รายวิชาการสร้างสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับมัธยม รหัสวิชา MED3506
Big Picture -ความหมายของสื่อการเรียนการ สอน -ประโยชน์และความสำคัญของสื่อ การเรียนการสอน -การออกแบบและผลิตของสื่อการ เรียนการสอน
สื่อและสื่อการสอน ประวัติ ความหมายของสื่อ ความหมายของสื่อการสอน คำที่มีความหมายใกล้เคียง
ประวัติ ตีพิมพ์ข่าวสาร Computer สหรัฐนำมาใช้ในการศึกษา + สื่อ สื่อประเภทที่เคลื่อนย้ายได้ แท่นพิมพ์หล่อตัวพิมพ์ ประวัติ พิมพ์โดยพลังงานไอน้ำ ระบบดิจิทัล Computer + สื่อ สหรัฐนำมาใช้ในการศึกษา พัฒนาการต่างๆ
ความหมายของสื่อ สื่อ (Media) หมายถึง ตัวกลาง ในการติดต่อสื่อสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับ สารอาจจะเป็นรูปแบบของเอกสาร สิ่งพิมพ์ รูปภาพ หรือวิดีทัศน์ เป็น ต้น
ความหมายของสื่อการสอน สื่อการสอน (Instructional Media) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ กิจกรรมหรือ วิธีการต่างๆ ที่นำมาใช้ในการเรียนการ สอน เพื่อเป็นใช้ตัวกลางในการถ่ายทอด ความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอน หรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้ การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวก ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและ เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียน การสอนที่ตั้งไว้
คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับสื่อการสอน เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาวัสดุอุปกรณ์และวิธีการมาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบในการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสอน
สื่อการเรียน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว สื่อการเรียนรู้ หมายถึง การนำวัสดุ เครื่องมือ วิธีการ มาเป็นสะพานเชื่อมโยงความรู้ไปยังผู้เรียนได้ ทำให้เกิดความเข้าใจตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้
สื่อการศึกษา คือ ระบบการนำวัสดุ และวิธีการมาเป็นตัวกลางในการให้การศึกษาความรู้แก่ผู้เรียนโดยทั่วไป โสตทัศนูปกรณ์ หมายถึง วัสดุทั้งหลายที่นำมาใช้ในห้องเรียนหรือนำมาประกอบการสอนใดๆก็ตาม เพื่อช่วยให้การเขียน การพูด การอภิปรายนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
ความสำคัญและประโยชน์ ของสื่อการเรียนการสอน
ความสำคัญของสื่อการสอน สื่อการการสอนแต่ละชนิด มีคุณค่าต่อ นักเรียน และการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง ผู้สอนสามารถนำสื่อการสอนไปใช้ได้ทุก ระดับชั้น โดยที่สื่อทำให้สิ่งที่อยู่ในรูป นามธรรม เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น ยิ่งใน ระดับปฐมวัย การใช้สื่อการสอนมีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยเริ่มต้นของการพัฒนาทุกด้าน ทั้งนี้ทั้งนี้การใช้สื่อเป็นการสร้าง บรรยากาศและแรงจูงใจผู้เรียนให้เกิดความ อยากเรียนรู้และเพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหา ความรู้ของผู้เรียนได้ตามจุดมุ่งหมาย
ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอนกับครูผู้สอน การใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ประกอบการเรียน การสอน เป็นการช่วยให้บรรยากาศในการ สอนน่าสนใจยิ่งขึ้น เป็นการสร้างความเชื่อมั่น สื่อจะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการ เตรียมเนื้อหา
ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอนกับครูผู้สอน สื่อจะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้าน การเตรียมเนื้อหา สื่อจะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอน ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมายการ เรียน ทำให้การสอนง่ายขึ้น และยังจะช่วย ประหยัดเวลาในการสอน
ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอนกับผู้เรียน ช่วยให้การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะช่วย ให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหาบทเรียน 2. สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับ 3.การใช้สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกัน และ เกิดประสบการณ์ร่วมกัน
ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอนกับผู้เรียน 4. ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการ สอนมากขึ้น 5. ช่วยสร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหา ความรู้ 6. ช่วยแก้ปัญหาเรื่องของความแตกต่างระหว่าง บุคคลโดยการใช้สื่อในการศึกษารายบุคคล
ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอนกับการจัดการเรียนการสอน ช่วยให้นักเรียนเกิดความประทับใจ และ จดจำได้นาน 2. ช่วยประหยัดเวลาเรียน โดยใช่เวลาน้อย แต่นักเรียนสามารถ เรียนรู้ได้มากขึ้น 3. ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจาก สิ่งแวดล้อมและสังคม
ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน กับการจัดการเรียนการสอน ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ 9. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่ นามธรรม
การสร้างและการออกแบบ สื่อการเรียนการสอน
การสร้างและการออกแบบสื่อการสอน • หลักการสร้างสื่อการสอน • การสร้างสื่อการสอนเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผล • การสร้างสื่อการสอนแต่ละประเภท • ความหมายของการออกแบบสื่อการสอน • หลักการออกแบบสื่อการสอน • ลักษณะการออกแบบสื่อการสอนที่ดี
หลักการสร้างสื่อการสอน ต้องออกแบบให้ตรงกับจุดมุ่งหมาย เหมาะสมกับผู้เรียน สร้างโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้งาน หลักการสร้างสื่อการสอน สามารถนำไปใช้ได้ง่าย วิธีการใช้ไม่ยุ่งยาก มีคู่มือประกอบการใช้งาน การสื่อบางประเภทไม่จำเป็นต้องแสดงรายละเอียดมากนัก คำนึงถึงความประหยัดทั้งงบประมาณและเวลาให้เหมาะสม
การสร้างสื่อการสอนเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ต้องให้ความรู้แก่ผู้เรียนเป็นขั้นตอนทีละน้อยๆ จากง่ายไปหายาก ต้องสามารถให้ผู้เรียนทราบผลในการเรียนได้ทันที การสร้างสื่อการสอนเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ต้องให้ผู้เรียนเข้ามา มีส่วนร่วม ต้องให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ความสำเร็จของตนเอง ต้องเร้าความสนใจของผู้เรียนและผู้เรียนสามารถตอบสนองได้ทันที ต้องเหมาะสมกับวุฒิภาวะและความสามารถของผู้เรียน
การสร้างสื่อการสอน แต่ละประเภท การขยายภาพ การประดิษฐ์ตัวอักษร แผนสถิติ บัตรคำ การสร้างสื่อการสอน แต่ละประเภท ภาพโปร่งใส การผนึกภาพ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สมุดลำดับภาพ แผนภูมิ *กรุณาเลือกประเภทของสื่อที่ท่านสนใจ
ความหมายของการออกแบบสื่อการสอน การออกแบบสื่อการเรียนการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนเดิมที่มีอยู่ให้ดีขึ้น โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ การรู้จักเลือกวัสดุและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อการสอนที่สร้างออกมามีความสวยงาม เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยและเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน การจัดทำให้น่าสนใจ น่าติดตาม ง่ายต่อการเข้าใจ จะทำให้สื่อที่สร้างนั้นมีคุณค่า และมีประสิทธิภาพในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี
สื่อการสอน ขั้นที่ 1 ขั้นวิเคราะห์ ขั้นที่ 2 การออกแบบ ขั้นที่ 1 ขั้นวิเคราะห์ เป็นการทำความเข้าใจปัญหาการเรียนการสอน ขั้นที่ 2 การออกแบบ เป็นการสร้างจุดประสงค์การเรียนรู้ กำหนดเครื่องมือวัดประเมินผล แบบฝึกหัด เนื้อหา วางแผนการสอน และเลือกสื่อการสอน ขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล จะทำเมื่อการสอนเสร็จสิ้นเพื่อประเมินผลประสิทธิผลการสอนทั้งหมด หลักการออกแบบ สื่อการสอน ขั้นที่ 3 ขั้นการพัฒนา คือขั้นที่ผู้ออกแบบสร้างส่วนต่างๆ ที่ได้ออกแบบไว้ในขั้นของ การออกแบบ ขั้นที่ 4 ขั้นการนำดำเนินการ คือขั้นของการสอนโดยอาจจะเป็นรูปแบบชั้นเรียนการฝึกอบรมหรือห้องทดลองหรือรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์
ลักษณะการออกแบบ สื่อการสอนที่ดี ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการทำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการสร้าง ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้ ลักษณะการออกแบบ สื่อการสอนที่ดี ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการสร้างสื่อชนิดนั้น
การประดิษฐ์ตัวอักษร วิธีการประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยมือ 1. กำหนดจุดสองจุดเป็นส่วนสูงของตัวอักษร แล้วใช้ไม้ฉากลากเส้นขนานผ่านทั้ง 2 จุดนั้น 2. ลากเส้นคู่ขนานกันทั้งด้านบนและล่าง เพื่อเป็นขนาดของหัวตัวอักษร 3. แบ่งช่องออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน 4. ใช้เขียนตัวอักษรเพียง 3 ส่วน อีก 1 ส่วน เป็นช่องไฟและกำหนดความหนาของอักษร เป็น 1 ใน 3 ส่วนของขนาดตัวอักษร ที่มา : http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/educate/edu51/les361.htm
การประดิษฐ์ตัวอักษร วิธีการประดิษฐ์ตัวอักษรแบบฉลุ 1. ร่างแบบตัวอักษรลงบนกระดาษ 2. แล้วจึงตัดโดยใช้ใบมีดคมๆ เอาตัวอักษรออกมา 3. นำตัวอักษรแบบฉลุมาวางบนกระดาษ หรือแผ่นป้ายที่ต้องการ 4. แล้วระบายลงในร่องด้วยหมึก, ใช้การพ่นสีผ่านตัวอักษรแบบฉลุ ที่มา : http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/educate/edu51/les361.htm
บัตรคำ การสร้างบัตรคำ 1. ตัดกระดาษแข็งให้เป็นบัตรสี่เหลี่ยมตามขนาด และจำนวนที่ต้องการ 2. เขียนตัวอักษรที่ต้องการลงบนบัตรตามความ เหมาะสมโดยอาจจะมีรูปภาพประกอบมาปะ บนบัตรคำ 3. เมื่อเขียนเสร็จแล้วควรทิ้งไว้ให้แห้งการเก็บ บัตรคำ เพื่อความเรียบร้อย สะดวกในการนำ ออกมาใช้งานควรเก็บเป็นหมวดหมู่ โดย อาจจะเก็บในกล่อง ลิ้นชัก ตู้เก็บอุปกรณ์ ที่มา : http://topicstock.pantip.com
วิธีการผนึกด้วยกาวลาเท็กซ์ การผนึกภาพ วิธีการผนึกด้วยกาวลาเท็กซ์ 1. นำกระดานที่มีขนาดพอเหมาะกับภาพที่ต้องการจะผนึก 2. นำภาพที่ต้องการไปแช่น้ำให้ทั่วทั้งภาพประมาณ 10 นาที หรือจนน้ำซึมเข้าทั่วทั้งภาพ 3. ทากาวลาเท็กซ์บนกระดาน 4. วางภาพบนกระดานทำให้เรียบ อาจจะใช้ขวดน้ำเกลี้ยงบนภาพให้เรียบ 5. ทากาวบนภาพให้ทั่วอีกครั้ง และทิ้งไว้ให้แห้ง ที่มา : https://sunisa234.wordpress.com/port-folio
การผนึกภาพ วิธีการใช้แผ่นเยื่อผนึกแห้ง 1. วางภาพไว้ระหว่างแผ่นเยื่อผนึกแห้ง 2. ใช้กระดาษสะอาดปิดด้านบนของรูปภาพ แล้วสอดรูปภาพและกระดาษ รองดังกล่าวเข้าไปในเครื่องอัดภาพ ประมาณ 1 นาที ที่อุณหภูมิความร้อน 225 องศา 3. ได้ภาพผนึกแห้งที่ต้องการ ที่มา : http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/educate/edu51/les363.htm
สมุดลำดับภาพ วิธีการสร้างสมุดลำดับภาพ สมุดลำดับภาพ อาจใช้การผนึกภาพ หรือเขียนลงบนกระดาษ , ผ้าก็ได้วิธีการใช้รูปภาพผนึกลงบนกระดาษ หรือผ้า 1. พิจารณาเนื้อหาว่าจุดไหนเป็นจุดสำคัญของเรื่อง ควรเสนอเป็นภาพ 2. รวบรวมภาพ แยกหมวดหมู่ของภาพให้เข้ากับเนื้อหาที่วางไว้ 3. เขียนหมายเลขตามลำดับภาพ เพื่อกันภาพสลับกัน 4. ผนึกภาพบนกระดาษ หรือผ้า ถ้ามีคำอธิบายใต้ภาพ ก่อนผนึกควรคำนึงถึงเนื้อที่ข้างล่างของภาพไว้สำหรับคำบรรยาย 5. เขียนคำบรรยายใต้ภาพด้วยภาษาที่ง่าย กะทัดรัดได้ใจความ 6. ตรวจดูควรเรียบร้อย และการลำดับภาพก่อนเข้าเล่ม ที่มา:http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/educate/edu51/les364.htm
แผนภูมิ การสร้างแผนภูมิ การสร้างแผนภูมิสามารถใช้การวาด หรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการสร้างก็ได้ ที่มา : http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/educate/edu51/les366.htm
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 1. กำหนดเรื่องที่ต้องการจะสร้าง 2. ศึกษาและรวบรวมข้อมูล 3. กำหนดขอบเขตของงานก่อนว่าต้องการจะนำเสนอเนื้อหาให้เป็นไปในลักษณะใด 4. กำหนดรูปแบบ 5. จัดทำ Story board 6. จัดทำสื่อโดยเลือกโปรแกรมที่มีความสามารถในการจัดทำตามเนื้อหาใน Story board ที่ได้วางโครงสร้างไว้ ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=v38BM0CfQZ4
ภาพโปร่งใส การสร้างภาพโปร่งใส 1. ทำขอบติดแผ่นโปร่งใส 2. วาดภาพ หรือข้อความที่ต้องการลงบนแผ่น โปร่งใส 3. ตัดกระดาษแข็งให้พอดีกับคำที่ต้องการจะปิด ไว้แล้วติดกระดาษแข็งกับกรอบของแผ่น โปร่งใสด้วยสก๊อตเทปทั้งนี้แผ่นโปร่งใสยัง สามารถนำไปสร้างได้อีกหลายรูปแบบ ที่มา : http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/educate/edu51/les241.htm
แผนสถิติ การสร้างแผนสถิติ สามารถใช้การวาดภาพ ปะกระดาษสี หรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสร้างก็ได้ ที่มา : http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/educate/edu51/les367.htm
การขยายภาพ วิธีการขยายภาพ 1. ตีกรอบสี่เหลี่ยมรอบภาพ อาจเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็ได้ 2. แบ่งด้านทุกด้านออกเป็นส่วนๆส่วนละเท่าๆกัน พร้อมทั้งเขียนหมายเลขกำกับจาก น้อยไปหามาก ด้านตรงข้ามจะมีหมายเลขตรงกัน ลากเส้นระหว่างจุดของด้านตรง 3. นำกระดาษวาดเขียนมาตีกรอบสี่เหลี่ยม ทำเหมือนข้อ 2 แต่การแบ่งส่วนของแต่ละ ด้านต้องมีขนาดใหญ่กว่าเดิม 4. ใช้ดินสอวาดภาพบนกระดาษเบาๆ 5. แต่งเติมเส้นให้ชัดเจนด้วยหมึก หรือสีตามความต้องการ ที่มา : http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/educate/edu51/les365.htm
หลักการใช้สื่อการสอน
การเตรียมการในการใช้สื่อการสอน ลักษณะการใช้สื่อการสอน หลักการเลือกใช้สื่อการสอน การเตรียมการในการใช้สื่อการสอน ลักษณะการใช้สื่อการสอน ในการจัดการเรียนรู้
หลักการเลือกใช้สื่อการสอน
ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ผู้สอนควรศึกษาถึงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่หลักสูตรกำหนดไว้ วัตถุประสงค์ในที่นี้หมายถึงวัตถุประสงค์เฉพาะในแต่ละส่วนของเนื้อหาย่อย ไม่ใช่วัตถุประสงค์ในภาพรวมของหลักสูตร ตรงกับลักษณะของเนื้อหาของบทเรียน เนื้อหาของบทเรียนอาจมีลักษณะแตกต่างกันไป เช่น เป็นข้อความ เป็นแนวคิด เป็นภาพนิ่ง/ภาพเคลื่อนไหว เป็นเสียง เป็นสี ซึ่งการเลือกสื่อการสอนควรเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา
เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน ลักษณะเฉพาะตัวต่างๆ ของผู้เรียนเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้สื่อการสอน ในการเลือกสื่อการสอนต้องพิจารณาลักษณะต่างๆ ของผู้เรียน เหมาะสมกับจำนวนของผู้เรียน และกิจกรรมการเรียนการสอน ในการสอนแต่ละครั้งจำนวนของผู้เรียนและกิจกรรมที่ใช้ในการเรียนสอน ในห้องก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาควบคู่กันในการใช้สื่อการสอน
เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมในที่นี้อาจได้แก่ อาคาร สถานที่ ขนาดพื้นที่ แสงไฟฟ้า เสียงรบกวน อุปกรณ์อำนวยความสะดวก หรือ บรรยากาศ สิ่งเหล่านี้ควรนำมาประกอบการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอน น่าสนใจและดึงดูดความสนใจ ควรเลือกใช้สื่อการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจและดึงดูดความสนใจผู้เรียนได้ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องของ เสียง สีสัน รูปทรง ขนาด ตลอดจนการออกแบบและการผลิตด้วยความประณีต สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้สื่อการสอน มีความน่าสนใจและดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้ อาจก่อให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกสนาน น่าสนใจ หรือสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้เรียน
วิธีการใช้งาน เก็บรักษา และบำรุงรักษาได้สะดวก ควรเลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งานได้สะดวก ไม่ยุ่งยาก และหลังใช้งานควรเก็บรักษาได้ง่ายๆ ตลอดจนไม่ต้องใช้วิธีการบำรุงรักษาที่สลับซับซ้อนหรือมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง
การเตรียมการในการใช้สื่อการสอน
เตรียมจัดสภาพแวดล้อม เตรียมตัวผู้สอน เป็นการเตรียมตัวในการอ่าน ฟังหรือดูเนื้อหาที่อยู่ในสื่อที่จะใช้ ว่ามีเนื้อหาถูกต้อง ครบถ้วน และตรงกับที่ต้องการหรือไม่ ถ้าสื่อนั้นมีเนื้อหาไม่ครบ ผู้สอนจะเพิ่มโดยวิธีใดในจุดไหนบ้าง จะมีวิธีใช้สื่ออย่างไร เตรียมจัดสภาพแวดล้อม โดยการจัดเตรียมวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ให้พร้อม ตลอดจนต้องเตรียมสถานที่หรือห้องเรียนให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม
เตรียมพร้อมผู้เรียน เป็นการเตรียมผู้เรียนโดยมีการแนะนำหรือให้ความคิดรวบยอดว่าเนื้อหาในสื่อเป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้เรียนเตรียมในการฟังดู หรืออ่านเนื้อหาจากสื่อนั้นให้เข้าใจได้ดีและสามารถจับประเด็นสำคัญของเนื้อหาได้ หรือหากผู้เรียนมีการใช้สื่อด้วยตนเองผู้สอนต้องบอกวิธีการใช้ในกรณีที่เป็นอุปกรณ์ที่ผู้เรียนจะต้องมีกิจกรรมอะไรบ้าง
ลักษณะการใช้สื่อการสอน ในการจัดการเรียนรู้
ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน ขั้นนำสู่บทเรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กำลังจะเรียนสื่อที่ใช้ในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่แสดงเนื้อหากว้าง ๆ หรือเนื้อหาที่เกี่ยวกับการเรียนในครั้งก่อนยังมิใช่สื่อที่เน้นเนื้อหาเจาะลึกจริง อาจเป็นสื่อที่เป็นแนวปัญหาหรือเพื่อให้ผู้เรียนคิดและควรเป็นสื่อที่ง่ายต่อการนำเสนอในระยะเวลาอันสั้น ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน ผู้สอนจึงต้องเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาและวิธีการสอนหรืออาจจะใช้สื่อประสมก็ได้ ต้องมีการจัดลำดับขั้นตอนการใช้สื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน การใช้สื่อในขั้นนี้จะต้องเป็นสื่อที่เสนอความรู้อย่างละเอียดถูกต้องและชัดเจนแก่ผู้เรียน
ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียน ได้ทดลองนำความรู้ด้านทฤษฏีหรือหลักการที่เรียนมาแล้วไปใช้แก้ปัญหาในขั้นฝึกหัดโดยการลงมือฝึกปฏิบัติเอง สื่อในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่เป็นประเด็นปัญหา เทป เสียง สมุดแบบฝึกหัดชุดการเรียน หรือบทเรียนซีเอไอ เป็นต้น ขั้นสรุปบทเรียน เป็นการเน้นย้ำเนื้อหาให้มีความเข้าใจที่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ขั้นสรุปนี้ควรใช้เพียงระยะเวลาน้อย เช่น แผนภูมิ โปร่งใส กราฟ เป็นต้น
ขั้นประเมินผู้เรียน เป็นการทดสอบว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้หรือเข้าใจสิ่งที่เรียนไปถูกต้องมากน้อยเพียงใด และบรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้หรือไม่ สื่อในขั้นประเมินนี้มักจะเป็นคำถามจากเนื้อหาบทเรียนโดยอาจมีภาพประกอบด้วยก็ได้
End