ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง Factors Related to Readiness for Hospital Discharge.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สถิติที่ใช้ในการวิจัย
Advertisements

สถิติที่ใช้ในการวิจัย
Chapter 4: Special Probability Distributions and Densities
(Statistical Package for the Social Sciences : SPSS)
มาตรฐานการวัด คุณภาพตัวชี้วัด และ สถิติ
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Criterion-related Validity
ทบทวน ระดับของข้อมูลจากการวัด แบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้
วิจัย Routine to Research ( R2R )
ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ
Basic Statistical Tools
Basic Statistical Tools
สถานการณ์โรคมะเร็ง จังหวัดเชียงใหม่ ปี
CHIANG MAI UNIVERSITY Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ของ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การบริหารความเสี่ยง.
การควบคุมงานก่อสร้าง ( การทดสอบวัสดุ ). หัวข้อการบรรยาย 1. การเจาะสำรวจชั้นดิน 2. การทดสอบแรงดึงของเหล็ก 3. การทดสอบกำลังอัดของคอนกรีต หมายเหตุ : การบรรยายจะอ้างอิงแบบ.
กิจกรรมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ e- meeting วันศุกร์ที่ 20 เมษายน 2555.
งานธุรการ ให้บริการผู้บริหาร ครู และบุคลากร เกี่ยวกับงานธุรการและ เอกสารสำคัญ บริการที่มีคุณภาพ ตอบสนองด้วยความเป็น มิตร รวดเร็ว มักจะเกิดปัญหาและอุปสรรคต่าง.
การวิเคราะห์ความแปรปรวนของค่าอัตราส่วนปลอดภัย
Prof.Emeritus Dr.ANURAK PANYANUWAT CAMT, CHIANG MAI UNIVERSITY
การวิจัยในชั้นเรียน Classroom action Research
การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เพื่อการทำวิจัยอย่างง่าย
สถิติเบื้องต้นในการวัดผลและประเมินผลการศึกษา
Computer Programming การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
การหาความสัมพันธ์ของตัวแปร
สถิติอ้างอิง: ไร้พารามิเตอร์ (Inferential Statistics: Nonparametric)
ครั้งที่ 10/2560 สรุปผลการประชุม คณะอนุกรรมการด้านบริการ
การวิจัยในชั้นเรียน ( Classroom Action Research)
พัฒนาการของการวัดและประเมินผลการศึกษา
วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต
ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจโรงแรม และท่องเที่ยว
คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต
CMU: UNIVERSITY OF EXCELLENCE
วิทยาลัยเทคโนโลยีธีรภาดา จังหวัดร้อยเอ็ด
บทที่ 10 สถิติเชิงบรรยาย
แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัย และการเป็นมหาวิทยาลัยแม่แบบที่ดีของสังคม
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการเงิน
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการจัดการโลจิสติกส์
โดย นายไพสุข สุขศรีเพ็ง รหัสนักศึกษา
การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ
แผนกลยุทธ์ กรมชลประทาน
เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย
การมีส่วนร่วมในระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร
การพัฒนาและการจัดการคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยศิลปากร
ครอบครัว กับการคืนสู่สุขภาวะ
การวิเคราะห์ข้อสอบ อาจารย์ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์สมพงษ์ พันธุรัตน์
การผลิตก๊าซชีวภาพที่เตรียมจากทะลายปาล์มที่ผ่านการปรับสภาพ
LIBRARY Chiang Mai University ระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางบรรณานุกรม
Statistical Method for Computer Science
การวัดและประเมินผลการศึกษา
ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET,NT 2558
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชี
นางธนตวรรณ ขวัญแก้ว วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวิเคราะห์ข้อมูล เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์จังหวัด
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจ
โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
การศึกษาความพึงพอใจผู้รับบริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
หลักการคำนวณค่าทางสถิติพื้นฐาน
วิภาส วิมลเศรษฐ มีนาคม 2556
การเลือกใช้สถิติเพื่อการวิจัย
ดำเนินการวิจัย นางสาวขวัญใจ จันทรวงษ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน
นางสาวกฤษฎาวรรณ ศิวิวงศ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่
ชื่อเรื่องวิจัย ชื่อผู้วิจัย
งานวิจัยในชั้นเรียน ผู้จัดทำวิจัย
ประจำปีการศึกษา พุทธศักราช 2555
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
งานวิจัย.
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการตลาด
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง Factors Related to Readiness for Hospital Discharge Among Caregivers of Older Patients with Stroke อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผศ.ดร. ศิริรัตน์ ปานอุทัย ผศ.ดร. วณิชา พึ่งชมภู นางสาวปริมล หงษ์ศรี รหัสนักศึกษา 561231014 สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ แผน ก ภาคปกติ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา โรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ มีอัตราป่วยเท่ากับ 173.91 ต่อประชากรแสนคน สาเหตุอันดับแรกที่ทำให้ผู้สูงอายุเพศชายและ เพศหญิงสูญเสียปีสุขภาวะพ.ศ. 2554 อันดับ 4 ในโรคที่เป็นสาเหตุการป่วยที่ทำให้ ผู้สูงอายุต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข, 2555) สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของประชากรที่อายุมากกว่า 60 ปีทั่วโลก (WSO, 2013) CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) โรคหลอดเลือดสมอง เมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยโรงพยาบาลมี นโยบายที่ต้องการจำหน่ายผู้ป่วยเร็วขึ้น จะทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับการดูแลรักษาที่รวดเร็ว และมีการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลเร็วขึ้นหลังจากพ้นระยะวิกฤติ โดยที่ยังคงมีพยาธิสภาพที่สมอง และความพิการหลงเหลืออยู่พบว่า จำนวนวันนอนเฉลี่ยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน คือ 3.7 วัน และจำนวนวันนอนช่วงฟื้นฟูสมรรถภาพเฉลี่ย 8.2 วัน (อรทัย เขียวเจริญ, ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย, อาทร ริ้วไพบูลย์ และชัยโรจน์ ซึงสนธิพร, 2555) ผู้ป่วยที่รอดชีวิตจะมีความพิการหลาย อย่างหลงเหลืออยู่ เช่น การเป็นอัมพาตครึ่งซีก สูญเสียการทรงตัว พูดไม่ชัดหรือพูดไม่ได้ กลืนลำบาก การควบคุมการขับถ่ายผิดปกติ มีปัญหาด้านสติปัญญาและการรับรู้บกพร่อง เป็นต้น (ทศพร บรรยมาก, 2551) CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) ผู้ป่วยมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการช่วยเหลือ หรือการดูแลที่เพิ่มขึ้น จากผู้ดูแลจนกว่าจะฟื้นฟูสภาพ สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และกลับไปดำเนินชีวิตตามปกติ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ขาดความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วย จะทำให้เกิดความกลัว ไม่มั่นใจ สับสน ไม่กล้าตัดสินใจ ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพการดูแลผู้ป่วย (Synder et al., 1991) CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) แผลกดทับ ภาวะท้องผูก ภาวะแทรกซ้อน ภาวะข้อติดแข็ง การติดเชื้อทางเดินหายใจ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (บรรณฑวรรณ หิรัญเคราะห์ และคณะ, 2551) CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) ในประเทศไทยมีการศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มโรงพยาบาลของ Thai Stroke Rehabilitation Registry (TSRR) ระยะฟื้นฟูสภาพใน 1 ปีแรกภายหลังออกจากโรงพยาบาลระหว่างเดือนตุลาคม 2551- กันยายน 2552 พบว่าผู้ป่วยกลับเข้ารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาลด้วยหลายสาเหตุได้แก่ การกลับเป็นซ้ำของโรค การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อทางเดินหายใจ เลือดออกในกระเพาะทางเดินอาหาร อาการชัก โรคหัวใจล้มเหลว อาการปวดเข่าจากข้ออักเสบ การได้รับยา Warfarin เกินขนาด และสมองบวม (Kuptniratsaikul et al., 2013) CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) จากปัญหาดังกล่าวความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของ ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองจึงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากผู้ป่วยจำเป็นต้องมีผู้ดูแลในการที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตจากความพิการที่หลงเหลือจากโรคหลอดเลือดสมอง ให้ฟื้นฟูสภาพร่างกายได้อย่างเต็มที่ และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน โดยปราศจากภาวะแทรกซ้อน (Anderson, Linto & Stewart-Wynne, 1995) CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) ความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล (readiness for hospital discharge) เป็นแนวคิดที่นำมาใช้ในทางการพยาบาลค่อนข้างแพร่หลายในปัจจุบัน เป็นการรับรู้ความสามารถของผู้ป่วยและครอบครัว เกี่ยวกับการได้รับหรือไม่ได้รับการเตรียมสำหรับการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้ที่แสดงถึงความปลอดภัยในการจำหน่าย (Weiss & Piacentine, 2006) CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) องค์ประกอบของความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล มี 4 ด้าน ได้แก่ ความพร้อมด้านร่างกาย และจิตใจ ความพร้อมด้านความรู้และข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับสิ่งที่คาดหวัง ความพร้อมด้านการปรับตัว ทักษะในการแก้ปัญหาต่างๆ การคาดหวังการได้รับการสนับสนุนทางสังคม CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ปัจจัยด้านผู้ดูแล ได้แก่อายุ เพศ และลักษณะการอยู่อาศัย ปัจจัยด้านผู้ป่วย ได้แก่ ประสบการณ์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยความเจ็บป่วยเดิม และระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล ปัจจัยด้านการพยาบาล ได้แก่ คุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย และการประสานการดูแลก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ต่อ) จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมก่อนจำหน่าย ออกจากโรงพยาบาลในต่างประเทศนั้น พบว่ามีการศึกษาความพร้อมก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล และปัจจัยที่ทำนายความพร้อมก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลในผู้ป่วยอายุรกรรมและศัลยกรรม (Weiss et al., 2007) และบิดา มารดาที่ดูแลผู้ป่วยเด็ก (Weiss et al., 2008) ซึ่งมีบริบทของสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกับประเทศไทย CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

วัตถุประสงค์การวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University วัตถุประสงค์การวิจัย 1. ศึกษาความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมเพื่อการจำหน่าย ประกอบด้วย ปัจจัยด้านผู้ดูแล ได้แก่ อายุ เพศ และลักษณะการอยู่อาศัย ปัจจัยด้านผู้ป่วย ได้แก่ ประสบการณ์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยความเจ็บป่วยเดิม และระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล ปัจจัยด้านการพยาบาล ได้แก่ คุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย และการประสานการดูแลก่อนจำหน่ายตามการรับรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผู้ดูแล ปัจจัยด้านผู้ป่วย และปัจจัยด้านการพยาบาลกับความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University คำถามการวิจัย 1. ปัจจัยด้านผู้ป่วย และปัจจัยด้านผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง ที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลเป็นอย่างไร 2. ความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล คุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย และการประสานการดูแลก่อนจำหน่ายตามการรับรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับใด CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University คำถามการวิจัย 3. ปัจจัยด้านผู้ดูแล ปัจจัยด้านผู้ป่วย และปัจจัยด้านการพยาบาล มีความสัมพันธ์กับความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่ อย่างไร CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

กรอบแนวคิดในการวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University กรอบแนวคิดในการวิจัย กรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้จากการทบทวนวรรณกรรมที่ เกี่ยวข้องกับความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ประกอบด้วย 3 ปัจจัย (Weiss et al., 2007) ได้แก่ 1. ปัจจัยด้านผู้ดูแล 2. ปัจจัยด้านผู้ป่วย (ปัจจัยด้านการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล) 3. ปัจจัยด้านการพยาบาล โดยมีตัวบ่งชี้ความสำเร็จของการเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลไปสู่การดูแลที่ บ้าน คือ ความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

กลุ่มตัวอย่างและการคัดเลือก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ (descriptive correlational research design) ประชากรที่ศึกษา 1. เป็นผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองซึ่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตติยภูมิ และแพทย์มีแผนการจำหน่ายกลับบ้าน 2. เพศชาย หญิง ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างและการคัดเลือก - คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University ผู้วิจัยใช้สถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หอผู้ป่วยสามัญอายุรกรรม และหอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาทในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ใช้ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลเป็นเวลา 4 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 – เดือนมกราคม 2559 CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

คุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University คุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่าง เพศชาย และเพศหญิง ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ถ้าอายุ 60 ปีขึ้นไปมีระดับสติปัญญาปกติ ประเมินด้วย แบบประเมิน MMSE และแบ่งเกณฑ์ตามระดับการศึกษา 3. เป็นผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและแพทย์มีแผนการจำหน่าย กลับบ้าน สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทยได้อย่างเข้าใจ มีความสมัครใจและยินดีร่วมมือในการทำวิจัย CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง 2. แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง 3. แบบประเมินการรับรู้ความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล 4. แบบประเมินคุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย 5. แบบประเมินการประสานการดูแลก่อนจำหน่าย CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

การหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (reliability) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University การหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (reliability) ผู้วิจัยนำแบบประเมินการรับรู้ความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล แบบประเมินคุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย และแบบประเมินการประสานการดูแลก่อนจำหน่าย ทดสอบความเชื่อมั่นแบบความสอดคล้องภายใน (internal consistency reliability) โดยนำไปทดลองใช้กับผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จำนวน 10 ราย แบบประเมินความพร้อมเพื่อการจำหน่ายจากโรงพยาบาล ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.812 แบบประเมินคุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.856 แบบประเมินการประสานการดูแลก่อนจำหน่าย ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.915 CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University การวิเคราะห์ข้อมูล 1. วิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยด้านผู้ดูแล ปัจจัยด้านผู้ป่วย ด้วยสถิติเชิงพรรณนาโดยการแจกแจงความถี่และร้อยละ หาค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) 2. วิเคราะห์ระดับคะแนนของคุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย การประสานการดูแลก่อนจำหน่าย และการรับรู้ความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของผู้ดูแล ด้วยสถิติเชิงพรรณนาโดยการหาค่าเฉลี่ย (mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

การวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University การวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ) 3. วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ลักษณะการอยู่อาศัย ประสบการณ์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล กับความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล (Point biserial correlation coefficient) 4. วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล คุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย และการประสานการดูแลก่อนจำหน่ายกับความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล โดยทดสอบการกระจายตัวของข้อมูลโดยใช้สถิติโคลโมโกรอฟสไมนอฟ (Komogorov-smirnov test: KS) CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

การวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University การวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ) 4.1 ข้อมูลอายุ คุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย การประสานการดูแลก่อนจำหน่าย และความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล มีการแจกแจงเป็นโค้งปกติจึงวิเคราะห์ด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient) 4.2 ข้อมูลระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล มีการกระจายตัวของข้อมูลไม่เป็นโค้งปกติจึงวิเคราะห์ด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน(Spearman rank correlation) CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย N = 88 CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ) ส่วนที่ 2 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ) ส่วนที่ 2 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแล N = 88 CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ) ข้อมูลความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล คุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย การประสานการดูแลก่อนจำหน่าย ตัวแปร SD ระดับ ความพร้อมเพื่อการจำหน่ายจากโรงพยาบาล คุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย ด้านเนื้อหาการสอน ด้านวิธีการสอน 201.70 140.28  45.44 94.84 27.64 29.13 10.17 20.54 สูง การประสานการดูแลก่อนจำหน่าย 111.05 15.39 CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ) ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ เพศ ลักษณะการอยู่อาศัย ประสบการณ์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล คุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย การประสานการดูแลก่อนจำหน่าย กับความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University ตัวแปร 1 2 3 4 5 6 7 ความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล 1. เพศ .0772 .0292 .0762 2. ลักษณะการอยู่อาศัย   .0362 3.ประสบการณ์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล   .0362 -.0992 4. อายุ .0223 .0853 .0113 5. คุณภาพการสอนก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล  .0223 .8253** .6483** 6. การประสานการดูแลก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล  .0853   .8253** .6023** 7. ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล -.1401 1 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน, 2 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล, 3สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน , **p<0.01 CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University การอภิปรายผล 1. ความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล คุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย และการประสานการดูแลก่อนจำหน่ายของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุ โรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับใด จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างมีความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล อยู่ในระดับสูง ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตติยภูมินั้น ได้รับการรักษาพยาบาลแบบองค์รวม มีระบบการวางแผนจำหน่ายตั้งแต่แรกรับเข้าโรงพยาบาล จนแพทย์มีแผนการจำหน่ายกลับบ้าน ทั้งจากพยาบาล และทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งเมื่อแพทย์มีแผนการจำหน่ายกลับบ้าน จะมีการให้ข้อมูล และเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยด้านต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการดูแลที่ต่อเนื่องเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน และมีความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (สุภา สุทัศนะจินดา, 2555) CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University การอภิปรายผล (ต่อ) จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง คุณภาพการสอนก่อนจำหน่ายตามการรับรู้ของผู้ดูแลโดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับสูง ในระบบของโรงพยาบาลตติยภูมิ บุคลากรด้านสุขภาพจะได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยให้สูงขึ้น จึงมีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยโรคเฉพาะทางที่ซับซ้อนได้ถูกต้อง และมั่นใจยิ่งขึ้น ซึ่งมีการทำงานเป็นทีมของทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญ มีความพร้อมของอุปกรณ์ต่างๆ และมีสถานที่เพียงพอที่เอื้อต่อการสอน ซึ่งช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ดูแลสามารถเข้าใจได้มากขึ้น (สุภา สุทัศนะจินดา, 2555) CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University การอภิปรายผล (ต่อ) จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง การประสานการดูแลก่อนจำหน่ายตามการรับรู้ของผู้ดูแล อยู่ในระดับสูง ในระบบโรงพยาบาลตติยภูมิ มีการดำเนินงานร่วมกันของทีมสหสาขาวิชาชีพซึ่งมีการส่งต่อข้อมูลประวัติการรักษา ไปยังโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน รวมถึงการให้ผู้ดูแลจัดเตรียมอุปกรณ์ ปรับสถานที่และสิ่งแวดล้อม การควบคุมปัจจัยเสี่ยง การกำหนดวัน-เวลามาตรวจตามนัด แจ้งแหล่งสนับสนุนที่อาจจะหาได้ ตลอดจนแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยที่หาเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง โดยจะมีการส่งต่อเอกสารข้อมูลการดูแลในระหว่างหน่วยงานที่ครบถ้วน และมีระบบการส่งต่อเยี่ยมบ้านจากทีมสหสาขาวิชาชีพ (ภัทรา วัฒนพันธุ์, 2555) CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University การอภิปรายผล (ต่อ) 2. ปัจจัยด้านผู้ดูแล ปัจจัยด้านผู้ป่วย และปัจจัยด้านการพยาบาล มีความสัมพันธ์กับความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่ อย่างไร ปัจจัยด้านผู้ดูแล ได้แก่ อายุ เพศ และลักษณะการอยู่อาศัย และปัจจัยด้านผู้ป่วย ได้แก่ ประสบการณ์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยความเจ็บป่วยเดิม และระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล ไม่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University การอภิปรายผล (ต่อ) จากปัจจัยด้านผู้ดูแล ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองจะมีความพร้อมหรือไม่มีความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลนั้นอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ได้อีก เช่น ปัจจัยด้านแหล่งประโยชน์ในชุมชน ปัจจัยด้านการให้ความหมายของความพร้อมในการจำหน่าย ปัจจัยด้านทัศนคติ ปัจจัยด้านสถานภาพทางสังคม เป็นต้น ซึ่งไม่ได้นำมาศึกษาในการศึกษาครั้งนี้ (Weiss et al., 2008) CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University การอภิปรายผล (ต่อ) จากปัจจัยด้านผู้ป่วย ยังมีปัจจัยด้านการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอื่นอีก นอกจากปัจจัยที่นำมาศึกษา ซึ่งอาจจะมีความสัมพันธ์กับความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ได้แก่ ปัจจัยด้านการวางแผนในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ปัจจัยด้านการตระหนักรู้ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม เป็นต้น ซึ่งไม่ได้นำมาศึกษาในศึกษาครั้งนี้ โดยผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่แม้ไม่มีประสบการณ์ดูแล แต่มีการแสวงหาข้อมูล สนใจเรียนรู้ อาจทำให้รับรู้ว่ามีความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University การอภิปรายผล (ต่อ) สอดคล้องกับการศึกษาของไวส์ และคณะ (Weiss et al., 2008) ที่พบว่า อายุ และเพศของผู้ดูแล และจำนวนของผู้ใหญ่ที่อยู่ในครอบครัวของผู้ดูแลเด็กป่วยเรื้อรังนั้น ไม่มีผลต่อความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของเด็กป่วยเรื้อรัง สอดคล้องกับการศึกษาของไวส์ และคณะ (Weiss et al., 2008) ที่พบว่า ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลของเด็กป่วยเรื้อรัง ไม่มีผลต่อความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของครอบครัวผู้ดูแลเด็กป่วยเรื้อรัง CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University การอภิปรายผล (ต่อ) ปัจจัยด้านการพยาบาล ได้แก่ คุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย และการประสานการดูแลก่อนจำหน่ายมีความสัมพันธ์กับความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล การเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลด้วยการสอนก่อนจำหน่ายที่มีคุณภาพทั้งเนื้อหาการสอน และวิธีการสอนทำให้ผู้ดูแลมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการปฏิบัติให้การดูแลผู้ป่วยที่ถูกต้อง เหมาะสม และรับรู้ถึงความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University การอภิปรายผล (ต่อ) การประสานการดูแลก่อนจำหน่ายที่ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองได้รับเป็นกระบวนการที่ได้รับจากทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญ มีบทบาทในการประสานการดูแลที่ต่างกันไป แต่มีการวางแผนร่วมกันเพื่อให้ดำเนินการไปในทางเดียวกัน และมีความต่อเนื่องเกี่ยวกับข้อมูลการดูแล ผู้ดูแลจึงได้รับข้อมูลที่ชัดเจน และข้อมูลที่ตรงกันจากทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทำให้ผู้ดูแลมีความพึงพอใจในการประสานการดูแลก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล และมีการรับรู้ความพร้อมเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ ด้านการปฏิบัติการพยาบาล สามารถนำข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการพัฒนาแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ดูแลก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล โดยการสอนผู้ดูแลก่อนจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลที่เน้นทั้งเนื้อหา และวิธีการสอน และมีการประสานการดูแลผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลต้นทาง และสถานบริการปลายทางหรือชุมชน CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีการศึกษาวิจัย ปัจจัยทำนายความพร้อมในการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพัฒนาแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง 2. ควรมีการศึกษาวิจัยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมในการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุติยภูมิ CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University CMU: University of Excellence, Where Nature Nurtures Beautiful Intelligence www.cmu.ac.th