หน่วยการเรียนที่ 4 เรื่อง การควบคุมทิศทางการทำงาน

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศของ นักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม นางสาวพัชรี นาคทอง วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู
Advertisements

ข้อสรุปหลักสูตรการอบรมการผลิต รายการเด็ก TV4Kids.
PHPPHP การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 1 สาขาวิชาระบบสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีการจัดการ.
บทที่ 6 บทที่ 6 คำสั่งแก้ไขปัญหาแบบ เลือก (CONDITION)
บทที่ 5 การควบคุมทิศทางการทำงานของโปรแกรม
การพัฒนาระบบทะเบียน ของ โรงเรียนเมโทรเทคโนโลยี จังหวัดเชียงใหม่
จัดทำโดย น. ส. ดวงกมล งามอยู่เจริญ เลขที่ 8 น. ส. ณัชชา เชื้อตา เลขที่ 6 เตรียมบริหารธุรกิจปี 1.
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
หน่วยที่ 3 ภาษาคำสั่งพื้นฐานที่ใช้เขียนโปรแกรม PLC
วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยา
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หลักการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
1. Select query ใช้สำหรับดึงข้อมูลที่ต้องการ
การเขียนผังงานเบื้องต้น (Flow chart)
ซอฟต์แวร์และการเลือกใช้
หลักการโปรแกรม 1 Lecture 8: การทำซ้ำ (while, do-while)
ครั้งที่ 7 รีจิสเตอร์ (REGISTER). รีจิสเตอร์ (Register) รีจิสเตอร์เป็นวงจรความจำที่ใช้ในการเก็บค่า ทางไบนารี่ ใช้ในการเก็บค่าในระหว่างการ ประมวลผลโดยใช้ฟลิป.
ITERATION (LOOP) สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจอาจารย์จิรา ภรณ์ เขตกุฎี
แบบทดสอบ MICROSOFT EXCEL มีข้อมูลในแผ่นงานตั้งแต่แถวที่ 1 ถึงแถว 500 และคอลัมน์ A จนถึงคอลัมน์ M วิธีการเลือกช่วง ข้อมูลวิธีใด อย่างไร ที่อำนวยความสะดวกได้ดีและให้ผลรวดเร็ว.
โปรแกรมคำนวณคะแนน สหกรณ์ ตามเกณฑ์ดีเด่นแห่งชาติ กรมส่งเสริม สหกรณ์ กองพัฒนาสหกรณ์ด้านการเงิน และร้านค้า วิธีการใ ช้
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล เรื่องการเชื่อมโยง ภาพนิ่ง ด้วยโปรแกรม Powerpoint2007 โดยใช้ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ของนักเรียนระดับชั้น.
Adaptive Software Development. วงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟแวร์ หรือ Software Development Life Cycle (SDLC) เป็นโครง ร่างหรือแนวทางวิธีการ เพื่อใช้ทำความเข้าใจและเพื่อ.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
1. รู้ถึงความต้องการของตัวเอง ก่อนก่อนเริ่มต้นออกแบบ เมื่อคุณเริ่มคิดจะออกแบบโบรชัวร์ออกมาอย่างไร ให้เริ่มต้น สอบถามลูกค้าของคุณก่อนว่าทำไม เค้าต้องการโบร์ชัวร์
LOGO ภาษาซี 1.1 อ. กฤติเดช จินดาภัทร์. LOGO ตัวอย่างโค้ดภาษาซี
ซอร์ฟแวร์ ( Software ). Microsoft excel Microsoft excel Microsoft power point.. Link Link.
คำสั่งควบคุมการทำงาน
ผังงาน..(Flow Chart) หมายถึง...
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ Lab 05 : Microsoft Excel (Part3) พท 260 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการท่องเที่ยว อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ.
บทที่ 5 การใช้คำสั่ง Select Case , For Next และ Do While
stack #2 ผู้สอน อาจารย์ ยืนยง กันทะเนตร
หน่วยการเรียนที่ 6 เรื่อง การจัดการฐานข้อมูลด้วย PHP Function
บทที่ 1 สถาปัตยกรรมของระบบฐานข้อมูล (Database Architecture)
BC320 Introduction to Computer Programming
โครงสร้างภาษา C Arduino
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
การบัญชีต้นทุนช่วง (Process Costing).
บทที่ 7 การเขียนโปรแกรม แบบวนรอบทำซ้ำ (Loop)
Control Statement เงื่อนไขคำสั่งในโปรแกรม ภาษา C
บทที่ 8 เงื่อนไขตัดสินใจ
เซต (SET) ประวัติย่อของวิชาเซต ความหมายของเซต การเขียนแทนเซต
บทที่ 1 ระบบสารสนเทศ (Information System)
รายวิชา ไมโครโปรเซสเซอร์ในงานอุตสาหกรรม
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ขั้นตอนการออกแบบ ผังงาน (Flow Chart)
การเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำ: คำสั่ง while คำสั่ง do….while
บริษัท พัฒนาวิชาการ (2535) จำกัด
บทที่ 9 การทำซ้ำ (Loop).
บทที่ 3 Programming By Wathinee duangonnam
SMS News Distribute Service
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑาวุฒิ จันทรมาลี
คำสั่งวนรอบ (Loop).
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
การสร้างแบบสอบถาม และ การกำหนดเงื่อนไข.
หน่วยที่ 6 อะเรย์ของอักขระ
บทที่ 9 การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting)
บทที่ 7 การประมวลผลอาร์เรย์
บทที่ 8 การแก้ไขข้อผิดพลาดโปรแกรม(Debugging)
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
งานนำเสนอสำหรับโครงการ นิทรรศการวิทยาศาสตร์
ตัวแบบมาร์คอฟ (Markov Model)
2 โครงสร้างข้อมูลแบบสแตก (STACK).
กิจกรรมที่ 7 นายปรีชา ขอวางกลาง
บทที่ 2 โครงสร้างข้อมูลแบบแถวลำดับหรืออาร์เรย์ (Array)
Chapter 3 : Array.
Array: One Dimension Programming I 9.
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน การเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก
Decision: Single and Double Selection (if and if-else statement)
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

หน่วยการเรียนที่ 4 เรื่อง การควบคุมทิศทางการทำงาน หน่วยการเรียนที่ 4 เรื่อง การควบคุมทิศทางการทำงาน

เมื่อกล่าวถึงการเขียนโปรแกรม ส่วนใหญ่จะนิยามถึง การตรวจสอบเงื่อนไข ในหน่วยการเรียนที่ 3 ที่ผ่านมาได้กล่าวถึง ขั้นตอนการแก้ไขปัญหา (Algorithm) ซึ่งการพัฒนาโปรแกรมในระบบงานจริงนั้น มีความจำเป็นต้องอาศัยการควบคุมทิศทางการทำงานของข้อมูล (Control Statement) ให้ตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การตรวจสอบเงื่อนไข (Decision or Selection) และการวนรอบ (Reparation or Loop) ซึ่งจะกล่าวถึงการทำงานและขั้นตอนการเขียนโปรแกรมดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเงื่อนไข (Decision or Selection) การทำงานของประโยคใดประโยคหนึ่งเมื่อต้องเลือกที่จะทำงานหรือตัดสินใจย่อมต้องมีทางเลือก ซึ่งจะใช้ในการตรวจสอบเงื่อนไขว่า จริง หรือ เท็จ แล้วค่อยเลือกว่าจะไปทิศทางใด การทำงานเพื่อเลือกเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ขั้นแรกต้องตรวจสอบตัวแปร ถ้าตัวแปรเป็นจริงตรงตามเงื่อนไข if ให้ทำตามขั้นตอนการทำงานในส่วนของ if หากเงื่อนไขไม่ตรงให้ทำในส่วนของ else เราสามารถนำแนวคิดการสร้างเงื่อนไขโดยใช้ if มาแบ่งการทำงานออกได้เป็น 3 รูปแบบและยังมีรูปแบบการทำงานแบบหลายเงื่อนไขโดยใช้คำสั่งอื่นเช่น switch()case เป็นต้น

การตรวจสอบเงื่อนไขแบบ 1 ทางเลือกด้วยคำสั่ง if() การตรวจสอบเงื่อนไขว่าใช่หรือไม่โดยใช้คำสั่ง if เพียงอย่างเดียว เพื่อตรวจสอบเงื่อนไขว่าเป็นจริงหรือเท็จ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริง (true) ให้ทำตามคำสั่งที่อยู่ภายในวงเล็บปีกกา ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จให้สิ้นสุดการทำงานของโปรแกรมหรือไปยังสคริปต์บรรทัดถัดไป แนวคิดการทำงานของโปรแกรมตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้ if สรุปเป็นผังงานได้ดังนี้ ตรวจสอบเงื่อนไข ทำงานหลังคำสั่ง if เท็จ จริง 02 03 04 ภาพที่ 4.1 รูปแบบผังการทำงานของคำสั่ง if() ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

รูปแบบการทำงานของคำสั่ง if If (เงื่อนไข) { ชุดคำสั่งที่จะถูกประมวลผลเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง; } ภาพที่ 4.2 ตัวอย่างการใช้งานคำสั่ง if() ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

จากการใช้งานคำสั่ง if ตรวจสอบคะแนนว่ามีค่ามากกว่า 79 คะแนนหรือไม่ โปรแกรมจะแสดงความยินดี ว่าผ่านเกณฑ์การประเมินและรายงานผลคะแนนที่กรอกข้อมูลผ่าน input โดยมีลำดับการทำงานดังนี้ 1) สร้างฟอร์มรับค่าตัวแปรจากผู้ใช้จากภาษา html ส่งผ่านข้อมูลมาในชื่อ pretest ในรูปแบบ POST เผื่อส่งข้อมูลกลับเข้าหาตัวเอง 2) ตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้คำสั่ง if เมื่อตัวแปร pretest มีค่ามากกว่า 79 ถือว่าเงื่อนไขเป็นจริงโดยลักษณะการรับค่าตัวแปรจะรับค่าแบบ POST ตามรูปแบบค่าที่ส่งมา คือ $_POST['pretest'] 3) แสดงค่าที่รับค่าเข้ามาพร้อมข้อความแสดงความยินดี

ภาพที่ 4.3 ผลการทำงานเมื่อพิมพ์คะแนนมากกว่า 79 ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

ภาพที่ 4.4 ผลการทำงานเมื่อพิมพ์คะแนนน้อยกว่า 79 ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

การตรวจสอบเงื่อนไขแบบ 2 ทางเลือกด้วยคำสั่ง if()else การตรวจสอบเงื่อนไขว่าใช่หรือไม่โดยใช้คำสั่ง if เพียงอย่างเดียว เพื่อตรวจสอบเงื่อนไขว่าเป็นจริงหรือเท็จ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริง (true) ให้ทำตามคำสั่งที่อยู่ภายในวงเล็บปีกกา ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จให้ทำงานภายในส่วนของ else ภายในปีกกา แนวคิดการทำงานของโปรแกรมตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้ if()else สรุปเป็นผังงานได้ดังนี้ ตรวจสอบเงื่อนไข ทำงานหลังคำสั่ง if เท็จ จริง ทำงานหลังคำสั่ง else ภาพที่ 4.5 รูปแบบผังการทำงานของคำสั่ง if()else ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

ตารางที่ 4.2 รูปแบบการทำงานของคำสั่ง if()else { ชุดคำสั่งที่จะถูกประมวลผลเมื่อเงื่อนไขเป็น จริง; } else ชุดคำสั่งที่จะถูกประมวลผลเมื่อเงื่อนไขเป็น เท็จ;

ภาพที่ 4.6 ตัวอย่างการใช้งานคำสั่ง if()else ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

3) แสดงค่าที่รับค่าเข้ามาพร้อมข้อความแสดงความยินดี จากการใช้งานคำสั่ง if ตรวจสอบคะแนนว่ามีค่ามากกว่า 79 คะแนนหรือไม่ โปรแกรมจะแสดงความยินดี ว่าผ่านเกณฑ์การประเมินและรายงานผลคะแนนที่กรอกข้อมูลผ่าน input แต่ถ้าคะแนนน้อยกว่า 79 คะแนนจะเข้าสู่เงื่อนไข else คือเป็นเท็จ ระบบจะรายงานว่าคุณสอบไม่ผ่านเกณฑ์ โดยมีลำดับการทำงานดังนี้ 1) สร้างฟอร์มรับค่าตัวแปรจากผู้ใช้จากภาษา html ส่งผ่านข้อมูลมาในชื่อ pretest ในรูปแบบ POST เผื่อส่งข้อมูลกลับเข้าหาตัวเอง 2) ตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้คำสั่ง if เมื่อตัวแปร pretest มีค่ามากกว่า 79 ถือว่าเงื่อนไขเป็นจริงโดยลักษณะการรับค่าตัวแปรจะรับค่าแบบ POST ตามรูปแบบค่าที่ส่งมา คือ $_POST['pretest'] 3) แสดงค่าที่รับค่าเข้ามาพร้อมข้อความแสดงความยินดี 4) ในกรณีที่คะแนนมีค่าน้อยกว่า 79 จะเข้าสู่เงื่อนไข else คือเงื่อนไขเป็นเท็จ 5) ระบบจะแสดงค่าคุณสอบไม่ผ่าน ภาพที่ 4.7 ผลการทำงานเมื่อพิมพ์คะแนนน้อยกว่า 79 ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

การตรวจสอบเงื่อนไขแบบ หลายทางเลือกด้วยคำสั่ง if()else if() การตรวจสอบเงื่อนไขว่าใช่หรือไม่โดยใช้ คำสั่ง if เพียงอย่าง เดียว เพื่อตรวจสอบเงื่อนไขว่าเป็นจริงหรือเท็จ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริง (true) ให้ทำตามคำสั่งที่อยู่ภายในวงเล็บปีกกา ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จให้ ทำงานภายในส่วนของ else if และทำการตรวจสอบเงื่อนไขอีกครั้งทุก เงื่อนไขถ้าไม่ตรงกับเงื่อนไขใดเลยถึงทำคำสั่งด้านหลัง else แนวคิด การทำงานของโปรแกรมตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้ if()else if() สรุป เป็นผังงาน ได้ดังนี้

ภาพที่ 4.8 รูปแบบผังการทำงานของคำสั่ง if()else if() ตรวจสอบ เงื่อนไข ทำงานหลัง คำสั่ง if เท็จ จริง ทำงานหลังคำสั่ง else ภาพที่ 4.8 รูปแบบผังการทำงานของคำสั่ง if()else if() ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

ตารางที่ 4.3 รูปแบบการทำงานของคำสั่ง if()else if() { ชุดคำสั่งที่จะถูกประมวลผลเมื่อเงื่อนไขเป็น จริง; } else if(เงื่อนไข) ชุดคำสั่งที่จะถูกประมวลผลเมื่อเงื่อนไข else if เป็น จริง; Else ชุดคำสั่งที่จะถูกประมวลผลเมื่อเงื่อนไขเป็น เท็จทั้งหมด;  

การเขียนโปรแกรมตรวจสอบเงื่อนไขแบบหลายเงื่อนไข โดยใช้คำสั่ง if()else if() จะยกตัวอย่างการเขียนโปรแกรมตัดเกรดจากการป้อนคะแนนผ่านช่อง input เพื่อนำคะแนนมาคำนวณเกรดโดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าคะแนนตั้งแต่ 80 ขึ้นไปจะได้เกรด 4 ถ้าคะแนนตั้งแต่ 70 ขึ้นไปจนถึง 79 จะได้เกรด 3 ถ้าคะแนนตั้งแต่ 60 ขึ้นไปจนถึง 69 จะได้เกรด 2 ถ้าคะแนนตั้งแต่ 50 ขึ้นไปจนถึง 59 จะได้เกรด 1 ถ้าคะแนนน้อยกว่า 50 จะได้เกรด 0 โดยขั้นตอนการเขียนโปรแกรม เริ่มต้นจากเขียน ฟอร์มรับ ค่าตัวแบบ pretest แล้วนำผลคะแนนมาทำการตรวจสอบเงื่อนไขโดย ใช้คำสั่ง if()else if() และทำการตรวจสอบเงื่อนไขไปทีละระดับดังนี้

ภาพที่ 4.9 โปรแกรมตรวจสอบผลการเรียน 4 ระดับ ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

ขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมตรวจสอบผลการเรียน 4 ระดับมีขั้นตอนการทำงานดังนี้ สร้างฟอร์มรับค่าตัวแปร pretest ผ่านการรับส่งค่าแบบ POST ตรวจสอบค่าตัวแปร ถ้าคะแนนตั้งแต่ 80 ขึ้นไปจะได้เกรด 4 ตรวจสอบค่าตัวแปร ถ้าคะแนนตั้งแต่ 70 ขึ้นไปจนถึง 79 จะได้เกรด 3 ตรวจสอบค่าตัวแปร ถ้าคะแนนตั้งแต่ 60 ขึ้นไปจนถึง 69 จะได้เกรด 2 ตรวจสอบค่าตัวแปร ถ้าคะแนนตั้งแต่ 50 ขึ้นไปจนถึง 59 จะได้เกรด 1 ตรวจสอบค่าตัวแปร ถ้าคะแนนน้อยกว่า 50 จะได้เกรด 0

  ภาพที่ 4.10 ผลลัพธ์การเขียนโปรแกรม ตรวจสอบผลการเรียน 4 ระดับ ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

ไม่ตรงกับเงื่อนไขใดเลย การตรวจสอบเงื่อนไขแบบ หลายทางเลือกด้วยคำสั่ง switch()case นอกจากการตรวจสอบเงื่อนไขแบบหลายทางเลือก เราจะใช้คำสั่ง if()else if() ไปแล้ว ยังมีคำสั่งอีกหนึ่งคำสั่งที่ออกแบบมาสำหรับการทำงานแบบหลายเงื่อนไขโดยเฉพาะนั้นก็คือ คำสั่ง switch()case โดยสามารถสรุปเป็นผังงานได้ดังนี้ ตรวจสอบเงื่อนไข ตรงกับเงื่อนไขที่ 1 ตรงกับเงื่อนไขที่ 2 ตรงกับเงื่อนไขที่3 ไม่ตรงกับเงื่อนไขใดเลย ภาพที่ 4.11 ผังการทำงานของการคำสั่ง switch()case ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

ตารางที่ 4.4 รูปแบบการทำงานของคำสั่ง switch()case { case เงื่อนไขที่ 1 ชุดคำสั่งที่จะถูกประมวลผลเมื่อเงื่อนไขที่ 1 เป็นจริง break; case เงื่อนไขที่ 2 ชุดคำสั่งที่จะถูกประมวลผลเมื่อเงื่อนไขที่ 2 เป็นจริง case เงื่อนไขที่ 3 ชุดคำสั่งที่จะถูกประมวลผลเมื่อเงื่อนไขที่ 3 เป็นจริง default: ชุดคำสั่งที่จะถูกประมวลผลเมื่อทุกเงื่อนไขไม่เป็นจริง }

โดยเราสามารถประยุกต์โปรแกรมเพื่อตรวจสอบเงื่อนไขตัดเกรดได้เหมือนเดิม การเขียนโปรแกรมตรวจสอบเงื่อนไขแบบหลายเงื่อนไข โดยใช้คำสั่ง switch()case จะยกตัวอย่างการเขียนโปรแกรมตัดเกรดจากการป้อนคะแนนผ่านช่อง input เพื่อนำคะแนนมาคำนวณเกรดโดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าคะแนนตั้งแต่ 80 ขึ้นไปจะได้เกรด 4 ถ้าคะแนนตั้งแต่ 70 ขึ้นไปจนถึง 79 จะได้เกรด 3 ถ้าคะแนนตั้งแต่ 60 ขึ้นไปจนถึง 69 จะได้เกรด 2 ถ้าคะแนนตั้งแต่ 50 ขึ้นไปจนถึง 59 จะได้เกรด 1 ถ้าคะแนนน้อยกว่า 50 จะได้เกรด 0

ภาพที่ 4.12 โปรแกรมตรวจสอบผลการเรียน โดยใช้คำสั่ง switch()case ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

ภาพที่ 4.13 ผลลัพธ์การเขียนโปรแกรมตรวจสอบผลการ เรียนโดยใช้คำสั่ง switch()case ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 การวนรอบ (Reparation or Loop)  การวนรอบ (Reparation or Loop) หรือการกระทำซ้ำมีรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย โดยการทำงานจะกระทำตามเงื่อนไขวนรอบไปเรื่อยๆ จนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จ ซึ่งมีแบบที่มีเงื่อนไขที่แน่นอน และแบบไม่แน่นอน สำหรับเงื่อนไขในการกระทำซ้ำโดยแบ่งเป็นตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้ การวนรอบด้วยจำนวนที่แน่นอนด้วยคำสั่ง for() ในการทำงานที่ต้องการกระทำซ้ำเรามีความจำเป็นต้องเขียน โปรแกรมเกี่ยวกับการกระทำซ้ำ เพื่อการนำมาตัดสินใจนั้นคือ เงื่อนไขที่ ใช้ในการวนรอบสำหรับการกระทำซ้ำแบบแรกที่ควรรู้จักคือ การใช้งาน คำสั่งกระทำซ้ำแบบแน่นอน โดยมีการกำหนดเงื่อนไขลงไปและจะมีการ เพิ่มค่าตัวแปรแบบนับรอบขึ้นไปเรื่อยๆ จนเสร็จสิ้นกระบวนการ

ขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมกระทำซ้ำโดยใช้คำสั่ง for 1) ตั้งค่าเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการทำงานของโปรแกรม 2) เริ่มต้นการทำงานของคำสั่งโปรแกรมทีละ 1 คำสั่งโดยทำการเพิ่มค่าของตัวแปรค่าเริ่มต้นและทำการเปรียบเทียบเพื่อทำการนับรอบ 3) กลับไปตรวจสอบเงื่อนไข ว่าเงื่อนไขเป็นจริงหรือไม่ ถ้าไม่ก็ถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดการทำงานของโปรแกรมกระทำซ้ำ วนรอนตามจำนวน ทำสั่งตามเงื่อนไข คำสั่งถัดไป ครบ ไม่ครบ ภาพที่ 4.14 ผังการทำงานของการวนรอบโดยใช้คำสั่ง for() ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

ตารางที่ 4.5 รูปแบบการทำงานของคำสั่ง for() { คำสั่งที่ต้องการกระทำซ้ำ; } ภาพที่ 4.15 การใช้คำสั่ง for วนรอบเพิ่มขนาดตัวอักษร ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

ภาพที่ 4.16 ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง for เพิ่มขนาดตัวอักษร ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

สำหรับตัวอย่างการเขียนโปรแกรมวนรอบโดยใช้คำสั่ง for โดยใช้ตัวแปร i ทำหน้าที่นับการวนรอบ โดยแต่ละรอบจะทำการเพิ่มค่าและกำหนดขนาดให้กับ font ตัวอักษรที่แสดง ทำให้ font ตัวอักษรเพิ่มขนาดขึ้นเรื่อยๆ จนถึงระดับสูงสุดของตัวอักษร 2.2 การวนรอบจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จด้วยคำสั่ง while() ในการทำงานที่ต้องการกระทำซ้ำ เรามีความจำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเกี่ยวกับการกระทำซ้ำเพื่อการนำมาตัดสินใจนั้นคือเงื่อนไขที่ใช้ในการวนรอบสำหรับการกระทำซ้ำอีกแบบที่ควรรู้จักคือ การใช้งานคำสั่งกระทำซ้ำแบบแน่นอน โดยใช้คำสั่ง while() มีการกำหนดเงื่อนไขลงไปและจะมีการเพิ่มค่าตัวแปรแบบนับรอบขึ้นไปเรื่อยๆจนเสร็จสิ้นกระบวนการ ขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมกระทำซ้ำโดยใช้คำสั่ง while() 1) ตั้งค่าเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการทำงานของโปรแกรม 2) เริ่มต้นการทำงานของคำสั่งโปรแกรมทีละ 1 คำสั่ง 3) กลับไปตรวจสอบเงื่อนไข ว่าเงื่อนไขเป็นจริงหรือไม่ ถ้าไม่ก็ถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดการทำงานของโปรแกรมกระทำซ้ำ 4) ทำการเพิ่มค่าของตัวแปรค่าเริ่มต้นและทำการเปรียบเทียบเพื่อทำการนับรอบ

ภาพที่ 4.17 ผังการทำงานของการวนรอบโดยใช้คำสั่ง while() วนรอนตามจำนวน คำสั่งที่ต้องการให้ โปรแกรมกระทำ คำสั่งถัดไป ครบ ไม่ครบ เพิ่มค่าตัวแปร ภาพที่ 4.17 ผังการทำงานของการวนรอบโดยใช้คำสั่ง while() ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

ตารางที่ 4.6 รูปแบบการทำงานของคำสั่ง While() ประกาศตัวแปร; while(เงื่อนไขจุดสิ้นสุดการกระทำซ้ำ;) { คำสั่งที่ต้องการให้โปรแกรมกระทำ; การเพิ่มค่าตัวแปร; } ภาพที่ 4.18 การใช้คำสั่ง while วนรอบเพิ่มขนาดตัวอักษร ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

ภาพที่ 4.19 ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง while เพิ่ม ขนาดตัวอักษร ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

2.3 การวนรอบจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จด้วยคำสั่ง do while() ในการทำงานที่ต้องการกระทำซ้ำเรามีความจำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเกี่ยวกับการกระทำซ้ำเพื่อการนำมาตัดสินใจนั้นคือเงื่อนไขที่ใช้ในการวนรอบ สำหรับการกระทำซ้ำอีกแบบที่ควรรู้จักคือการใช้งานคำสั่งกระทำซ้ำแบบแน่นอน โดยรูปแบบจะคล้ายกับการใช้คำสั่ง while() แต่จะแตกต่างกันตรงคำสั่ง do while() จะไม่มีการตรวจสอบเงื่อนไขการกระทำซ้ำก่อนการทำงานในรอบแรก แต่จะตรวจสอบเงื่อนไข เมื่อกระทำตามคำสั่งไปแล้วอย่างน้อย 1 รอบ ขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมกระทำซ้ำโดยใช้คำสั่ง do while() 1) ตั้งค่าเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการทำงานของโปรแกรม 2) ทำงานตามคำสั่งที่ต้องการให้โปรแกรมกระทำ 3) เพิ่มค่าของตัวแปรค่าเริ่มต้น 4) ตรวจสอบเงื่อนไข ว่าเงื่อนไขเป็นจริงหรือไม่ ถ้าไม่ก็ถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดการทำงานของโปรแกรมกระทำซ้ำ

ภาพที่ 4.20 ผังการทำงานของการวนรอบโดยใช้คำสั่ง do while() วนรอนตามจำนวน คำสั่งที่ต้องการให้ โปรแกรมกระทำ  คำสั่งถัดไป ครบ ไม่ครบ เพิ่มค่าตัวแปร ภาพที่ 4.20 ผังการทำงานของการวนรอบโดยใช้คำสั่ง do while() ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

ตารางที่ 4.7 รูปแบบการทำงานของคำสั่ง do while() ประกาศตัวแปร; do { คำสั่งที่ต้องการกระทำซ้ำ; การเพิ่มค่าตัวแปร; } while(เงื่อนไขจุดสิ้นสุดการกระทำซ้ำ;)  

ภาพที่ 4.21 การใช้คำสั่ง do while() วนรอบเพิ่มขนาดตัวอักษร ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

ภาพที่ 4.22 ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง do while เพิ่มขนาดตัวอักษร ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

2.4 วนรอบสมาชิกทุกตัวใน array ด้วยคำสั่ง foreach() ในการทำงานหากต้องการดึงข้อมูลออกจากตัวแปรอาร์เรย์ จำเป็นต้องทราบว่ามีจำนวนข้อมูลอยู่ภายในตัวแปรจำนวนเท่าไร แล้วค่อยทำการวนซ้ำเพื่อดึงข้อมูลออกมาจากตัวแปร แต่วิธีดังกล่าวอาจจะไม่สะดวกต่อการนำมาใช้งาน ดังนั้นในภาษา PHP จึงมีคำสั่งเฉพาะที่ใช้ในการดึงข้อมูลออกมาจากตัวแปรประเภทอาเรย์ ด้วยคำสั่ง foreach จะทำการดึงข้อมูลมาตั้งแต่อินเด็กซ์แรกจนถึงอินเด็กซ์ตัวสุดท้าย ในแต่ละรอบการกระทำซ้ำ โดยไม่จำเป็นต้องรู้จำนวนรอบในการกระทำซ้ำ ค่าตัวแปรที่เก็บค่าข้อมูลสมาชิกจะถูกเปลี่ยนแปลงค่าไปตลอดทุกรอบการกระทำซ้ำ ขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมกระทำซ้ำสำหรับตัวแปรอาร์เรย์โดยใช้คำสั่ง foreach() 1) กำหนดค่าเริ่มต้นให้ตัวแปรนับการกระทำซ้ำ 2) ประกาศคำสั่ง foreach() กำหนดค่าตัวแปรอาร์เรย์และกำหนดค่าตัวแปรที่เก็บข้อมูลสมาชิก 3) แสดงข้อมูลจากอาร์เรย์ ผ่านตัวแปรที่เก็บข้อมูลสมาชิก 4) เพิ่มค่าของตัวแปรนับการกระทำซ้ำ 5) คำสั่ง foreach() ตรวจสอบข้อมูลในตัวแปรอาร์เรย์ว่าคงเหลือหรือไม่ ถ้าไม่ก็ถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดการทำงานของโปรแกรมกระทำซ้ำดึงข้อมูลจากตัวแปรอาร์เรย์

ภาพที่ 4.23 ผังการทำงานของการวนรอบโดยใช้คำสั่ง foreach() วนรอนตาม จำนวน ข้อมูลในตัวแปร อาร์เรย์ แสดงข้อมูลตัว แปรอาร์เรย์ คำสั่งถัดไป ครบ ไม่ครบ เพิ่มค่าตัวแปร ภาพที่ 4.23 ผังการทำงานของการวนรอบโดยใช้คำสั่ง foreach() ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

ตารางที่ 4.8 รูปแบบการทำงานของคำสั่ง foreach() ประกาศตัวแปร; foreach($ตัวแปรอาร์เรย์ as $ตัวแปรเก็บค่าสมาชิก) { ดึงข้อมูลจากตัวแปรอาร์เรย์; การเพิ่มค่าตัวแปร; }

ภาพที่ 4.24 การใช้คำสั่ง foreach ดึงข้อมูลจากตัวแปรอาร์เรย์ ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

ภาพที่ 4.25 ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง foreach() ดึงข้อมูลผ่านตัวแปรอาร์เรย์ ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

2.5 การออกจากการทำงานด้วยคำสั่ง break, continue, exit เมื่อมีการใช้คำสั่งตรวจสอบเงื่อนไข หรือการกระทำซ้ำ อาจจะมีความจำเป็นที่ต้องหยุดการทำงานชั่วขณะหรือต้องการหลุดออกจากคำสั่ง โดยในภาษา PHP มีกลุ่มคำสั่งที่ใช้ในการหยุดขั้นตอนหรือกระโดดข้ามเงื่อนไขการทำงานดังต่อไปนี้ 2.5.1 คำสั่ง break คำสั่งที่ใช้ในการหยุดการทำงานของโปรแกรม หรือออกจากการทำงานนั้น เช่น คำสั่งอาจจะอยู่ในส่วนการตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้คำสั่ง switch()case จะใช้คำสั่ง break เพื่อออกจากการทำงานของโปรแกรมเมื่อเงื่อนไขของ case เป็นจริง หรืออาจจะอยู่ในขั้นตอนการกระทำซ้ำด้วยคำสั่ง for(), while(), do while() โดยไม่สนใจเงื่อนไขการกระทำซ้ำว่าเป็นจริงหรือเท็จ 2.5.2 คำสั่ง continue คำสั่งที่ใช้งานเหมือนคำสั่ง break แต่จะใช้ในการกระทำซ้ำเท่านั้น ถ้าโปรแกรมเจอคำสั่งนี้อยู่ จะถือว่าการกระทำซ้ำนั้นสิ้นสุดและจะหลุดไปสู่การกระทำซ้ำในรอบถัดไปโดยไม่สนใจในคำสั่งที่เหลืออยู่แต่อย่างไร 2.5.3 คำสั่ง exit คำสั่งที่ใช้ในการจบการทำงานของโปรแกรม

ภาพที่ 4.26 การใช้คำสั่ง break, continue ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

ภาพที่ 4.27 ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง break, continue ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

3. บทสรุปท้ายหน่วยเรียน ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Algorithm) มีลำดับขั้นตอนการเขียน Flow Control เลือกทิศทางการตัดสินใจหรือวนรอบเพื่อดึงข้อมูลออกมานั้น มีส่วนสำคัญมากในการพัฒนาโปรแกรมซึ่งมีรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกันตามลักษณะการเลือกใช้งานให้เหมาะสมโดยจะมีการใช้งานให้เลือกดังนี้ คำสั่งตรวจสอบเงื่อนไขประกอบไปด้วย การตรวจเงื่อนไขแบบ 1 ทางเลือกด้วย คำสั่ง if(), การตรวจเงื่อนไขแบบ 2 ทางเลือกด้วยคำสั่ง if()else, การตรวจเงื่อนไขแบบหลายทางเลือกด้วย คำสั่ง if()else if(), การวนรอบด้วยจำนวนที่แน่นอนด้วยคำสั่ง for(), คำสั่งวนรอบ (Reparation or Loop) ประกอบไปด้วย การวนรอบจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จด้วยคำสั่ง while(), การวนรอบจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จด้วยคำสั่ง do while(), การวนรอบสมาชิกทุกตัวใน array ด้วยคำสั่ง foreach(), การออกจากการทำงานด้วยคำสั่ง break, exit และ continue