การพัฒนาระบบประเมินตนเอง หน่วยที่ 2 2.4. การพัฒนาระบบประเมินตนเอง
การประเมินภายในสถานศึกษา ความหมายของ การประเมินผล “ ตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ถูกวัดโดยเทียบกับเกณฑ์” จุดเน้นของการประเมิน ยุติธรรม ความเหมาะสมของเกณฑ์ที่ใช้ตัดสิน โปร่งใสและเปิดเผย ข้อมูลมีความตรงเชื่อถือได้ สอดคล้องกับความจริง
ประเภทของการประเมินผล 1.การประเมินความก้าวหน้า (Formative evaluation) มี จุดมุ่งหมาย 1.1. ให้ข้อมูลย้อนกลับ สะท้อนจุดเด่น-จุดบกพร่อง 1.2.นำผลมาปรับปรุงกระบวนการ 2.การประเมินผลสรุป (Summative evaluation)มีจุดมุ่งหมาย 2.1.ประเมินผลหลังดำเนินงานสิ้นสุดโครงการ 2.2.ให้ข้อมูลช่วยตัดสินคุณภาพของผลการดำเนินงาน 2.3. ช่วยตัดสินอนาคตของการดำเนินงาน ว่า ควรยุติหรือ ขยายงาน
ช่วงเวลาของการประเมิน 1.การประเมินผลก่อนการดำเนินงาน เช่น ประเมินก่อนเรียน, ศึกษาสภาพการดำเนินงานที่ผ่านมา 2.การประเมินผลระหว่างดำเนินงาน เช่น ประเมินระหว่างเรียน, ประเมินผลระหว่างดำเนินโครงการ/กิจกรรมเพื่อดูความก้าวหน้า 3.การประเมินผลหลังสิ้นสุดการดำเนินงาน เช่น การตัดสินผล การเรียน, ประเมินสรุป (summative) ,ประเมินผลผลิต
ผู้ทำการประเมิน 1.ประเมินโดยบุคลากรในหน่วยงาน/ผู้เกี่ยวข้องกับงาน หรือ ประเมินภายใน(Internal evaluation) ได้แก่ * ผู้สอน ประเมินการสอน * ผู้รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรม * หัวหน้ากลุ่มสาระ/หัวหน้างาน * คณะกรรมการประเมินภายในสถานศึกษา * เขตพื้นที่การศึกษา
ผู้ทำการประเมิน 1.ประเมินโดยบุคลากรในหน่วยงาน/ผู้เกี่ยวข้องกับงาน หรือประเมิน ภายใน(Internal evaluation) ข้อดี : ผู้ประเมินมีความรู้ในบริบทของตนเองมากกว่าผู้อื่นน่าจะมองตนเอง ได้ดีกว่า ข้อจำกัด : ผู้ประเมินอาจไม่ใช่มืออาชีพ กระบวนการประเมินอาจไม่รอบด้าน ใช้วิธีการไม่เหมาะสม ผู้ประเมินตนเองอาจให้ข้อมูลเข้าข้างตนเอง ถ้าขจัดปัญหาดังกล่าว การประเมินตนเองจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการ ปฏิบัติงาน เพราะเป็นการทำงานที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
ผู้ทำการประเมิน 2.ประเมินโดยบุคลากรภายนอกหน่วยงานไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน เรียกว่า “ประเมินภายนอก” (External evaluation) ข้อดี : ผู้มีความชำนาญในวิชาชีพการประเมิน ผลการประเมินจากกลุ่มบุคคล ที่มีประสบการณ์ในการประเมินเป็นที่เชื่อถือว่าให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ มี ความเป็นกลาง ข้อจำกัด : ผู้ประเมินอาจมีข้อจำกัดในด้านครอบคลุมครบถ้วนของสิ่งที่ถูก ประเมิน รายละเอียดของข้อมูลการปรับปรุงการทำงานอาจจะน้อยกว่า การประเมินภายใน เป็นการประเมินที่เน้นผลภาพรวมในการดำเนินงาน ในช่วงเวลาที่เข้าประเมิน
สิ่งที่ถูกประเมิน 1.การประเมินความต้องการจำเป็น (Needs Assessment) เป็น การประเมินเพื่อตรวจสอบสภาพการดำเนินงานของหน่วยงานว่า มีจุดใดบ้างที่ไม่บรรลุเป้าหมาย และนำผลประเมินไปใช้ในการ วางแผนปฏิบัติการ 2.การประเมินปัจจัยเข้า (Input evaluation) เป็นการประเมินตัว ป้อนที่ใช้ในการดำเนินงาน เช่น บุคลากร สถานที่ งบประมาณ 3.การประเมินการะบวนการ(Process evaluation) เป็นการ ประเมินกระบวนการดำเนินงาน เพื่อให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการทำงาน เพื่อช่วยปรับปรุงการดำเนินงานให้ บรรลุเป้าหมาย ก่อนที่การดำเนินงานจะสิ้นสุดลง
สิ่งที่ถูกประเมิน 4.การประเมินผลผลิต(Product evaluation) เป็นการประเมินสิ่ง ที่เกิดขึ้นหลังการดำเนินงานสิ้นสุดลงว่าบรรลุตามเป้าหมายมาก น้อยเพียงใด 5.การประเมินผลกระทบ(Impact evaluation) เป็นการ ประเมินผลที่เกิดขึ้นภายหลังการดำเนินงาน และสิ่งที่ประเมิน เป็นผลซึ่งอาจไม่ได้คาดหมายมาก่อน และเป็นไปทั้งทางบวกและ ทางลบ
ความสำคัญและจำเป็นของการประเมินตนเอง เพื่อทราบจุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง เพื่อนำขอมูลมาปรับปรุงการดำเนินงานของตนเอง เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากชุมชน เพื่อรายงานผลการประเมินให้สาธารณชนทราบ และได้ข้อมูลที่ ช่วยในการวางแผนพัฒนาหน่วยงานต่อไป
การประเมินตนเองหรือการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ความหมาย : การตรวจสอบผลการจัดการศึกษาของ สถานศึกษา “ โดยนำสารสนเทศจากการตรวจสอบ และทบทวนคุณภาพภายใน มาประเมินคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา”
การประเมินคุณภาพภายใน ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานที่กำหนด นำมาจัดทำรายงานการพัฒนาคุณภาพฯประจำปี ต่อ - คณะกรรมการสถานศึกษา - ผู้ปกครอง ชุมชน - หน่วยงานต้นสังกัด - สาธารณชน รายงานต่อสำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ(สมศ.) เพื่อขอรับรองมาตรฐานคุณภาพ
หลักการประเมินคุณภาพภายใน สิ่งสำคัญ คือ คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานหลักสูตร โปร่งใส ถูกต้อง เชื่อถือได้ ร่วมกันทุกคน ทุกฝ่าย และทุกขั้นตอน นำผลการประเมินเทียบเกณฑ์เพื่อพัฒนาปรับปรุง ไม่ตัดสินถูก-ผิด วิพากษ์วิจารณ์ขณะประเมิน พิจารณาข้อมูลสารสนเทศจากการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพ ภายในสถานศึกษาทุกระดับ ร่องรอยหลักฐานที่ปรากฏ ไม่ใช้ เครื่องมือมากมาย บันทึกผลและสรุปผลการประเมิน พร้อมให้ข้อสังเกต ที่เป็นจุด เด่น จุดที่ควรพัฒนา ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข
กระบวนการพัฒนาระบบประเมินตนเอง
การพัฒนาระบบการประเมินตนเอง เงื่อนไขสำคัญของการพัฒนาระบบประเมินตนเอง สถานศึกษาจะต้องมีระบบการตรวจสอบและทบทวน คุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ในระดับ 1. ผู้ปฏิบัติงานรายบุคคล 2. หัวหน้ากลุ่มสาระ/หัวหน้าฝ่าย/หัวหน้างาน 3. คณะกรรมการตรวจสอบและทบทวนภายใน ทุกระดับบันทึกร่องรอยหลักฐานการปฏิบัติชัดเจน ทุกระดับสรุปและรายงานผล และจัดทำสารสนเทศ ตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้
การตรวจสอบและทบทวนระดับบุคคล ครูทุกคน ผู้รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรม ดำเนินการ ตรวจสอบและทบทวนคุณภาพตามภารงาน/กิจกรรม ที่ตนรับผิดชอบ ว่า การจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตร ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมสอดคล้องกับตัวชี้วัด ความสำเร็จหรือไม่ มีอะไรแสดงร่องรอยหลักฐานการเรียนรู้ของผู้เรียน/ ผลการดำเนินงาน มีอะไรที่ไม่สมบูรณ์
การตรวจสอบและทบทวนระดับบุคคล ครูทุกคน ผู้รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรม ดำเนินการ ตรวจสอบและทบทวนคุณภาพตามภารงาน/กิจกรรม ที่ตนรับผิดชอบ ว่า วิธีการหาเพิ่มเติมอย่างไร บันทึกผลการตรวจสอบและทบทวน รายงานผลการตรวจสอบต่อหัวหน้ากลุ่มสาระ/ หัวหน้างาน
การตรวจสอบและทบทวนระดับกลุ่ม หัวหน้ากลุ่ม/หัวหน้างาน/ฝ่าย รวบรวมข้อมูลสารสนเทศจากคณะผู้ปฏิบัติ ศึกษา ตรวจสอบ ความถูกต้อง สมบูรณ์ เพื่อยืนยันผลการประเมิน มีสิ่งใดที่มีข้อมูล/ร่องรอยหลักฐานไม่สมบูรณ์ /เพียงพอ บันทึกผลการตรวจสอบและทบทวน สรุปผลการตรวจสอบทบทวน จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะการพัฒนาปรับปรุง รายงานผลการตรวจสอบทบทวน ต่อผู้รับผิดชอบนำไป ปรับปรุง และต่อคณะกรรมการของสถานศึกษา
การตรวจสอบและทบทวนระดับสถานศึกษา คณะกรรมการตรวจสอบทบทวนของสถานศึกษา ทำการศึกษา ตรวจสอบความถูกต้อง สมบูรณ์ ของกลุ่ม/ฝ่าย/งาน เพื่อยืนยันผลการประเมิน มีสิ่งใดที่มีข้อมูล/ร่องรอยหลักฐานไม่สมบูรณ์ /เพียงพอ จะมีการ ตรวจสอบและทบทวนงานนั้น สอบถามเพิ่มเติม บันทึกผลการตรวจสอบและทบทวน สรุปผลการตรวจสอบทบทวน จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะการพัฒนาปรับปรุง รายงานผลการตรวจสอบทบทวน ต่อผู้รับผิดชอบนำไปปรับปรุง และต่อคณะกรรมการการศึกษาของสถานศึกษา
1.การวางแผนการประเมินตนเอง 1.1. แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินภายใน อาจแบ่ง คณะกรรมการเป็น 4 กลุ่มตามมาตรฐานดังนี้ - ด้านผู้เรียน - ด้านการจัดการเรียนการสอน - ด้านการบริหารและจัดการ - ด้านพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ และสภาพข้อมูล พื้นฐานของสถานศึกษา
1.การวางแผนการประเมินตนเอง 1.2. คณะกรรมการประเมินภายใน กำหนดกรอบการประเมินดังนี้ - เป้าหมาย/มาตรฐาน/ตัวบ่งชี้ - เครื่องมือ - แหล่งข้อมูล/ผู้ให้ข้อมูล - วิธีการรวบรวมข้อมูล - จำนวนข้อมูล - การวิเคราะห์ข้อมูล - ผู้รับผิดชอบ
1.การวางแผนการประเมินตนเอง 1.3. คณะกรรมการประเมินภายใน ออกแบบ เครื่องมือสำหรับบันทึกผลการประเมิน ที่สอดคล้อง กับกรอบการประเมินดังตัวอย่าง
1.การวางแผนการประเมินตนเอง 1.4. คณะกรรมการประเมินภายใน กำหนดแผนการ ประเมินคุณภาพ - รายบุคคล - กลุ่มสาระ/หัวหน้าฝ่าย/โครงการ/กิจกรรม - คณะกรรมการประเมินภายใน - กำหนดปฏิทินปฏิบัติการประเมินภายในระดับ สถานศึกษา
1.การวางแผนการประเมินตนเอง 1.5. คณะกรรมการประเมินภายใน - จัดทำคู่มือประเมินคุณภาพภายใน - ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มให้เข้าใจถึง วิธีการ การเตรียมข้อมูลสารสนเทศ ตลอดจนร่องรอย หลักฐาน แต่ละมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และแจ้งปฏิทิน การประเมินคุณภาพภายใน
2.ดำเนินการประเมินตนเอง คณะกรรมการประเมินภายใน 2.1. ตรวจสอบ ร่องรอยหลักฐาน ข้อมูลสารสนเทศ และสรุปผลการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพ ทั้ง ระดับบุคคล กลุ่มสาระ/ฝ่าย/โครงการ/กิจกรรม และ ระดับสถานศึกษา 2.2. บันทึกผลการตรวจสอบ 2.3 . นำผลการตรวจสอบ มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ ข้อมูล ทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ
3.สรุปรายงานผลการประเมิน และให้ข้อเสนอแนะ คณะกรรมการประเมินภายใน 3.1. นำผลการประเมินเทียบเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด 3.2. บันทึกผลการประเมิน 3.3 . ให้ข้อเสนอแนะ ในกรณีไม่บรรลุตามเป้าหมาย 3.4. ให้ข้อสังเกต ที่เป็นจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา 3.5. จัดทำรายงานการประเมินตนเอง ต่อ คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้รับผิดชอบงาน
4.การนำข้อเสนอแนะไปแก้ไขปรับปรุง คณะกรรมการสถานศึกษา พิจารณาผลการประเมิน แล้วกำหนดวิธีการ แก้ปัญหา และสนับสนุนส่งเสริม กำหนดระยะเวลาในการพัฒนาปรับปรุง และการ รายงานผลการปรับปรุง กำหนดผู้รับผิดชอบใน นิเทศกำกับ ติดตาม ให้ความ ช่วยเหลือ
4.การนำข้อเสนอแนะไปแก้ไขปรับปรุง คณะผู้รับผิดชอบ นำข้อเสนอแนะ และวิธีการแก้ปัญหา ร่วมกัน วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ศึกษาเทคนิควิธีการแก้ไขปัญหา จัดทำแผนพัฒนา และดำเนินการแก้ไขปัญหา สรุปและรายงานผลการแก้ไขปัญหา
กิจกรรม
สวัสดี