บทที่ 6. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน ภาคการศึกษาที่ 1 ปี การศึกษา 2559.
Advertisements

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลหนองฮี ยินดีต้อนรับ คณะท่านผู้บริหารระดับสูง ด้วยความยินดียิ่ง.
บทที่ 2 การกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ความก้าวหน้าการพัฒนากฎหมาย ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมอนามัย
การนำเสนอผลการจัดทำแผนและคำของบประมาณ
ประกาศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระเบียบ ประกาศ คำสั่งกรมปศุสัตว์
Market System Promotion & Development Devision
นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม
พลังวัชร์ แพ่งธีระสุขมัย คณะวิศวกรรมศาสตร์
กรมบัญชีกลาง กองการพัสดุภาครัฐ
กลุ่มพัฒนาระบบบัญชีคอมพิวเตอร์
สำหรับธุรกิจบริหารจัดการเรือ
วาดเส้นพื้นฐาน เพื่อการออกแบบเครื่องแต่งกาย
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 12 มกราคม 2550
Organization Design.
BUSINESS TAXATION รศ.ดร.กฤษฎา สังขมณี
แนวทางการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่ม และน้ำแข็งบริโภค ในสถานประกอบการ
การดำเนินงาน OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม
Effective Child Development สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่
การควบคุมและตรวจสอบภายใน รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
Buddy Happy Brain (Smart Kids) ศูนย์อนามัยที่ ๓
วันชนา จีนด้วง ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก
รูปแบบมาตรฐานการเขียนโครงการ
สิทธิประโยชน์การเป็นสมาชิกกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ
4.8 พัฒนาการเด็กวัยเรียน
คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ
พญ.ชีวนันท์ เลิศพิริยสุวัฒน์
หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) 0405
ตัวชี้วัด : ร้อยละของการดำเนินงานให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลสุขภาพ และการป้องกันโรคและภัยสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม.
EM: Asst.Prof.Dr.PattanaSirichotpundit, Ph.D.
EM: Asst.Prof.Dr.PattanaSirichotpundit, Ph.D.
วิลเลียม ฮาร์วีย์ (William Harvey) ด.ญ.กัณฐิกา จันแย้ ม.4.3 เลขที่ 1
โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes)
โดยคุณอัมพวัน คุลภ์อนันต์
การกำจัดขยะและสารเคมี
บทที่ 4. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร
ความหมายของการจัดโครงสร้างองค์การ
10 สถานที่ท่องเที่ยว ขอแนะนำ.
การประเมินค่างาน บทที่ 3. ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร.
สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสมุทรสงคราม
ความสำคัญของโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย
พลวัตความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ :
กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์
นวัตกรรมกลุ่มงานวิสัญญี ปี 2562 E Mobile
โครงการปรับระบบการเลี้ยงสุกรเพื่อป้องกันโรคและประเมินสถานภาพโรค PRRS ของกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยปี 2559.
การจัดทำรายงาน ของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ อาจารย์ ณัฐเสกข์ เทพหัสดิน
แบบฟอร์มการนำเสนอหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ศูนย์ช่วยเหลือ SMEs (SME Rescue Center)
นโยบายการคลัง รายวิชา : Week 06.
ประเภทที่ 1 วิจัยในชั้นเรียน
การเขียนรายงานเชิงวิชาการ
เข้าใจและสามารถปฏิบัติตนตามหลักธรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับอริยสัจ 4
การดำเนินกิจการ ของสหกรณ์ออมทรัพย์.
บทที่ 5. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร
การสนับสนุนกิจกรรม Win back ลูกค้าคู่แข่ง บภ.1.1
Product Champion Cluster วัยเรียน : โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
หอผู้ป่วยศัลยกรรมระบบปัสสาวะ โรงพยาบาลราชบุรี
จัดสวัสดิการผู้สูงอายุตามวิถีแว้ง
งานพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์
กลุ่มที่1 การจัดการข้อมูลการดำเนินงานโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส
งานการเงินนักศึกษา ส่วนการเงินและบัญชี
ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างองค์การ โครงสร้างตำแหน่งและโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือน บทที่ 4. ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร.
บทที่ 8. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการสอนซ่อมเสริมร่วมกับ
การจัดทำและการบริหาร งบประมาณรายจ่ายประจำปี นางดรงค์รัตน์ กล้าหาญ
เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคน และ
สรุปผลการตรวจสอบ รายงานการจัดการพลังงาน ประจำปี 2554มี ความครบถ้วนและถูกต้องตามที่กฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ กำหนดทุกประการ.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 6. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร การประเมินค่างาน บทที่ 6. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร

ความหมายของการประเมินค่างาน การประเมินค่างานเป็นกระบวนการกำหนดคุณค่าความสัมพันธ์ของตำแหน่งงานอย่างเป็นระบบ จากการวิเคราะห์และประเมินตำแหน่งงานแต่ละงาน เมื่อเปรียบเทียบกับงานในตำแหน่งงานอื่นๆ ที่มีอยู่ในองค์การเดียวกัน วัตถุประสงค์ต้องการให้เกิดความเสมอภาคระหว่างตำแหน่งงานแต่ละงาน ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพิจารณากำหนดอัตราค่าตอบแทนให้กับตำแหน่งงานแต่ละงานที่แตกต่างกัน

ความสำคัญของการประเมินค่างาน การกำหนดระบบโครงสร้างงานต่างๆต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานขอคุณค่าของงาน การจัดลำดับความสำคัญก็ดี ระบบงานก็ดี ทำให้การกำหนดโครงสร้างอัตราค่าตอบแทนให้แก่งานต่างๆมีความถูกต้องเหมาะสมทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในการทำงาน ช่วยในการกำหนดอัตราค่าตอบแทนที่สามารถเปรียบเทียบกันได้กับงานเดียวกันในองค์การอื่น

เป็นพื้นฐานในการเจรจาต่อรองในเรื่องของอัตราค่าตอบแทนระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติงานเมื่อเกิดปัญหาขัดแย้งกันในเรื่องของค่าตอบแทน ช่วยในการกำหนดขั้นของค่าตอบแทน ซึ่งจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานรู้ว่าความก้าวหน้าของตัวเองเป็นอย่างไร มีความสอดคล้องกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐในการกำหนดอัตราในค่าตอบแทนตามลักษณะงาน การประเมินค่างานโดยยึดถือความรู้ความสามารถของผู้ปฏิบัติงานเป็นสำคัญ

ความสำคัญของการประเมินค่างานมีอยู่ 2 ประการ ดังนี้คือ ประการแรก เพื่อให้อัตราค่าตอบแทนของพนักงานภายในองค์การสามารถเปรียบเทียบกันได้ กล่าวคืองานที่อยู่ในระดับเดียวกันจะต้องมีอัตราค่าตอบแทนเท่ากันหรือหัวหน้างานจะต้องได้ค่าตอบแทนสูงกว่าผู้ใต้บังคับบัญชาในหน่วยงาน ประการที่สอง เพื่อให้อัตราค่าตอบแทนขององค์การสามารถเปรียบเทียบกันได้กับอัตราค่าตอบแทนในลักษณะที่แตกต่างกันก็ไม่เป็นปัญหา แต่จะต้องคำนึงถึงความสำคัญของการประเมินค่างานดังกล่าว

วัตถุประสงค์ของการประเมินค่างาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำโครงสร้างค่าจ้างและเงินเดือนที่มีเหตุผลและเป็นที่ยอมรับได้ภายในองค์การ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดลำดับตำแหน่งงานที่มีอยู่ภายในองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อใช้ผลจากการประเมินในการเทียบเคียงระดับตำแหน่งงานใหม่ที่จะเกิดขึ้นในภายหลังกับระดับตำแหน่งงานที่มีอยู่แล้วภายในองค์การ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับใช้ในการสำรวจค่าจ้างและเงินเดือน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเจรจาต่อรองระหว่างฝ่ายบริหารกับสหภาพแรงงาน

การกำหนดปัจจัยการประเมินค่างาน แนวทางการกำหนดการประเมินค่างานสามารถแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง ดังนี้ การพิจารณาเนื้อหาและคุณค่าของงานตามตำแหน่งงาน หมายถึง การพิจารณาว่าจะต้องปฏิบัติงานอย่างไรตามพื้นฐานหน้าที่และความรับผิดชอบของงาน การพิจารณาความเชื่อมโยงเนื้อหากับตลาดแรงงาน หมายถึง การพิจารณาการประเมินค่างานเป็นกระบวนการเชื่อโยงระหว่างเนื้อหาและคุณค่าภายในองค์การกับตลาดแรงงาน

กลุ่มปัจจัยการประเมินค่างาน บาสส์ (bass) เบนจ์ (benge) กรมแรงงาน ของเมริกา เฮย์ (hey) ทักษะ ความคิดและสติปัญญา ความรู้ทางเทคโนโลยี ความรับผิดชอบ ความพยายาม การแก้ปัญหา สภาพการทำงาน ร่างกาย  

การกำหนดปัจจัยการประเมินค่างาน จะเห็นได้ว่าการเลือกปัจจัยการประเมินค่างานนั้น จะต้องสามารถอธิบายได้ว่าตำแหน่งงานใด มีค่างานสูงกว่าอีกตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งจะต้องมีเหตุผลมาสนับสนุนในการพิจารณา อย่างไรก็ตามงานแต่ละงานจะมีลักษณะงานแตกต่างกัน การใช้ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบนั้น จึงไม่สมเหตุสมผล ดังนั้น องค์การแต่ละองค์การ และตำแหน่งงานแต่ละตำแหน่งงาน จึงสามารถเลือกปัจจัยที่แตกต่างกันในการประเมินค่างาน เพื่อนำไปสู่การจ่ายค่าตอบแทนได้

กระบวนการประเมินค่างาน ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ขององค์การ การประเมินค่างานต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์การ เพื่อสนับสนุนการไหลของงาน การประเมินค่างานสนับสนุนการไหลของงาน 2 ลักษณะ คือ ช่วยบูรณาการการจ่ายค่าตอบแทนของแต่ละงานที่มีความสัมพันธ์กันให้สนับสนุนและเกื้อกูลกันและยังช่วยกำหนดงานที่เกิดขึ้นใหม่ งานที่มีลักษณะเฉพาะและงานที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดความยุติธรรมกับพนักงาน การประเมินค่างานจะช่วยลดความอึดอัด

ขั้นตอนที่ 2 การจัดทำแผนการประเมินค่างาน ภาระหน้าที่และความสัมพันธ์กับงานอื่นมีลักษณะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง งานนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ไม่ใช่งานสำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ งานนั้นมีขนาดสำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่งปฏิบัติงาน

ตัวอย่างการจัดกลุ่มงาน กลุ่มงานบริหาร กลุ่มงานด้านคอมพิวเตอร์ กลุ่มงานด้านการเงินและบัญชี กรรมการและผู้จัดการ ผู้จัดการโครงการ/ ผู้อำนวยการ ที่ปรึกษาด้านการเงินและ บัญชี ผู้จัดการฝ่าย/ ผู้จัดการด้านระบบ คอมพิวเตอร์ ผู้จัดการฝ่ายการเงินและ ผู้จัดการทั่วไป วิศวกรคอมพิวเตอร์ สมุห์บัญชี หัวหน้างาน โปรแกรมเมอร์/เจ้าหน้าที่เขียน โปรแกรม เจ้าหน้าที่บัญชี เลขานุการ เจ้าหน้าที่ติดตั้งระบบ พนักงานจัดซื้อ เจ้าหน้าที่ประจำ สำนักงาน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการข้อมูล เจ้าหน้าที่รับ-จ่ายข้อมูล

ขั้นตอนที่ 3 การเลือกวิธีการประเมินค่างาน วิธีการประเมินค่างานที่สำคัญมีด้วยกัน 2 วิธี ดังนี้ การประเมินค่างานโดยไม่ใช้ค่าคะแนน แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ วิธีการจัดลำดับงานและวิธีการจำแนกงาน การประเมินค่างานโดยใช้ค่าคะแนน แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ วิธีการระบบค่าคะแนนและวิธีการระบบเปรียบเทียบปัจจัยแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน

ขั้นตอนที่ 4 การแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบการประเมินค่างาน กระบวนการออกแบบการประเมินค่างาน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมควรมีการเลือกแนวทางการประเมินค่างานที่อยู่บนฐานของทักษะความรู้และความสามารถ การตรวจสอบแนวทางการปฏิบัติงาน การตรวจสอบสามารถทำได้ทั้งแนวทางการปฏิบัติงานที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

ขั้นตอนที่ 5 การสรุปผลการประเมินค่างาน การสรุปผลการประเมินค่างาน คือ การนำตำแหน่งงานลำดับจากตำแหน่งที่มีผลการประเมินต่ำไปยังตำแหน่งงานที่มีผลการประเมินค่าสูง นำมาใช้จัดทำโครงสร้างภายในองค์การ ประกอบด้วย ระดับค่าตำแหน่งงานแตกต่างกัน กลุ่มงานที่แตกต่างกัน แต่ละกลุ่มจะมีปัจจัยการประเมินค่างานแตกต่างกัน องค์การสามารถใช้โครงสร้างงานหลายโครงสร้าง ซึ่งนำไปใช้จัดทำโครงสร้างค่าตอบแทนตามกลุ่มงานที่แตกต่างกัน โดยพิจารณาปัจจัยที่มีอิทธิพลในการกำหนดค่าตอบแทนทั้งภายนอกและภายในองค์การ

การกำหนดหน้าที่ตำแหน่งงาน แนวคิดการกำหนดตำแหน่งงานในองค์การ ตำแหน่งงานต้องสะท้อนถึงลักษณะงานขององค์การด้วย กล่าวคือเป็นตำแหน่งงานสายงานผลิต ตำแหน่งงานสายงานสนับสนุน ตำแหน่งงานของสายงานผลิตมักจะสะท้อนให้เห็นลักษณะหรือประเภทธุรกิจขององค์การ เช่น พนักงานวิเคราะห์สินเชื่อ ส่วนใหญ่แล้วจะทำงานอยู่ในธุรกิจการเงินการธนาคารหรือตำแหน่งบรรณาธิการ

การกำหนดระดับความสูงต่ำของตำแหน่งงาน การกำหนดตำแหน่งงานนอกจาก จะสะท้อนถึงลักษณะและประเภทของธุรกิจแล้วยังบ่งบอกถึง ขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบ รวมทั้งยังบ่งบอกถึงศักดิ์ศรีหรือสถานภาพทางสังคมด้วย เช่น ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ จะทำให้ทราบว่ารับผิดชอบในการบริหารจัดการงานทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร ทำให้ทราบว่ารับผิดชอบทั้งงานทรัพยากรบุคคล งานธุรการ งานจัดซื้อจัดจ้าง

การออกแบบโครงสร้างองค์การ การออกแบบโครงสร้างองค์การ นับว่ามีความสำคัญมาก เป็นหลักการเบื้องต้นในการจัดสรรหน้าที่ความรับผิดชอบ การมอบหมายงาน การบังคับบัญชา และการประสานงาน รวมทั้งเป็นการจัดการทรัพยากรที่มีจำกัดขององค์การให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยจะต้องพิจารณาในด้าน ความพร้อม ความขาดแคลน จุดอ่อน จุดแข็ง ของทรัพยากรขององค์การ ไม่ว่าจะเป็นกำลังคน ความรู้ ความสามารถ ทักษะ เงินทุน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ เทคโนโลยี จะต้องผสมผสานกันอย่างเหมาะสม เพื่อสามารถปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุเป้าประสงค์ขององค์การ

การออกแบบโครงสร้างองค์การสามารถแบ่งออกเป็น 3 แนวคิด ดังนี้ แนวคิดที่หนึ่ง แบบดั้งเดิม เป็นการจัดโครงสร้างองค์การที่ให้ความสำคัญกับสายการบังคับบัญชา แนวคิดนี้ยังให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดและต้องมีการตรวจสอบ ตรวจทานงานจากผู้บังคับบัญชาเป็นลำดับชั้น ทั้งนี้เพราะยังไม่เชื่อมั่นในความสามารถของพนักงานผู้ใต้บังคับบัญชาว่าจะปฏิบัติงานได้หรือไม่

แนวคิดที่สอง แบบหน้าที่เป็นการจัดโครงสร้างองค์การที่ยึดความสำคัญกับภาระหน้าที่ เป็นการจัดองค์การตามลักษณะหน้าที่ เช่น ฝ่ายการบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายวิศวกรรม ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งเป็นการจัดองค์การที่ได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดของการแบ่งงานกันทำตามความถนัดของ อดัม สมิธ (Adam Smit)

แนวคิดที่สาม แบบสมัยใหม่ เป็นการจัดการโครงสร้างองค์การที่ไม่ยึดติดกับแนวความคิดใดแนวความคิดหนึ่ง หากแต่พิจารณาว่าควรจัดรูปแบบใดจึงจะเหมาะสมกับองค์การที่บริหารเชิงกลยุทธ์ อาจเป็นลักษณะผสมผสาน หรือมีหลายรูปแบบในองค์การเดียวก็ได้ เช่น องค์การตามหน้าที่ องค์การแบบโครงการ องค์การแบบเมทริก องค์การตามประเภทลูกค้า องค์การแบบเครือข่าย หรือองค์การตามภูมิภาค

การออกแบบโครงสร้างองค์การที่ให้ความสำคัญกับสายการบังคับบัญชา แบบสูง (tall organization) เป็นองค์การที่ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบความถูกต้อง ของกระบวนการทำงาน เป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง นิยมใช้กับองค์การที่มีขนาดใหญ่ หรือองค์การราชการ รัฐวิสาหกิจ

โครงสร้างองค์การแบบสูง

แบบราบ (flat organization) เป็นองค์การที่ต้องการลดขั้นตอนของกระบวนการปฏิบัติงาน ให้สั้น กระชับ ต้องการแก้ปัญหาความอืดอาด ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน เหมาะสำหรับองค์การที่ต้องการผลิตสินค้าและบริการที่เปลี่ยนค่อนข้างบ่อยในขณะเดียวกันก็ต้องการสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันทีเหมาะสำหรับลักษณะธุรกิจที่ต้องใช้ความเร็วของการผลิต การสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้า

โครงสร้างองค์การแบบราบ

แบบไม่สูงไม่ราบ (moderate organization) เป็นการออกแบบโครงสร้างองค์การที่ต้องการ แก้จุดอ่อนขององค์การแบบสูง และเสริมจุดแข็งให้กับองค์การแบบราบ กล่าวคือ ต้องการแก้ปัญหาความล่าช้าของสายการบังคับบัญชาที่ยาวเกินไปขององค์การแบบสูง ซึ่งมีหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาเป็นลำดับขั้นขึ้นไปหลายคน งานจึงถูกกักตัดตอน และข้อมูลข่าวสารถูกบิดเบือน ทำให้งานจะถูกแก้ไขโดยผู้บังคับบัญชาในแต่ละระดับ

โครงสร้างองค์การแบบไม่สูงไม่ราบ

แบบตามหน้าที่ (functional organization) เป็นองค์การที่จัดฝ่ายงาน ส่วนงานตามหน้าที่ที่ถนัด เช่น ฝ่ายงานบัญชี ฝ่ายงานวิจัย ฝ่ายวิศวกรรม ฝ่ายบริหาร เป็นต้น การออกแบบโครงสร้างองค์การแบบนี้เป็นไปตามทฤษฎีการบริหาร การแบ่งงานกันทำตามแนวคิดของ อดัม สมิธ คือจะพิจารณาในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างงานหลักและงานสนับสนุน ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบ ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายงาน หน่วยงาน

โครงสร้างองค์การแบบตามหน้าที่

โครงสร้างองค์การแบบโครงการ

แบบเมทริกซ์หรือแบบผสม (matrix organization) เป็นการออกแบบองค์การที่ต้องการขจัดจุดอ่อนขององค์การแบบหน้าที่และแบบโครงการ ข้อดีคือเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างวัตถุประสงค์ของงาน แผนงาน อย่างไรก็ตามจุดอ่อนของการจัดการองค์การแบบนี้คือ ทำให้พนักงานมีความรู้สึกว่ามีผู้บังคับบัญชา ระดับกลาง 2 คนคือ ในแนวตั้งต้องรายงานแก่ผู้บังคับบัญชาของสายงานหลัก ในขณะเดียวกันในแนวนอนที่ต้องรายงานต่อผู้ประสานงานโครงการ วิธีการหลีกเลี่ยงปัญหาคือ จะต้องมีการกำหนดขอบเขตหน้าที่ระหว่างผู้บังคับบัญชาสายตรงกับผู้จัดการโครงการ ให้ชัดเจน โดยมีผู้ประสานงานโครงการเป็นคนกลางในการประสานงาน

บทสรุป การประเมินค่างานเป็นกระบวนการในการพิจารณาค่าสัมพัทธ์ของงานต่างๆภายในองค์การ เพื่อช่วยให้เกิดความเสมอภาคภายในระหว่างงานต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้มีความเชื่อมโยงกับการกำหนดอัตราค่าตอบแทนให้กับงานแต่ละงาน ซึ่งทำให้องค์การทุกแห่งต้องมีการประเมินค่างานด้วยเหตุผลสำคัญที่ว่าลักษณะงานในปัจจุบันต้องใช้ความรู้ความสามารถในการทำงาน ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและความต้องการที่ไม่มีที่สิ้นสุดในการเรียกร้องอัตราค่าจ้างในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน จึงทำให้การประเมินค่างานมีความสำคัญและเป็นพื้นฐานของการบริหารงานในองค์การ

Thank you