การวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบ และแบบสอบถามข้อสอบ โดยใช้ SPSS ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สำราญ กำจัดภัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิเคราะห์ข้อสอบ โดยใช้ SPSS กรณีข้อสอบให้คะแนน 0 กับ 1 การหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) และค่าความยาก (p) โดยใช้เทคนิค 27 % กลุ่มสูง-กลุ่มต่ำ ขั้นที่ 1 สร้างไฟล์ข้อมูล ของกลุ่มทดลองใช้ N คน ขั้นที่ 2 รวมคะแนนทั้งฉบับของแต่ละคน โดยใช้คำสั่ง Compute variable ขั้นที่ 3 เรียงคะแนนจากน้อยไปหามาก โดยใช้คำสั่ง Sort case
ขั้นที่ 4 คำนวณหาจำนวนคนในกลุ่มสูง (Nu) และจำนวน คนในกลุ่มต่ำ (Nl) โดยใช้สูตร 20 % ของ N เช่น ถ้า N=50 20 % ของ N = (27/100)*(50) ≈14 คน นั่นคือ Nu=Nl= 14 ขั้นที่ 5 สร้างตัวใหม่ ตั้งชื่อ Group โดยกำหนดค่า (Value) ให้ 1 แทน กลุ่มต่ำ (L) 2 แทนกลุ่มสูง (U) และ 3 แทนกลุ่มกลาง (M) ขั้นที่ 6 คีย์ข้อมูลตัวแปร Group โดย กลุ่มต่ำพิมพ์เลข 1 กลุ่มสูงพิมพ์เลข 2 และกลุ่มกลางพิมพ์เลข 3
ขั้นที่ 7 ตัดข้อมูลกลุ่มกลางออกทั้งหมด จากนั้นบันทึกไฟล์ โดยตั้งชื่อไฟล์ใหม่ ขั้นที่ 8 วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคำนวณจำนวนคนตอบถูก ในกลุ่มต่ำ (Rl) และจำนวนคนตอบถูกในกลุ่มสูง (Ru) ของข้อสอบแต่ละข้อ โดยใช้คำสั่ง Crosstabs ดังภาพ
Analyze →Descriptive statistics → Crosstabs
นำข้อสอบทุกข้อเข้าไปในช่อง Row (s) และเอาตัวแปร Group เข้าใน Column → กด OK จากนั้นอ่าน Print out
Rl Ru Ru+Rl Nu+Nl p = 4+2 15+15 p1 = 6 30 p1= = 0.20 Ru-Rl Nuหรือ Nl r = 4-2 15 r1 = 2 r1= = 0.13
ขั้นที่ 9 คัดเลือกข้อสอบที่ทั้งค่า p และ r ผ่านเกณฑ์ ให้ได้จำนวนข้อสอบตามที่วางแผนไว้ ขั้นที่ 10 วิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ โดยใช้สูตร KR-20 ซึ่งในโปรแกรมเลือก alpha ให้ใช้ไฟล์ข้อมูลของกลุ่มทดลองใช้ที่มีทั้งกลุ่มสูง กลาง และต่ำ
ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ
การวิเคราะห์แบบสอบถาม โดยใช้ SPSS กรณีเป็นแบบมาตรประมาณค่า การหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) โดยใช้ Item-total Correlation
Analyze → Scale → Reliability Analysis
ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ
คัดข้อคำถามที่ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) ผ่านเกณฑ์เท่ากับจำนวนข้อที่วางแผนไว้ เพื่อนำไปหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา (alpha coefficient) ต่อไป