บทที่ 1 บทนำ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญา วิธิการทางปรัชญา การตั้งคำถามทางปรัชญา คุณค่าของปรัชญา
1.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญา 1.1 ความหมายทาง “ ปรัชญา” มาจากคำอังกฤษว่า Philosophy philosophy มาจากรากคำ2คำคือ philia+sophia philia= Love sophia= wisdom รวมกัน แปลว่า รักในความรู้ เพลโต(plato)= ศาสตร์ที่มุ่งจะรู้สิ่งที่นิรันดรและธรรมชาติและเป็นสารัตถะของสิ่งทั้งหลาย อริสโตเติ้ล(Aristotle)= ศาสตรืสืบค้นถึงธรรมชาติของสิ่งที่มีอยู่จริงตลอดจนลักษณะของสิ่งนั้นโดยอาศัยธรรมชาติของมันเอง
ค้านท์ (Kant) = ศาสตร์และการวิจารณ์ความรู้ (Every indioidual has a philosophy, even though he or she may not be aware of it)
2. ประเภทของปรัชญา แบ่งเป็น2 ประเภทคือ 2. ประเภทของปรัชญา แบ่งเป็น2 ประเภทคือ ปรัชญาบริสุทธิ์ (Pure Philosophy) และ ปรัชญาประยุกต์ (Applied philosophy) ปรัชญาบริสุทธิ์ (Pure Philosophy แบ่งออกเป็น5สาขา อภิปรัชญา(Metaphysics)- ว่าด้วยเรื่องความเป็นจริงหรือความจริงแท้ (reality) ของโลกและจักรวาลตลอดจนธรรมชาติของมนุษย์ ญาณวิทยา(Epistemology)-ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของความรู้ ความเป็นไปได้ของความรู้ สิ่งที่ทำให้ความรู้เกิดขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้
3. จริยศาสตร์ Ethics - ว่าด้วยค่าทางจริยธรรม ความดีสูงสุดสำหรับมนุษย์ และเกณฑ์ตัดสินจริยธรรม 4. สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) - ว่าด้วยความงาม สิ่งงาม ศิลปะ โยงถึงปรัชญาความงาม (Philosophy of beauty) 5.ตรรกศาสตร์(Logic) - การใช้เหตุผล การอ้างเหตุผล การตรวจสอบ การอ้างเหตุผลว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ และข้อบกพร่องของการอ้างเหตุผล 6 ปรัชญาประยุกต์ (Applied philosophy) - นำปรัชญาบริสุทธิ์ไปประยุกต์เข้ากับเนื้อหาของศาสตร์ต่างๆ เช่นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ปรัชญาการเมือง ปรัชญาการศึกษา ปรัชญาสังคม ปรัชญาศาสนา ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น
2.วิธีการทางปรัชญา ตั้งข้อสงสัย(Doubt) – เรื่องราวของชีวิต โลก จักรวาล ว่ามีความเป็นมาอย่างไร และจะเป็นอย่างไรในอนาคต กำหนดปัญหาและอธิบายปัญหาให้ชัดเจน(Formula a ploblem,Explain the problem) – เช่น ถ้าสงสัยในสิ่งต่างๆตั้งคำถามว่าทำไม จึงมีสิ่งต่างๆในโลกนี้ และอธิบายว่าทำไมจึงสงสัยในเรื่องนั้นๆ เสนอวิธีการแก้ปัญหา (Offer a solution) – เริ่มด้วยวิธีการหักล้างความเชื่อเดิม อธิบาย สังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ และมีการคาดคะเน ก่อร่างเป็นกระบวนการตรวจสอบทางปัญญา (Intelecfual inguiry) เช่น เฮเกล (G.W.F.Hegel)
การอนุมาน(Inference) ข้อสรุป(Conclusion) 4. การอ้างเหตุผล(Argument) หมายถึง การอ้างหลักฐานเพื่อยืนยันว่าข้อสรุปเป็นจริง ประกอบด้วย ข้ออ้าง(Premises) การอนุมาน(Inference) ข้อสรุป(Conclusion) 5. เปิดโอกาสให้ผู้อื่นวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอและการอ้างเหตุผลของตน ต้องไม่ยึดถือว่าความคิดตนเอง เป็นสิ่งโต้แย้งไม่ได้ ต้องพร้อมยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง
3. การตั้งคำถามทางปรัชญา การตั้งคำถามง่ายกว่าการตอบมาก ควรฝึกฝนคำถามเชิงปรัชญาเกิดจาก “ความสงสัย” มนุษย์ช่างสงสัยอยู่แล้ว สาเหตุที่ทำให้เราไม่ค่อยสงสัยคือความเคยชิน เราเคยชินกับโลก และปรากฏการณ์ต่างๆจนดูเหมือนเป็นสิ่งธรรมดา และเรายังถูกทำให้ยอมรับสิ่งต่างๆอย่างง่ายๆ โดยปราศจากความสงสัย
4 คุณค่าทางปรัชญา ทำให้เรามองความจริงที่เป็นไปได้หลายอย่าง เป็นผู้รักในความรู้และการกระตุ้นให้เราแสวงหาความรู้ที่แปลกใหม่ และทันสมัยอยู่เสมอ ช่วยขยายขอบเขตความรู้และเหตุผลของเราออกไปจากกรอบที่สังคมและประเพณีกำหนด(อิสรภาพทางความคิดตามธรรมชาติ) พบกับความรู้ที่เป็นนามธรรม เข้าถึงความรู้ที่เป็นสากล ที่ไม่ขึ้นอยู่กับบุคคล สถานที่ และกาลเวลา วึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอารยะธรรมทางปัญญาของมนุษย์ เกิดความรักในความรู้ รักเสรีภาพทั้งในความคิดและการกระทำ
ภาพยนตร์ เจ้าหญิงผมยาวและจอมโจรตัวแสบ https://siam-movie.com/tangled-rapunzel-hd-soundtrack-ซับไทย/