การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วิชา 01999213 Technology Environmental and Life การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วีระพันธุ์ สรีดอกจันทร์ (Ph.D.) ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน
ความหมายและวิธีการ การอนุรักษ์ หมายถึง การใช้อย่างสมเหตุสมผลเพื่อการมีใช้ของทรัพยากรนั้น ๆ ตลอดไป ไม่ได้หมายถึงการบริโภค(ใช้) อย่างเดียวเท่านั้น แต่หมายถึงการรักษา ฟื้นฟู หรือการพัฒนาสิ่งนั้น ๆ ให้ดีขึ้น อาจสรุปได้ว่าการอนุรักษ์คือการใช้ตามความต้องการอย่างเหมาะสม และยั่งยืน ซึ่งแตกต่างจากคำว่า สงวน หรือป้องกัน (ซึ่งเป็นความหมายในช่วงแรก ๆ ของคำว่าอนุรักษ์)
เพราะเนื่องมาจากในยุคแรก ๆ ทรัพยากรธรรมชาติยังมีเกินความต้องการของมนุษย์ (มนุษย์จึงสามารถนำทรัพยากรเหล่านั้นมา พัฒนาเทคโนโลยี และเพิ่มจำนวนประชากร ได้อย่างเต็มที่) แต่ปัจจุบันทรัพยากรหลายอย่าง ถูกใช้และทำลายให้เสื่อมลง อย่างรวดเร็วและรุนแรง (จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ และสนองตอบต่อจำนวนประชากรมนุษย์ที่เพิ่มขึ้น) ทำให้เกิดความสำคัญของการอนุรักษ์แบบสมัยใหม่ขึ้น (การใช้ตามความต้องการ หรือ ตามความจำเป็น อย่างเหมาะสมและยั่งยืน)
หลักการอนุรักษ์ (ขึ้นกับประเภทของทรัพยากร) หลักการอนุรักษ์ (ขึ้นกับประเภทของทรัพยากร) การใช้แบบยั่งยืน ต้องมีแผนการใช้แบบยั่งยืน (sustainable utilization) การใช้ต้องพิจารณาถึงสมบัติเฉพาะตัวของทรัพยากร เทคโนโลยีที่จะใช้ ช่วงเวลา และการบำบัดของเสีย (ใช้ได้กับทรัพยากรแทบทุกประเภทยกเว้น ทรัพยากรที่ใช้แล้วทดแทนใหม่ไม่ได้) การฟื้นฟูสิ่งเสื่อมโทรม เกิดจากการใช้ทรัพยากรไม่เหมาะสม มากหรือบ่อยจนเกินไป ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาและแรงงานอย่างมากในการฟื้นฟูให้เหมือนเดิม
3. การสงวนของหายาก ซึ่งอาจทำให้ของสิ่งนั้นหมด หายไป หรือสูญพันธุ์ได้ถ้าไม่สงวนหรือเก็บรักษาไว้ เช่นพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ แต่เมือมีผลผลิตมากพอแล้วก็สามารถนำมาใช้ได้ หลักการอนุรักษ์ทั้ง 3 หลักมีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน กล่าวคือ ต้องใช้ร่วมกัน ตั้งแต่การใช้ทรัพยากรต้องวิเคราะห์ให้ดีว่าจะมีทรัพยากรใช้ได้ตลอดไปหรือไม่ แล้วส่งผลให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมหรือไม่ และควรมีสำรองไว้เมื่อมีเหตุจำเป็นเกินขึ้น
ประเภทของทรัพยากร Renewable resources (ทรัพยากรที่สร้างทดแทนใหม่ได้ หรือมีวัฏจักรหมุนเวียนตามธรรมชาติ) เช่น น้ำ ลม แสงแดด ชีวมวล (น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์ เอทานอล กระแสไฟฟ้า) ความร้อนจากใต้ผิวโลก Non renewable resources (ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมด ไม่สามารถสร้างทดแทนได้) เช่น fossil fuel (น้ำมัน ถ่านหิน)และ nuclear fuel (พลูโตเมียม ยูเรเนียม)
วิธีการอนุรักษ์ การใช้ มีหลายรูปแบบทั้งการบริโภคโดยตรง ได้ยิน/ได้ฟัง ได้สัมผัส การให้ความสะดวก และการบริการ รวมถึงการใช้พลังงาน (โทรฯ มือถือ – โปรโมชั่นต่าง ๆ, กล่องข้าว) การเก็บกัก หมายถึงการรวบรวมทรัพยากรที่มีแนวโน้มว่าจะขาดแคลนในบางช่วงของเวลา (ข้าวสาร, ผลไม้, การถนอมอาหาร) การรักษา/ซ่อมแซม (โทรฯ มือถือ, เสื้อผ้า)
วิธีการอนุรักษ์ (ต่อ) การฟื้นฟู หมายถึงการดำเนินการใด ๆ ที่ทำให้ทรัพยากรหรือสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมกลับมาเป็นปกติ ใช้ได้เหมือนเดิม การฟื้นฟูต้องอาศัยเทคโนโลยีช่วยเสมอ (แม่น้ำเจ้าพระยา) การพัฒนา หมายถึงการทำให้สิ่งที่เป็นอยู่ หรือมีอยู่ มีการเพิ่มประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้น หรือมีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมได้น้อยลง (เช่น battery – non toxic metal or rechargeable)
วิธีการอนุรักษ์ (ต่อ) 6. การป้องกัน เป็นการป้องกันไม่ให้สิ่งที่เป็นโทษหรืออันตรายลุกลามมากยิ่งขึ้น (ภัยธรรมชาติ, อุบัติเหตุ) 7. การสงวน เป็นการรักษา ป้องกัน อาจจะกำหนดเป็นช่วงเวลา หรือช่วงสถานที่ก็ได้ (สัตว์ พื้นที่) 8. การแบ่งเขต (พื้นที่) เพื่อสะดวกต่อการจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) หมายถึงความสามารถของชุมชน ในการผลิตสินค้าและบริการได้โดยพึ่งพาเฉพาะปัจจัยที่มีอยู่ในชุมชนนั้น ๆ (ไม่ต้องพึ่งพาทรัพยากรจากภายนอกที่เราไม่มี เช่น biofuel (ethanol และ palm oil gasohol และ biodiesel) เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคลคือ ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน เป็นอยู่ตามฐานะ ไม่หลงไปตามกระแสของวัตถุนิยม
นโยบายของรัฐ กับการดำเนินชีวิต (แทรก ตัวอย่าง) นโยบายของรัฐ กับการดำเนินชีวิต (แทรก ตัวอย่าง) รัฐบาลอเมริกา ออกนโยบาย คนอเมริกันทุกคนมีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของที่พักอาศัยของตนเอง (1995) ด้วยสาเหตุที่ว่า เพิ่มคุณภาพชีวิต และลดรายจ่าย (ไม่ต้องเสียค่าเช่า) เป็นการเพิ่มงาน และรายได้ให้กับคนในประเทศ บ้านเป็นสินทรัพย์ ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามเวลา เป็นหลักทรัพย์ที่มั่นคง ปัจจุบันผ่านมา 4 ปีแล้ว สหรัฐอเมริกายังแก้ปัญหาวิกฤต subprime ไม่สำเร็จ
รัฐบาลไทย มีนโยบาย คนไทยทุกคนมีสิทธิเข้าถึงรถยนต์ ด้วยสาเหตุที่ว่า รัฐบาลไทย มีนโยบาย คนไทยทุกคนมีสิทธิเข้าถึงรถยนต์ ด้วยสาเหตุที่ว่า .... เพิ่มคุณภาพชีวิต ไม่ต้องใช้รถสาธารณะ (มั๊ง!?) แต่ผลที่เกิดขึ้นจริงจากนโยบาย เพิ่มรายจ่ายประจำวัน (ค่าน้ำมัน ประเทศไทยทำนา ขายข้าวทั้งปี เพื่อซื้อน้ำมันมาใช้ได้แค่ 3 เดือน) (รัฐบาล) ก็ยังสนับสนุนให้ใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นไปอีก ประเทศไทยไม่มีรถยนต์เป็นของตนเอง (เป็นแค่กรรมกร ที่ยอมใช้ทรัพยากรตัวเอง ผลิตรถให้ประเทศอื่น) ที่ไทยได้คือค่าแรง กับค่าทรัพยากรราคาถูก รถยนต์เป็นสิ่งของที่เสื่อมตามกาลเวลา (ถึงไม่ใช้ ราคาก็ตก) คุณเริ่มเห็นอนาคตแล้วหรือยัง จงตั้งสติในการดำเนินชีวิตให้ดี !!
หลักการพึ่งตนเอง ด้านจิตใจ เป็นที่พึ่งแห่งตน และเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ด้านสังคม เกื้อกูลกัน ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ฉลาดใช้ เพิ่มมูลค่า บนความยั่งยืน ด้านเทคโนโลยี ใช้ให้สอดคล้องกับความต้องการ และสภาพแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ มุ่งลดรายจ่ายก่อนเป็นสำคัญ
นัยสำคัญของแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยึดหลัก “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่ม (ทั้งชาวบ้าน และองค์กร) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีความเมตตา เอื้ออาทร (ไม่มุ่งเน้นถึงแต่ผลประโยชน์เพียงอย่างเดียว)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี ยกตัวอย่าง ธุรกิจโรงแรมที่จังหวัดกระบี่
End of Part I
หลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (environmental conservation) ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ (อาศัยความรู้) จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ที่จะให้ผลต่อมนุษย์ในทุกแง่ทุกมุม (ประโยชน์และโทษที่มีต่อมนุษย์) รักษาและใช้อย่างระมัดระวัง รวมทั้งต้องใช้ให้เป็นประโยชน์และการทำให้อยู่ในสภาพที่เพิ่มพูนทั้งด้านกายภาพ และเศรษฐกิจเท่าที่จะทำได้รวมทั้งต้องตระหนักเสมอว่า การใช้ทรัพยากรที่มากเกินไปจะเป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม
ใช้ในอัตราที่ไม่มากไปกว่าอัตราการเพิ่ม หรือเท่ากับอัตราการเพิ่มเป็นอย่างน้อย (เช่นอัตราการเกิน อัตราการตาย) ประเมินจำนวนประชากรอยู่ตลอดเวลา (ทำให้ทราบความต้องการของทรัพยากรได้ - เพื่อความคุ้มค่าสูงสุด) พัฒนาปรับปรุงวิธีการใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ให้การศึกษาแก่ประชาชน เพื่อให้เข้าใจถึงความสำคัญในการรักษาความสมดุลตามธรรมชาติ สมดุลระหว่างธรรมชาติกับสิ่งมีชีวิตและตัวมนุษย์เอง ซึ่งอาจเป็นในและนอกระบบโรงเรียน
การจัดการสิ่งแวดล้อมนั้น หลักการอนุรักษ์เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่สำคัญในการให้ได้มาของผลผลิต (yield) ที่ยั่งยืน (sustainability) โดยต้องใช้วิธีการอนุรักษ์มาใช้ในทางปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับวิธีการอนุรักษ์ อย่างไรก็ตามการใช้ทรัพยากร หรือผลผลิตมักจะก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเสมอ (zero waste concept !? แทรกเรื่อง CDM ตอนท้าย) จึงต้องใช้เทคโนโลยีบำบัดให้ได้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่เป็นประโยชน์ต่อไป ดังภาพที่ 3.1
จำให้ดี เป็นแนววิธีบริหารจัดการ ซึ่งสามารถดัดแปลง เพิ่มเติมให้มีความเหมาะสมในแต่ละชุมชนได้ เช่นผ่านทางความร่วมมือจากองค์กรระหว่างประเทศ หรือ CDM project ในพิธีสารเกียวโต
การอนุรักษ์บรรยากาศ มหาสมุทร และระบบนิเวศบก สามในสี่ของผิวโลกคือผืนน้ำ และมีชั้นบรรยากาศปกคลุมทั้งโลก พื้นดินเป็นแหล่งผลิตทรัพยากรสำคัญที่สุดต่อมนุษย์ เช่นป่าไม้ เกษตร ประมง แร่ หิน น้ำจืด ฯลฯ รวมถึงเป็นที่อยู่อาศัยด้วย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์จึงหลีกเลี่ยงของเสียที่เกิดขึ้นไม่ได้ จุดกำเนิดของของเสียส่วนใหญ่ที่มนุษย์สร้างขึ้นจึงเกิดจากผืนดิน และค่อยกระจายไปยังระบบนิเวศอื่น ๆ ดังนั้นถ้าจะทำการควบคุมก็ต้องทำการควบคุมบนผืนดิน
ของเสียในรูปของแข็ง ได้แก่ ขยะมูลฝอย กากสารพิษอันตราย ทรัพยากรบนแผ่นดินสามารถก่อให้เกิดของเสียและมลพิษในรูปแบบของแข็ง ของเหลว ก๊าซ และของเสียทางฟิสิกส์ ของเสียในรูปของแข็ง ได้แก่ ขยะมูลฝอย กากสารพิษอันตราย ในรูปของเหลว ได้แก่ น้ำเสีย คราบน้ำมัน กากไขมัน ในรูปก๊าซ ได้แก่ ฝุ่นละออง ก๊าซพิษ หมอกควัน ไอระเหยสารพิษเช่นปรอท ก๊าซเรือนกระจก CFCs (ฝนกรด โลกร้อน) มลพิษทางฟิสิกส์ เช่น เสียง แสง ความร้อน ความสั่นสะเทือน
ดังนั้นการอนุรักษ์ระบบนิเวศบก (terrestrial ecosystems conservation) จึงเป็นแหล่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งต้องมีแผนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรัดกุม พร้อมกับมีวิธีการนำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม
แหล่งกำเนิดของของเสีย (Source of waste) ถ้าแบ่งตามแหล่งกำเนิด แบ่งได้เป็น 2 ชนิด ใหญ่ ๆ คือ ของเสียที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ จัดเป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในสภาพธรรมชาติโดยที่ไม่มีมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น การระเบิดของภูเขาไฟ ทำให้เกิดของเสียด้านความร้อน (ของเสียชนิด ฟิสิกส์), ขี้เถ้าลอย (ของเสียทางด้าน อากาศ-ก๊าซ), ลาวา ที่ทำลายหน้าดิน (ของเสียชนิดของแข็ง) หรือการเกิดไฟไหม้ป่า (ตามกระบวนการธรรมชาติ), การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก, การเปลี่ยนทิศทางไหลของกระแสน้ำ หรือแม่น้ำ
ของเสียที่กำเนิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ (human activity) ซึ่งแบ่งตามแหล่งกำเนิดได้อีก 3 ประเภทด้วยกัน 2.1 ภาคอุตสาหกรรม (industrial wasted) ซึ่งจะผลิตของเสียที่มีความเข้มข้นสูง เป็นพิษมาก ปัจจุบันต้องมีแผนกสิ่งแวดล้อมเพื่อตรวจสอบขยะเป็นพิษก่อนที่จะทำการทิ้งสู่สิ่งแวดล้อม เช่นพวกโลหะหนักเป็นพิษ สารกำมันตภาพรังสี น้ำกรด-ด่างเข้มข้น น้ำเสีย (ร้อนเกินไป DO ต่ำเกินไป) ควันพิษ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม
2.2 ภาคเกษตรกรรม (agricultural waste) ส่วนใหญ่จะเป็นของเสียจำพวกสารเคมี (ยาฆ่าแมลงและวัชพืช) และปุ๋ย ที่ถูกชะล้างเข้าสู่ระบบแม่น้ำ และน้ำใต้ดิน หรือสะสมอยู่ในดินทำให้ดินเสื่อม เป็นภาคส่วนหลักที่กำเนิดของเสียเข้าสู่สิ่งแวดล้อม (โดยเฉพาะในประเทศที่เป็นเกษตรกรรม เช่นประเทศไทย) เนื่องจากผู้ใช้ไม่มีความรู้ในการใช้ที่ถูกวิธี พื้นที่กว้างทำให้ควบคุมการใช้ และการเก็บกำจัดได้ยาก
2.3 ภาคครัวเรือน (domestic waste) เป็นของเสียทั่วไปที่เกิดจากครัวเรือน มีทั้งของเสียประเภทของแข็ง น้ำ และ ก๊าซ ในเมือง (urban) จะมีปริมาณของเสียที่มากกว่า แต่ถ้ามีการจัดการที่ดีก็จะสามารถนำของเสียเหล่านี้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน ในขณะที่ชนบท (rural) จะมีศักยภาพเพียงพอที่จะฟื้นฟูของเสียตามกลไกย่อยสลายตามธรรมชาติอยู่แล้ว
Kyoto protocol (11 ธ.ค. 2540) ปัจจุบันได้มีประเทศต่าง ๆ กว่า 175 ประเทศได้ลงนามให้สัตยาบันรับรองพิธีสารดังกล่าว และได้เริ่มมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในพิธีสารได้กำหนดให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว 36 ประเทศ ในช่วงระหว่างปี 2551-2555 จะต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกลงอย่างน้อยร้อยละ 5 ของปริมาณก๊าซที่ถูกปล่อยรวมทั้งสิ้นในปี 2533
ประเทศที่เข้าร่วมแบ่งเป็น 3 กลุ่ม 1. กลุ่ม Annex I Partiesประกอบด้วยรัฐภาคีที่มีชื่ออยู่ในภาคผนวกที่ 1 ซึ่งได้แก่รัฐภาคีที่อยู่ในกลุ่ม OECD (ประเทศที่พัฒนาแล้ว 24 ประเทศ) และประเทศที่มีเศรษฐกิจอยู่ในระยะปรับเปลี่ยน (ประเทศในยุโรปตะวันออกและประเทศสังคมนิยมที่กำลังเปลี่ยนเป็นประเทศเสรีนิยม)
ประเทศในภาคผนวก 1 ส่วนใหญ่ให้สัตยาบันแล้ว แต่ยังคงมีประเทศที่ลงนามในสัญญาแต่ยังไม่มีการให้สัตยาบัน คือสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย ทำให้เป็นที่วิตกกังวลกันว่าการดำเนินการจะไม่ได้ผลเนื่องจากประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดอย่างสหรัฐอเมริกานั้น ยังไม่มีทีท่าว่าสภาคองเกรสจะให้สัตยาบัน โดยให้เหตุผลว่าจะกระทบอุตสาหกรรมของประเทศ
2. ประเทศในภาคผนวกที่ 2 (Annex II Countries) หมายถึง กลุ่มประเทศ OECD ที่เป็นสมาชิกภาคผนวกที่ 1 ซึ่งมีพันธะพิเศษในการกระจายเงินทุนเพื่อช่วยประเทศ ที่กำลังพัฒนาในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านการถ่ายทอด เทคโนโลยี และวิธีการปฏิบัติ 3. ประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 (Non-Annex I) หมายถึง ประเทศที่กำลังพัฒนา (Developing Country) ทั้งหมดไม่มีพันธกรณีในการลดก๊าซเรือนกระจก มีทั้งสิ้น 150 ประเทศ
ANNEX II Countries Italy Japan Luxembourg Netherlands New Zealand Norway Portugal Spain Sweden Switzerland Turkey United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland United States of America Australia Austria Belgium Canada Denmark European Economic Community Finland France Germany Greece Iceland Ireland
3 กลไกที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การดำเนินการร่วมกัน (Joint Implementation หรือ JI) การค้าขายแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจก (Emissions Trading หรือ ET) กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism หรือ CDM)
Emissions Trading (carbon credit การซื้อขายคาร์บอน) การลดคาร์บอนแล้วขาย ผ่าน CDM รวมทั้งการทำ Joint Implementation เพื่อให้มีการยืดหยุ่นและแรงจูงใจในการลดการปล่อยคาร์บอน เช่น โรงงานเคยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 100,000 ตันต่อปี เมื่อเข้าโครงการจะต้องลดการปล่อยลง 5% คือสามารถปล่อยได้ 95,000 ตันต่อปี ถ้าทำได้สามารถนำส่วนที่ลดได้ไปขายได้ แต่ถ้าลดไม่ได้ ต้องเสียเงินไปซื้อส่วนที่เกินไปจากผู้ที่ลดได้
CDM (clean development mechanism) อนุญาตให้ประเทศในกลุ่มที่พัฒนาแล้วถ่ายทอดเทคโนโลยีสะอาด (clean tech) ให้กับประเทศที่กำลังพัฒนา โดยปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยลดลง (CERs) จะสามารถนำไปเพิ่มการปล่อยคาร์บอนในประเทศของตนเองได้ แต่โครงการนี้จะต้องการการตกลงระหว่างรัฐ (ประเทศ กับ ประเทศ)
Why the Annex I Party need Carbon Credit Kyoto Protocol Actual emission 100 MT CO2 Actual emission 120 MT CO2 Country B Assigned Amount: 120 MT CO2 AAUs 20 MT CERs 5 MT CDM Project Emission Reduction 5 MT CO2 Country A Assigned Amount: 95 MT CO2
Certified CDM Projects (classified by hosting countries) Hosting Country No. of Project India 297 China 141 Brazil 113 Mexico 99 Chile 21 Malaysia Korea 16 Other 160 Thailand 5 Source: UNFCCC (17 December 2007)
การประชุมที่โดฮาในปี 2555 ตกลงระยะผูกมัดการลดการปล่อยที่สองตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึง 31 ธันวาคม 2563 ซึ่งเกิดขึ้นในรูปของการแก้ไขพิธีสารฯ 37 ประเทศซึ่งมีเป้าหมายจะลดการปล่อยร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับระดับเมื่อปี 2533 ระหว่างปี 2556-2563 ประเทศที่ไม่รับเป้าหมายใหม่ในระยะผูกมัดที่สอง ได้แก่ ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และรัสเซีย ประเทศที่ไม่มีเป้าหมายรอบสอง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (ซึ่งไม่เคยเป็นสมาชิกของพิธีสารฯ) และแคนาดา (ซึ่งถอนตัวจากพิธีสารเกียวโต มีผลบังคับปี 2555)