งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การประเมินการอ่านออกเขียนได้ ชั้น ป.1 ปีการศึกษา 2559

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การประเมินการอ่านออกเขียนได้ ชั้น ป.1 ปีการศึกษา 2559"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การประเมินการอ่านออกเขียนได้ ชั้น ป.1 ปีการศึกษา 2559
คู่มือการจัดสอบ ประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๗ กลุ่มเป้าหมาย ประเมินนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ –๔ ทุกคน ทุกสังกัด โดย ภาคเรียนที่ 1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ 2 ประเมินนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๑ – ๔  

2 จุดประสงค์ของการประเมิน
การประเมินการอ่านออกเขียนได้ ชั้น ป.1 ปีการศึกษา 2559 (ต่อ) จุดประสงค์ของการประเมิน เพื่อตอบโจทย์ของ รัฐบาลและนโยบายเร่งด่วน ปีการศึกษา เด็กที่จบชั้น ป.1 ต้องอ่านออกเขียนได้ เพื่อให้ได้ข้อมูลผลประเมินการอ่านเขียนของนักเรียน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดใน การดำเนินงานพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ เพื่อวิเคราะห์ผลการประเมินเป็นสารสนเทศที่นำไปใช้วางแผน ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 – 4 ได้อย่างเหมาะสม เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของนักเรียนในชั้นที่สูงขึ้นให้มีความ เข้มแข็งและยั่งยืน

3 การประเมินการอ่านออกเขียนได้ ชั้น ป.1 ปีการศึกษา 2559 (ต่อ)
คู่มือการจัดสอบ ประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๗ กำหนดการสอบ (สอบพร้อมกันทั่วประเทศ) ภาคเรียนที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 วันที่ 28 กันยายน 2559 ภาคเรียนที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 4 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 ตารางสอบ 08.30 – น. พักกลางวัน 13.00 – น. 13.30 – น. ฉบับที่ 1 อ่านออกเสียง (ภาคปฏิบัติ) ฉบับที่ 2 อ่านรู้เรื่อง (แบบทดสอบ) ฉบับที่ 3 การเขียน

4 กรอบโครงสร้างแบบทดสอบอ่านออกเขียนได้ ป.1 ภาคเรียนที่ 1
สมรรถนะ องค์ ประกอบ จำนวนคำ/ จำนวนข้อ รูปแบบ การประเมิน คะแนนเต็ม เกณฑ์การให้คะแนน อ่านออก คำ ประโยค ข้อความ 10 คำ 3 ประโยค (12 คำ) 1 ข้อความ (20 คำ 5 ประโยค) ปฏิบัติจริง 10 15 25 1 : 1 1 : 1 / 1 : 1 อ่านรู้เรื่อง 6 ประโยค 4 ข้อความ 4 คำถาม จับคู่ จับคู่/เลือกตอบ เลือกตอบ 12 8 1 : 2 เขียนได้ 5 ประโยค 5 ข้อความ เขียน (ตามคำบอก) เขียนประโยคจากคำที่กำหนด เขียนอิสระ(เขียนบรรยายภาพ) 5 2 : 1

5 กรอบโครงสร้างแบบทดสอบอ่านออกเขียนได้ ป.1 ภาคเรียนที่ 2
สมรรถนะ  องค์ ประกอบ จำนวนคำ/ จำนวนข้อ รูปแบบ การประเมิน คะนนเต็ม เกณฑ์การให้คะแนน อ่านออก คำ ประโยค ข้อความ 20 คำ 6 ประโยค (36 คำ) 1 ข้อความ (40 คำ 8 ประโยค) ปฏิบัติจริง 10 12 18 2 : 1 1 : 1 /6 : 1 1 : 1/4 : 1  อ่านรู้เรื่อง 10 คำ 5 กลุ่มคำ  6 ประโยค 6 คำถาม 4 ข้อความ 4 คำถาม จับคู่ เลือกตอบ 8 2 : 1/1 : 1 1 : 2 เขียนได้ 5 ประโยค 5 ข้อความ เขียนตามคำบอก เขียนประโยค จากคำที่กำหนด เขียนอิสระ บรรยายภาพ

6 กรอบโครงสร้างแบบทดสอบอ่านออกเขียนได้ ป. 2
สมรรถนะ องค์ ประกอบ จำนวนคำ/ จำนวนข้อ รูปแบบ การประเมิน คะแนนเต็ม เกณฑ์การให้คะแนน อ่านออก คำ ประโยค ข้อความ 20 คำ 7 ประโยค / 56 คำ 1 ข้อความ /40 คำ ปฏิบัติจริง 10 14 16 2:1 1:1/8:1 1:6/4:1 อ่านรู้เรื่อง 15 คำ 7 ประโยค 8 ข้อความ จับคู่ (15 ข้อ) เลือกตอบ (7 ข้อ) เลือกตอบ(8 ข้อ) 15 7 8 1:1 เขียนได้ 5 ประโยค เขียนอิสระ 1 เรื่อง เขียนตามคำบอก เขียนแต่งประโยค เขียนอิสระ(เขียนเรื่องจากภาพ) 1:2 1:10

7 กรอบโครงสร้างแบบทดสอบอ่านออกเขียนได้ ป. 3
สมรรถนะ องค์ ประกอบ จำนวนคำ/ จำนวนข้อ รูปแบบ การประเมิน คะแนนเต็ม เกณฑ์การให้คะแนน อ่านออก คำ ประโยค ข้อความ 20 คำ 8 ประโยค 32 คำ 1 ข้อความ 35 คำ ปฏิบัติจริง 10 16 14 2:1 1:1/4:1 1:7/5:1 อ่านรู้เรื่อง 10 คำ 10 ประโยค 5 ข้อความ จับคู่/เลือกตอบ เลือกตอบ(10 ข้อ) 1:1 เขียนได้ คำ ประโยค 5 ประโยค 1 เรื่อง เขียนตามคำบอก เขียนแต่งประโยค เขียนอิสระ (เขียนเรื่องจากภาพ) 1:2 1:10

8 กรอบโครงสร้างแบบทดสอบอ่านออกเขียนได้ ป. 4
สมรรถนะ องค์ ประกอบ จำนวนคำ/ จำนวนข้อ รูปแบบ การประเมิน คะแนนเต็ม เกณฑ์การให้คะแนน อ่านออก คำ ประโยค ข้อความ 20 คำ 4 ประโยค /24 คำ 1 ข้อความ /30 คำ ปฏิบัติจริง 5 12 13 4:1 1:1/3:1 1:7/5:1    อ่านรู้เรื่อง 5 คำ/5 ข้อ 5 ประโยค 10 ข้อความ จับคู่ /เลือกตอบ เลือกตอบ(5 ข้อ) เลือกตอบ(10 ข้อ) 10 1:1 1:2 เขียนได้ คำ ประโยค 20 คำ/5 ประโยค เรียงความ 1 ข้อความ ย่อความ 1 เรื่อง เขียนตามคำบอก เขียนแต่งประโยค เขียนเรียงความ เขียนย่อความ 2:1 1:10

9 การใช้ข้อสอบอ่านออกเขียนได้ ปีการศึกษา 2558
การใช้ข้อสอบอ่านออกเขียนได้ ปีการศึกษา 2558 ที่ผ่านมา คู่มือการจัดสอบ ประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๗ ปีการศึกษา สพฐ. ส่งข้อสอบให้เพื่อให้ใช้ในการประเมิน ส่งในรูปแบบ PDF และให้เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการแบบเดียวกับการจัดสอบแบบทดสอบมาตรฐาน พบว่า หลายเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการที่เป็นมาตรฐาน จัดพิมพ์ข้อสอบ โดยเขตพื้นที่ แต่มีบางเขต ส่งข้อสอบพร้องเฉลย ส่งขึ้นเว็บ *** การดำเนินการจัดส่งข้อมูลไม่มีการตรวจสอบความถูกต้อง ข้อมูลมีความผิดพลาดมาก โรงเรียนเดียวกันมีรหัสโรงเรียนเท่าจำนวนนักเรียน ตามข้อมูลที่ส่งมาบางโรงเรียนมีเด็กอ่านได้เกือบร้อยละ 100 แต่เมื่อ สพฐ.ไปทดลองสอบเด็กพบว่ามีอ่านไม่ออก มาก ***

10 แนวการดำเนินการประเมินการอ่านออกเขียนได้
ปีการศึกษา 2559 คู่มือการจัดสอบ ประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๗ การเตรียมการก่อนการสอบ 1. การจัดห้องสอบ ให้จัดห้องสอบตามปกติของการจัดสอบปลายภาคเรียนของโรงเรียน 2. แต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงานชุดต่างๆ ตามความจำเป็น เช่น (กรรมการรับ – ส่งแบบทดสอบ คณะกรรมการกำกับการสอบ ห้องสอบละ ๒ คน สลับกรรมการอย่างน้อย ๑ คน จากต่างโรงเรียน (สำหรับแบบทดสอบฉบับที่ ๑ การอ่านออกเสียง ให้พิจารณาแต่งตั้งกรรมการให้เหมาะสมกับจำนวนนักเรียนเพื่อให้สอบเสร็จภายในครึ่งวัน กรรมการตรวจกระดาษคำตอบเขียนตอบ กรรมการบันทึกข้อมูลผลการประเมิน ฯลฯ)

11 การเตรียมการก่อนการสอบ (ต่อ)
3. จัดทำสำเนาแบบทดสอบและเอกสารประกอบ สพฐ. ส่งให้ก่อนสอบ 1 สัปดาห์ เขตพื้นที่การศึกษาต้องดำเนินการจัดเตรียมทำสำเนาข้อสอบสำหรับดำเนินการสอบ ดังนี้ แบบทดสอบฉบับที่ ๑ การอ่านออกเสียง แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ แบบทดสอบสำหรับนักเรียนให้สำเนา ๑ ชุด ต่อ ๑ ห้องสอบ แบบทดสอบสำหรับกรรมการให้คะแนน ให้จัดทำสำเนาแบบทดสอบให้พอดีกับจำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ แบบทดสอบฉบับที่ ๒ การอ่านรู้เรื่อง ให้จัดทำสำเนาแบบทดสอบให้พอดีกับจำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ แบบทดสอบฉบับที่ ๓ การเขียนแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ แบบทดสอบสำหรับนักเรียน ให้สำเนาพอดีกับจำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ แบบทดสอบสำหรับกรรมการ ให้สำเนา ๑ ชุด ต่อ ๑ ห้องสอบ แบบกรอกคะแนนนักเรียนให้จัดทำสำเนา ๑ ชุด ต่อ ๑ ห้องสอบ

12 ๔. ในการเก็บรักษาแบบทดสอบ หลังจากจัดพิมพ์หรือสำเนาแบบทดสอบแล้ว ให้บรรจุแบบทดสอบลงซองตามห้องสอบปิดผนึกให้มิดชิดเก็บรักษาไว้ในลักษณะเอกสารลับทางราชการ และส่งมอบให้สนามสอบก่อนสอบ 1 วัน การดำเนินการสอบ กรรมการดำเนินการสอบรับแบบทดสอบก่อนการสอบไม่เกิน ๓๐ นาที และให้ศึกษาและทำความเข้าใจวิธีการสอบและเกณฑ์การให้คะแนนการอ่านออกเสียงร่วมกัน กรรมการดำเนินการสอบเปิดซองแบบทดสอบ และตรวจสอบจำนวนแบบทดสอบในแต่ละซองให้ครบตามจำนวนนักเรียนในแต่ละห้องสอบและให้ครบทั้ง ๓ ฉบับ โดยตรวจนับก่อนการสอบในแต่ละวิชา

13 แนวทางการดำเนินการสอบการอ่านออกเขียนได้
แบบทดสอบฉบับที่ 1 การอ่านออกเสียง ให้นักเรียนสอบอ่านออกเสียงเป็นรายบุคคล โดยให้นักเรียนอ่านทีละ 1 คน กรรมการเขียนชื่อ สกุล โรงเรียน ห้องที่ เลขที่ ของนักเรียน ลงในแบบทดสอบสำหรับกรรมการบันทึกคะแนน กรรมการแจกบทอ่านสำหรับนักเรียนให้นักเรียน พร้อมทั้งอธิบายคำชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจ ก่อนลงมืออ่านพร้อมกับจับเวลา (คนละไม่เกิน 10 นาที ) กรรมการใส่เครื่องหมาย  ในช่องคำที่นักเรียนอ่านถูก และใส่เครื่องหมาย × ในช่องคำที่นักเรียนอ่านผิด เมื่อหมดเวลาแล้ว นักเรียนยังอ่านไม่เสร็จ ให้นักเรียนหยุดอ่านทันที กรรมการดำเนินการสอบตรวจสอบความถูกต้องของคำที่นักเรียนอ่านทันที แล้วกรอกข้อมูลลงแบบบันทึกคะแนนอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน ตามเกณฑ์การประเมินที่กำหนด ให้นักเรียนคนถัดไปเข้ามาสอบอ่านต่อไป

14 แนวทางการดำเนินการสอบการอ่านออกเขียนได้ (ต่อ)
แบบทดสอบฉบับที่ 2 การอ่านรู้เรื่อง กรรมการแจกแบบทดสอบให้นักเรียนทุกคน และให้นักเรียนเขียนข้อมูลส่วนบุคคล (ชื่อ สกุล โรงเรียน ห้องที่ เลขที่ ลงในแบบทดสอบ กรรมการอ่านคำชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจวิธีการทำข้อสอบในแต่ละตอนก่อนลงมือสอบ (เฉพาะชั้นประถมศึกษาปีที่ 1) สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 – 4 ให้นักเรียนอ่านคำชี้แจงเอง เมื่อนักเรียนเข้าใจวิธีการทำข้อสอบแล้ว ให้นักเรียนลงมือทำในแบบทดสอบ กรรมการจับเวลา กรรมการบอกเวลา 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อเวลาสอบผ่านไปแล้วครึ่งหนึ่งของเวลาสอบ ครั้งที่ 2 เมื่อเหลือเวลาสอบ 5 นาทีสุดท้าย เมื่อหมดเวลา ให้นักเรียนวางแบบทดสอบไว้บนโต๊ะ กรรมการเก็บรวบรวมแบบทดสอบเรียงตามลำดับเลขที่สอบ แล้วนำบรรจุใส่ซองและนำส่งกรรมการตรวจให้คะแนนต่อไป

15 แนวทางการดำเนินการสอบการอ่านออกเขียนได้ (ต่อ)
แบบทดสอบฉบับที่ ๓ การเขียน กรรมการแจกแบบทดสอบให้นักเรียนทุกคน และให้นักเรียนเขียนข้อมูลส่วนบุคคล (ชื่อ สกุล โรงเรียนห้องที่ เลขที่) ลงในแบบทดสอบ กรรมการอ่านคำชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจวิธีการทำข้อสอบในแต่ละตอนก่อนลงมือสอบ เริ่มลงมือสอบ ตอนที่ 1 การเขียนตามคำบอก ให้กรรมการอ่านคำที่กำหนดไว้ในแบบทดสอบ ให้นักเรียนเขียนพร้อมกัน โดยแต่ละคำให้กรรมการอ่านซ้ำ 3 ครั้ง โดยให้มีระยะห่างของการอ่าน วินาทีต่อครั้ง ให้เวลานักเรียนเขียนแต่ละคำ ไม่เกินคำละ 1 นาที เมื่อสอบตอนที่ 1 เสร็จแล้ว ให้นักเรียนลงมือสอบตอนที่ 2 และตอนที่ 3 เริ่มจับเวลาสอบ กรรมการบอกเวลา 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อเวลาสอบผ่านไปแล้วครึ่งหนึ่งของเวลาสอบ ครั้งที่ 2 เมื่อเหลือเวลาสอบ 5 นาทีสุดท้าย เมื่อหมดเวลา ให้นักเรียนวางแบบทดสอบบนโต๊ะ กรรมการเก็บรวบรวมแบบทดสอบเรียงตามลำดับเลขที่สอบ แล้วนำบรรจุใส่ซองและนำส่งกรรมการตรวจให้คะแนนต่อไป

16 การดำเนินการหลังการสอบ
กรรมการรวบรวมแบบทดสอบนำส่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อตรวจให้คะแนนต่อไป กรรมการตรวจให้คะแนน นำแบบทดสอบฉบับที่ ๒ และ ฉบับที่ ๓ มาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ การให้คะแนน และกรอกคะแนนที่ได้ลงแบบบันทึกคะแนนอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน เขตพื้นที่การศึกษาบันทึกคะแนนตามแบบบันทึกคะแนนการอ่านออกเขียนได้ลงในไฟล์ excel พร้อมตรวจสอบข้อมูลส่งสำนักทดสอบทางการศึกษาทางระบบ EPCC (ข้อความส่วนตัว) กำหนดส่งข้อมูล ภาคเรียนที่ 1 ภายในวันที่ 2 ตุลาคม ภาคเรียนที่ 2 ภายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 สำนักทดสอบทางการศึกษาจะดำเนินวิเคราะห์ และส่งผลการประเมินให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ภายในวันที่ ๒๘ ตุลาคม ภาคเรียนที่ ๒ ภายในวันที่ 7 เมษายน 2560

17 ข้อควรระวังในการกรอกข้อมูล
นักเรียนที่ขาดสอบไม่ต้องกรอกข้อมูล กรณีนักเรียนทำได้ 0 คะแนนในบางตอน ให้กรอกเลข 0 เท่านั้น ห้ามกรอกเครื่องหมายอื่นหรือเว้นว่างไว้ การให้คะแนนนักเรียนให้ยึดตามเกณฑ์ในคู่มือเท่านั้น ห้ามให้คะแนนนอกเหนือจากที่คู่มือกำหนดเช่น บางข้อคะแนนเต็ม 2 และมีเกณฑ์ให้คะแนนเป็น 0, 1, 2 แต่มีบางท่านให้คะแนน 1.5 ซึ่งไม่มีในเกณฑ์ที่กำหนด ถ้าเกิดกรณีดังกล่าวส่วนกลางจะถือว่าข้อมูลเกิดความคลาดเคลื่อน และตัด ข้อมูลดังกล่าวออกจากการประมวลผลภาพรวม หลังจากกรอกข้อมูลคะแนนสอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ดำเนินการตรวจทานการกรอกคะแนนอีกครั้ง


ดาวน์โหลด ppt การประเมินการอ่านออกเขียนได้ ชั้น ป.1 ปีการศึกษา 2559

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google