บทบาทหน้าที่ในงานนาฏศิลป์ โดย นางนันทิกาญจน์ ธนากรวัจน์ ครู รับเงินเดือนอันดับ คศ.๑ โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์ สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
บทบาทหน้าที่ในงานนาฏศิลป์ องค์ประกอบของนาฏศิลป์ บทบาทหน้าที่ในงานนาฏศิลป์ ความสัมพันธ์ของนาฏศิลป์กับชีวิตประจำวัน
องค์ประกอบของนาฏศิลป์ นาฏยศัพท์และภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์ไทย เนื้อร้องและทำนองเพลง จังหวะ การแต่งกายและการแต่งหน้า เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง อุปกรณ์การแสดง
นาฏยศัพท์และภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์ไทย เป็นลักษณะท่าทางการรำของตัวละครที่มนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์ เพื่อสื่อความหมายของการแสดงที่ชัดเจนและสวยงาม ที่มาของภาพ http://www.artsw2.com/pottana/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=45
เนื้อร้องและทำนองเพลง การแสดงนาฏศิลป์จะต้องมีความสอดคล้องกับบทเพลงจะต้องกับบทเพลงจะต้องถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของการแสดงได้ตรงตามเนื้อหาของเพลงและเนื้อเรื่องให้ผู้ชมเข้าใจการแสดง
จังหวะ จังหวะเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการแสดงนาฏศิลป์ เพราะจังหวะเป็นพื้นฐานในการฝึกหัดการแสดงนากศิลป์ไทย ผู้แสดงต้องรำให้ถูกต้องตรงตามจังหวะ การแสดงจึงจะสวยงาม
การแต่งกายและการแต่งหน้า เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ผู้แสดงมีความสวยงาม และยังเป็นสิ่งที่บอกลักษณะของตัวละครนั้นด้วย เช่น
การแสดงระบำชาวนาจะสวมชุดทำนา ที่มาของภาพ http://www.ichat.in.th/Ramthaishow/topic-readid33208-page1
การแสดงระบำไก่ ผู้แสดงแต่งกายเลียนแบบไก่ ที่มาของภาพ http://www.gotoknow.org/blog/seksan1971/176163
เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง เครื่องดนตรีเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการแสดงเพราะใช้บรรเลงจังหวะ ทำนอง และยังสามารถสร้างบรรยากาศของการแสดงได้ เช่น การบรรเลงจังหวะช้า ทำนองอ่อนหวาน เป็นการแสดงฟ้อน การบรรเลงจังหวะเร็ว ทำนองสนุกสนาน เป็นการแสดงเซิ้ง เป็นต้น
อุปกรณ์การแสดง การแสดงนาฏศิลป์บางชุดจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ประกอบ เช่น ฟ้อนเล็บต้องใส่เล็บ ฟ้อนเทียนต้องใช้เทียน ระบำชาวนาต้องใช้เคียวและรวงข้าว เป็นต้น
การแสดงฟ้อนเล็บ ที่มาของภาพ http://www.art.cmru.ac.th/detail.php?CatID=21&ProductID=90
การแสดงฟ้อนเทียน ที่มาของภาพ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=527762
การแสดงระบำชาวนา ที่มาของภาพ http://www.wangnatheater.com/viewpr-350
บทบาทหน้าที่ในงานนาฏศิลป์ ผู้ฝึกซ้อมการแสดง ผู้แสดง ผู้ดูแลเครื่องแต่งกายและแต่งหน้า ผู้ดูแลอุปกรณ์ประกอบการแสดง ฉาก แสง สี เสียง ผู้บรรเลงดนตรีประกอบการแสดง
ผู้ฝึกซ้อมการแสดง ผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางนาฏศิลป์ เป็นบุคคลที่ทำให้การแสดงมีความสวยงาม พร้อมเพรียงอาจเป็นครู อาจารย์ในการสอนการแสดงนาฏศิลป์ หรือผู้ที่สามารถดูแลการแสดงได้
ผู้แสดง ผู้ที่ได้รับบทบาทในการแสดง ผู้แสดงจะต้องมีบุคลิกลักษณะที่ดี รูปร่างดี เหมาะสมกับการแสดง และต้องรำได้สวยเพราะการแสดงนาฏศิลป์เป็นศิลปะที่มีความอ่อนช้อยงดงาม
ผู้แสดงรับบทเป็นพระราม ต้องมีรูปร่างสมส่วน ลักษณะองอาจ มีความเป็นผู้นำ ที่มาของภาพ http://www.kamoman.com/board/index.php?topic=6906.0
ผู้แสดงรับบทเป็นทศกัณฐ์ ต้องมีรูปร่างสูงใหญ่ ดูแข็งแรง มีอำนาจ ที่มาของภาพ http://www.ichat.in.th/Ramthaishow/topic-readid33265-page1
ผู้แสดงรับบทเป็นนางสีดา ต้องมีรูปร่างสูงใหญ่ ดูแข็งแรง มีอำนาจ ที่มาของภาพ http://www.anurakthai.com/thaidances/chui_chai/chui_chai_benyakai.asp
ความสัมพันธ์ของนาฏศิลป์กับชีวิตประจำวัน นาฏศิลป์มีความสัมพันธ์กับชีวิตของคนไทยมาช้านาน เพราะนาฏศิลป์เป็นสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์และคุณค่าทางวัฒนธรรม ประเพณี ซึ่งจะเห็นได้จากการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคต่าง ๆ ที่ผูกพันอยู่คู่กับคนไทยอย่างเห็นได้ชัด
การแสดงนาฏศิลป์เป็นการช่วยผ่อนคลายความเครียด ความเหน็ดเหนื่อย และยังใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่น เซิ้งบั้งไฟในงานประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีแห่นางแมวจะมีการฟ้อนรำ การแสดงต่างๆ เพื่อให้ฝนตก เป็นต้น
การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง ภาคเหนือ ที่มาของภาพ http://www.chiangmai-thailand.net/fon_lanna/dap.html การฟ้อนดาบ มีที่มาจากศิลปะการต่อสู้ของชายชาวล้านนาแต่โบราณ
การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มาของภาพ http://mwit19room8-11-12-14-16.blogspot.com/2012/01/folk-dance_19.html เซิ้งบั้งไฟ เป็นการฟ้อนในพิธีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และในพิธีกรรม ที่เกี่ยวกับการขอฝน
การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง ภาคกลาง ที่มาของภาพ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=528224 รำกลองยาว เป็นประเพณี การเล่นเทิงบ้องกลองยาว หรือ เถิดเทิง สันนิษฐานว่าเป็นของพม่า
การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง ภาคใต้ มโนราห์ หรือโนรา เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สืบทอดกันมานานและนิยมกันอย่างแพร่หลายใน ภาคใต้ เป็นการละเล่นที่มีทั้งการร้อง การรำ บางส่วนเล่นเป็นเรื่อง และบางโอกาสมีบางส่วน แสดงตามคติความเชื่อที่เป็นพิธีกรรม ที่มาของภาพ http://board.postjung.com/527806.html
นอกจากนี้ การแสดงนาฏศิลป์ยังเกี่ยวข้องกับงานรื่นเริงต่างๆ เช่น งานวันเกิดมีการรำอวยพร งานประจำปีโรงเรียน มีการแสดงรำวงมาตรฐาน เป็นต้น จะเห็นได้ว่า นาฏศิลป์ช่วยสร้างความสุข สนุกสนาน และสร้างความบันเทิงให้กับมนุษย์
ที่มา : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) (2552, หน้า 164-167). ดนตรี-นาฏศิลป์ ป.6. กรุงเทพฯ. " วิพิธทัศนา " โดย สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ : กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่ http://www.artsw2.com/pottana/modules.php?name=Content&pa=show http://www.ichat.in.th/Ramthaishow/topic-readid33208-page1 http://www.gotoknow.org/blog/seksan1971/176163 http://www.art.cmru.ac.th/detail.php?CatID=21&ProductID=90 http://www.oknation.net/blog/print.php?id=527762 http://www.wangnatheater.com/viewpr-350 http://www.kamoman.com/board/index.php?topic=6906.0 http://www.ichat.in.th/Ramthaishow/topic-readid33265-page1 http://www.anurakthai.com/thaidances/chui_chai/chui_chai_benyakai.asp http://www.chiangmai-thailand.net/fon_lanna/dap.html http://mwit19room8-11-12-14-16.blogspot.com/2012/01/folk-dance_19.html http://board.postjung.com/527806.html
จบการนำเสนอ นางนันทิกาญจน์ ธนากรวัจน์ ครู รับเงินเดือนอันดับ คศ.๑ นางนันทิกาญจน์ ธนากรวัจน์ ครู รับเงินเดือนอันดับ คศ.๑ โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์ สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร http://www.facebook.com/นันทิกาญจน์ ธนากรวัจน์