หน่วยที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ Thaksaorn Jommanop
ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยี https://www.youtube.com/watch?v=GpJ36 KzHJG4
1. 1.1เทคโนโลยี ( Technology ) คือการประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ที่เกี่ยวข้องการผลิต การสร้างวิธีการดำเนินงาน และรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ไม่ได้มีในตามธรรมชาติ โลกแห่งเทคโนโลยียุคนี้ ทำให้มนุษย์ได้รับสิ่งอำนวยความ สะดวกจากเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวัน มากมายนับไม่ถ้วน
1.2 สารสนเทศ ( Information ) คือผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูลดิบ (Rau data) ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ และ นำมาผ่านกระบวนการประเมินผล ไม่ว่าจะเป็นการจัดกลุ่มข้อมูล การเรียงลำดับข้อมูล การคำนวณและสรุปผล จากนั้นก็นำมาเสนอในรูปแบบของรายงานที่เหมาะสมต่อการใช้งานที่ ก่อเกิดประโยชน์การดำเนินชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นด้านของ ชีวิตประจำวัน ข่าวสาร ความรู้ด้านวิชาการ ธุรกิจ
1.3 เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information technology ) เทคโนโลยี + สารสนเทศ คือการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิทยาสาสตร์มาจัดการ สารสนเทศที่ต้องการ โดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีด้าน คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีด้านเครือข่ายโทรคมนาคมและการสื่อสาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็ว ทันต่อการนำมาใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง
1.3.1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หมายถึง เทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้เพื่อการบันทึก จัดเก็บ ประมวลผล และ ค้นคืนสารสนเทศ
1.3.2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม “เทคโนโลยีการสื่อสาร” (Communication Technology) ความหมาย “สื่อที่ช่วยในการถ่ายทอดสาร จากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร” ซึ่งช่วยให้การสื่อสารของมนุษย์ สามารถกระทำได้ง่าย รวดเร็ว กว้างขวาง และมีประสิทธิภาพ มากขึ้น https://www.youtube.com/watch?v=SsFKI mk3bKA
2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2.1 ด้านการศึกษา 2.2 ด้านธุรกิจ พาณิชย์ และสำนักงาน 2.3 ด้านสาธารณสุขและการแพทย์ 2.4 ด้านการเกษตร 2.5 ด้านสิ่งแวดล้อม อื่นๆ
3. ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้าน เศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการ เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบ อัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ ตลอดเวลา
เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบ กระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การ บริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้ สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมุลผ่านทาง โทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้ คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการ ในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวม จัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่ จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บ ข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตาราง คำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น
4. ผลกระทบของเทคโนโลยี 4.1 ผลกระทบทางบวกของเทคโนโลยี เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร การบริการและการผลิต ชีวิตคนในสังคมได้รับความสะดวกสบาย เช่นการชำระค่าไฟผ่าน อินเทอร์เน็ต เป็นสังคมโลกแห่งการสื่อสารเกิดขึ้น โดยสามารถเอาชนะเรื่อง ระยะทาง เวลา และสถานที่ได้ มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ในฐานข้อมูลความรู้ เกิดการพัฒนา คุณภาพชีวิตในด้านที่เกี่ยวกับ สาธารณสุขและการแพทย์ แพทย์ที่อยู่ ในชนบทก็สามารถวินิจฉัยโรคจากฐานข้อมูลความรู้ของ ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทางการแพทย์ ในสถาบันการแพทย์ที่มีชื่อเสียงได้ทั่วโลก
พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่ กระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียน โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI) และการ เรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ ( Computer-Assisted Learning : CAL ) ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในในบทเรียนมากยิ่งขึ้น ไม่ซ้ำซากจำเจผู้เรียน สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ด้วย นอกจากนั้นยังมีบทบาท ต่อการนำมาใช้ในการสอนทางไกล (Distance Learning) เพื่อผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาได้อีกด้วย การทำงานเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น กล่าวคือช่วยลดเวลาในการทำงานให้น้อยลง แต่ ได้ผลผลิตมากขึ้น เช่น การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยคิดบัญชี การสร้างกราฟ แผนภูมิ ออกแบบงานลักษณะต่างๆ เป็นต้น ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการบริโภคสินค้าที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้รูปแบบของผลิตภัณฑ์มีความแปลกใหม่และหลากหลาย มากยิ่งขึ้น ผู้ผลิตผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้ตามต้องการ และช่องทาง ทางการค้าก็มีให้เลือกมากขึ้น เช่น การเลือกซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตและการพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
4.2 ผลกระทบด้านลบ ก่อให้เกิดความเครียดในสังคมมากขึ้น 4.2 ผลกระทบด้านลบ ก่อให้เกิดความเครียดในสังคมมากขึ้น เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เคยทำอะไรแบบใดมักจะชอบ ทำอย่างนั้นไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปเปลี่ยนแปลง บุคคลที่รับต่อการ เปลี่ยนแปลงไม่ได้จึงเกิดความวิตกกังกล จนกลายเป็นความเครียด กลัวว่า คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี สารสนเทศจะทำให้ คนตกงาน เพราะสิ่งเหล่านี้จะเข้ามาทดแทนมนุษย์
ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม หรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก ทำให้พฤติกรรมที่แสดงออก ด้านการแต่งกาย และการบริโภค เปลี่ยนแปลงไป การมอมเมาเยาวชน ในรูปของเกมส์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอารมณ์และจิตใจของเยาวชน เกิดการกลืน วัฒนธรรมดั้งเดิมซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของสังคมนั้นๆ
ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วในระบบเครือข่ายมีผลก่อให้เกิดโลกไร้ พรมแดน แต่เมื่อพิจารณาศีลธรรมของแต่ละประเทศพบว่ามีความแตกต่างกัน ประเทศต่างๆ ผู้คนอยู่ร่วมกันได้ด้วยจารีตประเพณี และศีลธรรมดีงามของประเทศ นั้นๆ การแพร่ภาพหรือข้อมูลข่าวสารที่ไม่ดีไปยังประเทศต่างๆ มีผลกระทบ ต่อความรู้สึกของคนในประเทศนั้นๆ ที่นับถือศาสนาแตกต่างกัน
การมีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็วในการ สื่อสาร และการทำงาน แต่ในอีกด้านหนึ่งการมีส่วนร่วมของกิจกรรมทาง สังคมที่มีการ พบปะสังสรรค์กันจะมีน้อยลง ผู้คนมักอยู่แต่ที่บ้านหรือที่ทำงานของตนเองมากขึ้น
การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล โดยการเผยแพร่ข้อมูลหรือรูปภาพต่อสาธารณชน ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นจริงหรือยังไม่ได้พิสูจน์ความ ถูกต้องออกสู่สาธารณชน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลโดยไม่สามารถป้องกันตนเอง ได้ การละเมิดสิทธิส่วน บุคคล เช่นนี้ต้องมีกฎหมายออกมาให้ความคุ้มครองเพื่อให้นำข้อมูล ต่างๆ มาใช้ในทางที่ถูกต้อง
เกิดช่องว่างทางสังคม เกิดช่องว่างทางสังคม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับการลงทุน ผู้ใช้จึงเป็นชนชั้นในอีกระดับหนึ่งของสังคม ในขณะที่ชนชั้นระดับรองลงมามีอยู่จำนวนมากกลับไม่มี โอกาสใช้ และผู้ที่ยากจนก็ไม่มีโอกาสรู้จักกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
อาชญากรรมบนเครือข่าย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สารสนเทศก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ขึ้น เช่น ปัญหาอาชญากรรม ตัวอย่างเช่น อาชญากรรมในรูปของการขโมยความลับ การขโมย ข้อมูลสารสนเทศ การให้บริการ สารสนเทศที่มีการหลอกลวง รวมถึงการบ่อนทำลายข้อมูลและไวรัส
ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ นับตั้งแต่คอมพิวเตอร์เข้ามามี บทบาทในการทำงาน การศึกษา บันเทิง ฯลฯ การจ้องมอง คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ มีผลเสียต่อสายตาซึ่งทำให้สายตา ผิดปกติ มีอาการแสบตา เวียนศรีษะ นอกจากนั้นยังมีผลต่อ สุขภาพจิต เกิดโรคทางจิตประสาท