ทักษะการสืบค้นและการนำเสนอสาร หน่วยที่ 4 ทักษะการสืบค้นและการนำเสนอสาร อาจารย์เสาวลักษณ์ แซ่ลี้ อาจารย์กฤติกา ผลเกิด
การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้สืบค้นสามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนในการสืบค้นดังนี้
ขั้นตอนในการสืบค้น 1. กำหนดเรื่อง โดยระบุความต้องการให้ชัดเจนว่าต้องการค้นเรื่องอะไร 2. วิเคราะห์คำถาม (Query) ของเรื่องที่ต้องการค้น เช่น คำสำคัญ (Keyword) หรือ หัวเรื่อง (Subject) โดยตอบคำถาม 5 W 1 H (what when where why who how )
ขั้นตอนในการสืบค้น 3. เลือกเครื่องมือช่วยค้นหรือ Search engine ที่จะใช้ค้น หรือแหล่งข้อมูลที่จะค้น 4. ใช้เครื่องหมายและคำสั่งในการค้นเพื่อกำหนดขอบเขตของคำ ให้แคบและเฉพาะเจาะจงข้อมูลที่ต้องการ 5. วิเคราะห์และประเมินผลลัพธ์ที่ได้จากการค้น
การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล ฐานข้อมูลแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ฐานข้อมูลเพื่อการอ้างอิง ให้บริการข้อมูลด้านดรรชนีและบรรณานุกรม ฐานข้อมูลเพื่อแนะนำแหล่งสารสนเทศ ให้บริการข้อมูลในรูปเนื้อหาสารสนเทศเต็มรูปแบบด้วยตัวเลข หรือตัวเลขพร้อมเนื้อหาสารสนเทศ
ลักษณะของบริการฐานข้อมูล 1. ฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด ฐานข้อมูลตามประเภทของสารสนเทศ ฐานข้อมูลเฉพาะภูมิภาค ฐานข้อมูลเฉพาะวิชา ฐานข้อมูลชีวประวัติ
ลักษณะของบริการฐานข้อมูล 2. ฐานข้อมูลออนไลน์ เป็นบริการสืบค้นข้อมูลโดยผ่านระบบคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม โดยผู้ใช้บริการต้อง เสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าบริการฐานข้อมูลและค่าใช้ชุมสายสื่อสารข้อมูล เช่น ฐานข้อมูล Wilson Web
ลักษณะของบริการฐานข้อมูล 3. ฐานข้อมูลซีดีรอม เป็นฐานข้อมูลสำเร็จรูปใช้สำหรับอ่านได้เพียงอย่างเดียว เช่น ABI/Inform เป็นฐานข้อมูลสาขาวิชาการบัญชี การธนาคาร ธุรกิจ สิ่งแวดล้อม การประกันภัย มานุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ การจัดการ และการตลาด
การสืบค้นข้อมูลด้วย OPAC OPAC (Online Public Access Catalog) เป็นเครื่องมือในการสืบค้นฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลได้ผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือทางอินเทอร์เน็ต http://www.library.ssru.ac.th/
วิธีการสืบค้น OPAC มีดังนี้ สืบค้นด้วยชื่อผู้แต่ง (Author Searching) สืบค้นด้วยชื่อเรื่อง (Title Searching) สืบค้นด้วยหัวเรื่อง (Subject Heading Searching) สืบค้นด้วยคำสำคัญ (Keyword Searching) สืบค้นด้วยเลขหมู่ (Call number Searching) สืบค้นด้วยเลขมาตรฐานประจำหนังสือ (ISBN) และวารสาร(ISSN)
OPAC ARC SRU Online
การสืบค้นข้อมูลด้วย Search Engine เครื่องมือสืบค้นข้อมูล (Search Engine) คือ เครื่องมือที่ช่วยให้การค้นหาข้อมูลสะดวกมากขึ้น โดยทั่วไปจะมีการเก็บรายชื่อเว็บไซต์และรายละเอียดที่อยู่ภายในเก็บไว้ในฐานข้อมูล เมื่อมีผู้สืบค้นข้อมูลระบบก็จะหาคำตอบจากฐานข้อมูลมาให้ Search Engine ที่ได้รับความนิยม เช่น www.google.co.th
ข้อควรคำนึงสำหรับผู้ใช้ Search Engine มีดังนี้ ผู้ใช้ควรระบุคำสำคัญให้ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการสืบค้น อย่าใช้คำสำคัญกำกวม คำว่ากำกวมของ Search Engine คือ คำที่นำไปประกอบกับคำอื่น ๆ แล้วมีความหมายที่แตกต่างไปได้หลายแบบ เช่น black อาจหมายถึง black jack (เกมไพ่), black hole (หลุมดำในอวกาศ)
การใช้เครื่องหมายช่วยในการค้นหาข้อมูล ใช้เครื่องหมาย + นำหน้าคำสำคัญ เพื่อบังคับให้ผลการค้นหาที่ได้ต้องมีข้อความที่ตรงกับคำสำคัญ เช่น +ภาษาไทย +thai
การใช้เครื่องหมายช่วยในการค้นหาข้อมูล ใช้เครื่องหมาย – นำหน้าคำสำคัญ เพื่อบังคับให้ผลการค้นหาที่ได้ไม่มีข้อความที่ตรงกับคำสำคัญ เช่น +ภาษาไทย -สำนวน +literature - thai
การใช้เครื่องหมายช่วยในการค้นหาข้อมูล ใช้เครื่องหมายคำพูด " … " คร่อมวลี เพื่อให้ค้นตรงตัว เช่น “การใช้ภาษาไทย” "thai usage"
การใช้เครื่องหมายช่วยในการค้นหาข้อมูล ใช้เครื่องหมาย * ต่อท้ายคำ เพื่อให้ค้นคำทั้งหมด ที่เริ่มต้นด้วยอักษรดังกล่าว เช่น สำนวน* thai*
การใช้เครื่องหมายช่วยในการค้นหาข้อมูล ใส่ตัวเชื่อม operator u: หน้าคำที่ต้องการค้น เพื่อจำกัดให้ค้นจาก Web Address (หรือ URLs) เท่านั้น เช่น u:ภาษาศาสตร์ u:rajabhat
การใช้เครื่องหมายช่วยในการค้นหาข้อมูล ใส่ตัวเชื่อม operator t: หน้าคำที่ต้องการค้น เพื่อจำกัดให้ค้นจากชื่อ (Document Titles) เท่านั้น เช่น t:ภาษาศาสตร์ t:university
การใช้เครื่องหมายช่วยในการค้นหาข้อมูล ใส่ตัวเชื่อม OR ใช้ค้นหาคำหลายคำ แต่ไม่จำเป็นว่าทุกคำที่เราสืบค้นต้องอยู่ในหน้าเดียวกัน เช่น หลักภาษาไทย OR วรรณคดี
การใช้เครื่องหมายช่วยในการค้นหาข้อมูล ใส่เครื่องหมาย ~ เพื่อสืบค้นคำพ้องความหมาย เช่น ~ กิน ~ food
การใช้เครื่องหมายช่วยในการค้นหาข้อมูล การใช้ตัวเชื่อมหลายชนิดผสมกัน เช่น ต้องการค้นหา WebSites ทั้งหมด ที่เป็นหน่วยงานของรัฐในประเทศไทย (.go.th) แต่ไม่ต้องการ คำว่า rajabhat ไม่ว่าจะอยู่ใน Web Address (URLs) หรือใน Document Titles +u:.go.th -t:rajabhat -u:rajabhat
การนำเสนอสาร
ลักษณะเด่นของการนำเสนอสารด้วยวาจา 1. การนำเสนอด้วยวาจาสามารถสร้างความเข้าใจแก่ผู้รับสารได้ดีกว่าการสื่อสารประเภทอื่น เพราะยังมีอวัจนภาษาต่างๆ ประกอบการพูด ทำให้ผู้รับสารสามารถเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้พูดได้ดียิ่งขึ้น
ลักษณะเด่นของการนำเสนอสารด้วยวาจา 2. การนำเสนอด้วยวาจาเป็นการสื่อสารแบบสองทาง ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถแสดงปฏิกิริยาย้อนกลับถึงกันและกันได้ ผู้พูดสามารถให้ข้อมูลหรือแนวคิดได้อย่างรวดเร็ว ผู้ฟังสามารถซักถามหรือแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันได้ทันที
ลักษณะเด่นของการนำเสนอสารด้วยวาจา 3. หน่วยงานต่างๆ นิยมใช้การนำเสนอด้วยวาจาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์องค์กร รวมทั้งวงการศึกษา การนำเสนอด้วยวาจาประกอบสื่อก็นำมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมากเช่นกัน
รูปแบบการใช้สื่อเพื่อประกอบการนำเสนอ รูปแบบการนำสื่อมาใช้เพื่อการนำเสนอมีดังนี้ การบรรยาย (Lecture) และการบรรยายสรุป (Brief) ผู้บรรยายอาจใช้สื่อประกอบการบรรยาย เช่น แผ่นโปร่งใส แถบบันทึกเสียง สไลด์ ซึ่งจะช่วยให้การบรรยายน่าสนใจยิ่งขึ้น
รูปแบบการใช้สื่อเพื่อประกอบการนำเสนอ การจัดนิทรรศการ (Exhibition) เป็นการจัดแสดงเนื้อหาสาระ ผลงาน ผลิตภัณฑ์ ฯลฯ ซึ่งนอกจากจะมีสิ่งของที่นำมาแสดงแล้ว อาจจะมีสื่ออื่น ๆ ประกอบ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบการจัดนิทรรศการให้น่าสนใจยิ่งขึ้น
รูปแบบการใช้สื่อเพื่อประกอบการนำเสนอ การจัดการแสดง เช่น การแสดงดนตรี นาฏศิลป์ ละคร การจัดแสดงแสง – สี – เสียง การจัดกิจกรรมอื่น ๆ เช่น โครงการรณรงค์ต่าง ๆ
สื่อประกอบการนำเสนอ สื่อตามความหมายของ วิรัช ลภิรัตนกุล (2543,หน้า 154) หมายถึง วัสดุและเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ที่เราใช้ประกอบการอธิบายในเรื่องที่พูดเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
สื่อมีหลายประเภท ทั้งที่เป็นทัศนวัสดุ คือสื่อสำหรับมองดู เช่น แผนภาพ แผนที่ แผนภูมิ ภาพโปสเตอร์ และโสตทัศนูปกรณ์ เช่น เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายข้ามศีรษะ นอกจากนั้นยังมีสื่อประสม (multi-media) ซึ่งใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นหลักเพื่อสร้างภาพและเสียงให้น่าสนใจยิ่งขึ้น
ประเภทของโสตทัศนูปกรณ์ รูปภาพ (Photo) ภาพนิ่ง (Slide) เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projector) ของจริง (Object) คอมพิวเตอร์ (Computer) แผนภูมิ (Chart) แผนสถิติ (Graph) แผนที่ (Map) แผนภาพ (Diagram) แผ่นโปสเตอร์ (Poster)
คณบดี รองคณบดี ฝ่ายบริหาร ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายกิจการนักศึกษา แผนภูมิองค์กร
แผนสถิติ
แผนที่ (ภาพจาก www.geosurin.blogspot.com/2009_05_01_archive.html)
แผนภาพ (ภาพจาก www.Sarakadee.com/feature/1999/05/cruise.html)
แผ่นโปสเตอร์ (ภาพจาก: www.amed.go.th/.../File/download/wad2009menu.html)
รูปภาพ (ภาพจาก www.bloggang.com/viewdiary.php?id=haiku&month=01-2006&date=02&group=2&gblog=6)
ภาพนิ่ง ภาพจาก: www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page08004.asp
เครื่องฉายข้ามศีรษะ (ภาพจาก: www.kindermann.de/.../index_eng.html)
คอมพิวเตอร์ (ภาพจาก: home.kku.ac.th/regis/student/his/home.html )
สื่อประสม
สิ่งที่ช่วยให้การนำเสนอเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เอกสารประกอบ (Handout) ไมโครโฟน (Microphone) อุปกรณ์สำหรับชี้ (Pointer)
แบบฝึกหัด ภาพนี้มีใบหน้ากี่หน้า 10 หน้า
สิ่งที่ควรคำนึงในการจัดทำสื่อ มีเอกภาพ คือ ความเป็นหนึ่งเดียวของสิ่งที่ต้องการนำเสนอ การใช้สีแสดงวัตถุประสงค์ต่างๆ คือ ให้ความรู้สึกเหมือนของจริง แสดงความเหมือนและความแตกต่าง แสดงส่วนสำคัญ และสร้างอารมณ์ให้ผู้ชม การใช้สีเพื่อการเน้นไม่ควรใช้เกิน 8 สี
(ภาพจาก: aboutgraphics.spaces.live.com/)
สิ่งที่ควรคำนึงในการจัดทำสื่อ ตัวอักษร ให้พิจารณาว่าเพื่อการมองเห็นที่ดีควรใช้สีตัวอักษรที่ตัดกับสีพื้น และมีขนาดตัวอักษรที่สัมพันธ์กับระยะห่างในการมอง แบบตัวอักษรต้องเลือกใช้ให้สัมพันธ์กับสารที่ต้องการถ่ายทอด
สิ่งที่ควรคำนึงในการจัดทำสื่อ หากมีการใช้สัญลักษณ์ประกอบควรเป็นสัญลักษณ์ที่ง่ายๆ เข้าใจได้ทันที เช่น หมายถึง ตำแหน่งที่ตั้งโทรศัพท์ หมายถึง การห้าม หมายถึง สถานที่อำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ
การเลือกใช้สื่อประกอบการนำเสนอ ควรพิจารณาดังนี้ จุดมุ่งหมายของการนำเสนอ พื้นฐานของผู้ฟังในเรื่องอายุและระดับความรู้ สถานที่ ประสิทธิภาพในการใช้งาน
หลักและวิธีการใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ จงอย่ายืนอยู่ระหว่างผู้ฟังและสิ่งที่เราต้องการแสดงให้ผู้ฟังชม จงแน่ใจว่าทัศนวัสดุที่นำมาประกอบการพูดนั้นมี ขนาดใหญ่เพียงพอที่จะให้ผู้ฟังเห็นได้อย่างทั่วถึง
หลักและวิธีการใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ จงใช้ทัศนวัสดุที่มีความสอดคล้อง หรือเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับเรื่องราวที่กำลังพูด พึงหลีกเลี่ยงรายละเอียดปลีกย่อยที่เกินจำเป็นหรือไม่เกี่ยวข้องในทัศนวัสดุนั้น จงใช้ทัศนวัสดุที่แสดงข้อมูลอย่างง่ายๆ เพียงพอ ที่ผู้ฟังจะเข้าใจได้ทันทีเมื่อมองเห็น
หลักและวิธีการใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ จงใช้ถ้อยคำง่ายๆ สั้น กะทัดรัดในทัศนวัสดุที่ใช้ประกอบการพูดนั้น พึงระลึกเสมอว่าทัศนวัสดุที่ใช้ควรมีความประณีต สีสันสวยงาม สดใส เพื่อดึงดูดความสนใจผู้ฟัง ซึ่งจะต้องอาศัยการเตรียมหรือการจัดทำอย่างมีประสิทธิภาพ
หลักและวิธีการใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ ทัศนวัสดุที่ใช้ควรสื่อสารเพียงความคิดเดียว หลีกเลี่ยงการยัดเยียดความคิดหลายๆ ประการลงในทัศนวัสดุชิ้นเดียว เพราะจะทำให้การสื่อความล้มเหลวมากกว่าที่จะเพิ่มความเข้าใจให้กับผู้ฟัง
หลักและวิธีการใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ หากเป็นการพูดเพื่อให้ความรู้หรืออธิบาย การใช้ ทัศนวัสดุจะต้องช่วยในการสร้างความเข้าใจและสื่อสารความคิดเห็นที่ชัดเจนแจ่มแจ้งแก่ผู้ฟัง หากเป็นการพูดเพื่อชักจูงใจหรือโน้มน้าวใจ การใช้สื่อเพื่อประกอบการพูด จะต้องช่วยให้ผู้ฟังเกิดการยอมรับง่ายขึ้น ทั้งนี้จะต้องมีข้อเท็จจริงต่างๆ สนับสนุนด้วย
หลักและวิธีการใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ พึงระลึกว่าโสตทัศนูปกรณ์ไม่สามารถใช้แทนการพูดได้ทั้งหมด แต่เป็นเพียงสิ่งที่ช่วยเสริม การพูดของ ผู้พูดเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
ข้อแนะนำนี้แสดงให้เห็นว่าการนำเสนอจะประสบความสำเร็จไปสู่จุดมุ่งหมายหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้พูดหรือ ผู้นำเสนอ สื่อหรืออุปกรณ์ต่างๆ และวิธีการใช้สื่อเหล่านั้นประกอบเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ
การนำเสนอสารด้วยโปรแกรม MS PowerPoint มีกระบวนการดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (Plan) คือ การวางแผนรายละเอียดเกี่ยวกับหัวข้อที่ต้องการนำเสนอ วัตถุประสงค์ และกลุ่มผู้ฟัง ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมงาน (Prepare) คือ การเตรียมด้านข้อมูล แนวคิด เค้าโครง เวลาที่จะใช้ในการนำเสนอ
การนำเสนอสารด้วยโปรแกรม MS PowerPoint ขั้นตอนที่ 3 การฝึกฝน (Practice) คือ การทบทวนเนื้อหา ทดสอบการนำเสนองาน ขั้นตอนที่ 4 การนำเสนอ (Present) คือ การนำเสนอเนื้อหาด้วยการดึงความสนใจของผู้ฟังโดยใช้งานนำเสนอ (PowerPoint) อย่างกลมกลืน
การบันทึกรูปแบบตัวอักษรไว้กับงานนำเสนอ เลือก บันทึกเป็น เลือก เครื่องมือ ตัวเลือกการบันทึก คลิกเลือก ฝังแบบอักษรในแฟ้ม เลือก ฝังอักขระที่ใช้ในการนำเสนอเท่านั้น (เหมาะสำหรับการลดขนาดแฟ้ม) หรือ ฝังอักขระทั้งหมด (เหมาะสำหรับการแก้ไขโดยผู้อื่น)
การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยลายลักษณ์อักษร
รูปแบบของบทนิพนธ์ รายงาน (Report) ภาคนิพนธ์ (Term paper) ปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ (Thesis) ผู้สอน : อาจารย์เสาวลักษณ์ แซ่ลี้ อาจารย์กฤติกา ผลเกิด 62
รายงาน (Report) การเรียบเรียงผลจากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร การสังเกต การทดลองเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ในแต่ละรายวิชาซึ่งผู้ศึกษาและผู้สอนจะมี การตกลงกันเกี่ยวกับ ชื่อเรื่อง จำนวนบุคคลที่ทำรายงาน จำนวนรายงาน โดยมีการพิมพ์หรือเขียนตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ภาคนิพนธ์ (Term paper) การเสนอผลการศึกษาที่มีเนื้อหาครอบคลุมรายวิชาทั้งภาคเรียน มีวิธีการศึกษาที่ลึกซึ้งและกว้างขวางกว่ารายงาน โดยมีการวิเคราะห์เนื้อหาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นและมีวิธีเสนอความความคิดอย่างเป็นระบบ มีเหตุผลและเรียบเรียงด้วยภาษาของผู้ศึกษาที่ถูกต้องชัดเจน
ปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ (Thesis) การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าวิจัยของการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเป็นรายบุคคลเพื่อขอรับปริญญาในระดับที่ศึกษา ซึ่งการจัดทำมีข้อจำกัดมากกว่าการทำรายงานและภาคนิพนธ์ เช่น เนื้อหาต้องเป็นการวิจัยเฉพาะเรื่อง มีการเสนอความคิดริเริ่มอย่างมีคุณภาพ กำหนดระยะเวลาชัดเจน และผู้วิจัยต้องปฏิบัติตามระเบียบและขั้นตอนของสถาบันการศึกษาอย่างเคร่งครัด
ส่วนประกอบของบทนิพนธ์ ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อเรื่อง ส่วนประกอบตอนท้าย
ส่วนประกอบตอนต้น ปกนอก ใบรองปก ปกใน คำนำ สารบัญ บัญชีตาราง บัญชีภาพประกอบ
ส่วนเนื้อเรื่อง เนื้อหา (ตอนนำเรื่อง เนื้อเรื่อง บทสรุป) อัญประภาษ การอ้างอิง บันทึกเพิ่มเติม ตาราง ภาพประกอบ
ส่วนประกอบตอนท้าย หน้าบอกตอน บรรณานุกรม ภาคผนวก อภิธานศัพท์ ดรรชนี
ภาคผนวก
คำนำ รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาการเขียนทั่วไป โดยมีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆและเรียบเรียงเป็นเอกสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการย่อความเพื่อเป็นความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานเขียนทั่วไป ขอขอบคุณบุคคลและหน่วยงานที่ปรากฏในบรรณานุกรมซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลในการจัดทำรายงานฉบับนี้จนสำเร็จบริบูรณ์ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย อ้อยสร้อย อรชร 25 พฤศจิกายน 2552
หน้า คำนำ (ก) สารบัญ (ข) ความหมายของการย่อความ 1 คำนำ (ก) สารบัญ (ข) ความหมายของการย่อความ 1 ความสำคัญของการย่อความ 2 หลักเกณฑ์การย่อความ 3 แบบฝึกหัด 5 บรรณานุกรม 20
การอ้างอิงและการเขียนบรรณานุกรม
ความหมายของการอ้างอิง การระบุที่มาเพื่อเป็นหลักฐาน การอ้างอิง การยกมากล่าวเป็นหลัก
ความสำคัญของการอ้างอิง เป็นการแสดงแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการทำรายงาน เป็นการให้เกียรติและเคารพต่อผู้เป็นเจ้าของผลงาน เป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
ประเภทของการอ้างอิง การอ้างอิงในเนื้อหา อัญประภาษ เชิงอรรถ การอ้างอิงท้ายเล่ม บรรณานุกรม
การอ้างอิงในเนื้อหา อัญประภาษ หมายถึง ข้อความที่คัดลอกมา จากต้นฉบับ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ
การอ้างอิงไม่เกิน 3 บรรทัด การอ้างอิงไม่เกิน 3 บรรทัด พิทยา ลิ้มมณี (2537,หน้า 3) กล่าวว่า “การอ่านตีความ เป็นศิลปะการอ่านขั้นสูงที่แสดงถึงความสามารถของผู้อ่านในการเข้าใจเนื้อหาสาระ เจตนา และน้ำเสียง”
การอ้างอิงเกิน 3 บรรทัด การอ้างอิงเกิน 3 บรรทัด นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2537, หน้า 18-19) กล่าวถึงแนวทางการเกิด ความจำเป็นและความสำคัญของภาษามาตรฐานไว้ว่า สำเนียงหรือภาษามาตรฐานนั้น มีแนวทางเกิดขึ้นได้เป็นสองอย่าง ในโลกตะวันตกซึ่งได้เกิดพัฒนาการของการศึกษามวลชน และเทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคมแผนใหม่ขึ้นก่อน ภาษา มาตรฐานมักเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เพราะทั้งการศึกษามวลชนและเทคโนโลยีนั้น เรียกร้องให้มีมาตรฐานสำหรับความสะดวกของตน. . .
เชิงอรรถ เชิงอรรถ เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหารายงานที่ปรากฏท้ายหน้า หรือท้ายบท โดยมีหมายเลขหรือเครื่องหมายกำกับ อาจมีหรือไม่มีในรายงานก็ได้ มี 3ประเภท คือ เชิงอรรถอ้างอิง เชิงอรรถเสริมความ เชิงอรรถโยง เป็นเชิงอรรถที่บอกแหล่งที่มาของข้อมูล ผู้สอน : อาจารย์เสาวลักษณ์ แซ่ลี้ อาจารย์กฤติกา ผลเกิด
เชิงอรรถอ้างอิง เชิงอรรถที่บอกแหล่งที่มาของข้อมูล ตัวอย่าง ...คำว่า “มะเทิ่ง” เป็นชื่อคนๆ หนึ่งในหนังสือพงศาวดารมอญเรื่อง ราชาธิราช...เรื่องของมะเทิ่งจึงอาจจะเป็นมูลที่มาของสำนวนนี้ คือใครมุทะลุทำอะไรเอะอะตึงตังอย่างมะเทิ่ง ก็เอามะเทิ่งมาเทียบพูดกันเป็นสำนวนว่า “อุอะมะเทิ่ง” หรือ กุกะมะเทิ่ง”1 1 กาญจนาคพันธุ์, สำนวนไทย (พระนคร : บำรุงสาส์น, 2513) หน้า 120
เชิงอรรถเสริมความ เชิงอรรถที่ผู้เขียนต้องการขยายความเนื้อหาใน ตัวรายงานเพิ่มขึ้น (ดูตัวอย่างเชิงอรรถหมายเลข 2)
เชิงอรรถโยง เชิงอรรถที่บอกให้ผู้อ่านไปอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมในหน้าอื่นของรายงาน (ดูตัวอย่างเชิงอรรถหมายเลข 3)
ท. อรรถศาสตร์2 “วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความหมายของภาษา” มาจาก ส ท. อรรถศาสตร์2 “วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความหมายของภาษา” มาจาก ส. อรฺถ- ศาสฺตฺร3 “ชื่อตำราว่าด้วยการดำรงชีวิตและนโยบายในการปกครองบ้านเมือง” --------------------------- 2 อรรถศาสตร์เป็นศัพท์บัญญัติทางภาษาศาสตร์ บัญญัติขึ้นแทนคำภาษาอังกฤษว่า semantics 3 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหน้า 9
แบบฝึกหัด ข้อความต่อไปนี้เป็นเชิงอรรถประเภทใด กระแรกผู้หญิงใส่ กระสองใช้ใส่หนังสือ กระสามผีฮื้อฮือ1 กระสี่หรือก็คือควาย --------------------------------- 1 คำนี้เป็นคำเลียนเสียงหรือ onomatopoeia เช่นเดียวกับคำว่า จ๊อกๆ ก๊อกๆ ปังๆ ข้อ 1 เชิงอรรถเสริมความ
แบบฝึกหัด ข้อความต่อไปนี้เป็นเชิงอรรถประเภทใด แบบฝึกหัด ข้อความต่อไปนี้เป็นเชิงอรรถประเภทใด สำนวน “เกลือ” หมายถึง ฉลาดหลักแหลมในการคบคน ปัจจุบันไม่มีใช้2 กาญจนาคพันธุ์ อธิบายไว้ว่า คนที่ฉลาดรู้คิดไม่เสียเปรียบ เรียกกันว่าคนเค็ม ของเค็มไม่มีอะไรจะยิ่งไปกว่าเกลือ เราจึงเอา “เกลือ” มาเปรียบกับคนที่ฉลาดหลักแหลม ไม่ยอมเสียเปรียบใคร3 -------------------------- 2 กาญจนาคพันธุ์ (นามแฝง), สำนวนไทย ภาค 1, หน้า 118. 3 เรื่องเดียวกัน, หน้า 119. ข้อ 2 เชิงอรรถอ้างอิง ข้อ 3 เชิงอรรถโยง
การอ้างอิงท้ายเล่ม บรรณานุกรม หมายถึง แหล่งที่มาของข้อมูล โดยเรียงตามลำดับตามอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง แต่ละรายการ โดยมีวิธีการเขียนแตกต่างกันตามประเภทของแหล่งข้อมูล
รูปแบบการเขียนบรรณานุกรม
การลงรายการบรรณานุกรม ลำดับการลงรายการบรรณานุกรม ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ ชื่อเรื่อง ข้อมูลเกี่ยวกับการพิมพ์ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์
การเรียงลำดับรายชื่อในบรรณานุกรม 1. เรียงตามลำดับพยัญชนะไทย ก-ฮ โดยเรียงชื่อที่ไม่มี รูปสระประกอบมาก่อน 2. พยัญชนะต้นตัวเดียวกันที่มีรูปสระจะเรียงลำดับรูปสระตามแบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ดังนี้ อะ อั- อัวะ อา อำ อิ อี อึ อื อุ อู เอ เอะ เอา เอาะ เอิ- เอีย เอียะ เอือ เอือะ แอ แอะ โอ โอะ ใอ ไอ
แบบฝึกหัด จงจัดเรียงชื่อตามลำดับตัวอักษร แบบฝึกหัด จงจัดเรียงชื่อตามลำดับตัวอักษร ก. เฟื่องฟุ้ง เครือตราชู ข. ณัฐพงศ์ เกศมาริษ ค. กัลยา ติงศภัทิย์ ง. กัลยา โสภณพาณิชย์ จ. นันทนา รณเกียรติ 5 3 1 2 4
แบบฝึกหัด การจัดเรียงชื่อตามลำดับตัวอักษร ก. สุภาพร ดุษฎีพฤฒิพันธ์ ข. สุปราณี สนธิรัตน์ ค. สิทธิชัย ประสานวงศ์ ง. สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ จ. สายทิพย์ นุกูลกิจ 5 4 2 3 1
การลงชื่อผู้แต่ง ลงชื่อผู้แต่งทุกคนตามหน้าปกใน ไม่ว่าจะเป็นชื่อจริงหรือนามแฝง 2. ผู้แต่งที่มีฐานันดรศักดิ์ ให้ลงราชทินนาม พระนาม ชื่อ สกุล คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ตัวอย่าง มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา จินตนา ยศสุนทร, คุณหญิง
การลงชื่อผู้แต่ง (ต่อ) ผู้แต่งที่มีสมณศักดิ์ ตัวอย่าง สมเด็จพระสังฆราชเจ้า → ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมพระ ไม่มีสมณศักดิ์ หรือใช้สังฆนาม → พุทธทาสภิกขุ
การลงชื่อผู้แต่ง (ต่อ) 4. ผู้แต่งที่เป็นสถาบัน ให้ลงชื่อเฉพาะ คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค แล้วตามด้วยสถาบันหรือหน่วยงาน ตัวอย่าง → สวนสุนันทา, มหาวิทยาลัยราชภัฏ → วัดราชาธิวาส, โรงเรียน → ราชวิถี, โรงพยาบาล ยกเว้นสถาบันที่มีชื่อเฉพาะให้เขียนปกติ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธนาคารแห่งประเทศไทย ราชนาวีสโมสร เป็นต้น
การลงชื่อผู้แต่ง (ต่อ) 5. รายการที่มีผู้แต่งซ้ำให้ใช้เครื่องหมายสัญประกาศ ( _ ) 4-7 ครั้ง แล้วลงเครื่องหมายมหัพภาค (.) เพื่อแทนชื่อผู้แต่งที่ปรากฏแล้วในรายการก่อนหน้า 6. หนังสือที่มีผู้จัดพิมพ์ ผู้รวบรวมหรือบรรณาธิการ ให้เขียนชื่อบรรณาธิการแล้วเขียน (บ.ก.) หรือ (ED.) หรือ (Eds.) 7. หนังสือที่ไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ลงชื่อหนังสือเป็นรายการแรก แทนที่ชื่อผู้แต่ง
แบบฝึกหัด จงแก้ไขชื่อให้ถูกต้องตามหลักบรรณานุกรม แบบฝึกหัด จงแก้ไขชื่อให้ถูกต้องตามหลักบรรณานุกรม อุปกิตศิลปสาร,พระยา 1. พระยาอุปกิตศิลปสาร 2. ราชบัณฑิตยสถาน 3. มหาวิทยาลัยนเรศวร 4. คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ 5. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ราชบัณฑิตยสถาน นเรศวร,มหาวิทยาลัย พรทิพย์ โรจนสุนันท์, คุณหญิง ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จฯ กรมพระยา ผู้สอน : อาจารย์เสาวลักษณ์ แซ่ลี้ อาจารย์กฤติกา ผลเกิด
เครื่องหมายสำคัญในการลงบรรณานุกรม จุลภาค , ใช้คั่นระหว่างชื่อผู้แต่งหลายคน หรือผู้แต่งที่มีฐานันดรศักดิ์ สมณศักดิ์ และสถาบัน มหัพภาค . ใช้เมื่อจบรายการ เช่น การลงชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. ชื่อสำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์และตัวอักษรย่อ
เครื่องหมายสำคัญในการลงบรรณานุกรม นขลิขิต หรือวงเล็บ ( )ใช้เมื่อแสดงปีที่พิมพ์ และการไม่ระบุปี ที่พิมพ์ ให้ใช้ว่า (ม.ป.ป.) ทวิภาค :ใช้เมื่อระบุสถานที่พิมพ์ หลังชื่อจังหวัดที่สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ตั้งอยู่ให้ใส่เครื่องหมายทวิภาคตาม
หนังสือทั่วไป ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. (จำนวนเล่ม). (พิมพ์ครั้งที่). เมืองที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.
หนังสือทั่วไป ตัวอย่าง วนิดา บำรุงไทย. (2545). สารคดี กลวิธีการเขียนและ แนววิจารณ์. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน์.
หนังสือทั่วไป ตัวอย่าง บุญเหลือ เทพยสุวรรณ, ม.ล. (2522). วิเคราะห์ รสวรรณคดีไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา.
หนังสือทั่วไป ตัวอย่าง ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต, รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ และ ดวงมน จิตร์จำนงค์. (2541). ทอไหมในสายน้ำ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ประพันธ์สาสน์.
หนังสือทั่วไป ตัวอย่าง เจือ สตะเวทิน. (2519). การใช้ภาษาระดับปริญญา. ม.ป.ท.
หนังสือทั่วไป ตัวอย่าง สวดมนต์ไหว้พระฉบับชาวบ้านและผู้ปฏิบัติธรรม. (2541). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน์.
หนังสือแปล ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ (แปลจาก___โดย___). (พิมพ์ครั้งที่). เมืองที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.
หนังสือแปล ตัวอย่าง ฟิสค์, เอ็ดเวิร์ด บี. (2542). การกระจายอำนาจทาง การศึกษา การเมืองและฉันทานุมัติ. (แปล จาก Decentralization of education : Politics and consensus โดย ภัทรนันท์ พัฒิยะ). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการ ศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
บทความหรือเนื้อหาแยกแต่ละบทแต่ละผู้เขียนในเล่ม ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ ใน ชื่อผู้รวบรวม. ชื่อหนังสือ. (หน้า). เมืองที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.
บทความหรือเนื้อหาแยกแต่ละบทแต่ละผู้เขียนในเล่ม ตัวอย่าง สมบูรณ์ พรรณาภพ. (2535). อภิปรัชญากับการศึกษา. ในคณะกรรมการโครงการสารานุกรม ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (บ.ก.). สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ. (หน้า 407-415). กรุงเทพมหานคร : คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
การอ้างเอกสารชั้นรอง (ให้ความสำคัญของเอกสารเดิมมากกว่า) ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. เมืองที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์. อ้างถึงใน ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. เมืองที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.
การอ้างเอกสารชั้นรอง (ให้ความสำคัญของเอกสารเดิมมากกว่า) ตัวอย่าง สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์. (2510). หลักเกณฑ์การทำบัตรรายการ หนังสือภาษาไทยฉบับสมบูรณ์และตัวอย่างบัตร. พระนคร : ไทยวัฒนาพานิช. อ้างถึงใน กมลา รุ่งอุทัย. (2531). หลักเกณฑ์การลงรายการแบบแองโกล อเมริกัน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ม.ป.ท.
บทความในวารสารวิชาการ ผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้า.
บทความในวารสารวิชาการ ตัวอย่าง นวนิตย์ อินทรามะ. (2541). การพัฒนาห้องสมุดกับ การควบคุมคุณภาพ. วารสารสำนักวิทย- บริการ, 3 (3), 3-7.
บทความในนิตยสาร ผู้เขียนบทความ. (ปี, เดือน). ชื่อบทความ. ชื่อนิตยสาร, ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้า.
บทความในนิตยสาร ตัวอย่าง กฤษณา อโศกสิน. (นามแฝง). (2542, มีนาคม). เรื่องของคนสองคน. สกุลไทย. 45 (2319), 18.
บทความในหนังสือพิมพ์ ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปี, เดือน วันที่). ชื่อบทความ. ชื่อหนังสือพิมพ์, หน้า.
บทความในหนังสือพิมพ์ ตัวอย่าง นิติภูมิ เนาวรัตน์. (2547, พฤษภาคม 31). บ้านเมือง เปรียบเทียบ : ไทย vs ญี่ปุ่น (1). ไทยรัฐ, หน้า 2.
บทความในหนังสือพิมพ์ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ภาษีน้ำมันคิดตามอัตราตามปริมาณ. (2552, กันยายน 29). มติชน, หน้า 2.
วิทยานิพนธ์ ผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับของวิทยานิพนธ์ คณะ มหาวิทยาลัย.
วิทยานิพนธ์ ตัวอย่าง อรอุษา สุวรรณประเทศ. (2545). จดหมายจางวางหร่ำ : คุณค่าและความสำคัญต่อพัฒนาการวรรณกรรม ไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผู้แต่ง. (ปี, วัน เดือน ที่แต่ง). ชื่อเรื่อง. สืบค้นเมื่อ วันที่ เดือน , ปี, ที่เข้าถึงข้อมูล จาก แหล่งข้อมูลสารสนเทศ
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง อดิศร ฟุ้งขจร. (2548). คลื่นสึนามิในอันดามัน. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม, 2548, จาก www.Tsunamithai.com
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง ผู้จัดการออนไลน์. (2548, 20 กุมภาพันธ์). แผนสถาปนารัฐปัตตานีขึ้นใหม่สู้รบ 80 วันก่อนยกเบตงเมืองหลวง . สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์, 2548, จาก http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx? NewsID=9480000025410
สัมภาษณ์ ผู้ให้สัมภาษณ์. (ปี, เดือน วันที่). ตำแหน่ง (ถ้ามี). สัมภาษณ์.
สัมภาษณ์ ตัวอย่าง ดิลก บุญเรืองรอด. (2543, กรกฎาคม 14). อธิการบดี, สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา. สัมภาษณ์.
บทสัมภาษณ์ตีพิมพ์ ผู้ให้สัมภาษณ์. (ปี, เดือน). ตำแหน่ง (ถ้ามี). สัมภาษณ์. ชื่อหนังสือ, ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้า.
บทสัมภาษณ์ตีพิมพ์ ตัวอย่าง สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล. (2543, มกราคม). รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ. สัมภาษณ์. วารสารวิชาการ, 3 (1), 7-12.
แบบฝึกหัดลงรายการบรรณานุกรม ข้อ 1 จงเรียงลำดับรายการบรรณานุกรมให้ถูกต้อง กว่าจะเป็นสารคดี. (2544). กรุงเทพฯ: แพรวสำนักพิมพ์. ธีรภาพ โลหิตกุล. เฉลย ธีรภาพ โลหิตกุล. (2544). กว่าจะมาเป็นสารคดี. กรุงเทพฯ: แพรวสำนักพิมพ์.
แบบฝึกหัดลงรายการบรรณานุกรม ข้อ 2 จงเติมเครื่องหมายให้ถูกต้อง ประภาศรี สีหอำไพ___ 2540___ ภาษาไทย 2 ___ กรุงเทพฯ ____ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย____ เฉลย ประภาศรี สีหอำไพ. (2540). ภาษาไทย 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แบบฝึกหัดลงรายการบรรณานุกรม ข้อ 3 จงแก้ไขเครื่องหมายให้ถูกต้อง วาสนา เกตุภาค, (ม.ป.ป.), การเขียน กรุงเทพมหานคร-โอเดียนสโตร์ เฉลย วาสนา เกตุภาค. (ม.ป.ป.). การเขียน. กรุงเทพมหานคร:โอเดียนสโตร์.
แบบทดสอบ 1. OPAC เป็นฐานข้อมูลประเภทใด ก. ฐานข้อมูลเฉพาะวิชา ข. ฐานข้อมูลเฉพาะภูมิภาค ค. ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ ง. ฐานข้อมูลซีดีรอม
แบบทดสอบ 2. ครูกุ๊กต้องนำเสนอจำนวนของนักศึกษาที่สอบได้ค่าระดับคะแนนต่าง ๆ ในวิชาการใช้ภาษาไทย ครูกุ๊กควรเลือกใช้สื่อข้อใด ก. แผนภูมิตาราง ข. แผนภาพ ค. แผนภูมิแบบต่อเนื่อง ง. แผนสถิติแบบวงกลม
แบบทดสอบ 3. หากนักศึกษาได้รับมอบหมายให้ ทำรายงาน ขั้นตอนแรกที่ต้องดำเนินการคือข้อใด ก. วางโครงเรื่อง ข. เลือกแหล่งข้อมูล ค. กำหนดหัวข้อเรื่อง ง. รวบรวมแหล่งข้อมูล
แบบทดสอบ 4. ส่วนประกอบในข้อใดที่แม้ไม่ปรากฏในรายงานก็ไม่ถือว่าผิดรูปแบบ ก. ปกใน ข. คำนำ ค. สารบัญภาพ ง. บรรณานุกรม
แบบทดสอบ 5. ตำแหน่งแรกในการลงรายการบรรณานุกรมคืออะไร ก. ชื่อผู้แต่ง ข. ชื่อหนังสือ ค. ปีที่พิมพ์ ง. ชื่อสำนักพิมพ์
สวัสดีค่ะ ผู้สอน : อาจารย์เสาวลักษณ์ แซ่ลี้ อาจารย์กฤติกา ผลเกิด