3. การอนุรักษ์ป่าไม้ กระทำได้โดย
หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนนั้นสามารถทำได้หลายแนวทางซึ่หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรนั้นมีแนวทางดังต่อไปนี้ 1. การใช้แบบยั่งยืน (Sustainable utilization) การใช้แบบยั่งยืน หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสมให้ได้ประโยชน์สูงสุด เมื่อใช้แล้วเกิดมลพิษน้อยที่สุดหรือไม่เกิดเลย หรือเมื่อเกิดของเสียและมลพิษในสิ่งแวดล้อมก็ต้องหาวิธีการบำบัดกำจัดให้ฟื้นคืนสภาพ หรือนำของเสียมาใช้ประโยชน์ หรือรีไซเคิล (Recycle) เพื่อให้มลพิษในสิ่งแวดล้อมลดน้อยลง การใช้ทรัพยากรธรรมชาตินั้นเป็นไปตามความต้องการของสังคม ดังนั้นจึงต้อบนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดความพอดีระหว่างความต้องการความผาสุกของสังคม การสร้างฐานะทางเศรษฐกิจและสถานภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการใช้แบบยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การรักษา ซ่อมแซม (Repair) 2. การเก็บกัก (Stroage) การเก็บกัก หมายถึง การรวบรวมและเก็บรักษาทรัพยากรที่มีแนวโน้มจะขาดแคลนได้ เพื่อเอาไว้ใช้ในอนาคต เช่น การกักเก็บน้ำ การเก็บกักเพื่อสร้างความมั่นคง เช่น การเก็บรักษาป่าไม้ แร่ น้ำมัน ปิโตรเลียม แก๊สธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นต้น 3. การรักษา ซ่อมแซม (Repair) เมื่อทรัพยากรถูกทำลายโดยมนุษย์ หรือโดยธรรมชาติก็ตาม มีความจำเป็นที่จะต้องรักษา หรือซ่อมแซมให้กลับเป็นปกติ เช่น การเติมอากาศในบ่อบำบักน้ำเสีย การปลูกป่าทดแทนการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าเพื่อนำไปปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ
4. การฟื้นฟู (Rehabilitation) 5. การป้องกัน (Prevention) เมื่อทรัพยากรธรรมชาติเกิดความเสื่อมโทรมไปจะต้องฟื้นฟูให้มีสภาพปกติ เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรได้อีก และใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การเสริมสร้างที่อยู่อาศัยให้สิ่งมีชีวิตในทะเลโดยการสร้างแนวปะการังเทียมจากแท่งคอนกรีตหรือยางรถยนต์ หรือการปลูกป่า เป็นต้น 5. การป้องกัน (Prevention) การป้องกันเป็นวิธีการปกป้องคุ้มกันทรัพยากรมที่กำลังถูกทำลาย หรือมีแนวโน้มว่าจะถูกทำลายให้สามารถอยู่ในสภาพปกติได้ โดยการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ หรืออาจใช้กกหมายควบคุม
การอนุรักษ์เชิงชนิดพันธุ์ (Species approach) ในการอนุรักษ์นั้นมักให้ความสำคัญกับชนิดพันธุ์เป็นชนิดๆ ไป โดยเฉพาะชนิดพันธุ์ที่หากลดจำนวนลงหรือหายไปจะส่งผลกระทบอย่างด่นชัด ซึ่งในการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ใดชนิดพันธุ์หนึ่งนั้นจะมีประโยชน์ในการอนุรักษ์พื้นที่ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัย และเป็นการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในระบบนิเวศนั้น เช่น - ชนิดพันธุ์หายาก (Rare species) - ชนิดพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered species) - ชนิดพันธุ์ที่มีความสำคัญในระบบนิเวศ (Keystone species) ดังนั้น นักอนุรักษาจึงเน้นการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์เหล่านี้เพื่อการอนุรักษ์พื้นที่และระบบนิเวศซึ่งในการเชิงการอนุรักษ์จะมีชนิดพันธุ์ที่มีการให้ความสำคัญแตกต่างกัน เช่น
1. ชนิดพันธุ์บ่งชี้ (Indicator species) สิ่งมีชีวิตที่สามารถบ่งบอกว่าระบบนิเวศมีการเปลี่ยนแปลง สิ่งมีชิวิตมีลักษณะที่ผิดปกติ ลดจำนวนลงหรือหายไปจากระบบนิเวศ เช่น แมลงน้ำที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีคุณภาพดีและหายไปหรือมีจำนวนที่ลดลงเมื่อคุณภาพน้ำต่ำลง ซึ่งลักษณะเช่นนี้ได้มีการนำมาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพแหล่งน้ำได้
2. ชนิดพันธุ์ที่มีความสำคัญในระบบนิเวศ (Keystone species) สิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญในระบบนิเวศมากกว่าชนิดพันธุ์อื่น หากได้รับผลกระทบหรือหายไปจะทำให้โครงสร้างระบบนิเวศเสียหาย และเสียสภาวะสมดุลธรรมชาติ ชนิดพันธุ์เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมีปริมาณมากในระบบนิเวศ เช่น ดาวทะเลในระบบนิเวศชายฝั่งทะเลบางแห่ง ถ้าสูญหายไปจะมีผลต่อสมดุลธรรมชาติของระบบ
3. ชนิดพันธุ์ดีเด่น หรือชนิดพันธุ์ตัวนำ (Flagship species) สิ่งมีชีวิตที่มนุษย์ให้ความสนใจเนื่องจาก มีความสำคัญทางจิตใจ ทางวัฒนธรรม หรือการท่องเที่ยว เช่น แพนด้า โคลา ช้าง และมังกรโคโมโด เป็นต้น - มังกรโคโมโด หรือ Komodo dragon Varanus komodoensis ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่พบเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย โดยลักษณะมีความสำคัญต่อการอนุรักษ์หลายประการคือ เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่ใหญ่ที่สุดในโลกปัจจุบัน (Distinctiveness) พบเฉพาะบนเกาะขนาดเล็ก ทำให้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Endangerment) มีประชาชนให้ความสนใจในเชิงการท่องเที่ยว (Utility) ดังนั้น จึงให้ความสำคัญในการอนุรักษ์มาก โดยการอนุรักษ์หมู่เกาะอินโดนีเซียที่เป็นที่อยู่ของสัตว์ชนิดนี้ คือ Komodo National Park นอกจากนี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO) ยังให้อุทยานแห่งชาตินี้เป็นมรดกโลก (World Heritage site)
4. ชนิดพันธุ์ให้ความคุ้มครอง (Umbrella species) สิ่งมีชีวิตที่เมื่อได้รับการอนุรักษ์แล้วจะช่วยในการปกป้องให้ความคุ้มครองและอนุรักษ์ชนิดพันธุ์อื่นๆและระบบนิเวศด้วย เช่น เสือโคร่งที่มีพื้นที่ในการหากินกว้างหากมีการอนุรักษ์จะเป็นการอนุรักษ์สัตว์ชนิดอื่นด้วย เช่น กระทิงที่อาศัยในพื้นที่เดียวกัน แต่มีพื้นที่หาอาหารแคบกว่าไปด้วย
ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ส่งผลกระทบระบบนิเวศ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น หรือที่เรียกว่า เอเลียนสปีชีส์ (Alien species) สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นในที่ที่แตกต่างจากพื้นที่การแพร่กระจายตามธรรมชาติ โดยสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท ตามบทบาทที่มีผลต่อระบบนิเวศ คือ
บางชนิดอาจจะปรับตัวเข้ากันได้กับชนิดพันธุ์ที่มีอยู่เดิม 1. ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ไม่รุกราน (Non-invasive alien species หรือ NIAS) จัดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ไม่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศโดยตรงบางชนิดไม่สามารถแข่งขันได้กับชนิดพันธุ์เดิมที่มีอยู่ และไม่สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ บางชนิดอาจจะปรับตัวเข้ากันได้กับชนิดพันธุ์ที่มีอยู่เดิม
2. ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (Invasive alien species หรือ IAS) เป็นชนิดที่แพร่พันธุ์ได้เร็ว และมีผลกระทบต่อระบบนิเวศ เนื่องจากชนิดพันธุ์ดังกล่าวนี้มีความสามารถในการปรับตัวแข่งขันได้ดี สามารถรุกรานและแทนที่พันธุ์พื้นเมืองเดิมที่มีอยู่ได้ และยังสามารถขัดขวางการเจริญของพันธุ์อื่นๆ พบว่าชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานนี้ กำลังแพร่ระบาดและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศ เช่น พืชอาหาร ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง พืชเส้นใย ได้แก่ ฝ้าย ปอสา ปอฝ้าย กลุ่มพืชเศรษฐกิจต่างๆ เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ถั่วลิสง ยางพารา ตลอดจนไม้ผลต่างๆ เช่น สาลี่ แอปเปิ้ล บ๊วย ท้อ พลับ และพลัม เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นพืชที่นำเข้ามาทั้งสิ้น