ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
สถานการณ์ปัญหาที่ 1
คุณครูสายสมรได้รับมอบหมายให้ไปประชุมวิชาการเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 4 มาตรา 22กำหนดไว้ว่า ผู้เรียนสำคัญที่สุด ดังนั้นการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพของตนเอง พัฒนาการคิด การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และการลงมือปฏิบัติที่ผ่านการเผชิญสถานการณ์ปัญหา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข จากประสบการณ์การสอนและการนิเทศการสอนของคุณครูสายสมรพบว่ามีครูจำนวนมากเข้าใจแต่เพียงว่าการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นสำคัญนั้นก็คือ การจัดการเรียนการสอนที่มีกิจกรรมมาก ๆ โดยไม่ได้คิดว่ากิจกรรมนั้นสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้ดีเพียงใด ซึ่งกิจกรรมที่นักเรียนทำนั้น ก็ทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ไม่มีความเข้าใจลึกซึ้งในเนื้อหาว่าสิ่งที่ตนเองทำนั้นได้ประโยชน์อะไร และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
ภารกิจที่ 1 ภารกิจที่ 2 ภารกิจที่ 3
ภารกิจที่ 1 จงวิเคราะห์ว่าครูสายสมรควรจะให้คำแนะนำแก่ครูส่วนใหญ่ที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับการจัดเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ว่าจะนำทฤษฎีการเรียนรู้ใดมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาและเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ทฤษฎีดังกล่าวเหมาะสมอย่างไร พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ
วิเคราะห์ภารกิจที่ 1 ครูส่วนใหญ่ที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับการจัดเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูสายสมรควรจะให้คำแนะนำให้ใช้ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์มาใช้จัดการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาและเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
วิเคราะห์ภารกิจที่ 1 เนื่องจากการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้น ต้องการให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์นั้นเน้นสิ่งเร้าภายในที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ กระบวนการคิดที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้
ภารกิจที่ 2 ทฤษฎีดังกล่าวมีสาระสำคัญอย่างไร จงอธิบาย
วิเคราะห์ภารกิจที่ 2 แนวคิด คอนสตรัคติวิสซึม ความรู้ ครู นักเรียน หน้าที่ :จัดการให้นักเรียนปรับขยายโครงสร้างทางปัญญาของตัวเอง ภายใต้ข้อสมมติฐาน - สถานการณ์ที่เป็นปัญหาและปฏิสัมพันธ์ทาง สังคมก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา - ความขัดแย้งทางปัญญาเป็นแรงจูงใจภายในให้ เกิดกิจกรรมการไตร่ตรองเพื่อขจัดความขัดแย้งนั้น - การไตร่ตรองบนฐานแห่งประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิมภายใต้การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม กระตุ้นให้มีการสร้างโครง สร้างใหม่ทางปัญญา นักเรียน คือ โครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนั้นที่สร้างขึ้นจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหา และนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆ เป็นผู้สร้างความรู้ด้วยวิธีการที่ต่างๆกัน โดยอาศัยประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิมโดยความสนใจและจูงใจเป็นจุดเริ่มต้น
ภารกิจที่ 3 ในปัจจุบันท่านเคยเจอสภาพปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในลักษณะใดบ้าง และท่านมีความคิดเห็นอย่างไร จงอธิบาย
บางรายวิชาสั่งงานเยอะเกินไป วิเคราะห์ภารกิจที่ 3 บางรายวิชาสั่งงานเยอะเกินไป อาจารย์สอนแบบบรรยายไม่มีการเชื่อมโยงความรู้ทำให้เรื่องที่เรียนยากทั้งๆที่ไม่น่าจะยากเท่าไหร่ ขณะเรียนนักศึกษาไม่มีส่วนร่วมในการเรียนทำให้เกิดความเบื่อหน่าย