ประชุมชี้แจงการใช้สื่อ ชุดการจัดการเรียนรู้สื่อ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สพป.น่านเขต 2 วันที่ 16 สิงหาคม 2561
วัตถุประสงค์ 1. จัดทำขึ้นตามพระราชดำริของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารีเพื่อให้มีสื่อการจัดการ เรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเพิ่ม ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในโครงการตามพระราชดำริ และ โรงเรียนขนาดเล็กทั่วไป 2. แก้ปัญหาครูไม่ครบชั้น ครูไม่ตรง วิชาเอก อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
องค์ประกอบชุดการจัดการเรียนรู้ 1.ชุดการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการ เรียนรู้ภาษาไทย ชุดการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการ เรียนรู้คณิตศาสตร์ ชุดการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการ เรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชุดการจัดการเรียนรู้บูรณาการ มี 2 รูปแบบ คือ แบบคละชั้น และแบบ แยกชั้นปี
โรงเรียนขนาดเล็กใช้สื่อ 60 พรรษา
การแจ้งจัดสรรงบประมาณ
แนวการนำเครื่องมือไปใช้ ๑. การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับชุดการจัดการเรียนรู้และการจัดการ เรียนรู้แบบคละชั้นแก่ผู้เกี่ยวข้อง และการฝึกฝนทักษะในการใช้ชุด การจัดการเรียนรู้ ๒. การเตรียมสื่อ วัสดุอุปกรณ์ที่เอื้ออำนวยในการใช้ชุดการจัดการ เรียนรู้ทั้งสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ระบุในชุดการจัดการเรียนรู้ และสื่อ วัสดุ อุปกรณ์อื่น ๆ อาทิ สารานุกรมสำหรับเยาวชน หนังสือเรียน แทปเล็ต สื่อทางไกล ๓. การวางแผนการจัดชั้นเรียนให้เหมาะสมกับสภาพ และบริบท โดย สามารถดำเนินการได้หลายลักษณะ และสามารถเชื่อมโยง ปรับ ประยุกต์ชุดการจัดการเรียนรู้มาใช้ ดังนี้
แนวการนำเครื่องมือไปใช้ ๔. การจัดการเรียนรู้ การสังเกตการณ์ชั้นเรียน และการ เรียนรู้ร่วมกัน เพื่อปรับเปลี่ยนแนวทางในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ ๕. การวางแผนร่วมกันในการติดตามประเมินผลการใช้ ชุดการเรียนรู้ และนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนา แนวทางนำชุดการเรียนรู้ไปใช้
บทบาทของบุคลากรในการใช้สื่อ 60 พรรษา ๑.๑ กำหนดกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนให้โรงเรียนขนาดเล็กนำชุดการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ไปใช้ ๑.๒ กำหนดนโยบายที่ชัดเจนในการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก และการนำชุด กิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้ ๑.๓ สนับสนุนงบประมาณที่สนับสนุนการทำงานในลักษณะต่างๆทั้ง งบประมาณในการจัดทำสื่อเพิ่มเติม การสร้างความเข้าใจ / พัฒนาบุคลากร และอื่นๆ ๑.๔ ติดตามประเมินผลการทำงานเป็นระยะ พร้อมทั้งหาแนวทางช่วยเหลือให้ โรงเรียนสามารถนำชุดการจัดการเรียนรู้ไปใช้ให้เกิดผล
๒. ศึกษานิเทศก์ / ผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือครู ๒.๑ ทำความเข้าใจรายละเอียดข้อมูลในชุดกิจกรรมการให้แนวทาง และชี้แนะ /สาธิต เทคนิคการเชื่อมโยงการใช้ชุดการจัดการเรียนรู้ร่วมกับสื่ออื่นๆ โครงการ อื่นๆอาทิ สื่อทางไกล แทปเล็ต ๒.๒ สำรวจพื้นฐานความรู้ ทักษะของครูผู้สอนและผู้เกี่ยวข้อง ๒.๓ จัดหาสื่อเอกสารเพิ่มเติมความรู้ด้านต่างๆ แก่ครู เพื่อการพัฒนาอย่าง ต่อเนื่อง ๒.๔ นิเทศติดตามตามโปรแกรมการนิเทศที่กำหนด และประเมินผลการใช้ชุด กิจกรรมการจัดการเรียนรู้และนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาระบบการให้การ สนับสนุนและการพัฒนาครูผู้สอน
๓. ผู้บริหารสถานศึกษา ๓.๑ ศึกษาลักษณะและแนวคิด แนวทางการใช้ชุดการจัดการเรียนรู้ให้เข้าใจ อย่างชัดเจน ๓.๒ วางแผนการดำเนินงานและดำเนินการอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ดังนี้ ๓.๒.๑ สร้างความเข้าใจแก่ผู้เกี่ยวข้อง ๓.๒.๒ วางแผนจัดวางตัวบุคคลที่เหมาะสม ๓.๒.๓ จัดงบประมาณสนับสนุนการจัดทำสื่อการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน หรือจัด สื่อการเรียนรู้อื่นๆ สนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนจัดสิ่ง อำนวยความสะดวกต่างๆและประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง ๓.๓ นิเทศติดตามผลประเมินผลการนำชุดการจัดกิจกรรมการเรียนไปใช้เป็น ระยะๆ
๔. ผู้ปกครอง ๔.๑ ช่วยเหลือครูผู้สอนในการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ/ อุปกรณ์การเรียนรู้ ๔.๒ ช่วยเหลือครูผู้สอนในการดูแลนักเรียนในการทำกิจกรรมกลุ่ม ย่อย ๔.๓ ร่วมเรียนรู้กับนักเรียนในบางเนื้อหา เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ประสบการณ์ ๔.๔ ร่วมสาธิต เสริมความรู้ในบางเนื้อหาที่ผู้ปกครองมีความ เชี่ยวชาญ หรือเพียงแค่ให้การสนับสนุนเเหล่งการเรียนรู้ เช่น การ เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ
ครูผู้สอน ๑. ครูผู้สอน ครูผู้สอนเป็นผู้ปฏิบัติงานหลักในการใช้ชุดการจัดการเรียนรู้โดยมีบทบาทที่ สำคัญคือ ผู้ดำเนินการเตรียมและดำเนินการจัดกิจกรรม (Organizer, Facilitator) ผู้แนะนำหรือแนะแนวขั้นตอนและกิจกรรมต่างๆ (Guide) รวมทั้งเป็นผู้วิจัยและผู้เรียนรู้ (Researcher, Learner) เรียนรู้ พฤติกรรมการเรียนของนักเรียนแต่ละคนนอกจากนั้นครูอาจมีบทบาทอื่นๆเช่น ผู้ให้คำปรึกษา (Counselor) ผู้จัดการกระบวนการกลุ่ม (Group process manager) กระตุ้นให้กำลังใจช่วยเหลือให้ผู้เรียนสามารถ เรียนรู้ได้ดีครูผู้สอนสามารถแบ่งได้ ๒ กลุ่ม ดังนี้
ครูผู้สอน ๑.๑ ครูผู้สอนที่มีความรู้และทักษะจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น ๑.๑.๑ ศึกษาโครงสร้างชุดการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสาระ ๑.๑.๒ ในกรณีที่มีครูผู้สอนหลายคน หรือมีครูผู้ช่วยควรสร้างข้อปฏิบัติร่วมกัน และกำหนดภารกิจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องเอื้อต่อกัน โดยอาจสอนเป็นทีมครั้งละ ๒ - ๓ คนโดยกำหนดผู้ที่มีบทบาทหลักในการ สอน และบทบาทในการเป็นผู้ช่วยในด้านต่าง ๆ ๑.๑.๓ ฝึกทักษะการจัดกิจกรรมต่างๆทั้งกิจกรรมรวมชั้น กิจกรรมกลุ่มย่อย กิจกรรมจับคู่และกิจกรรมเดี่ยว โดยอาจจะร่วมมือกับครูคนอื่นๆในการฝึกฝน ทักษะดังกล่าวและให้ข้อมูลย้อนกลับในการทำกิจกรรมให้กันและกัน ๑.๑.๔ วางแผนการจัดการเรียนการสอน โดยจัดทำกำหนดการสอนรวมทั้ง ภาคเรียนและตารางเรียนรายสัปดาห์
ตัวอย่างตารางเรียน ตัวอย่าง ๑ ตารางเรียนห้องเรียนคละชั้นชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ เวลา วัน ๐๘.๓๐ -๐๙.๓๐ ๐๙.๓๐ -๑๐.๓๐ ๑๐.๓๐ -๑๑.๓๐ ๑๑.๓๐ -๑๒.๓๐ ๑๒.๓๐ -๑๓.๓๐ ๑๓.๓๐ -๑๔.๓๐ ๑๔.๓๐ -๑๕.๓๐ จันทร์ ภาษาไทย อังกฤษ รับประทานอาหารกลางวัน บูรณาการ ซ่อมเสริม อังคาร คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รายวิชาเพิ่มเติม พุธ ลูกเสือ แนะแนว พฤหัสบดี ศุกร์ ชุมนุม สวดมนต์ เวลา วัน ๐๘.๓๐ -๐๙.๓๐ ๐๙.๓๐ -๑๐.๓๐ ๑๐.๓๐ -๑๑.๓๐ ๑๑.๓๐ -๑๒.๓๐ ๑๒.๓๐ -๑๓.๓๐ ๑๓.๓๐ -๑๔.๓๐ ๑๔.๓๐ -๑๕.๓๐ จันทร์ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รับประทานอาหารกลางวัน บูรณาการ ซ่อมเสริม อังคาร ภาษาอังกฤษ พุธ ลูกเสือ แนะแนว พฤหัสบดี ศุกร์ ชุมนุม สวดมนต์
ครูผู้สอน ๑.๑.๕ พิจารณาบุคลากร แหล่งเรียนรู้ สื่อเรียนรู้อื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมหรือวางแผนการนำ บุคลากรและสื่อมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ๑.๑.๖ เตรียมกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งที่กำหนดไว้ในชุดการจัดการเรียนรู้และประยุกต์ใช้กับสื่อ อื่นๆ ตลอดจนเตรียมแนวทางในการวัดประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ๑.๑.๗ จัดเตรียมสื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนทุกระดับให้สอดคล้องและครบถ้วนตาม กิจกรรมในแผนการจัดการเรียนรู้ ๑.๑.๘ วางแผนการจัดที่นั่งของนักเรียนให้สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ใน แต่ละ แผน ๑.๑.๙ จัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบการคละชั้น ๑.๑.๑๐ ประเมินผลการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้ง ตามแนวทาง เครื่องมือประเมิน และเกณฑ์ การประเมินที่กำหนด
๑.๒ ครูผู้สอนที่ไม่มีความรู้และทักษะการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น ครูผู้สอนกลุ่มนี้ มีบทบาทในการดำเนินการเช่นเดียวกับครูผู้สอนที่มี ความรู้ และทักษะการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น เพียงแต่ ครูผู้สอนกลุ่มนี้ต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษจากผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์ ในการเสริมความรู้ และทักษะแนวทางการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบคละชั้นให้เข้าใจทั้งแนวคิด หลักการ การจัด กลุ่มผู้เรียน การจัดพื้นที่ในห้องเรียน การสร้างเสริมวินัย การบริหารจัดการชั้นเรียน อีกทั้งฝึกฝนทักษะการจัดการเรียนรู้แบบ คละชั้นจนชำนาญ
องค์ประกอบของชุดการจัดการเรียนรู้ ชุดการจัดการเรียนรู้ในแต่ละระดับชั้น ประกอบด้วย โครงสร้างสำคัญ ๒ ส่วน มีการนำเสนอข้อมูลต่างๆ มีความแตกต่างกันบ้างตามธรรมชาติเนื้อหาวิชา ดังนี้ ส่วนที่ ๑ โครงสร้างในภาพรวมของชุดการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ (๑) โครงสร้างของชุดการจัดการเรียนรู้ (๒) แนวทางการจัดหน่วยการเรียนรู้ (๓) โครงสร้างรายวิชา
องค์ประกอบของชุดการเรียนรู้ ส่วนที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ (๔) มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหน่วยการเรียนรู้ (๕) ลำดับการนำเสนอแนวคิดหลักของหน่วยการเรียนรู้ (๖) โครงสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ (๗) แผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย (๗.๑) แนวทางการจัดกิจกรรม (๗.๒) แผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมง / เรื่อง (๗.๓) ใบความรู้สำหรับครู (๗.๔) สื่อการเรียนการสอน: ใบกิจกรรม ใบงาน ใบความรู้ และสื่อ (๗.๕) แบบประเมิน
แผนการนิเทศ 1. แผนการนิเทศภายใน ของ ผู้บริหารโรงเรียนและครู 1. แผนการนิเทศภายใน ของ ผู้บริหารโรงเรียนและครู 2. แผนการนิเทศภายนอก จาก ศึกษานิเทศก์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
แนวดำเนินการ 1. ผู้บริหารศึกษาเอกสารในกล่อง 2. มอบให้ครูวิชาการและ ผู้รับผิดชอบ ศึกษาเอกสาร 3. ครูประจำชั้น ศึกษาเอกสารและ นำไปสอน 4. นิเทศการสอน 5. รายงานผลการสอน
โรงเรียนขนาดเล็กทุกโรงเรียน 1. ได้รับจัดสรรทีวี จานดาวเทียม ปี 2557 2. จะได้รับการจัดสรร งบซ่อมแซม ปี 2561 3. บังคับใช้New DLTV 4. สื่อใน New DLTV คือ สื่อ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
Q&A ขอบคุณค่ะ
การคัดเลือก Best Practice DLTV 2. ส่งผลงาน Best Practice DLTV ทั้งระดับ ตัวแทนกลุ่ม และเชิญชวนรร.ที่สนใจ (เอกสาร/VDO) รร.ขนาดเล็ก DLTV 28 สค.2561 รร.ขนาดกลางและใหญ่ DLIT 28 สค.2561 3. คัดเลือก ผลงานระดับเขต 31 สค. 2561 4. คัดเลือก ตัวแทน แข่งขันระดับ Cluster 5. คัดเลือก ตัวแทน แข่งขันระดับ สพฐ.
การคัดเลือก Best Practice DLTV 1. รางวัล ชนะเลิศ 1-3 2. รางวัล ระดับดีเยี่ยม ดีมาก ดี พอใช้