ความต้องการสารสนเทศ (Information need)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Mind map (From Wikipedia, the free encyclopedia)
Advertisements

Multimedia Systems รศ. ดร. บุญวัฒน์ อัตชู
ความเป็นมา เจ้าของแนวคิด Mind Map คือ นักจิตวิทยา ชาวอังกฤษ ชื่อ โทนี่ บูซาน Tony Buzan ได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณะ ครั้งแรกทางรายการ Use Your Head ของสถานีโทรทัศน์
ประธานกลุ่ม:พ.อ.กิตติศักดิ์ ดวงกลาง สมาชิก:ผู้แทนจาก สขว.กอ.รมน., ศปป.1 กอ.รมน., ศปป.6 กอ.รมน., กอ.รมน.ภาค 2, กอ.รมน.จังหวัด ก.ส., ข.ก., บ.ก., น.ค., ล.ย.,
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. บอกประวัติ ความเป็นมาของโปรแกรม FreeMind ได้ 2. บอกความหมายและสามารถเลือกใช้โปรแกรม Open Source Software ได้ 3. บอกความหมายของการอับโหลดและการดาวน์
เข้าสู่ วิชา การงานอาชีพ จัดทำโดย ด. ญ. สุชัญญา เขียวสมอ ม.1/14 เลขที่ 38 ด. ญ. พรรณวษา ยาวะระ ม.1/14 เลขที่ 32 นำเสนอ อาจารย์ ฐิตาพร ดวงเกตุ โรงเรียนวินิตศึกษา.
การฝึกอบรมคืออะไร.
มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง กับการบรรจุแต่งตั้ง.
การคิด/หาหัวข้อวิจัย (วิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง)
การใช้ Social Media เพื่อการสื่อสาร
บทที่ 4 เทคนิคการแตกโครงสร้างงาน Work Breakdown
Information Technology For Life
ความคืบหน้าการจัดทำ ร่าง-ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
ภารกิจ ศธภ./ศธจ..
การออกแบบปัญหาการวิจัย
WWW (World Wide Web) พัฒนาขึ้นมาในช่วงปลายปี 1989 โดยทิม เบอร์เนอร์ ลี นัก วิศวกรรมซอฟต์แวร์ จาก ห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่ง ยุโรป (European Particle.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลยา ธเนศพงศ์ธรรม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า Information Technology for Study Skill 01/12/61.
ทิศทางการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2560
การจัดหาหรือจัดให้มีการพัฒนา และการบํารุงรักษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบงานคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศ มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศตามวิธีการแบบปลอดภัย.
เทคนิคการสอนยุค IT ตอนที่ 2
นักเรียนเขียนสะกดคำต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา ชุมชนศึกษาและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน
การใช้ Big Data และ Artificial Intelligence (AI) ในงานสร้างสุขภาพ
Introduction to Data mining
Advanced Topics on Total Quality Management
งานการข่าว นายสยมภู อภิรัฐวงศ์ นักการข่าวชำนาญการพิเศษ
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 12 มกราคม 2550
การวิเคราะห์ข้อมูล การท่องเที่ยว เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์จังหวัด
ข้อมูล และ เครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ
นวัตกรรมและเทคโนโลยี คือ INNOTECH
แนะนำรายวิชา การออกแบบระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่าย
ข้อมูลประกอบการประชุมผู้บริหารระดับสูง
การเลี้ยงไก่ไข่.
การวิเคราะห์คำค้น ในรูปแบบ Word Cloud เพื่อสนับสนุนงานบริการสารสนเทศของห้องสมุด Keywords Analysis in Word Cloud for supporting library information services.
Academic Writing การเขียนงานทางวิชาการ
วิเคราะห์ค่างาน เพื่อกำหนดตำแหน่ง
องค์ความรู้ การจัดทำดัชนีชี้วัดและการกำหนดค่าเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ของงาน (Key Performance Indication : KPI) สำนักวิเคราะห์ วิจัยและพัฒนา.
สถานการณ์วัณโรค จังหวัดมหาสารคาม
แนวทางการดำเนินงาน โครงการ กองทุนแม่ของแผ่นดิน
โดย ดร.ปราณี คงพิกุล ผอ.กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการศึกษา
การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ
แนวคิดเรื่องการรู้สารสนเทศ
การจัดทำแผนอัตรากำลัง 3 ปี
หลักการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย :
การพัฒนาการจัดการ และมาตรฐานการบริการ
สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา
การวางแผนระบบการผลิต
เทคนิคการใช้เครื่องมือสมัยใหม่ (New Media) เพื่อการสื่อสาร
กรอบการประเมินการรู้วิทยาศาสตร์ (PISA 2015 และ 2018)
รายวิชา IFM4301 การจัดการเครือข่ายทางสังคม 3 (ทฤษฎี2-ปฏิบัติ2-ศึกษาด้วยตนเอง5) หน่วยกิต
2 3 บทที่ ตอนที่ การสืบค้นสารสนเทศ
สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ.
การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด
การใช้งานฐานข้อมูล Web of Science
ร่างแผนปฏิรูปองค์การ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางเก็บตัวชี้วัด การพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล ประจำปีงบประมาณ 2562
สารสนเทศ และการรู้สารสนเทศ
ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. นครศรีธรรมราช
การประสานงาน การแก้ปัญหาในการทำงาน โดยใช้ไลน์กลุ่ม social media
การควบคุม (Controlling)
เทคนิคการทำวิจัยสถาบัน
งานคุ้มครองผู้บริโภค กับการเฝ้าระวังสื่ออย่างชาญฉลาด
- การกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
คัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ประจำปี 2562
ผลงานตามโครงการพระราชดำริ โครงการ TO BE NUMBER ONE 1
การรายงานผลการดำเนินงาน
บทที่ 2 ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับงานกราฟิก
เกษตรอำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ความต้องการสารสนเทศ (Information need) GEN4103 การศึกษาค้นคว้าและเทคโนโลยีสารนเทศเพื่อการปฏิบัติงาน Individual Studies and Information Technology for Work บทที่ 2 ความต้องการสารสนเทศ (Information need)

วัตถุประสงค์ ผู้เรียนเข้าใจและสามารถกำหนดความต้องการสารสนเทศได้ ผู้เรียนสามารถเข้าใจและกำหนดคุณลักษณะ ของข้อมูลที่ต้องการได้ ผู้เรียนสามารถวางแผนการค้นหาสารสนเทศได้

หัวข้อนำเสนอ แนวคิดเกี่ยวกับความต้องการสารสนเทศ 1 1 แนวคิดเกี่ยวกับความต้องการสารสนเทศ ความหมายของความต้องการสารสนเทศ 2 2 ความหมายของความต้องการสารสนเทศ ความสำคัญของสารสนเทศ 3 3 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3.1 3 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3.2 4 การกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ การกำหนดความต้องการสารสนเทศ 5 3.3 การวางแผนในการค้นหาสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศ

แนวคิดเกี่ยวกับความต้องการสารสนเทศ 1 การให้ความหมายและการวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ การให้ความหมายและการวิเคราะห์หรือกำหนดความต้องการสารสนเทศเป็นทักษะแรกที่ผู้รู้สารสนเทศจำเป็นต้องมี นั่นคือ ความสามารถ ในการตระหนักว่าต้องการสารสนเทศเพื่อเป้าหมายใด และอะไรคือสารสนเทศที่ต้องการ การกำหนดและวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศเป็นเหมือนการวางแผนการค้นคว้า

ความหมายของความต้องการสารสนเทศ 2 ความต้องการสารสนเทศ (Information needs) หมายถึง ภาวะที่บุคคลเกิดปัญหา และตระหนักว่าขาดความรู้ หรือความรู้ที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาจึงต้องการแสวงหาสารสนเทศเพื่อที่จะนำมาแก้ไขปัญหานั้น โดยทั่วไปความต้องการสารสนเทศของบุคคลเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการ ด้านต่างๆ เช่น ความต้องการพื้นฐานด้านร่างกาย จิตใจ หรืออารมณ์ ความต้องการหน้าที่การงาน ต้องการด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม

ความหมายของความต้องการสารสนเทศ 2 ความต้องการสารสนเทศ (Information needs) ความต้องการสารสนเทศเกิดขึ้นเมื่อ เมื่อบุคคลอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ หรือต้องการหาคำตอบ ข้อเท็จจริง เพื่อแก้ปัญหาหรือทำความเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยที่ตนเอง ยังไม่มีความรู้ ในเรื่องนั้นเพียงพอ ความต้องการสารสนเทศแบบรีบด่วน (ต้องการสารสนเทศไปใช้ทันที) และความต้องการแบบไม่รีบด่วน (เก็บรวบรวมสารสนเทศไว้ใช้ในอนาคต)

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ (Information Requirements Analysis) ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ เป็นกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ มี 3 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 1. การกำหนดความต้องการสารสนเทศ 2. การกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศ 3. การวางแผนการค้นหาสารสนเทศ

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ เป็นการกำหนดความต้องการ โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของเรื่อง ที่มีความต้องการสารสนเทศ ว่าควรประกอบด้วยแนวคิด/ประเด็นสำคัญอะไรบ้าง โดยกำหนดเป็นหัวข้อ ซึ่งในแต่ละหัวข้อ อาจจะประกอบด้วย หัวข้อรองและหัวข้อย่อย เป็นการแตกย่อยแนวคิด/ประเด็น ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น การกำหนดความต้องการสารสนเทศ มีขั้นตอนดังนี้ 1) การเลือกเรื่องและกำหนดหัวข้อ/ชื่อเรือง (Topic/Title) ที่จะค้นคว้า 2) ขยายแนวคิด/ประเด็น 3) กำหนดขอบเขต หรือ กรอบความต้องการสารสนเทศ 4) กำหนดคำสำคัญ (Keyword)

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ ฃ 1) การเลือกเรื่องและกำหนดหัวข้อ/ชื่อเรือง (Topic) ที่จะค้นคว้า คือ การกำหนดเรื่องที่จะทำ มีวิธีการคือ ค้นหาความสนใจ/ความต้องการของตนเองที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งความสนใจ/ความต้องการนั้น ยังอาจยังไม่ได้รับคำตอบหรือไม่ได้รับคำตอบเพียงพอ เช่น นักศึกษาสนใจเรื่อง “ธูปหอม” ต้องการทำธุรกิจขายธูป จึงต้องศึกษา รายละเอียดและวิธีการผลิตธูปหอม รวมถึงข้อมูลอื่นๆ มาประกอบการ วางแผนธุรกิจ

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ ฃ หลักเกณฑ์การเลือกหัวข้อปัญหา เลือกจากความสนใจของตนเองเป็นที่ตั้ง เลือกปัญหาที่ตรงกับความสามารถของตนเอง คำนึงถึงความเหมาะสมในเรื่องของเวลา คำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยในการศึกษา/ทำวิจัย เช่น - ปัญหานั้นจะได้รับความร่วมมือมากน้อยเพียงใด - มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือไม่ หรือผู้วิจัยต้องสร้างขึ้นเอง - ปัญหานั้นมีแหล่งค้นคว้าหรือไม่

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนกำหนดหัวข้อ/ชื่อเรือง (Topic) กำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อ.......................... กำหนดหัวข้อ/ชื่อเรื่อง โดยหัวข้อ/ชื่อเรื่อง มาจาก ปัญหา เรื่องราวที่ต้องการแก้ไขหรือต้องการคำตอบ ทำความเข้าใจกับปัญหา หรือ เรื่องราวนั้นๆ ในเรื่อง สาเหตุ/ความเป็นมา ความสำคัญ/ความจำเป็น มีผลต่อชีวิตประจำวันอย่างไร ทำไมจึงต้องการ คำตอบฯลฯโดยวิธีการครุ่นคิด หรือ อภิปรายกลุ่ม ค้นหาคำ (Words) ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาษาไทย และ ภาษาสากล หาคำนิยาม หรือคำจำกัดความ ค้นหาประเด็นย่อยๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่อง/ชื่อเรื่อง (Topic) โดยการค้นคว้า อย่างคร่าวๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ ตัวอย่างหัวข้อ/ชื่อเรือง ที่เหมาะสมในการทำรายงาน หมายเหตุ ทำเรื่องอะไรก็ได้ ยกเว้นเรื่อง “สารสนเทศ” เศรษฐกิจพอเพียง โครงการในพระราชดำริฝนหลวง การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ เขื่อนสำคัญในประเทศไทย เทคโนโลยี tablet pc กับการศึกษาไทย การใช้ Social Media กับการเรียนการสอนอุดมศึกษายุคใหม่ การปลูกข้าวมะลิเพื่อการส่งออก ภาวะโลกร้อน สึนามิ ประชาคมอาเซียน เป็นต้น

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ 2) ขยายแนวคิด/ประเด็นที่จำเป็นจากวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ต้องการศึกษา ค้นคว้า โดย ใช้แหล่งสารสนเทศ เพื่อช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการศึกษาค้นคว้า ใช้ความรู้พื้นฐานที่มีอยู่เดิมขยายไปสู่ความรู้ใหม่

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ 2) ขยายแนวคิด/ประเด็นที่จำเป็น (ต่อ) หลังจากทำการเลือกเรื่องและกำหนดหัวข้อ/ชื่อเรือง ขั้นตอนต่อมา คือ กำหนดประเด็นย่อย หรือแนวคิดย่อยในการศึกษา โดยใช้คำที่แสดงประเด็น เนื้อหาย่อยๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำการศึกษา เช่น ความเป็นมา, ความหมาย, แนวคิด, เป้าหมาย, หลักการ, คุณลักษณะ, องค์ประกอบ, ประโยชน์, กรณีศึกษา, ตัวอย่าง, การประยุกต์ใช้, ผลกระทบ, แนวโน้ม, สถานการณ์ เป็นต้น

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ ตัวอย่าง การขยายแนวคิด/ประเด็นที่จำเป็น “เศรษฐกิจพอเพียง” ความเป็นมา ความหมาย/แนวคิด เป้าหมาย หลักการ/คุณลักษณะ กรณีศึกษา/ตัวอย่าง 5.1) บุคคล 5.2) องค์กร/หน่วยงาน 5.3) ภาครัฐ/เอกชน 5.4) โครงการพระราชดำริ 6) การประยุกต์ใช้ 6.1) ชีวิต+จิตใจ 6.2) สังคม 6.3) การบริหารจัดการ 6.4) สิ่งแวดล้อม/ทรัพยากรธรรมชาติ 6.5) เทคโนโลยี/นวัตกรรม 6.6) วัฒนธรรม 6.7) เศรษฐกิจ 6.8) การศึกษา

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ 3) กำหนดขอบเขต หรือ กรอบความต้องการสารสนเทศ โดยนำความรู้ความเข้าใจที่สรุปได้จากประสบการณ์การเรียนรู้ของแต่ละคน มาเชื่อมโยงแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดหลัก และแนวคิดย่อยๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งอาจเขียนอยู่ในรูปแผนที่ความคิด (Conceptual Mapping หรือ Mind Map)

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ แผนผังความคิด หรือแผนที่ความคิด (Mind Map) แผนผังความคิด คือ การถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมอง ลงกระดาษ โดยการใช้ภาพ สี เส้น และการโยงใย แทนการจดย่อแบบเดิม ที่เป็นบรรทัด ๆ เรียงจากบนลงล่าง ทำให้สามารถเห็นภาพรวม และเปิดโอกาสให้สมองได้เชื่อมโยง ต่อข้อมูลหรือความคิดต่าง ๆ เข้าหากันได้ง่าย แผนผังความคิด ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่าง ความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน” สรุป ลักษณะการเขียนผังความคิด เทคนิคการคิดคือ นำประเด็นใหญ่ ๆ มาเป็นหลัก แล้วต่อด้วยประเด็นรองในชั้นถัดไป

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนการสร้างแผนผังความคิด หรือแผนที่ความคิด (Mind Map) 1. เขียน/วาดมโนทัศน์หลักตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ 2. เขียน/วาดมโนทัศน์รองที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์หลักไปรอบ ๆ 3. เขียน/วาดมโนทัศน์ย่อยที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์รองแตกออกไปเรื่อย ๆ 4. ใช้ภาพหรือสัญลักษณ์สื่อความหมายเป็นตัวแทนความคิดให้มากที่สุด 5. เขียนคำสำคัญ (Key word) บนเส้นและเส้นต้องเชื่อมโยงกัน 6. กรณีใช้สี ทั้งมโนทัศน์รองและย่อยควรเป็นสีเดียวกัน 7. คิดอย่างอิสระมากที่สุดขณะทำ สรุป เขียนคำหลัก หรือข้อความสำคัญของเรื่องไว้กลาง โยงไปยังประเด็นรองรอบๆ ตามแต่ว่าจะมีกี่ประเด็น

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ วิธีการเขียน Mind Map 1. เตรียมกระดาษเปล่าที่ไม่มีเส้นบรรทัดและวางกระดาษภาพแนวนอน 2. วาดภาพสีหรือเขียนคำหรือข้อความที่สื่อหรือแสดงถึงเรื่องจะทำ Mind Map กลางหน้ากระดาษ โดยใช้สีอย่างน้อย 3 สี และต้องไม่ตีกรอบด้วยรูปทรงเรขาคณิต 3. คิดถึงหัวเรื่องสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของเรื่องที่ทำ Mind Map โดยให้เขียนเป็นคำที่มีลักษณะเป็นหน่วย หรือเป็นคำสำคัญ (Key Word) สั้น ๆ ที่มีความหมายบนเส้น ซึ่งเส้นแต่ละเส้นจะต้องแตกออกมาจากศูนย์กลางไม่ควรเกิน 8 กิ่ง 4. แตกความคิดของหัวเรื่องสำคัญแต่ละเรื่องในข้อ 3 ออกเป็นกิ่ง ๆ หลายกิ่ง โดยเขียนคำ หรือ วลีบนเส้นที่แตกออกไป ลักษณะของกิ่งควรเอนไม่เกิน 60 องศา

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ วิธีการเขียน Mind Map (ต่อ) 5. แตกความคิดรองลงไปที่เป็นส่วนประกอบของแต่ละกิ่ง ในข้อ 4 โดยเขียนคำ หรือวลีเส้นที่แตกออกไป ซึ่งสามารถแตกความคิดออกไปเรื่อย ๆ 6. การเขียนคำ ควรเขียนด้วยคำที่เป็นคำสำคัญ (Key Word) หรือคำหลัก หรือเป็นวลีที่มี ความหมายชัดเจน 7. คำ วลี สัญลักษณ์ หรือรูปภาพใดที่ต้องการเน้น อาจใช้วิธีการทำให้เด่น เช่น การล้อมกรอบ หรือใส่กล่อง เป็นต้น 8. ตกแต่ง Mind Map ที่เขียนด้วยความสนุกสนานทั้งภาพและแนวคิด ที่เชื่อมโยง ต่อกัน

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ วิธีการเขียน Mind Map (ต่อ)

แผนผังความคิด หรือแผนที่ความคิด (Mind Map) หัวข้อ “ธูปหอม”

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ การนำไปใช้งาน 1. ใช้ระดมพลังสมอง 2. ใช้นำเสนอข้อมูล 3. ใช้จัดระบบความคิดและช่วยความจำ 4. ใช้วิเคราะห์เนื้อหาหรืองานต่าง ๆ 5. ใช้สรุปหรือสร้างองค์ความรู้

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ 4) กำหนดคำสำคัญ เมื่อสามารถกำหนดและสามารถแจกแจงประเด็น/แนวคิด (Concepts) เป็นประเด็นแนวคิดหลัก และประเด็นแนวคิดย่อยได้แล้ว จึงนำประเด็นแนวคิดนั้นๆ มากำหนด คำสำคัญ (Keywords) เพื่อใช้เป็นคำค้นในการสืบค้นสารสนเทศ คำสำคัญ คือ คำที่มีความหมายแทนหัวข้อหรือเรื่องที่ต้องการสืบค้น รวมทั้งเป็นคำ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ต้องการอีกด้วย อาจเป็นคำโดดๆ หรือเป็นวลีก็ได้ เช่น เศรษฐกิจพอเพียง, ทฤษฎีใหม่, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, โครงการในพระราชดำริ, เกษตรผสมผสาน, ไร่นาสวนผสม, เศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษา เป็นต้น

ตัวอย่าง การกำหนดคำสำคัญ และประเด็นแนวคิด เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ ตัวอย่าง การกำหนดคำสำคัญ และประเด็นแนวคิด เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ประเด็นแนวคิด คำสำคัญ ความหมาย เศรษฐกิจพอเพียง (คำค้นหลัก) แนวคิด/หลักการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (คำค้นรอง) การประยุกต์ใช้-วัฒนธรรม เศรษฐกิจพอเพียงกับวัฒนธรรม (คำค้นรอง) การประยุกต์ใช้-การศึกษา เศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษา (คำค้นรอง) กรณีศึกษา/ตัวอย่าง โครงการในพระราชดำริ/ตัวอย่าง (คำค้นรอง)

คำค้นอื่นที่มีความหมายเหมือน/ใกล้เคียงกัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ ตัวอย่าง การกำหนดคำสำคัญ และประเด็นแนวคิด (ต่อ) เรื่อง การดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเอดส์ที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ประเด็น คำค้น คำค้นอื่นที่มีความหมายเหมือน/ใกล้เคียงกัน ประเด็นหลัก ผู้ป่วยโรคเอดส์ คนไข้ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม ประเด็นรอง การดูแลสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ ประเด็นอื่นๆ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคอีสาน

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.2 การกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ เมื่อได้หัวข้อ และ ขอบเขต ของสารสนเทศที่ต้องการแล้ว ต้องกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศ โดยจะต้องพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของความต้องการสารสนเทศ ว่าจะใช้เพื่อกิจกรรมใด กิจกรรมนั้น มีลักษณะที่พิเศษ มีคุณค่าอย่างไร เช่น หากต้องการสารสนเทศ เพื่อใช้เป็นหัวข้อพูดคุยกับเพื่อน คุณลักษณะของสารสนเทศอาจจะไม่จำเป็นต้องลงลึกในเชิงวิชาการ สามารถใช้แหล่งสารสนเทศง่ายๆ ในชีวิตประจำวันได้ เช่น สื่อมวลชน ประเภท โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แต่หากมีวัตถุประสงค์เพื่อการเรียน เพื่อการทำงาน หรืออื่นๆ ที่มีคุณค่าสูง อาจต้องเลือกแหล่งสารสนเทศที่สอดคล้องกับเรื่องที่ต้องการ เช่น สถาบัน (ห้องสมุด) อินเทอร์เน็ต ในเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ เป็นต้น

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.2 การกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ คุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องพิจารณา 1) ความแคบหรือกว้างของเนื้อหา 2) ลักษณะหรือธรรมชาติของข้อมูล 3) ปริมาณข้อมูล 4) ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ 5) อายุของข้อมูล 6) คุณภาพของข้อมูล 7) ภาษาของข้อมูล

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.2 การกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ 1) ความแคบหรือกว้างของเนื้อหา (Content) พิจารณาว่าต้องการความรู้กว้างๆ หรือหัวข้อเรื่องที่เฉพาะเจาะจง ไปในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.2 การกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ 2) ลักษณะหรือธรรมชาติของข้อมูล (Nature) ในสารสนเทศเรื่องเดียวกันนั้น ต้องการสารสนเทศที่มีลักษณะแบบใด หลากหลายหรือไม่ เช่น เป็นรูปภาพ ตัวเลข หรือข้อความ เป็นต้น

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.2 การกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ 3) ปริมาณข้อมูล (Quantity) สารสนเทศที่ใช้ประกอบต้องการมีปริมาณมากหรือน้อย จำนวนเท่าไหร่ ปริมาณข้อมูลขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.2 การกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ 4) รูปแบบ/ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ (Format) ต้องการสารสนเทศประเภทใด เช่น อินเทอร์เน็ต บทความวารสาร บทความวิจัย สื่อประสม บทความในสารานุกรม ซีดี-รอม สื่อโสตทัศน์ เทปเสียง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.2 การกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ 5) อายุของข้อมูล (Data Range) สารสนเทศที่ต้องการอยู่ในช่วงระยะเวลาใด เป็นสารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน หรือสารสนเทศเชิงประวัติศาสตร์ เช่น ถ้าเป็นสารสนเทศทางประวัติศาสตร์ ผู้ใช้จะต้องการสารสนเทศย้อนหลังมาก ช่วงระยะเวลาจะกว้าง อาจต้องศึกษาเอกสารโบราณประกอบ แต่ถ้าเป็นสารสนเทศทางด้านวิทยาศาสตร์ ผู้ใช้มักต้องการสารสนเทศ ที่ทันสมัยในช่วงเวลาสั้นๆ เป็นต้น

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.2 การกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ 6) คุณภาพของข้อมูล (Quality) หมายถึง ความถูกต้องของเนื้อหา ความน่าเชื่อถือของเนื้อหา เป็นต้น ซึ่งสามารถ พิจารณาจากผู้เขียน และสำนักพิมพ์ ที่เป็นผู้จัดทำ สารสนเทศนั้นๆ

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.2 การกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ 7) ภาษาของข้อมูล (Language) ข้อมูลที่ต้องการเป็นภาษาใด ภาษาไทยหรือต่างประเทศ ข้อมูลที่เป็นศัพท์เทคนิค หรือศัพท์เฉพาะทาง เช่น ศัพท์ทางการแพทย์ ศัพท์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.3 การวางแผนการค้นหาสารสนเทศ การวางแผน หมายถึง กระบวนการของการพิจารณาตัดสินใจล่วงหน้า ว่าจะทำอะไร อย่างไร มีการเลือกวัตถุประสงค์ นโยบาย โครงการ และวิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้นอย่างไร ในการวางแผนการค้นหาสารสนเทศ ต้องพิจารณาสิ่งที่เกี่ยวข้อง ในการค้นหา ได้แก่ 1. ห้วงเวลาในการแสวงหาสารสนเทศ 2. แหล่งสารสนเทศที่จะใช้ค้นหา 3. ทรัพยากรสารสนเทศที่จะใช้

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.3 การวางแผนการค้นหาสารสนเทศ ขั้นตอนการวางแผน 1. กำหนดประเด็นที่ต้องการจะค้นหา เช่น เรื่อง หรือ ขอบเขตเนื้อหา ที่ต้องการจะสืบค้น 2. กำหนดคำ คำสำคัญและหัวเรื่องที่จะใช้สืบค้น 3. กำหนดแหล่งสารสนเทศที่จะไปค้นหาข้อมูล 4. กำหนดเครื่องมือที่จะใช้ในการสืบค้นข้อมูล

การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.3 การวางแผนการค้นหาสารสนเทศ ประโยชน์ของการวางแผน 1. ได้รับสารสนเทศที่ต้องการอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน 2. สามารถกำหนดคำค้นได้ตรงกับความต้องการ 3. ช่วยให้เลือกเครื่องมือช่วยค้นได้อย่างรวดเร็ว