บทที่ 1 หน่วยผลิตและทางเลือกภายใต้โครงสร้างตลาด บทที่ 1 หน่วยผลิตและทางเลือกภายใต้โครงสร้างตลาด ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์
12.1 ความหมายของตลาดในทางเศรษฐศาสตร์ (Meaning of Market in Economics) ประเภทของตลาดตามเกณฑ์ชนิดของผลผลิต (1) ตลาดสินค้า คือ ตลาดที่มีการซื้อขายสินค้าหรือบริการที่ผู้ซื้อนำไปใช้อุปโภคบริโภคโดยตรง (2) ตลาดปัจจัยการผลิต คือ ตลาดที่มีการซื้อขายปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่น แรงงาน วัตถุดิบ สินค้าทุน เป็นต้น โดยผู้ที่ทำการซื้อปัจจัยการผลิตคือผู้ผลิต (3) ตลาดแรงงาน คือ ตลาดที่มีการซื้อขายบริการจากแรงงาน (4) ตลาดการเงิน คือ ตลาดที่มีการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน
ประเภทของตลาด ตลาดยังสามารถแบ่งออกตามโครงสร้างโดยอาศัยปัจจัยต่างๆเป็นตัวกำหนด ได้แก่ จำนวนผู้ซื้อหรือผู้ขาย ความสามารถในการแข่งขัน การกำหนดปริมาณและราคาสินค้า
ประเภทของตลาดแบ่งตามจำนวนผู้ขายและลักษณะสินค้า (1) ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (perfect competition) มีผู้ขายจำนวนมากและขายสินค้าเหมือนกัน (2) ตลาดผู้ขายมากราย (monopolistic competition) ผู้ขายมีจำนวนมาก โดยผู้ขายเผชิญกับสภาพการณ์ กึ่งแข่งขัน กึ่งผูกขาด และขายสินค้าที่แตกต่างกันแต่ทดแทนกันได้ (3) ตลาดผู้ขายน้อยราย (oligopoly) ผู้ขายมีน้อยรายขายสินค้าที่คล้ายกัน หรือแตกต่างกันแต่ทดแทนกันได้ (4) ตลาดผูกขาด (monopoly) มีผู้ขายรายเดียวขายสินค้าที่ไม่สามารถทดแทนได้
ประเภทของตลาดแบ่งตามจำนวนผู้ซื้อและลักษณะสินค้า (1) ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (perfect competition) มีผู้ซื้อจำนวนมากและซื้อสินค้าเหมือนกัน (2) ตลาดผู้ซื้อมากราย (monopsonistic competition) ผู้ซื้อมีจำนวนมาก โดยผู้ซื้อเผชิญกับสภาพการณ์ กึ่งแข่งขัน กึ่งผูกขาด และซื้อสินค้าที่แตกต่างกันแต่ทดแทนกันได้ (3) ตลาดผู้ซื้อน้อยราย (oligopsony) ผู้ซื้อมีน้อยรายและซื้อสินค้าที่คล้ายกัน หรือแตกต่างกันแต่ทดแทนกันได้ (4) ตลาดผู้ซื้อคนเดียว (monopsony) มีผู้ซื้อรายเดียวซื้อสินค้าที่ไม่สามารถทดแทนได้
ประเภทตลาดแบ่งตามจำนวนผู้ซื้อและผู้ขายและลักษณะสินค้า (1) ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (perfect competition) เมื่อมีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากทำการซื้อขายสินค้าที่มีลักษณะเหมือนกัน (2) ตลาดผู้ซื้อและผู้ขายน้อยราย (bilateral oligopoly) เมื่อทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีน้อยรายทำการซื้อขายสินค้าที่คล้ายกัน หรือแตกต่างกันแต่ทดแทนกันได้ (3) ตลาดผูกขาดทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย (monopoly) เมื่อมีผู้ซื้อรายเดียว ผูกขาดการซื้อสินค้าที่ไม่สามารถทดแทนได้อยู่ในตลาดที่มีผู้ขายเพียงรายเดียว
ตลาดแบ่งตามจำนวนผู้ขายและลักษณะสินค้า ตลาดผูกขาด ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ตลาดผู้ขายน้อยราย ตลาดผู้ขายมากราย หรือกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
ข้อสมมติในการวิเคราะห์พฤติกรรมของหน่วยผลิตในตลาด ในที่นี้จะทำการวิเคราะห์ตลาดสินค้าเฉพาะกรณีตลาดแบ่งตามจำนวนผู้ขายและลักษณะสินค้า เนื่องจากมีสภาพใกล้เคียงกับความเป็นจริง พฤติกรรมของหน่วยผลิตในตลาดประเภทต่างๆจะอยู่ภายใต้ข้อสมมติฐานที่ว่า หน่วยผลิตจะทำการผลิตอย่างไรให้ได้รับกำไรสูงสุด (profit maximization)
บทที่ 2 การกำหนดราคาและปริมาณผลิตภายใต้ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ บทที่ 2 การกำหนดราคาและปริมาณผลิตภายใต้ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์
ตลาดแข่งขันอย่างสมบูรณ์ประกอบด้วยลักษณะ ดังนี้ (1) สินค้าของผู้ผลิตมีคุณสมบัติเหมือนกัน (homogenous product) (2) ผู้บริโภคและผู้ผลิตในตลาดมีจำนวนน้อย นั่นคือ ผู้บริโภคและผู้ผลิตไม่สามารถกำหนดราคาของสินค้าหรือเรียกว่า ผู้รับราคา (price taker) (3) มีข้อมูลเพียงพอในการผลิตและบริโภคสินค้า (perfect information) (4) ผู้ผลิตสามารถเข้าร่วมหรือออกจากตลาดอย่างเป็นอิสระ (free entry & exit) (5) ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใดๆในการเข้าร่วมในตลาด (no transaction)
การกำหนดราคาและปริมาณผลผลิตในตลาด พฤติกรรมของหน่วยผลิตในตลาด คือ การแสวงหากำไรสูงสุดในการผลิต ปริมาณสินค้าที่หน่วยผลิตจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของรายรับและต้นทุนการผลิต รายรับของผู้ผลิตจะขึ้นอยู่กับเส้นอุปสงค์ที่ผู้ผลิตเผชิญ ต้นทุนการผลิตขึ้นกับระยะเวลาในการผลิต - ระยะสั้น (short run) - ระยะยาว (long run)
เส้นอุปสงค์ที่หน่วยผลิตเผชิญ หน่วยผลิตในตลาดแข่งขันสมบูรณ์เป็นเพียงหน่วยผลิตเล็กๆซึ่งไม่มีอิทธิพลเหนือตลาด การขายสินค้าของหน่วยผลิตจะขายตามราคาตลาด เส้นอุปสงค์ที่หน่วยผลิตเผชิญ หรือ เส้นอุปสงค์ในสายตาของผู้ผลิต ซึ่งเป็นเส้นที่บอกให้ทราบว่าที่ระดับราคาต่างๆผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้าของหน่วยผลิตปริมาณเท่าใด กำหนด P* = ราคาสินค้าที่ถูกกำหนดในตลาด ดังนั้น เส้นอุปสงค์ของหน่วยผลิตในตลาดแข่งขันสมบูรณ์จะเป็นเส้นตรงที่ขนานกับแกนปริมาณสินค้า
เส้นอุปสงค์ที่หน่วยผลิตเผชิญ P* P Q E S D Q* P เส้นอุปสงค์ที่หน่วยผลิตเผชิญ P* Q หน่วยผลิต ตลาด
ดุลยภาพของหน่วยผลิตในระยะสั้น Ps P3 P2 Q1 Q2 Q3 P1 เส้นอุปทานระยะสั้น Q P E S D2 TC, TR D1 D3 หน่วยผลิต ตลาด SMC AVC AC จากรูปพิจารณากรณี ถ้า P = P1 หรือ P1 > min AC ถ้า P = P2 หรือ P2 > min AVC ถ้า P = P3 หรือ P3 < min AVC
ตัวอย่าง TC = 500+20Q-6Q2+Q3 จงหา 1. ราคาแสดงการหยุดผลิต กำหนดฟังก์ชันต้นทุนการผลิตในระยะสั้นของผู้ผลิตรายหนึ่ง คือ TC = 500+20Q-6Q2+Q3 จงหา 1. ราคาแสดงการหยุดผลิต 2. ถ้าราคาสินค้าในตลาด P = 20 ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้ปริมาณเท่าใดและได้กำไรสูงสุดเท่าใด 3. ถ้าราคาสินค้าในตลาด P = 200 ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้ปริมาณเท่าใดและได้กำไรสูงสุดเท่าใด 4. จงหาเส้นอุปทานการผลิตในระยะสั้นของผู้ผลิต
เส้นอุปทานระยะสั้นของอุตสาหกรรม ไม่สามารถรวมเส้นอุปทานของหน่วยผลิตแต่ละรายเนื่องจากเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลง การปรับตัวของหน่วยผลิตแต่ละรายพร้อมกันย่อมส่งผลถึงปริมาณการซื้อปัจจัยการผลิตของอุตสาหกรรม และจะมีผลต่อไปถึงราคาปัจจัยการผลิต ทำให้เส้นต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตเปลี่ยนไป