งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เบื้องต้นว่าด้วยรัฐศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เบื้องต้นว่าด้วยรัฐศาสตร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เบื้องต้นว่าด้วยรัฐศาสตร์
ผศ.ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต

2 รัฐศาสตร์คืออะไร รัฐศาสตร์ คือ องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง

3 รัฐศาสตร์เป็นเอกศาสตร์หรือไม่
องค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์มีความชัดเจนที่มุ่งเน้นการทำความเข้าใจ ปรากฏการณ์ทางการเมือง องค์ความรู้พื้นฐานการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองเกิด จากปรัชญาการเมือง แต่ก็มีการหยิบยืมองค์ความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กับมิตินั้นๆ มาใช้ร่วมด้วย อาทิ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมวิทยา บริหารศาสตร์ เป็นต้น

4 สาขาทางรัฐศาสตร์ ปรัชญา > ปรัชญาการเมือง
เศรษฐศาสตร์ > เศรษฐศาสตร์การเมือง นิติศาสตร์ > กฎหมายมหาชน สังคมวิทยา > สังคมวิทยาการเมือง บริหารศาสตร์ > บริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์

5 ตัวอย่างสาขาทางรัฐศาสตร์อื่นๆ
พรรคการเมือง นโยบายสาธารณะ การปกครอง การปกครองเปรียบเทียบ หรือการเมืองเปรียบเทียบ การปกครองท้องถิ่น

6 วิธีการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง
แนวคิดปฏิฐานนิยม (Positivism) แนวคิดสัจนิยม (Realism) แนวคิดการตีความ (Hermeneutics)

7 แนวคิดปฏิฐานนิยม (Positivism)

8 แนวคิดปฏิฐานนิยม (Positivism)
เป็นแนวคิดที่เชื่อว่าความเป็นจริงมีเท่าที่ทดลองได้ด้วยวิธีการทาง วิทยาศาสตร์ ความจริงเป็นสิ่งที่อยู่นอกตัวสามารถจับต้องได้ ดังนั้นปรัชญาแบบปฏิฐานนิยมนี้จึงถือว่าความจริงมีเท่าที่เรา สามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เนื่องจากมี ความเชื่อมั่นว่าวิทยาศาสตร์มีความเป็นกลางซึ่งไม่มีความลำเอียง (Bias) จากจิตวิสัย (Subjective)

9 แนวคิดปฏิฐานนิยม (Positivism)
วิธีการมองปัญหาต่างๆ ของแนวปฏิฐานนิยมนี้ตั้งอยู่บนหลักการ 6 ประการ คือ 1)การเน้นพิสูจน์ทฤษฎีเพื่อชี้ให้เห็นว่าถูกหรือผิด ดังนั้นทฤษฎีที่ดีในทัศนะแบบปฏิฐานนิยมจะต้องระบุ หรือทำนายสิ่งที่สังเกตได้ และสามารถชี้ชัดได้ว่าทฤษฎีนั้นสอดคล้องหรือขัดแย้งกับหลักฐานที่สังเกตเห็น 2)นักปฏิฐานนิยมเชื่อว่า ความรู้ที่แท้จริงเกิดจากการสังเกตโดยอาศัยประสาทสัมผัส คนเหล่านี้จะไม่ ยอมรับความรู้ใดๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะดำรงอยู่จริงหรือไม่ก็ตาม 3)ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลเป็นเรื่องของความเชื่อมโยงระหว่างเหตุการณ์อย่างสม่ำเสมอหรือคง เส้นคงวาเท่านั้น แนวคิดปฏิฐานนิยมเห็นว่า ถ้าเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นก่อน และมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น ตามมาเสมอ ก็แสดงว่าเหตุการณ์แรกเป็นสาเหตุของเหตุการณ์หลังนั่นเอง

10 แนวคิดปฏิฐานนิยม (Positivism)
4)นักปฏิฐานนิยมไม่ให้ความสำคัญหรือตั้งข้อรังเกียจต่อการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลอย่าง ลึกซึ้ง การที่ปัจจัยหนึ่งนำไปสู่การเกิดปรากฏการณ์หนึ่งอย่างไร หรือเชื่อมโยงเป็นเหตุเป็นผลกันใน ลักษณะใด ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นต้องอธิบาย การรู้ว่า ปัจจัยและปรากฏการณ์ดังกล่าวเชื่อมโยงกันอยู่อย่าง สม่ำเสมอ ก็เพียงพอที่จะสรุปความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลได้แล้ว เพราะฉะนั้น การอธิบายปรากฏการณ์ แบบนี้จึงไม่ระบุถึงกลไกหรือกระบวนการปัจจัยต่างๆ ที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ขึ้น 5)แนวคิดปฏิฐานนิยมจะไม่ยอมรับสิ่งที่ระบุไว้ในทฤษฎีแต่ยังไม่สามารถสังเกตได้ แม้จะมีเหตุผลว่าสิ่งนั้น น่าเชื่อถือว่าน่าจะมีอยู่ ในอดีตนักปฏิฐานนิยมตั้งข้อรังเกียจทฤษฎีที่อธิบายโดยอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับ โมเลกุล ยีนส์ และไวรัส โดยอ้างว่า สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่ในเวลาต่อมานักวิทยาศาสตร์กลับ สามารถพิสูจน์โดยอาศัยเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นภายหลังว่า สิ่งดังกล่าวมีอยู่จริง 6)นักปฏิฐานนิยมจะต่อต้านการนำเอาสิ่งที่มีอยู่นอกเหนือหรือไม่อาจอธิบายในเชิงกายภาพได้ (Metaphysics) มาใช้ในการศึกษาปรากฏการณ์ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะมีประโยชน์ต่อการศึกษาวิเคราะห์มาก น้อยเพียงใดก็ตาม แนวคิดนี้จึงมีข้อจำกัดในการอธิบายอยู่ค่อนข้างมาก

11 แนวคิดปฏิฐานนิยม (Positivism)
แนวทางแบบปฏิฐานนิยมนี้มีลักษณะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาความรู้โดยพยายามเลียนแบบ การศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่พยายามหลีกเลี่ยงการอธิบายปรากฏการณ์ที่อยู่นอกเหนือ ธรรมชาติ (Metaphysics) ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ 5 ประการ คือ 1.การมีทฤษฎีเป็นกรอบกำหนดทิศทาง 2.การทดสอบด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ 3.การควบคุมปัจจัยภายนอก 4.การอธิบายเชิงเหตุและผล 5.การหลีกเลี่ยงปรากการณ์เหนือธรรมชาติ

12 แนวคิดสัจนิยม (Realism)

13 แนวคิดสัจนิยม (Realism)
คำว่า “สัจนิยม” (Realism) นั้นย่อมเข้าใจได้ว่า เป็นแนวคิดใน การแสวงหาความรู้ที่เชื่อในสิ่งสากลที่มีอยู่จริง การรับรู้ของ มนุษย์มีเป้าหมายตรงกับความเป็นจริง ซึ่งตรงข้ามกับอุดมคติ นิยมเชิงจิตวิสัย (Subjective Idealism) ซึ่งเชื่อว่าสรรพสิ่งมีอยู่ ที่จิต โลกเป็นเพียงมโนภาพในจิต

14 แนวคิดสัจนิยม (Realism)
สัจนิยมนี้ถือกำเนิดขึ้นในตะวันตกตั้งแต่ Socrates ( B.C.) ยืนยันต่อต้านพวกโซฟิสต์ทั้งหลาย ว่า เรามีมาตรการสากลสำหรับตัดสินความจริง และมาตรการนั้นอยู่ในมนัสเรานั่นเอง นั่นคือความรู้ของ เราตรงกับความเป็นจริงโดยมีเงื่อนไขว่าต้องขจัดเลสหรืออคติทิ้งเสียก่อน เนื่องจากจะทำให้ไขว้เขว จากนั้น Plato ( B.C.) และ Aristotle ( B.C.) ก็ค้นคว้าต่อไปในแนวสัจนิยมนี้ โดยใน ทัศนะของ Plato นั้น การดำรงอยู่ของสภาวะที่เป็นนามธรรม ไม่ว่าจะเป็นความงาม ความดี หรือสิ่งอื่นๆ ต่างก็มิได้ขึ้นอยู่กับสถานที่และกาลเวลา ส่วนในทัศนะของอริสโตเติลนั้น กลับเห็นว่าสภาวะดังกล่าว ดำรงอยู่ในฐานะที่เป็นคุณลักษณะ (Properties) ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ

15 แนวคิดสัจนิยม (Realism)
สรุปได้ว่า โลกที่เรารับรู้ด้วยประสาทสัมผัสนั้น ไม่ใช่สภาพที่แท้จริง แต่เป็น โลกที่จิตของเรามีส่วนในการสร้างสรรค์ขึ้นเองด้วย จึงทำให้เรารู้จักแต่โลก ในสภาพที่ปรากฏต่อตัวเรา ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เบื้องหลังของสิ่งที่มีอยู่นั้นจะมีวัตถุสารซึ่งเป็นตัวยืนพื้นอยู่ในโลกหรือไม่ แต่ เราอาจคิดถึงสิ่งที่แท้จริงดังกล่าวในฐานะที่มันไม่มีคุณสมบัติที่เรารับรู้ได้ ด้วยผัสสะ ไม่อยู่ในเวลาและอวกาศ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ถูกจัดอยู่ใน โครงสร้างสมองของเรา

16 แนวคิดสัจนิยม (Realism)
ด้วยอิทธิพลของกระแสการอธิบายปรากฏการณ์ให้มีความเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น แนวทางปรัชญาสัจ นิยมก็มีผลให้เกิดการปรับปรุงขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งเรียกว่า สัจนิยมทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Realism) หรือสัจนิยมด้านปรัชญาความรู้ (Epistemological Realism) ซึ่งยืนยันว่า สิ่งต่างๆ ที่เป็นเป้าหมาย (Objects) ในการค้นคว้าทางวิชาการนั้น มีอยู่และดำเนินไปอย่างเป็นอิสระจากตัวนักวิทยาศาสตร์และ กิจกรรมของคนส่วนใหญ่ ในแง่ที่เป็นปรัชญาวิทยาศาสตร์ แนวคิดแบบสัจนิยมลักษณะนี้จึงเน้นการเสนอ ทฤษฎีเกี่ยวกับสภาพของสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์ศึกษาเพื่อมุ่งแสวงหาความรู้ ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ ธรรมชาติหรือปรากฏการณ์ทางสังคม ที่มีภาวะตามธรรมชาติของตนเองอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ไม่ได้ ขึ้นอยู่กับการรับรู้การตีความของผู้ที่ศึกษา ดังนั้นความรู้ที่มนุษย์แสวงหาก็คือความรู้เกี่ยวกับสภาพโดย ธรรมชาติ (Ontology) หรือความเป็นจริงของสิ่งเหล่านั้นนั่นเอง

17 แนวคิดสัจนิยม (Realism)
การอธิบายปรากฏการณ์ของแนวสัจนิยมนั้น ประกอบไปด้วยขั้น ตอนพื้นฐานเพียง 3 ประการ คือ 1)ขั้นการเสนอแนวคิดทางทฤษฎีซึ่งชี้ให้เห็นกลไกที่เชื่อมโยงเหตุไปสู่ผล ทั้งนี้ทฤษฎีจะระบุถึงโครงสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ รวมทั้งกลไกที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ขึ้นในโครงสร้างความสัมพันธ์นั้น 2)ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐานมาพิสูจน์ให้เห็นว่ากลไกนั้นมีอยู่จริงตามที่ทฤษฎีระบุไว้หรือไม่ โดย ทฤษฎีจะเป็นตัววางแนวทางในการหาข้อมูลและกำหนดลักษณะข้อมูลที่ต้องการใช้ในการพิสูจน์ดังกล่าว 3)การกำจัดทฤษฎีที่เป็นตัวเลือกในการอธิบายอื่นๆ ออกไป เมื่อเห็นว่า ทฤษฎีที่ใช้อยู่นั้น ระบุถึงกลไกที่ สามารถอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว โดยมีเหตุผลที่เชื่อได้ว่ากลไกนั้นมีอยู่จริง และไม่มีทฤษฎีอื่นใด อธิบายได้ดีกว่าทฤษฎีนั้น

18 แนวคิดสัจนิยม (Realism)
ฉะนั้นแนวคิดแบบสัจนิยมนี้จึงมักเน้นอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างและ กลไกทางสังคม ซึ่งเป็นการผลักดันให้เกิดปรากฏการณ์ขึ้น จึงทำให้ พบว่าโดยส่วนใหญ่แล้วทฤษฎีในทางสังคมศาสตร์แบบสัจนิยม โดยทั่วไป จึงมักจะพบว่าเป็นทฤษฎีที่เน้นการอธิบายในแง่ โครงสร้างทางสังคมเป็นหลัก จึงย่อมทำให้หน่วยในการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) นั้นเป็นหน่วยใหญ่กว่าระดับบุคคล

19 แนวคิดการตีความ (Hermeneutics)

20 แนวคิดการตีความ (Hermeneutics)
คำว่า “Hermeneutics” นั้น เป็นคำที่มาจากภาษากรีกโบราณ คือคำว่า “Hermeneia” ซึ่งมีความหมายว่า “การตีความ” (Interpretation) กระแสการตีความนี้เริ่มก่อกำเนิดขึ้นอย่างช้าๆ มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 อันมีเหตุ มาจากความขัดแย้งในการตีความพระคัมภีร์ไบเบิ้ลในคริสต์ศาสนา ซึ่งเป็นช่วง ที่บทบาทคริสตจักรนั้นมีอิทธิพลเหนือสังคมทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ซึ่งย่อมรวมไปถึงองค์ความรู้ที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดความคิด ความเชื่อแก่คนในสังคมก็มิสามารถหลีกหนีการครอบงำของคริสต์ศาสนาไปได้ เลย จึงมีผลให้เกิดการตีความตัวบทในพระคัมภีร์ขึ้น

21 แนวคิดการตีความ (Hermeneutics)
ดังนั้นในการที่จะเข้าถึงความหมายที่แท้จริง (Real) ผู้ศึกษาจำเป็นต้องใช้ จินตนาการของเขาเอง (ที่มีความคิดลึกซึ้งและยืดหยุ่นเพียงพอ) เข้าไปเทียบเคียงกับ จินตนาการประสบการณ์ความคิดความรู้สึกเช่นเดียวกับผู้สร้างผลงานนั้น ในแบบ “ใจถึงใจ” (Empathy) ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้นับว่าเป็นลักษณะสำคัญประการหนึ่งของ พวกจินตนิยม (Romanticism) เนื่องจากโลกทัศน์ที่สำคัญของคนกลุ่มนี้ก็คือมนุษย์ ควรทำตามความรู้สึกของตัวเอง คนเราแต่ละคนย่อมมีเอกลักษณ์ของตนเอง โดยเฉพาะ ไม่จำเป็นต้องทำต้องเหมือนคนอื่น การที่ได้แสดงออกซึ่งเอกลักษณ์ เฉพาะที่ตนมีถือว่าเป็นสิ่งประเสริฐ สื่อที่แสดงออกของคนกลุ่มนี้ ได้แก่ ศิลปะแขนง ต่างๆ จึงพบว่ากลุ่มนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อกระแสตีความในด้านสังคมศาสตร์ใน ห้วงเวลาต่อมา

22 แนวทางการศึกษาทางรัฐศาสตร์ (Political Approach)
1.แนวทางการศึกษาแบบทฤษฎีระบบ (System Theory) 2.แนวทางการศึกษาแบบทฤษฎีวัฒนธรรมทางการเมือง (Cultural Theory) 3.แนวทางการศึกษาแบบทฤษฎีการพัฒนา (Developmental Theory) 4.แนวทางการศึกษาแบบทฤษฎีเกี่ยวกับชนชั้น (Class Theory) 5.แนวทางการศึกษาแบบทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ (Structural-Functional Theory) 6.แนวทางการศึกษาแบบทฤษฎีกลุ่มการเมือง (Group Theory)

23 1.แนวทางการศึกษาแบบทฤษฎีระบบ (System Theory)

24 2.แนวทางการศึกษาแบบทฤษฎีวัฒนธรรมทางการเมือง (Cultural Theory)
1. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบคับแคบ (Parochial political culture) 2. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า (Subject political culture) 3. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม (Participant political culture)

25 3.แนวทางการศึกษาแบบทฤษฎีการพัฒนา (Developmental Theory)

26 4.แนวทางการศึกษาแบบทฤษฎีเกี่ยวกับชนชั้น (Class Theory)

27 5.แนวทางการศึกษาแบบทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ (Structural-Functional Theory)

28 6.แนวทางการศึกษาแบบทฤษฎีกลุ่มการเมือง (Group Theory)


ดาวน์โหลด ppt เบื้องต้นว่าด้วยรัฐศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google