การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาความผิดปกติ เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ อ.แสงมณี อะโข
จำนวน 3 ชั่วโมง จุดประสงค์ เมื่อเรียนจบวิชานี้แล้ว นักศึกษาสามารถ จำนวน 3 ชั่วโมง จุดประสงค์ เมื่อเรียนจบวิชานี้แล้ว นักศึกษาสามารถ อธิบายสาเหตุการเกิดมะเร็งได้ถูกต้อง อธิบายสัญญาณเตือนและอาการได้ถูกต้อง อธิบายการแพร่กระจายของมะเร็งได้ถูกต้อง อธิบายการรักษาการพยาบาลทางยา รังสี ผ่าตัด และอิมมูโนวิทยาได้ถูกต้อง อธิบายการพยาบาลผู้ป่วยด้านการรักษาทางยา รังสี ผ่าตัด และอิมมูโนวิทยาได้ถูกต้อง
บทนำ มะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทั่วโลกและประเทศไทย 8 ปีข้างหน้า (2558) จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจาก 9 ล้านคนเป็น 15 ล้านคน
สถิติการเกิดมะเร็ง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี พบทั้งเพศชายและหญิง
พื้นฐานความรู้และศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้องอก “เนื้องอก” ศัพท์คือคำว่า neoplasm คือก้อนเนื้องอก neoplasia คือการเกิดเนื้องอก ปัจจุบันใช้ tumor ในความหมายเดียวกับ neoplasm tumors - ก้อนเนื้องอกธรรมดา (benign tumors) - เนื้อร้าย( malignant tumors ) cancer นั้นเป็นคำทั่ว ๆ ไป ที่ใช้เรียกบรรดา malignant tumors
ความหมายของคำว่ามะเร็ง คำว่ามะเร็ง (cancer) มาจากภาษากรีก คำว่า "ปู" (Crab) คือกระบวนการไร้ระเบียบ ไม่มีอะไรมาขัดขวางการใช้อำนาจควบคุม
นพ.แมกซ์ เกอร์สัน เชื่อว่า มะเร็งเป็นโรคเรื้อรังของเซลล์ที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย เพราะมีการสะสมสารพิษเอาไว้ในร่างกายมากเกินไป จะค่อยๆสะสมไปเรื่อยๆ และตัวสารพิษจะเข้าสู่กระบวนการเผาผลาญ (Metabolism)ของเซลล์ จึงเป็นอนุมูลอิสระ (Free Radical) ไปแย่งอาหาร และไปทำลายนิวเคลียสและไซโตปลาสซึมของเซลล์ ทำให้เซลล์ดีๆต้องเสื่อมสภาพไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็กลายพันธุ์ (Mutation) เป็นเซลล์มะเร็ง
เมื่อเซลล์ปกติเสียหาย หรือแก่ตัวลง เซลล์จะผ่านกระบวนการตาย (Apoptosis) แต่เซลล์มะเร็งจะไม่ยอมผ่านกระบวนการนี้ ( ภาพจาก Internet )
วิเคราะห์แยกแยะ benign และ malignant tumors โดยอาศัยคุณลักษณะต่อไปนี้ 1. Differentiation and anaplasia 2. Rate of growth 3. Local invasion 4. Metastasis
1. Differentiation and anaplasia Differentiation หมายถึง ระดับการพัฒนาที่ parenchymal cells ของก้อนเนื้องอกได้พัฒนาไปทั้งในด้านรูปร่างและการทำงาน ระดับดังกล่าวนี้ได้มาโดยอาศัยการเปรียบเทียบกับการพัฒนา ของเซลล์ปกติในอวัยวะที่ก้อนเนื้องอกได้ถือกำเนิด Well-differentiated tumors หมายถึง ก้อนเนื้องอกที่ประกอบไปด้วยเซลล์ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเซลล์ ปกติที่เติบโตเต็มที่แล้ว ส่วน poorly differentiated หรือ undifferentiated tumors นั้น หมายถึง ก้อน เนื้องอกที่ประกอบไปด้วย เซลล์ที่ยังไม่มีการพัฒนา (primitive-appearing , unspeacialized cells) Anaplasia หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ไปจากเดิมอย่างมาก จนกระทั่งไม่สามารถจะบอกจุดตั้งต้นของเซลล์ได้ โดยทั่ว ๆ ไปหมายถึงมะเร็ง โดยทั่ว ๆ ไปจะแบ่งออกเป็น grading หรือใช้แทนคำ differentiation
ส่วน poorly differentiated หรือundifferentiated tumors นั้น หมายถึง ก้อน เนื้องอกที่ประกอบไปด้วยเซลล์ที่ยังไม่มีการพัฒนา (primitive-appearing , unspeacialized cells) Anaplasia หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ไปจากเดิมอย่างมาก จนกระทั่งไม่สามารถจะบอกจุดตั้งต้นของเซลล์ได้ โดยทั่ว ๆ ไปหมายถึงมะเร็ง โดยทั่ว ๆ ไปจะแบ่งออกเป็น grading หรือใช้แทนคำ differentiation
Local invasion คือ Benign tumors เกือบทุกชนิดขยายตัวเติบโตขึ้นในลักษณะของก้อนที่ยึดเหนี่ยวกันเองได้ (cohesive expansile masses) โดยก้อนดังกล่าวยังคงอยู่ที่จุดกำเนิด และไม่มีความสามารถที่จะแทรกซึมหรือแพร่กระจายไปยังตำแหน่งที่อยู่ห่างไกล
Metastasis คือกระบวนการที่ tumors แพร่กระจายออกจากจุดกำเนิดของเนื้องอก(primary tumor) เข้าสู่อวัยวะอื่นๆ ที่ไม่ได้มีส่วนติดต่อกันโดยตรง metastasis เป็นคุณสมบัติที่เราสามารถใช้บอกว่า tumor นั้น เป็น malignant tumor ได้อย่างแน่นอน เพราะว่า benign tumors ไม่สามารถมี metastasis ได้ การที่ cancers มีคุณสมบัติในด้าน invasiveness ทำให้มะเร็งสามารถแทรกผ่านเข้าสู่หลอดเลือด หลอดท่อน้ำเหลือง และ body cavities ได้ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสสำหรับการแพร่กระจายไปได้ทั่วร่างกาย
ความหมายมะเร็ง มะเร็ง (Cancer) คือ กลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกาย มีความผิดปกติที่ DNA หรือสารพันธุกรรมทำให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ รวดเร็ว และไม่หยุดยั้ง และมากกว่าปกติ ดังนั้น จึงอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้นเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะการเจริญเติบโตของหลอดเลือด ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะเรียกชื่อมะเร็งตามอวัยวะนั้น เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็ง เต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น
การแบ่งการดำเนินโรคของมะเร็ง (Grading and Staging) โบรเตอร์ (Broder’s Classification) จะแบ่งเป็น 4 เกรด (grade I , II , III , IV) หรืออาจใช้เป็น well dirrerentiated) ไปจนถึง undifferentiated (anaplastic change) มะเร็งซึ่งครั้งหนึ่งเป็น low grade (grade I , II) อาจจะเปลี่ยนเป็น high grade (grade III , IV) ได้ staging การดำเนินของโรคมีความสำคัญว่ามะเร็งเป็นมากน้อยแค่ไหน แบ่งได้เป็น 4 ระยะ (stage I , II , III , IV) การบอกระยะของโรคหรือ staging เป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้ตรวจโดยอาศัย TNM classification T = ขนาดของเนื้องอกปฐมภูมิ , N = หมายถึง การลุกลามของมะเร็งไปต่อมน้ำเหลือง M = หมายถึง การลุกลามไปไกล หรือ distant metastases
สาเหตุการเกิดมะเร็ง 1. ปัจจัยภายใน (Intrinsic factors) 1.1 กรรมพันธุ์ 1. 2 เพศ 1. 3 อายุ 1.4 ภาวะสุขภาพอนามัยของบุคคล 1.5 ความผิดปกติที่มีมาก่อน เช่น หูด ไฝ ปาน อาจกลายเป็นมะเร็งได้ ปัจจัยภายนอก (Extrinsic factor) 2.1 ทางกายภาพ 2.2 สารเคมี 2.3 ฮอร์โมน 2.4 การติดเชื้อ 2.5 อาหาร
สัญญาณเตือนและอาการ หรือที่เรียกสัญญาณอันตราย 7 ประการ ดังนี้ การเป็นแผลเรื้อรังที่รักษาไม่หาย การมีตุ่มหรือก้อนที่เกิดที่อวัยวะต่างๆ เสียงแหบ เจ็บคอ ไอเรื้อรัง และหาสาเหตุไม่ได้ กลืนลำบาก อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือท้องผูกสลับกับท้องเดิน มีการเปลี่ยนแปลงของหูด ไฝ ปานที่มีมาก่อนแล้ว การมีน้ำเหลือง หนอง มีการผิดปกติของประจำเดือนในสตรี
อาการและการแสดง แบ่งออกเป็น 1. อาการเมื่อเริ่มเป็นระยะแรก 1. อาการเมื่อเริ่มเป็นระยะแรก 2. อาการมะเร็งระยะลุกลาม
อาการเมื่อเริ่มเป็นระยะแรก ระยะแรกไม่มีอาการหรืออาจมีอาการเล็กน้อย เซลล์ที่เป็นมะเร็งมีการแบ่งตัวไม่รู้จักหยุด จนเป็นก้อนเนื้องอกหรือแพร่ไปทั่วร่างกาย เช่น ในกระแสโลหิต เซลล์มะเร็งอาจจะเกิดขึ้นและอยู่ในร่างกายได้เป็นเวลาหลาย ๆ ปี โดยไม่มีอาการปรากฏ ถ้าร่างกายมีความต้านทานดี เซลล์มะเร็งอาจจะไม่เจริญมากขึ้น มะเร็งถ้าตรวจพบในระยะแรกสามารถรักษาหายได้
อาการของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม อาการเจ็บปวด ภาวะซีด ผอมแห้ง (Cachexia) ภาวะการติดเชื้อ
การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง แบ่งได้ 5 ทางดังนี้คือ แพร่กระจายโดยตรง (Local infiltration) แพร่กระจายทางเลือด (Hematogenous spreasing) แพร่กระจายทางต่อมและท่อน้ำเหลือง (Lymphatic spreading) การปลูก (Implantation) Transcoelomic spreading
วิธีการรักษามะเร็ง รักษาด้วยวิธีผ่าตัด รักษาด้วยรังสี รักษาด้วยยารักษามะเร็ง รักษาโดยวิธีเพิ่มภูมิต้านทาน รักษาร่วมกันหลายวิธี อาจจะเป็น 2 , 3 หรือ 4 วิธีก็ได้
การรักษาด้วยวิธีผ่าตัด จุดประสงค์ของการทำผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็ง ผ่าตัดเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค ผ่าตัดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็ง เช่น พวกหูด โปลิป (polyps) เพื่อการรักษา เป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาให้หายขาด ใช้รักษามะเร็งในระยะเริ่มแรกที่ยังไม่มีการลุกลาม เช่น ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งของผิวหนัง , ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก เต้านม ปากมดลูก การผ่าตัดเพื่อบรรเทาอาการ (palliative surgery)
โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยมะเร็งในรายที่ทำผ่าตัดได้ การผ่าตัดจะเป็นวิธีแรกที่เลือกใช้ในการรักษามะเร็งเพื่อควบคุมโรคเฉพาะตำแหน่ง แพทย์จะพยายามตัดมะเร็งออกให้หมด หรือตัดออกให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ถ้าผู้ป่วยเป็นมากจนไม่เหมาะที่จะทำผ่าตัด หรือเป็นในตำแหน่งที่ไม่สามารถจะทำผ่าตัดได้ เช่น มะเร็งเม็ดเลือด ,ต่อมน้ำเหลือง การผ่าตัดก็จะเพียงการตัดชิ้นเนื้อเพื่อพิสูจน์เท่านั้น ส่วนการรักษาอาจจะต้องเปลี่ยนไปเป็นวิธี อื่น เช่น การรักษาด้วยรังสีหรือเคมีบำบัด
การรักษาด้วยรังสี จุดประสงค์ในการรักษามะเร็งด้วยรังสี มี 3 อย่างคือ จุดประสงค์ในการรักษามะเร็งด้วยรังสี มี 3 อย่างคือ 1. รักษาเพื่อให้โรคมะเร็งหายขาด ผู้ป่วยมะเร็งระยะที่ 1-3 มี โอกาสที่จะหายจากโรคมะเร็งได้ 2. รักษาเพื่อบรรเทาอาการเฉพาะที่ต่าง ๆ 3. รักษาเพื่อบรรเทาอาการและเพื่อให้โรคหายขาด เช่น ในรายที่ มีเลือดหรือน้ำเหลืองซึมหรือไหลช้า ๆออกจากแผลมะเร็ง เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม
วิธีการใช้รังสีรักษามะเร็ง การรักษามะเร็งด้วยรังสี โดยให้แหล่งกำเนิดรังสีอยู่ภายนอกและห่างจากตัวผู้ป่วยมากกว่า 2 ซ.ม.ขึ้นไป เรียกว่า เทเลเธอราป (Teletherapy) ซึ่งคนทั่ว ๆ ไป เรียกว่า “การฉายแสงหรือฉายรังสี” หรือ “Deep X-ray” การรักษามะเร็งด้วยรังสี โดยให้แหล่งกำเนิดรังสีอยู่ชิดใกล้กับตำแหน่งที่จะรักษาห่างไม่เกิน 2 เซนติเมตร โดยการวาง เสียบ สอดใส่ เช่น การฝังแร่เรเดียมในมะเร็งปากมดลูก
การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งนั้น พยาบาลมีบทบาทหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยครอบคลุมทั้ง 4 มิติคือ ด้านการป้องกัน รักษา พยาบาล และฟื้นฟูสภาพ การพยาบาลแบ่งใหญ่ ๆ ดังนี้ การพยาบาลทั่วไป (general nursing care) การพยาบาลเฉพาะ (Special nursing care)
การพยาบาลทั่วไป (General nursing care) การพยาบาลด้านจิตใจ 1. ให้การต้อนรับที่อบอุ่น 2. ปลอบโยนให้กำลังใจ 3. พูดคุยกับผู้ป่วย ซักถามปัญหา และความต้องการของผู้ป่วยพร้อมกับให้ ความช่วยเหลือ 4. อธิบายถึงวัตถุประสงค์ วิธีการรักษา ผลข้างเคียงหรือพิษของยาที่อาจจะเกิดขึ้น 5. ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย 6. แนะนำให้ผู้ป่วยที่ไม่ได้ทำงานระหว่างที่อยู่ในโรงพยาบาลก็หางานอดิเรก ให้ทำ
การพยาบาลด้านร่างกาย 1. อาหาร แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 2. แนะนำให้ดื่มน้ำมาก ๆ เพราะน้ำช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย 3. ดูแลความสะอาดร่างกายทั่วไปตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า 4. การขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย 5. การพักผ่อนหลับนอน 6. การออกกำลังกาย 7. การให้ยาระงับปวด 8. คอยสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น 9. การป้องกันโรคแทรกซ้อน
การพยาบาลเฉพาะ (Special nursing care) ก. การพยาบาลผู้ป่วยด้วยรังสีรักษา การพยาบาลผู้ป่วยก่อนการรักษาด้วยรังสี - เตรียมผู้ป่วยให้พร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจ การพยาบาลด้านจิตใจอธิบายให้เข้าถึงวิธีการรักษา ให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจได้ถูกต้อง การเตรียมด้านร่างกาย - ส่งตรวจเลือด ปัสสาวะ และเตรียมผลให้พร้อมก่อนวันที่เริ่มการรักษา - เตรียมความสะอาดของร่างกายทั่ว ๆ ไป และเฉพาะแห่ง การพยาบาลผู้ป่วยระหว่างการรักษา ระหว่างการรักษา การฉายรังสีจะทำให้บริเวณที่ถูกฉายและอวัยวะใกล้เคียง เกิด ปฏิกิริยารังสี (Radiation reactions) ขึ้นได้ ควรให้การดูแลเอาใจใส่ เป็นพิเศษ ปฏิกิริยาที่ผิวหนังจะเกิดขึ้นมากน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของรังสีที่ใช้ จำนวนของรังสีที่ ให้ ระยะเวลาและเนื้อที่ ๆ ฉาย
การดูแลผิวหนังที่ฉายรังสี มีดังนี้ 1. ป้องกันการติดเชื้อและการระคายเคืองผิวหนังบริเวณถูกฉายรังสี โดยรักษาความสะอาดบริเวณผิวหนัง ถ้ามีแผลทำแผลอย่างเบามือ ไม่ถูไปมา ให้ใช้วิธีซับด้วยน้ำเกลืออุ่น ชุบสำลีหมาด แล้วซับให้แห้ง เสื้อผ้าเนื้อนิ่ม ไม่หยาบ หนา และคับ ซึ่งจะไปเสียดสีผิวหนัง หลีกเลี่ยงการใช้สบู่และครีมต่าง ๆ 2. ดูแลผิวหนังบริเวณฉายรังสีให้แห้ง โดย 2.1 ถ้าผิวหนังมีการเปียกชื้น ให้ซับด้วยกระดาษหรือผ้านุ่ม ๆ 2.2 โรยผิวหนังด้วยแป้งข้าวโพด โดยเฉพาะบริเวณข้อพับหรือขาหนีบซึ่งเปียกชื้นได้ง่าย ไม่ควรใช้แป้งอย่างอื่น ซึ่งอาจจะมีพวกโลหะหนักเจือปนอยู่ สำหรับผิวหนังที่มีผื่นและคันอาจจะสั่งครีมให้เป็นราย ๆ 3.ไม่ใช้วัตถุเหนียวแน่นติดบนบริเวณที่ฉายรังสี เช่น ปาสเตอร์เทปต่าง ๆ 4. หลีกเลี่ยงการใช้โลหะหนักต่าง ๆ 4.1 การใช้พวกขี้ผึ้ง หรือยาน้ำต่าง ๆ ควรอยู่ในดุลยพินิจของผู้ทำการรักษา 4.2 ผิวหนังที่แตกพองเนื่องจากถูกฉายรังสี อาจแต้มด้วยเจนเชียนไวโอเลต (gentian violet) 20% และทาด้วยขี้ผึ้งซึ่งผสมวิตามินเอและวิตามินดี
การพยาบาลผู้ได้รับรังสี(ต่อ) เม็ดเลือดขาวต่ำ ในรายที่ฉายรังสีจำนวนมากเป็นเวลาติดต่อกัน แพทย์จะสั่งเจาะเลือดก่อนเริ่มฉาย หลังจากนั้น 1สัปดาห์ก็จะตรวจซ้ำ ถ้าเม็ดเลือดขาวต่ำลงกว่าเดิมมากแพทย์อาจสั่งงดการรักษาชั่วคราว หรือถ้าจำเป็นต้องฉายต่อก็จะต้องตรวจเม็ดเลือดขาวทุกวัน ในระยะที่ผู้ป่วยมีอาการเม็ดเลือดขาวต่ำอย่างมาก การพยาบาลต้องใช้หลักการป้องกันการติดเชื้อ อาจต้องแยกผู้ป่วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน การบำรุงอาหารเป็นสิ่งสำคัญมาก ในการที่จะช่วยฟื้นตัวได้โดยเร็วซึ่งโดยปกติจะกินเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ พยาบาลควรเอาใจใส่ให้การพยาบาลที่ดี พร้องทั้งให้กำลังใจ โลหิตจาง การรักษาที่ประสบผลสำเร็จมักจะไม่พบ โดยทั่วไปอาการโลหิตจางที่เกิดจากมะเร็งควรจะดีขึ้น ในระหว่างการรักษาพยาบาลจะช่วยแพทย์ด้วยการคอยสังเกตสีที่ผิวหนังตามมือและเท้า และเปลือกตา เมื่อพบว่าผิดปกติ ควรรายงานให้แพทย์ทราบ การอักเสบของเยื่อบุเนื่องจากรังสี ในรายที่ถูกฉายรังสีบริเวณศีรษะหรือลำคอ การอักเสบจะเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 10 และที่ 15 ของการรักษา อาการที่ติดตามต่อมาคือ ไอ กลืนอาหารลำบาก และปากแห้ง ในระยะนี้ควรให้ผู้ป่วยบ้วนปากบ่อย ๆ ด้วยน้ำยาพิเศษ ผสมอ่อน ๆ เช่น น้ำเกลือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ซิงค์ซัลเฟต เป็นต้น
การพยาบาลผู้ป่วยหลังการรักษาด้วยรังสี หลังการรักษา ควรแนะนำให้ผู้ป่วยถึงการปฏิบัติตนในเรื่องต่าง ๆ เช่น 1.การระวังรักษาผิวหนังบริเวณที่ถูกฉายรังสี ซึ่งควรปฏิบัติเช่นเดียวกับระยะที่ฉายรังสีไปอีกประมาณ 4 ถึง 6 สัปดาห์ 2.แนะนำเรื่องอาหารในรายที่ฉายรังสีบริเวณทางเดินอาหารหรือบริเวณเชิงกราน ควรจะรับประทานอาหาร เหมือนขณะที่ฉายรังสีไปอีกสักระยะ เช่นเดียวกับการระวังรักษาผิวหนัง 3.ให้ผู้ป่วยคอยสังเกตอาการต่าง ๆ ถ้ามีสิ่งใดผิดปกติขึ้น ควรรีบมาหาแพทย์ และให้ความรู้ คำแนะนำแก่ผู้ป่วย ถึงผลที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสี และการดูแลที่จำเป็น ได้แก่ 3.1 อาการโดยทั่วไป มีดังนี้ 3.1.1 การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังบริเวณที่รับรังสี ผิวหนังอาจมีลักษณะบวม แดง คล้ำ แห้งเป็นขุย หรือตกสะเก็ด คัน ผมหรือขนร่วงหลุด 3.1.2 อาการอ่อนเพลีย มักจะพบในขณะรับรังสีเนื่องจากเบื่ออาหาร รับประทาน ได้น้อย ประกอบกับร่างกาย ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นเพื่อซ่อมแซมเซลล์ที่ถูกทำลาย และขับเซลล์ที่ตายออก ซึ่งเป็นอาการปกติเมื่อได้รับการฉายรังสี ไม่ได้เป็นอาการของโรคที่เลวลง อาการอ่อนเพลียนี้อาจเกิดจากภาวะซีด หรือเลือดจางจากไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดขาว ได้ช้ากว่าปกติ จึงต้องมีการเจาะเลือดเพื่อตรวจสอบเป็นครั้งคราว และอาจต้องให้เลือดถ้าเม็ดเลือดแดงลดลงกว่าเกณฑ์ปกติ อาการอ่อนเพลียลดลงได้เมื่อได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ และการรับประทานอาหารที่ช่วยส่งเสริมการสร้างเลือด เช่น ตับ เครื่องในสัตว์ พืชใบเขียว จะช่วยลดอาการซีดได้มาก 3.1.3 ความต้านทานโรคต่ำ เกิดจากรังสีทำให้เม็ดเลือดขาวอ่อนแอและลดจำนวนลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย และมีไข้ต่ำ ๆ จึงควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้บุคคลที่มีการติดเชื้ออื่น ๆ รักษาความสะอาดของสุขอนามัย และดื่มน้ำมาก ๆ และในบางกรณีอาจมีเลือดออกง่ายจากเกล็ดเลือดต่ำ จึงควรระวังอุบัติเหตุของมีคมบาด ผิวหนังถูกกระแทก -อธิบายให้ผู้ป่วยมาตรวจตามนัด
ข.การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด พยาบาลจะต้องพัฒนาความสามารถของผู้ป่วยและญาติ ให้รู้จักดูแลและเฝ้าสังเกตตนเอง ให้ญาติคอยช่วยเหลือ เพราะผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด บางรายจะมีอาการซึ่งเป็นผลจากการ ใช้ยานั้น เช่น 1. เม็ดเลือดขาวลดลง ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ สามารถป้องกันการติดเชื้อ สามารถป้องกันการติดเชื้อดังนี้ 1.1 ถ้าผู้ป่วยมีจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำกว่า 2,000/mm3 ควรแยกผู้ป่วยจากผู้ป่วยอื่น ๆ ภายในห้องต้องมีเสื้อกาวน์ หมวก ผ้าปิดจมูก ปาก ถุงมือ อ่างล้างมือ อ่างแช่มือ องเท้า ให้การพยาบาลเหมือผู้ป่วยติดเชื้อ 1.2 คอยดูแลให้ผู้ป่วยรักษาความสะอาดร่างกายทั่วไป ปาก ฟัน ผม เล็บ เสื้อผ้า และสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ตลอดจนสิ่งแวดล้อม หลีกเลี่ยงอยู่ใกล้กับบุคคลที่เป็นโรคติดเชื้อ เช่น คนเป็นหวัด 1.3 ถ้าตรวจพบว่ามีไข้ ควรรายงานแพทย์ทันที 1.4 ห้ามเยี่ยมโดยไม่จำเป็น 2. เกร็ดเลือดลดลง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกง่าย สามารถป้องกันโดยปฏิบัติดังนี้ 2.1 ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น มีดบาด หกล้ม ฯลฯ 2.2 การฉีดยา ในรายที่เกร็ดเลือดต่ำไม่ควรให้ยาฉีดเข้ากล้าม ถ้าจำเป็นหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรฉีดอย่างเบามือ เมื่อถอนเข็มออก ต้องกดไว้นาน ๆ การเจาะเลือดควรเจาะครั้งเดียวให้ได้เลย 2.3 สังเกตการมีเลือดออก เช่น เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาออก อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระหรือปัสสาวะเป็นเลือด ควรรายงานแพทย์ทันที 2.4 ถ้าผลการนับเกล็ดเลือดต่ำกว่า 20,000 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร ให้นอนพักบนเตียง ทำกิจกรรมให้น้อยที่สุด
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด (ต่อ) 3. โลหิตจางหรือมีภาวะซีด ข้อควรปฏิบัติ 3.1 แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารโปรตีน และมีคุณค่าเพิ่ม เช่น วิตามิน ธาตุเหล็ก 3.2 ให้ผู้ป่วยนอนพักมาก ๆ เพื่อลดการใช้อ๊อกซิเจน 3.3 ในรายที่ผู้ป่วยซีดมาก ระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่า 10 กรัมเปอร์เซ็นต์ให้รายงานแพทย์ 4. การให้อาหาร ถ้าผู้ป่วยอาเจียน เบื่ออาหาร อุจจาระร่วง หรือรับประทานอาหารไม่ได้เนื่องจากมีแผลในปาก ข้อควรปฏิบัติคือ 4.1 ให้อาหารอ่อนหรืออาหารเหลวที่มีคุณค่าทางอาหารสูง 4.2 ถ้าผู้ป่วยรับประทานไม่ได้มาก ควรให้รับประทานครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้ง พยายามชี้ชวนให้ผู้ป่วยรับประทาน ให้ดื่มน้ำมาก ๆ 4.3 ในรายที่มีแผลในปาก เวลารับประทานอาหารแล้วแสบปาก อาจใส่ N.G. tube เพื่อให้อาหารทางสายยาง โดยคำนวณแคลอรี่ให้เพียงพอและเพิ่มน้ำให้มากพอควร 4.4 ถ้าอาเจียนมาก นอกจากให้ยาแก้อาเจียนแล้วควรให้น้ำเกลือทางหลอดเดือดดำหรืออาจให้ caloric gents เช่น Aminosterile , Sohamin-GT , Pan-amin , 50% glucose etc. 4.5 ควรรักษาความสะอาดในปากและฟัน ถ้าแปรงฟันไม่ได้ก็ใช้สำลีไม้ชุบน้ำยาทำความสะอาด ให้อมน้ำยากลั้วปากและคอบ่อย ๆ หรืออมน้ำยาฆ่าเชื้อที่มียาชาผสม ลดอาการเจ็บปวดของแผลในปาก
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด (ต่อ) 5. อาการทางผิวหนัง เช่น ผมร่วง ผิวหนังแห้ง มีตุ่มคัน เป็นแผล ผิวมีสีคล้ำ ข้อควรปฏิบัติคือ 5.1 ในรายที่มีผมร่วงมาก ควรแนะนำให้คุลมผม ใส่หมวก หรือใส่ผมปลอม ปลอบใจผู้ป่วยว่าอาการเหล่านี้ จะเป็นอยู่ชั่วคราว เมื่อหยุดยาจะหายไป 5.2 ถ้าผิวหนังแห้งให้ใช้น้ำมันวาสลินทาผิว 5.3 ถ้าเป็นแผลที่เกิดจากการฉีดยาควรหมั่นทำความสะอาดรอบแผล ใช้ยาปฏิชีวนะใส่แผลตามแพทย์สั่ง 5.4 ถ้าเป็นตุ่มคัน ควรหมั่นทำความสะอาดและทายาตามแพทย์สั่ง 6.อาการอื่น ๆ เช่น ชาตามปลายมือปลายเท้า หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งอาจเกิดจากฤทธิ์ข้างเคียงหรือพิษของยาที่ใช้ ข้อปฏิบัติคือ 6.1 แนะนำหรือสอนให้ผู้ป่วยถูนวดบริเวณที่รู้สึกชา หรือบริเวณปลายมือ ปลายเท้าอย่างสม่ำเสมอ ให้ออกกำลังกาย ด้วยตัวเอง โดยพลิกตัวไปมาบนเตียง ยกขา เหยียดแขนเข้าออก เดินไปมา 6.2 พยายามระวังหรือแนะนำผู้ป่วยพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดบาดแผลบริเวณนั้น
ข้อแนะนำสำหรับพยาบาลผู้มีหน้าที่ให้เคมีบำบัด ข้อแนะนำสำหรับพยาบาลผู้มีหน้าที่ให้เคมีบำบัด ควรจะเป็นพยาบาลที่ได้รับการฝึกอบรมเป็นพิเศษ ให้มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งแต่ละชนิด รู้จักสารเคมีที่นำมาใช้ในการรักษา รู้ถึงประเภทของยา การออกฤทธิ์ ผลข้างเคียง หรือพิษของยา เพื่อจะได้คอยระมัดระวังให้การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย รวมทั้งรู้จักป้องกันตนเองจากพิษของยาที่นำมาใช้ มีดังนี้ 1.การป้องกันตนเองจากพิษของยาที่อาจจะมี 1.1ในการผสมสารเคมีทุกครั้ง ควรผูกผ้าปิดจมูกและปาก เพื่อป้องอันการสูดดมไอระเหยของยาเข้าไป 1.2ควรสวมกาวน์ ป้องกันมิให้ยากระเซ็นมาถูกผิวหนัง 1.3ควรสวมถุงมือ ป้องกันมิให้ยามาถูกผิวหนัง , เล็บ ป้องกันการดูดซึมของ ยาผ่านทางผิวหนัง 2.การพยาบาลผู้ป่วยในขณะให้เคมีบำบัด 2.1ในการฉีดยาเข้าเส้น ก่อนฉีดสังเกตให้ดีว่าเข็มอยู่ในเส้นดีแล้ว ขณะเดินยาเข้าเส้นคอยถามผู้ป่วยดูว่ามีอาการเจ็บปวดหรือไม่ ถ้ามี ต้องทดสอบดูว่ายามิได้ซึมออกนอกเส้นเลือด ถ้ายาซึมออกต้องถอนเข็มออกทันที เมื่อฉีดเสร็จต้องตรวจดูเนื้อเยื่อบริเวณที่ฉีดยา ถ้ามีอาการเจ็บปวดรุนแรงหรือบวมแดง แสดงว่าน่าจะมียาซึมออกนอกเส้น หรือเนื้อเยื่อบริเวณนั้นได้รับอันตาย ควรให้การดูแลเอาใจใส่ มากขึ้น
การพยาบาลผู้ป่วยในขณะให้เคมีบำบัด (ต่อ) 2.2ถ้าผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมาก ควรดูปริมาณน้ำที่สูญเสียไป ควรดูให้ได้น้ำทดแทนเพียงพอ โดยการให้น้ำเกลือ ทางเส้นเลือด 2.3การฉีดยาบางชนิดที่มีข้อเตือนว่าผู้ป่วยอาจจะเกิดอาการแพ้ (anaphylaxis) ได้ ระหว่างที่เดินยาอยู่ ให้สังเกตสีหน้า กริยาท่าทางของผู้ป่วย ถ้ามีอาการหายใจแน่น อึดอัด หน้าซีดหรือเขียว มือเย็น ให้รีบหยุดยา ถอนเข็มออก รายงานแพทย์ด่วน พร้อมทั้งให้อ๊อกซิเจน เตรียมเครื่องมือช่วยหายใจ เตรียมยา เช่น Antihistamine , Adrenalin , Corticosteroid ที่จะใช้ฉีดได้ทันที 2.4เมื่อเดินยาเข้าเส้นเลือดเรียบร้อยแล้ว จับชีพจร วัดความดัน คอยสังเกตอาการอยู่โดยใกล้ชิดประมาณ 10-15 นาที ถ้าผิดปกติรีบรายงานแพทย์ ถ้าความดันเลือดตกให้รีบเปิดน้ำเกลือให้หยดเร็วขึ้น ให้อ๊อกซิเจน เตรียมพร้อมที่จะช่วยผู้ป่วย 2.5ผู้ป่วยที่ได้รับยาทางหลอดเลือด ควรให้ผู้ป่วยได้น้ำเพียงพอ เพื่อช่วยให้ไตขับถ่ายยาส่วนที่ไม่ต้องการออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาที่ขับถ่ายทางปัสสาวะ ฉะนั้นจึงควรให้น้ำเกลือผู้ป่วยไม่น้อยกว่า 2,000 มล. ต่อวัน หรือแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ
การพยาบาลผู้ป่วยใส่แร่เรเดียม ในผู้ป่วยมะเร็งของมดลูก ปากมดลูก และช่องคลอด การรักษาด้วยการใส่เรเดียมเป็นวิธีที่ดี และได้ผลมาก การรักษามักใช้ควบคู่กับการให้รังสีจากภายนอก การให้การพยาบาล แบ่งเป็น 3 ระยะคือ 1.ก่อนใส่แร่ 2.หลังใส่แร่ 3.หลังเอาแร่ออก 1.ก่อนใส่แร่ ควรให้ผู้ป่วยเข้าอยู่ในโรงพยาบาลก่อนใส่ประมาณ 5-7 วัน เพื่อให้ผู้ป่วยได้เตรียมพร้อม ทั้งอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ วิธีการรักษา การปฏิบัติตน และการช่วยเหลือตนเองในขณะใส่แร่ ดูแลเรื่อง - การให้อาหาร ควรให้อาหารอ่อน ย่อยง่าย กากน้อย ก่อนใส่แร่ประมาณ 1-2 วัน - การตรวจเลือด ปัสสาวะ และการทำงานของไต - การเตรียมความสะอาด ได้แก่ สวนอุจจาระ ปัสสาวะ ชำระช่องคลอด และโกน
2.หลังใส่แร่ เมื่อผู้ป่วยกลับมาถึงหอผู้ป่วย และนำผู้ป่วยเข้าพักในเตียงแล้ว ควรดูใบสั่งว่าผู้ป่วยใส่แร่จำนวนเท่าใด เวลาที่ใส่ วันและเวลา ที่จะเอาแร่ออก เมื่อจะเข้าไปให้การพยาบาลควรจะสวมเสื้อตะกั่วทุกครั้ง คอยสังเกตอาการและให้การพยาบาลดังต่อไปนี้ 2.1 ท่านอน ให้อยู่ในท่ากึ่งชันขา อนุญาตให้นอนตะแคงพลิกไปมา หรือเอาหมอนรองปลายเท้าได้บ้าง 2.2 การบริหาร แนะนำให้ผู้ป่วยบริหารขาเบา ๆ และหายใจเข้าออกลึก ๆ ถ้าสังเกตว่าผู้ป่วยมีบวมที่ขา ควรรายงานให้ แพทย์ทราบ 2.3 ปัสสาวะ โดยปกติผู้ป่วยจะใส่สายยางท่อปัสสาวะ ควรหมั่นตรวจดูปัสสาวะและแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ 2.4 การชำระในรายที่สะอาดและไม่มีสิ่งขับหลั่งออกมา วันละ 2 ครั้ง เช้า-ก่อนนอน 2.5 อาหาร ให้อาหารอ่อน ย่อยง่าย ไม่มีกาก โปรตีน วิตามินสูง 2.6 อุจจาระ หลังจากถ่าย (โดยปกติจะไม่ค่อยมี) ต้องตรวจดูว่ามีแร่หลุดติดออกมาด้วยหรือไม่ 2.7 อาการปวด ไม่ค่อยจะมี นอกจากจะรู้สึกไม่ค่อยจะสบายหรือรำคาญ แต่ถ้ามีอาการควรรายงานแพทย์ 2.8 ยาระงับประสาท ถ้าผู้ป่วยนอนไม่หลับ ในรายที่มีอาการประสาทควรระวังผู้ป่วยดึงแร่ และให้ยาตามแนวการ รักษาของแพทย์ 2.9 เลือดออก ถ้ามีควรรายงานแพทย์ 2.10 อุณหภูมิ ถ้ามีไข้ควรรายงานแพทย์ 2.11 คลื่นไส้อาเจียน อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากแพ้รังสี 2.12 ให้ผู้ป่วยหมั่นบ้วนปาก พลิกตะแคงตัวเพื่อป้องกันนิวโมเนีย
3.หลังเอาแร่ออก ก่อนจะเอาแร่ออกควรเตรียมเครื่องใช้ให้พร้อม เช่น เครื่องใช้ในการทำความสะอาดช่องคลอด ยาระงับกลิ่น ควรอธิบายให้ผู้ป่วยทราบก่อนที่จะลงมือทำ 3.1 การทำความสะอาดช่องคลอด ให้สังเกตลักษณะสี และจำนวนของ Discharge ควรสอนให้ผู้ป่วยเข้าใจ วิธีทำความสะอาดช่องคลอดด้วยตนเองต่อไป 3.2 ให้คำแนะนำผู้ป่วยในเรื่อง - อาหาร - บอกให้ทราบถึงวันที่จะต้องมาฉายรังสีต่อ
การป้องกันพิษของรังสีที่อาจจะมี พยาบาลผู้ให้การพยาบาลผู้ป่วยควรมีการศึกษาให้เข้าใจเกี่ยวกับรังสีบ้าง เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการป้องกัน อันตรายจากรังสีให้แก่ตนเอง ญาติผู้ป่วย และผู้เกี่ยวข้อง ทั้งยังเป็นหลักในการวางแผนการพยาบาลผู้ป่วยแต่ละรายอีกด้วย ในผู้ป่วยที่ฝังแร่จะมีอันตรายซึ่งเกิดจากรังสีที่อยู่ในตัวผู้ป่วยแผ่กระจายออกมาถูกผู้ที่เข้าใกล้ อันตรายจะมากน้อยขึ้นอยู่กับ จำนวนของรังสี ระยะทางและเวลา อันตรายอีกประการหนึ่งก็คือ การสัมผัสต่อรังสีที่มิได้ห่อหุ้ม โดยการหยิบ จับ หายใจ หรือรับประทานเข้าไป จึงต้องระมัดระวังและป้องกันการแพร่กระจายของรังสี ดังนั้น พยาบาลผู้ที่จะเข้าไปให้ การพยาบาลจึงต้องสวมเสื้อตะกั่วทุกครั้ง หลักการพยาบาลผู้ป่วยในรายที่จะมีอันตรายจากการสัมผัส ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารกัมมันตภาพรังสีโดยตรง 1.ติดป้ายที่เตียงผู้ป่วย เพื่อแสดงว่าให้ระวังการสัมผัสรังสี 2.ในกรณีที่คิดว่าอาจจะเกิดมีการสัมผัสรังสีในขณะที่ให้ จากการรั่วหรือสัมผัส ควรจะให้ผู้ป่วยสวมเสื้อตะกั่ว เตียงผู้ป่วยควรจะปูทับด้วยผ้ายาง 3.พยาบาลต้องสวมถุงมือและใส่เสื้อตะกั่วขณะหยิบจับสิ่งของที่คิดว่าสัมผัสรังสี เช่น ทำเตียง แผล หรือหยิบจับเกี่ยวกับน้ำมูก น้ำลาย และปัสสาวะของผู้ป่วย ถุงมือใช้แล้วต้องแยกและส่งวัดรังสี
การป้องกันพิษจากรังสีที่อาจจะมี( ต่อ ) กการาร ก 4.สอนให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเอง เช่น การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ อาเจียน และ ระมัดระวังอย่าให้หกเปรอะเปื้อน 5.ของใช้สำหรับผู้ป่วยควรแยก ไม่ปะปนกับผู้อื่น ของใช้บางอย่าง เช่น ผ้าปู ปลอกหมอน ถ้าเปลี่ยนแล้วให้ส่งไปที่แผนกเอ็กซเรย์เพื่อวัดรังสี 6.ในกรณีที่มีรังสีหก ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ - รีบเช็ดออกโดยเร็วด้วยกระดาษที่ซึมซับได้ดี เช่น กระดาษชำระ หรือ กระดาษฟาง - ขีดบริเวณที่รังสีหกโดยรอบด้วยชอล์ก - ปิดด้วยกระดาษ ทำเครื่องหมายห้ามการสัญจรผ่านบริเวณนั้น - แจ้งให้ทางแผนกรังสีทราบ เพื่อทำการวัดรังสี สำหรับเจ้าหน้าที่หรือพยาบาลที่ถูกรังสีหกรด ให้ระวังการแพร่กระจายรังสี
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ก็เช่นเดียวกับการพยาบาลก่อนและหลังผ่าตัดทั่ว ๆ ไป แต่ผู้ป่วยมะเร็งย่อมต้องการกำลังใจเป็นอย่างสูง ผู้ป่วยจะวิตกกังวลอาการของโรคมะเร็งจะเพิ่มมากขึ้นทุกวัน นอกจากนี้ยังกลัวการผ่าตัด กลัวเจ็บปวด กลัวตาย เป็นต้น พยาบาลต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ เพื่อลดความกลัวและความวิตกกังวลต่าง ๆ รวมทั้งให้การเอาใจใส่ดูแล ยิ้มแย้มแจ่มใส กริยาวาจาสุภาพ แสดงออกถึงความเมตตากรุณาต่อผู้ป่วยอย่างจริงใจ สม่ำเสมอ พูดคุยและรับฟังจะสร้างความเชื่อถือและมั่นใจ ของผู้ป่วยเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้น ด้านร่างกาย ก่อนผ่าตัดผู้ป่วยมะเร็งจะมีร่างกายไม่สมบูรณ์ เนื่องจากอาการของโรคเป็นอยู่นาน อาจจะเพราะเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน รับประทานไม่ได้ ทำให้ผอมซีด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ดังนั้นการบำรุงร่างกายโดยให้อาหารที่มีคุณค่าสูงจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งก่อนผ่าตัด นอกจากนี้การเตรียมร่างกาย เหมือนการเตรียมผ่าตัดทั่วไป
การฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยมะเร็ง เนื่องจากอัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน การฟื้นฟูสภาพจึงมีบทบาทสำคัญ และเป็นสิ่งจำเป็นในการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ดีที่สุด สามารถปรับตัวทางด้าน จิตสังคมต่อความเปลี่ยนแปลงของวิถีทางดำเนินชีวิตที่เป็นผลมาจากโรค การฟื้นฟูสภาพนั้นควรให้โอกาสแก่ผู้ป่วย และครอบครัว ได้วางเป้าหมายในชีวิตที่มีความหมายและเป็นจริงได้ด้วยความช่วยเหลือของบุคคลที่มีความสำคัญต่อผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ในทีมสุขภาพอนามัยและกลุ่มช่วยเหลือตนเองในชุมชน การฟื้นฟูสภาพรวมกายภาพบำบัด อาชีพบำบัด การบำบัดด้วยอาหาร การฟื้นฟูสภาพในผู้ป่วยที่มี enterostomy การตัดอวัยวะต่าง ๆ เป็นต้น การสร้างโปรแกรม การฟื้นฟูสภาพจะต้องคำนึงถึงความรุนแรงของความพิการหรือการสูญเสียอวัยวะ ภาวะทางอารมณ์ การรักษาและ การตอบสนองของผู้ป่วยต่อการรักษา ตลอดจนแหล่งประโยชน์ของผู้ป่วยด้วย การฟื้นฟูสภาพนั้นควรจะเริ่มทันทีที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรค และกระทำอย่างต่อเนื่องตลอดที่ชีวิตของผู้ป่วย ถูกกระทบจากโรคมะเร็ง การเริ่มในวันที่ผู้ป่วยถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลจะสายเกินไป กระบวนการเริ่มด้วย การประเมิน ซึ่งปัจจัยที่ควรจะนำมาพิจารณา ได้แก่
การฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยมะเร็ง ( ต่อ ) 1.พยาธิสภาพของโรคคงที่หรือโรคเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ 2.ความบกพร่องทางด้านร่างกายและการทำหน้าที่ของผู้ป่วย จะสามารถกลับคืน ได้หรือไม่ 3.ความเข้มแข็งของผู้ป่วย ทั้งแรงจูงใจ ภาวะอารมณ์ และความแข็งแรงทางกาย 4.ระบบครอบครัวและการสนับสนุนช่วยเหลือ 5.แหล่งประโยชน์ทางด้านการเงินและแหล่งประโยชน์ในชุมชนที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ ปัจจุบันในประเทศไทยเริ่มมีกลุ่มช่วยเหลือตนเอง (Self-help group) ในผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น ชมรมผู้ไร้กล่องเสียง ชมรมผู้ป่วยเปลี่ยนไต เป็นต้น ซึ่งกลุ่มเหล่านี้ผู้ที่ดำเนินการคือผู้ป่วยด้วยกันเอง
การติดตามดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งเมื่อเสร็จสิ้นการรักษา 1.สำหรับผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว (cured patients) โดยเหตุที่มะเร็งเป็นโรคเรื้อรัง ถึงแม้ว่าการรักษาจะเสร็จสิ้นไปแล้วก็ยังต้องติดตามผลการรักษาต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งระยะนี้ผู้ป่วยและครอบครัวก็ยังอยู่ในช่วงของความเครียด เนื่องจากโรคมะเร็งมีโอกาสที่จะกลับมาได้อีก ดังนั้นพยาบาลควรจะจัดกระบวนการ พยาบาลที่จะปฏิบัติต่อผู้ป่วยและครอบครัวเมื่อมีการคืนกลับของมะเร็งไว้ล่วงหน้า อย่างน้อยก็อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติ ยอมรับความจริงในเรื่องนี้ และสามารถกลับไปดำรงชีวิตได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป 2.สำหรับผู้ป่วยที่มีการคืนกลับของโรคมะเร็ง (recurrence) ฉะนั้นผู้ป่วยและครอบครัวจะได้รับคำแนะนำว่าเป็นลักษณะปกติของโรคเอง แต่ก็ไม่ได้ร้ายแรงจนเกินไป พร้อมกับเสนอแนะแนวทางการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม ในกระบวนการพยาบาลช่วงนี้ควรจะเพ่งเล็งไปที่ “กำลังใจของผู้ป่วยและครอบครัว” ที่จะต้องต่อสู้และให้ความร่วมมือในการรักษาอีกครั้งหนึ่ง โดยอาศัยความสำเร็จ จากประสบการณ์ในอดีตหรือการรักษาครั้งที่แล้วมาเป็นแนวปฏิบัติ 3. สำหรับผู้ป่วยที่หมดหวังต่อการรักษา ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายควรจะได้รับการพยาบาลโดยเฉพาะ เพื่อช่วยให้ ผู้ป่วยและครอบครัวได้คุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดในช่วงชีวิตที่มีความทุกข์นี้ พยาบาลควรจะได้วางแผนการพยาบาลเพื่อ ลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยและครอบครัว และช่วยให้ผู้ป่วยมีความสุขสบายมากที่สุด เช่น การให้ยาแก้ปวดควร จะได้รับการปรับขนาดของยาสม่ำเสมอ เพื่อทำให้ผู้ป่วยไม่ปวด และมีความรู้สึกต่อสู้ตลอดเวลา การประเมินผลของ การพยาบาลก็จะเพ่งเล็งไปที่วิธีการที่จะช่วยให้ผู้ป่วยจะอยู่หรือจากไปอย่างสบายที่สุด
การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ต้องได้รับการดูแลโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้การบำบัดอาการเจ็บปวดอย่างเหมาะสม ให้การดูแลด้านจิตใจและครอบครัว และให้ความช่วยเหลือ ให้ข้อมูลและคำปรึกษาแก่ญาติในด้านต่าง ๆ เช่น การรักษาเพื่อยืดชีวิต การทำพินัยกรรม เป็นต้น และให้การดูแลใกล้ชิดโดยสังเกตอาการถ้าผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้า ให้การพยาบาลดังนี้ 1.สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีความไว้วางใจและเชื่อถือ 2.ประเมินสภาพทางอารมณ์ว่าผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าหรือไม่ 3.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถามข้อข้องใจ ระบายความในใจ โดยเป็นผู้ฟังที่ดี และ ใช้คำถามที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยพูดถึงความรู้สึกของตนเอง 4.ให้กำลังใจ ปลอบโยนผู้ป่วย โดยใช้เทคนิคของการให้คำปรึกษา (councelling) 5.ถ้าผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าต้องรายงานแพทย์ เพื่อให้แพทย์ทางจิตเวชช่วยเหลือ จะ ช่วยลดภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของผู้ป่วย 6.ระวังอย่านำของมีคมไว้ใกล้ผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้าเพราะอาจทำร้ายตนเองได้
การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ( ต่อ ) 7.ติดต่อสื่อสารกับสมาชิกในครอบครัว เพื่อให้ทราบถึงปัญหาของผู้ป่วย เพื่อที่สังเกตอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้น พยาบาลจะต้องมีจิตใจเข้มแข็ง แม้จะเกิดความรู้สึกเศร้าในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ต้องรู้บทบาท มีสติที่จะช่วยผู้ป่วยและญาติ โดยให้กิจกรรมการพยาบาลดังนี้ 1.การให้ความรัก ซึ่งเป็นการให้ความรักอย่างเต็มเปี่ยมโดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการมากกว่ายา รักษาโรคก็เป็นได้ 2.การช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับ เตรียมความพร้อมที่จะเดินทางไกล (ความตาย) ที่จะ มาถึง 3.การช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งที่ดีงาม จะทำให้ความกลัวที่คุกคามจิตใจลดน้อย ลดลงได้ การน้อมนำให้ผู้ป่วยนึกถึงสิ่งที่ดีงามทำได้หลายวิธี เช่น การเปิดเทปธรรมะ การอ่านคัมภีร์ที่ผู้ป่วยนับถือ เปิดโอกาสให้มีการประกอบพิธีทางศาสนา เช่น นิมนต์พระมาเทศน์ ทำบุญ เป็นต้น 4.การช่วยปลดเปลื้องสิ่งค้างคาใจ เช่น การขออโหสิกรรมกับใครบางคน การช่วยให้ผู้ป่วยเปิดใจ 5.การช่วยให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ 6.การสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อความสงบใจ ให้ความรักความอบอุ่นใจ ให้ผู้ป่วยมีความสุข สงบ เมื่อวาระสุดท้ายมาถึงก็สามารถเดินทางจากไปด้วยความราบรื่น
การป้องกัน มะเร็งแม้จะเป็นโรคร้าย แต่บางชนิดก็ป้องกันได้ บางชนิดก็สามารถรักษาหายขาดได้ ถ้าตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก การปฏิบัติตัวที่ดีและถูกต้องก็ทำให้โอกาสเกิดเป็นมะเร็งน้อยลง การป้องกันปฏิบัติได้ดังนี้ การหลีกเลี่ยง ลดเลิกสิ่งที่จะไปกระตุ้นสารก่อกลายพันธุ์ จะช่วยลดหรือยับยั้งขบวนการก่อให้เกิดความผิดปกติ ของหน่วยพันธุกรรมโดยปฏิบัติดังนี้ 1.1 รับประทานอาหารสะอาด สด ใหม่ ถูกสุขลักษณะ ปราศจากสารเคมี ก่อกลายพันธุ์ และเชื้อรา 1.2 รับประทานผักผลไม้มาก ๆ ทุกวัน เพื่อให้ได้อาหารกากใย วิตามิน และสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ทำหน้าที่ช่วยลดอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นและจุดต่อ ๆ ไปของการก่อกลายพันธุ์ ในขณะเดียวกับก็ช่วยเพิ่มเซลล์ ภูมิต้านทานมะเร็งด้วย 1.3 ดื่มน้ำสะอาดวันละ 8-10 แก้ว เพื่อชะล้างสารเคมีที่เข้าไปอยู่ในร่างกาย ของเรา ให้ถูกขับถ่ายออกจาก ร่างกายเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ ช่วยลดโอกาสการก่อกลายพันธุ์ 1.4 อยู่ในสถานที่สะอาด อากาศบริสุทธิ์และถ่ายเทได้ดี ช่วยลดโอกาสการสูดหายใจเอาสารระเหยแปลกปลอม เข้าไปในร่างกายของเราและช่วยหลีกเลี่ยงโรคติดต่อ , หลีกเลี่ยงแสงแดด ถ้าต้องทำงานกลางแจ้งให้ทาครีมกันแดด SPF 25 ขึ้นไป 1.5 ออกกำลังกายในที่อากาศบริสุทธิ์สม่ำเสมอทุกวัน ช่วยให้ร่างกายสดชื่นแข็งแรง สุขภาพสมบูรณ์ ไม่เจ็บป่วยบ่อย ๆ 1.6 อาบน้ำวันละ 2-3 ครั้ง เพื่อชะล้างสารเคมีที่ติดอยู่ตามผิวหนัง ลดโอกาสการซึมซับของสารเคมี ผ่านผิวหนังเข้าไปในร่างกายของเรา 1.7 หลีกเลี่ยงสารเคมีต่าง ๆ ซึ่งเป็นสารก่อกลายพันธุ์ ทำให้ลดโอกาสเกิดเป็นมะเร็ง
การป้องกัน ( ต่อ ) 2. สังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดกับร่างกาย เช่น ตุ่มเนื้อ ไฝ ปาน ว่าลุกลามขยายโตหรือไม่ 3. ไปพบแพทย์เพื่อตรวจและค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรกก่อนเป็นมะเร็ง เช่น ตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยตนเอง หรือไปพบแพทย์เพื่อตรวจหามะเร็งทุกระบบ ทุก1-2 ปี เช่น - การตรวจหามะเร็งปากมดลูก - ตรวจหามะเร็งเต้านมโดยการทำแมมโมกราฟฟี่ หรืออัลตราซาวด์ - เอกซเรย์ปอด - ตรวจเลือด - ตรวจปัสสาวะ - ตรวจอุจจาระ - ตรวจกระเพาะลำไส้โดยการกลืนหรือสวนทวารหนักด้วยแป้งแบเรี่ยม การตรวจหามะเร็งก่อนเป็น มีประโยชน์เพราะเมื่อพบว่าเป็นมะเร็งแล้วรีบรักษา โอกาสที่โรคมะเร็งหายขาด เป็นไปได้สูงมาก แต่หากละเลยไม่รีบรักษา มะเร็งจะเจริญเติบโตขยายพันธุ์ทุกวัน เป็นก้อนใหญ่ และกระจายไกล ผลการรักษาให้หายขาดจะลดลง ดังนั้น การปฎิบัติตัวเพื่อป้องกันเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ทุกคนควรปฎิบัติ
สรุป มะเร็งเป็นโรคเชิงซ้อนทีเกิดขึ้นกับเซลล์หลายชนิด หลายอวัยวะ และหลายระบบของร่างกาย ซึ่งมีผลทำให้เกิดอาการและปัญหาต่าง ๆ แก่ผู้ป่วยและครอบครัว การรักษาพยาบาลจึงต้องปรับไปตามชนิด ของมะเร็งและวิธีการรักษา และใช้เวลานาน เป็นโรคที่สร้างความเครียดให้กับผู้ป่วยและครอบครัวมาก พยาบาลเป็นผู้ที่ให้การพยาบาลสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยมะเร็งมากที่สุด นานที่สุด นอกจากพยาบาลจะต้องเป็น ผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางการพยาบาลแล้ว จำเป็นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด รังสีรักษา การป้องกัน เพื่อจะได้ให้การพยาบาลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันตัวพยาบาล ผู้ป่วย และญาติให้ปลอดภัย จากผลข้างเคียงของการรักษาด้วยยาและรังสี ช่วยลดปัญหาความเครียดด้านจิตใจของผู้ป่วยด้วยการให้การพยาบาล อย่างสุภาพอ่อนโยน ให้ความเห็นใจ มีความเป็นกันเองกับผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อช่วยลดปัญหาอาการทางด้านจิตใจ โดยพยาบาลจะต้องทำดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อความสุขสบายของผู้ป่วยและครอบครัว ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ผู้ป่วยมะเร็งให้มีความเป็นอยู่ที่ดีที่สุด มีกำลังใจที่จะดำรงชีวิตและต่อสู้ต่อไป
บรรณานุกรม คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2534).การบรรเทาความเจ็บปวดจากมะเร็ง. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์. พงศ์การดี เจาฑะเกศตริน,สุพัตรา แสงรุจิ และบรรจง คำหอมกุล.(2534).การบรรเทาความ เจ็บปวดจากมะเร็ง.กรุงเทพฯ:เรือนแก้วการพิมพ์. พิสิษฐ์ พันธุมจินดา และศิณีนาฐ สนธิพงษ์.(2532). สถานภาพของโรคมะเร็งในปัจจุบัน แนว โน้มในอนาคต และแนวทางการควบคุม. วารสารโรคมะเร็ง. 15(1) ม.ค.-มี.ค.,34-38. ไพรัช เทพมงคล. (2528).โรคมะเร็งสำหรับแพทย์เวชปฎิบัติทั่วไปและนักศึกษาแพทย์. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์. วรชัย รัตนธราธร.(2543)บรรณาธิการ.การรักษาโรคมะเร็งในสหัสวรรษใหม่Oncology2000’S. กรุงเทพฯ:บริษัทโฮลิสติก พับลิชชิ่งจำกัด. สุมิตรา ทองประเสริฐและสิริกุล นภาพันธ์.(2545).โรคมะเร็ง:แนวทางการรักษาPractical Points in Oncology.เชียงใหม่:ธนบรรณการพิมพ์. สุมิตร ทองประเสริฐ.(2537).ภาวะฉุกเฉินและปัญหาที่พบบ่อยในโรคมะเร็ง.คณะแพทย์ ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : เรือนแก้วการพิมพ์.
บรรณานุกรม ( ต่อ ) สุรพล อิสรไกรศีล และอนงค์ เพียรกิจกรรม. (2539).พิมพ์ครั้งที่2 .เวชปฎิบัติทันยุค 2537. กรุงเทพฯ:ชัยเจริญการพิมพ์. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานสถิติโรคและอัตราตายปี2542-2546. กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร. JJ Misiewicz, Alastair Forbes, Ashley Price, Philip Shorvon, David Triger,andGuido Tytgat.(1994). second edition. Atlas of clinical Gastroenterology. Hong Kong: Wolfe Publishing. Souhami, Robert.,T Tobias, Jeffrey. (1986). Cancer and its management. London: Blackwell Scientific Publications. National Cancer Institute. (1987). Cancer Statistics 1982. Department of Medical Service. Ministry of Public Health. National Cancer Institute. (2002). Cancer Statistics 2000. Department of Medical Service.
การค้นคว้าทางเครือข่าย Internet. บรรณานุกรม (ต่อ ) Word Health Organization. (1984). Cancer as a global problem. Weekly epidemiological Record. 125-126. การค้นคว้าทางเครือข่าย Internet. www.SI.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=192 www.nci.go.th/knowledge/cantreat.html www.elib-online.com/doctor/cancer-sign1.html www.nci.go.th/knowledge/thaicancer.html