สมรรถนะ (Competency) สมรรถนะ (Competency) โดย รศ.สุรชัย ขวัญเมือง โดย รศ.สุรชัย ขวัญเมือง สมรรถนะ (Competency) โดย รศ.สุรชัย ขวัญเมือง
ประเด็นที่นำเสนอ ความหมายของสมรรถนะ ที่มาของสมรรถนะ ประเภทของสมรรถนะ สมรรถนะหลัก สมรรถนะประจำสายงาน สมรรถนะหลัก (Core Competency) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation) การบริการที่ดี (Service Mind) การพัฒนาตนเอง (Expertise) การมีจริยธรรม (Integrity) การสร้างทีมงาน (Teamwork)
ประเด็นที่นำเสนอ ความหมายของสมรรถนะ ที่มาของสมรรถนะ ประเภทของสมรรถนะ สมรรถนะหลัก สมรรถนะประจำสายงาน สมรรถนะประจำสายงาน (Functional Competency) ความเป็นผู้นำ (Leadership) ความคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic thinking) การตัดสินใจแก้ไขปัญหา (Decision making) วิสัยทัศน์ (Vision)
แนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะ (Competency) คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ทักษะ/ความสามารถและคุณลักษณะอื่น ทำให้บุคคลสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นในองค์กร เป็นคุณลักษณะต่างๆ ของบุคคลซึ่งเป็นปัจจัยบ่งชี้ว่าบุคคลนั้นจะปฏิบัติงานได้อย่างโดดเด่นในงานหนึ่งๆ
ส่วนที่มองเห็น ส่วนที่ซ่อนเร้น ที่มาของสมรรถนะ... (Iceberg Model) ความรู้ ประสบการณ์ที่สั่งสมในอดีต การฝึกฝนปฏิบัติ องค์ความรู้ และ ทักษะต่างๆ ส่วนที่มองเห็น บทบาททางสังคม (Social Role) ภาพลักษณ์ภายใน (Self-Image) อุปนิสัย (Traits) แรงผลักดันเบื้องลึก (Motives) ส่วนที่ซ่อนเร้น ดัดแปลงจาก สำนักงาน ก.พ.
ที่มาของสมรรถนะ... (Iceberg Model) ข้อมูลความรู้ที่บุคคลมีในสาขาต่างๆ ความเชี่ยวชาญ ชำนาญพิเศษ ในด้านต่างๆ องค์ความรู้ และ ทักษะต่างๆ บทบาทที่บุคคลแสดงออกต่อผู้อื่น ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับเอกลักษณ์และคุณค่าของตน บทบาททางสังคม (Social Role) ภาพลักษณ์ภายใน (Self-Image) อุปนิสัย (Traits) แรงผลักดันเบื้องลึก (Motives) จินตนาการ แนวโน้มวิธีคิด วิธีปฏิบัติตนอันเป็นไปโดยธรรมชาติของบุคคล ความเคยชิน พฤติกรรมซ้ำๆ ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ดัดแปลงจาก สำนักงาน ก.พ.
ความหมายสมรรถนะ : คุณลักษณะที่ซ่อนอยู่ในตัวบุคคล ที่ผลักดันให้บุคคลสร้างผลการปฏิบัติงานในงานที่ตนรับผิดชอบให้สูงกว่าเกณฑ์หรือเป้าหมายที่กำหนด (McClelland , 1973) : ลักษณะของทักษะ ความรู้ และทัศนคติที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ณ สถานการณ์หนึ่งๆ หรือเฉพาะงานนั้นๆ (Rylatt & Lohan, 1995)
-มากกว่าเพื่อนร่วมงานอื่น ๆ -ในสถานการณ์หลากหลายกว่า : คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ/ความสามารถ และคุณลักษณะอื่น ๆ ที่ทำให้บุคคลสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานอื่น ๆ ในองค์กร (สำนักงาน ก.พ.) สรุป สมรรถนะ คือ ความรู้ ทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานใดงานหนึ่งให้สำเร็จและโดดเด่นกว่าคนอื่น ๆ ในเชิงพฤติกรรม เช่น -มากกว่าเพื่อนร่วมงานอื่น ๆ -ในสถานการณ์หลากหลายกว่า -ได้ผลงานดีกว่าผู้อื่น
คุณลักษณะที่นำมาใช้ในการทำงานจนประสบความสำเร็จ ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ สมรรถนะ และผลงาน ความรู้ที่นำมาประยุกต์ใช้ ในการทำงานจนประสบความสำเร็จ สมรรถนะ 1 องค์ความรู้ และ ทักษะต่างๆ ผลงาน สมรรถนะ 2 ทักษะที่นำมาใช้ในการทำงานจนประสบความสำเร็จ สมรรถนะ 3 บทบาททางสังคม (Social Role) ภาพลักษณ์ภายใน (Self-Image) อุปนิสัย (Traits) แรงผลักดันเบื้องลึก (Motives) คุณลักษณะที่นำมาใช้ในการทำงานจนประสบความสำเร็จ สมรรถนะ 4 สมรรถนะ 5 ดัดแปลงจาก สำนักงาน ก.พ.
ประโยชน์ของสมรรถนะ 1. ช่วยสนับสนุนวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร 2. เป็นกรอบในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร 3. เป็นเครื่องมือในการบริหารพัฒนา เพิ่มขีดความสามารถของพนักงานในองค์กร 3.1 คัดเลือกบุคคลหรือคณะทำงาน 3.2 ใช้แนวทางการวางแผนพัฒนาฝึกอบรม 3.3 เป็นแนวทางในการเลื่อนขั้น ปรับตำแหน่งงาน 3.4 เป็นแนวทางในการโยกย้ายตำแหน่งงาน 3.5 เป็นแนวทางในการประเมินผลการปฏิบัติงาน 3.6 ใช้ในการบริหารผลตอบแทน
ประเภทของสมรรถนะ : ข้าราชการฯสายสนับสนุน คุณภาพการปฏิบัติงาน 1. สมรรถนะหลัก (Core Competency) 1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 1.2 การบริการที่ดี 1.3 การพัฒนาตนเอง 1.4 การมีจริยธรรม 1.5 การทำงานเป็นทีม 2. สมรรถนะประจำสายงาน (Functional Competency) 2.1 ความเป็นผู้นำ 2.2 การคิดเชิงกลยุทธ์ 2.3 การตัดสินใจแก้ปัญหา 2.4 วิสัยทัศน์
ประเภทของสมรรถนะ : ข้าราชการฯสายสนับสนุน (Functional Competency) คุณภาพการปฏิบัติงาน สมรรถนะ การบริหารจัดการ สมรรถนะหลัก (Core Competency) สมรรถนะประจำสายงาน (Functional Competency) คุณลักษณะ (ความรู้ ทักษะ และพฤติกรรม) ที่ทุกคนจะต้องมี เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จ คุณลักษณะ (ความรู้ ทักษะ และพฤติกรรม) ที่ในแต่ละสายวิชาชีพจำเป็นต้องมี เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จ (สมรรถนะร่วม-เฉพาะตำแหน่ง) 1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2. การบริการที่ดี 3. การพัฒนาตนเอง 4. การมีจริยธรรม 5. การทำงานเป็นทีม 6. ความเป็นผู้นำ 7. การคิดเชิงกลยุทธ์ 8. การตัดสินใจแก้ไขปัญหา 9. วิสัยทัศน์
คำจำกัดความของสมรรถนะในราชการพลเรือน การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation – ACH) คำจำกัดความ : ความมุ่งมั่นจะปฏิบัติราชการให้ดีหรือให้เกินมาตรฐานที่มีอยู่ โดยมาตรฐานนี้อาจเป็นผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาของตนเอง หรือเกณฑ์วัดผลสัมฤทธิ์ที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น อีกทั้งยังหมายรวมถึงการสร้างสรรค์พัฒนาผลงานหรือกระบวนการปฏิบัติงานตามเป้าหมายที่ยากและท้าทายชนิดที่อาจไม่เคยมีผู้ใดสามารถ บริการที่ดี (Service Mind – SERV) คำจำกัดความ : สมรรถนะนี้เน้นความตั้งใจและความพยายามของข้าราชการในการให้บริการเพื่อสนองความต้องการของประชาชนตลอดจนของหน่วยงานภาครัฐอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
คำจำกัดความของสมรรถนะในราชการพลเรือน การพัฒนาตนเอง (Expertise- EXP) คำจำกัดความ : ความขวนขวาย สนใจใฝ่รู้ เพื่อสั่งสม พัฒนา ศักยภาพ ความรู้ ความสามารถของตนในการปฏิบัติราชการ ด้วยการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งรู้จักพัฒนา ปรับปรุง ประยุกต์ใช้ความรู้เชิงวิชาการและเทคโนโลยีต่างๆ เข้ากับการปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ การมีจริยธรรม (Integrity) คำจำกัดความ : สมรรถนะนี้เน้นที่ การครองตนและประพฤติปฏิบัติถูกต้องเหมาะสมทั้งตามหลักกฎหมายและคุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนหลักแนวทางในวิชาชีพของตนโดยมุ่งประโยชน์ขององค์กรมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
คำจำกัดความของสมรรถนะในราชการพลเรือน การทำงานเป็นทีม (Teamwork-TW) คำจำกัดความ : สมรรถนะนี้เน้นที่ 1.) ความตั้งใจที่จะทำงานร่วม กับผู้อื่นเป็นส่วนหนึ่งในทีมงาน หน่วยงาน หรือองค์กร โดยผู้ปฏิบัติมีฐานะเป็นสมาชิกในทีม มิใช่ในฐานะหัวหน้าทีมและ 2.) ความสามารถในการสร้างและดำรงรักษาสัมพันธภาพกับสมาชิกในทีม
การทำความเข้าใจสมรรถนะ สมรรถนะ (Competency) โดย รศ.สุรชัย ขวัญเมือง การทำความเข้าใจสมรรถนะ
การทำความเข้าใจสมรรถนะ ชื่อสมรรถนะ คำจำกัดความ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation -ACH) ความมุ่งมั่นจะปฏิบัติราชการให้ดีหรือให้เกินมาตรฐานที่มีอยู่โดยมาตรฐานนี้อาจเป็นผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาของตนเองหรือเกณฑ์วัดผลสัมฤทธิ์ที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น อีกทั้งยังหมายรวมถึงการสร้างสรรค์พัฒนาผลงานหรือกระบวนการปฏิบัติงานตามเป้าหมายที่ยากและท้าทายชนิดที่อาจไม่เคยมีผู้ใดสามารถกระทำได้มาก่อน
การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation - ACH) ระดับที่ 0 : ไม่แสดงสมรรถนะด้านนี้อย่างชัดเจน ระดับที่ 1 : แสดงความพยายามในการทำงานให้ดี * พยายามทำงานในหน้าที่ให้ดีและถูกต้อง * มีความมานะอดทน ขยันหมั่นเพียรในการทำงานและตรงต่อเวลา * มีความรับผิดชอบในงาน สามารถส่งงานได้ตามกำหนดเวลา * แสดงออกว่าต้องการทำงานให้ได้ดีขึ้น เช่น ถามถึงวิธีการ หรือขอคำแนะนำอย่างกระตือรือร้น สนใจใคร่รู้ * แสดงความเห็นในเชิงปรับปรุงพัฒนาเมื่อเห็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการสูญเปล่า หรือหย่อนประสิทธิภาพในงาน
การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation - ACH) ระดับที่ 2 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 1 และสามารถทำงานได้ผลงานตามเป้าหมายที่วางไว้ * กำหนดมาตรฐาน หรือเป้าหมายในการทำงานเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีขึ้น * หมั่นติดตามผลงาน และประเมินผลงานของตน โดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดยไม่ได้ถูกบังคับ เช่น ถามว่าผลงานดีหรือยัง หรือต้องปรับปรุงอะไรจึงจะดีขึ้น * ทำงานได้ตามผลงานตามเป้าหมายที่ผู้บังคับบัญชากำหนด หรือเป้าหมายของหน่วยงานที่รับผิดชอบ * มีความละเอียดรอบคอบเอาใจใส่ ตรวจตราความถูกต้องของงาน เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ
การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation - ACH) ระดับที่ 3 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 2 และสามารถทำงานได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น * ปรับปรุงวิธีการที่ทำให้ทำงานได้ดีขึ้น เร็วขึ้น มีคุณภาพดีขึ้น หรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น * เสนอหรือทดลองวิธีการทำงานแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม เพื่อให้ได้ผลงานตามที่กำหนดไว้
การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation - ACH) ระดับที่ 4 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 3 และสามารถพัฒนาวิธีการทำงาน เพื่อให้ได้ผลงานที่โดดเด่น และแตกต่างอย่างไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน * กำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย และเป็นไปได้ยาก เพื่อทำให้ได้ผลงานที่ดีกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด * ทำการพัฒนาระบบ ขั้นตอน วิธีการทำงาน เพื่อให้ได้ผลงานที่โดดเด่นและแตกต่างไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน
การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation - ACH) ระดับที่ 5 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 4 และสามารถตัดสินใจได้ แม้จะมีความเสี่ยง เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย * ตัดสินใจได้ โดยมีการคำนวณผลได้ผลเสียอย่างชัดเจน และดำเนินการ เพื่อให้ภาครัฐและประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด * บริหารจัดการและทุ่มเทเวลา ตลอดจนทรัพยากร เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อภารกิจของหน่วยงานตามที่วางแผนไว้
การทำความเข้าใจสมรรถนะ ชื่อสมรรถนะ คำจำกัดความ บริการที่ดี (Service Mind - SERV) คำจำกัดความ : สมรรถนะนี้เน้น ความตั้งใจและความพยายามของข้าราชการในการให้บริการเพื่อสนองความต้องการของประชาชนตลอดจนของหน่วยงานภาครัฐอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
บริการที่ดี (Service Mind - SERV) ระดับที่ 0 : ไม่แสดงสมรรถนะด้านนี้อย่างชัดเจน ระดับที่ 1 : แสดงความเต็มใจในการให้บริการ * ให้บริการที่เป็นมิตร สุภาพ เต็มใจต้อนรับ * ให้บริการด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี และสร้างความประทับใจแก่ผู้รับบริการ * ให้คำแนะนำ และคอยติดตามเรื่อง เมื่อผู้รับบริการมีคำถาม ข้อเรียกร้องที่เกี่ยวกับภารกิจของหน่วยงาน
บริการที่ดี (Service Mind - SERV) ระดับที่ 2 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 1 และสามารถให้บริการที่ผู้รับบริการต้องการได้ * ให้ข้อมูล ข่าวสาร ของการบริการที่ถูกต้อง ชัดเจน แก่ผู้รับบริการได้ตลอดการให้บริการ * แจ้งให้ผู้รับบริการทราบความคืบหน้าในการดำเนินเรื่อง หรือขั้นตอนงานต่างๆที่ให้บริการอยู่ * ประสานงานภายในหน่วยงาน และกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับบริการที่ต่อเนื่องและรวดเร็ว
บริการที่ดี (Service Mind - SERV) ระดับที่ 3 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 2 และเต็มใจช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้รับบริการได้ * รับเป็นธุระ ช่วยแก้ปัญหาหรือหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ผู้รับบริการอย่างรวดเร็ว เต็มใจ ไม่บ่ายเบี่ยง ไม่แก้ตัว หรือปัดภาระ * คอยดูแลให้ผู้รับบริการได้รับความพึงพอใจและนำข้อขัดข้องใดๆ ในการให้บริการ (ถ้ามี) ไปพัฒนาการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น
บริการที่ดี (Service Mind - SERV) ระดับที่ 4 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 3 และให้บริการที่เกินความคาดหวังในระดับทั่วไป แม้ต้องใช้เวลาหรือความพยายามอย่างมาก * ให้เวลาแก่ผู้รับบริการ โดยเฉพาะเมื่อผู้รับบริการประสบความยากลำบาก เช่น ให้เวลาและความพยายามพิเศษในการให้บริหาร เพื่อช่วยผู้รับบริการแก้ปัญหา * คอยให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานที่กำลังให้บริการอยู่ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้รับบริการ แม้ว่าผู้รับบริการจะไม่ได้ถามถึง หรือไม่ทราบมาก่อน * ให้บริการที่เกินความคาดหวังในระดับทั่วไป
บริการที่ดี (Service Mind - SERV) ระดับที่ 5 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 4 และสามารถเข้าใจและให้บริการที่ตรงตามความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการได้ * เข้าใจความจำเป็นหรือความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการ และ/หรือ ใช้เวลาแสวงหาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับความจำเป็นหรือความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการ * ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่ผู้รับบริการ เพื่อสนองตอบความจำเป็นหรือความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการ
บริการที่ดี (Service Mind - SERV) ระดับที่ 6 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 5 และสามารถให้บริการที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริงและยั่งยืนให้กับผู้รับบริการ * เล็งเห็นผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้รับบริการในระยะยาว และสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีหรือขั้นตอนการให้บริการ เพื่อให้ผู้รับบริการได้ประโยชน์สูงสุด * ปฏิบัติตนเป็นที่ปรึกษาที่ผู้รับบริการไว้วางใจ ตลอดจนมีส่วนช่วยในการตัดสินใจของผู้รับบริการ * สามารถให้ความเห็นส่วนตัวที่อาจแตกต่างไปจากวิธีการ หรือขั้นตอนที่ผู้รับบริการต้องการ เพื่อให้สอดคล้องกับความจำเป็น ปัญหา โอกาส ฯลฯ เพื่อเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงหรือในระยะยาวแก่ผู้รับบริการ
การทำความเข้าใจสมรรถนะ ชื่อสมรรถนะ คำจำกัดความ การพัฒนาตนเอง (Expertise- EXP) ความขวนขวายสนใจใฝ่รู้ เพื่อสั่งสม พัฒนาศักยภาพ ความรู้ ความสามารถของตนในการปฏิบัติราชการ ด้วยการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งรู้จักพัฒนา ปรับปรุง ประยุกต์ใช้ความรู้เชิงวิชาการและเทคโนโลยีต่างๆ เข้ากับการปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์
การพัฒนาตนเอง (Expertise- EXP) ระดับที่ 0 : ไม่แสดงสมรรถนะด้านนี้อย่างชัดเจน ระดับที่ 1 : แสดงความสนใจและติดตามความรู้ใหม่ๆในสาขาอาชีพของตน / ที่เกี่ยวข้อง * กระตือรือร้นในการศึกษาหาความรู้ สนใจเทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาอาชีพของตน * หมั่นทดลองวิธีการทำงานแบบใหม่ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและความรู้ความสามารถของตนให้ดียิ่งขึ้น * ติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอด้วยการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการ
การพัฒนาตนเอง (Expertise- EXP) ระดับที่ 2 :แสดงสมรรถนะระดับที่ 1 และมีความรู้ในวิชาการ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ในสาขาอาชีพของตน * รอบรู้เท่าทันเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ใหม่ๆ ในสาขาอาชีพของตนและที่เกี่ยวข้อง หรืออาจมีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตน * ติดตามแนวโน้มวิทยาการที่ทันสมัย และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับงานอย่างต่อเนื่อง
การพัฒนาตนเอง (Expertise- EXP) ระดับที่ 3 :แสดงสมรรถนะระดับที่ 2 และสามารถนำความรู้ วิทยาการ หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ได้ศึกษามาปรับใช้กับการทำงาน * เข้าใจประเด็นหลักๆนัยสำคัญ และผลกระทบของวิทยาการต่างๆ อย่างลึกซึ้ง * สามารถนำวิชาการ ความรู้ หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้ * สั่งสมความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ และเล็งเห็นประโยชน์ ความสำคัญขององค์ความรู้ เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่องานของตนในอนาคต
การพัฒนาตนเอง (Expertise- EXP) ระดับที่ 4 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 3 และศึกษา พัฒนาตนเองให้มีความรู้ และความเชี่ยวชาญในงานมากขึ้น ทั้งในเชิงลึก และเชิงกว้างอย่างต่อเนื่อง * มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เกี่ยวกับงานหลายด้าน (สหวิทยาการ) และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ให้ปฏิบัติได้อย่างกว้างขวางครอบคลุม * สามารถนำความรู้เชิงบูรณาการของตนไปใช้ในการสร้างวิสัยทัศน์ เพื่อการปฏิบัติงานในอนาคต * ขวนขวายหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานทั้งเชิงลึกและเชิงกว้างอย่างต่อเนื่อง
การพัฒนาตนเอง (Expertise- EXP) ระดับที่ 5 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 4 และสนับสนุนการทำงานของคนในองค์กรที่เน้นความเชี่ยวชาญในวิทยาการด้านต่างๆ * สนับสนุนให้เกิดบรรยากาศแห่งการพัฒนาความเชี่ยวชาญในองค์กร ด้วยการจัดสรรทรัพยากร เครื่องมือ อุปกรณ์ที่เอื้อต่อการพัฒนา * ให้การสนับสนุน ชมเชย เมื่อมีผู้แสดงออกถึงความตั้งใจที่จะพัฒนาความเชี่ยวชาญในงาน * มีวิสัยทัศน์ในการเล็งเห็นประโยชน์ของเทคโนโลยี องค์ความรู้หรือวิทยาการใหม่ๆ ต่อการปฏิบัติงานในอนาคต และสนับสนุนส่งเสริมให้มีการนำมาประยุกต์ใช้ในหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง
การทำความเข้าใจสมรรถนะ ชื่อสมรรถนะ คำจำกัดความ จริยธรรม (Integrity) การครองตนและประพฤติปฏิบัติถูกต้องเหมาะสมทั้งตามหลักกฎหมายและคุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนหลักแนวทางในวิชาชีพของตนโดยมุ่งประโยชน์ขององค์กรมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ทั้งนี้เพื่อธำรงรักษาศักดิ์ศรีแห่งอาชีพ อีกทั้งเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนผลักดันให้ภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
จริยธรรม (Integrity) ระดับที่ 0 : ไม่แสดงสมรรถนะด้านนี้อย่างชัดเจน ระดับที่ 1 :มีความซื่อสัตย์สุจริต * ปฏิบัติหน้าที่ดัวยความโปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต ถูกต้องทั้งตามกฎหมาย จริยธรรม และระเบียบวินัย * แสดงความคิดเห็นของตนตามหลักวิชาชีพอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา
จริยธรรม (Integrity) ระดับที่ 2 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 1 และมีสัจจะเชื่อถือได้ * รักษาวาจา มีสัจจะเชื่อถือได้ พูดอย่างไรทำอย่างนั้น ไม่บิดเบือนอ้างข้อยกเว้นให้ตนเอง * มีจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในความเป็นข้าราชการ อุทิศแรงกายแรงใจผลักดันให้ภารกิจหลักของตนและหน่วยงานบรรลุผล เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาประเทศชาติและสังคมไทย
จริยธรรม (Integrity) ระดับที่ 3 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 2 และยึดมั่นในหลักการ * ยึดมั่นในหลักการและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ไม่เบี่ยงเบนด้วยอคติหรือผลประโยชน์ส่วนตน * เสียสละความสุขสบายตลอดจนความพึงพอใจส่วนตนหรือของครอบครัวโดยมุ่งให้ภารกิจในหน้าที่สัมฤทธิ์ผลเป็นสำคัญ
จริยธรรม (Integrity) ระดับที่ 4 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 3 และธำรงความถูกต้อง * ธำรงความถูกต้อง ยืนหยัดพิทักษ์ผลประโยชน์และชื่อเสียงของประเทศชาติแม้ในสถานการณ์ที่อาจสร้างความลำบากใจให้ * ตัดสินใจในหน้าที่ ปฏิบัติราชการด้วยความถูกต้อง โปร่งใส เป็นธรรม แม้ผลของการปฏิบัติอาจสร้างศัตรูหรือก่อความไม่พึงพอใจให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือเสียประโยชน์
จริยธรรม (Integrity) ระดับที่ 5 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 4 และอุทิศตนเพื่อผดุงความยุติธรรม * ธำรงความถูกต้อง ยืนหยัดพิทักษ์ผลประโยชน์และชื่อเสียงของประเทศชาติแม้ในสถานการณ์ที่อาจเสี่ยงต่อความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่การงานหรืออาจเสี่ยงภัยต่อชีวิต
การทำความเข้าใจสมรรถนะ ชื่อสมรรถนะ คำจำกัดความ การทำงานเป็นทีม (Teamwork – TW) ความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นส่วนหนึ่งในทีมงาน หน่วยงาน หรือองค์กร โดยผู้ปฏิบัติมีฐานะเป็นสมาชิกในทีม มิใช่ในฐานะหัวหน้าทีม และความสามารถในการสร้างและดำรงรักษาสัมพันธภาพกับสมาชิกในทีม
การทำงานเป็นทีม (Teamwork – TW) ระดับที่ 0 : ไม่แสดงสมรรถนะด้านนี้อย่างชัดเจน ระดับที่ 1 :ทำหน้าที่ของตนในทีมให้สำเร็จ * ทำงานในส่วนที่ตนได้รับมอบหมายได้สำเร็จ สนับสนุนการตัดสินใจในกลุ่ม * รายงานให้สมาชิกทราบความคืบหน้าของการดำเนินงานในกลุ่ม หรือข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานอย่างต่อเนื่อง
การทำงานเป็นทีม (Teamwork – TW) ระดับที่ 2 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 1 และให้ความร่วมมือในการทำงานกับเพื่อนร่วมงาน * สร้างสัมพันธ์ เข้ากับผู้อื่นในกลุ่มได้ดี * เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้ความร่วมมือกับผู้อื่นในทีมด้วยดี * กล่าวถึงเพื่อนร่วมงานในเชิงสร้างสรรค์
การทำงานเป็นทีม (Teamwork – TW) ระดับที่ 3 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 2 และประสานความร่วมมือของสมาชิกในทีม * รับฟังความเห็นของสมาชิกในทีม เต็มใจเรียนรู้จากผู้อื่น รวมถึงผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน * ประมวลความคิดเห็นต่างๆ มาใช้ประกอบการตัดสินใจหรือวางแผนงานร่วมกันเป็นทีม * ประสานและส่งเสริมสัมพันธภาพอันดีในทีม เพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การทำงานเป็นทีม (Teamwork – TW) ระดับที่ 4 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 3 และสนับสนุนและช่วยเหลืองานเพื่อนร่วมทีมคนอื่นๆ เพื่อให้งานประสบความสำเร็จ * กล่าวชื่นชมให้กำลังใจเพื่อนร่วมงานได้อย่างจริงใจ * แสดงน้ำใจในเหตุวิกฤติ ให้ความช่วยเหลือแก่เพื่อนร่วมงานที่มีเหตุจำเป็นโดยไม่ต้องให้ร้องขอ * รักษามิตรภาพอันดีกับเพื่อนร่วมงานเพื่อช่วยเหลือกันในวาระต่างๆ ให้งานสำเร็จลุล่วงเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
การทำงานเป็นทีม (Teamwork – TW) ระดับที่ 5 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 4 และสามารถนำทีมให้ปฏิบัติภารกิจให้ได้ผลสำเร็จ * ส่งเสริมความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในทีม โดยไม่คำนึงถึงความชอบหรือไม่ชอบส่วนตน * ช่วยประสานรอยร้าว หรือคลี่คลายแก้ไขข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นในทีม * ประสานสัมพันธ์ ส่งเสริมขวัญกำลังใจของทีมเพื่อรวมพลังกันในการปฏิบัติภารกิจใหญ่น้อยต่างๆ ให้บรรลุผล
สมรรถนะ (Competency) โดย รศ.สุรชัย ขวัญเมือง สมรรถนะประจำสายงาน
การทำความเข้าใจสมรรถนะ สมรรถนะ (Competency) โดย รศ.สุรชัย ขวัญเมือง การทำความเข้าใจสมรรถนะ
การทำความเข้าใจสมรรถนะ ชื่อสมรรถนะ คำจำกัดความ ความเป็นผู้นำ (Leadership) สมรรถนะที่ 1 : ความเป็นผู้นำ (Leadership) พิจารณาจากความสามารถในการวางตนและเป็นตัวอย่างที่ดี การมีศิลปะในการโน้มน้าว จูงใจ กระตุ้นให้กำลังใจและความเต็มใจร่วมกันทำงานให้สำเร็จ ความสนใจและความสามารถในการพัฒนาทักษะ ความรู้ความสามารถของทีมงานด้วยวิธีต่างๆอย่างเหมาะสม
ความเป็นผู้นำ (Leadership) ระดับที่ 0 : ไม่แสดงสมรรถนะด้านนี้อย่างชัดเจน ระดับที่ 1 :ความสามารถในการแบ่งงาน บริหารการแระชุม และคอยแจ้งข่าวสารความเป็นไปอยู่เสมอ * แจกแจงหน้าที่รับผิดชอบให้แก่บุคคลในกลุ่ม กำหนดประเด็นหัวข้อในการประชุม วัตถุประสงค์ ควบคุมเวลา ได้ดี * แจ้งข่าวสารความเป็นไปให้ผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจได้รับทราบอยู่เสมอ แม้ไม่จำเป็นต้องกระทำ * อธิบายเหตุผลในการตัดสินใจให้ผู้อื่นทราบ
ความเป็นผู้นำ (Leadership) ระดับที่ 2 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 1 และเป็นผู้นำในการทำงานของกลุ่ม * ส่งเสริมให้กลุ่มทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ * ลงมือกระทำการเพื่อช่วยให้กลุ่มปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ * กำหนดเป้าหมาย ทิศทางที่ชัดเจน ใช้โครงการที่เหมาะสม เลือกคนให้เหมาะกับงานหรือใช้วิธีการอื่นๆ เพื่อช่วยสร้างสภาวะที่ทำให้กลุ่มทำงานได้ดีขึ้น * สร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน หรือให้โอกาสผู้ใต้บังคับบัญชาในการแสดงศักยภาพ การทำงานอย่างเต็มที่เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพ
ความเป็นผู้นำ (Leadership) ระดับที่ 3 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 2 และให้การดูแลและช่วยเหลือผู้ใต้บังคับบัญชา * เป็นที่ปรึกษาและให้การดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา * ปกป้องผู้ใต้บังคับบัญชาและชื่อเสียงขององค์กร * จัดหาบุคลากร ทรัพยากร หรือข้อมูลที่สำคัญมาให้ เมื่อองค์กรต้องการเพื่อให้การสนับสนุนที่จำเป็นแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา * ช่วยเหลือผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าใจถึงการปรับเปลี่ยนที่เกิดขึ้นภายในองค์กรและความจำเป็นของการปรับเปลี่ยนนั้นๆ
ความเป็นผู้นำ (Leadership) ระดับที่ 4 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 3 และประพฤติตนสมกับเป็นผู้นำ * กำหนดธรรมเนียมปฏิบัติประจำกลุ่มและประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา * ยึดหลักธรรมาภิบาล (Good Govermance) (นิติธรรม คุณธรรม โปร่งใส ความมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ ความคุ้มค่า) ในการปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา * สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้ใต้บังคับบัญชาในการอุทิศตนให้กับการปฏิบัติงานเพื่อสนองนโยบายประเทศและบรรลุภารกิจภาครัฐ
ความเป็นผู้นำ (Leadership) ระดับที่ 5 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 4 และ * สื่อสารวิสัยทัศน์ ที่มีพลัง สามารถรวมใจคนสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถปฏิบัติงานให้ภารกิจสำเร็จลุล่วงได้จริง * เป็นผู้นำในการปรับเปลี่ยนขององค์กร ผลักดันให้การปรับเปลี่ยนดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จได้ด้วยกลยุทธ์และวิธีดำเนินการที่เหมาะสม * มีวิสัยทัศน์ในการเล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และเตรียมการสร้างกลยุทธ์ให้กับองค์กรในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนั้น
การทำความเข้าใจสมรรถนะ ชื่อสมรรถนะ คำจำกัดความ การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) ความสามารถในการประเมินสถานการณ์ การกำหนดกลยุทธ์ การลดจุดอ่อนและเสริมจุดแข็ง การแปรวิกฤติเป็นโอกาส การคิดเพื่อให้ได้รับชัยชนะในทุกสถานการณ์
การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) ระดับที่ 0 : ไม่แสดงสมรรถนะด้านนี้อย่างชัดเจน ระดับที่ 1 : เข้าใจกระบวนการกลยุทธ์ * เข้าใจกระบวนการกลยุทธ์ เช่น การสร้างวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และการกลยุทธ์การพัฒนาองค์กร * สามารถวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรคหรือโอกาสของหน่วยงานในการบรรลุผลสัมฤทธิ์ได้
การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) ระดับที่ 2 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 1 และประยุกต์ประสบการณ์ในการกำหนดกลยุทธ์การปฏิบัติงานของหน่วยงาน * ประยุกต์ประสบการณ์และบทเรียนในอดีตมาใช้กำหนด กลยุทธ์ของหน่วยงานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง และสามารถบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้ * ใช้ความรู้ความเข้าใจในระบบราชการมาปรับกลยุทธ์ หรือยุทธวิธีในการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ภายในที่เกิดขึ้นได้
การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) ระดับที่ 3 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 2 และประยุกต์ทฤษฎีหรือแนวคิดใหม่ๆ ในการกำหนดกลยุทธ์การปฏิบัติงานในอนาคต * ประยุกต์ทฤษฎี หรือแนวคิดใหม่ๆ ในการคิดและพัฒนาเป้าหมายหรือกลยุทธ์ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่ตนรับผิดชอบ * คิดโครงการหรือแผนงานที่ผลสัมฤทธิ์มีประโยชน์ระยะยาวต่องานที่ตนดูแลรับผิดชอบอยู่
การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) ระดับที่ 4 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 3 และเชื่อมโยงสถานการณ์ในประเทศเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการปฏิบัติงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต * ประเมินและเชื่อมโยงสถานการณ์ ประเด็น หรือปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ภายในประเทศที่ซับซ้อนด้วยกรอบแนวคิดและวิธีพิจารณาแบบมองภาพองค์รวม เพื่อใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ใหม่ขององค์กร * คิดแผนหรือกลยุทธ์เชิงรุกในการปฏิบัติงานหน่วยงาน เพื่อตอบสนองโอกาสหรือประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ภายในประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป
การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) ระดับที่ 5 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 4 และเชื่อมโยงสถานการณ์โลกเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการปฏิบัติงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต * ประเมินและเชื่อมโยงสถานการณ์ ประเด็น หรือปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของโลก เพื่อใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กรให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศ * คิดแผนหรือกลยุทธ์เชิงรุกในการปฏิบัติงานหน่วยงาน เพื่อตอบสนองโอกาสหรือประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ต่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป
การทำความเข้าใจสมรรถนะ ชื่อสมรรถนะ คำจำกัดความ การตัดสินใจแก้ไขปัญหา(Decision making) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา การวิเคราะห์แนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยมีหลายทางเลือก การเลือกแนวทางในการแก้ไขปัญหา ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม การใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา
การตัดสินใจแก้ไขปัญหา (Decision making) ระดับที่ 0 : ไม่แสดงสมรรถนะด้านนี้อย่างชัดเจน ระดับที่ 1 : แตกปัญหา / งานออกเป็นส่วนย่อย * ระบุรายการ หรือประเด็นย่อยต่างๆ ของปัญหาได้โดยไม่เรียงลำดับก่อนหลัง * จำแนกประเด็นปัญหาออกเป็น ปัญหาที่เกี่ยวกับงานของแต่ละฝ่ายในหน่วยงาน
การตัดสินใจแก้ไขปัญหา (Decision making) ระดับที่ 2 : แสดงสมรรถนะ ระดับที่ 1 และเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงขั้นพื้นฐานของส่วนต่างๆ ของปัญหา / งาน * ระบุได้ว่าอะไรเป็นเหตุเป็นผลแก่กันในสถานการณ์หนึ่งๆ * แยกแยะข้อดีข้อเสียของประเด็นต่างๆได้ * ตัดสินใจวางแผนงานได้โดยจัดเรียงงานหรือกิจกรรมต่างๆ ตามลำดับความสำคัญหรือความเร่งด่วน
การตัดสินใจแก้ไขปัญหา (Decision making) ระดับที่ 3 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 2 และเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่ซับซ้อนของส่วนต่างๆของปัญหา / งาน * เชื่อมโยงเหตุปัจจัยที่ซับซ้อน อาทิ เหตุการณ์กรณีหนึ่งอาจมีสาเหตุได้หลายประการ หรือสามารถนำไปสู่เหตุการณ์สืบเนื่องได้หลายประการ อาทิ เหตุ ก. นำไปสู่เหตุ ข. เหตุ ข. นำไปสู่ เหตุ ค. เหตุ ค.นำไปสู่เหตุ ง. ฯลฯ * ตัดสินใจวางแผนงานโดยกำหนดกิจกรรมขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ที่มีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การตัดสินใจแก้ไขปัญหา (Decision making) ระดับที่ 4 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 3 และสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับปัญหา / งาน จากความเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ * แยกแยะองค์ประกอบต่างๆ ของประเด็นปัญหาที่มีปัจจัยเชื่อมโยงซับซ้อนเป็นรายละเอียดในชั้นต่างๆ อีกทั้งวิเคราะห์ว่าแง่มุมต่างๆ ของปัญหาหรือสถานการณ์หนึ่งๆสัมพันธ์กันอย่างไร คาดการณ์ว่าจะมีโอกาสหรือุปสรรคอะไรบ้าง * ตัดสินใจวางแผนที่ซับซ้อนโดยกำหนดกิจกรรม ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆที่มีหน่วยงานหรือผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย รวมถึง คาดการณ์ปัญหาอุปสรรค และวางแนวทางป้องกันแก้ไขไว้ล่วงหน้า
การตัดสินใจแก้ไขปัญหา (Decision making) ระดับที่ 5 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 4 และกำหนดแผนงาน / ขั้นตอนการทำงานจากการศึกษาวิเคราะห์ในขั้นต่างๆ เพื่อเตรียมทางเลือกสำหรับการป้องกัน/แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น * ใช้กรรมวิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่เหมาะสมในการแยกแยะประเด็นปัญหาที่ซับซ้อนออกเป็นส่วนๆ * ใช้เทคนิคการวิเคราะห์หลากหลายรูปแบบ เพื่อหาทางเลือกต่างๆในการตอบคำถาม หรือแก้ปัญหา รวมถึงพิจารณาข้อดีข้อเสียของทางเลือกแต่ละทาง * ตัดสินใจวางแผนงานที่ซับซ้อนโดยกำหนดกิจกรรม ขั้นตอนการดำเนินงานต่างที่มีการดำเนินงานต่างๆที่มีหน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย คาดการณ์ปัญหา อุปสรรค แนวทางการาป้องกันแก้ไข อีกทั้งเสนอแนะทางเลือกและข้อดีข้อเสียไว้ให้
การทำความเข้าใจสมรรถนะ ชื่อสมรรถนะ คำจำกัดความ วิสัยทัศน์ (Vision) ความสามารถในการคาดการณ์หรือพยากรณ์สถานการณ์ อย่างมีหลักการและมีเหตุผล การกำหนดกลยุทธ์และวางแผนดำเนินการเพื่อรองรับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งด้านที่เป็นผลโดยตรงและผลกระทบ
วิสัยทัศน์ (Vision) ระดับที่ 0 : ไม่แสดงสมรรถนะด้านนี้อย่างชัดเจน ระดับที่ 1 : เชื่อมโยงงานเข้ากับบริบทของมหาวิทยาลัยโดยรวม * สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นมีผลอย่างไรต่อสาธารณชน พยายามทำให้ภาพรวมชัดเจนและเข้าใจง่าย ช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจว่าบทบาทของตนเกี่ยวข้องกับบริบทโดยรวมอย่างไร * เชื่อมโยงวิสัยทัศน์ของหน่วยงานกับเป้าหมาย วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยโดยรวมได้
วิสัยทัศน์ (Vision) ระดับที่ 2 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 1 และให้ผู้อื่นได้มีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ * แบ่งปันความรับผิดชอบในการกำหนดวิสัยทัศน์ระยะยาวโดยให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมหรือแสดงความคิดเห็นด้วย
วิสัยทัศน์ (Vision) ระดับที่ 3 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 2 และทำให้วิสัยทัศน์ได้รับการยอมรับ * สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่วิสัยทัศน์โดยการสื่อสารในวงกว้างในหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ * แบ่งปันข้อมูลแนวโน้มภายในและภายนอกหน่วยงาน ตลอดจนชี้ว่าข้อมูลเหล่านั้นจะนำมาเป็นพื้นฐานในการกำหนดกลยุทธ์ของหน่วยงานได้อย่างไร
วิสัยทัศน์ (Vision) ระดับที่ 4 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 3 และสื่อสารวิสัยทัศน์ * ถ่ายทอดวิสัยทัศน์ของหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบอยู่ด้วยวิธีสร้างแรงบันดาลใจ ความกระตือรือร้น และความร่วมแรงร่วมใจให้บรรลุวิสัยทัศน์นั้น * ใช้วิสัยทัศน์ในการกำหนดจุดร่วมและทิศทางสำหรับผู้คนทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่กำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลง
วิสัยทัศน์ (Vision) ระดับที่ 5 : แสดงสมรรถนะระดับที่ 4 และใช้วิสัยทัศน์มาช่วยกำหนดนโยบายใหม่ๆ * คิดนอกกรอบ นำเสนอความคิดใหม่เพื่อใช้กำหนดนโยบายในงานเพื่อประโยชน์ หรือโอกาสของมหาวิทยาลัยหรือสาธารณชนโดยรวมอย่างที่ไม่มีผู้ใดคิดมาก่อน
การประเมินสมรรถนะ Test of Performance Behavior Observation Self-Report ลักษณะของแบบประเมินที่ใช้พฤติกรรมกำหนดระดับ (Behaviorally Anchored Rating Scale = BARS)
แนวปฏิบัติในการประเมินสมรรถนะ สมรรถนะ (Competency) โดย รศ.สุรชัย ขวัญเมือง แนวปฏิบัติในการประเมินสมรรถนะ
แนวปฏิบัติในการประเมินสมรรถนะ 1. ประชุมชี้แจงกรรมการผู้ประเมิน กำหนดให้ผู้ประเมิน 3 - 5 คน ต่อผู้ถูกประเมิน 1 คน 2. ในการประเมิน ให้กรรมการผู้ประเมินตรวจสอบข้อมูล สารสนเทศ หลักฐานที่แสดงถึงร่องรอยความมีคุณภาพ ผนวกกับการสังเกต หรือสอบถามข้อมูลจากผู้บังคับบัญชา เพื่อร่วมงาน หรือผู้รับบริการก่อนตัดสินใจให้คะแนนคุณภาพในแต่ละสมรรถนะ ทั้งนี้ ขอให้บันทึกร่องรอยความมีคุณภาพโดยระบุข้อมูลที่ตรวจพบให้ชัดเจน
แนวปฏิบัติในการประเมินสมรรถนะ 3. การตัดสินให้คะแนนในแต่ละสมรรถนะให้วงกลมล้อมรอบด้วยตัวเลข แสดงระดับคุณภาพ ตามวินิจฉัยของกรรมการผู้ประเมินแต่ละคน ทั้งนี้การให้คะแนนในระดับที่สูงขึ้น ต้องมีรายการพฤติกรรมครบถ้วนตามระดับคุณภาพที่ต่ำกว่าก่อนเสมอ 4. บันทึกสรุปคะแนนของกรรมการแต่ละคน การประเมินลงในแบบบันทึกสรุป แล้วตัดสินผลการประเมินสมรรถนะ
แนวปฏิบัติในการประเมินสมรรถนะ 5. สะท้อนผลการประเมินไปยังผู้ถูกประเมิน โดยกำหนดให้ผู้ถูกประเมินจัดทำแผนการพัฒนาสมรรถนะตนเอง เป็นรายบุคคล (Individual Development Plan : IDPs) ในกรณีที่ผลการประเมินไม่ผ่านตามเกณฑ์
แบบบันทึกคะแนน การประเมินสมรรถนะ บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ชื่อ - นามสกุล ผู้ถูกประเมิน........................................................................ หน่วยงาน.................................................................................................... ที่ รายการสมรรถนะ คะแนน 1. สมรรถนะหลัก (Core Competency) 1.1 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achievement Motivation) 1.2 จิตในการให้บริการ (Service Mind) 1.3 ความเชี่ยวชาญในอาชีพ (Expertise) 1.4 จริยธรรม (Integrity) 1.5 การทำงานเป็นทีม (Teamwork)
แบบบันทึกคะแนน การประเมินสมรรถนะ บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ชื่อ - นามสกุล ผู้ถูกประเมิน........................................................................ หน่วยงาน.................................................................................................... ที่ รายการสมรรถนะ คะแนน 2. สมรรถนะประจำกลุ่มงาน (Functional Competency) 2.1 ความเป็นผู้นำ (Leadership) 2.2 การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) 2.3 การตัดสินใจแก้ไขปัญหา (Decision making) 2.4 วิสัยทัศน์ (Vision) รวม เฉลี่ย
คะแนนจากกรรมการคนที่ แบบบันทึกสรุป คะแนน การประเมินสมรรถนะ บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ชื่อ - นามสกุล ผู้ถูกประเมิน.................................................................................. หน่วยงาน............................................................................................................... ที่ รายการสมรรถนะ คะแนนจากกรรมการคนที่ 1 2 3 4 5 รวม เฉลี่ย ร้อยละ 1. สมรรถนะหลัก 1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation) 1.2 การบริการที่ดี (Service Mind) 1.3 การสั่งสมความเชี่ยวชาญในอาชีพ (Expertise) 1.4 จริยธรรม (Integrity) 1.5 ความร่วมแรงใจ (Teamwork)
ผลการประเมิน ผ่าน ไม่ผ่าน รวมเฉลี่ย 2.4 วิสัยทัศน์ (Vision) 2.3 การตัดสินใจแก้ไขปัญหา (Decision making) 2.2 การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) 2.1 ความเป็นผู้นำ (Leadership) สมรรถนะประจำกลุ่มงาน (Functional Competency) 2 ผลการประเมิน ผ่าน ไม่ผ่าน ลงชื่อ.................................................... (...................................................) ประธานกรรมการ ลงชื่อ.................................................... ลงชื่อ.................................................... (................................................) (................................................) กรรมการ กรรมการ ลงชื่อ.................... ................................ ลงชื่อ.................................................... (................................................) (................................................) กรรมการ กรรมการ วันที่...............เดือน.............................พ.ศ..................
เกณฑ์การประเมินสมรรถนะ สมรรถนะ (Competency) โดย รศ.สุรชัย ขวัญเมือง เกณฑ์การประเมินสมรรถนะ ได้รับคะแนนประเมินเฉลี่ยจากกรรมการ 5 คนไม่ต่ำกว่า 3.50 ในระบบ 5 แต้ม หรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ในแต่ละสมรรถนะ และเฉลี่ยในภาพรวมของทุกสมรรถนะ จึงจะถือว่าผ่าน
ขอให้ทุกท่านผ่านเกณฑ์ประเมินตามที่มุ่งหวัง สวัสดี