ประวัติและวิวัฒนาการ ของวิทยุโทรทัศน์ นารีนารถ ปานบุญ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
พัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร(บูรณาการกระทรวง)
Advertisements

กองก่อสร้างโครงการย่อย กองก่อสร้างโครงการกลาง กองก่อสร้างโครงการใหญ่
ข้อสรุปหลักสูตรการอบรมการผลิต รายการเด็ก TV4Kids.
การคัดเลือกพื้นที่เพื่อการพัฒนาสถานบริการสาธารณสุข ในชายแดนชนบท
นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
อำนาจเจริญ - ว่าง- - ว่าง- - ว่าง - -ว่าง -
ผู้รับผิดชอบ ผลผลิต ฝ่ายบริหารทั่วไป
องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา
ธนาคารออมสิน.
สำนักประสานและติดตามนโยบาย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
Knowledge- Base Systems ระบบสหกรณ์. ที่มาของโครงการ โครงการนี้เกิดจากการรวมกลุ่มของกลุ่มบุคคล เพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อความต้องการและเป้าหมายของ.
คนเป็นทรัพย์สินที่มี ค่ายิ่งของหน่วย อ้างอิง : สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย คน เก่ง คน ดี คน มี ความ สุข เป้าหมายการ พัฒนากำลังพล เพื่อให้ทำงานอย่าง.
แนวทางการบริหารจัดการเขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษโดย สหกรณ์ นายเชิดชัย พรหมแก้ว ผู้อำนวยการกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกร กรมส่งเสริมสหกรณ์ วันที่
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ทิศทางการนำระบบบริหาร จัดการคลังข้อสอบ และการทดสอบมาตรฐานฝีมือ แรงงาน ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์สู่หน่วย ปฏิบัติ โดย วรรณี โกมลกวิน ผู้อำนวยการกลุ่มงานกำหนด.
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสุโขทัย
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
การแพร่กระจายนวัตกรรม Diffusion of Innovation
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ
เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
Strategy Map สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร12
วิทยุโทรทัศน์เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของนักวิทยาศาสตร์ ที่ต้องการให้คนที่อยู่ไกลๆ สามารถมองเห็นภาพเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น.
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
งาน Road Map ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรปี 2560
โดย นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ ผู้อำนวยการส่วนจัดการงบประมาณ
ข่าวประชาสัมพันธ์สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
กลุ่มยุทธศาสตร์ฯ ตัวชี้วัด ของปศุสัตว์อำเภอ รอบที่ ๑/๒๕๖๑ และ รอบที่ ๒/๒๕๖๑ จำนวน ๑๐ ตัวชี้วัด ๑.๑ร้อยละความสำเร็จในการปรับปรุงฐานข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
การขอรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาน ตามมาตรา 26
กลุ่มเกษตรกร.
ข้อเสนอต่อการพัฒนา ระบบการสร้างเสริมสุขภาพ ของประเทศไทย
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ
แผ่นดินไหว.
ปี 2560 ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
SMS News Distribute Service
รายวิชา แหล่งสารสนเทศ การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ อาจารย์ ดร.นฤมล รักษาสุข
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
รายวิชา การบริหารการศึกษา
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
ทิศทางการดำเนินงานลดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD)
แนวทางการแก้ไขปัญหาก๊าซ LPG
ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization คือ องค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ.
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
โครงการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุม โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง.
การจัดองค์กรของรัฐในประเทศไทย ********************
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
“ทิศทางการขับเคลื่อน คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ของสำนักงานคณะกรรมการ
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
กรณีศึกษา : เทคโนโลยีชีวภาพกับสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การขายและการตลาดสำหรับธุรกิจโรงแรมและที่พัก
นาย พิศณุ นิลกลัด.
เครื่องโทรศัพท์ติดต่อภายใน intercommunication
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ประวัติและวิวัฒนาการ ของวิทยุโทรทัศน์ นารีนารถ ปานบุญ

ความหมาย วิทยุโทรทัศน์ ( TELEVISION ) หมายถึง การส่งและรับภาพและเสียงโดยเครื่องส่งและเครื่องรับอิเล็กทรอนิกส์ ออกอากาศด้วยกระแสคลื่นวิทยุที่ใช้พลังไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับที่อยู่ห่างไกล

รายการวิทยุโทรทัศน์ หมายถึง รายการหนึ่งที่สมบูรณ์ในตัวเอง หรือครบถ้วนในตัวเอง หรือหมายถึง รายการที่สมบูรณ์ในตัวเองซึ่งต้องสัมพันธ์กับรายการย่อยอื่นๆที่ได้คัดเลือกนำมาออกในรายการเดียวกัน ซึ่งมีรายการเบ็ดเตล็ดต่างๆเข้ามาประกอบด้วย เพื่อนำออกแพร่ภาพทางวิทยุโทรทัศน์ (ศัพทานุกรมสื่อสารมวลชน. 2520 : ท.248 )

ความสำคัญของวิทยุโทรทัศน์ 1. ความสำคัญในด้านการเสริมสร้างสติปัญญา มีอยู่ 3 ลักษณะ - การให้ข้อเท็จจริงแก่ประชาชน - การให้การศึกษา - การแสดงความคิดเห็น 2. ความสำคัญในด้านการพัฒนาประเทศ โดยใช้เป็นสื่อเพื่อสอนหรือ เสริมสร้างความรู้โดยตรง 3. ความสำคัญทางด้านการสื่อสารของโลก โดยใช้เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้ความ บันเทิง และวัฒนธรรมประเพณี

อิทธิพลของรายการวิทยุโทรทัศน์ อิทธิพลของสื่อ หมายถึงพลังความสามารถของสื่อที่จะเข้าถึง ประชาชน และช่วงเวลาที่ประชาชนมีโอกาสสัมผัสสื่อ

คุณสมบัติของสื่อวิทยุโทรทัศน์ที่ทรงอิทธิพลสูงอาจจำแนกได้ดังนี้ 1. วิทยุโทรทัศน์ได้รับความนิยมมากกว่าสื่ออื่น ๆ เพราะสามารถได้ยินเสียงและเห็นภาพในขณะเดียวกัน 2. สื่อวิทยุโทรทัศน์สามารถเข้าถึงผู้ชมได้ทุกหนทุกแห่งพอๆกับวิทยุกระจายเสียง

3. เทคโนโลยีทางวิทยุโทรทัศน์นำหน้ามาก เช่น เครื่องรับโทรทัศน์ที่มี รูปร่าง แบนๆ ความพยายามที่จะให้เครื่องรับโทรทัศน์รุ่นใหม่ ๆ สามารถรับแหล่งของ สื่อได้มากประเภทขึ้น 4. วิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อบันเทิง และสาระเหมาะสำหรับทุกครอบครัว

ข้อดีของวิทยุโทรทัศน์ 1. วิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อที่ให้ทั้งภาพ และ เสียง ซึ่งมีการเคลื่อนไหว จึงดึงดูดความสนใจของผู้ดูได้มาก 2. วิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อมวลชน ซึ่งสามารถแพร่ภาพไปได้ไกลในระยะเวลาอันรวดเร็ว 3. วิทยุโทรทัศน์สามารถสร้างแรงจูงใจ สร้างทัศนคติ และเสนอปัญหาเรื่อง ต่าง ๆ ได้ดี จึงมีพลังในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคม ได้ดี

ข้อจำกัดของวิทยุโทรทัศน์ 1. ต้องใช้ทุนในการจัดทำรายการสูงมาก และต้องอาศัยผู้มีความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้าน 2. อุปกรณ์ที่ใช้มีราคาสูง และต้องอาศัยการบำรุงรักษาทางเทคนิคที่ดี 3. เครื่องรับโทรทัศน์ต้องใช้ไฟฟ้า ดังนั้น ผู้รับต้องอยู่ในเขตที่มีไฟฟ้าใช้

4. ผู้ชมไม่สามารถให้ปฎิกิริยาย้อนกลับ ได้ทันที 5. ผู้ชมจำเป็นต้องปรับตัวเข้าหารายการที่จะรับ ผู้จัดการไม่สามารถปรับตัวเข้าหาผู้ชมได้ทันที 6.ในการจัดรายการเพื่อการศึกษาแล้ว จะมีกลุ่มผู้ดูเฉพาะซึ่งมีปริมาณไม่มากนัก

กำเนิดและวิวัฒนาการ วิทยุโทรทัศน์เกิดจากความคิด สร้างสรรค์ของนักวิทยาศาสตร์ที่ ต้องการให้คนที่อยู่ไกลๆสามารถ มองเห็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและ สามารถรับรู้ข่าวสารในเหตุการณ์ต่างๆ ว่าขณะนี้มีเหตุการณ์อะไร เกิดขึ้นอยู่ที่ ใดบ้าง

แนวคิดจากวิทยุกระจายเสียงทำให้นักวิทยาศาสตร์ยุคนั้นก็มีความคิดที่จะนำภาพออกอากาศบ้าง จนกระทั่งปี ค.ศ.1884 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อปอล นิพโกว์ (Paul Nipkow) ก็ได้ค้นพบวิธีที่ จะทำให้ภาพเป็นเส้นเป็นทางได้สำเร็จแต่ก็เป็นเพียงความสามารถที่แปลงภาพเป็นคลื่นส่งทางอากาศ เท่านั้น แต่ไม่สามารถแปลงกลับมาเป็นภาพได้

สุดท้ายนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษเลือดสก็อต นามจอห์นโลยี่ แบร์ด (John Logic Baird) ก็ได้นำ ทฤษฎีของปอล นิพโกว์ มาค้นคว้าต่อแล้วเขาก็สามารถจับเอาภาพที่เป็นเส้นเป็นทางส่งเข้าเครื่อง ไดโค โนสโคฟ ของ ดร. วี. เค. ซลอร์อิกิ่น ได้สำเร็จภาพก็ปรากฏขึ้นบนจอและได้มีการประกาศให้ นักวิทยาศาสตร์พร้อมบุคคลชั้นนำในประเทศอังกฤษได้รับทราบเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1926

ในปี ค. ศ. 1929 ( พ. ศ. 2472) บี บี ซี (British Broadcasting Corporation) ก็ได้นำสิ่งประดิษฐ์ ของจอห์น โลยี่ แบร์ด ไปทดลองออกอากาศให้ชาวอังกฤษได้ชม เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค. ศ. 1929 ปรากฏว่าได้รับการตอบรับจากผู้ชมเป็นอย่างดี ดังนั้นทาง บี บี ซี ซึ่งได้ซื้อลิขสิทธิ์การแพร่ภาพจาก จอห์น โลยี่ แบร์ด ดำเนินการแพร่ภาพโทรทัศน์ออกสู่สายตาประชาชน

พิธีเปิดการแพร่ภาพเริ่มขึ้นที่พระราชวังอเล็กซานดร้าในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค. ศ. 1936 ( พ. ศ. 2479) ซึ่งในเวลานั้นที่ประเทศอังกฤษมีเครื่องรับภาพเพียง 100 เครื่องเท่านั้น นับได้ว่า บี บี ซี เป็นสถานีโทรทัศน์สถานีแรกของโลก และเป็นครั้งแรกของการแพร่ภาพมีความกว้างเพียง 10 นิ้ว ยาว 12 นิ้ว ราคาเครื่องรับคิดเป็นเงินไทยประมาณ 6,000 บาท ในสมัยนั้นก็นับได้ว่ามีราคาสูง มาก

จากนั้นอีก 2 ปี เครื่องรับภาพหรือที่เราเรียกว่า “ โทรทัศน์” ใน ประเทศอังกฤษก็มีถึง 3,000 เครื่องทั่วประเทศ ประเทศต่อไปที่มีการแพร่ ภาพโทรทัศน์ก็คือ ประเทศสหรัฐอเมริกาที่เริ่มแพร่ภาพเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 30 เมษายน ค. ศ. 1939 โดย N B C (National Broadcasting Company) ครั้ง แรกเป็นการถ่ายทอดคำปราศรัยของประธานาธิบดี แฟรงคลิน ดี. รูส เวลท์ ที่เมืองนิวยอร์ค ครั้งแรกเครื่องรับภาพมีราคา 600 ดอลลาร์

โดยในปี ค. ศ. 1928 ( พ. ศ. 2471) เจมส์ แอล เบียร์ดได้ประสบผลสำเร็จ ในการใช้แว่น กรองสี (Color Filter) มาแยกสัญญาณสี และต่อมา เฮอร์เบิร์ต อีฟส์ (Herbert Ives) ได้ใช้โฟโต เซลล์ (Photo cell) เป็นตัวแยกสีและบริษัท ซี บี เอส ได้ประสบความสำเร็จในการแยกสีด้วยระบบ อิเล็กทรอนิกส์

คณะกรรมการว่าด้วยระบบวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Television System Committee : NTSC) ในปี ค. ศ. 1953 ยอมรับระบบของบริษัท เอ็น บี ซี (NBC) และมีการส่งวิทยุ โทรทัศน์สีเป็นครั้งแรก ซึ่งส่งสัญญาณในระบบ 525 เส้น เรียกว่าระบบ NTSC ระบบโทรทัศน์สีของเยอรมันคือระบบ PAL (Phase Alternation by Line) ส่งสัญญาณในระบบ 625 เส้น ระบบ SECAM (SEquential Couleur A Memoire) เป็นของประเทศฝรั่งเศส ที่ส่งสัญญาณในระบบ 819 เส้น ในปี ค. ศ. 1952 ( พ. ศ. 2495)

คณะกรรมการว่าด้วยการสื่อสารแห่งสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดความถี่ในการส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็น 2 ระบบ 1. ระบบ VHF (Very High Frequency) เป็นระบบที่มีย่านความถี่ในการออกอากาศระหว่าง 30-300 เมกะเฮิรตซ์ มี 13 ช่อง คือช่อง 1-13 2. ระบบ UHF (Ultra High Frequency) เป็นระบบที่มีย่านความถี่ในการออกอากาศระหว่าง 300-3,000 เมกะเฮิรตซ์ มี 70 ช่อง คือ 14-83

ประวัติและวิวัฒนาการของวิทยุโทรทัศน์ในประเทศไทย แบ่งเป็น 6 ยุค คือ 2490 ยุคบุกเบิกวิทยุโทรทัศน์ไทย (พ.ศ.2491-2499) 2. วิทยุโทรทัศน์กับเครื่องมือทางการเมือง (พ.ศ.2500-2509) 3. ยุคเติบโตและการก้าวสู่วิทยุโทรทัศน์ระบบสี (พ.ศ.2510-2519) 4. การพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (พ.ศ.2520-2529) 5. ยุคทองของวิทยุโทรทัศน์ไทย (พ.ศ.2530-2539) 6. การแข่งขันทางธุรกิจภายใต้เศรษฐกิจยุคฟองสบู่แตก

1. 2490 ยุคบุกเบิกวิทยุโทรทัศน์ไทย (พ.ศ.2491-2499) คำว่า “ วิทยุโทรทัศน์ ” แต่เดิมผู้คนโดยทั่วไปจะรู้จักในชื่อ " วิทยุโทรภาพ " เป็นคำซึ่งใช้กันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2474 โดยพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินทรงบัญญัติขึ้น "บริษัทไทยโทรทัศน์จำกัด“เป็นบริษัทแห่งแรกที่ดำเนินกิจการโทรทัสน์ มี พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจสมัยนั้นเป็นประธานกรรมการ มีพลโท ม.ล.ขาบ กุญชร อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เป็นรองประธานกรรมการและนายประสงค์ หงสนันท์ เป็นกรรมการผู้จัดการ ดำเนินการตั้งเป็นบริษัททำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2498 ซึ่งเป็นวันชาติไทย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำพิธีเปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหมขึ้น(ที่ตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน) เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทยและเป็นชาติแรกในเอเชียอาคเนย์ที่มีโทรทัศน์ออกอากาศให้ประชาชนชม ออกอากาศในระบบขาวดำ รายการในระยะแรกเป็นรายเพื่อความบันเทิง ความนิยมของประชาชนที่มีต่อรายการโทรทัศน์แพร่ขยายอย่างรวดเร็ว ทางราชการทหารจึงให้ตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่สนามเป้า ถนนพหลโยธิน เปิดทำการเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2501 ซึ่งตรงกับวันกองทัพบก

3. ยุคเติบโตและการก้าวสู่วิทยุโทรทัศน์ระบบสี (พ.ศ.2510-2519) วันที่ 27 พฤศจิกายน 2510 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มแพร่ภาพออกอากาศในระบบสีเป็นสถานีแรกในประเทศไทย ภายใต้การดำเนินการของบริษัทกรุงเทพฯและวิทยุ จำกัด ซึ่งได้รับสัมปทานจากกองทัพบก โดยออกอากาศการถ่ายทอดการประกวดนางสาวไทยเป็นรายการแรก 26 มีนาคม 2513 สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการในระบบสี ถือเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่ 2 ของประเทศไทยที่ออกอากาศในระบบสี ภายใต้การดำเนินการของ บริษัทบางกอก เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด  สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4(ระบบขาวดำ)เปลี่ยนมาเป็น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง9 สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7(ระบบขาวดำ)เปลี่ยนมาเป็น สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง5

4. การพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (พ.ศ.2520-2529) เมื่อเกิดโทรทัศน์สีแล้ว ทุกช่องก็ต่างต้องแข่งขันกันอย่างเต็มที่ โดยสถานีโทรทัศน์ทุกช่องแข่งกันปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพระบบสีของตัวเอง ด้านบริษัทไทยโทรทัศน์นั้นถูกยุบด้วยเหตุผลว่าขาดทุนและก่อตั้งขึ้นเป็นองค์การสื่อสารมวลชนมาบริหารงานสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 แทน

5. ยุคทองของวิทยุโทรทัศน์ไทย (พ.ศ.2530-2539) ทศวรรษนี้ถือเป็นยุคทองของกิจการวิทยุโทรทัศน์ในประเทศไทยเนื่องจากเป็นทศวรรษที่ ประเทศไทยมีครบทั้งวิทยุโทรทัศน์ประเภทรับชมได้โดยไม่เสียค่าสมาชิกหรือฟรีทีวี (Free TV) และวิทยุโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิก (Subscription TV) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2531 มีการทดลองออกอากาศสถานีโทรทัศน์สีแห่งประเทศไทยช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ขึ้น ซึ่งเป็นสถานีที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลของประเทศญี่ปุ่น มีการก่อตั้งโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกขึ้น คือในปี พ.ศ.2532 สถานีโทรทัศน์ ไอบีซี เคเบิ้ล ทีวี เริ่มดำเนินกิจการธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกรายแรกของประเทศ ภายใต้การดำเนินงานโดย บริษัท อินเตอร์เนชันแนล บอร์ดคาสติ้ง คอร์เปอเรชั่น จำกัด พ.ศ.2537 สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เริ่มดำเนินการออกอากาศสถานีโทรทัศน์แบบฟรีทีวี ภายใต้ปรัชญาทีวีเสรี โดยมีบริษัทสยามเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด

6. การแข่งขันทางธุรกิจภายใต้เศรษฐกิจยุคฟองสบู่แตก สภาพเศรษฐกิจในช่วงพ.ศ.2540 ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อกิจการโทรทัศน์ในประเทศไทย โดยสถานีโทรทัศน์ต่างต้องปรับตัว และบริหารสถานีให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง วันที่ 10 พฤศจิกายน 2540 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 ได้จัดตั้งโครงการ  Thai TV Global Network ขึ้นเพื่อเผยแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ไทยผ่านดาวเทียมไปยังประเทศต่างทั่วโลก วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541 ยูทีวี และ ไอบีซี ตัดสินใจรวมกิจการ กันเนื่องจากไม่สามารถแบกรับภาระทางการเงิน โดยได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อเป็น บริษัท ยูไนเต็ด บอร์ดคาสติ้ง คอร์ปเปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และออกอากาศโทรทัศน์ประเภทบอกรับเป็นสมาชิก ภายใต้ชื่อ ยูบีซี (ต่อมาในปี 2549 ยูบีซีได้เปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหญ่ และเปลี่ยนชื่อมาเป็น ทรูวิชั่นส์) เดือนมิถุนายน 2548 องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยได้เริ่มทำการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และภายหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็น บริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) โดบสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อสมท. ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ทีวี

การจัดองค์กรวิทยุโทรทัศน์ในประเทศไทย   การเป็นเจ้าของกิจการวิทยุโทรทัศน์ในประเทศไทย มี 4 ลักษณะ 1.รัฐเป็นเจ้าของและเป็นผู้บริหารกิจการ โดยอนุญาตให้เอกชนเข้ามาดำเนินการด้านรายการและมีรายได้จากการบริหารโฆษณาธุรกิจ 2.เป็นรัฐวิสาหกิจ จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารแก่ประชาชนและแสวงรายได้เข้ารัฐ 3.รัฐทำสัญญาให้สัมปทานให้เอกชนเช่า 4.รัฐเป็นเจ้าของและเป็นผู้บริหารกิจการ

โครงสร้างระบบการควบคุมวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ การควบคุมวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ จำแนกได้ 2 ระดับคือ 1.ระดับโลก หรือ ระหว่างประเทศ 2.ระดับประเทศ การควบคุมวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในประเทศไทย การควบคุมของรัฐ แบ่งเป็น 3 ประเภท 1.ควบคุมโดยสถาบันที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อควบคุมงานด้านนี้โดยเฉพาะ ได้แก่ กกช. 2.ควบคุมทางด้านกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้กับสื่อมวลชนประเภทนี้โดยตรง ได้แก่ พ.ร.บ. วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ 3.ควบคุมกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ / พ.ร.บ. ลิขสิทธ์