การผลิตและการจัดการการผลิต

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Production Planning and Control
Advertisements

Regional Value Chain: กลยุทธ์ โอกาส ประสบการณ์ และข้อควรระวัง
Operations as a Transformation Process
Enterprise Resources Planning (ERP )
LIT MBA รุ่นที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา มกราคม 2559.
Standard requirements
LIT MBA รุ่นที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา ธันวาคม 2558.
กลยุทธ์การ บริหารงานอุตสาหกรรม (Industrial Management Strategy) สัปดาห์ที่ 1 อาจารย์ชาญฉจิต วรรณนุรักษ์ ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรมคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประเภทบุคลากร นักวิชาการสาธารณสุข, นักทรัพยากรบุคคล, จพ.ธุรการ Production Line 1.จัดทำแผนบุคลากร 2.จัดประชุม/สัมมนา 3.ประเมินผลและจัดการความรู้ 4.ร่วมผลิตบุคลากรทางการแพทย์
การบริหารโครงการ (Project Management) โครงการ คือ งาน (task) ซึ่งมีการ กำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด ที่ แน่นอนและมีความต้องการใช้ทรัพยากร ต่างๆใน แต่ละกิจกรรมโดย.
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบและการวิเคราะห์ระบบ
โครงการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตร ผู้ตรวจสอบภายในภาครัฐ
วิชา การพัฒนางานด้วยระบบคุณภาพและเพิ่ม ผลผลิต (Work Development with Quality Management.
Information Systems Development
การพัสดุและการจัดซื้อจัดจ้าง
การเพิ่มผลผลิต.
เอกสารประกอบการบรรยาย หลักสูตร Fundamental หัวข้อวิชา องค์กรและระบบงานตรวจสอบภายใน สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง.
ระบบการผลิต อาจารย์ วรันลักษณ์ ภักดิ์ใจดี.
การพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ เพื่อเข้าสู่ Industry 4.0
ความเป็นมาและความสำคัญ ของการเพิ่มผลผลิต
.:: ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม .::
การศึกษาความเคลื่อนไหวและเวลา
การจัดการการผลิตและการปฎิบัติการ
ทิศทางการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2560
การบริหารคลังสินค้า.
บทที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
บทบาทของการบัญชีต้นทุนในการบริหารธุรกิจ
บทที่ 2 แนวคิดทางด้านต้นทุน ชนิดต้นทุน
บทที่ 3 ระบบสารสนเทศกับการบริหารองค์กร
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
แนะนำรายวิชา การออกแบบระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่าย
แนวทาง การจัดวางระบบการควบคุมภายใน และการประเมินผลการควบคุมภายใน
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
หลักการและแนวคิดที่ใช้ในการศึกษาการทำงาน
บทที่ 7 การควบคุม (Controlling).
บทที่1 ความรู้ทั่วไปสำหรับ การจัดการโซ่อุปทาน
การจัดการทางการพยาบาล Management in Nursing
การตรวจสอบภายในภาครัฐ
ดร.ณัฐวัฒน์ นิปกากร. DMS.
บทที่ 2 แนวคิดทางด้านต้นทุน ชนิดต้นทุน
บทที่ 6 การบริหารและการวางแผนการผลิต
การวางแผนระบบการผลิต
จิตสำนึกคุณภาพ.
การจัดการกระจายสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า
UHC : Universal Health Coverage: Achieving Social Protection for All
การคำนวณต้นทุนผลผลิต
แนวความคิดและทฤษฎีการจัดการ Concept and Management Theory
EM: Asst.Prof.Dr.PattanaSirichotpundit, Ph.D.
การบริหารการผลิต.
วิสัยทัศน์ (Vision) โรงพยาบาลชลบุรี มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางการแพทย์ และสถาบันวิชาการชั้นนำระดับชาติ
วิสัยทัศน์ (Vision) โรงพยาบาลชลบุรี มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางการแพทย์ และสถาบันวิชาการชั้นนำระดับชาติ
EM: Asst.Prof.Dr.PattanaSirichotpundit, Ph.D.
บทที่ 5 องค์กร การบริหารในองค์กรและการพัฒนางานอาชีพในองค์กร
1. ชื่อวิชา  PPA 1102 หลักรัฐประศาสนศาสตร์ 2. หัวข้อที่ประจำ สัปดาห์นี้
การควบคุม (Controlling)
การวิจัย “อนาคตเด็กไทยที่พึงประสงค์”
บทที่ 8 ผลิตภัณฑ์การบริหารการผลิต
การควบคุมการผลิตสินค้าและบริการ
- การกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
บทที่ 5 การวางแผนผังกระบวนการผลิต
ประเด็นการขับเคลื่อนองค์การไปสู่ระบบราชการ 4.0
หลักการจัดการ Principle of Management
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ HR Planning
วิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์
สังคม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
บทบาทของโลจิสติกส์ต่อเศรษฐกิจและสังคม
การวางแผนงานสาธารณสุข
TQS : Total Quality Service การบริการคุณภาพทั่วองค์การ
บทที่ 3 ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การผลิตและการจัดการการผลิต บทที่ 1 การผลิตและการจัดการการผลิต

วัตถุประสงค์ของบทที่ 1 เข้าใจความหมายของการผลิต และการจัดการการผลิต ทราบถึงวิวัฒนาการของการจัดการการผลิต เข้าใจส่วนประกอบและประเภทของระบบการผลิต ทราบถึงหน้าที่ของผู้บริหารการผลิต

องค์ประกอบหลักของการดำเนินธุรกิจ การบริหารจัดการ

การผลิต (Production) กระบวนการนำเอาทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิต (Input) มาผ่านการแปรสภาพ (Transformation) เพื่อสร้างสิ่งที่มีคุณค่า (Value Added) ในรูปของสินค้า (Goods / Products) หรือบริการ (Service) Manufacturing: การผลิตสินค้าที่สามารถจับต้องได้ เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า

การจัดการการผลิต (Production Management) การนำเอาเทคนิคและวิธีการบริหารจัดการมาใช้ในกระบวนการผลิต โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การผลิตมีประสิทธิภาพ และทำให้สินค้าหรือบริการมีคุณภาพที่เหมาะสม ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และมีต้นทุนต่ำสุด ภายในระยะเวลาที่กำหนด Customer Satisfaction, Cost Minimization, On-time Delivery

ลักษณะแตกต่างที่สำคัญระหว่างสินค้าและบริการ สินค้า (Goods / Products) มีรูปร่าง จับต้องได้ สามารถทำการผลิตและจัดเก็บเพื่อนำมาใช้ในภายหลังได้ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคขั้นสุดท้ายมีน้อย ทำเลที่ตั้งของแหล่งผลิตไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้กับตลาด ความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสินค้ามีน้อย กระบวนการผลิตค่อนข้างยุ่งยาก สลับซับซ้อน

ลักษณะแตกต่างที่สำคัญระหว่างสินค้าและบริการ บริการ (Services) ไม่มีรูปร่าง หรือไม่สามารถจับต้องได้ จัดเก็บไม่ได้ แต่เป็นการให้บริการแบบต่อเนื่องติดต่อกันไป ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคขั้นสุดท้ายมีมาก อาศัยทำเลที่ตั้งใกล้กับตลาดหรือแหล่งชุมชน ความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้บริการมีสูง การให้บริการมีรูปแบบที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน

SOFTWARE !

ความสำคัญของการผลิต เป็นองค์ประกอบสำคัญของการดำเนินธุรกิจ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เป็นพื้นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และประเทศ

แนวความคิดเกี่ยวกับการจัดการการผลิต การแบ่งงานกันทำ: Adam Smiths การกำหนดชิ้นส่วนที่เป็นมาตรฐาน: Eli Whitney, Henry Ford การปฏิวัติอุตสาหกรรม: Mass Production การจัดการทางวิทยาศาสตร์: Work Study มนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน: Motivation, Empowerment ตัวแบบการตัดสินใจ: Quantitative Decision Models คอมพิวเตอร์: CNC, Automation

ยุคสมัยของวิวัฒนาการทางด้านการผลิต ยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Pre-industrial Revolution Era) ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution Era) ยุคการวิจัยดำเนินงาน (Operation Research Era) ยุคข้อมูลข่าวสาร (Information Era)

ส่วนประกอบของระบบการผลิต (5 ส่วน) ปัจจัยนำเข้า (Input): ส่วนของทรัพยากรหรือสิ่งที่จำเป็น ต้องใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ วัตถุดิบ (Material) แรงงาน (Labor) เครื่องจักร (Machine) พลังงาน (Energy) เงินทุน (Capital) เทคโนโลยี (Technology) การจัดการ (Management) Input

ส่วนประกอบของระบบการผลิต (5 ส่วน) กระบวนการแปลงสภาพ (Transformation): การนำเอาปัจจัยการผลิตเข้าสู่กระบวนการแปลงสภาพทางการผลิต เพื่อก่อให้เกิดการเพิ่มคุณค่าแก่สินค้าและบริการ การใช้วิธีการทางกายภาพ หรือทางเคมี - น้ำมัน นมผง การใช้วิธีการทางชีวภาพ - แอลกอฮอล์ ไวน์ Transformation

ส่วนประกอบของระบบการผลิต (5 ส่วน) ปัจจัยนำออก หรือผลผลิต (Output): สิ่งที่ได้จากกระบวน การผลิต หรือการแปลงสภาพปัจจัยการผลิตที่ก่อให้เกิดคุณค่าในรูปของสินค้าหรือบริการ คุณภาพ (Quality) / ปริมาณ (Quantity) ประสิทธิภาพ (Efficiency) / ประสิทธิผล (Effectiveness) การส่งมอบ (Delivery) ความยืดหยุ่น (Flexibility) Output

ส่วนประกอบของระบบการผลิต (5 ส่วน) ข้อมูลข่าวสารย้อนกลับ (Information Feedback): ส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการ เป็นข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา ปรับปรุง แก้ไขข้อผิดพลาด หรือข้อบกพร่องในการผลิตสินค้าหรือการให้บริการ Information Feedback

ส่วนประกอบของระบบการผลิต (5 ส่วน) สภาพแวดล้อม (Environment): สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกที่มีผลกระทบต่อกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment) เช่น วิธีการบริหารงาน กลยุทธ์ต่างๆ สถานการณ์ทางการเงิน สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment) เช่น สภาพเศรษฐกิจ คู่แข่งขัน นโยบายรัฐบาล Environment

ส่วนประกอบของระบบการผลิต (ภาพรวม)

ข้อมูลย้อนกลับ (Information Feedback) เสริม (Extra)

ประเภทของระบบการผลิตสินค้าและบริการ ประเภทของระบบการบริการ

การจำแนกตามคุณลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ (Product Specification) 1.1 การผลิตตามคำสั่งซื้อ (Make to Order) 1.2 การผลิตเพื่อรอการจำหน่าย (Make to Stock) การจำแนกตามปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ (Sales Volume Specification) 2.1 การผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Manufacturing) 2.2 การผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง (Intermittent Manufacturing)

A. ประเภทของระบบการผลิตสินค้า

มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้าได้ตลอดเวลา A 1.1 การผลิตตามคำสั่งซื้อ (Make to Order) ผู้ผลิตไม่สามารถกำหนดคุณลักษณะ รายละเอียดการปฏิบัติงาน ประเภทและปริมาณของสินค้าได้ล่วงหน้า มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้าได้ตลอดเวลา แรงงานที่ใช้มีลักษณะที่เป็นช่างฝีมือ มีความชำนาญเฉพาะด้าน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การผลิตตามลูกค้าสั่ง

การพิมพ์เสื้อตามลายที่กำหนด A 1.1 ตัวอย่างการผลิตตามคำสั่งซื้อ การผลิตรองเท้า การพิมพ์เสื้อตามลายที่กำหนด

ผู้ผลิตสามารถกำหนดชนิด และปริมาณของปัจจัยการผลิตได้ล่วงหน้าแน่นอน A 1.2 การผลิตเพื่อรอการจำหน่าย (Make to Stock) ผู้ผลิตสามารถกำหนดชนิด และปริมาณของปัจจัยการผลิตได้ล่วงหน้าแน่นอน รูปแบบของผลิตภัณฑ์มีลักษณะเป็นตามแบบมาตรฐานที่กำหนด การคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับการผลิตขึ้นอยู่กับการวิจัยทางการตลาด เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การผลิตเพื่อทดแทนของที่หมดไป

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า A 1.2 ตัวอย่างการผลิตเพื่อรอการจำหน่าย การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค

A 2.1 การผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Manu.) รูปแบบกระบวนการผลิตที่รวมเอาเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต เรียงตามลำดับขั้นตอนการผลิต สินค้าระหว่างการผลิตจะไหลหรือเคลื่อนที่ไปในสายการผลิตตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่ง โดยจะต้องผ่านกระบวนการผลิตครบทุกขั้นตอน สินค้าที่ผลิตมีปริมาณมาก (Mass Production) และมีรูปแบบเป็นมาตรฐาน (Standardization)

A 2.1 การผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Manu.) มีการใช้เครื่องจักรพิเศษที่ช่วยทุ่นแรงหรือเพื่อการเคลื่อนที่ของสินค้า เช่น สายพานลำเลียง หรือสายงานประกอบผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรเป็นแบบเฉพาะอย่าง ใช้เงินลงทุนสูงในการติดตั้งเครื่องจักร การเปลี่ยนแปลงสายการผลิตทำได้ยาก แต่มีการประหยัดทางด้านวัตถุดิบในแง่ของขนาดการสั่งซื้อ และใช้แรงงานไม่มาก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การผลิตแบบสายงานประกอบ หรือสายงานผลิตภัณฑ์ (Production Line)

A 2.1 ตัวอย่างการผลิตแบบต่อเนื่อง การผลิตน้ำอัดลม การผลิตผลไม้กระป๋อง

สินค้าที่อยู่ในระหว่างการผลิตจะมีการเปลี่ยนแปลงลำดับการผลิตอยู่เสมอ A 2.2 การผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง (Intermittent Manu.) สินค้าที่อยู่ในระหว่างการผลิตจะมีการเปลี่ยนแปลงลำดับการผลิตอยู่เสมอ การไหลเวียนของสินค้าจะไม่ต่อเนื่องอาจมีหยุดรอคอยเป็นระยะๆ สินค้าที่ผลิตมีปริมาณไม่มาก และมีรูปแบบเฉพาะ เครื่องจักรอุปกรณ์เป็นแบบเอนกประสงค์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการผลิตแบบตามสั่ง (Job Shop)

A 2.2 ตัวอย่างการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง การผลิตการ์ด การผลิตเครื่องหนัง

การจำแนกตามมาตรฐานของการบริการ (Standardization) B. ประเภทของระบบการบริการ การจำแนกตามมาตรฐานของการบริการ (Standardization) 1.1 การบริการมาตรฐาน (Standard Services) 1.2 การบริการเฉพาะ (Specific Services) การจำแนกตามลักษณะการมีส่วนร่วมของลูกค้า (Participation) 2.1 การบริการแบบลูกค้ามีส่วนร่วม (Participated Services) 2.2 การบริการแบบลูกค้าไม่มีส่วนร่วม (Non-participated Services)

B. ประเภทของระบบการบริการ

ตัวอย่าง: มหาวิทยาลัย อู่ซ่อมรถ การบริการล้างอัดรูป B 1.1 การบริการมาตรฐาน (Standard Services) ลักษณะของการให้บริการที่มีการกำหนดกฏเกณฑ์มาตรฐานอย่างชัดเจน หรือตามที่กำหนด ตัวอย่าง: มหาวิทยาลัย อู่ซ่อมรถ การบริการล้างอัดรูป

ลักษณะของการให้บริการโดยคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก B 1.2 การบริการเฉพาะ (Specific Services) ลักษณะของการให้บริการโดยคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ตัวอย่าง: ร้านเสริมสวย ร้านอาหารตามสั่ง บริษัทให้คำปรึกษา

ลักษณะของการให้บริการที่ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมในการบริการนั้น B 2.1 การบริการแบบลูกค้ามีส่วนร่วม ลักษณะของการให้บริการที่ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมในการบริการนั้น ตัวอย่าง: โรงภาพยนตร์ ร้านอาหาร บริการนำเที่ยว

ลักษณะของการให้บริการที่ลูกค้าไม่มีส่วนร่วมในการบริการนั้น B 2.2 การบริการแบบลูกค้าไม่มีส่วนร่วม ลักษณะของการให้บริการที่ลูกค้าไม่มีส่วนร่วมในการบริการนั้น ตัวอย่าง: บริการส่งของ บริการส่งอาหาร ซักอบรีด

ธุรกิจต่อไปนี้จัดอยู่ในประเภทของระบบการผลิต สินค้าและบริการแบบใด เมเจอร์คาราโอเกะ: บริการเฉพาะ, บริการแบบลูกค้ามีส่วนร่วม โออิชิ กรีนที: ผลิตเพื่อรอการจำหน่าย, ผลิตแบบต่อเนื่อง

หน้าที่ของผู้บริหารการผลิต การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การเลือกสรรคนเข้าทำงาน (Staffing) การอำนวยการ (Directing) การควบคุม (Controlling)

การวางแผน (Planning) การตัดสินใจกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของการผลิตไว้ล่วงหน้า โดยการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อธุรกิจ การวางแผนระยะสั้น (Short-term Planning): (<1 ปี) การวางแผนระยะยาว (Long-term Planning)

การจัดองค์กร (Organizing) การจัดโครงสร้างของหน่วยการผลิตให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามลักษณะของการทำงานและบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ การมอบหมายหรือจัดสรรอำนาจหน้าที่ให้แก่บุคคลภายในองค์กร ตามความเหมาะสมกับลักษณะงาน

ตัวอย่างผังองค์กร (Organization Chart) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

ตัวอย่างผังองค์กร

การเลือกสรรคนเข้าทำงาน (Staffing) การกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับ การคัดเลือกและจัดสรรบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้าทำงานในตำแหน่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต รวมทั้งการวางแผนกำลังคน การตรวจสอบ และการพัฒนาบุคคลากรในสายการผลิต

การอำนวยการ (Directing) การนำเทคนิคเกี่ยวกับการสร้างแรงจูงใจ สร้างขวัญและกำลังใจมาใช้เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุตามเป้าหมายขององค์กร รวมทั้งการนำเอายุทธวิธีการจัดการสมัยใหม่มาใช้ในกระบวนการผลิต เช่น TQM, Teamwork, etc.

การควบคุม (Controlling) การดูแลตรวจสอบผลการดำเนินงานของกระบวนการผลิต และการปฏิบัติงานของพนักงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด รวมทั้งการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไขหรือพัฒนาต่อไป

ให้ระบุกิจกรรมต่อไปนี้ว่าอยู่ในหน้าที่ของ ผู้บริหารการผลิตแบบใด กำหนดเป้าการขายสินค้าในไตรมาสที่ 3: การวางแผน เปรียบเทียบยอดขายปีนี้กับปีที่แล้ว: การควบคุม ให้โบนัสกับพนักงานที่ไม่ขาดงาน: การอำนวยการ มอบงานโครงการพิเศษให้กับแผนกซ่อมบำรุง: การจัดองค์กร

งานประจำวัน อ่านบทที่ 2: การพยากรณ์การผลิต