วิเคราะห์โรฮิงยา สาระฯหน้าที่พลเมือง
1. การวิเคราะห์ความสำคัญ จำแนกลักษณะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้ทฤษฏีของ Bloom มี 3 ด้าน ดังนี้ ชาวโรฮิงญา เป็นชาติพันธุ์มุสลิมอาศัยอยู่ที่ดินแดนที่เรียกว่า “รัฐอาระกัน”หรือ “รัฐยะไข่” ที่เป็นรัฐชายแดนทางตะวันตกของประเทศเมียนมาร์ ติดกับชายแดนบังคลาเทศ มีลักษณะร่างกาย ภาษาที่ใช้ใกล้เคียงกับภาษาเบงกาลี ภาษาที่ถูกใช้ในบังคลาเทศ 1. การวิเคราะห์ความสำคัญ ด้านหน้าที่พลเมือง
1. การวิเคราะห์ความสำคัญด้านหน้าที่พลเมือง (ต่อ) พม่าไม่ยอมรับว่าโรฮิงญาเป็นพลเมือง และในปี พ.ศ. 2491 กองทหารพม่าออกปฏิบัติการกวาดล้างพวกนี้ หมู่บ้านหลายร้อยแห่ง “ถูกเผาและคนหลายพันคนถูกฆ่า ทำให้มีผู้ลี้ภัยจำนวนมหาศาลอพยพหนีไปยังบริเวณที่เป็นปากีสถานในขณะนั้น” ตั้งแต่แรกเริ่มเป็นต้นมา ประเทศพม่ามองว่าพวกโรฮิงญาไม่มีความจงรักภักดี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะชาวโรฮิงญาบางคนต้องการสร้างรัฐอิสระขึ้นทางอะรากันตอน เหนือ และผนวกเข้ากับปากีสถาน
1. การวิเคราะห์ความสำคัญด้านหน้าที่พลเมือง (ต่อ) และ นี้เป็นจุดเริ่มต้นของการที่เจ้าหน้าที่ทางการพม่าพยายามจะข่มขวัญและขับไล่ พวกโรฮิงญาในครั้งต่อ ๆ มาอีก ทำให้ผู้ลี้ภัยหลั่งไหลเข้าสู่ปากีสถานและต่อด้วยบังคลาเทศระลอกแล้วระลอกเล่า
1. วิเคราะห์ความสำคัญด้านหน้าที่พลเมือง (ต่อ) ในมุมมองของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ชาวโรฮิงยาส์เป็นประชาชนที่ "ลี้ภัยอย่างผิดกฎหมาย" และอพยพมากจากประเทศบังกลาเทศในสมัยที่พม่าตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของจักรวรรดินิยมอังกฤษ ดังนั้นด้วยทัศนคติเช่นนี้ของรัฐบาลเผด็จการพม่าทำให้ประชาชนชาวโรฮิงยาส์ไม่ได้รับการรวมเข้าไปในกลุ่มชนพื้นเมือง (Indigenous groups) ในรัฐธรรมนูญพม่า ส่งผลให้ไม่ได้รับสัญชาติพม่า
1. วิเคราะห์ความสำคัญด้านหน้าที่พลเมือง (ต่อ) ในตอนแรกเจ้าหน้าที่ทางการที่นั่นต้อนรับพวกโรฮิงญาในฐานะเป็นโมฮาเจียร์ (ผู้ลี้ภัยอิสลาม) และตามรายงานข่าวทางการได้วางแผนจะสร้างหมู่บ้านตัวอย่างที่เหมือนไร่นา สหกรณ์แบบรัสเซียให้กับคนพวกนี้ แผนการนี้ไม่ได้กลายเป็นรูปธรรมขึ้นมา และต่อมาอีกไม่นานโรฮิงญาก็ได้รับการปฏิบัติเหมือนเป็นคนต่างด้าว
2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 มีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญากว่า 250,000 คน อาศัยอยู่ในบังคลาเทศในค่ายที่สหประชาชาติดูแลอยู่ในแถบบริเวณชายแดน บางคนกลับไปพม่าในเวลาต่อมา บางคนหลอมรวมเข้ากับสังคมบังคลาเทศ และประมาณ 20,000 คน ยังอาศัยอยู่ในค่ายใกล้กับเท็คนาฟ อย่างน้อยอีก 100,000 คน อาศัยอยู่นอกค่าย และทางการบังคลาเทศพิจารณาว่าเป็นผู้ลี้ภัยที่ผิดกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2542 ชาวโรฮิงญากลุ่มนี้อย่างน้อย 1,700 คน ติดคุกในบังคลาเทศด้วยข้อหาข้ามพรมแดนอย่างผิดกฎหมาย
2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (ต่อ) 2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (ต่อ) ผู้ลี้ภัยโรฮิงญาที่ยากจนไร้สัญชาติจำนวนมากจึงอพยพไปสู่เมืองใหญ่ในบังคลาเทศ มาเลเซีย ปากีสถาน และเดินทางต่อไป ซึ่งประเทศแถบอ่าวเปอร์เชียที่ซึ่งเชื่อกันว่ามีคนกลุ่มนี้กว่า 200,000 คนอาศัยอยู่ในช่วงทศวรรษ 1990 ชาวโรฮิงญาบางคนได้รับความช่วยเหลือจากองค์การอิสลามต่าง ๆ และเข้าร่วมการต่อสู้ในอัฟกานิสถานโดยต้องทำหน้าที่เสี่ยงภัยที่สุดในสมรภูมิรบ กวาดล้างกับระเบิดและแบกสัมภาระ ดังนั้นการที่ประเทศพม่าไม่ไว้ใจชุมชนชายแดนจึงนำไปสู่การพลัดถิ่นข้ามชาติ อย่างรวดเร็วและทำให้ปัจจุบันมีชุมชนอินเตอร์เน็ต และแหล่งข่าวของโรฮิงญาเองเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
3.การวิเคราะห์หลักการ ชาวโรฮิงยาส่วนใหญ่ยังคงถูกปฏิเสธสิทธิในสัญชาติภายใต้กฎหมายพลเมืองพม่าปี 2525 พวกเขาอาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ห์ ตอนเหนือ ซึ่งยังคงต้องขออนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมเพื่อออกจากหมู่บ้าน เรื่องดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการค้าขายและแสวงหางานทำ นอกจากนั้นพวกเขามักจะถูกบังคับให้เป็นแรงงานอีกด้วย
3.การวิเคราะห์หลักการ (ต่อ) ชาวมุสลิมโรฮิงยายังถูกจำกัดสิทธิพลเมืองอีกหลายประการ ได้แก่ ไม่มีอิสระในการเดินทาง การบังคับเก็บภาษี การยึดที่ดินและบังคับย้ายถิ่น การขัดขวางการเข้าถึงด้านสาธารณสุข ที่พักอาศัยและอาหารไม่เพียงพอ การบังคับใช้แรงงาน รวมทั้งมีข้อจำกัดในการสมรส ซึ่งส่งผลให้ชาวมุสลิมโรฮิงยาหลายพันคนอพยพไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้สถานการณ์ด้านมนุษยธรรมในภูมิภาคซับซ้อน
เปิดใจชาวโรฮิงญา กับชีวิตที่มากกว่าคำว่า..โหดร้าย "ไม่มีสภาพความเป็นคน หรือเป็นมนุษย์เลย พวกเราอยู่อย่างไร้อนาคต โดนกดดันจากทหารพม่าตลอดเวลา ไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหน โดยเฉพาะการเดินทางข้ามเขตที่ไม่สามารถทำได้เลย จะเดินทางไปมาได้ก็เฉพาะภายในจังหวัดที่ตั้งถิ่นฐานอยู่เท่านั้น เพราะหากออกนอกพื้นที่ไม่เฉพาะทหารพม่าที่คอยจับจ้อง ชาวพม่าก็ไม่ชอบขี้หน้าพวกเรา และบ่อยครั้งที่พวกเราโดนทำร้ายร่างกายโดยชาวพม่า หรือโดนดูถูกเหยียดหยาม ถ่มน้ำลายใส่ก็มี"
เปิดใจชาวโรฮิงญา กับชีวิตที่มากกว่าคำว่า..โหดร้าย (ต่อ) ฮามิด ดูซัน ชายหนุ่มอาระกัน วัย 19 ปี กล่าวว่า พวกเรายากจนมาก ซ้ำร้ายโดนกลั่นแกล้งตลอดเวลา ออกไปสมัครงานที่ไหนก็ไม่ได้ เนื่องจากเป็นชนกลุ่มน้อย ทั้งยังเป็นชนกลุ่มที่รัฐบาลพม่ารังเกียจมากที่สุด ถึงขั้นไม่ยอมรับว่ามีพวกเราอยู่ในประเทศ พวกเราไม่มีสิทธิอะไรเลย ทั้งที่ดิน การศึกษา การรักษาพยาบาล
เปิดใจชาวโรฮิงญา กับชีวิตที่มากกว่าคำว่า..โหดร้าย (ต่อ) ฮามิด เล่าอีกว่า ชาวโรฮิงญา แม้ว่าจะมีประวัติศาสตร์ที่ไม่ดีกับชาวพม่าสมัยรัฐบาลอังกฤษเป็นเจ้าอาณานิคมในย่านนี้ แต่หลังจากอังกฤษออกไปแล้ว พวกเราถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่ไม่เคยต่อสู้ หรือเรียกร้องอะไรจากรัฐบาลทหารพม่าเลย นอกจากเรียกร้องขอ สิทธิความเป็นคน ให้ทัดเทียมกับชาวพม่าทั่วไปแค่นั้นพวกเราก็พอใจแล้ว
บรรณานุกรม http://www.tacdb-burmese.org/web/index.php?option=com_content&view=article&id=61%3A2010-11-16-05-48-43&catid=36%3A2010-10-21-08-06-37&Itemid=58 http://hilight.kapook.com/view/33433