งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การดำเนินงานกำจัดโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่ เขตสุขภาพที่ 10

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การดำเนินงานกำจัดโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่ เขตสุขภาพที่ 10"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การดำเนินงานกำจัดโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่ เขตสุขภาพที่ 10
กลุ่มศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี 6 กุมภาพันธ์ 2560 นายชาตรี ราษีบุษย์ หัวหน้า ศตม.ที่ 10 อุบลราชธานี

2 การจัดแบ่งพื้นที่ในระดับหมู่บ้าน แบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้
การจัดแบ่งพื้นที่ในระดับหมู่บ้าน แบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้ - พื้นที่แพร่เชื้อตลอดปี (A1) หมายถึง หมู่บ้านที่มีการแพร่เชื้อโรคไข้มาลาเรียที่พบผู้ป่วยติดเชื้อในพื้นที่ตั้งแต่ 6 เดือนต่อปีขึ้นไป - พื้นที่แพร่เชื้อบางฤดูกาล (A2) หมายถึง หมู่บ้านที่มีการแพร่เชื้อโรคไข้มาลาเรียที่พบผู้ป่วยติดเชื้อในพื้นที่น้อยกว่า 6 เดือนต่อปี - พื้นที่ไม่มีการแพร่เชื้อ-เสี่ยงสูง (B1) หมายถึง หมู่บ้านไม่มีการติดเชื้อในพื้นที่อย่างน้อย 3 ปีและสำรวจพบยุงพาหะตัวเต็มวัยหรือลูกน้ำหรือมีสภาพภูมิประเทศเหมาะสมต่อการแพร่พันธุ์ของยุงพาหะหลัก หรือยุงพาหะรอง - พื้นที่ไม่มีการแพร่เชื้อ-เสี่ยงต่ำ (B2) หมายถึง หมู่บ้านไม่มีการติดเชื้อในพื้นที่อย่างน้อย 3 ปีและไม่พบยุงพาหะหรือมีสภาพภูมิประเทศไม่เหมาะสมต่อการแพร่พันธุ์ของยุงพาหะหลักหรือยุงพาหะรองโดยพื้นที่นี้จะนับรวมพื้นที่ที่มีการผสมผสานงานเข้าสู่ระบบสาธารณสุขทั่วไปแล้ว

3 - C1 อำเภอที่มีการแพร่เชื้อสูงและอุบัติการณ์โรค ( API )
การจัดแบ่งพื้นที่ในระดับอำเภอ/เขต แบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้ - C1 อำเภอที่มีการแพร่เชื้อสูงและอุบัติการณ์โรค ( API ) มากกว่า 1 ต่อประชากรพันคน - C2 อำเภอที่มีการแพร่เชื้อสูงและอุบัติการณ์โรค ( API ) น้อยกว่า 1 ต่อประชากรพันคน - E1 อำเภอที่ไม่มีการแพร่เชื้อ อย่างน้อย 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี - E2 อำเภอ/เขตที่ไม่มีการแพร่เชื้ออย่างน้อย 3 ปี

4 พื้นที่ A1,A2 จังหวัดศรีสะเกษปีงบประมาณ 2560
อำเภอ จำนวนหมู่บ้าน A1 จำนวนหมู่บ้าน A2 ขุนหาญ 3 4 กันทรลักษ์ 7 ภูสิงห์ 1 8 ขุขันธ์ รวม 20

5 ขยายความการสอบสวน A = Indigenous case หมายถึง ติดเชื้อในหมู่บ้าน (หรือกลุ่มบ้าน)ที่ผู้ป่วยอาศัย B = Imported case หมายถึงการที่ผู้ป่วยไปติดเชื้อมาลาเรียมาจากพื้นที่อื่น ซึ่งแบ่งเป็น 5 ประเภท Bx หมายถึง ติดเชื้อจากหมู่บ้านอื่น แต่อยู่ภายในพื้นที่ของตำบลเดียวกัน By หมายถึง ติดเชื้อจากพื้นที่ของตำบลอื่น แต่อยู่ภายในอำเภอเดียวกันกับที่ผู้ป่วยอาศัย Bz หมายถึง ติดเชื้อจากพื้นที่ของอำเภออื่น แต่อยู่ภายในจังหวัดเดียวกันกับที่ผู้ป่วยอาศัย Bo หมายถึง ติดเชื้อจากพื้นที่ของจังหวัดอื่น Bf หมายถึง ติดเชื้อจากต่างประเทศ

6 กิจกรรมในการเร่งรัดกำจัดการแพร่เชื้อมาลาเรียในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10
- ร่วมกับสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลงพัฒนาระบบและฐานข้อมูลเฝ้าระวังโรค กีฏวิทยา ข้อมูลเฝ้าระวังดื้อยา เวชภัณฑ์ยา เวชภัณฑ์มิใช่ยา สารเคมี การควบคุมการตรวจวินิจฉัยและการรักษา - พัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งภายในและภายนอก กระทรวงสาธารณสุข - แจ้งเตือนสอบประวัติผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียและตอบโต้ให้รวดเร็วและครบถ้วน ( ) - จัดแบ่งพื้นที่สำหรับปฏิบัติงานมาลาเรีย - วางแผนการปฏิบัติงานกำจัดการแพร่เชื้อมาลาเรียในพื้นที่

7 กิจกรรมในการเร่งรัดกำจัดการแพร่เชื้อมาลาเรียในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10
- ให้บริการตรวจวินิจฉัยด้วยกล้องจุลทรรศน์ ชุดตรวจ RDTและรักษาโรคไข้มาลาเรียในมาลาเรียคลินิก รพ รพสต MP BMP - จัดหาและสนับสนุนเวชภัณฑ์ยาและวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจวินิจฉัย สำหรับการรักษาหายขาด - เร่งรัดการรับประทานยารักษามาลาเรียให้ครบ โดยใช้วิธีการรับประทานยาต่อหน้า (DOT ) ทุกราย เชื้อ Pf รับประทานยาครบ 3 วัน เชื้อ Pv รับประทานยาครบ 14 วัน - เร่งรัดการติดตามผลการรักษา ( FU ) และผลข้างเคียงของยาในผู้ป่วยทุกราย เชื้อ Pf ติดตามในวันที่ และ เชื้อ Pv ติดตามในวันที่ และ 90

8 กิจกรรมในการเร่งรัดกำจัดการแพร่เชื้อมาลาเรียในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10
- สนับสนุนการซ่อมบำรุงและควบคุมคุณภาพกล้องจุลทรรศน์ในสถานบริการตรวจและรักษามาลาเรีย - ทดสอบความชำนาญในการตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรียด้วยกล้องจุลทรรศน์ - เร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยที่แสดงอาการและไม่แสดงอาการ การค้นหาเชิงรุก ( ACD ) ประกอบด้วย การค้นหาวิธีพิเศษ ( SCD ) มาลาเรียคลินิกเคลื่อนที่ ( MMC ) การเจาะเลือดหมู่ ( MBS ) การเจาะเลือดขณะไปสอนสวนผู้ป่วย ( CIS ) การค้นหาผู้ป่วยเชิงรับ ( PCD ) ประกอบด้วย มาลาเรียคลินิก ( MC ) โรงพยาบาล ( Hospital ) รพสต ( HPH ) มาลาเรียชุมชน ( MP ) มาลาเรียคลินิกชายแดน ( BMP )

9 กิจกรรมในการเร่งรัดกำจัดการแพร่เชื้อมาลาเรียในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10
- ควบคุมยุงพาหะในพื้นที่แพร่เชื้อมาลาเรีย ส่งเสริมการใช้มุ้ง พ่นสารเคมีชนิดมีฤทธิ์ตกค้างในกลุ่มบ้าน/กระท่อม พ่นสารเคมีฟุ้งกระจายในพื้นที่ระบาด ค่าอพยพ แคมป์พักชั่วคราว ชุมชนหนาแน่น ที่ไม่สามารถพ่น สารเคมีชนิดมีฤทิธิ์ตกค้างได้ - รณรงค์การป้องกันตนเองและมาตรการอื่นๆ เช่น ใช้ยาทา นอนกางมุ้ง ปล่อยปลา ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงก้นปล่อง ถากถาง ในพื้นที่ๆมีการแพร่เชื้อ - เฝ้าระวังทางกีฏวิทยาและประเมินผลการควบคุมยุงพาหะ สำรวจชนิดของยุงพาหะ ความหนาแน่น การติดเชื้อในยุง ประเมินการสร้างความต้านทานของยุงพาหะต่อสารเคมี ประเมินประสิทธิภาพของสารเคมีที่ใช้พ่นใช้ชุบมุ้ง

10 กิจกรรมในการเร่งรัดกำจัดการแพร่เชื้อมาลาเรียในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10
- ส่งเสริมการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานสำหรับ หน่วยงานเครือข่าย เช่น อปท - แต่งตั้งคณะทำงานกำจัดโรคไข้มาลาเรีย ประกอบด้วย หน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่ - ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันควบคุมและ เฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรีย - ติดตามและประเมินการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

11 ปีงบประมาณ อำเภอ 2560 บึงบูรณ์ เบญจลักษ์ โพธิ์ศรีสุวรรณ 2561
เป้าหมายในการกำจัดโรคไข้มาลาเรีย ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ อำเภอ 2560 บึงบูรณ์ เบญจลักษ์ โพธิ์ศรีสุวรรณ 2561 เมืองจันทร์ ห้วยทับทัน ศิลาลาด กันทรารมย์ 2562 ศรีรัตนะ วังหิน ยางชุมน้อย น้ำเกลี้ยง 2563 อุทุมพรพิสัย พยุห์ ปรางค์กู่ เมือง 2564 โนนคูณ ราษีไศล ไพรบึง ขุขันธ์ 2565 ภูสิงห์ 2566 กันทรลักษ์ 2567 ขุนหาญ

12 สายการบริหารและสายการรายงานข้อมูล

13 การแจ้งเตือนสอบประวัติผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียและตอบโต้ ให้รวดเร็วและครบถ้วน ( 1-3-7 )
1 หมายถึง ประยุกต์ใช้ระบบ Technology พัฒนาระบบรายงานภายใน 24 ชั่งโมง - เจ้าหน้าที่สาธารณสุขภาคสนามใช้เทคโนโลยีการรายงานข้อมูลผู้ป่วยผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต โดยใช้ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ภายใน24 ชั่วโมงหลังพบผู้ป่วย

14 การแจ้งเตือนสอบประวัติผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียและตอบโต้ ให้รวดเร็วและครบถ้วน ( 1-3-7 )
3 หมายถึง สอบประวัติผู้ป่วยและการตัดสินชนิดของการติดเชื้อมาลาเรียในผู้ป่วยมาลาเรียทุกรายภายใน 3 วัน - เจ้าหน้าที่สาธารณสุขภาคสนามดำเนินการสอบประวัติผู้ป่วยและการตัดสินชนิดของการติดเชื้อผู้ป่วยมาลาเรีย( รว 3 )ทุกรายภายใน 3 วัน

15 การแจ้งเตือนสอบประวัติผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียและตอบโต้ ให้รวดเร็วและครบถ้วน ( 1-3-7 )
7 หมายถึง ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม กรณีมีรายงานผู้ป่วยในหมู่บ้าน ภายใน 7 วัน - นคม หน่วยเฝ้าระวังกำจัดมาลาเรีย มาลาเรียคลินิกชุมชน มาลาเรียคลินิกชายแดน ดำเนินการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม หากมีผู้ป่วยเกิดขึ้นในหมู่บ้าน โดยการเจาะเลือดประชากรในหมู่บ้าน หรือกลุ่มบ้าน จำนวน 50 ราย หรืออย่างน้อย 10 หลังคาเรือน

16 การแจ้งเตือนสอบประวัติผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียและตอบโต้ ให้รวดเร็วและครบถ้วน ( 1-3-7 )
อนาคต ต่อไปทุกหมู่บ้านที่มีผู้ป่วยมาลาเรียเกิดขึ้นในเขตพื้นที่หมู่บ้าน ต้องมีการพ่นสารเคมี ชุบมุ้ง สำรวจทางกีฏวิทยาในการสอบสวนแหล่งแพร่เชื้อ พร้อมให้สุขศึกษา

17 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt การดำเนินงานกำจัดโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่ เขตสุขภาพที่ 10

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google