ข้อมูล ตัวแปร และค่าคงที่ของภาษา VB
ข้อมูล ตัวแปร และค่าคงที่ของภาษา VB ข้อมูล (Data) ตัวแปร (Variable) ค่าคงที่ (Constant)
ชนิดข้อมูล (Data Type) ข้อมูลทุกอย่างในคอมพิวเตอร์จะต้องมีประเภทข้อมูล ตัวอย่างข้อมูล เช่น “สมชาย” , 500, 652.23 ชนิดข้อมูลสำหรับ VB มีดังนี้ ข้อมูลแบบตัวเลข ข้อมูลแบบตัวอักษร ข้อมูลแบบบูลีน ข้อมูลแบบวันที่ ข้อมูลแบบวัตถุ
ข้อมูลแบบตัวเลข แบ่งออกเป็น แบบเลขจำนวนเต็ม และแบบเลขจำนวนจริง แบ่งออกเป็น แบบเลขจำนวนเต็ม และแบบเลขจำนวนจริง ข้อมูลแบบเลขจำนวนเต็ม ชนิดข้อมูลได้แก่ integer,long,decimal ข้อมูลแบบเลขจำนวนจริง คือ ข้อมูลที่เป็นได้ทั้งเลขจำนวนเต็ม และเลขทศนิยม ชนิดข้อมูลได้แก่ single,double,decimal
ข้อมูลแบบตัวอักษร แบ่งออกเป็น ตัวอักษร 1 ตัว กับตัวอักษรหลายตัว แบ่งออกเป็น ตัวอักษร 1 ตัว กับตัวอักษรหลายตัว ตัวอักษรหนึ่งตัว ชนิดข้อมูลได้แก่ Char ตัวอักษรหลายตัว ชนิดข้อมูลได้แก่ String
ข้อมูลแบบบูลีน คือ ข้อมูลที่มีค่าเป็นจริง(true) หรือเท็จ(false) ชนิดข้อมูลได้แก่ Boolean ข้อมูลแบบวันที่ คือ ข้อมูลที่มีค่า เดือน วันที่ ปีค.ศ. และเวลา ชนิดข้อมูลได้แก่ Date ข้อมูลแบบวัตถุ คือ ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุต่างๆที่ใช้ในโปรแกรม ชนิดข้อมูลได้แก่ Object
สรุปชนิดข้อมูลที่สำคัญ ค่าของข้อมูล Integer เลขจำนวนเต็ม single เลขจำนวนจริง(จำนวนเต็มและทศนิยม) char ตัวอักษร 1 ตัว String ตัวอักษรหลายตัว boolean จริง หรือ เท็จ date วันที่ object วัตถุ
ตัวแปร (Variable) เมื่อมีข้อมูลแล้ว ก็ต้องมีที่เก็บข้อมูล ตัวแปรคือ “ที่เก็บข้อมูล” เมื่อเราสร้างตัวแปร จะมีการจองพื้นที่ในหน่วยความจำ รูปแบบการประกาศตัวแปร Dim ชื่อตัวแปร As ชนิดข้อมูล เช่น Dim a as Integer Dim b as String Dim c as Double Data Type ชื่อตัวแปร
การใช้ตัวแปร มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ ประกาศตัวแปร กำหนดค่าให้ตัวแปร มีรูปแบบ คือ Dim ชื่อตัวแปร as ชนิดข้อมูล = ค่าของตัวแปร ใช้ตัวแปร
ตัวอย่างการประกาศตัวแปรชนิดตัวเลข Dim Count As Integer ‘ประกาศตัวแปรชื่อ Count เป็น Integer Dim Price As Double ‘ประกาศตัวแปรชื่อ Price เป็น Double Dim Var1, Var2 As Integer ‘ประกาศ 2 ตัวแปรในบรรทัดเดียวกัน Dim Age As Integer = 20 ‘ประกาศตัวแปรพร้อมกำหนดค่า
ตัวอย่างการประกาศตัวแปรชนิดตัวอักษร Dim school As string ‘ประกาศตัวแปรชื่อ school เป็น string Dim grade As char ‘ประกาศตัวแปรชื่อ grade เป็น char Dim name1, name2 As string ‘ประกาศ 2 ตัวแปรในบรรทัดเดียวกัน Dim school As string =“เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ” ‘ประกาศตัวแปรพร้อมกำหนดค่า Dim grade as char = “A”
การกำหนดค่าให้ตัวแปร ทำได้ 2 วิธี คือ ประกาศตัวแปรพร้อมกำหนดค่าให้ตัวแปร เช่น Dim animal as String = “Cat” ประกาศตัวแปรก่อน แล้วค่อยกำหนดค่าให้ตัวแปร เช่น Dim animal as String animal = “Cat”
กฎเกณฑ์การตั้งชื่อตัวแปร เริ่มต้นด้วยอักษรอังกฤษหรือ underscore (_) เท่านั้น ส่วนที่เหลือจะเป็นอักขระใดๆ ก็ได้ ยกเว้นเครื่องหมาย สัญลักษณ์ เว้นวรรค ห้ามตั้งชื่อตัวแปรให้ตรงกับชื่อสงวน(Reserved Words) เช่น คำที่เป็นชนิดข้อมูล (เช่น Integer , char , single) และคำสั่ง (เช่น Dim , text , as , backcolor) ควรตั้งชื่อให้สื่อความหมาย ไม่ควรสร้างตัวแปรหากไม่ใช้ ชื่อทั้งหมดต้องมีความยาวไม่เกิน 1023 ตัวอักษร
ตัวอย่างการตั้งชื่อตัวแปรที่ถูกต้อง A1 exam1_a New_Price Income ตัวอย่างการตั้งชื่อตัวแปรที่ไม่ถูกต้อง 1A ขึ้นต้นด้วยตัวเลขไม่ได้ B 52 เว้นวรรคไม่ได้ Integer ใช้คำสงวน (ชนิดข้อมูล) ไม่ได้ In$come ใช้เครื่องหมายไม่ได้
การใช้กล่องข่าวสาร (MessageBox) MsgBox(ชื่อตัวแปร,0,”ข้อความ”) ชื่อตัวแปร : แสดงค่าของตัวแปร 0 : ให้กล่องข่าวสารแสดงปุ่ม OK “ข้อความ” : ข้อความที่แสดงบนแถบชื่อของกล่องข่าวสาร
ค่าคงที่ (Constant) คือ ค่าที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และเป็นค่าที่ใช้ซ้ำอยู่บ่อยๆ รูปแบบการกำหนดค่าคงที่ มี 2 แบบคือ 1. แบบประกาศค่าคงที่ แล้วค่อยกำหนดเป็นค่าของข้อมูล Dim ชื่อตัวแปร as ชนิดข้อมูล Const ชื่อตัวแปร = ค่าของข้อมูล เช่น Dim pi as single Const pi = 3.14159
2. การประกาศค่าคงที่ พร้อมกำหนดค่าของข้อมูล Const ชื่อตัวแปร As ชนิดข้อมูล = ค่าของข้อมูล เช่น Const pi As Single = 3.14159
การแปลงชนิดข้อมูล การแปลงตัวเลขให้เป็นข้อความ (ใช้ในกรณีที่ต้องการนำค่าตัวเลขมาแสดงเป็นข้อความ) ใช้ฟังก์ชัน Cstr(ค่าตัวเลข หรือตัวแปร) เช่น money = Cstr(123.50) ‘ผลที่ได้คือ money มีค่าเป็น “123.50” Dim my_number As Integer = 70 Dim my_text As String my_text = Cstr(my_number) ‘ผลที่ได้คือ my_text มีค่าเป็น “70”
การแปลงข้อความให้เป็นตัวเลข (ใช้ในกรณีที่ต้องการนำข้อความมาใช้ในการคำนวณ) ใช้ฟังก์ชัน Val(ข้อความ หรือตัวแปร) เช่น my_number = Val(“007”) ‘ผลที่ได้คือ my_number มีค่าเป็น 7 Dim my_text As String = “007” Dim my_number As Integer my_number = Val(my_text) + 3 ‘ผลที่ได้คือ my_number มีค่าเป็น 7+3 = 10 หมายเหตุ ถ้าข้อความเป็น Null คือ ไม่มีตัวอักษร ค่าที่ได้จากการแปลงข้อความเป็นตัวเลข จะเท่ากับ 0
การแปลงตัวเลขทศนิยมเป็นตัวเลขจำนวนเต็ม ถ้าตำแหน่งทศนิยมตั้งแต่ 0.5 จะปัดขึ้น ถ้าต่ำกว่า 0.5 จะปัดลง ใช้ฟังก์ชัน CInt(ตัวเลขทศนิยม หรือตัวแปร) เช่น sum = CInt(11.50) ‘ผลที่ได้ คือ sum มีค่าเป็น 12 Dim GPA As Single = 3.25 Dim grade As Integer grade = CInt(GPA) ‘ผลที่ได้ คือ grade มีค่าเป็น 3
เครื่องหมายในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ความหมาย ตัวอย่าง ผลลัพธ์ ^ ยกกำลัง 3 ^ 2 9 * คูณ 4 * 5 20 / หาร 5 / 2 2.5 \ หารแบบจำนวนเต็ม 5 \ 2 2 Mod หารแบบเอาเศษ 5 mod 2 1 + บวก 12 + 5 17 - ลบ 12 - 5 7
การสร้างโปรแกรมใช้งานคำนวณ ลำดับการคำนวณ จะคำนวณจากซ้ายไปขวา และจะคำนวณในวงเล็บก่อน ตัวอย่าง ประโยคคำสั่งกำหนดค่าด้วยการคำนวณ Sum = 10+20+30 Average = sum/3 area=(3.141 * (r^2)) Tax = money * 0.07
ตัวอย่างการสร้างโปรแกรมคำนวณ โปรแกรมหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยม โดยรับค่า ฐานกับสูง เพื่อหาพื้นที่สามเหลี่ยม Demo_Triangle
งาน ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมเครื่องคิดเลข (10 คะแนน) งาน ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมเครื่องคิดเลข (10 คะแนน) กำหนดให้เครื่องคิดเลขคำนวณตามเครื่องหมายดังรูป โดยให้รับค่าตัวเลข 2 ตัว และเมื่อกดปุ่มเครื่องหมาย จึงจะแสดงผลลัพธ์ Demo_Calculator