ท่องเที่ยว ขอแนะนำ.
รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียน วิชาการพัฒนาบุคลิกภาพ
สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสมุทรสงคราม
เขตสุขภาพที่ 11 นพ. ประกอบ ลือชาเกียรติศักดิ์
ความสำคัญของโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย
พลวัตความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ :
กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์
โครงการปรับระบบการเลี้ยงสุกรเพื่อป้องกันโรคและประเมินสถานภาพโรค PRRS ของกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยปี 2559.
การจัดทำรายงาน ของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ อาจารย์ ณัฐเสกข์ เทพหัสดิน
แบบฟอร์มการนำเสนอหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ศูนย์ช่วยเหลือ SMEs (SME Rescue Center)
Service Plan สาขาโรคมะเร็ง
ประเภทที่ 1 วิจัยในชั้นเรียน
การเขียนรายงานเชิงวิชาการ
เข้าใจและสามารถปฏิบัติตนตามหลักธรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับอริยสัจ 4
หอผู้ป่วยศัลยกรรมระบบปัสสาวะ โรงพยาบาลราชบุรี
การบริหารงานเพื่อลดความเสี่ยง ด้านจริยธรรมและกฎหมาย
จัดสวัสดิการผู้สูงอายุตามวิถีแว้ง
บทที่ 7 การเก็บรวบรวมข้อมูล
งานการเงินนักศึกษา ส่วนการเงินและบัญชี
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการสอนซ่อมเสริมร่วมกับ
การจัดทำและการบริหาร งบประมาณรายจ่ายประจำปี นางดรงค์รัตน์ กล้าหาญ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ วันศุกร์ที่ ๑๒ กรกฏาคม ๒๕๖๒
โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
ใบสำเนางานนำเสนอ:

Dr.kasemsun wanawanakorn General surgery COLON CANCER Dr.kasemsun wanawanakorn General surgery

COLON CANCER ลำไส้ส่วนปลายเป็นท่อกลวงยาวประมาณ 5-6 ฟุต ท่อความยาว 5 ฟุตแรกคือส่วนของลำไส้ใหญ่และต่อกับลำไส้ตรงที่ยาวประมาณ 6 นิ้ว ส่วนต่อจากลำไส้ตรงคือทวารหนัก หน้าที่ของลำไส้ใหญ่คือแปรของเสียเหลวให้เป็นอุจจาระแข็ง อาหารจะใช้เวลาเดินทางมาสู่ลำไส้ใหญ่ประมาณ 3-8 ชั่วโมงหลังจากถูกรับประทาน ช่วงเวลานี้สารอาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมจะเป็นของเสียเหลว

COLON CANCER มะเร็งชนิดนี้ ถูกจัดเป็นมะเร็งที่พบมากลำดับที่ 3 ทั้งในชายและหญิง ในประเทศตะวันตก พบ105,000 ราย เป็นผู้ได้รับการวินิจฉัยใหม่ทุกปีในประเทศสหรัฐอเมริกา โอกาสเสี่ยงต่อ มะเร็งลำไส้ใหญ่ พบมากขึ้นเมื่ออายุ50 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ เกิดขึ้นเมื่อผนังลำไส้ใหญ่เริ่มสร้างติ่งเนื้องอกที่เรียกว่าอะอีโนมาตัส (มะเร็งขั้นเริ่ม) ส่วนในประเทศไทยเป็นมะเร็งที่พบมากขึ้นทั้งในผู้ชายและผู้หญิง

มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่เซลล์ปกติในลำไส้ใหญ่มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างไม่หยุดยั้งจนควบคุมไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงนี้อาจใช้เวลาเป็นปี ในระยะแรกๆ เซลล์อาจเป็นเพียงแค่เนื้องอกธรรมดา แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษาหรือตัดทิ้ง เนื้องอกนี้อาจลุกลามกลายเป็นมะเร็งได้ Normal => metaplasia=> dysplasia =>carsinoma in situ => cancer

•ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ •อาการมะเร็งลำไส้ใหญ่ •การตรวจประเมินเบื้องต้น •การวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ •การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ •มีประวัติเนื้องอก ซึ่งปกติจะพบที่ผนังลำไส้ใหญ่และไม่ใช่เนื้อร้าย แต่หากเวลาผ่านไป เนื้องอกบางชนิดอาจกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ •อายุ โดยส่วนใหญ่พบว่ากว่า 90% มักเกิดกับคนที่อายุมากกว่า 50 ขึ้นไป แต่ก็อาจพบได้ในวัยหนุ่มสาวและวัยรุ่น •มีประวัติของโรค IBD (inflammatory bowel disease) คือ โรค ulcerative colitis และ Crohn’s disease ซึ่งอาจกลายเป็นลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังและเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น •มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก่อนอายุ 60 ปีมีความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้น •การไม่ออกกำลังกายและความอ้วน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น •การสูบบุหรี่ จากการศึกษาพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

อาการมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในบางครั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจไม่มีอาการผิดปกติบ่งชี้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือบางครั้งอาการที่พบอาจคล้ายกับอาการของโรคอื่น ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้ •ท้องเสีย ท้องผูก หรือรู้สึกท้องอืด •อุจจาระปนเลือดสดๆ หรือเลือดสีคล้ำมาก •ลักษณะอุจจาระเรียวยาวกว่าปกติ •ไม่สบายท้อง รวมทั้งปวดแสบร้อน อาหารไม่ย่อย และปวดเกร็ง •น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ •อ่อนเพลียหรืออ่อนแรง •โลหิตจาง

การตรวจประเมินเบื้องต้น การตรวจประเมินเบื้องต้น เป็นวิธีการที่สามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และสามารถแยกเนื้องอกที่กำลังจะกลายเป็นมะเร็งได้ แนะนำให้เริ่มตรวจประเมินเบื้องต้นทั้งผู้ชายและผู้หญิงเมื่ออายุ 50 ปี โดยวิธีการตรวจประเมินเบื้องต้นทำได้ดังนี้ •การตรวจหาเลือดในอุจจาระ (fecal occult blood test: FOBT) สามารถตรวจได้ว่ามีเนื้องอกหรือเป็นมะเร็งหรือไม่ การตรวจด้วยวิธีนี้เป็นประจำทุกปีจะช่วยลดการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ และลดลงได้ 18% ในกรณีที่ตรวจปีเว้นปี •การตรวจโดยใช้เครื่องมือซิกมอยด์โดสโคป (sigmoidoscope) ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อสอดผ่านเข้าไปทางปลายทวารหนักสู่ลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง เพื่อตรวจเนื้องอก มะเร็ง และสิ่งผิดปกติต่างๆ วิธีนี้แพทย์สามารถตัดชิ้นเนื้อที่ผิดปกติไปตรวจสอบได้ •การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) วิธีนี้จะช่วยให้เห็นภาพภายในลำไส้ใหญ่ทั้งหมดและสามารถเก็บชิ้นเนื้อที่สงสัยส่งตรวจทางพยาธิวิทยาได้ •การใช้สารทึบแสงแบเรียมร่วมกับการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซเรย์ CT scan (double contrast barium enema: DCBE) จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทนการตรวจด้วยวิธีส่องกล้องได้

การวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ •การตัดชิ้นเนื้อ (biopsy) เป็นวิธีการวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่แม่นยำที่สุด และเพื่อการตรวจทางชีวโมเลกุลของมะเร็ง •การตรวจเลือด โดยการตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดง หรือวัดระดับโปรตีน CEA (carcinoembryonic antigen) •การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) สามารถใช้ในการตรวจสอบตำแหน่งของโรคและการกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ •การตรวจอัลตราซาวนด์ เป็นการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง วิธีนี้จะบอกได้ว่ามะเร็งได้แพร่กระจายสู่ตับหรืออวัยวะอื่นๆ หรือไม่ •การเอกซเรย์ปอด เป็นการตรวจดูว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปยังปอดหรือไม่ •PET scan เป็นการตรวจโดยการฉีดสารรังสีให้ถูกดูดซึมในอวัยวะและเนื้อเยื่อ และทำการถ่ายภาพ ทำให้สามารถตรวจได้ทั้งร่างกาย

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่จะอาศัยทีมแพทย์ในสาขาต่างๆ เช่น ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง มาร่วมกันวางแผนการรักษาที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการรักษาของแพทย์ เช่น •ขนาด ตำแหน่ง และลักษณะของเซลล์มะเร็ง •ระยะโรคและการกระจายของมะเร็ง •สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย

ทางเลือกในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ •การผ่าตัด •รังสีรักษา •เคมีบำบัด •การใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (targeted therapy) •การรักษาโดยการยับยั้งกระบวนการสร้างเส้นเลือดใหม่ (angiogenesis)

Bowel preparation before colonoscopy -Liquid diet -swiff

เคมีบำบัด การรักษาด้วยเคมีบำบัด (chemotherapy) หมายถึง การให้ยาเพื่อทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง มีวัตถุประสงค์เพื่อ •รักษาผู้ป่วยให้หายจากโรคมะเร็งและไม่กลับมาเป็นซ้ำ •ควบคุมโรคให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลงหรือไม่โตขึ้น และไม่ แพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น •บรรเทาอาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะแพร่กระจาย เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

อย่างไรก็ดี เนื่องจากยาเคมีบำบัดไม่ได้ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงที่เซลล์มะเร็งเท่านั้น จึงอาจส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติทั่วไปและการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปากอักเสบ เบื่ออาหาร ภูมิต้านทานต่ำ ท้องเสีย ผมร่วง ซึ่งอาการเหล่านี้จะมากหรือน้อยขึ้นกับชนิดของยา ความแข็งแรงของร่างกาย และความพร้อมด้านจิตใจของผู้ป่วย

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับเคมีบำบัด •รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ •พักผ่อนให้เพียงพอและเพิ่มการนอนพักในช่วงกลางวันอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงต่อวัน •หากมีโรคประจำตัว เช่น หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคที่ต้องรับประทานยาเป็นประจำ ต้องแจ้งให้แพทย์ผู้รักษาทราบ •ควรทำอารมณ์และจิตใจให้พร้อมรับการรักษา โดยลดความกลัวและความวิตกกังวลลง

การดูแลตนเองขณะรับเคมีบำบัด •สังเกตผิวหนังบริเวณที่ฉีดยา ถ้ารู้สึกปวด บวม แดง หรือสงสัยมียารั่วซึมออกนอกหลอดเลือด ต้องแจ้งพยาบาลทันที •ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยขับสารเคมีที่อาจตกค้างในร่างกายออกทางปัสสาวะ •ถ้ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ให้แจ้งพยาบาลทันที

Thank you